TU LIBS
นาง ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ

เทคนิคการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์


การสร้างแรงจูงใจ หรือการเสริมสร้างพลังให้เกิดขึ้นในตัวเราไม่ใช้เรื่องยาก หากเราทราบสาเหตุและที่มาของแรงจูงใจ การทำงานทุกคนล้วนจะต้องพบเจอกับอุปสรรคนานัปการ หากเรามีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงแล้ว อุปสรรคที่พบเจอก็ไม่เป็นปัญหา เราสามารถที่จะผ่านมันไปได้

          วันที่ 27 ก.ค. 2554 เวลา 9.00-16.00 น. นางปทุมทิพย์ ลิ้มพงศานุรักษ์ เข้าอบรมเรื่อง เทคนิคการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  ณ ห้องประชุมประภาศน์ อวยชัย ชั้น 4อาคารเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดโดย สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สรุปได้ดังนี้

          การจูงใจ คือ การกระตุ้นความต้องการ อารมณ์ ความคิดให้มนุษย์เกิดความมุ่งมั่น ทิศทางในการปฏิบัติงานให้เต็มศักยภาพแล้วเกิดความพึงพอใจ เมื่อผลการปฏิบัติงานนั้นสนองตอบอารมณ์ความต้องการดังกล่าว และสามารถที่จะรักษาระดับผลการปฏิบัติงานให้ตรงตามมาตรฐานได้

          การทำงานหากขาดพลังหรือแรงจูงใจในการทำงานแล้ว อาจมีผลทำให้การทำงานขาดชีวิตชีวาและน่าเบื่อ ดังนั้นเราจะทำอย่างไรที่จะให้ชีวิตการทำงานในแต่ละวันของเรามีความสดชื่นและตื่นตัวอยู่เสมอ ก่อนอื่นเราควรทราบถึงสาเหตุหรือที่มาของแรงจูงใจเป็นลำดับแรก เพื่อที่จะได้หาวิธีการในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นต่อไป

          การจูงใจจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีสิ่งล่อใจและความต้องการ หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง แรงจูงใจจะไม่เกิดขึ้น สิ่งล่อใจ (incentives) เป็นสิ่งชักนำบุคคลให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้จัดเป็นแรงจูงใจภายนอก เช่น การชักจูงให้คนงานมาทำงานอย่างสม่ำเสมอ โดยยกย่องพนักงานที่ไม่ขาดงานให้เป็นที่ปรากฏ การประกาศเกียรติคุณ หรือการจัดสรรรางวัลในการคัดเลือกพนักงานหรือบุคคลดีเด่นประจำปี การจัดทำเนียบ "Top Ten" หรือสิบสาขาดีเด่นขององค์การ การมอบโล่รางวัลแก่ฝ่ายงานที่มีผลงานยอดเยี่ยมในรอบปี ฯลฯ ตัวอย่างที่ยกมาเหล่านี้ จัดเป็นการใช้สิ่งล่อใจมาสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้เกิดแก่พนักงานขององค์การทั้งสิ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งล่อใจนั้น อาจเป็นวัตถุ เป็นสัญลักษณ์ หรือเป็นคำพูดที่ทำให้บุคคลพึงพอใจ หากผู้บังคับบัญชาต้องการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา จะต้องค้นหาความต้องการและจัดหาสิ่งล่อใจมาจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา การจูงใจจึงจะประสบความสำเร็จ

          นอกจากที่ผู้บังคับบัญชาจะสร้างแรงจูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแล้ว ตัวของผู้ใต้บังคับบัญชาเองก็ควรจะต้องสร้างแรงจูงใจให้กับตนเองด้วย โดยการเรียนรู้ทฤษฏีจูงใจที่สำคัญต่างๆ การทำตัวเป็นดาวฤกษ์คือการมีแสงสว่างในตัวเอง มีไฟในตัวเอง การรู้จักรอคอยที่จะเก็บเกี่ยวความสำเร็จ การมองเห็นว่าตนเองมีความสามารถ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความคิดสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี สร้างทัศนคติในแง่บวกให้กับตัวเอง และมีแนวทางในการตั้งเป้าหมายเพื่อความสำเร็จ

          แนวทางในการพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ได้แต่ การชื่นชมและการให้รางวัลเมื่อทำสิ่งใดแล้วประสบความสำเร็จ การมองว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาจากความสามารถ ความพยายาม มิใช่ความสำเร็จเกิดจากโชคชะตา การตั้งเป้าหมายในการทำงาน วางแผนการทำงาน พร้อมที่จะรับฟังข้อวิจารณ์ เมื่อมีข้อผิดพลาดก็ปรับปรุงแก้ไข

          การสร้างแรงจูงใจ หรือการเสริมสร้างพลังให้เกิดขึ้นในตัวเราไม่ใช้เรื่องยาก หากเราทราบสาเหตุและที่มาของแรงจูงใจ การทำงานทุกคนล้วนจะต้องพบเจอกับอุปสรรคนานัปการ หากเรามีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงแล้ว อุปสรรคที่พบเจอก็ไม่เป็นปัญหา เราสามารถที่จะผ่านมันไปได้

หมายเลขบันทึก: 451809เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2011 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดิฉันเข้ามาอ่านเพราะสนใจเรื่อง การสร้าง "แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์" มานานแล้วค่ะ

เคยอ่านงานวิจัยว่า เด็กไทยมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำ  แต่จำไม่ได้แล้วว่าผู้วิจัยเสนอทางออกอย่างไร

เป็นสิ่งที่สนใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท