“จากไม้ฟืนถึงไฮโดรเจน” เส้นทางพลังงานโลกจากมุมมองอนาคต (3)


เชื้อเพลิงทั้งสามอย่างนี้ เมื่อถึงเวลาหนึ่งก็จะเข้ามาผสมผสานกัน และโลกก็จะเคลื่อนจากยุคของเชื้อเพลิงที่ใช้ไม้ฟืน (ประกอบด้วยคาร์บอนล้วน ๆ) ในอดีตอันไกลโพ้น เข้าสู่ยุคของไฮโดรเจน (่ไม่มีคาร์บอน)

แผนที่นำทางเทคโนโลยีเชื้อเพลิงอนาคต

เมื่อเร็ว ๆ นี้ประเทศไทยได้เป็นตัวตั้งตัวตีในการดำเนินกิจกรรม foresight สำหรับภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกเกี่ยวกับเรื่องเชื้อเพลิงสำหรับอนาคต

งานนี้ใช้ทั้งวิธีการจำลองภาพอนาคตคล้ายกับบริษัทเชลล์ และวิธีการที่ค่อนข้างใหม่ที่เีรียกว่า การทำแผนที่เทคโนโลยี (technology roadmapping) เพื่อสร้างเส้นทางพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นไปได้จริง

เป็นแนวทาง “สมานฉันท์” ระหว่างสมองซีกซ้ายกับซีกขวา หรือศาสตร์และศิลป์...

พบว่าเส้นทางหลักของเชื้อเพลิงอนาคตมีอยู่สามสาย คือเชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuels) ฟอสซิลนอกระบบที่ไม่ใช่น้ำมัน (unconventional hydrocarbons) และไฮโดรเจน (hydrogen)

ทั้งนี้มิได้หมายความว่า แหล่งพลังงานอื่นเช่น แสงอาทิตย์ น้ำ ลม ความร้อนใต้ผิวโลก หรือแม้กระทั่งนิวเคลียร์จะไม่มีความสำคัญ หากแต่ถ้ามองในมิติของการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนยานยนต์แล้ว ในที่สุดก็จะต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาแปรสภาพพลังงานให้เป็นเชื้อเพลิงที่กล่าวถึงเหล่านี้

เทคโนโลยีเหล่านี้ทุกอย่างมีการเริ่มพัฒนาอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่ยังติดอุปสรรคที่จำกัดไม่ให้นำมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญที่ประเทศไทยได้พาตัวเองเข้าไปอยู่ในเครือข่ายที่จะร่วมวิัจัยและพัฒนากับนานาประเทศต่อไป จนนำมาใช้ได้อย่างจริงจังในอนาคต

แผนที่เทคโนโลยีไม่ได้บอกเพียงแค่ทางเดินของเทคโนโลยี หากแต่ชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ในการแบ่งปันทรัพยากรระหว่างนานาประเทศเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงาน (energy security) ในภูมิภาค ตลอดจนแนวโน้มและอุปสรรคของการร่วมพัฒนาเทคโนโลยีสำคัญที่เป็นคอขวด

นอกจากนี้ยังบอกข้อควรระวัง และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นอีกด้วย เช่น ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ Diesohol หรือในการเข้าสู่สังคมไฮโดรเจน ต้องสร้างอะไรขึ้นใหม่เพื่อรองรับ และจะมีทางผ่านอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง

ข้อสรุปคือ เชื้อเพลิงทั้งสามอย่างนี้ เมื่อถึงเวลาหนึ่งก็จะเข้ามาผสมผสานกัน และโลกก็จะเคลื่อนจากยุคของเชื้อเพลิงที่ใช้ไม้ฟืน (ประกอบด้วยคาร์บอนล้วน ๆ) ในอดีตอันไกลโพ้น เข้าสู่ยุคของไฮโดรเจน (่ไม่มีคาร์บอน) ในอนาคต 20-25 ปีข้างหน้าหรือไกลกว่านั้น ตามแผนภาพข้างล่างนี้

ทั้งนี้ก็ด้วยแรงผลักด้ันจากปรากฏการณ์โลกอุ่นขึ้น เพราะเรากำลังใช้กรรมที่เคยปล่อยคาร์บอนออกสู่บรรยากาศมากเกินไปนั่นเอง!

เส้นทางจากไม้ฟืนสู่ไฮโดรเจน (ข้อมูลจากโครงการ Foresighting Future Fuel Technology โดยศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ, 2006)

ถ้าจะเปรียบเทียบกับยอดเขาของฮับเบิร์ท ก็คงจะเห็นว่าเส้นทางเชื้อเพลิงแบบผสมผสานนี้ยังต่อยอดขึ้นไปได้เรื่อย ๆ ไม่ได้ดิ่งลงไปตามการพยากรณ์การลดลงของน้ำมัน การทำ foresight โดยวิธีการ roadmapping แบบนี้เน้นภาพอนาคตที่พึงปรารถนา แต่จะต้องมีรายละเอียดของแผนการลงมือปฏิบัติ (action plan) บรรจุอยู่ด้วยเสมอ อนาคตนั้นจึงจะเิกิดขึ้นจริง (เพื่อลดความซับซ้อนจึงไม่ได้แสดงในภาพ)

คงต้องฝากทิ้งท้ายตามที่เคยมีผู้กล่าวว่า อุปสรรคสำคัญของวิธีคิดแบบมองอนาคตหรือ foresight ก็คือ ในยามเมื่อทุกอย่างดำเนินไปด้วยดีวิธีนี้มักไม่ค่อยมีคนนึกถึงหรือต้องการ

แต่พอสถานการณ์เริ่มเลวร้ายลง พอนึกจะทำ foresight ก็พบว่าสายเสียแล้ว

(ปรับเขียนจาก บทความเรื่อง "จากไม้ฟืนถึงไฮโดรเจน" ส่องทางไกลอนาคตพลังงานโลก ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 13 สิงหาคม 2549) 

หมายเลขบันทึก: 45690เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ให้หน่วยงานรัฐช่วยส่งเสริมการปลูกไม้โตเร็วที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน เป็นไม้ทำเงินได้ กรมป่าไม้มีข้อมูล คิดได้แต่ไม่ทำ เอาหนามไปปลูกเป็นแนวกัน้ป่าแล้วได้ประโยชน์อะไร สิ่งแรกที่ชาวบ้านรู้สึก1.ไม่มีที่เลี้ยงสัตว์ 2.ลักลอบตัดไม้เพิ่มขึ้น 3.จ้างแรงงานเพิ่มขึ้นเพื่อมาไล่จับชาวบ้าน แล้วเรียกตัวเองว่านักอนุรักษ์...........ทำใหม่ยังไม่สาย........ถ้าทำได้ประเทศไทยจะเป็นเมืองที่ใช้พลังงานที่ใช้พลังงานทดแทนที่ไม่มีวันหมด ได้ทั้งไบโอดีเชล ได้ทั้งโรงไฟฟ้า สร้างทั้งงาน สร้างทั้งเงิน ประชาชนมีความสุข ไม่ต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ แบ่งโซนในการเพาะปลูกตามความเหมาะสมของพื้นที่ ปลูกข้าวแค่เพียงพอแก่ความต้องการภายในประเทศ แค่นี้ก็มีความสุขแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท