มาเข้าใจความหมาย และ ประโยชน์ ของ ปราณายามะ เพื่อใช้ในการฝึกสติ


การควบคุมพลังชีวิต

ความหมาย และ ประโยชน์ ของ ปราณายามะ

หลายคนคงเคย ได้ยิน คำว่าปราณ ไม่ว่า จะเป็น คนที่สนใจโยคะ หรือ คนที่สนใจหนังจีนกำลังภายใน จะได้ยินการฝึก ลมปราณ ตาม เจ้าสำนักวิทยายุทธต่าง แต่เคยรู้มั้ย ว่าปราณมาจากอะไร


ปราณ แปลว่า พลัง
อนา แปลว่า ชีวิต
ยมะ แปลว่า การควบคุม

เมื่อรวมกันแล้ว แปลว่าการควบคุมพลังชีวิต

ปราณ หรือ พลังแห่งชีวิตมีอย่ทุกหนทุกแห่งอยู่ในอากาศมากที่สุด รองลงมาอย่ในน้ำ ในพืช (ผักใบเขียวเมื่อเด็ดมายังมีพลังชีวิตอยู่มาก แต่เมื่อทิ้งไว้ไปเรื่อยๆ พลังชีวิตก็จะลดลงไปเรื่อย จนกระทั่งหมดไป เช่นผัก ผลไม้ที่ตากแห้งจะไม่มีพลังงานชีวิตเหลืออยู่) เช่นในผลไม้พลังแห่งชีวิตจะอยู่ในเมล็ด, การทานไข่ 1 ฟองจะเท่ากับทานพลังชีวิตของไก่ 1 ตัว

ร่างกายเอามาใช้ในรูปของการหายใจมากที่สุด เพราะคนเรามีการหายใจทางจมูก 90% และ ทางผิวหนัง 10%

คนที่เครียดจะหายใจทางจมูก 95%-98% ทำให้การหายใจทางผิวหนังน้อยลง ผิวจะเครียด หมองคล้ำ แห้งกร้าน

ลมปราณจะเป็นตัวประสาน ระหว่าง กาย (รูป) และ จิต (นาม)


หลังจากที่เข้าใจแล้วว่าปราณคืออะไร อยู่ที่ไหนมากที่สุด เราสามารถควบคุมมันได้ ผ่านการหายใจ ซึ่งในเวลาที่ฝึกปราณจะได้เรียนรู้ว่า เมื่อเราควบคุมและนำไปใช้ เราจะเข้าใจ พลังที่เกิดขึ้น (ปราณต่างๆจะทยอยเขียนขึ้นไปค่ะ)

ประโยชน์ของการฝึกปราณยามะ
ทำให้การหายใจของเราสมบูร์ณขึ้น เพราะเมื่อเราควบคุมการหายใจให้ลึกและยาว จะทำให้ปอดเรารับออกซิเจนได้เต็มที่ ผลที่ตามมาคือ การเต้นของหัวใจจะช้าลง, ลดความดัน การหมุนเวียนของเลือดจะดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อส่วนอื่นๆของร่างกาย

ในด้านจิตใจ เมื่อสติของเราอยู่ที่การหายใจ สังเกตได้ว่าอาการฟุ้งต่างที่เกิดจากความคิด(แม้ว่าความคิดไม่ได้หายไป)จะลดลง ผลก็คือ คนที่มีอาการเครียด เกิดความผ่อนคลาย ช่วยแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ
ในทางอ้อมการฝึกปราณ ก็เหมือนเราฝึกสติ ซึ่งจะช่วยให้ชีวิตเราอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น

คนที่หายใจแล้วดิ่งลมปราณได้ลึก เข้าไปถึงตรงกลางของท้อง จะทำให้พลังรวมตัวกันเข้ามาได้ ซึ่งผลที่เกิดจะสามารถทำให้เกิด ความมั่นคง ของร่างกายสู่พื้น เกิดความหนัก ยิ่งถ้านั่งแบบขัดสมาธิ แล้วกำหนดลมปราณให้ลึกลงมาที่ท้อง (โดยการหายใจให้ลึกถึงท้องใต้สะดือ)

ปราณ มีหลายรูปแบบ และ แต่ละแบบ เมื่อฝึกแล้ว เกิดประโยชน์ต่างกัน
ไว้จะลงให้ไปเรื่อยๆค่ะ


แหล่งอ้างอิง
-อาจาร์ยอาจารย์ สี สัตยานันทมุนี สิริมหาราชา อติเทวะ นาคเมธากุร

 

หมายเลขบันทึก: 452945เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2011 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท