การออกแบบการเรียนรู้


แนวการจัดการเรียนรู้ใหม่

บทความทางวิชาการ 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ LOVE

ด้วยนโยบายการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  เก่ง  และมีความสุข  การดำเนินการจัดการเรียนรู้ในแต่กลุ่มสาระการเรียนรู้  จะสำเร็จลุล่วงตาม เป้าหมายของหลักสูตรได้มากน้อยเพียงใดนั้น  ในมุมมองจากประสบการณ์การเป็นครูสายผู้สอนมานานกว่า 20  ปี  ดิฉันยังต้องอาศัยกลยุทธ์และเทคนิควิธีทางด้านการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายอยู่ตลอดเวลา  เนื่องจากตัวผู้เรียนหรือทรัพยากรที่ป้อนเข้ามาแต่ละปีมีความหลากหลาย  มีพัฒนาการที่ต่างกันตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงพัฒนา เทคนิคกิจกรรมให้เหมาะสม สอดคล้องกับผู้เรียน

 

หมายเลขบันทึก: 452786เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2011 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 00:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

กล่าวคือ

ต้องคำนึงถึงสติปัญญา จิตใจ สังคม และทางกาย ซึ่งต้องมีพัฒนาการที่สมบูรณ์และสมดุลย์ ในอันที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่เป็นระบบ มีทักษะกระบวนการ และยั่งยืน เกิดเป็นองค์ความรู้ที่สะท้อนถึงความรู้ความสามารถ

ที่แท้จริงของผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันเกิดเป็นทักษะชีวิต (Life Skills) เฉพาะบุคคลนั้น ซึ่งทักษะชีวิตของแต่ละคน อาจเกิดขึ้นมาจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง(Learns by self) การเรียนรู้โดยเพื่อน(Learns by friend) เรียนรู้โดยครอบครัว(Learns by family) เรียนรู้โดยเครื่องสื่อสารเทคโนโลยี(Learns by technology) เรียนรู้โดยครู (Learns by teacher) และเรียนรู้ โดย สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเอง(Learning by t he environment around themselves) จากการเรียนรู้ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน เพื่อช่วยในการตัดสินใจ (Decision making) การแก้ปัญหา (Problem solving) การคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) ข้อมูลต่าง ๆ และประเมินปัญหา หรือสถานการณ์ที่อยู่รอบตัว จึงมีผลต่อการดำเนินชีวิต เกิดการคิดที่สร้างสรรค์ (Creative thinking) ปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Effective Communication) การใช้คำพูดและท่าทางถือว่าเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับ วัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ การมีมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal relationship) ตระหนักรู้

ในตน (Self awareness) ความเห็นใจผู้อื่น (Empathy) เกิดความรักเมตตาอารี จะเป็นมุมมองในเชิงบวกสามารถเข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคลสามารถเผชิญกับอารมณ์ต่างๆ (Coping with emotion) ทั้งของตนเองและผู้อื่นได้ และการเผชิญกับผู้สร้างความกดดัน (Coping with stress)เป็นความสามารถในการรับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด

แผนภูมิแสดงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ LOVE

LOVE

L Life skills

O objectives

V value

E evaluation

แนวคิดการจัดกิจกรรม LOVE มาจากการใช้อักษรทั้ง 4 ตัวอักษรที่มีความหมาย ดังนี้

L (Life skills) ทักษะชีวิต

ทักษะชีวิตเป็นการเรียนรู้ที่เริ่มจากการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ แล้วมีความพึงพอใจ

เกิดความรักและชอบที่จะปฏิบัติหรือเรียนรู้ในสิ่งนั้นด้วยเต็มใจ วิธีที่เราจะเรียนรู้อะไรในชีวิต จากวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน เราจะรู้ดีว่า สิ่งที่ดูเหมือนง่ายเมื่อไม่มีใจรัก ไม่มีความชอบ ผลของการปฏิบัติงานก็จะได้ไม่ดีเท่าที่ควร และก็จะไม่ได้ใส่ใจในการติดตาม หรือให้การชื่นชมในสิ่งนั้น ๆ ตรงข้ามแต่ถ้า เกิดความรักและชอบที่จะปฏิบัติหรือเรียนรู้ในสิ่งนั้นด้วยเต็มใจ แล้วก็จะเสาะแสวงหาวิธีการเพื่อให้ได้ซึ่งสิ่งนั้น ตัวอย่างเช่น การขี่จักรยาน เกิดจากการมองเห็นว่ามันมีสองล้อ ขับเคลื่อนได้อย่างไร เกิดความรัก

ในรูปลักษณ์และชอบในความคล่องตัว อยากขี่เป็น ก็ต้องฝึกจนกว่าเราจะขี่มัน ได้ และความสามารถที่จะขับเคลื่อนออกไปโดยไม่ล้ม การขี่จักรยานเป็นโดยไม่ล้มนี่เอง เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการฝึกฝนพัฒนาด้วยตัวเอง จนมันกลายเป็นธรรมชาติ และเราก็จะเกิดความภาคภูมิใจเป็นต้น ดังนั้นความสามารถขั้นพื้นฐานของบุคคลในการปรับตัว และลือกทางเดินชีวิตที่เหมาะสม

เป็นคุณลักษณะความสามารถของบุคคล ด้านสังคมและจิตวิทยา (Psychosocial Competence) ที่มนุษย์ทุกคนจำเป็นต้องมีและต้องใช้ในชีวิตประจำวันโดยทักษะชีวิตเป็นตัวเชื่อมโยงได้อย่างสมดุล ทั้งความรู้ เจตคติ และ การปรับตัวพร้อมที่จะเผชิญปัญหาต่างๆ ที่อยู่รอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบัน อย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ตนเองมีความสุข และเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดำเนินชีวิตอย่างอิสระในวัยผู้ใหญ่

O (Objectives) วัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เป็นเป้าหมายของสิ่งที่ดำเนินไปในทิศทางที่ต้องการ ภายในระยะเวลากำหนดมีมาตรฐานที่ยอมรับสามารถวัดและตรวจสอบได้ เป็นการตั้งจุดมุ่งหมาย เพื่อให้รู้ว่าสิ่งที่เราต้องการ มีอะไร และจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อบรรลุสิ่งที่เราต้องการในชีวิตประสบความสำเร็จ โดยการดำเนินการที่เหมาะสม สอดคล้องสัมพันธ์ในกรอบเวลาที่น้อยกว่า เป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะ จะเป็นตัวกำหนดว่าการเรียนรู้ควรดำเนินไปทิศทางใด

V (Value) คุณค่า หมายถึง ความนิยม ความพอใจ ความภาคภูมิใจ การให้ความสำคัญ,การให้เกียรติ โดยมีระดับการเปรียบเทียบซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบุคคลหรือปัจจัยแวดล้อม ในการสร้าง value แบ่งได้ 2 อย่าง คือ เป็นสิ่งที่จับต้องได้

และเป็นความรู้สึกพึงพอใจ ความรู้สึกภาคภูมิใจเป็นคุณค่าที่จับต้องไม่ได้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เกิดจากผลงานที่เกิดขึ้น เกิดจากความชื่นชมของคนรอบข้าง เกิดจากกระแสหรือเสียงที่นิยมชมชอบ และเกิดจากการยอมรับ ช่วยทำให้องค์ความรู้ที่เกิดขึ้น

เป็นสิ่งที่มีความหมายและมีความสำคัญต่อผู้เรียน ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความพึงพอใจ มีทัศคติที่ดี มีความภาคภูมิใจในผลงาน รู้จักยอมรับในคุณค่าของแต่ละคน

E (Evaluation) การประเมินผล การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยคำนึงถึงด้านความรุ้เดิม พื้นฐานครอบครัว ลักษณะส่วนบุคคล โดยความรู้พื้นฐานได้มาจากบริบทของสถานศึกษานั้น ๆ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชน ภายในปี 2561 ประเด็นหลักคือ คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา เรียนรู้อย่างทั่วถึง ให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม ในการบริหารและจัดการศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ LOVE คือ การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ

แบบใช้ทักษะชีวิตเป็นตัวเชื่อมโยงอย่างสมดุล ทั้ง ความรู้ เจตคติ ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร สามารถปรับตัว

พร้อมที่จะเผชิญปัญหาต่างๆ ที่อยู่รอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบัน อย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ เกิดทัศคติที่ดี เห็นคุณค่าในสิ่งนั้น ให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา ให้เต็มตามศักยภาพ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล เพื่อช่วยให้ตนเอง มีความสุข และเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดำเนินชีวิตอย่างอิสระในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งผู้เรียนได้รู้จักการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นองค์ความรู้ ได้อย่างยั่งยืน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างมีระเบียบแบบแผน มีรูปแบบ มีการวางแผน อย่างเป็นกระบวนการ มีการวัดตรวจสอบ ประเมินผลและการปรับปรุงคุณภาพ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้เรียน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

คุณสมบติของผู้เรียนก็คือ การรู้จักนำประสบการณ์ในวิถีชีวิตนำมาใช้เป็นวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย มีทัศนคติที่ดี เห็นคุณค่า

ในองค์ความรู้ ที่ค้นพบด้วยตนเองและสามารถตรวจสอบประเมินผลในองค์ความรู้ได้สร้างเป็นองค์ความรู้ของตนเองและนำไปใช้

ให้เกิดประโยชน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท