การนำการจัดการความรู้มาใช้พัฒนางานด้านวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์


นักวิจัย ยกย่ององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นนักวิจัย ทรงลองผิดลองถูกในการหาหนทางดับทุกข์ ที่จริงแล้วทรงทราบการจัดการความรู้ (KM) มาก่อนกว่าสองพันห้าร้อยปีแล้ว
ได้มีโอกาสนำเอาเรื่องการจัดการความรู้ไปถ่ายทอดสู่บุคลากรด้านงานวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ โดยความกรุณาของท่านเสกสรร ธีระวานิช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์  ท่านสมพงษ์ วิริยะจารุ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ และนักวิชาการวัฒนธรรม 7 คุณภัคพิศุทธิ์ คลังกูล ในระหว่างวันที่ 17-18 สิงหาคม 2549 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ ได้แก่ กรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม เลขาการสภาวัฒนธรรมอำเภอต่างๆ นักวิชาการ วัฒนธรรม ฯลฯ มุ่งหวังที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ค้นหาทักษะปฏิบัติที่ดีที่สุด มาเป็นขุมความรู้ จนสามารถจัดเป็นแก่นความรู้ที่ต้องการตาม "หัวปลา" เพื่อการพัฒนางานด้านวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์  แก่นความรู้ที่ได้คือ  การส่งเสริมสนับสนุน    การอนุรักษ์สืบสาน  และการสร้างสรรค์วิจัย  และความเชื่อมโยงระหว่างแก่นความรู้ทุกแก่น เฉกเช่น ความเชื่อมโยงของไตรสิกขา "ศีล สมาธิ ปัญญา" ซึ่งไม่มีสิ่งใดมาก่อนมาหลัง  บุคลากรด้านวัฒนธรรมทุกท่าน เป็นผู้มีความรู้ มีทักษะประสบการณ์ จึงได้เปิดเผย Tacit Knowledge แม้ว่าหัวปลาจะมีมุมมองที่กว้าง แต่ก็สะท้อนออกมาซึ่ง Best practices ที่หลากหลาย  เมื่อชี้ให้เห็นถึงบันไดแห่งการเรียนรู้ ธารปัญญา ทำให้ทุกท่านที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มองเห็นทิศทางปฏิบัติ จัดลำดับความสำคัญ เลือกใช้จุดเด่นหรือทุนทางสังคมที่มีอยู่ นับว่าเป็นการเปิดประตูไปสู่การพิจารณาทิศทางในการพัฒนางานด้านวัฒนธรรมอีกมิติหนึ่ง 
คำสำคัญ (Tags): #ประชาสัมพันธ์
หมายเลขบันทึก: 45289เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2006 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท