เพื่อนช่วยเพื่อน...KMกรมทางหลวง (ตอนที่ 2) บทนำจาก ผอ.สวิง ตันอุด


     ลิงค์อ่านตอนที่ 1 กิจกรรมในภาพรวมของบรรยากาศการ ลปรร.ประสบการณ์การทำKM

          เริ่มต้นของกิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เป็นการเกริ่นนำก่อนที่คุณบอย สหเวช จาก มน. จะเล่า คุณสวิง  ตันอุด ผู้อำนวยการวิทยาลัยการจัดการทางสังคมภาคเหนือ (ลิงค์)ได้กล่าวนำ ผมเห็นว่าเป็นการนำเข้าสู่กระบวนการที่มีหลักคิดที่ดีมาก เลยขอนำมาบันทึกเพื่อเป็นการ ลปรร. เชิญติดตามอ่านได้แลยครับ

<div style="text-align: center"></div>


          เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน วิทยากรทั้งสองท่านที่ขึ้นมาในวันนี้ ผมเข้าใจว่าท่านเองก็มีบางส่วนที่จะมาแลกเปลี่ยน บางส่วนก็จะมาเรียนรู้จากที่นี่ด้วย การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด  

</span><p>          ผมแนะนำตัวนิดหนึ่งครับ  ผมสวิง  ตันอุด  ปัจจุบันทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยการจัดการทางสังคมภาคเหนือ เรียกว่า วจส. เป็นองค์กรอิสระมหาชนภายใต้การกำกับของรัฐ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้หรือองค์ความรู้ ตั้งมาโดยรัฐ เหมิอนกับตระกูล ส. ทั้งหลายไม่ว่าจะ สสส. สกว. พอช. ตอนนี้ตระกูล ส. เกิดขึ้นเยอะครับ ทีนี้ก่อนที่เราจะไปสู่ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาซึ่งมีวิทยากรสองท่านมาร่วมกัน  </p><p>          ผมเกริ่นนำเล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่ององค์ความรู้ เพราะว่าที่ผ่านมาและตอนนี้เป็นกระแสอยู่แล้ว เรื่องการจัดการความรู้หรือ องค์ความรู้ ที่จริงภาคธุรกิจเขาเอามาใช้ก่อน ภาคพัฒนาก็เพิ่งเอาใช้กัน องค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว ยกระดับนำมาบริหารจัดการองค์ความรู้ที่มีอยู่นั้นอย่างไร  อันนี้เนี่ยเป็นเรื่องที่อยู่ในกระแสบ้านเราและสิ่งที่สำคัญก็คือว่า ตอนนี้คือว่าการบริหารจัดการบ้านเราที่ผ่านมาเป็นการบริหารงานที่เขาเรียกว่าใช้เชิงอำนาจมาก เป็นสังคมเชิงอำนาจสูงมาก แต่ว่าทำอย่างไงจะใช้หรือพัฒนาให้สังคมบ้านเราเป็นสังคมเชิงความรู้หรือสังคมแห่งความรู้ ซึ่งผมคิดว่าอันนี้เนี่ยจะพลิกสถานการณ์สังคมบ้านเราให้กลายมาสู่สังคมที่เกิดการเรียนรู้กันมากขึ้นและก็จะกลายเป็นสังคมที่ไม่ใช้เพียงแค่ใช้อำนาจ  เพราะบางทีผู้ใช้อำนาจก็ไม่ได้เป็นผู้รู้  </p><p>          ดังนั้นต้องสร้างสังคมแห่งความรู้  ผมคิดว่าอันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญพวกเราถึงจะอยู่รอดได้  ประเด็นเรื่องต่างๆเหล่านี้ก็มีการพูดกันสูง  สำคัญที่สุดก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิด หลักคิดทั้งหลายทั้งมวลในการพัฒนา จากการคิดเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ จีดีพี ตอนนี้ก็กำลังเป็นกระแสว่าจะเอาเรื่องเกี่ยวกับการวัดความสุขกันได้ยังไง จีเอ็นเฮท เข้ามาพัฒนาเรื่องนี้ได้อย่างไร    อันนี้ก็เป็นเรื่องที่  เพราะว่ายิ่งรวยมากก็ยิ่งทุกข์มาก แสดงว่าเราแย่ละ มันไม่ถูกต้อง  ดังนั้นหลายเรื่องเราต้องมาปรับกระบวนทัศน์  หรือวิธีคิดกันใหม่ และที่สำคัญองค์ความรู้ที่ผ่านมาของเรามีเต็มไปหมด </p><p>          ผมทำงานพัฒนาชนบทมา 25 ปี  ปรากฏว่าชาวบ้านมีเต็มไปหมด มีเรื่องการจัดการน้ำ การจัดการป่า การอยู่ด้วยกัน สร้างสังคมคุณธรรมกันเต็มไปหมดเลย  แต่ปรากฏว่าห้องเรียนข้างๆ บ้านนะไม่ได้เรียนเรื่องเหล่านี้กันเลย   กลับไปเอาเรื่องฝรั่งมังค่ามาเต็มกันหมด  วันนั้นไปลาว สะท้อนใจมากเลย ถามว่าเขาปิดเทอมช่วงไหน  ลาวเขาบอกว่าเขาปิดหน้าฝน ฝรั่งปิดร้อน  ปิดฝนหมายความว่าไงก็หมายความว่าปิดตอนดำนากับตอนเกี่ยวข้าว  เด็กก็จะได้ไปดำนากับพ่อแม่ วิถีก็จะไม่ได้ห่างกัน แต่ของเราเอาซัมเมอร์ฝรั่งมา  ปรากฎว่าปิดเทอมทีก็ไม่ได้เรียนรู้อะไร  อันนี้ก็ไปถอด โดยไม่ได้สังเคราะห์องค์ความรู้ หน้าหนาวก็ต้องอยู่ในห้องเรียน หน้าร้อนก็ต้องเปิดออกไป  ของเราร้อนตลอดอยู่แล้วบางทีเราเรียกว่าไปลอกเรียน ไม่ใช่ไปเรียนรู้  เป็นเรื่องที่เราอาจต้องมาช่วยกันคิด  </p><p>          หลายเรื่องต้องปรับคลื่น บางทีเราเป็น FM สังคมชาวบ้านเป็น AM บางครั้งก็จูนกันไม่ได้  ก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องมาแลกเปลี่ยนกันในเช้าวันนี้นะครับ ผมก็เกริ่นให้เท่านี้ ในที่สุดแล้วก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องมาแลกเปลี่ยนกับวิทยากรทั้งสองท่าน   </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 45273เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2006 07:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบคุณสิงห์ป่าสักที่บอกถึงการเริ่มต้นนำเสนอให้ทราบ จะตามอ่านต่อไปครับ
กำลังตามอ่านอยู่ครับ ในแต่ละบันทึก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท