มนุษย์ในองค์การเขาต้องการอะไรกัน (ตอนที่ 2)


การศึกษาของนักทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ นำโดย Hugo Munsterberg ชาวเยอรมัน จึงมุ่งสนใจในรายละเอียดและคุณสมบัติของปัจจัยเหล่านี้

 1.       ลักษณะเฉพาะของบุคคล (The Individual)

1)      สมมุติฐานเกี่ยวกับลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์ (Assumptions of Human Behavior)

2)       พฤติกรรมของกลุ่มในองค์การ (Group Behavior)

3)      การจูงใจในการทำงาน (Motivation Factors)

 

. ลักษณะเฉพาะของบุคคลในองค์การ   (The Individual)

นักทฤษฎีองค์การสมัยใหม่มีสมมติฐานในการศึกษาว่า "มนุษย์มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมเป็นพื้นฐาน" การศึกษาพวกเขาจึงเป็นไปเพื่อพิสูจน์และสนับสนุนสมมติฐานดังกล่าว เช่น การศึกษาเกี่ยวกับขบวนการอบรมเลี้ยงดูของมนุษย์ (Socialization) เพื่อชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีพฤติกรรมที่แตกต่างกันเพราะ การอบรมเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน  

ปัจจัยที่ทำให้บุคคลมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป คือ

1)      บุคลิกภาพ  ( Personality )      ลักษณะของรูปร่างหน้าตา กิริยาท่าทาง คำพูด มารยาท

2)      การรับรู้ ( Perception ) การแปลความหมายของสิ่งที่ได้พบเห็น ผ่านกระบวนการภายในจิตใจ เช่น ความสำนึก ความนึกคิด ความเชื่อ และประสบการณ์ของแต่ละคน 

3)      ทัศนคติ ( Attitude ) ความรู้สึกพอใจของแต่ละคน ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ประสบการณ์ ความนึกคิด และความเชื่อของแต่ละบุคคลในเรื่องต่าง ๆ แตกต่างกันไป

4)      ความต้องการของบุคคล (Needs) 

. สมมติฐานเกี่ยวกับลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์

               ผลของการศึกษาที่ฮอร์ทอร์นและผลการศึกษาถึงลักษณะและทางธรรมชาติของบุคคล ทำให้นักทฤษฎีองค์การสมัยใหม่เชื่อมั่นว่า มนุษย์มีความแตกต่างกันในพฤติกรรม และความแตกต่างดังกล่าวบางส่วนถูกกำหนดขึ้นโดยธรรมชาติ และบางส่วนถูกขบวนการอบรมเลี้ยงดูทำให้เกิดความแตกต่างกัน เมื่อนักทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ต้องการที่จะสร้างรูปแบบในการบริหาร เช่น การกำหนดลักษณะของสายการบังคับบัญชา การใช้ระบบการจูงใจ และลักษณะของผู้นำในองค์การ เป็นต้น

การศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ของ ดักลาส แมคเกรเกอร์ (McGregor) ชี้ให้เห็นถึงลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดแจ้งเป็น 2 รูปแบบ ซึ่งเขาแบ่งแยกเป็น

 1)    รูปแบบของทฤษฎี X

2)    รูปแบบของทฤษฎี Y 

ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X  

1.       มนุษย์ส่วนใหญ่มีนิสัยไม่ชอบทำงาน และพยายามหลีกเลี่ยงงานเมื่อมีโอกาส

 2.       เมื่อมนุษย์ไม่ชอบที่จะทำงาน ดังนั้นการที่จะให้มนุษย์ทำงานจึงต้องใช้วิธีการบังคับควบคุม สั่งการและนำบทลงโทษมาใช้ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ

 3.       มนุษย์ส่วนใหญ่ชอบที่จะถูกบังคับควบคุม พยายามหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้นในการทำงานเพียงเล็กน้อย และต้องการมีความมั่นคงในการทำงาน 

ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y  

1.       การออกกำลังและการใช้สมองในการทำงานเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนกับการเล่นหรือ  พักผ่อน มนุษย์โดยส่วนใหญ่มีนิสัยชอบที่จะทำงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการทำงาน ซึ่งอาจนำมาซึ่งความพอใจและอาจเป็นเหตุให้ได้รับโทษก็ได้

2.   การบังคับควบคุมและการลงโทษไม่ใช่วิธีการเพียงแบบเดียวที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ขึ้นได้ มนุษย์ต้องการที่จะทำงานด้วยตัวเองตามที่ได้รับมอบหมายมา

3.    การให้รางวัลตามความสำเร็จของงาน จะช่วยสร้างความผูกพันต่อองค์การ และนำ มาซึ่งความสำเร็จขององค์การในที่สุด

4.        ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม มนุษย์ต้องการที่จะมีความรับผิดชอบต่องาน และยังสามารถแสวงหาความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นอีกด้วย

5.       มนุษย์ต้องการแสดงความสามารถในการปฏิบัติงาน และต้องการเผยแพร่ความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะแก้ไขปัญหาขององค์การให้กับผู้ร่วมงานทุก ๆ คนได้รับรู้

6.       ภายใต้เงื่อนไขในการปฏิบัติงานจริง ๆ มนุษย์มีโอกาสแสดงความสามารถได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

การศึกษาถึงลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y ทำให้เกิดการบริหารงานแบบประชาธิปไตย หรือแบบที่เน้นการเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการบริหารงาน (Participate Management) ทฤษฎี Y มองคนในแง่ดี และเชื่อว่ามนุษย์มีลักษณะทั้ง 6 ประการ ที่กล่าวมาโดยกำเนิด ส่วนทฤษฎี X มองคนในแง่ร้ายมนุษย์เลวมาแต่กำเนิด ทำให้ต้องใช้การบริหารแบบเผด็จการต้องการผู้นำแบบเผด็จการ และการจัดองค์การในลักษณะแบบดั้งเดิม

 

                 

. พฤติกรรมของกลุ่มในองค์การ    (Group Behavior)

 

                  การศึกษาถึงพฤติกรรมของกลุ่มในองค์การ จะเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงลักษณะการเกิดของกลุ่ม วิธีการพัฒนากลุ่ม ปทัสถานของกลุ่ม (Group Norms) ระบบค่านิยมของกลุ่ม (Value) อิทธิพลของกลุ่มต่อบุคคลที่อยู่ภายใต้องค์การ และต่อการบริหารงานขององค์การที่กลุ่มนั้น ๆ

นอกจากนี้ยังศึกษาถึงบทบาท (Role) และสถานะภาพ (Status) ของสมาชิกกลุ่ม ว่าลักษณะดังกล่าวมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของกลุ่มและพฤติกรรมของบุคคล รวมทั้งการบริหารงานขององค์การเพียงใด ซึ่งพิจารณาถึงคุณลักษณะของกลุ่ม แยกได้ 2 ลักษณะ คือ

 1.       กลุ่มที่เป็นทางการ หมายถึง กลุ่มที่กำหนดขึ้นโดยโครงสร้างขององค์การและมีกฎเกณฑ์ระบบการบังคับบัญชาเป็นไปตามระบบขององค์การที่เป็นทางการ

2.        กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ หมายถึง กลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคล โดยอาศัยพื้นฐานทางด้านผลประโยชน์และความเป็นเพื่อน 

. การจูงใจในการทำงาน (Motivation Factors)

 นักทฤษฎีองค์การสมัยใหม่มีสมมติฐานในการจูงใจว่า  ความสุขและความพึงพอใจของลูกจ้างจะนำมาซึ่งการทำงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น  (Stephen,2000, pp. 80 – 81) การศึกษาถึงความต้องการที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของมนุษย์ทำให้นักทฤษฎีองค์การสมัยใหม่เชื่อว่ามนุษย์จะมีความ สุขและความพึงพอใจมากยิ่งขึ้นเมื่อความต้องการของเขาเหล่านั้นได้รับการสนองตอบการศึกษา ถึงความต้องการที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของมนุษย์ เรียกว่า เป็นการจูงใจโดยพิจารณาจากปัจจัยภายใน (Internal Motivation) ซึ่งการศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวพันกันกับเรื่องราวของแต่ละบุคคล และลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์และได้ศึกษาถึงปัจจัยภายนอกที่ผลกระทบต่อการจูงใจบุคคลในการทำงาน (External Motivation) เช่น การศึกษาถึงสภาพการทำงานและลักษณะทั่วไปภายในองค์การที่สามารถก่อให้เกิดแรงจูงใจขึ้นได้  

ทฤษฎีการจูงใจของ เฮิร์ซเบิร์ก หรือ Hygine Theory (Herzberg's Motivation-Hygiene Theory)

 ระบบการทำงานในองค์การนั้นมีปัจจัยอยู่ 2 จำพวก ที่จะมีส่วนสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับพนักงาน ปัจจัยชนิดแรกเรียกว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ (Motivator Factors) ส่วนปัจจัยชนิดที่ 2 เรียกว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ (Hygiene Factors)  

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ (Motivator Factors) หมายถึง ปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้ว จะสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน และเป็นผลทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ ปัจจัยจำพวกนี้ได้แก่

1)      ความสำเร็จในหน้าที่การงาน (Achievement)

2)      ความยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน (Recognition)

3)      ลักษณะของงาน (Work Itself) ความท้ามายของงาน

4)      ความรับผิดชอบ (Responsibility)

5)      ความก้าวหน้าในการงาน (Advancement)

6)      การเติบโตของแต่ละบุคคล 

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ (Hygiene Factors) หมายถึง ปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานขึ้นได้ (Hygiene แปลว่า การหลีกเลี่ยงความยากลำบากทางสุขภาพของมนุษย์จากสภาพแวดล้อม) ก็ไม่ได้สร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน แม้จะเพิ่มปัจจัยจำพวกนี้ก็ไม่เป็นผลทำให้พนักงานมีความพึงพอใจ และกระตือรือร้นที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวขึ้นได้ ปัจจัยจำพวกนี้ได้แก่

1)      นโยบายและการบริหารงาน (Policy and   Administration)

2)      เทคนิคและการควบคุมงาน (Supervision Technical) การบังคับบัญชา

3)      เงินเดือน (Salary) ฐานะ ความมั่นคง

4)      ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา (Internal Relation  Supervision)

5)      สภาพการทำงาน (Working Conditions)

6)      เรื่องราวส่วนตัว แนวทางการศึกษาของพฤติกรรมศาสตร์ คือ การพยายามเพิ่มประสิทธิภาพองค์การ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม เทคนิคของการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของคน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ (Job redesign) การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหาร เช่น เทคนิค คิวซี เซอร์เกิล เหล่านี้ ต่างก็จะสามารถนำไปใช้ได้เหมาะสมกับบางคน และในบางสถานการณ์เท่านั้น และไม่อาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะนำไปใช้ทั่วไปทุกแห่งบทุกสถานการณ์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นที่ยอมรับกันในบรรดานักพฤติกรรมศาสตร์ว่า การเข้าใจสถานการณ์นับว่าเป็นเรื่องจำเป็นยิ่ง ที่จะมีผลต่อการบริหารงานของนักบริหาร การก้าวเข้าสู่การศึกษาการบริหารตามสถานการณ์ โดยพฤติกรรมศาสตร์เป็นเครื่องมือประกอบ และมีสภาพแวดล้อมใหม่คือ ข้อมูลและเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในทุกจุดของการทำงาน จึงเป็นแนวทางการบริหารแบบใหม่ที่ใช้อยู่ในทุกวันนี้ จากทฤษฏีที่ได้กล่าวมาข้างต้น  ทำให้นักบริหารทั้งหลายเชื่ออย่างค่อนข้างมั่นใจว่า  การที่จะให้มนุษย์ในองค์การปฏิบัติงานให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น  จำเป็นต้องมีระบบการทำโทษให้รางวัล  จำเป็นต้องปิดกรอบและวิธีการปฏิบัติการปล่อยให้มนุษย์ในองค์การคิดอะไรทำอะไรเองนั้น  เสี่ยงต่อความสูญเปล่าทั้งด้านเวลาและเศรษฐกิจและยังอาจจะเป็นผลที่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดการสำคัญผิด   แทนการทำให้มนุษย์ในองค์การเกิดความรู้สึกสำคัญว่า  เราคือส่วนสำคัญส่วนหนึ่งขององค์การ  กลับต้องขู่พนักงานเอาไว้เสมอว่า  อย่าสำคัญผิดคิดว่าตนมีความสำคัญ  ทั้งนี้เพื่อป้องกันการทำให้พนักงาน  ปฏิบัติตัวไม่เคารพผู้บังคับบัญชาได้  ผู้บังคับบัญชาที่ดีในทัศนะนี้คือ  ผู้ที่ผู้ใต้บังคับบัญชา  จะต้องดูแลอาใจใส่เป็นพิเศษ  และประจบสอพลอ  เพื่อจะได้สิ่งที่ตนเองอยากได้  ความต้องการส่วนตัวมักจะได้รับการตอบสนองสูง  แต่ความต้องการทั้งในด้านความอยู่รอดขององค์การ  ความเจริญเติบโตขององค์การ  และสัมฤทธิผลขององค์การกลายเป็นเรื่องรองลงมา                       แนวความคิดใหม่ในด้านความต้องการของมนุษย์  จึงได้ประยุกต์เอาแนวความคิดด้านจิตวิทยาสังคม (Social   Psychology)  ทฤษฎีด้านพฤติกรรมศาสตร์ ( Behavioral )  และแนวความคิดด้านสัมฤทธิผลส่วนบุคคล ( Individual  Effectiveness)  มาประมวลกันเข้าเป็นแนวทางปฏิบัติ     การจัดการสมัยใหม่จึงมุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูล (Supportive  Environment)  เพื่อให้มนุษย์ในองค์การซึ่งเป็นคนธรรมดา  (Normal  Human  Being)  ได้สนองความต้องการของตัวเองได้

    

หมายเลขบันทึก: 45644เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท