หากไม่เข้าใจตนเอง ก็ยากที่จะเข้าใจ LO


ตำแหน่งยิ่งสูง อัตตายิ่งมาก ยิ่งเข้าใจตนเองยาก เข้าใจ LO ยิ่งยากเข้าไปใหญ่

 ผมกำลัง เขียน หนังสือ LO เล่ม สาม   เน้น นวตกรรมและ องค์กรเปี่ยมสุข

เลย ยก บทนี้   ที่เพิ่งเขียนเสร็จ   copy มาให้อ่านเล่นๆ 

บทที่  xx  (ครบหลายๆบท แล้วมา สับใหม่ เรียงใหม่ ให้ เหมาะสม)

ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป  พฤติกรรมในการบริหารก็ต้องเปลี่ยนแปลงด้วย

            สมัยที่ องค์กรของเรายังเปิดใหม่ๆ    จะหาปริญญาตรีสักคนก็ยาก   คนรอบตัวก็ผ่านระบบการศึกษาแบบ ท่องจำ ไม่ต้องคิด  รอคำสั่ง   ดังนั้น   รุ่นพี่ๆ ของเรา จึงบริหารงานแบบ คุณอำนาจ  เน้น อำนาจ  สั่งการ  เผด็จการ   ฯลฯ   เพราะ ปรึกษาลูกน้องในยุคนั้น  ก็ไม่ค่อยจะได้ แนวคิดอะไร  ได้แต่ ข้อมูลดิบมาๆ ต้องเอามาย่างแล้วย่างอีก   หยาบอีกต่างหาก

                องค์กรเราเจริญมาทุกวันนี้ ก็ต้องขอบคุณ พวกพี่  จอมเผด็จการพวกนั้น  แต่ วิธีการบริหารแบบนั้น มันก็เหมาะกับยุคสมัยนั้น    เผอิญยุคนี้   อะไร อะไรก็เปลี่ยนไป    จะใช้หลักการบริหารแบบนั้นอีก  มันก็จะพาองค์กรให้ล่มได้    ยิ่งองค์กรใหญ่ๆ ล้มดังสะด้วยสิ

            สมัยก่อน การท้าทาย (Challenge) แบบก่อน   เราก็บริหารองค์กรแบบ เน้นความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน ( Operation excellent )  เช่น  กวาดรางวัล 5    รางวัล QCC    ทำ ISO  ฯลฯ

                พนักงานแต่งตัวเหมือนกัน คิดเหมือนกัน   อย่าเถียง   ประจบเจ้านาย   ฯลฯ  ลูกน้องทำเจ้านายนิสัยเสีย   กระเด็นไปอยู่บนหอคอยงาช้าง  เจออัตตา ติดสุขเข้าเต็มรัก    ใช้ความเข้าใจว่าตนเองฉลาด มองอะไรผ่านๆ ก็เข้าใจ    ฯลฯ   นี่แหละ กับดักที่บ่อนทำลายองค์กร

                กัปตันที่อายุมาก มีโอกาสทำยานตกได้ง่ายๆ  เพราะ ความชำนาญที่คิดว่า แบบเดิม คือ สิ่งที่ถูกต้อง  ความคิดที่ว่า  ก็เคยทำแบบนี้สำเร็จ  หรือ หมอ ที่ ชำนาญมากเกินไป  มองข้าม กรณี 1 ใน 100 ไป   เพราะ แค่เห็นเงาคนไข้  ก็เขียนใบจ่ายยาได้แล้ว  ผลคือ โอกาสล้มเหลวมีสูงมาก

                สมัยนี้    โลกแคบลงทุกวัน   เจ้านายทำอะไรบ้าๆ บอๆ  บ้าอำนาจ   นักศึกษาทุกมหาวิทยาลัยก็ chat รู้กันหมดแล้วครับ  แล้วก็อย่าบ่นว่าหาคนเก่ง คนดีลำบากนะครับ

            เดี๋ยวนี้  ต้องเปลี่ยนจาก  เน้นความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน ( Operation excellent ) มาเป็น เน้นความเป็นเลิศของบุคลากร (People excellent) แล้ว  จึงจะเหมาะสมกับยุคนี้     ส่วนในยุคต่อๆไป  อาจจะกลับไปแบบเดิมก็ได้  

            นอกจากนี้  ผู้บริหารยังต้องเปลี่ยนพฤติกรรมจาก เน้นผล  (Result oriented)  มาเน้น การพัฒนากระบวนการ (Process oriented) คิดและทำ  อีกด้วย   จึงจะเป็นการบริหารแบบยั่งยืน (sustainable)   

                ศาสตร์ด้านการบริหารจัดการไม่เที่ยงครับ   เพราะ มนุษย์เราไม่เที่ยง   กิเลสมันไม่เที่ยง  พฤติกรรมมนุษย์ไม่เที่ยง     ใครใช้ศาสตร์เดิมๆ ก็จะล้มเหลว   หรือ  เปลี่ยนวิธีการบริหารแบบเข้าใจเอาเองว่าเปลี่ยนแต่ลึกๆ ยังไม่ซึ้งกับมันเลย   โดยเฉพาะ เรื่อง LO ถ้าผู้บริหาร  ไม่ลงมาคลุกฝุ่น  มาผจญกรรม  มาผ่านด่าน  ค้นพบความชั่วในตนเองและกำจัดมัน  

                ผู้บริหารบางองค์กร  ปากก็บอกว่า  จะให้พนักงานเปลี่ยนแปลง  กล้าคิด กล้าทำ เน้นนวตกรรม ฯลฯ  แต่ พอโดนผมบรรยายกระแทกเข้าหน่อย  สอบตกครับ   คือ  ออกอาการครับ  ทั้งบ่น  สับสน รับไม่ได้ ต่อต้าน  ทำไมไม่อย่างนั้น ทำไมไม่อย่างนี้  ทำไมมาต่อว่าอาจารย์ญี่ปุ่นสอน TQM ของฉัน  ฯลฯ    ทำเอาผมคาดไม่ถึงไปเลย   ผมเข้าใจผิดคิดว่าพวกเขาปรับพฤติกรรมได้แล้วจึงเรียกผมมาสอนลูกน้องของเขา    ที่ไหนได้ ไปๆมาๆ ผมจึงค้นพบว่า ลูกน้องเสียอีกมีหลายคนที่ปรับปรุงตนเองไปแล้ว  ผ่านด่าน ค้นพบตนเอง ไปแล้ว   เจ้านายยัง  นึกว่าตนเองใจกว้างอยู่เลยครับ    เจอ นิวรณ์เข้าไปเต็มๆ 

                ผมเอง ก็แหย่ว่า  อาจารย์ญี่ปุ่นมาสอน   สิ่งที่สอน(ถ้าปล่อยออกมาหมด  หรือ เราดูดออกมาได้หมด)ก็เป็นความถูกต้องเหมาะสมในสมัยนั้น   แต่ตอนนี้อะไรๆก็เปลี่ยนไป  และ ผมไม่เชื่อว่า  ญี่ปุ่นจะจริงใจกับเราขนาดนั้น   ตัวอาจารย์เอง วันนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงวิธีคิดแล้วก็ได้   ผู้บริหารที่เป็นศิษย์ยังเชื่อคำสอนเดิมๆอยู่    ตัวอาจารย์ญี่ปุ่นเอง อาจจะไม่เชื่อคำสอนของตนเองเลยก็ได้  เพราะ เขาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงไปอีกแล้ว  

                ผมเองวินาทีนี้   ยังไม่เชื่อตัวผมเองในวินาทีก่อนหน้านี้เลย  แต่ละวันเราเปลี่ยนไปครับ    

                อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง  ตอนวัยรุ่น  พอมาอ่านตอนหนุ่ม ก็จะได้อะไรไม่เหมือนกัน    มาอ่านตอนแก่ก็ยิ่งได้อะไรอีกแบบหนึ่ง   ทั้งๆที่คนเขียนไม่ได้แก้ไขอะไร     เราต่างหากที่ไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลง

                มันก็ยากนะ ที่จะทำให้ ผู้บริหาร  สำนึกตนได้   เพราะ อัตตามันล้นไปหมด   ผู้บริหารเสพสุขและไม่ต้องเสี่ยงอะไรอีก   อีกไม่กี่ปีก็เกษียณ  ล้มลงบนกองฟูก   แต่ รอยแผลที่ทำไว้กับองค์กร  กว่าจะรู้ผล  ผู้บริหารก็เกษียณและ ไม่สนใจคนที่เหลืออย฿อีกแล้ว     นี่แหละ องค์กรแบบอมตะ  จึงหาได้ยากเย็น   

                ผลการทำอะไรบ้าๆ ของผู้บริหารยุคหนึ่ง  กว่าจะรู้ผลว่าพลาด  ก็ไปตกที่ผู้บริหารอีกยุคหนึ่ง    โดยเฉพาะ เรื่องการพัฒนาพฤติกรรมคน  วิธีคิดของคน 

                นวตกรรมจะเกิดไม่ได้หากไม่มี  บรรยากาศของนวตกรรม หรือ วัฒนธรรมนวตกรรม   และ  ความไม่เปิดหู  เปิดตา และเปิดใจ   ไม่ ค้นพบ ความชั่วในตนเอง  เช่น ติดสุข บ้าอำนาจ  มั่นใจเกินเหตุ  นึกว่าเก่ง  เอาเปรียบ   ไม่เห็นคนเป็นคน  ปากกับใจไม่ตรงกัน  ตอบตนเองไม่ได้ว่าเกิดมาทำไม   ไม่รู้จักตนเอง  ฯลฯ  นี่แหละ   ทำลาย ขวางกั้น นวตกรรม และ ความสุขในองค์กร

                ในการบริหารทำนวตกรรม หรือทำ LO  หากลูกน้องพัฒนา ใจ ไปก่อนเจ้านาย  และก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นอย่างนั้นสะด้วย   เพราะ ลูกน้องอัตตาน้อยกว่า  อายุน้อยกว่า (สัญญา อคติ ความคิดร้ายๆ  ฝังในใจน้อยกว่า)   จึงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าผู้บริหาร  พัฒนาใจได้ง่ายกว่า     ผลที่ตามมาคือ  ลูกน้องกลุ่มที่พัฒนาใจตนเองได้แล้ว  คงจะลาออก  เพราะ เขาค้นพบตนเองแล้ว  พบว่า เจ้านาย เปลี่ยนแปลงยาก   อยู่ด้วยก็เสียเวลา   ออกไปค้นหา  ออกไปสร้างอาณาจักรใหม่ดีกว่า   นี่แหละ  ความน่ากลัวในการทำ LO  คือ เจ้านาย หลุดอาการจิตไม่นิ่งออกมาให้เห็น  จนเสียบารมี (Charisma) ไป   ทำให้ ลูกน้องหมดศรัทธา    ลูกน้องเขาไม่เอาอนาคตมาพังด้วย   ไม่มีใครอยากอยู่กับองค์กรที่ไม่มีความสุขหรอกครับ   ยกเว้น หมดทางไป   อยู่เพราะผูกพัน  ไปไม่รอด  หรือ ปักหลักแน่นแล้ว เป็นต้น 

                ทำ LO แล้ว ทุกคนต้องมีความสุข  สุขตั้งแต่เริ่มต้นทำเลยครับ    ทำ LO แล้ว  คำตอบสุดท้าย คือ ทุกคนมีความสุข  ใครโชคดีก็จะสุขแบบถาวร   ใครโชคดีปานกลาง ก็จะมีกินมีใช้ สบายอก สบายใจ   องค์กรก้าวหน้า ชุมชนไม่รังเกียจ  ฯลฯ   ถ้าทำแล้ว  ทุกคน โดนเฉพาะ ลูกน้อง เครียด เบื่อ เกลียด ฯลฯ  แสดงว่า ผู้บริหารยังไม่ซึ้งใน LO  เป็นแค่ นึกว่า รู้  มีแต่ ความอยาก ได้ LO เท่านั้นเอง

                มันยากนะครับ กว่าจะให้คนๆหนึ่งเข้าใจการทำ LO  อย่างลึกๆ   เพราะ ตราบใดที่เขาไม่เข้าใจ ตัวเขาเอง   ผมก็ไม่รู้จะใช้มุขไหนไปยั่วเขาให้เข้าใจ LO ได้                      
หมายเลขบันทึก: 45125เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2006 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

นี่ถือได้ว่า ได้อ่านก่อนใครๆ เลยครับ

เยี่ยมมากๆ ครับ

ที่ไม่ไป ไม่ใช่ไม่มีทางไปค่ะ ทางไปที่รุ่งและเงินดีกว่ามีมากระทุ้งอยู่เสมอ แต่ที่อยู่เพราะผูกพันธ์

ขอบคุณค่ะหนังสือจะออกประมาณเมื่อไหร่คะ

1)  เลี่ยว  ได้อ่านคนแรก ในโลก

ก็เพราะ เลี่ยวอีกนั่นแหละ  ที่ มาคุยกับ ผม เรื่อง "ขอบคุณ" พี่ๆ เผด็จการทั้งหลาย  พี่เขาทำถูก ณ สถานภาพแบบนั้นๆ

ก่อนหน้านี้  เลี่ยวก็ แนะนำคำว่า "วงเล่า"  

 

 2) พี่พัชรา  คงต้องรอ หนังสือเล่มนี้หน่อย   

คุณทวีสิน อยากให้ผมเขียน เรื่อง องค์กรเปี่ยมสุข

คุณสมจิต (กลุ่มกระดาษ)  อยากให้เขียน นวตกรรม

หนังสือเล่มนี้ คงผสมๆ ชื่อ นวตกรรม + เปี่ยมสุข

3)

ผูกพัน    นี่แหละ ดี   หัวหน้างาน ลูกน้องหลายคน ผูกพันครับ  แต่ เจ้านาย ผูกพันหรือเปล่า นี่สิ 

เอาเป็นว่า ผูกพันได้ แต่อย่ายึด น่ะ  สักแต่ว่าพัน

4) ว่างๆ  ไปสนุกกับธรรมบรรยายแนวใหม่ กับผม  ที่ รพ พระปิ่นเกล้า  27 สค 49 นี้  ตอนเช้า 

ขอบคุณครับ

  • มาขอเก็บเกี่ยวครับ
  • อ่านฟรี ทีละน้อย ๆ อย่างนี้พอไหว....5555
อาจารย์พูดถึงการเขียนหนังสือ เลยนึกถึงหนังสือที่อ.เขียน ที่เคยอ่านมา เคยชอบ "บริหารงาน บริหารใจ" มากกว่าเล่มอื่น เพราะอ่านง่ายเป็นตอนๆ สั้นๆ  แต่ตอนนี้ชอบอ่าน "The Inner Path of LO&KM"  เพราะมีจุดโดนใจเยอะ จุใจ หลากรส โดยเฉพาะบทที่ 3 ที่มีเครื่องมือให้เลือกใช้ในกระบวนการ ลปรร.ได้ตามชอบใจ เกินคุ้มเลยค่ะ
  • อ่านกินใจ มีสาระ
  • ตอนนี้มีที่ไปแล้ว...แต่ติดตรงที่..มันผูกพันธ์กับคนบ้างคน...กำลังคิดหนักเลย...หุหุ  งุงิ

ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสเรียนกับ อ.วรภัทร์ ที่สักภูเดือน อาจารย์ให้แนวคิดให้สติผมมากครับ ยิงศึกษา LO ก็ยิ่งเห็นความสุขที่ตัวเองต้องการ

ต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่ท่านได้ชี้นำครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท