องค์ความรู้ที่ 6


การรักษาจิตใจ

                                            องค์ความรู้ที่  6                      

 การรักษาจิตใจ              

  สติ     :      ความระลึกได้  สติแปลว่า  ความรู้สึกตัว   ทันท่วงทีที่รู้สึกตัวของเราว่าเรากำลังทำอะไร  เรากำลังมีอะไรอยู่ในใจของเรา  นี้เป็นตัวสติที่จะรู้   ฉันกำลังมีอะไรอยู่ในจิตใจของฉัน  เช่น  ฉันกำลังร้อนใจ  ก็รู้ว่าร้อนใจ  ฉันกำลังเป็นทุกข์ก็รู้ว่ามีความทุกข์เกิดขึ้นในใจของเรา  หรือฉันกำลังวิตกกังวล เรื่องอะไรเราก็รู้ในเรื่องนั้น   อันนี้จะช่วยให้เราเกิดการแก้ไข   กำหนดรู้การระลึกรู้ตัวนี้  ก็ต้องมองดูในจิตตนเอง   ในแง่ของธรรมไว้บ่อยๆ   มองดูว่าเรามีอะไร  มีธรรมประเภทใดอยู่ในใจของเรา  ธรรมที่เป็น    กุศล หรือ  ธรรมที่เป็น    อกุศล  มันเกิดขึ้นมันมีอยู่ในใจของเรา ถ้าเป็นอกุศล ก็เป็นไปเพื่อทุกข์และโทษไม่เกิดประโยชน์  อะไรแก่ผู้มีสิ่งนั้น  แต่ถ้าเป็นกุศล  ก็เป็นไปเพื่อความสุข  เพื่อความสบายใจ  การเอาสติเพ่งมองที่จิตของเรา  เช่น  เรารู้ว่าความโลภไม่ดี     ความโกรธไม่ดี        ความหลงไม่ดี   ไม่ดีอย่างไรเราไม่เข้าใจ  เราก็เอาสติมาเพ่งดู   เมื่อเกิดความโลภทำให้ร้อนใจ  หรือใจเย็น  เมื่อความโกรธเข้ามาให้เพ่งดูใจเราร้อนหรือเย็น   ความหลงเกิดขึ้นใจเราร้อนหรือเย็น   ความริษยา เกิดขึ้นใจเราร้อนหรือเย็น ใจเราสงบหรือใจเราวุ่นวาย  ความพยาบาทเกิดขึ้น  เราต้องรู้สภาพจิตของเราว่าเป็นอย่างไร  มีอะไรเกิดขึ้นในใจของเรา  คอยกำหนดรู้ไว้บ่อยๆ  รู้หน้าที่ของกิเลส  รู้ทางเกิดของกิเลส   แล้วรู้ว่าผลที่มันเกิดขึ้นในใจของเรานั้นทำให้ใจของเราเป็นอย่างไร   เมื่อเรารู้อย่างนี้  เราก็คอยกำหนดรู้   พอสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น  เราก็รู้ทันที  อันนี้ตัวโลภ  อันนี้ตัวโกรธ  อันนี้ตัวหลง  อันนี้ตัวริษยา  รู้ว่ามันเกิดขึ้น  รู้ทันทีรู้ทันทีมันหยุดอะไรที่เกิดขึ้นในใจ  พอเรารู้ปุ๊บ มันก็หยุดทันที เพราะอะไร  เพราะใจเราทำงานทีละอย่างเมื่อทำงานอีกอย่าง  อีกอย่างก็หายไป  ขณะที่โกรธพอรู้ตัวว่าโกรธ   ความโกรธก็จะจางหายไป  พอเราโลภ  เราก็รู้ว่าเรามีความโลภ (รัก  ชอบ   พอใจ   อยากได้   อยากเสพสิ่งเสพติด)    ความโลภมันก็จะหายไป  ถ้าเรากำหนดรู้   แต่มันอาจกลับมาอีก ถ้าสติเราไม่ติดต่อและต่อเนื่อง  เราต้องคอยสร้างสติให้ติดต่อกัน   คอยรู้ตัวติดต่อกัน  ไม่ให้ขาดสาย  จนความโกรธ  ความโลภ    ความหลง   ไม่อาจเกิดขึ้น  มารบกวนจิตใจเรา  จึงจำเป็นต้องฝึกสติ  ให้ต่อเนื่อง  ตลอดเวลา   การรักษาใจ  เพื่อไม่ให้จิตใจเศร้าหมองเมื่อรู้สึกไม่สบายใจ ก็กำหนดรู้ว่าไม่สบายใจ    รู้สึกไม่สบายใจๆๆๆ       รู้สึกโกรธ  ก็ให้กำหนดว่ารู้สึกโกรธ ๆๆๆ   ติดต่อกัน   โดยไม่เพ่ง   เกร็ง    บังคับให้หาย  เฝ้ากำหนดรู้ไปเรื่อยๆ                การที่จะทำให้ตัวเรามีสติได้นั้น    ต้องมีการฝึกฝนมากๆจนเกิดเป็นนิสัย  การฝึกให้เกิดสติ  ได้ก็โดยการฝึกวิปัสสนา สติถือเป็นหัวใจ  และกุญแจของกระบวนการทั้งหมด  เป็นตัวกลางที่นำไปสู่ความสำเร็จ  สติจะเป็นตัวเตือนให้เรารับรู้ ว่าเรากำลังทำอะไร     เราควรทำหรือไม่ควรทำ   เมื่อเราเดินออกนอกลู่นอกทาง สติเป็นตัวที่จะยับยั้งไม่ให้เราทำสิ่งที่ไม่ดี  และสติจะเป็นตัวเลือกให้เราทำในสิ่งที่ดี                               

  กรณีตัวอย่าง                                ข้าพเจ้าได้พิมพ์งานในหัวข้อเรื่อง    การรักษาจิตใจ      หัวหน้าได้สั่งงานไว้และข้าพเจ้าได้พิมพ์ด้วยความตั้งใจ   ซึ่งพิมพ์ถึง ใจความว่า  รู้สึกโกรธ   เวลาโกรธให้กำหนดว่ารู้สึกโกรธ  และรู้สึกไม้พอใจก็กำหนดว่ารู้สึกไม่พอใจ อย่างต่อเนื่องฯลฯ                   ขณะนั้น   มีผู้หญิงอายุประมาณ  50ปีขึ้นไป  รูปร่างใหญ่  คนหนึ่ง  เดินเข้ามาตรงหน้า เธอจองมองข้าพเจ้า  แล้วเดินเข้าไปคุยกับหัวหน้า   แต่ในความรู้สึกตอนนั้นของข้าพเจ้า   พิมพ์งานที่หัวหน้าสั่งไปด้วยใจที่ว้าวุ่น   เช่น  ไม่ชอบ  ไม่พอใจ   ไม่อยากได้ยินเสียง ของคนนี้   เพราะนานมาแล้วเขาคนนี้เคยเข้ามาในห้องพร้อมกับพูดแบบไม่มีไมตรีเป็นอย่างมาก   จึงทำให้จำติดใจ  และ เกิดความรู้สึกโกรธ  ไม่พอใจ ว้าวุ่นใจ   แต่ข้าพเจ้าได้นำข้อความที่กำลังพิมพ์อยู่นั้น มาช่วยเหลือตนเอง โดยกำหนดว่า  รู้สึกโกรธ  รู้สึกโกรธ     และ รู้สึกไม่พอใจ  ไม่พอใจ  และรู้สึกว้าวุ่นใจ    ว้าวุ่นใจ  พูดบ่นท่องในใจไปเรื่อยๆ ด้วยความตั้งใจ         ขณะที่ผู้หญิงคนนั้นเดินออกจากห้องไปในความรู้สึกของข้าพเจ้า    ทั้งความโกรธ  ความไม่พอใจ  ความว้าวุ่นใจ ที่เคยมีอยู่ มันได้หายไปและรู้สึกว่าตนเองสบายใจ    ความรู้สึกที่เคยโกรธ  รู้สึกไม่สบายใจ   รู้สึกว้าวุ่นใจ ไม่มีติดค้างอยู่ในใจเลย                ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่าข้าพเจ้าโชคดีที่รู้วิธีการดูแล  และรักษาใจ  ทุกครั้งที่โกรธ     ไม่พอใจ    และว้าวุ่นใจ   ข้าพเจ้าจะชอบนำวิธีนี้มาใช้กับตนเองเสมอ

หมายเลขบันทึก: 45067เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2006 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท