Strategic Planning


การวางแผนเชิงกลยุทธ์เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์ว่าควรทำอย่างไร เพื่อให้ได้ตามทิศทางที่กำหนดไว้
Strategic Planning คือ
       
        การวางแผนเชิงกลยุทธ์เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพขององค์กร การนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ในการจัดวางทิศทางขององค์กร จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์ว่าควรทำอย่างไร เพื่อให้ได้ตามทิศทางที่กำหนดไว้
       
       การวางแผนกลยุทธ์ต้องตอบคำถาม 3 ประการ
       
        1. ทำอย่างไรองค์กรจึงจะสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ได้
       
        2. ทำอย่างไรทุกคนในองค์กรจึงจะทำงานไปในทิศทางเดียวกัน ตามกลยุทธ์ที่วางไว้
       
        3. จะวัดหรือติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างไร
       
       5 ขั้นตอนสำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์
       
        1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อม โดยพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
       
        2. จัดวางทิศทางขององค์กร โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างชัดเจน
       
        3. กำหนดกลยุทธ์ โดยพิจารณาจากความเหมาะสม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง จากการวิเคราะห์ทางเลือกด้วยเทคนิคต่างๆ
       
        4. ปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ โดยดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ คำนึงถึงโครงสร้างขององค์กร และวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและเกิดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
       
        5. ควบคุมเชิงกลยุทธ์ โดยติดตามผลการปฏิบัติงานประเมินผลกระบวนการและประเมินผลสำเร็จขององค์กร
       
       กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์มักจะนำไปใช้เพื่อ
       
       1. เปลี่ยนทิศทางและผลการดำเนินงานทางธุรกิจ
       
       2. สร้างกรอบการทำงานที่ต้องอาศัยการตัดสินใจในองค์กร
       
       3. กำหนดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในเรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณและการประเมินผลการดำเนินงาน
       
       4. ฝึกอบรมผู้บริหารเพื่อพัฒนาการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น
       
       5. เพิ่มความมั่นใจในทิศทางการดำเนินธุรกิจ
       
       เกณฑ์สำคัญในการพิจารณากลยุทธ์
       
        1. เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
       
        2. เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
       
        3. เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ในระยะยาว
       
        4. เป็นกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสม
       
        5. เป็นกลยุทธ์ที่เป็นไปได้
       
       หลัก 5 ประการที่ควรคำนึงถึงในการวางแผนเชิงกลยุทธ์
       
        1. ลักษณะธุรกิจที่ดำเนินการอยู่(What business you are in?)
       
        2. ลักษณะธุรกิจในอนาคต(Where do you want to go?)
        3. สภาพแวดล้อม(Environment)
       
        4. การจัดสรรทรัพยากร(Resources allocation)
       
        5. การปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์(Achievement)
       
       การวางแผนเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศ
       
        1. จัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ที่เป็นระบบ และเป็นกระบวนการที่มีความชัดเจนทุกขั้นตอน สามารถทำซ้ำได้ สามารถวัดผลได้ และกระบวนการมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามวงจร Plan-Do-Check-Act(PDCA)
       
        2. จัดทำแผนที่มีทิศทางเดียวกันและมีการบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการการนำแผนไปปฏิบัติ และระบบปฏิบัติการ
       
        3. กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่มีความสมดุลตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ค่านิยมด้านลูกค้า ค่านิยมด้านพนักงาน ค่านิยมด้านธุรกิจ ค่านิยมด้านชุมชน
       
       ปัญหาในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
       
        1. วิสัยทัศน์ ภารกิจ ไม่ชัดเจน รวมถึงวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และภารกิจหลักขององค์กรทำให้เกินการขัดแย้งเชิงกลยุทธ์
       
        2. การขาดภาวะผู้นำและทิศทางที่ชัดเจนของผู้บริหาร
       
        3. สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป มีปัจจัยภายนอกซึ่งไม่สามารถควบคุมได้เกิดขึ้น โดยที่องค์กรไม่มีแผนฉุกเฉินรองรับ
       
        4. หน่วยธุรกิจ และหน่วยงานต่างๆ ขาดการประสานงานที่ดีในองค์กร มีระบบสารสนเทศที่ไม่สามารถติดตามผลการดำเนินงานต่างๆ ได้
       
        5. การพัฒนาทักษะและความสามารถของพนักงานไม่เพียงพอ ไม่มีการระบุงานทั้งหมดไว้ ทำให้ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม
       
       กฎของการวางแผนเชิงกลยุทธ์
       
        1. แปลงกลยุทธ์ไปสู่ทีมปฏิบัติการต่างๆ โดยสร้างให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานร่วมกัน ซึ่งแต่ละคนจะรู้เป้าหมายของตนเองอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง
       
        2. ปรับองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ เพราะแต่ละหน่วยย่อมมีบทบาทหน้าที่ มีองค์ความรู้และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การจะทำให้กลยุทธ์ได้รับการปฏิบัติและดำเนินไปอย่างราบรื่นนั้น จำเป็นต้องปรับองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ เพื่อสร้างให้องค์กรมีเอกภาพและเข้มแข็ง
       
        3. ทำให้กลยุทธ์เป็นเสมือนงานประจำวันของทุกคน ต้องทำให้ทุกๆคนเข้าใจกลยุทธ์ และสามารถทำงานประจำวันของตนไปในทิศทางที่สอดคล้องสนับสนุนความสำเร็จของกลยุทธ์ ซึ่งไม่ใช่การสั่งการจากบนลงล่าง แต่เป็นการสื่อสารระหว่างทั้งสองระดับ
       
        4. ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง
หมายเลขบันทึก: 45615เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุงคร้าสำหรับข้อมูล ช่วยได้มากเรยอ่ะ

ขอคุณครับ ได้ความรู้ไปทำรายงานเยอะเลย

ขอบคุณจริงๆที่มาให้ความรู้กับคนทั่วไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท