กองทุนเพื่อการกู้ยืม(กยศ)


กองทุนเพื่อการกู้ยืม(กยศ)

  สมรรถนะหลักของหน่วยงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพระบบการให้กู้ยืม และระบบบริหารจัดการหนี้
ที่มีประสิทธิภาพ 
1.1 ด้านการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพระบบการให้กู้ยืม 
กลุ่มเป้าหมาย :  สถานศึกษา นักเรียน/นักศึกษา และ ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ :  เพื่อให้สถานศึกษาคัดเลือกนักเรียน/นักศึกษาได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น นักเรียน/นักศึกษา สามารถกู้ยืมเงินได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีความเท่าเทียมกัน ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมโอนเงินได้อย่างรวดเร็ว โดยในปีงบประมาณ 2554 กองทุนจะพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับการกู้ยืมในสาขาที่ขาดแคลน    เพิ่มเติมจากระบบการกู้ยืมผ่านอินเทอร์เน็ต    (e-Studentloan)     และพัฒนา ระบบการจัดการเงินคงค้างของสถานศึกษาในระบบ     e-Audit     โดยเชื่อมโยงข้อมูลในระบบ e- Studentloan กับข้อมูลของผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม เพื่อให้สถานะการกู้ยืมเงินเป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องเงินคงค้างในสถานศึกษา ทั้งนี้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเงินคงค้างในสถานศึกษา นอกจากนี้ กองทุนได้จัดงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนา เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกองทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยระบบงานกองทุนในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของสถาบันอุดมศึกษา และส่งเสริมการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อการดำเนินงานกองทุนฯ
1.2 ด้านระบบบริหารจัดการหนี้ที่มีประสิทธิภาพ
กลุ่มเป้าหมาย :  ผู้กู้ยืม นักเรียน/นักศึกษา 
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ : เพื่อให้งบประมาณแผ่นดินหมุนเวียนกลับมากองทุนรวดเร็วยิ่งขึ้น ในปีงบประมาณ 2554 กองทุนจะเร่งประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ของรัฐอย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อท้องถิ่นอย่างทั่วถึง การจัดทำกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการชำระหนี้ร่วมกับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง กรณีผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้เกิน 5 งวดติดต่อกันซึ่งไม่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยได้ กองทุนได้ว่าจ้าง บมจ. ธนาคารกรุงไทยฟ้องร้องดำเนินคดี พร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูลไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องและหลังฟ้องคดี และฐานข้อมูลผู้กู้ยืมตามคำพิพากษา (Legal System) และมีมาตรการติดตามทวงถามหนี้ที่เข้มงวด ได้แก่ การติดตามทวงถามหนี้ผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้ตั้งแต่ 1-4 ปี การไกลเกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดีกับผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้เกินกว่า 5 งวด การฟ้องร้องดำเนินคดี และการสืบทรัพย์และบังคับคดีผู้กู้ยืมที่ศาลมีคำพิพากษา
 
 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างระบบเครือข่ายประชาคมที่เข้มแข็ง
กลุ่มเป้าหมาย :  สถานศึกษา นักเรียน/นักศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ : 1. เพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน       หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง       และบูรณาการดำเนินงานให้กู้ยืมอย่างมีประสิทธิภาพในปีงบประมาณ     2554    กองทุนฯ ได้จัดทำกิจกรรมหรือโครงการที่สร้างและส่งเสริมให้มีเครือข่ายประชาชนที่เข้มแข็ง เช่น โครงการ กยศ. Network การสร้างเครือข่ายประชาคม การกำกับ ดูแลการดำเนินงานของสถานศึกษา การเสริมสร้างการดำเนินงานของสถานศึกษาที่มีปัจจัยเสี่ยง โครงการสานต่ออาชีพผู้กู้ยืมเงินกองทุนฯ
2. กองทุนจะพัฒนาการให้บริการข้อมูลข่าวสาร ด้านการกู้ยืม และการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง เช่น  การผลิตและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ     การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ให้องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท) นำไปเผยแพร่ กิจกรรมวันครบรอบสถาปนากองทุนปีที่  13   อีกทั้งทำการเพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสารกับผู้กู้ยืมสถานศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น    ได้แก่   การให้บริการตอบปัญหาหรือข้อซักถามต่าง ๆ   ผ่านทางศูนย์สายใจ และเว็ปไซต์ของกองทุนฯ
 
 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนา การสนับสนุน และเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการตามหลักการบริหารจัดการที่ดี 
กลุ่มเป้าหมาย :  กองทุนฯ ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม 
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ : ในปีงบประมาณ 2554 กองทุนมุ่งเน้นการกำกับมาตรฐานการปฏิบัติงาน การควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง โดยพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลองค์กรและสถานศึกษาทั่วประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี นอกจากนี้ กองทุนได้นำระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร (Exterprise Resource Planning : ERP) และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้บริหารจัดการข้อมูล (Business Intelligence : BI) พร้อมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานระบบความปลอดภัยข้อมูล 
 
1. มุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Personal Mastery)
ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมโอนเงินได้อย่างรวดเร็ว โดยในปีงบประมาณ 2554 กองทุนจะพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับการกู้ยืมในสาขาที่ขาดแคลน    เพิ่มเติมจากระบบการกู้ยืมผ่านอินเทอร์เน็ต    (e-Studentloan)     และพัฒนา ระบบการจัดการเงินคงค้างของสถานศึกษาในระบบ     e-Audit     โดยเชื่อมโยงข้อมูลในระบบ e- Studentloan กับข้อมูลของผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม เพื่อให้สถานะการกู้ยืมเงินเป็นปัจจุบัน
2. รูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง (Mental Models)
เพื่อให้งบประมาณแผ่นดินหมุนเวียนกลับมากองทุนรวดเร็วยิ่งขึ้น ในปีงบประมาณ 2554 กองทุนจะเร่งประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ของรัฐอย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อท้องถิ่นอย่างทั่วถึง การจัดทำกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการชำระหนี้ร่วมกับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
3. การสร้างและสานวิสัยทัศน์ (Shared Vision)
4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
5. ความคิดความเข้าใจเชิงระบบ  (Systems Thinking)
เพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน       หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง       และบูรณาการดำเนินงานให้กู้ยืมอย่างมีประสิทธิภาพในปีงบประมาณ     2554    กองทุนฯ ได้จัดทำกิจกรรมหรือโครงการที่สร้างและส่งเสริมให้มีเครือข่ายประชาชนที่เข้มแข็ง เช่น โครงการ กยศ. Network การสร้างเครือข่ายประชาคม การกำกับ ดูแลการดำเนินงานของสถานศึกษา การเสริมสร้างการดำเนินงานของสถานศึกษาที่มีปัจจัยเสี่ยง โครงการสานต่ออาชีพผู้กู้ยืมเงินกองทุนฯ 
  

หมายเลขบันทึก: 454650เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2011 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท