ขัดแย้งเพื่อเข้มแข็ง


เปิดกว้างในการรับฟังความคิดมาก ๆ ครับ โดยเฉพาะความคิดด้านในเรื่อง “การขัดแย้ง"

หลังจากที่ผมได้ลงเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ “พัฒนบูรณาการศาสตร์” ไป มีหลาย ๆ ท่านเริ่มงงและสงสัยกับประสิทธิภาพของหลักสูตรนี้


หลาย ๆ ก็สงสัยว่าทำไมมีปัญหามากจัง


ไม่ต้องตกใจครับ
เป็นความผิดพลาดของผมเองที่ลืมแจ้งหลักการของหลักสูตร “พัฒนบูรณาการศาสตร์” ให้ทุกท่านได้ทราบครับ ว่าพวกเราโดยเฉพาะท่านประธานหลักสูตร ท่าน ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน และอย่างยิ่งท่านผู้บริหารและดูแลหลักสูตรคนปัจจุบันท่าน ดร.สุธิดา ท่านเปิดกว้างในการรับฟังความคิดมาก ๆ ครับ โดยเฉพาะความคิดด้านในเรื่อง “การขัดแย้ง” เพราะการขัดแย้งนั้นนักบริหารที่ดีเขาคิดว่าเสมอว่าจะไปสู่ความเจริญเติบโตและความเข้มแข็งครับ ถ้าองค์กรใดอยู่แบบราบเรียบ อยู่ไปวัน ๆ อย่างไงก็ได้ (ก็จะราบเรียบตลอดไปครับ)
ผมก็เลยสวมวิญญาณ “นักโวย” โวยตลอดครับ (เพราะไม่มีใครกล้า บ้าบินและเป็นกบฏทางวิชาการแบบผมครับ)


แต่ไม่ได้โวยมั่ว โวยไปเรื่อยนะครับ จะโวยเฉพาะเรื่องที่ไม่เป็นไปตาม “หลักการและวิสัยทัศน์” ของพัฒนบูรณาการศาสตร์ครับ (ช่วงนี้ ดร.สุธิดา ป่วยครับ ยังหวั่น ๆ ว่าท่านเครียดจนเป็นโรคกระเพาะเพราะว่าผมโวยมากไปหรือเปล่าครับ)


เพราะผมเป็นคนโรคที่แปลกประหลาดอยู่อย่างหนึ่งครับ โรคนี้เป็นมาตั้งแต่สมัยทำงานอยู่ที่ราชภัฏแล้วครับ
ผมเป็นโรคชอบไปอ่านสิ่งที่คนอื่นไม่ค่อยอ่านกัน นั่นก็คือ “คู่มือ” โดยเฉพาะคู่มือนักศึกษา คู่มือการตั้งหลักสูตร


หลักสูตรเป็นอย่างไร ตั้งมาทำไม เขาตั้งมหาวิทยาลัยมาทำไม ทำไมถึงเกิดโครงการนี้ หลักการ พันธกิจ วิสัยทัศน์ อันสวยงามเขียนไว้ว่าอย่างไร อ่านแล้วอ่านอีกครับ


อ่านแล้วพยายามทำความเข้าใจเสร็จแล้วก็นำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เป็นไปตามสิ่งที่เขียนไว้ “ผมจะโวยครับ”


เพราะโดยปกติประเทศไทยเราชอบเขียนหลักการและเหตุผลไว้อย่างหรูหราสวยงามตอนที่จะตั้งโน่นทำนี่
แต่พอทำจริง ๆ ไม่เห็นเป็นไปตามนั้นเลย
ฉะนั้น ผมจะเป็นสวมบทบาทเป็นพนักงาน QC และ QA ครับ (Quality Control และ Quality Assurance) ถ้าไม่ถูกต้องที่เขียนไว้ล่ะก็ “โวย” แน่ครับ

 

ความขัดแย้งสอดคล้องกับแนวทางหลักในการบริหารหลักสูตรของเราครับ  เพราะแนวทางของหลักสูตร “พัฒนบูรณาการศาสตร์” ก็คือ ไม่มีระเบียบหลักเกณฑ์ตายตัวในการบริหารหลักสูตร แต่จะให้ขึ้นอยู่กับความเห็นร่วมกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาในลักษณะคล้ายกับระบบบัณฑิตศึกษาในยุโรปครับ


รวมทั้งคำกล่าวของท่านครูบาสุทธินันท์ ที่ได้กล่าวไว้ว่า “ควรมีนโยบายนำแนวทางพระราชดำริเข้าไปสู่ระบบการศึกษา มีหลักสูตร มีหน่วยกิต หลักฐานการเรียนรู้เชิงประจักษ์ในทุก ๆ ระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงระดับดุษฎีบัณฑิต มหาชีวาลัยอีสานร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม จึงได้จัดหลักสูตร พัฒนบูรณาการศาสตร์ ขึ้นมาเมื่อสร้างนักการศึกษาให้มีมิติทางสังคม  หมูไม่กลัวน้ำร้อนที่ว่านี้กำลังเรียนกันจนน้ำลายเหนียว”

เมื่อหลักการแนวคิดเข้าสู่การปฏิบัติจริง ไม่มีสิ่งใดสมบูรณ์ไปหมดครับ จะต้องเรียนไปปรับไป การปรับเปลี่ยนนั้นก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ผ่านการปฏิบัติแล้ว และนักศึกษาสามารถส่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่ผู้บริหารหลักสูตรได้โดยเปิดเผย ซึ่งในที่นี้ผมก็จะส่งผ่านบล็อกครับ


ผู้บริหารหลักสูตร ประธานหลักสูตรจึงจำเป็นต้องเป็นบุคคลที่มีจิตใจกว้างขวางและรับฟังเสียงสะท้อนซึ่งเกิดจากการปฏิบัติ จากผู้ปฏิบัติซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรง (เพราะถ้าท่านไม่รับฟัง ผมคงโดนไล่ออกไปแล้วครับ เพราะบางครั้งก็กระแทกและกระทุ้งไปหนักเหมือนกันครับ)


เพราะผมคิดถึงรุ่นน้อง ๆ ครับ ไม่ว่าจะเป็นปริญญาเอก ปริญญาโท หรือในระดับปริญญาตรีที่จะเข้ามาศึกษาในรุ่นถัดไปต้องได้คุณภาพที่ดีที่สุดครับ

ผมต้องโวยจนให้ได้คุณภาพครับ

เพื่อจะรับรองได้เลยครับว่า รุ่นน้องหรือชาวพัฒนบูรณาการศาสตทุกคนได้รับสิ่งที่ดี ๆ อย่างแน่นอนครับ (ถ้าหลักสูตรยังให้โอกาสผมอยู่ คอยพูด คอยแสดงความคิดเห็นแบบถึงพริกถึงขิงแบบนี้นะครับ)  สิ่งสวยงามจะเกิดขึ้นกับพัฒนบูรณาการศาสตร์อย่างแน่นอนครับ


เพราะผมเป็นโรคอีกชนิดหนึ่งครับ ก็คือ “กัดไม่ปล่อย” ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จะไม่มีการ “ไม่เป็นไร สงสารเขา” เพราะตอนนี้ถ้าเราปล่อยและคิดว่าไม่เป็นไร รุ่นน้อง ๆ รุ่นต่อ ๆ ไป ก็จะลำบากครับ แล้วก็จะส่งผลให้กับประเทศชาติและสังคมต่อไปเรื่อย ๆ ครับ

เพราะงานที่ทาง มหาวิทยาลัยอุบลฯ สคส. และมหาวิชชาลัยภาคอีสานกำลังทำอยู่นี้ เป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ที่ผิดพลาดมาในอดีตเข้าสู่วิถีทางที่ยังคุณประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชนจะต้องใช้พลังและใจที่เข้มแข็งมาก ๆ

 

ดังนั้นจึงต้องเรียนไปปรับไป กระทบกระแทกเพื่อ “สร้าง” ความถูกต้องและ “สรรค์” สิ่งที่ดีงาม

 

ดังเช่นที่ท่านครูบาสุทธินันท์  ได้กล่าวไว้ว่า “เพราะเมื่อคนไทยหลงทิศหลงทางมาจนถึงจุดจนมุมอย่างนี้แล้ว ก็ควรหลอมรวมหัวใจไทยให้เป็นหัวใจสีทองเพื่อน้อมถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งท้ายที่สุดแล้วความงดงามจะผลิบานในหัวใจคนไทยทั้งมวล”


We Action We can talking We Train in life Everytime.
พวกเราเรียน ทำงาน ปฏิบัติงาน คิดได้ พูดได้ เรียนรู้กันตลอด เรียนรู้แล้วเป็นอย่างไร แลกเปลี่ยนกันเสมอครับ

เปิดกว้างและพร้อมรับข้อโต้แย้งเพื่อนำสู่การปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจะนำพาไปสู่ความสำเร็จ



เมื่อคิดจะทำนวัตกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนสิ่งใหม่ ๆ และทำให้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเราจะต้องมียุทธศาสตร์และอุบายหลายอย่างในความคิดและการกระทำที่แตกต่างจากหลักสูตรการศึกษาทั่ว ๆ ไป
ดังนั้นพวกเราต้องร่วมกันทำโจทย์ที่ท้าทายมาก ๆ และต้องย้อนกลับไปคิดอยู่ตลอดเวลาว่าพวกเราชาว “พัฒนบูรณาการศาสตร์” ว่าจะผ่านบททดสอบตามหลักการที่ได้ตั้งไว้ตอนแรกหรือไม่


ได้หรือไม่ได้อยู่ที่มือและใจของพวกเราครับ

 

หมายเลขบันทึก: 45238เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2006 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอให้กำลังใจอาจารย์ืปภังกรครับ

เพื่อสิ่งที่ดีที่สุด ในที่นี้มิใช่ตัวเราเองแต่เพียงผู้เดียว เพื่อเพื่อนร่วมรุ่น และเพื่ออนาคตของหลักสูตรฯ และทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าที่จะออกไปรับใช้สังคม พัฒนาประเทศของเราครับ

อาจารย์ทำในสิ่งที่ชอบแล้วครับ 

 

อ่านแล้วทำให้คิดถึงการประชุมภาคราชการครั้งที่ 4 เลย ช่างเป็นความบังเอิญจริงๆ ที่ มีการนำเรื่องการขัดแย้งเพื่อเข้มแข้งมานำเสนอ เพราะว่าในการประชุมเค้าก็พูดแต่อาจจะเชื่อมโยงกันได้ คือเรื่องของการนำความผิดพลาดเป็นคลังความรู้ล้ำค่า ในการพํมนางาน โดยเป็น Slogan ของ

Sony : Kadai Barashi วิเคราะห์ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเพื่อมองหาแนวทางใหม่ และจัดเก็บบทวิเคราะห์นั้นไว้ในฐานข้อมูล เพื่อเป็นคลังความรู้ในกระบวนการออกแบบต่อไป

ซึ่งเป็นเรื่องของวัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่นมักมีความมุ่งมั่น พูดคุยแบบตรงไปตรงมา ผิดก็ต้องเป็นผิด เอาข้อผิดพลาดมาวิเคราะห์และปรับปรุง และเป็นการมองหาแนวทางใหม่ๆ  และยึดถือเป็นบทเรียนที่สำคัญ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่ทุกคนจะต้องช่วยกันแก้ไข เอาความผิดพลาดมาคุยกันเพื่อพัฒนา  สร้างสรรค์ ต่อยอดงาน ต่อไป….ซึ่งอาจจะต่างกับวัฒนธรรมการทำงานของคนไทยที่ไม่ยอมรับความผิดพลาดมาสร้างสรรค์งาน
ฉะนั้น ผมจะเป็นสวมบทบาทเป็นพนักงาน QC และ QA ครับ
  • ไม่เพียงแค่ข้อความด้านบนนี้เท่านั้นนะคะ พี่เม่ยว่าคุณปภังกรมีบทบาทเป็น internal servayer ของหลักสูตรนี้ด้วย
  • ดีจังค่ะ ผู้บริหารหลักสูตรนี้เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นแบบนี้ ในอนาคตต้องเป็นหลักสูตรที่อยู่แถวหน้าขององค์กรแน่ๆเลยค่ะ
  • ขอบพระคุณอาจารย์จตุพรมาก ๆ ครับ
  • เป็นกำลังใจให้ผมต่อสู้อย่างยิ่งเลยครับ
  • เพราะบางครั้งยืนสู้แบบบ้าบิ่นและเป็นกฏบทางวิชาการก็ท้อเหมือนกันครับ "ท้อแต่ไม่ถอยครับ"
  • ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งเลยครับคุณจ๊ะจ๋า
  • การนำความผิดพลาดเป็นคลังความรู้ล้ำค่า เป็นสิ่งที่ใช่เลยและมีประโยชน์มาก ๆ ครับ
  • ถ้าเราสามารถบริหารความขัดแย้งนั้นได้
  • ความขัดแย้งก็จะมีประโยชน์อย่างยิ่งครับ
  • ขอบพระคุณพี่เม่ยมาก ๆ เลยครับที่มอบตำแหน่ง internal servayer 
  • จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดครับ
  • เพื่อพัฒนบูรณาการศาสตร์และประเทศของเราครับ
  • "ไม่มีความคิดเห็นแย้ง....ย่อมไม่เกิดการพัฒนา".
  • "ไม่ลงมือปฏิบัติ......ย่อมไม่เกิดการเรียนรู้"

 

 

  • ขอบพระคุณพี่วีรยุทธอย่างยิ่งครับ
  • ที่มาเสริมความคิดและให้กำลังใจในการยืดหยัดครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท