การใช้ชุมชนเป็นฐานดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(1): AI นักศึกษาพยาบาลเวชปฏิบัติ


"ผู้ป่วยมีปัญญาพอที่จะวิเคราะห์ได้ว่า อะไรควรกินหรือไม่ควร"

          เวที ลปรร สำหรับวันนี้ 17 สค. 2549 เป็นห้องเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติเฉพาะทาง มีนักศึกษาทั้งหมด 12 คน เป้าหมาย คือ Best practice of community-based care in patients with chronic illness

          คุณธิดารัตน์ สุภานันท์  ได้ออกมาเล่าอย่างน่าสนใจว่า คุณพ่อ เป็นเบาหวานมา 15 ปี ไม่เคยเชื่อลูกที่เป็นพยาบาล จึงต้องใช้สื่ออื่นหามาให้อ่าน และให้ไปพูดคุยกับผู้ป่วยคนอื่นๆ  คุณพ่อได้ให้แนวคิดว่า "ผู้ป่วยมีปัญญาพอที่จะวิเคราะห์ได้ว่า อะไรควรกินหรือไม่ควร"
"พ่อมีความสุขกว่าคนที่ไม่เป็นโรค เสียอีก  จะทุกข์เฉพาะที่ต้องเจาะเลือด" 

         คุณอุษณีย์ บุญเปรือง  ได้เล่าถึงการสร้างnet work ทีมสหวิชาชีพดูแล โดยมีนักจิตบำบัด กายภาพบำบัด พยาบาล  ญาติ  ทำให้ผู้ป่วยเกิดกำลังใจ ญาติ คือ key person for caring   และคิดว่าน่าจะไปดูแลตนเองที่บ้านได้อย่างมั่นใจ

        คุณพรทิพย์ จันทร์ธง อยู่พัทลุง ไปพบผู้ป่วยเบาหวานที่บ้านทั้งแม่ 60 และลูกสาว 38 มีการดูแลที่ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลพัทลุง  ครอบครัวมีความรู้ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ไม่กินเค็ม หวาน ไม่ซื้อแกงถุง  ไม่กินของหวาน  ไปร่วมออกกำลังกาย แอโรบิค ของชุมชน ซึ่งมีอยู่แล้ว ไปเยี่ยมบ้านเกือบทุกวัน ผู้ป่วยคิดว่าพยาบาลเป็นเสมือนลูกสาว  จนเรียกติดปากว่า ลูกหมี

สรุปบทเรียนที่ได้: การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
-ดูแลผู้ป่วยเสมือนญาติ  การเอาใจใส่ สม่ำเสมอ ทำให้ผู้ป่วยมีการปรับพฤติกรรม
-ให้ผู้ป่วยเข้าใจโรคที่เป็น อยู่กับโรคได้อย่างมีความสุข
-การดูแลอย่างต่อเนื่อง  มีความหมายมากสำหรับพยาบาล เพราะแม้แต่ผู้ป่วยเสียชีวิต ก็ต้องดูแลญาติต่อ
-สร้างการมีคุณค่าให้กับผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยอยู่กับความสุขของตนเอง  ไม่เอากรอบเชิงวิชาการไปตัดสินผู้ป่วย
-มีการสร้างทีมสุขภาพในชุมชน 
-มีการประเมิน  จดบันทึกทั้งของผู้ป่วยเอง และพยาบาล ในการไปเยียมทุกครั้ง

 

หมายเลขบันทึก: 45108เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2006 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ยินดีต้อนรับครูพยาบาลชุมชนครับ

วิจารณ์

ดิฉัน ขอบคุณอาจารย์มาก ที่ชี้แนะ และทำให้เข้าใจKM ความตั้งใจที่อาจารย์อยากเห็นวลัยลักษณ์เป็นองค์กรการเรียนรู้ น่าจะเป็นไปได้

และที่ดีใจที่สุด คือ ดิฉันเรียนจบในสมัยที่อาจารย์เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย  ปีหน้าคงได้มีโอกาสถ่ายรูปกับอาจารย์นะคะ

     ในชุมชนยังมีอะไร ดี ๆ อีกมากเลยครับ สำหรับการส่งเสริมและเพิ่มความเชื่อมั่นให้เขาในการดูแลตัวเองและดูแลกันเอง หากเราเชื่อว่า "เขามีปัญญาพอที่จะจัดการกับสุขภาพตนเองได้"

ดิฉันเห็นด้วยว่า community resources มีดีอีกมากมาย หากเราใฝ่รู้

ขอเข้าร่วมวงแพลนเน็ตด้วยค่ะ    จากgotoknow.org/blog/pcunurse

ครูครับ ผมขอfile นโยบายการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังด้วยครับ

จะเอามาประกอบการเรียน

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท