หากอุ้มผางจะ “กิ๋นบ่เซี้ยง” ควรเป็น “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า” หรือ “อุทยานแห่งชาติ” ?


“จุดประสงค์หลัก ๆ ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าก็คือ เป็นที่รักษาพันธุกรรมพืชและสัตว์เอาไว้ เป็นที่รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นที่เก็บน้ำไว้ให้เรา หากดูแผนที่จะเห็นว่าวันนี้ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าประมาณร้อยละ ๒๐ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ยังไม่ถึงดี ในขณะที่เรามีพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอยู่แค่ประมาณร้อยละ ๕ เท่านั้น ถ้าจะให้พูดก็คือ ตอนนี้เราหลังพิงฝาแล้ว มีไม่มากพอที่จะใช้โดยไม่ระมัดระวัง”:อาจารย์รตยา จันทรเทียร ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
  • ขณะนี้การพิจารณาเปลี่ยนสถานะเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางให้เป็นอุทยานแห่งชาติกำลังอยู่ในขั้นตอนการสำรวจ จากนั้นจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ และคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ก่อนจะนำเรื่องเข้า ครม. โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปีนี้
  • http://www.sarakadee.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=580
  • http://www.seub.or.th/hotnews/news_020.html
คำสำคัญ (Tags): #สิ่งแวดล้อม
หมายเลขบันทึก: 45131เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2006 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การเปลี่ยนสถานภาพของพื้นที่อนุรักษ์ถือว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากเรื่องหนึ่งทีเดียวครับ...ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อหลายๆ ฝ่ายได้ทั้งในด้านบวกและด้านลบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การจัดสรรพื้นที่อนุรักษ์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงท่องเทียวนั้น  เป็นไปได้แน่นอนในสถาการณ์ปัจจุบัน ....ถ้าดำเนินการอยู่บนฐานของคำนิยามว่า พอเพียง อย่างที่ได้กล่าวไว้ในบทความข้างต้น...ทำให้เกิดเป็น win-win situation ของทั้งทุกๆ ฝ่าย 

  • ถ้าพื้นที่อนุรักษ์บางส่วนได้ถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีการดำเนินการอย่างเหมาะสม มีการจัดการที่ดี...ผมเห็นว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ที่อาศัยในพื้นที่บริเวณนั้น รวมทั้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่รับผิดชอบพื้นที่นั้น ยินดีให้ความร่วมมือ

ผมคงไม่ได้พูดเองคิดเองแทนชาวบ้านและเจ้าหน้าที่เหล่านั้น... ผมได้ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ที่ได้ฟังความคิดเห็นจากทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นแห่งท่องเที่ยว ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน [เขาเหล่านั้นเป็นผู้ที่อาศัยและใช้ประโยชน์จากพื้นที่นั่นโดยตรง มากกว่าเราๆ ท่านๆ ซะอีก]

  • ผมได้สัมผัส ถึงพี่ๆ น้องๆ เจ้าหน้าที่ในหน่วยพิทักษ์ป่าฯ ที่ต้องเพิ่งพาตัวเอง...การสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลางได้ลดลงอย่างชัดเจนช่วงสองสามปีที่ผ่านมา.....เขาเองคงอยากมีหนทางที่จะหารายได้เลี้ยงหน่วยฯ ของตัวเอง
  • พื้นที่หมู่บ้านหลายๆ แห่งที่อยู่ในเขตของพื้นที่อนุรักษ์ฯ โดยทั่วไปจะไม่ได้รับการพัฒนาสาธารณูปโภคเท่าที่สิทธิที่พึงจะมี (น้ำอุปโภคบริโภค-ถนน-ไฟฟ้า) เนื่องจากติดปัญหาเรื่องกฎหมายของพื้นที่อนุรักษ์... เขาเอง (ก็เป็นคนไทยเหมือนกัน) คงอยากเห็นการพัฒนาเกิดขึ้นในหมู่บ้านของตัวเองเช่นเดียวกับที่คนอื่นๆ มี

สำหรับผมคำว่า Conservation ย่อมแตกต่างจาก Preservation อย่างชัดเจนครับ

  • พื้นที่ไหนที่เห็นว่ามีศักยภาพที่จะสามารถพัฒนาและนำมาใช้อย่างยั่งยืนได้ ก็สมควรนำมาพิจารณา ศึกษาให้แน่ชัดก่อนการดำเนินการ

การรู้จัก เอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยเปลี่ยนมุมคิด ให้เป็น การมองจากข้างนอกมาหาตัวเรา...นับว่าเป็นฐานในการจัดการความขัดแย้งได้ดีทีเดียวครับ

คราวก่อนท่านนายกนั่งเฮลิคอปเตอร์บินผ่านดอยหลวงเชียงดาว เห็นว่าสวยดี

 

ทำให้เกิดแผนการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้น(ดอยหลวงเชียงดาวก็เป็นเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า)

 

ใครหลายคนเลยเป็นห่วงว่า ...ตาชั่งมันได้เอียงไปแล้วตั้งแต่แรกเริ่มหรือเปล่า?

 

อีกข้อคือ อย่างเรื่องพรบ.ป่าชุมชนคนทำงานด้านอนุรักษ์ต่างเข้าใจดี

 

ว่าคนอยู่ป่า รักษาป่าได้ มีวิถีชีวิตที่กลมกลืนอิงอาศัยไปกับป่า

 แต่เค้าเป็นห่วงว่ากฏหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง

มันจะเปิดช่องให้คนข้างนอกเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์

 

ป่าก็จะไม่เป็นป่า..วิถีชิวิตคน กิจกรรมคนก็เปลี่ยนไปด้วยประเทศไทย กฏหมายไทยที่ธรณีสงฆ์ยังกลายไปเป็นที่นายทุนได้

ลองเสิร์ชดูในโลกไซเบอร์มีประกาศขายที่สปก.กันโครมคราม

ทั้งที่จริงแล้วมันมีไว้ เพื่อเกษตรกรรม”...และต้องตกเป็นมูนมรดกของลูกหลาน

(ข่าวนายกทักษิณเอาไปแจกคนแถวเหนือ-อีสานอยู่เร็วๆนี้

สังเกตภาพข่าวให้ดี เดี๋ยวนี้เอกสารสิทธิ์มีภาพถ่ายทางอากาศประกอบอยู่ด้วย)

เรื่องโครงการเดอะพีค รุกพื้นที่ป่าที่สมุย(ไถดินลงทะเลอีกต่างหาก) ก็เหมือนกัน

น่าเศร้าว่า เรื่องปูดขึ้นมาเพราะเรื่องการเมืองแท้ๆ ไม่ใช่ด้วยคนพื้นถิ่นออกมาเคลื่อนไหว

คงรอดูรอฟังกันต่อไป.----------------------------------------------------------------

การทำแนวกันไฟเป็นงานที่เหน็ดเหนื่อย ใช้แรงคนมาก คนทำงานต้องอยู่ในป่านานหลายอาทิตย์เพื่อถางต้นไม้บางส่วนให้โล่งเตียน ไม่ให้ไฟป่าที่เกิดขึ้นลุกลามออกไป

 

เขาบอกว่าที่ผ่านมาคนในหมู่บ้านของเขาออกมารับจ้างทางอุทยานฯ ทำแนวกันไฟกันหลายสิบคน ทำงานอยู่ในป่านานมากกว่าที่แนวกันไฟจะแล้วเสร็จ แต่ปัญหาคือ จนป่านนี้ผ่านมานับเดือนแล้ว ยังไม่มีใครได้รับเงินค่าจ้างจากทางอุทยานฯ เลยสักคน

 

อันที่จริงการเตรียมตัวป้องกันไฟป่าโดยการทำแนวกันไฟเป็นสิ่งที่ควรยกย่อง เพราะเป็นการป้องกันไม่ให้ไฟป่าลุกลาม และเป็นการแก้ไขปัญหาไฟป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

แต่ที่ผ่านมาหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องมักจะให้ความสำคัญกับการดับไฟป่าที่เกิดขึ้นเสียมากกว่า

ซึ่งแม้จะรู้กันว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ที่ยังทำกันอยู่คงเพราะการดับไฟป่าเป็นข่าวที่ดึงดูดสื่อต่างๆ ได้ดี

 

จึงไม่น่าแปลกใจที่เข้าหน้าแล้งทีไร เราจะเห็นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องยกโขยงขี่ช้างจับตั๊กแตนออกไปดับไฟป่าเป็นข่าวใหญ่โต

ทุ่มงบประมาณลงไปสู้ไฟป่าเต็มที่ ราวกับว่าไฟป่าเป็นผู้ก่อการร้ายที่จะต้องจัดการฆ่าตัดตอนให้สิ้นซาก ในขณะที่จัดสรรงบประมาณเพียงน้อยนิดในการทำแนวกันไฟ

 

ที่สำคัญ งบประมาณเหล่านี้ก็ไม่แน่ว่าจะตกถึงมือคนทำงานในพื้นที่หรือไม่

 

ทุกวันนี้ชาวบ้านที่รับจ้างทำแนวกันไฟหลายแห่งทั่วประเทศกำลังรอเงินค่าจ้างตามสัญญาด้วยความอดทน

 

แต่หากวันใด ความอดทนของชาวบ้านสิ้นสุดลงพร้อมกับไฟป่าที่ลุกโหม

 ก็จงเข้าใจด้วยว่า ใครกันแน่คือผู้จุดไฟป่า" บางส่วนจากบทบรราธิการนิตยสารสารคดีฉบับที่ 244 มิถุนายน 48 ปีที่ 21 http://www.sarakadee.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=507 
  • อยากเห็นรัฐมีความจริงใจ และมีความยุติธรรมกับชุมชนในท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ระดับล่างมากกว่าที่ผ่านมา
  • หน่วยงานของรัฐฯ ต้องทำความเข้าใจปัญหาของพนักงานระดับล่างให้มากกว่านี้...เนื่องจากผู้บริหารส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับเกีรยติให้ดำรงตำแหน่งลูกจ้าชั่วคราว
  • ผมเคยเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายวัน ด้วยวุฒิ มัธยมศึกษาตอนต้น (ม. 3) ของหน่วยงานรัฐฯ อยู่สี่ปีเต็ม ทำให้ทราบทั้งปัญหาเรื่องการทำงาน เรื่องเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของเขาเหล่านั้นพอสมควรครับ....
  • เมื่อ แปดปีที่แล้ว...ปกติเงินตกเบิกต้นงบประมาณใหม่ จะประมาณสามถึงหกเดือน....นั่นหมายความว่า เขาเหล่านั้น จะไม่ได้รับเงินเดือนตั้งแต่เดือน ตุลาคม จนอาจจะเลยไปถึงเดือน เมษาของปีต่อไปได้ครับ
  • ทำหน้าที่ให้เต็มที่ และอดทนสู้ต่อไปนะครับ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท