การสันนิษฐานโครงสร้างของความจำ


          ลำดับที่              คำ/x                 ผู้จำ/a               จำได้ %

              ๑                     นก                     ๑๐                     ๓๓

              ๒                     ไม้                      ๘                       ๒๗

              ๓                     ดินสอ                 ๖                        ๒๐

               .                         .                       .                          .

              ๓๙                   ถนน                    ๒๖                     ๘๖

              ๔๐                   ควาย                  ๓๐                      ๑๐๐

จากตารางข้างบนนี้  สมมุติว่า  เรามีคำอยู่ ๔๐ คำ  ฉายบนจอให้กลุ่มตัวอย่างขนาด ๓๐ คน ดู  และให้จำไว้  ฉายคำละ ๒ วินาที  แล้วผ่านไป  ฉายคำที่ ๒ ตามมา ๒ วินาทีแล้วผ่านไป  ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนครบ ๔๐ คำ  แล้วให้ทุกคนระลึกว่าเห็นคำใดบ้าง แล้วเขียนตอบ  ระลึกอย่างเสรี  ระลึกคำใดก่อนให้เขียนคำนั้น   ผลการทดลองสมมุติว่าปรากฏดังตารางข้างบนนี้

ปัญหาจึงมีว่า  ทำไมคำที่ ๒ จึงจำได้น้อยกว่าคำที่ ๑,  คำที่ ๓ จำได้น้อยกว่าคำที่ ๒,  คำที่ ๔,๕,๖,..... ก็เช่นเดียวกัน

แต่คำสุดท้ายคือคำที่ ๔๐ กลับจำได้ มากกว่าคำที่ ๓๙,  คำที่ ๓๙ จำได้มากกว่าคำที่ ๓๘, คำที่ ๓๗,๓๖,๓๕,.... ก็เช่นเดียวกัน

คำอธิบายก็คือ  คำที่ ๑ เข้าไปในสมองก่อน  และขณะนั้นสมองว่างอยู่ จึงระลึกได้ถึง ๓๓ %  แต่คำที่ ๒ ซึ่งตามหลังคำที่ ๑ เข้าไป  จึงถูกคำที่ ๑ รบกวนการจำคำที่ ๒  ทำให้การจำคำที่ ๒ ได้ลดลง  คำที่ ๒ ก็รบกวนการจำคำที่ ๓, ทำให้การจำคำที่ ๓ ลดลง  เป็นเช่นนี้เรื่อยไป

สำหรับคำที่ ๔๐ นั้นจำได้ ๑๐๐ %  เพราะว่า (๑)ไม่มีคำอื่น มารบกวนการจำ  และ (๒)มันเพิ่งจะเข้าไปในสมองเมื่อไม่นานมานี้เอง  เมื่อให้เขียนตอบ  จึงเขียนได้ทันทีก่อนคำอื่นๆ  แต่คำที่ ๓๙ จำได้ ๘๖ %  เป็นเพราะ คำที่ ๔๐  ไปรบกวน,   คำที่ ๓๙ ก็ไปรบกวนการจำคำที่ ๓๘ ทำให้การจำคำที่ ๓๘ ลดลง..... เป็นเช่นนี้เรื่อยไป

นักจิตวิทยาได้ทดลองทำนองนี้มาเป็นจำนวนมาก  และได้สันิษฐานกันว่า  (๑)น่าจะมีความจำ ๒ ระบบ  ระบบแรกจะรับผิดชอบจำสิ่งที่เข้าไปใหม่ๆ  เรียกว่า  "ความจำระยะสั้น"หรือ Short-Term Memory : STM,   และระบบที่รับผิดชอบจำสิ่งที่เข้าไปนานแล้ว  เรียกว่า "ความจำระยะยาว"หรือ Long-Term Memory : LTM 

นี่คือเรื่องของจิตวิทยาปัญญา(Cognitive Psychology)  การเจริญเติบโตของจิตวิทยาปัญญาทำให้มีการทบทวน Behaviorism กันมากขึ้น และหันมาค้นคว้าวิจัยกันกว้างขวางยิ่งขึ้นๆ  แต่ในขณะนี้ (พ.ศ.๒๕๔๙) นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของเราเป็นจำนวนมากยังไม่เคยได้ยินคำว่า STM,LTM

คำสำคัญ (Tags): #psychology#cognitive
หมายเลขบันทึก: 45283เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2006 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
     อ่านแล้วเหมือนกับว่า STM จำทำหน้าที่จำในตอนแรก ๆ แล้วส่งผ่านไปให้ LTM ช่วยจำไว้ หากแต่จะถูกลบกวนได้ง่าย จึงเกิดการลืม
     เพราะเราต้อง STM จึงไปรบกวน LTM เสียเองไหมครับ
     เอาแค่นี้ก่อนครับ เดี่ยวผม shock ไปอีก (ยิ้ม ๆ)

มาแลกเปลี่ยนคะ....

 

กระบวนการประมวลผลข้อมูลที่เกิดขึ้นในสมองของมนุษย์ดังนี้ การบันทึกผัสสะ ( Sensory Register ) ความจำระยะสั้น ( Short-term memory ) ความจำระยะยาว ( Long-term memory ) ซึ่งมนุษย์จะมีกระบวนการรับรู้ คือ การใส่ใจ ( Attention ) การรู้จัก ( Recognition ) เป็นสิ่งที่ช่วยให้การเลือกรับข้อมูลที่ตนเองสนใจหรือที่รู้จักเข้าไปเก็บไว้ในความจำระยะสั้นหรือความจำช่วงระยะทำงาน ซึ่งการรับและการเก็บจะมีช่วงเวลาสั้นมาก ดังนั้นวิธีการที่จะทำให้ความจำยาวขึ้นจะต้องผ่านการเข้ารหัส ( Encode ) แล้วนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว สามารถเรียกกลับมาใช้ได้ ได้แก่ การทบทวน การทำซ้ำๆ การจัดระเบียบ ( Organize ) การขยายความคิด ( Elaborate ) เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนใหม่กับสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว ซึ่งจะช่วยให้เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

เป็นคำถามที่ฉลาด  และแปลก  ยังไม่มีใครเคยถามผมอย่างนี้มาก่อน  ผมเองก็ไม่เกิดความคิดคำถามเช่นนี้ไปถามใคร

ถ้าจะเปรียบสมอง(วัตถุ)เป็นเครื่องยนต์  เมื่อเราติดเครื่องก็เกิดกระบวนการ(กิจกรรมของวัตถุ)  ทุกครั้งที่ติดเครื่อง เครื่องยนต์จะสึกหรอ  นานๆเข้าเครื่องหลวม  และพัง   นี้เป็นเรื่องราวของวัตถุ

แต่ LTM ไม่ใช่ก้อนสมอง/เครื่องยนต์(วัตถุ) มันเป็น"การหน่วงเอาสิ่งที่เรียนไว้ได้ช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ"  และ STM ก็เป็นเป็น"การหน่วงเอาสิ่งที่เรียนไว้ได้ช่วงเวลาหนึ่ง" เหมือนกัน  แต่ระยะเวลาสั้นกว่ามันเป็นเรื่องของ"จิต" หรือจิตวิทยา

ย่อหน้าที่สองเป็น "ภาษาทางวัตถุ"  ย่อหน้าที่สามเป็น"ภาษาทางจิต"  หรือ"ภาษาทางจิตวิทยา"  ไม่มีตัวตน

ถ้าหากว่า STM มีบทบาทเป็นตัวทำลาย LTM แล้ว ป่านนี้เราจะมีความรู้อะไรเหลือไหม?  แต่นี่เรารู้เพิ่มขึ้นทุกวัน  แถมบางคนยังว่า เมื่อตายไปแล้ว เขายังเอาความจำนั้นไปเกิดใหม่แล้วเล่าให้ใครๆฟังได้ที่เรียกว่าระลึกชาติไงครับ  (ทั้งๆที่สมองถูกเผาหมดแล้วที่เชิงตะกอน!!"

แต่นักจิตวิทยาปัญญานิยมจะมีความคิดอยู่ในใจว่า สมองมีฐานะเป็นฐาน/Entity ของความจำ  ถ้าเราให้เหตุผลว่า "สิ่งใดที่เป็นจริงกับข้อความในย่อหน้าที่สองแล้ว จะเป็นจริงกับ STM vs LTM ด้วย" แล้ว  ก็เป็น "สมมุติฐาน"สำคัญที่น่าจะทำการทดสอบดู พบวันไหน วันนั้นดังโลกแตกแน่เลย !

 

 

สวัสดีครับ ดร.กะปุ๋ม  พอผมกดคำตอบกับคุณคนชายขอบปับก็พบอาจารย์  รู้สึกดีใจมาก  ผมเห็นด้วยกับอาจารย์  อ้อ .. คำบันทึกผัสสะ คงจะเป็นสิ่งเดียวกันกับที่ผมใช้คำ "การรู้สึกสัมผัส" หรือ Sensation 

ขอบพระคุณอย่างยิ่งคะอาจารย์...

ตอนนี้กะปุ๋มกำลังศึกษาในเรื่องของการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้...เพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างความรู้(Knowledge Construction)...นำฐานทางด้าน cognitive theory และ contructivism...นำไปสู่กระบวนการออกแบบสื่อ และนวัตกรรมที่ไปตอบสนองต่อการเรียนรู้ของมนุษย์...

...

จึงมักแอบเข้ามา...เก็บความรู้จากอาจารย์ประจำคะ...

กะปุ๋ม

 

นำมาแลกเปลี่ยนคะอาจารย์... 

เทคนิคช่วยจำ  :  ลำดับขั้นการสอน
 Phase 1 ความใส่ใจ,ความสนใจ
    การที่นักเรียนจะจำสิ่งใดได้นั้น ต้องมีความใส่ใจว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญ บางคนอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบ โดยใช้วิธีเน้นข้อความสำคัญ  ที่ต้องการใช้เป็นความจำระยะยาว
ตัวอย่าง  ทำรายการของหัวข้อที่ต้องจำ, วัตถุประสงค์ที่ต้องการ
 Phase 2 การสร้างความเชื่อมโยง 
    เทคนิคช่วยจำโดยมากจะเป็นรูปภาพ หรือความคิดรวบยอด โดยการเชื่อมโยงจากสิ่งที่คุ้นเคยไปสิ่งที่ไม่คุ้นเคย มี 4 วิธี
1. เทคนิคการใช้อักษรตัวแรก วิธีนี้ทำโดยการนำอักษรตัวแรกของแต่ละคำที่ต้องการจำมาเน้นคำใหม่ที่มีความหมาย เช่น Homes ซึ่งหมายถึงทะเลสาป Huron, Ontario,Michigan,Erie,Superior ตามลำดับ
2. วิธี keyword ใช้กันมากในการเรียนภาษาต่างประเทศ หาสิ่งแทนหรือคำแทน จากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และมีความหมาย  เช่น ความยุติธรรม นึกถึง ศาล  ความสุข นึกถึง ใบหน้าที่ยิ้ม หรือ คำที่ออกเสียงคล้ายกัน เช่น celery กับ salary ซึ่ง keyword ที่เน้นความหมายจะดีกว่าวิธีที่เน้นคำพ้องเสียง

3.  วิธีการเชื่อมโยง  ใช้เพื่อการจำความเข้าใจ และข้อมูล โดยการเชื่อมโยงเป็น  เรื่องราวต่อเนื่องกัน เช่น ต้องการให้จำที่ตั้งของเมืองได้ ในตัวอย่างที่ผ่านมา  ก็ใช้การเล่าเรื่องที่ต่อเนื่องกัน นักเรียนก็จะสามารถจำได้ 
4. วิธี pegword เป็นวิธีการที่จะใช้เมื่อครูต้องการให้นักเรียนจำได้ไม่เฉพาะลำดับขั้นเท่านั้น แต่ต้องระบุตำแหน่งที่ชัดเจนด้วย
 วิธี pegword อาศัยการเชื่อมโยงของจำนวนกับคำคล้องจอง หรือพ้องเสียง หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
                  ระบบ peg สามารถช่วยขยายความช่วยให้นักเรียนจำได้มากกว่า 10 อย่าง โดยง่าย ๆ
นำของ 10 อย่างนั้นมาและเชื่อมโยงกันด้วยช่วงเวลาและที่ตั้ง หรือวิธี โลไซ
 Phase 3  การสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน
 การที่จะจำอะไรได้นั้น ผู้เรียนจะต้องมีความตั้งใจและใส่ใจในสิ่งที่พวกเขาต้องการจะเรียน มีกฎ 4 ข้อ ในการสร้างความสัมพันธ์
- สิ่งแทน,คำแทน
- การขยายความ
- ความผิดเพี้ยนของสัดส่วน
- การลงมือกระทำ
กฎทั้ง 4 ข้อจำเป็นสำหรับความสามารถของนักเรียนในการระลึกได้ แต่หลังจากที่นักเรียนมีภาพอยู่ในใจแล้ว ครูต้องสร้างเงื่อนไขสำหรับฝึกหัดเพื่อเพิ่มความสามารถในการจกของนักเรียน เช่น  ครูยืนหันหลังให้กระดาน และให้นักเรียนเขียนชื่อสิ่งของที่สุ่มมาโดยนักเรียนคนอื่น  และสอนให้สร้างภาพในความคิดให้สัมพันธ์เป็นเรื่องราว เช่น เปิดประตูแล้วไม้บรรทัดหล่นลงมา หรือ สัตว์หนังหนา ก็สร้างภาพเป็นเรื่องราว โดยช้างยืนอยู่กลางแดดร้อน ทำให้ผิวหนังหนา

ขอความคิดเห็นเพิ่มเติมจากอาจารย์คะ ถ้าการเรียนรู้จะให้จำได้ง่ายขึ้นก็ไม่ใช่การสอน lecture เพียงอย่างเดียวการให้นักเรียนมีส่วนร่วมเช่นการระดมความคิดเห็น การทำ buzz group หรือ me case discussion ก็น่าจะจำได้ดีกว่า แต่การที่สอนแบบนี้อาจจะทำให้ได้รายละเอียดของเนื้อหาไม่ครบ หรือเปล่าคะ

     อาจารย์ ดร.ไสว ครับ ผมชอบทำอะไรให้อาจารย์เวียนหัวบ่อย ๆ คราวนี้อาจารย์จะเวียนหัวอีกไหมครับ ชักเป็นห่วงอาจารย์ ที่บันทึกการทำงานของสมองคนก็ทีนึงแล้ว มาคราวนี้ผมก็ถามไปงั้น ๆ แหละครับ
     ผมเคยเรียน "จิตวิทยา: การเรียนการสอน" กับอาจารย์ รำไพทิพย์ ธีรนิติ ที่ มรภ.สงขลา (สมัยยังเป็นสถาบันราชภัฏสงขลา) ตอนเรียน คบ.(คอมพิวเตอร์ศึกษา) อาจารย์สอนเรื่อง "การจำ-การลืม" ผมจำได้ไม่เม่นนัก เลยเอามาปะติดปะต่อ คล้าย ๆ กับว่าการลืมมีสาเหตุมาจากการรบกวนกันของข้อมูลที่จะจำและจำไปแล้ว เช่นการจำเบอร์โทรศัพท์ที่ผมไม่เคยจำแม้เบอร์ตัวเอง (จำเบอร์บ้านได้เพียงเบอร์เดียว เบอร์ที่ทำงานก็ต้องเปิดดูทุกครั้ง) และอีกกรณีคือการสลาย (decay) ของรอยความจำ (memory trace) เช่น เวลาเรานึกอะไรสักอย่างที่นึกไว้ หรือตั้งใว้เอง ไม่ออกว่าคืออะไร อยู่ที่ไหนนะ หาไม่เจอ หรือคนนี้ใครแล้วนะคุ้น ๆ แต่จำไม่ได้ว่าเคยเจอที่ไหน อย่างไร
     ตรงที่เคยเรียนผมจำได้ว่าได้นำไปสู่การออกแบบให้มีเวลาพักระหว่างคาบเรียน เพื่อป้องกันการรบกวนกันของข้อมูล...ประมาณนั้นครับ 
     ในส่วนตัวผมชอบที่จะจำอะไรโดยการนำมาสรุปเอง สร้างเป็นรูป วาดเป็นแผนภาพ หรือ Mind Map ก่อน หากจะจำโดยการอ่าน Text รวดเดียวเลย ผมจำได้ไม่นาน และไม่แม่น แถมเชื่อมโยงกับอะไรก็ไม่ได้เมื่อเวลานึกจะนำออกมาใช้
     แล้วค่อยมาต่ออีกครับ หากค้นเจอหรือมีประเด็นใหม่ ๆ ที่พอจะนึกได้อีก ตอนนี้ผมรู้สึก Memory Trace ของผมจะ decay ไปเยอะแล้วครับ

(๑) Knowledge Construction น่าสนใจมาก อีกคำหนึ่งก็น่าสนใจคือ Acquisition, Phase ต่างๆ คงเป็นเรื่องของ Knowledge Construction ? เป็นการApplied Principles ของ Cognitive Psychology,กุ่มนี้พยายามหลีกหนีคำที่ Behaviorists ใช้ เช่น ใช้คำ Encoding, Decoding, แทนคำว่า ASociation อีกคำหนึ่งที่น่าสนใจคือ Attention พวก ปัญญานิยม มองว่ามันคล้ายๆ STM เพราะว่า มันเหมือนกันบริเวณที่"แสงไฟฉายส่องไปถูกฝาผนัง"งั้นแหละ (๒)คุณหมอ "ไซสวัสดิ์" สวัสดีครับ ผมคงปล่อยให้เป็นภาระการตอบของ ดร.กะปุ๋ม นะครับ (๓)สวัสดี คุณคนชายขอบ ถ้าเป็น Physiological Psychologists เขาจะใช้คำ Memory Trace และลืมแบบ Decay คือการเลือนหายของรอยความจำ แต่ปัญญานิยมจะอธิบายว่าการลืมเกิดจากการรบกวนระหว่างสารใหม่กับสารเก่า ที่เหลือ ดร.กะปุ๋มตอบก็แล้วกัน เพราะเกี่ยวข้องกับ Knowledge Construction

     ผมคิดว่า วิธีที่ Ka-Poom เสนอนั้นน่าจะเหมาะกับการสอนให้จำ "คำ" เป็นคำๆ หรือเป็น"มโนทัศน์ ๆ" ไม่เหมาะที่จะสอนเนื้อหาที่เป็น "เรื่องราว"  ถ้าเป็นเรื่องราวก็น่าจะสอนด้วยวิธี "บรรยาย" หรือวิธ "สาริกาป้อนเหยื่อ" (Lecture)   ส่วนวิธี "กลุ่มผึ้ง" หรือ Buzz Group นั้นน่าจะเหมาะกับการยั่วยุให้ผู้เรียนได้พูดบ้าง  พูดกันเอง  เป้าหมายเพื่อให้มีส่วนร่วมในการเรียนในชั้นเรียน   แต่ก็มีลักษณะ "ทบทวน" อยู่ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องของการช่วยจำ  แต่คงไม่ใช่จำคำเป็นคำๆ เหมือนวิธีของ Ka-Poom

      แต่ คุณ "ไซสวัสดิ์" สงสัยว่า  วิธี Lecture  และ/หรือ Buzz-group Method น่าจะสอนให้จำได้ดีกว่า ก็น่าจะทำการวิจัยเชิงทดลองทดสอบดู จริงไหมครับ?  

ความจำระยะสั้น (stm) ทำหน้าที่เหมือนแผ่นกันขูดซึ่งจะจำโดยไม่เกิดร่องรอยของความจำ (memory trace) ในสมอง  ต่างจากความจำระยะยาว  เขาว่ามายังงี้ครับ

 

ถ้าเป็นไปได้รบกวนขอที่อยู่ อ.ดร.ไสว หรือ email adress ก็ได้ครับ  ตอบทางเมล์ผมก็ได้ครับ  เผื่อจะขอความรู้เพิ่มเติม

 

 

ผมต้องขอโทษคุณ "แมง" เป็นอย่างมากครับ ที่เพิ่งเข้ามเห็นวันนี้ครับ

ถ้าจะใช้คำ "Memory trace" แล้ว  ทั้ง STM  & LTM  ก็เป็นรอยทั้งนั้นครับ  ใน STM  เป็นรอยทีเลือนหายง่าย(ลืม)  แต่ใน LTM  เป็นรอยที่ค่อนข้างมั่นคง ครับ

Email  ของผมคือ  [email protected]

อาจารย์ช่วยอธิบายให้หน่อยได้มั๊ยคะเรื่องความจำ และการลืมว่าคืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไร ? เกิดขึ้นได้อย่างไร ? มีองค์ประกอบอย่างไร ? เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างไร ? และมีวิธีการที่จะจำในสิ่งที่ควรจำและลืมในสิ่งที่ควรลืมอย่างไร ? สามารถนำแนวคิดในเรื่องความจำและการลืม มาใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างไร ? ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยอธิบายตามหัวข้อด้วยนะคะ

อาจารย์ช่วยอธิบายให้หน่อยได้มั๊ยคะเรื่องความจำ และการลืมว่าคืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไร ? เกิดขึ้นได้อย่างไร ? มีองค์ประกอบอย่างไร ? เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างไร ? และมีวิธีการที่จะจำในสิ่งที่ควรจำและลืมในสิ่งที่ควรลืมอย่างไร ? สามารถนำแนวคิดในเรื่องความจำและการลืม มาใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างไร ? ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยอธิบายตามหัวข้อด้วยนะคะ

เมื่อเรา"รู้สึกสัมผัส"สิ่งใด ถ้ามันยังคงอยู่ในระบบรับสัมผัสนั้น"ประมาณ ๑-๒ วินาทีและยังไม่รู้ความหมาย" เราเรียกว่า "จำ" ชื่อว่า "จำการรู้สึกสัมผัส แต่ถ้า"นานกว่านั้น" และ "รู้ความหมายแล้ว"เรียกว่า"จำ"เหมือนกัน แต่คราวนี้ชื่อว่า"จำระยะสั้น" จำได้นานประมาณ ๓๐ วินาที และมีปริมาณประมาณ ๕-๙ หน่วย ถ้านานกว่านี้และไม่มีการทบทวนก็จะ "ลืม" หรือไม่ก็จะ"จำระยะยาว" ซึ่งไม่จำกัดเวลาและไม่จำกัดจำนวน

การลืมเกิดจากเหตุอย่างน้อยสองประการคือ

(๑)การเลือนหายของรอยความจำหรือ Trace Decay เกิดในระบบ"ความจำสัมผัส"

(๒)เกิดจากการรบกวนของสารเก่ากับสารใหม่ เช่น เมื่อ ๕ วินาทีที่แล้ว คำ "ก" เข้าไปในระบบความจำ แต่ในวินาทีที่ ๖ เราป้อนคำว่า "๑,๒," ตามหลังเข้าไป ทำให้"ลืม" ตัว "ก" ก็เรียกว่า "การลืมที่เกิดจากการรบกวน" บางที "ก"อาจจะรบกวนให้ลืม "๑-๒"ที่ตามหลังเข้าไปก็ได้ การ"เรียนรู้" ก., เลข ๑.๒,ที่กล่าวมาก็อาจจะ"ลืม"ได้ดังที่ว่านั่นแหละครับ

ถ้าต้องการให้จำได้มากๆและ/หรือนาน ก็อาจจะใช้วิธี"ทบทวน" เช่น การท่องซ้ำๆ เขียน,อ่าน,ซ้ำๆ, เช่นทำการบ้าน,กวดวิชา,อ่านแล้วอ่านอีก,ขยัน,หรือการ"เข้าระหัส"ไว้กับเหตุการณ์ใดๆที่เราจำเอาไว้ก่อนแล้ว แล้วถอดรหัสออกมา เช่น รหัสว่า"ไก่จิกเ ด็กตายบนปากโอ่ง" ก็"ถอดรหัส"ออกมาว่า "ก,จ,ด,ต,บ,ป,อ," เป็นต้น

ถ้าคุณต้องการให้คนจำคุณได้ไม่ลืมคุณก็ทำได้โดย"เอาเงินไปแจกชาวบ้านทุกเดือนในรูปแบบต่างๆ, ไปซื้อสนามฟุตบอลที่มีการถ่ายทอดสดออกทีวีทุกวันจะทำใหชื่อคุณติดตาคนทั่วโลกไปนานเท่านาน ฯลฯ

ผมตอบคุณหมดทุกคำถามแล้วนะครับ ขอแนะให้อ่านเพิ่มเติมได้ใน HUMAN MIND และขอบคุณที่สนใจเรื่องนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท