จริยธรรม เริ่มที่ไหนกันแน่


นิสิตระดับมหาวิทยาลัย คิดถึงตัวเองมากกว่าคนอื่น

วันนี้ตอนเช้าดิฉันพบว่า มีเหตุให้รู้สึกคับข้องใจกับคำว่าจริยธรรม ของคนมีการศึกษา สาเหตุ มาจากเรื่องเล็กๆ คือ ช่วงนี้เป็นเทศกาลสอบปลายภาค สำนักหอสมุดจะคลาคล่ำไปด้วยนิสิตมากเป็นพิเศษ เพราะทุกคนต้องอ่านหนังสือสอบ แต่ปัญหาที่ห้องสมุดเผชิญทุกเทศกาลสอบคือการไม่มีที่นั่งเพียงพอให้บริการนิสิต จึงเกิดกรณีจองโต๊ะกันให้วุ่นวาย ตอนเช้าห้องสมุดเปิดบริการ 8.00 น. มีนิสิตจำนวนไม่ถึง ร้อยเดินเข้าห้องสมุด ภายในเวลาไม่ถึง 5 นาที ทุกโต๊ะจะมีสมุด หนังสือ กระดาษ เสื้อ อุปกรณ์อื่นๆ แล้วแต่จะคิดว่าสามารถเป็นตัวแทนของคนจองได้ วางไว้  นิสิตเหล่านี้จะรู้สึกมั่นคงว่าเขาจะมีโต๊ะนั่งเมื่อกลับมาห้องสมุดในอีก 1 ชั่วโมงข้างหน้า หรือมากกว่านั้น 

กลับมาที่นิสิตที่เข้ามาห้องสมุดอีก 10 นาทีต่อมา พวกเขาบางคนเกรงใจ เศษกระดาษ และอุปกรณ์อื่นๆ บนโต๊ะ เขาจึงเลือกเดินออกจากห้องสมุดไป แต่พวกเขาบางคนเลือกจะรอดูว่า ผ่านไป 15 นาที มีใครนั่งแทนสัญญลักษณ์เหล่านั้นรึยัง ถ้ายัง เขาจะมานั่งแทน และมีบางคนเลือกใช้เว็บบอร์ดและสมุดตอบคำถามของห้องสมุด ในการระบายความอัดอั้นที่มาห้องสมุดแล้วไม่มีที่นั่ง ดิฉันในฐานะบรรณารักษ์ที่รู้สึกถึงปัญหา แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ย่างมากที่สุด ถ้ามีเวลาเดินก็จะไปเก็บสัญญลักษณ์แทนคนเหล่านั้นวางไว้หัวโต๊ะ และมานั่งคิดว่า การแก้ปัญหา ความเห็นแก่ตัวและพวกพ้องแบบนี้จะสามารถแก้ได้จากระดับไหนกันแน่ ระหว่าง บ้าน ครูที่โรงเรียน วัดนั้น ไม่ต้องพูดถึง เด็กไม่น้อยที่เริ่มห่างวัดไปทุกที

การฝึกเรื่องจริยะธรรมง่ายๆ จากการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เราควรเริ่มแก้ไขได้รึยัง หรือว่า เราจะสอนให้นิสิตของเราเป็นพวก มือใครยาวสาวได้สาวเอากันต่อไป อันนี้เป็นเพียงแค่เรื่องการใช้โต๊ะในห้องสมุดเท่านั้นนะคะ ถ้าเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่านี้ พวกเขาจะเลือกทำอะไรระหว่าง ถ้ามีโอกาส เขาก็เลือกที่จะได้ประโยชน์ส่วนตนก่อน คนอื่นเป็นยังไงไม่สน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4537เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2005 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท