การสอนโดยใช้กิจกรรม communicative apporch


การสอนภาษาอังกฤษ

          การสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เป็นการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งมุ่งเน้นความสำคัญของตัวผู้เรียนเป็นหลัก มีการจัดลำดับการเรียนรู้เป็นขั้นตอนตามกระบวนการใช้ความคิดของผู้เรียน โดยเริ่มจากการฟังไปสู่การพูด การอ่าน การจับใจความสำคัญ การทำความเข้าใจ การจดจำ และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้
ลักษณะสำคัญ
          จุดมุ่งหมายของวิธีสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารนี้ มุ่งให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสมกับสภาพสังคม การจัดการเรียนการสอนจึงเน้นหลักสำคัญดังต่อไปนี้ คือ
      1. ต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ว่ากำลังทำอะไร เพื่ออะไร ผู้สอนต้องบอกให้ผู้เรียนทราบถึงความมุ่งหมายของการเรียนและการฝึกใช้ภาษา เพื่อให้การเรียนภาษาเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
      2. การสอนภาษาโดยแยกเป็นส่วนๆ ไม่ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ดีเท่ากับการสอนในลักษณะบูรณาการในชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารจะต้องใช้ทักษะ หลายๆทักษะรวมๆกันไป ผู้เรียนควรจะได้ฝึกฝนและใช้ภาษาในลักษณะรวม
     3. ต้องให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมการใช้ภาษา ซึ่งกิจกรรมควรมีลักษณะเหมือนในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด
     4. ต้องให้ผู้เรียนฝึกการใช้ภาษามากๆ การที่ผู้เรียนจะสามารถใช้เพื่อการสื่อสารได้นั้น นอกจากผู้เรียนจะต้องทำกิจกรรมการใช้ภาษาดังกล่าวแล้ว ยังต้องมีโอกาสได้ทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้
     5. ผู้เรียนต้องไม่กลัวว่าจะใช้ภาษาผิด แนวการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารให้ความสำคัญกับการใช้ภาษา (Use) มากกว่าวิธีใช้ภาษา (Usage) นอกจากนี้การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารควรให้ความสำคัญในเรื่องความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา (Fluency) เป็นอันดับแรก ส่วนความถูกต้องของการใช้ภาษา (Accuracy) ก็ควรคำนึงด้วยเช่นกัน
       การเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารมุ้งเน้นที่จะพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการใช้ภาษา (Use) ตามความมุ่งหมายในสถานการณ์ต่างๆ และแม้จะให้ความสำคัญกับความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา (Fluency) แต่ไม่ละเลยเรื่องความถูกต้องของภาษา (Accuracy) การเรียนการสอนในลักษณะนี้จึงเน้นการทำกิจกรรมเพื่อฝึกการใช้ภาษาที่ใกล้เคียงกับสถาณการณ์จริงให้มากที่สุด

การจัดการเรียนการสอน
1.   ขั้นการนำเสนอเนื้อหา (Presentation) ในข้นนี้ครูจะให้ข้อมูลทางภาษาแก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้ มีการนำเสนอเนื้อหาใหม่ โดยจะมุ่งเน้นการให้ผู้เรียนได้รับรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและรูปแบบภาษาที่ใช้กันจริงโดยทั่วไป
2.   ขั้นการปฏิบัติ (Practice) ในขั้นนี้ครูจะให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ภาษาที่จะเพิ่งเรียนรู้ใหม่จากการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะของการฝึกควบคุมหรือชี้นำ (Controlled Practice/Directed Activities) โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้นำในการฝึก ไปสู่การฝึกที่แบบค่อยๆปล่อยให้ทำเองมากขึ้น ในการฝึกนั้น ครูจะเริ่มการฝึกปากเปล่า (Oral) ซึ่งเป็นการพูดแบบง่ายๆก่อน จนได้รูปแบบภาษา แล้วค่อยเปลี่ยนสถานการณ์ที่ล้วนแต่สร้างขึ้นภายในห้องเรียนทั้งนั้น เพื่อฝึกการใช้โครงสร้างประโยคตามบทเรียน นอกจากนี้ควรมีการตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนควบคู่ไปด้วย แต่ไม่ควรใช้เวลามากนัก ต่อจากนั้นจึงฝึกด้วยการเขียน (Written) เพื่อเป็นการผนึกความแม่นยำในการใช้
3.  ขั้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Production) ถือเป็นขั้นที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะการฝึกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเปรียบเสมือนการถ่ายโอนการเรียนรู้ภาษาจากสถานการณ์ในชั้นเรียน ไปสู่การนำภาษาไปใช้จริงนอกชั้นเรียน
    แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน มีลักษณะ 4 ประการ ได้แก่
     1. เป้าหมายของการสอนเน้นไปที่องค์ประกอบทั้งหมดของทักษะการสื่อสาร ไม่จำกัดอยู่ภายในกรอบของเนื้อหาภาษาหรือไวยากรณ์
     2. เทคนิคทางภาษาได้รับการออกแบบมาเพื่อนำผู้เรียนไปสู่การใช้ภาษาอย่างแท้จริงตามหน้าที่ของภาษา
     3. ความคล่องแคล่วและความถูกต้อง เป็นหลักการเสริมอยู่ภายใต้เทคนิคการสื่อสาร
    4. ผู้เรียนจะต้องใช้ภาษาได้อย่างมีความเข้าใจและสร้างสรรค์ ภายในบริบทที่ไม่เคยมีการฝึกมาก่อน

 วิธีสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียดังนี้

       ข้อดี
1. ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติ ทางภาษาได้สมจริงตามสถานการณ์ต่างๆ
2. ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนเพราะได้เรียนสิ่งที่มีความหมายต่อตนเองและสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
3. ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ตามของกลุ่ม
4. ผู้เรียนได้ฝึกการคิดในการเรียนมากขึ้น เพราะลักษณะของกิจกรรมส่วนใหญ่ จะเป็นกิจกรรมการแก้ปัญหา
      ข้อจำกัด
1. วิธีการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนี้ ต้องการผู้สอนที่มีความสามารถในการจัดสื่อ กิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกกิจกรรมทางภาษาในสถานการณ์ต่างๆได้มาก
2. วิธีการสอนนี้จำเป็นที่ผู้สอนจะต้องใช้ความอดทนมากเพราะในขณะที่ทำกิจกรรมผู้เรียนอาจขาดวินัย และไม่พยายามใช้ภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารซึ่งผู้สอนต้องคอยให้ความช่วยเหลือดูแล และคอยกระตุ้นการใช้ภาษาของผู้เรียนอยู่ตลอดเวลา
3. เป็นวิธีสอนที่เหมาะกับผู้เรียนกลุ่มเด็ก
    กล่าวโดยสรุปแล้ว วิธีสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Approach) นี้จะให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศของผู้เรียนเป็นหลัก ซึ่งวิธีสอนในลักษณะนี้จะให้ความสำคัญกับผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้สอนมีหน้าที่แค่คอยให้คำปรึกษาเท่านั้น

คำสำคัญ (Tags): #ครูeng
หมายเลขบันทึก: 456725เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2011 06:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • อาจารย์มาไวมาก
  • เอรูปใครครับ
  • มีอ้างอิงไหมครับ
  • อยากให้ไปที่แก้ไขบันทึก
  • เลือกให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นได้ครับ

รูปหนูเองค่ะ อาจารย์ ถ่ายตอนแต่งงานค่ะ

อยากกลับไปแก้ไขค่ะ แต่ว่า ทำยังไงค่ะ

  • เข้าระบบบมาที่บันทึกนี้
  • กดแก้ไขบันทึกข้างบนขาวมือ
  • แก้ไขแล้วกดบันทึกครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท