KM ที่รัก ตอนที่43 " พลังของความอยากรู้ กับการออกแบบ การวิจัยเชิงคุณภาพ"


" ความยืดหยุ่น เป็นความเด่นและงดงามของวิธีการเชิงคุณภาพ"

                       “พลัง เป็นคำที่มีอำนาจมาก เป็นสิ่งที่ทำไห้เกิดอะไรตามมามากมาย  แล้วพลังของนักวิจัยมาจากไหน ..คำตอบคงอยู่ที่ ตัวนักวิจัยเอง   ความอยากรู้, ขี้สงสัย , การตั้งคำถาม  และจินตนาการ ถึงผลที่สวยงาม ที่จะเกิดขึ้น กับ การค้นพบ คำตอบที่นักวิจัย สงสัย และอยากรู้ด้วยตัวเอง    สิ่งเหล่านี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนให้นักวิจัยอยากออกวิ่งเข้าสู่ลู่ของการค้นหาคำตอบ ด้วยความกระตือรือร้น และจะเกิดฉันทะ คือความรักกับสิ่งที่นักวิจัยเลือกและลงมือทำด้วยตัวเอง

                                    แต่อย่าลืมว่ามีพลังมากแล้วถ้าไม่มีทิศทางที่ชัดเจน เดี๋ยว..จะเป็น  นักวิจัย พันธุ์  บั้งไฟหางขาด วิ่งชนไปทั่ว..พลังหมดแล้วยังมองหาเป้าของตัวเองไม่เจอเลย ...เพราะฉะนั้นทฤษฎี  แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องหรือ คำถามวิจัย ของเราจะต้องมีและจำเป็นอยู่มาก  ผมเคยเข้าร่วม ฟังการสอบวิทยานิพนธ์ หลายครั้ง คำถามแรกๆที่กรรมการสอบ มักถามมากคือ โจทย์ หรือคำถามวิจัยของคุณ มาจากทฤษฎีอะไรเป็นฐานรองรับอยู่ ความหมายของคำถามนี้ก็คือ  ตัวผู้วิจัยเองได้ตรวจสอบความคิดของตัวเอง โดยผ่านทฤษฎีและแนวคิดของคนอื่นที่เคยคิดเคยทำมาก่อน  แล้วตัวนักวิจัยเองคิดชัดหรือยัง  และต้องคิดชัดเจนตั้งแต่ต้นด้วย      สิ่งที่ควรชัดเจนให้มากที่สุดคือ   1. คำถามที่นักวิจัยอยากหาคำตอบในการทำวิจัย  2. แนวความคิดที่จะเป็นกรอบกำหนดรูปร่าง หน้าตาของผลผลิตที่จะได้มา  3. สิ่งที่ต้องทำในกระบวนการวิจัย (วัตถุประสงค์)  4. วัตถุดิบหรือข้อมูลที่จะนำมาใช้เพื่อหาคำตอบ ให้แก่คำถามที่อยากรู้ และแหล่งที่มาของวัตถุดิบ  5. เครื่องมือที่จะนำไปใช้รวบรวมวัตถุดิบ และวิธีการที่จะปรุง (วิเคราะห์) ให้กลายมาเป็นองค์ความรู้ ที่สามารถ จะ บริโภค (ตอบตำถามของโจทย์วิจัย และใช้ประโยชน์) ได้  (ชาย  โพธิสิตา:2549 : 13)                                         จะเห็นได้ว่า กว่าจะออกมาเป็นองค์ความรู้เพื่อตอบคำถามโจทย์วิจัยนั้นมีเส้นทางที่จะต้องเดินอย่างระมัดระวัง มีสติ   จริงๆแล้วการวิจัยก็คือศีล  สมาธิ  ปัญญา  นั่นเอง   ศีล  เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาวะปกติ ธรรมดาที่ไม่มีการตกแต่งข้อมูล     ส่วนสมาธิ เป็นการคิดวิเคราะห์ อย่างมีสติรอบคอบและ              ปัญญา   ก็เป็นผลที่เกิดขึ้นในรูปขององค์ความรู้ (น่าจะมีผู้รู้อธิบายเรื่องนี้ได้ดีกว่าผมครับ)   สิ่งที่เรานักวิจัยทั้งหลาย(กำลังจะเป็น)  ต้องคำนึงถึง คือ ระหว่างคำตอบหรือองค์ความรู้ที่ได้มาจากการวิจัย  กับเส้นทางหรือกระบวนการเข้าไปถึงคำตอบนั้น ..อันไหนสำคัญมากกว่ากัน???                                         มีคำ สอง คำที่ควรทำความเข้าใจ สำหรับผู้ที่ทำวิจัยเชิงคุณภาพ คือ   ความยืดหยุ่นของการออกแบบการวิจัย    และอีกคำหนึ่ง คือความหลากหลายของการวิจัยเชิงคุณภาพ    คำแรกความยืดหยุ่นของการออกแบบการวิจัย หมายถึง การออกแบบที่เปิดกว้าง สำหรับให้นักวิจัย ปรับกลยุทธ์ได้ ตามความจำเป็นและความเหมาะสม กับสภาพความเป็นจริง ในภาคสนาม( emergent  design)      คำที่สอง ความหลากหลายของการวิจัยเชิงคุณภาพ   หมายถึง ความหลากหลายแบบแผนหรือแนวทาง( Traditions  or approaches ) ของการทำวิจัยเชิงคุณภาพเช่น การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรนา , การวิจัยแบบศึกษาเฉพาะกรณี , การวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล , การวิจัยแนวปรากฏการวิทยา , การวิจัยแบบสนทนากลุ่ม(  Focus  grop approach)  เป็นต้นครับ
หมายเลขบันทึก: 45084เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2006 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดิฉันกำลังเรียนเรื่องนี้พอดีเลยค่ะ 

ดิฉันโชคดีมากที่ได้อ่านก่อนเรียนในวันอาทิตย์นี้ค่ะ  ดิฉันจะเก็บบันทึกของอาจารย์ไว้นะคะ 

หรืออาจจะขออนุญาตรบกวนอาจารย์อธิบายในบางเรื่องที่ไม่เข้าใจค่ะ  ขอบคุณค่ะ  ที่จุดประกายไฟและให้แสงสว่างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท