โรคใส้เลื่อนในวัยสูงอายุ


โดย Sakulkarn

A: เวลาเจ็บป่วยจะรอให้เป็นหนักๆก่อนแล้วค่อยไปหาหมอรักษา   สูบบุหรี่ > 10 มวน/วัน ไม่ค่อยชอบทานผัก เคี้ยวของแข็งไม่ค่อยได้ มีแผลเล็กๆบริเวณหน้าแข้งข้างขวาเนื่องจากเดินเตะโต๊ะ แผลแห้งดีแล้ว ตาข้างขวาของผู้ป่วยมีอาการพร่ามัวเล็กน้อย แต่ตาข้างซ้ายเห็นชัด ปกติ  มีอาการหน้ามืดบ่อยครั้งเมื่อลุกจากที่นอนเร็วๆ  ประเมินการพลัดตกหกล้ม ได้ 55 คะแนน BMI=21.4 ปกติ ผู้ป่วยอาศัยอยู่กับภรรยาและลูกชาย รอบบ้านมีบ้านหลายหลังติดกันเป็นบ้านของคนใกล้ชิดญาติพี่น้องและลูกชายอีก 2 คนของผู้ป่วยบ้านของผู้ป่วยเป็นบ้าน 2 ชั้น ผู้ป่วยนอนอยู่ชั้นล่างกับภรรยา บันไดขึ้นชั้น 2 ไม่มีราวจับแต่ผู้ป่วยบอกว่าไม่ขึ้นไปชั้น 2อยู่แล้วเพราะเป็นห้องลูกชาย แสงสว่างภายในบ้านเพียงพอ อากาศถ่ายเทสะดวก พื้นห้องส่วนใหญ่เป็นพื้นกระเบื้อง มีความลื่นเล็กน้อย เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้ โดยเฉพาะถ้าหากพื้นเปียกน้ำ ข้าวของในห้องนอนและห้องนั่งเล่นจัดเป็นระเบียบเรียบร้อยดี แต่ข้าวของในห้องครัวและห้องเก็บของจะไม่ค่อยเป็นระเบียบ ห้องน้ำ มีแสงสว่างเพียงพอดี ไม่มีราวจับ เป็นส้วมหลุม พื้นลื่น เสี่ยงต่อการหกล้มได้

P: - ส่งแสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไส้เลื่อน

     -ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของการสูบบุหรี่

I :

Mediciation

 -แนะนำการรับประทานยา โดย

-ควรรับประทานยาตรงตามเวลา เช้า กลางวัน เย็น   ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร แก้ไขเรื่องการลืมรับประทานยาโดยแนะนำให้มีสมุดจดยา สำหรับลงยาในแต่ละวัน เช่น ถ้ากินยาก่อนอาหารเช้าแล้ว ก็ให้มาเขียนลงในสมุดว่ากินยาก่อนอาหารตัวนี้ไปแล้ว และถ้าลืมว่ากินยาไปหรือยัง จะได้มาเปิดสมุดดู หรือหากล่องใส่ยาที่มีหลายๆช่องมาจัดยาเตรียมไว้และแยกว่าช่องนี้วันจันทร์ วันอังคาร… ช่องนี้ก่อนอาหาร หลังอาหาร เป็นต้น

Metformin 500 mg 1x1 hs.

ทานวันละ 1 เม็ด 1 ครั้ง เวลา ก่อนนอน

Aspirin 81 mg 2x2 pc.

ทานวันละ 2 เม็ด 2 ครั้ง เวลา หลังอาหาร ตอนเช้าและตอนเย็น

Zimva 10 mg 1x1 pc.

ทานวันละ 1 เม็ด 1 ครั้ง หลังอาหาร ตอนเช้า

Glibenclamide  mg  1x1 ac.

ทานวันละ 1 เม็ด 1 ครั้ง ก่อนอาหาร

Enalapril maleate 5 mg 1x1 pc.

ทานวันละ 1 เม็ด 1 ครั้ง หลังอาหาร ตอนเช้า

-ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรเพิ่ม หรือ ลดขนาดยาเอง และควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะอาจทำให้อาการกำเริบขึ้น

Environment

-แนะนำให้เปลี่ยนจากส้วมหลุมมาเป็นแบบชักโครกหรือหาสิ่งของมาดัดแปลงคล้ายเก้าอี้แทนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ อาการปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม เมื่อต้องนั่งส้วมหลุมนานๆ  และให้ทำราวจับในห้องน้ำ บันไดชั้น 2 ควรมีราวจับ  หลีกเลี่ยงการขึ้น ลง บันได ถ้าไม่จำเป็น

 

Treatment

-อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ต้องกินยารักษาตลอดชีวิตเพื่อควบคุมอาการ เป็นโรคที่สามารถควบคุมได้โดยการปฏิบัติตัวดูแลตนเองทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร ทานยารักษาตามแพทย์สั่งและการออกกำลังกาย  และแนะนำให้สังเกตอาการตนเอง อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น เหงื่อออกมาก ตัวเย็น ใจสั่น หัวใจเต้นแรงและเร็ว หิวมาก มือสั่น อารมณ์หงุดหงิดง่าย ปวดศีรษะ มึนงง หน้ามืด ตาลาย  ถ้าอาการไม่มาก และเกิดขึ้นใกล้เวลาอาหาร รีบรับประทานของว่าง เช่น ขนมปัง นม ผลไม้รสหวานก่อน  กรณีที่มีอาการค่อนข้างมาก แต่ยังรู้สึกตัว ให้ดื่มน้ำหวาน ½ - 1 แก้ว หรืออมลูกอม 1-2 เม็ด หรือน้ำตาล 2 ก้อน และสังเกตอาการของอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเช่น กระหายน้ำมาก คลื่นไส้ ปัสสาวะบ่อยและมากผิดปกติ โดยเฉพาะเวลากลางคืน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ตาพร่ามัว ซึม อาจถึงขั้นหมดสติ หรือมีอาการชักกระตุกเฉพาะที่  หากมีการดังกล่าวให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ อาจโทรปรึกษาแพทย์ หรือพยาบาลหากมีอาการรุนแรงมากกว่านี้ ควรมาโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน

 

Heath

-อธิบายเรื่องโทษของการสูบบุหรี่ โรคต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการสูบบุหรี่และแนะนำวิธีการเลิกสูบบุหรี่ โดยให้ลองอมลูกอมแทน ค่อยๆลดปริมาณที่สูบในแต่ละวันลงหรือเลิกแบบหักดิบไปเลย  ตรวจสุขภาพอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ดูแลเล็บมือเล็บเท้า ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ ไม่ควรแกะหรือเกา เพราอาจทำให้เกิดแผลได้  ใส่รองเท้าทุกครั้ง เมื่ออยู่นอกบ้าน เพื่อป้องกันการไปเหยียบเศษแก้ว หิน ทำให้เท้าเป็นแผล เปลี่ยนอิริยาบถช้าๆ จากท่านอนค่อยๆลุกมาเป็นท่านั่ง นั่งสักพัก ค่อยเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน เพื่อป้องกันอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ

 

Outpatient referral

-แพทย์นัดมาตรวจในวันที่ 12 ตุลาคม 2554 ควรไปตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง เพื่อประเมินอาการและวางแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง ถ้าหากมีธุระไม่สามารถมาพบแพทย์ตามนัดได้ให้โทรมาบอกล่วงหน้า และหากมีเหตุฉุกเฉินให้โทรมาที่เบอร์ 1669

 

 

 

 

Diet

-แนะนำเรื่องการรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ตรงตามเวลา  ให้งดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวาน เช่น การปรุงอาหารที่ใส่น้ำตาลเยอะๆ งดอาหารรสเค็มเช่น ไข่เค็ม ปลาร้า กะปิ   อาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อติดมัน ทุเรียน และแนะนำให้รับประทานอาหารจำพวกปลา  และทานผักใบเขียวเยอะๆ

 

E : ผู้ป่วยรับประทานยาได้ตรงตามเวลา ทานยาสม่ำเสมอ ไม่เคยขาด และจะใช้วิธีเพื่อป้องกันการลืมกินยา คือเมื่อถึงเวลากินยา เก็บซองยาที่ฉีกออกมาไว้ในตะกร้า หรือถาด เพื่อเวลาลืมกลับมาดูซองยาก็จะรู้ว่า กินยาตัวนี้ไปแล้ว ผู้ป่วยสามารถบอกได้ว่ายาแต่ละตัวเป็นยารักษาอะไร รับประทานเวลาไหน ครั้งละกี่เม็ด บ้านของผู้ป่วยเป็นบ้าน 2 ชั้น ผู้ป่วยนอนอยู่ชั้นล่างกับภรรยา ชั้นสองเป็นห้องลูกชายบันไดบ้านไม่มีราวจับเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ แต่ผู้ป่วยบอกว่าปกติไม่เคยขึ้นไปชั้น 2 อยู่แล้วเพราะเป็นห้องของลูกชายจึงไม่มีปัญหาอะไรและผู้ป่วยบอกว่าลูกสาวเคยจะมาทำส้วมแบบชักโครกให้ แต่ตนเองปฏิเสธเพราะไม่ชิน ไม่ชอบ การเดิน การลุกนั่งปกติ ไม่มีปัญหาในการเคลื่อนไหว และจะออกกำลังกายโดยการเดินแกว่งแขน ในตอนเช้าและตอนเย็นประมาณ 30นาที-1ชั่วโมง  แต่เรื่องสูบบุหรี่ผู้ป่วยยังไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้ ผู้ป่วยบอกว่า”อายุมากแล้วจะเป็นอะไรก็เป็น สูบมานานจนเคยชินแล้ว เลิกยาก” ผู้ป่วยสามารถบอกการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองและการรับประทานอาหารและยาได้อย่างถูกต้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความรู้เพิ่มเติม

โรคไส้เลื่อน

                ไส้เลื่อน (Hernia) เป็นภาวะที่มีส่วนของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งภายในช่องท้องไหลเคลื่อนเข้าไปในกล้ามเนื้อของผนังช่องท้อง เนื่องจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง ภาวะไส้เลื่อนสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งพบได้มากในบริเวณขาหนีบ พบร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยมีสาเหตุจากความบกพร่องของกล้ามเนื้อ

ประเภทของไส้เลื่อนที่พบได้มาก

๑. Indirect Inguinal Hernia  เป็นภาวะไส้เลื่อนที่พบได้ประมาณ ร้อยละ๕๐ เกิดจากลำไส้บางส่วนไหลผ่าน Inguinal ring เข้าไปใน Scrotum พบในเพศชายเนื่องจากมีช่องเปิดให้ลูกอัณฑะลง พบสถิติสูงในทารกและในวัยรุ่นแล้วจะลดลง จะพบสูงอีกครั้งในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป ไส้เลื่อนชนิดนี้จะใหญ่มากและพบบ่อยว่ามีการเข้าไปตุงอยู่ในลูกอัณฑะ  สำหรับในเพศหญิงเกิดจากลำไส้บางส่วนไหลผ่าน round ligament เข้าไปใน labia แต่พบได้ค่อนข้างน้อย

๒. Direct Inguinal Hernia เกิดจากมีการเพิ่มความดันในช่องท้องทำให้มีลำไส้บางส่วนไหลผ่าน Posterior inguinal wall ในตำแหน่งที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง พบมากในผู้ป่วยสูงอายุเพศชายซึ่งในผู้สูงอายุจะเกิดการอ่อนแอของกล้ามเนื้อ

๓. Femoral Hernia พบมากในเพศหญิง เป็นภาวะไส้เลื่อนที่ลำไส้ไหลผ่าน femoral ring และลงเข้าไปใน femoral canal สาเหตุเกิดจากความดันในช่องท้องและการเปลี่ยนแปลงของ ligament ภายหลังการตั้งครรภ์

๔. Umbilical Hernia เกิดขึ้นบริเวณสะดือ เนื่องจากมีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่นการตั้งครรภ์ ภาวะอ้วน

๕. Incisional Hernia เกิดจากหลังผ่าตัดและการหายของแผลมีรูเปิดภายใน ทำให้มีไส้เลื่อนลงไป

                ภาวะไส้เลื่อนที่เกิดขึ้นบางครั้งสามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้องได้อย่างเดิม หากไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้อาจเกิดภาวะการอุดตัน(Incarcerated) ซึ่งทำให้เกิดภาวะอุดตันของลำไส้และเกิดเป็นเนื้อตายขึ้น

พยาธิสรีรวิทยา

ภาวะไส้เลื่อนเป็นผลจากการที่ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ความต้านทานของผนังหน้าท้องลดลง และการมีช่องของผนังหน้าท้อง ทำให้มีการเคลื่อนตัวของลำไส้เห็นเป็นก้อนเกิดขึ้น ซึ่งพยาธิสภาพที่เป็นผลเสียที่เกิดขึ้นคือ การอุดตันของลำไส้ (Strangulation)

 

 

 

อาการ

ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการอะไรเลย แค่ตรวจพบโดยแพทย์โดยบังเอิญจากการตรวจร่างกายประจำปี แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดังต่อไปนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง

-มีก้อนที่บริเวณขาหนีบข้างใดข้างหนึ่ง

-รู้สึกปวดหรือรู้สึกหนักๆที่ขาหนีบข้างใดข้างหนึ่ง

นอกจากจะมีอาการบวมโป่งบริเวณที่มีไส้เลื่อนจะมีอาการร่วมคือ severe pain , nausea & vomiting และ Distention
โดยอาการทั้งสองนี้ ในช่วงแรกจะมีอาการเป็นๆหายๆ คือ มักมีอาการเวลามีความดันในช่องท้องมากขึ้น เช่น ตอนไอหรือเบ่งหรือยืน จากนั้นก้อนจะกลับเข้าไปข้างในได้เองและอาการปวดน้อยลงตอนนอนราบหรือใช้มือดันก้อนกลับเข้าไป แต่ถ้าโรคเป็นมากขึ้น อาจทำให้ดันก้อนกลับเข้าไปได้ยากหรือดันก้อนกลับเข้าไปไม่ได้เลยหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา

                การรักษา

ในกรณีที่ไม่สามารถดันกลับเข้าไปสู่ที่เดิมได้ วิธีการรักษาคือการผ่าตัดถุงไส้เลื่อนและเย็บซ่อมแซมผนังด้านใน (Herniorrhaphy) หรือ การผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อน (Hernioplasty)

การดูแลพยาบาล

๑. แนะนำให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆภายหลังการผ่าตัด

๒. หลีกเลี่ยงการเพิ่มความดันในช่องท้อง เช่น การไอ การจาม การเบ่ง

๓. ประคบด้วยความเย็นหากมีอาการบวมบริเวณผ่าตัด

๔. แนะนำให้ผู้ป่วยใส่เสื้อผ้าหรือกางเกง/กางเกงใน ที่ช่วยประคองในตำแหน่งที่ผ่าตัด

๕. แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการยกของ การดึง ลาก ของหนักประมาณ ๖ สัปดาห์หลังผ่าตัด

๖. ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวด หรือยาถ่ายตามแผนการรักษา

๗. ระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำ จนกว่าจะตัดไหม

๘. ห้ามแกะ เกา ล้วงบริเวณแผล เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้

๙. ห้ามออกกำลังกายอย่างหนัก หลังการผ่าตัด

 

คุณลุงอายุ 70 ปี ซึ่งอยู่ในวัยสูงอายุ ทำให้ผนังหน้าท้องหรือกล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแอลง ทำให้มีการเคลื่อนตัวของลำไส้ลงมาเห็นเป็นก้อนเกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า “ไส้เลื่อน”   จากการซักถามคิดว่าผู้ป่วยเคยเป็นโรคไส้เลื่อนชนิด Indirect Inguinal Hernia  และได้รับการผ่าตัดรักษาที่โรงพยาบาลค่ายสุรนารี  และขณะนี้เจ็บป่วยเป็นโรคไส้เลื่อนชนิด Indirect Inguinal Hernia เกิดจากมีการเพิ่มความดันในช่องท้องทำให้มีลำไส้บางส่วนไหลผ่าน Posterior inguinal wall ในตำแหน่งที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง พบมากในผู้ป่วยสูงอายุเพศชายซึ่งในผู้สูงอายุจะเกิดการอ่อนแอของกล้ามเนื้อ

 

 

 

 

 

 

 

 

คลิป direct / indirect inguinal hernia

http://www.youtube.com/watch?v=wAzXSqGybvE&feature=related

 

กางเกงใน support เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ ลำไส้เคลื่อนตัวลงมา

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ใส้เลื่อน
หมายเลขบันทึก: 455354เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2011 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 01:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท