คุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำ


คุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำ

จากกระแสโลกาภิวัตน์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งโดยองค์ประกอบภาวะ ฐานะ ทิศทางสถานการณ์ในโลกที่เปลี่ยนแปลงนำไปสู่ความแปรปรวนของโอกาส และข้อจำกัดหลายประการ ในฐานะผู้นำที่พึงประสงค์ ในยุคโลกาภิวัตน์ย่อมต้องรู้และเข้าใจสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงของโลก ใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้น หรือสร้างโอกาสให้เกิดขึ้นตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของหมู่คณะ สังคม และประเทศชาติเป็นหลักสำคัญ ไม่มุ่งแต่หาประโยชน์ส่วนตนโดยมองข้ามซึ่งคุณธรรม จริยธรรม อันดีงามแห่งสังคมและประเทศชาติ ผู้นำที่พึงประสงค์นี้จะถูกยกย่อง ยอมรับ ศรัทธา นับถือจากหมู่ชนทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทำให้องค์กรสามารถเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน และมั่นคงตลอดไป
ปัญหาเกี่ยวกับผู้นำก็มักเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันเสมอ ผู้นำบริหารงานอย่างไม่มีเอกภาพ ไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ใช้อำนาจโดยมิชอบ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง และยึดหลักประโยชน์นิยมเป็นใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงความอยู่รอดขององค์กรหรือคนในสังคมส่วนใหญ่๑ เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมทำให้เกิดสภาพการณ์ของสภาวะผู้นำที่ไม่พึงประสงค์เกิด
ขึ้นในสังคม กล่าวคือ เป็นปัญหาเกี่ยวกับการขาดซึ่งคุณธรรม จริยธรรม อันเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำที่ดี จึงทำให้กลไกของการบริหารงานล้มเหลว ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อความเสื่อมและความเจริญขององค์กรหรือสังคมนั้น ๆ และบางครั้งอาจส่งผลทำให้เกิดความล่มสลายแห่งองค์กรหรือสังคมนั้น ๆ คุณธรรมและจริยธรรม ถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการดำเนินบทบาทหน้าที่ของการเป็นผู้นำที่ดี หากผู้นำขาดซึ่งคุณธรรมและจริยธรรม ย่อมทำให้ผู้นำนั้นขาดความชอบธรรม
ในการทำหน้าที่ในองค์กรนั้นต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากคุณธรรมและจริยธรรมถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของบทบาทหน้าที่ของผู้นำ ที่ทำให้ผู้นำสามารถได้รับการยอมรับความเชื่อถือ ตลอดจนการนับถือจากบุคคลต่าง ๆ ทั้งในองค์กรและในสังคมทั่วไป ดังนั้น ปัญหาการขาดคุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำ ย่อมทำให้ผู้นำไม่เป็นที่ยอมรับต่อบุคคลทั่วไปในองค์กรและในสังคม ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อ หลักการบริหารงานและภาพลักษณ์ขององค์กรให้เสื่อมลง และย่อมนำมาซึ่งความล่มสลายขององค์กรในอนาคตเช่นกันปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดขององค์กรใด ๆ คือคุณภาพของผู้นำ คุณภาพของการเป็นผู้นำ คือ สิ่งที่กำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรหนึ่งๆ นี่คือ คำพูดที่เป็นจริงเสมอไม่ว่าองค์กรนั้นจะยิ่งใหญ่ระดับชาติ ดังนั้น เมื่อใดก็ตาม หากผู้นำสูงสุดในองค์กร ตลอดจนผู้นำในทุกระดับขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ขาดคุณภาพของการเป็นผู้นำที่ดีแล้วผู้นำนั้นก็ขาดเป้าหมายการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร ไปสู่ความคิดสร้างสรรค์แบบ
ใหม่ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Creating a learning organization) เพื่อประยุกต์การบริหารงานให้เกิดความก้าวหน้าแก่องค์กร นั่นย่อมหมายความว่า องค์กรที่เคยอยู่มานานนับเป็นสิบ ๆ ปี มีชื่อเสียงโด่งดังมาตลอด เมื่อองค์กรหยุดการพัฒนาตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์แล้วองค์กรนั้นจะหยุดนิ่ง ซึ่งก็เท่ากับความล่มสลายขององค์กรในที่สุดเช่นกันฉะนั้นในสังคมปัจจุบัน ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรใด ๆ ซึ่งส่งผลให้องค์กรนั้น ๆ เกิดความเสื่อมเสียหรือการล่มสลายแห่งองค์กร ล้วนมีปัจจัยสำคัญมาจากการขาดคุณสมบัติในบทบาทหน้าที่ของผู้ที่ได้ชื่อว่า “ผู้นำ” แห่งองค์กรหรือสถาบันนั้น ๆ ทั้งสิ้น
ที่ดีไว้หลายหลักธรรมด้วยกัน เช่น ทศพิธราชธรรม พรหมวิหาร ๔ ธรรมาธิปไตย พละ ๔ และสัปปุริสธรรม ๗ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสัปปุริสธรรม ๗ ถือเป็นหลักธรรมที่สำคัญที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ในการเป็นผู้นำที่ดี โดยมีองค์ประกอบ ๗ ประการคือ รู้หลักการ รู้จุดหมาย รู้ตน รู้จักประมาณ รู้จักเวลา รู้ชุมชน และรู้บุคคล ซึ่งมีผู้ทำการวิจัยได้ศึกษาแล้ว พบว่าหลักสัปปุริสธรรม ๗ นี้มีคุณสมบัติในการ เป็นผู้นำที่สมบูรณ์แบบทั้งด้านคุณภาพทางจิตใจ และคุณภาพทางความสามารถ นอกจากนี้ ภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรม ผู้นำที่ดีจะต้องยึดหลัก “ธรรม” คือคุณธรรมและการปฏิบัติธรรม เป็นลักษณะสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ของตน เพื่อให้กิจการงานทุกอย่างบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมุ่งที่จะให้เกิดประโยชน์สุขแก่มวลชน สังคม และประเทศชาติ อย่างยั่งยืนตลอดไป

หมายเลขบันทึก: 455820เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2011 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท