เรียนรู้จาก ภาคี KM ภาคประชาสังคม



               จากที่ได้เคยกล่าวไว้ใน blog เรื่อง KM ภาคประชาสังคม แล้วเมื่อวันที่ ๑๕ ส.ค.๔๙ จะขอเพิ่มเติมสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการประชุมในครั้งนั้น   คือการเรียนรู้วิธีการทำงานระหว่างภาคีและการเห็นถึงจิตสำนึกที่ดีที่ต้องการช่วยเหลือชุมชนของภาคีต่างๆ แม้จะมีอุปสรรคมากมายก็พร้อมที่จะช่วยกันฟันฝ่า ซึ่งในที่ประชุมจะเห็นว่าทุกภาคีร่วมแสดงความคิดเห็น ช่วยเหลือแนะนำ และให้แนวคิด ในการดำเนินงานของเพื่อนร่วมภาคีด้วยความจริงใจ    

               สิ่งหนึ่งที่ดิฉันต้องคิดจากคำพูดของคุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ ในเรื่องของการมองผลสำเร็จของการพัฒนาชุมชนคือ  “ถ้าการพัฒนายางดีขึ้น แต่คนในชุมชนแย่ลง จะถือว่าชุมชนนั้นล้มละลาย  ซึ่งเราต้องมองประวัติย้อนหลังของชุมชนแล้วมาวิเคราะห์ทั้งเศรษฐกิจและคนว่ามีหนี้เป็นอย่างไร  และในหมู่บ้านมีการจัดการคนในหมู่บ้านหรือไม่  เพราะปัจจุบันคนในหมู่บ้านไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น รู้หรือไม่ว่าใครจนที่สุดในหมู่บ้าน  เพราะตอนนี้ผลประโยชน์ที่ได้ได้เฉพาะบางกลุ่มครอบครัวเท่านั้น” จากคำกล่าวนี้น่าจะทำให้เราคิดอะไรได้จากการเป็นไปในปัจจุบันที่มุ่งแต่ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทางเทคนิคและเทคโนโลยีที่ได้เฉพาะบุคคลบางกลุ่ม แล้วมองว่าประเทศพัฒนาขึ้นแล้วแต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่......
   

                และความประทับใจหนึ่งที่ได้คือ การทำงานของมูลนิธิข้าวขวัญที่มีจิตใจที่พร้อมจะให้และช่วยเหลือที่ไม่หวังผลกำไร โดยเฉพาะการบริการให้ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้ามาดูงานที่มูลนิธิฯ หรือการให้บริการฝึกอบรม KM ด้านการเกษตรต่างๆ   ซึ่งถึงแม้งานจะเยอะและไม่ได้ผลกำไรเลยแต่เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ ก็ยังมีความสุขและมุ่งมั่นในการทำงานนี้  เนื่องด้วยภูมิใจที่สามารถช่วยให้ชาวบ้านที่มีอาชีพทำนามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้จากการทำนาของเค้าเอง     

หมายเลขบันทึก: 45080เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2006 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท