การศึกษาไทย : 1 เดินผิดทาง


         กระแสปฏิรูปการศึกษาดำเนินมาเป็นสิบปี   จนเกิดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542   ใช้มาแล้ว 7 ปี   เวลาส่วนใหญ่อยู่ภายใต้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ใช้ รมต. ศึกษาฯ เปลืองที่สุด   และมีผู้วิเคราะห์ว่าไม่จริงใจต่อการปฏิรูปการศึกษา

         บัดนี้เวลาผ่านมาหลายปี   ผมฟันธงกับคนในกระทรวงศึกษาธิการหลายคนแล้วที่เป็นคนระดับอดีตอธิบดี  รองปลัดฯ  และคนที่มีตำแหน่งสูงในปัจจุบันว่า   คุณภาพของนักเรียนที่จบระดับต่าง ๆ ด้อยลงไปกว่าเดิม   ไม่เห็นมีใครเถียงผมสักคน

         ปฏิรูปการศึกษาแล้วคุณภาพการศึกษาเลวลง   ไม่น่าเป็นไปได้   แต่เป็นไปแล้ว   ภายใต้การบริหารของรัฐบาลคุณทักษิณ

         คุณภาพการศึกษา  คุณภาพของผลผลิตในภาพรวมเลวลงจริงหรือไม่   ผมไม่มีคำตอบ   แต่ข้อสรุปของผมว่าเลวลง

         ทำไมจึงเลวลง   ผมไม่รู้มากพอที่จะตอบ   แต่ผมจะเดา

         ต้นเหตุใหญ่ที่สุดคือ   ครูเอาใจใส่ศิษย์น้อยลง   เพราะรัฐบาลบริหารแบบประชานิยม   ครูนิยมใช้ตำแหน่ง  ค่าตอบแทนแลกกับความจงรักภักดี   โปรยตำแหน่งอาจารย์ 3 และอื่น ๆ   แต่มีเงื่อนไขให้ต้องทำผลงานวิชาการ

         เป็นผลงานวิชาการที่ไม่ยึดโยงอยู่กับความเอาใจใส่ลูกศิษย์หรือยึดโยงก็แบบหลอก ๆ

         เกิดทั้งผลงานวิชาการกลวง ๆ หลอก ๆ และตำแหน่งสูงขึ้นโดยไม่สามารถดูแลเด็กได้ดีขึ้น

         แต่ระหว่างทำผลงานทางวิชาการก็ต้องทิ้งเด็ก

         ผู้บริหารไม่ต้องสอน   คอยต้อนรับและเอาใจนักการเมืองและเจ้านายเป็นใช้ได้

         เหล่านี้คือการเดินผิดทางในวงการศึกษาไทยในระดับนโยบาย  ระดับบริหาร

         แต่ครูที่เดินถูกทางก็ยังมีอยู่  ครูเหล่านี้เป็นแกะดำ  เป็นผู้กระด้างกระเดื่อง   เป็นผู้ทวนกระแส

         เดินถูกทางคือทางแห่งความเอาใจใส่ศิษย์  รักศิษย์  สร้างความรู้และผลงานจากการดูแลศิษย์   ไม่ใช่จากการทอดทิ้งศิษย์

วิจารณ์  พานิช
 20 ส.ค.49

หมายเลขบันทึก: 45565เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

"ประโยชน์ใด ๆ ที่แล้วมา ไม่อาจนำพา "เรือจ้าง" ข้ามฝั่งได้........ แต่หากรวมพลังเพื่อวันใหม่ที่สดใสและเป็นพลัง..... เป็นกำลังใจให้"ครู" ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและปราศจากเจตคติที่ไม่ดี เชื่อว่า "ครู" ก็ยังไม่สิ้นหวัง บนเส้นทางที่ได้เลือกแล้วและกำลังเดิน....ต่อไป ไม่มีใครผิดและเดินหลงทาง แต่ถ้ายังไม่ทำอะไร ทุกอย่างที่ทำมาจะถึงทางดัน.........

  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์หมออย่างสูงเลยครับ ที่นำเสนอมุมมองท่านด้านนี้ออกมาครับ
  • เพราะในฐานะอดีตอาจารย์ผู้น้อยในมหาวิทยาลัย ขอยืนยันอีกแรงได้เลยครับว่า "เป็นอย่างที่อาจารย์หมอพูดจริง ๆ ครับ"
  • โดยเฉพาะตอนที่เกิดองค์กรมาตรฐานเยอะ ๆ คอยเข้ามาตรวจเอกสารและจัดลำดับชั้นของมหาวิทยาลัย
  • ครู อาจารย์ ก็ยิ่งโดนผู้บริหารบังคับให้ทำผลงานทางวิชาการมาก ๆ เพื่อที่จะได้เลื่อนลำดับชั้นของมหาวิทยาลัย
  • งบประมาณส่วนใหญ่ทุ่มเทไปให้อาจารย์เขียนเอกสารทางวิชาการ เดินทางค้นคว้าเอกสาร ประชุม สัมมนา การเขียนเอกสาร จัดเจ้าหน้าที่ไว้คอยพิมพ์เอกสาร วัสดุครุภัณฑ์ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เอาไว้ให้อาจารย์ทำผลงานทางวิชาการ
  • ส่วนงบกิจกรรมนักศึกษา งานกิจการนักศึกษา น้อยมาก ๆ ครับ ถ้าคิดต่อหัวนักศึกษาต่อคนต่อเทอม บางครั้งยังไม่ถึงร้อยบาทครับ
  • แต่งบประมาณพัฒนาอาจารย์และเขียนเอกสารทางวิชาการมากโขเลยครับ
  • ดังเช่นที่อาจารย์หมอบอกเลยครับว่า เหมือนจะเชื่อมโยงกันครับ เพราะเขียนเอกสารทำงานวิจัยจะทำให้การสอนดีขึ้น แต่ทางปฏิบัติกลับสวนคนละทางกันเลยครับ คนไทยนี่มหัศจรรย์มาก ๆ เลยครับ เก่งจริง ๆ ครับ ทำเอกสารได้ วิจัยได้อย่างมากมาย บางครั้งเก่งกว่าฝรั่งอีก แต่นำมาสอนเด็กไม่ได้ครับ
  • ทำงานให้กับจังหวัด หน่วยงานต่าง ๆ อย่างเต็มที่เลย ประชุมโน่นประชุมนี่ ลงชุมชนตลอดเวลา แต่มาสอนหนังสือไม่ได้ อ้างว่าติดประชุม ผมงงมาก ๆ เลยครับ
  • เรื่องของการสอนเอาไว้ลำดับสุดท้ายเลยครับ
  • เหมือนดังเช่นที่น้องคนหนึ่งที่เข้ามาสอบถามผมขอความคิดเห็นเรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยโดยเฉพาะเรื่องการสอบสอนครับ
  • ผมก็เลยเล่าให้ฟังว่ามหาวิทยาลัยในปัจจุบันเน้นหาคนทำงาน ทำ KPI ทำงานวิชาการ ทำวิจัย (แบบตอบสนอง KPI) มากกว่าสอน เรื่องสอนเป็นเพียงแค่หน้าที่ (ลำดับสุดท้าย) สอนให้รู้ว่าได้สอน
  • อาจารย์ต้องสอน สอนให้ครบทุกชั่วโมง แต่ไม่เน้นคุณภาพการสอนเลยครับ พูด ๆ ไปให้ครบชั่วโมง แล้วก็สั่งงานให้คล้าย ๆ ว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง Learning organization บ้าง สั่งงานเพื่อตอบสนอบ KPI บ้างครับ
  • สอนครบแต่ไม่มีคุณภาพ เด็กไม่รู้เรื่องเลย ไม่มีปัญหาครับ
  • สอนไม่ครบแต่สอนดีมีคุณภาพ เด็กเข้าใจสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเอนกอนันต์ สอนแบบนี้มีปัญหาครับ ถูกต้องสำหรับการศึกษาและนักศึกษาแต่ไม่ถูกใจผู้บริหารครับ
  • ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

เห็นด้วยครับกับอาจารย์อย่างมากครับ

ทำให้ผมได้มุ่งมองและแนวคิดเพิ่มขึ้นอีกครับ

เป็นอาหารสมองชั้นดี และถือว่าเป็นกำลังใจให้แก่ ผู้ตามกระแส แต่ไม่ตามกกระแส ของแนวคิดของเรื่องการศึกษาที่ดูเหมือนจะดี แต่ยิ่งทำให้เลวร้ายขึ้นอีกครับ

           เห็นด้วยกับความคิดเห็นของอาจารย์  การศึกษาไทยยิ่งปฏิรูปยิ่งยุ่งเหยิงวนเวียนอยู่ในอ่าง  

           ยิ่งเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาบ่อย  นโยบายก็เปลี่ยนเป็นว่าเล่น  คนที่มาเป็นรัฐมนตรีมีความเข้าใจเรื่องการศึกษามากน้อยขนาดไหน  ปัญหาที่แท้จริงของการศึกษาไทยคืออะไร วิถีชีวิตของคนไทยเป็นอย่างไร  การที่จะนำของผู้อื่นมาใช้เคยมองอะไรบ้างหรือไม่ว่าสามารถนำมาใช้กับสังคมไทยหรือคนไทยได้มากน้อยแค่ไหน

         การใช้การประเมินจากบุคคลภายนอก  ผู้ประเมินและแบบประเมินอยู่บนมาตรฐานเดียวกันหรือไม่   การประเมินสามารถบ่งบอกอะไรบ้าง แล้วผลการประเมินนำไปใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับการศึกษามากน้อยขนาดไหน   โรงเรียนที่ผ่านการประเมินกับโรงเรียนที่ไม่ผ่านแตกต่างกันอย่างไร

         สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้บริหารและครูผู้สอนสับสนต่อการปฏิบัติ   ทำให้ผู้บริหารและครูเดินหลงทาง  หาทางออกไม่ได้   ผู้บริหารมั่วเมาแต่ชื่อเสียง  ผุ้บริหารพยายามทำให้โรงเรียนได้รับรางวัลมากมายจากกการประกวดก็คิดว่าการจัดการศึกษาประสบความสำเร็จ 

       แต่หารู้ไม่ว่าเวลาที่จะทำการสอนนั้นกลับ นำมาทำเอกสารหลักฐานเพื่อรับรองการประกวด  แล้วจะไม่ทำให้คุณภาพการศึกษาไทยต่ำได้อย่างไร

       การศึกษาไทยจึงจบลงด้วยความเศร้า

       

           

แล้วเราจะช่วยกันแก้ไขได้อย่างไรครับ ?
  • มองแบบ 'การทำลายล้างอย่างสร้างสรรค์' กรณีนี้จะทำให้โรงเรียนเอกชนเข้มแข็งขึ้นครับ เพราะเกิดการแข่งขัน
  • ผลดีจะตกกับคนที่มีเงินเรียนเอกชน
  • และก็นักลงทุน
  • คนจนเกี่ยวครับ เพราะกู้จากรัฐได้
  • นักลงทุนรวยเละ

งบประมาณสนับสนุนห้องสมุดก็เป็นในทางตรงกันข้ามกับประโยค "ห้องสมุดเป็นหัวใจของการศึกษาค้นคว้า"  ห้องสมุดประชาชนที่มาเลเซีย งบประมาณมากกว่าห้องสมุดมหาวิทยาลัย(บางแห่ง) ไม่ต้องพูดถึงห้องสมุดประชาชนในประเทศไทยเลยค่ะ ต้องอาศัยเอกชนช่วยสนับสนุนงบประมาณ จึงจะทำให้ห้องสมุดทำงานได้

การจัดทำ TK Park เป็นสิ่งดีค่ะ แต่ทำให้ทั่วถึง ทั่วประเทศดีกว่าเอาไปให้เด็กที่มีโอกาสเหลือเฟือในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ดีกว่ามั๊ย

ครูสอนมา 30 ปีเศษ มีประสบการณ์ทางการสอนมา 3 หลักสูตร 03,21,42 สรุปได้ว่าหลักสูตร 42 ยุ่งเหยิงที่สุด มากสาระ หนักเนื้อหา เวลาน้อย อยากให้นักเรียนเก่งหรือคะ เสียใจค่ะ นักเรียนสมัยนี้ ยิ่งเรียนยิ่งขี้เกียจ ไม่คิดมากขึ้น ไม่มีความพยายาม ยากหน่อยก็ไม่ยอมคิดต่อแล้ว เฉยเมยกับการเรียน คล้ายๆกับมีนักเรียนโง่มากขึ้นในปัจจุบัน ครูสอน ครูเคี่ยว เอาใจใส่มากแค่ไหน เหน็ดเหนื่อยปานใด ผลกลับมาหาคุ้มไม่ นักเรียนไม่เอาวิชาการเลย ต้องปรับหลักสูตรของประเทศแล้วล่ะ ไม่เช่นนั้น ในอนาคตประเทศไทยจะมีประชากรที่(อยาก)โง่เต็มบ้านเต็มเมือง ประเทศชาติจะอยู่อย่างไร ถ้าบ้านเมืองมีแต่คนคิดไม่เป็น
     อะไรๆก็ลุ้นครูธรรมดา ให้เป็นครูมืออาชีพ แล้วผู้บริหารมืออาชีพล่ะ.....เคยเคี่ยวเข็ญกันบ้างไหม ที่โรงเรียนนะ...ผู้บริหารทำงานไม่เป็นเลย เสียดายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง เรามันครูน้อย...จะแนะจะนำก็ไม่ได้ เพราะเราคือครูน้อย อยากเป็นเหมือนเขา อยากทำงานสบายก็ต้องเป็นผู้บริหารเสียก่อนเถอะ จึงค่อยมาติติง  โอ....กรรมเวรของโรงเรียนนี้จริงๆ  นี่แหละผลของการยุบ สปอ. ไม่เห็นจะดีตรงไหน ผู้บริหารโรงเรียนสบายเฉิบๆๆ ทำงานไม่เข้าท่าใครก็ไม่มาเห็น เพราะผู้บังคับบัญชาไม่อยู่ไกล สบายแฮ  ประเทศไทย(ไม่)เจริญ
    ครูไทยจะอ้วกแตกแล้วเจ้านายยยยยยยยย
มันอะไรกันนนนนนนนนนน......นักเรียนโง่ๆๆๆๆๆๆๆ มาก       อย่าว่าครูเลย.......เด็กเดียวนี้ไม่รักการศึกษาเล่าเรียน....ช่วยด้วยเจ้าข้า....

เพราะรัฐบาลไม่จริงใจต่อการแก้ปัญหาการศึกษา หลอกล่อให้เงินครูน้อยๆ เป็นผู้บริหารจะได้สบายไม่ต้องสอน ทั้งที่เรียนมาเพื่อจะสอนเด็ก  พอเป็นครได้จะไม่สอนเด็ก อะไรกันเนี่ย     แล้วพวกครูทำผลงานทั้งอาจารย์ 3 คศ. 3  ที่เก่งจริงๆ ก็มีมาก ทำเอาหน้าพอผ่านก็เลิกก็มีมาก    คนตรวจผลงานจะให้ครูคนใดได้เป็นอาจารย์ 3 หรือ คศ.3  ต้องมาสังเกตการณ์ ซัก 1 ภาคเรียน   ว่าครู เหนื่อย สมควรจะได้อาจารย์ 3-4 คศ.3-4  โดยประสบการณ์  ตั้งแต่ก้าวขาเข้าโรงเรียนเจอนักเรียนต้องแก้ปัญหา กลับบ้านยังโทรฯมาปรึกษา  ทำงานตลอดเวลา 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท