รัฐล้างท่องบ"49 เดือนละแสนล. เปิดประมูล-จัดซื้อจัดจ้างตรึม


รัฐล้างท่องบ"49  เดือนละแสนล. เปิดประมูล-จัดซื้อจัดจ้างตรึมเร่งเคลียร์งบฯ ปี"49 เหลืออีก 2 เดือน เทกระจาดงบฯ กว่า 2 แสนล้าน เอกชนกระดี๊กระด๊าเปิดประมูล   กระจิ๊บกระจ้อยตรึม วงการไอทีส้มหล่นงานเพียบ ขณะที่วงในหวั่นขบวนการล้างท่องบประมาณไม่เวิร์ก        เพราะคลังกระเป๋าแห้ง ชี้เดือน พ.ค.ที่ผ่านมาเจอมาเแล้ว หน่วยราชการแห่วางบิลแต่เงินไม่พอจ่ายนายวราเทพ รัตนากร รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายเงินภาครัฐในปีงบประมาณ 2549 เปิดเผยว่า ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548-21 กรกฎาคม 2549)  รัฐบาลได้มีการอนุมัติให้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณไปแล้วทั้งสิ้น 996,970 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 73.31% ของวงเงินงบประมาณ 1,360,000 ล้านบาท ได้แก่ 1) รายจ่ายประจำ 796,424 ล้านบาท คิดเป็น 81.23% ของวงเงินงบฯ ประจำ 980,494 ล้านบาท  และ 2) การเบิกจ่ายงบฯ ลงทุนประมาณ 200,546 ล้านบาท คิดเป็น 52.84% ของวงเงินงบฯลงทุน 379,506 ล้านบาท   สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณในปีนี้ ทางกระทรวงการคลังได้มีการตั้งเป้าหมายการเบิกจ่ายไว้ประมาณ 93% ส่วนงบฯ ลงทุนซึ่งมีอยู่ประมาณ 379,506 ล้านบาท จะต้องเร่งให้มีการเบิกจ่ายออกไปให้ได้ 73% และถ้าเบิกจ่ายได้ 93% เมื่อรวมกับ การเบิกจ่ายงบประมาณปีก่อน ๆ ที่มาเบิกจ่ายในปีนี้ คาดว่าในปีงบประมาณ 2549 จะมีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 1,384,198 ล้านบาทนายวราเทพกล่าวต่อไปอีกว่า เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทางกระทรวงการคลังได้มีการเรียก        ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีงบฯ ลงทุน เกินกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งมีประมาณ 20 หน่วยงานมาหารือ    เพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมาย พร้อมกับมอบหมายให้กรมบัญชีกลางไปติดตามการเบิกจ่ายงบฯ ลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีงบฯ ลงทุนต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท เป็นรายกระทรวง   นอกจากนี้เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทางกระทรวงการคลังได้มีการเสนอมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณปีงบประมาณ 2549  โดยเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติการปรับปรุงแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ 



ของส่วนราชการใหม่ในวงเงิน
16,850 ล้านบาท อาทิ การอนุมัติให้ส่วนราชการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี, อนุมัติ            ให้มีการปรับแผนงานให้สอดคล้องกับ เรื่องเฉพาะที่มีความจำเป็นเร่งด่วน วงเงิน 8,645.108 ล้านบาท, ชดเชยค่า K วงเงิน 1,201.083 ล้านบาท, ชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภค 181 ล้านบาท เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเร่งให้การเบิกจ่าย                 เป็นไปตามเป้าหมาย
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ล่าช้าในขณะนี้ ปัญหาหลัก มาจากการบริหารเงินสดของรัฐบาล แม้จะเร่งรัดการเบิกจ่ายออกไป แต่หากหน่วยราชการวางฎีกาขอเบิกเงินพร้อม ๆ กันจำนวนมาก ถ้าไม่มีเงินสดในมือก็เบิกไม่ได้   "ในช่วงก่อนสิ้นปีงบประมาณ 2549 หากจะให้เบิกจ่าย  ได้ตามเป้าหมาย 93% หรือ 1,264,800 ล้านบาท ขณะนี้เบิกจ่ายไปแล้ว 996,770 ล้านบาท ที่เหลือค้างจ่ายอีก 267,830 ล้านบาทนั้น เท่ากับว่าต้องเบิกจ่ายเฉลี่ยเดือนละ 130,000 ล้านบาท วงเงินนี้จะต้องรอรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี   ขณะที่วงเงินกู้ตั๋วคงคลังขณะนี้ก็เต็มเพดานอยู่ ซึ่งแนวทางแก้ปัญหานั้น            ทางสำนักบริหารหนี้จะต้องคุยกับกรมบัญชีกลางซึ่งเป็นผู้บริหารเงินสดของรัฐบาล ทางออกที่จะทำได้คือ         การออกพันธบัตรรัฐบาลไปใช้หนี้ตั๋วเงินคงคลังที่ออกไปก่อนหน้านี้ เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ถ้าทำได้ การกู้เงินด้วยการออกตั๋วคงคลังน่าจะมีเพดานเพิ่มขึ้นได้กว่า 100,000 ล้านบาท แต่คาดว่าไม่สามารถทำได้ระยะสั้น ๆ นี้อย่างแน่นอน"นอกจากนี้ปัญหายังมาจากส่วนราชการบางแห่ง เมื่อลงมือทำโครงการไปได้ระยะหนึ่งไม่สามารถทำได้ตามแผน เพราะปัจจัยราคาน้ำมัน ทำให้ค่าเคขึ้น ไม่สามารถทำต่อได้ บางโครงการต้องลดขนาดของงาน และ       ปรับแผนงานใหม่ ทางสำนักงบฯ จึงต้องเสนอมาตรการนี้ให้ ครม.พิจารณา เพื่อให้ส่วนราชการปรับปรุงและ        ใช้จ่ายเงินส่วนที่เหลือได้ นายภาณุวัฒน์ ขันธโมลีกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุพรีม คอมพิวเตอร์ จำกัด ผู้ประกอบการ พีซีโลคอลแบรนด์ กล่าวว่า ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนเป็นต้นมาตลาดการประมูลภาครัฐคึกคักมากเป็นพิเศษจนทำงานไม่ทัน มีการเปิดประมูลเกือบทุกวันแต่ไม่ใช่โครงการขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะเป็นการกระจายการจัดซื้อของหน่วยงานต่างจังหวัดโครงการละ 7-8 ล้านบาท เช่น ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาที่จัดซื้อมูลค่า 70 ล้านบาท แต่ก็เป็นการกระจายจัดซื้อของ 5 เขต ได้แก่ กรุงเทพฯ, นครปฐม, บุรีรัมย์, ขอนแก่น เป็นต้น   นอกจากนี้ยังมีสำนักงานที่ดินจังหวัด หน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ รวมทั้งโครงการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของกระทรวงศึกษาฯ มูลค่า 500 ล้านบาท แต่เป็นการกระจายงบฯ ให้แต่ละโรงเรียนจัดซื้อเอง แหล่งข่าววงการคอมพิวเตอร์เปิดเผยว่า ตลาดคอมพิวเตอร์คึกคักขึ้น จากงานประมูลราชการอย่างมากผิดปกติ  จากก่อนหน้านี้อยู่ในภาวะเงียบ เหงา ในเดือนกรกฎาคมมีการประกาศจัดซื้อจัดจ้างแบบอีออกชั่น ผ่านทางเว็บไซต์ www.gprocurement.co.th จำนวนสูงมาก มีการประกาศจัดซื้อจัดจ้างวันละกว่า 100 รายการ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐก่อนสิ้นปีงบประมาณ 30 กันยายนนี้ ประกอบกับ   ที่ภาครัฐได้ประกาศผ่อนปรนเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างในระบบอีออกชั่น ก็ทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้คล่องตัวมากขึ้น  ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจรายงานจากเวียดนาม ในระหว่างวันที่ 28-31 ก.ค.ที่ผ่านมา เป็นที่น่าสังเกตว่า       มีเจ้าหน้าที่และข้าราชการจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมาณ 10-20 คน เดินทางไปประเทศเวียดนาม เพื่อเข้าร่วมงานการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม โดยในช่วงเวลานั้นมีการจัดนิทรรศการจากหน่วยงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากทั้ง 2 ประเทศ และมีข้าราชการไทยเดินทางมาดูงานจำนวนมาก     ทั้งฝ่ายผู้เข้าร่วมประชุม ผู้จัดนิทรรศการและผู้ดูงาน จากการตรวจสอบข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของกระทรวงต่าง ๆ ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2549         ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2549 พบว่าหลายกระทรวงมีโครงการจัดซื้อจัดจ้างจำนวนมาก 1) กระทรวงสาธารณสุขมี 15 รายการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 14 รายการ    2) กระทรวงศึกษาธิการมี 13 รายการ อาทิ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สอบราคาซื้อ สอบราคาซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ รวม 7 รายการ,  สอบราคาเช่า ช่องสัญญาณต่อเชื่อมเครือข่าย, สอบราคาซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น     3) กระทรวงพาณิชย์มี 12 รายการ    4) กระทรวงแรงงาน 2 รายการ    5) กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมมี 1 รายการ ได้แก่ ประมูลซื้อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำหรับการใช้งาน พร้อมโปรแกรมสำหรับการปฏิบัติงานและให้บริการประชาชน 4 รายการ    6) กระทรวงมหาดไทย 1 รายการ ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ประมูลซื้อคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ พร้อมอุปกรณ์เชื่อมต่อ จำนวน 75 ชุด
คำสำคัญ (Tags): #ข้อมูลน่ารู้
หมายเลขบันทึก: 45200เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2006 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เนื้อหายาวจังเลย อ่านแทนไม่ไหว แต่เนื่องจากเป็นคนอยู่ในวงการคลังเหมือนกัน ได้เห็นข้อความที่Postลง มีความคลาดเคลื่อนคือในการเบิกจ่ายเงินเดี๋ยวนี้เขาไม่ใช้การวางฎีกาแล้ว แต่ใช้เอกสาร ขบ. เบิกจ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) แล้วครับ

ส่วนเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะที่เป็นงบลงทุนเท่าที่มีประสบการณ์มักพบว่าส่วนราชการมักอยากได้เงินมาดำเนินการในพื้นที่ให้มาก ๆ โดยขาดการศึกษาความพร้อมและความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการให้ถ่องแท้ ทำให้เกิดปัญหาการเบิกจ่ายล่าช้า ซึ่งน่าจะตรงกันหรือเป็นสาเหตุของคำที่ว่าเงินค้างท่อ ด้วยส่วนหนึ่ง เกิดเป็นปัญหาเงินกระจุกตัวตอนสิ้นปี และต้องแก้ปัญหา ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน ต้องแก้ที่ระบบการจัดทำงบประมาณและ การศึกษาโครงการก่อนดำเนินการให้ถ่องแท้ และแท้จริง จะทำให้ทรัพยากรของชาติได้ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยไม่เห็นแก่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจนละเลยปัญหาที่ตามมา  ขอบคุณ...

อ่านข้อความของคุณ นายว.  แล้วเข้าใจถึงปัญหาเลยค่ะ

รัฐบาลก็มีทางออกสำหรับเรื่องราวต่าง ๆ เสมอ เงินไม่มีก็ออกตั๋วเงินคลัง เอาเงินในอนาคตมาใช้ก่อน ก็เหมือนหมุนเงินไปเรื่อย ๆ  ขอประเทศไทยจงเจริญ

        เนื้อหาเยอะเกินไป ควรสรุปให้น้อยกว่านี้ แล้วจะดูดีมากค่ะ
เนื้อหาเยอะไป ไม่น่าอ่าน น่าจะสรุปให้สั้นกว่านี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท