เรื่องเล่ากรรมนรกสวรรค์ในพุทธ 11


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

ในบันทึกนี้สืบต่อจากตอนที่แล้วดังนี้

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

 

ทำให้เข้าใจและรู้เรื่องเกี่ยวกับกรรม  นรกและสวรรค์ในพุทธเถรวาท  มีหลักฐานยืนยันกรรมมีผลจริง  นรกและสวรรค์มีอยู่จริงหรือไม่  และได้ทราบความเหมือนหรือต่างกันของคัมภีร์พุทธและวรรณกรรมยุคปัจจุบัน

 

เมื่อผลงานนี้เสร็จสิ้นจะเกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจทำวิจัยเกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนในหลักพุทธธรรมสืบต่อไป

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

 

คำว่า  กรรม  หมายถึง การกระทำที่จงใจของผู้ลงมือทำเอง

คำว่า  กฎแห่งกรรม  หมายถึง กฎแห่งเหตุผลที่เกิดผลแก่ผู้ลงมือทำเอง

คำว่า  การให้ผล  หมายถึง ความงอกงามของผลการทำทั้งดีและชั่ว

คำว่า  การพ้นกรรม  หมายถึง การอยู่นอกรัศมีกรรม

คำว่า  พุทธศาสนิกชน  หมายถึง กลุ่มคนที่นับถือพุทธศาสนา

คำว่า  ความเข้าใจคลาดเคลื่อน  หมายถึง การเข้าใจผิด

คำว่า  กิเลส หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง

คำว่า  วิบาก  หมายถึง ผลกรรมที่ทำไว้แล้ว

คำว่า  วัฏฏะ  หมายถึง การวนเวียนตายเกิดของสัตว์ที่ยังมีกิเลส

คำว่า  ปฏิจฺจสมุปฺบาท  หมายถึง สภาพของสิ่งทั้งหลายที่อิงอาศัยกันและกัน

คำว่า  นรก  หมายถึง หุบเหวแห่งความทุกข์

คำว่า  สวรรค์  หมายถึง แดนที่ดีเป็นที่อยู่ของเทวดา

คำว่า  สุคติ  หมายถึง ทางไปที่ดี สถานที่ดีที่สัตว์โลกไปเกิดหลังจากตายแล้ว

คำว่า  ทุคคติ  หมายถึง ทาไปที่ชั่ว สถานที่เกิดของสัตว์ผู้ทำชั่ว

คำว่า  บุญ  หมายถึง เครื่องชำระจิตใจให้ดีงาม

คำว่า  บาป  หมายถึง  ความชั่ว

คำว่า  อบาย  หมายถึง  สถานที่ไม่เจริญ  แดนเปรต

คำว่า  วินิบาต  หมายถึง แดนอสุรกาย

คำว่า  เทวทูต  หมายถึง สื่อแจ้วข่าวของมฤตยู

คำว่า  นิรยบาล  หมายถึง ผู้ทำหน้าที่คุมสัตว์นรก

คำว่า  ฉผัสสายตนิกนรก  หมายถึง ความเร่าร้อนในจิตใจที่ปรุงแต่งขึ้น

คำว่า  ฉผัสสายตนิกสวรรค์  หมายถึง ความสุขที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้นในแต่ละขณะจิต

คำว่า  อุปปัติเทพ  หมายถึง เทวดาโดยกำเนิด

คำว่า  โอปปาติกะ  หมายถึง สัตว์ผุดเกิดขึ้นมาเอง

คำว่า  กามภูมิ  หมายถึง ที่เกิดของสัตว์ผู้ยังเสพกามอยู่

คำว่า  อัณฑชโยนิ  หมายถึง ที่เกิดของสัตว์ในไข่แล้วฟักออกมาเป็นตัว

คำว่า  ชลาพุชโยนิ  หมายถึง ที่เกิดของสัตว์เกิดในครรภ์

คำว่า  เสทชโยนิ  หมายถึง ที่เกิดของสัตว์ในเถ้าไคลหรือที่เน่าเปื่อย

คำว่า  นัตถิกทิฏฐิ  หมายถึง ความเห็นที่คลาดเคลื่อนจากความแท้จริง

คำว่า  อัตถิกทิฏฐิ  หมายถึง ความเห็นว่าทุกสิ่งมีอยู่จริง

คำว่า  อุจเฉททิฏฐิ หมายถึง ความเห็นว่าทุกสิ่งขาดสูญ

คำว่า  สัสสตทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นว่าเที่ยง

คำว่า  มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิด

คำว่า  สัมมาทิฏฐิ  หมายถึง ความเห็นถูกต้อง

คำว่า  วิภัชชวาท  หมายถึง การจำแนกธรรม

คำว่า  อายตนะ หมายถึง เครื่องรับรู้

คำว่า  ภูมิ  หมายถึง ระดับชั้นหรือพื้นเพ

 

ข้อตกลงเบื้องต้น

 

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์พุทธและวรรณกรรมชาวพุทธยุคปัจจุบันเป็นหลักในเรื่องนรกและสวรรค์  ส่วนเรื่องกรรมนั้นเชื่อมโยงทั้งนรกและสวรรค์  โดยแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ

 

1 . ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ( Documentary Research ) โดยจะใช้เอกสารชั้นปฐมภูมิ ( Primary  Souurce ) และเอกสารชั้นทุติยภูมิ ( Secondary  Source )

 

2 . การวิเคราะห์ข้อมูล  ไม่ได้มีการนำตัวเลขทางสถิติหรือการทดลองทางสถิติมาใช้  แต่เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการวิเคราะห์  ตีความ  อธิบายขยายความในบางประเด็น ที่ผู้วิจัยเห็นว่าน่าจะมีการอธิบายเพิ่มเติม

 ในกรณีจำเป็นต้องให้เกิดความชัดเจนจะมีการนำเสนอกรณีตัวอย่างเรื่องเล่านรกและสวรรค์ที่มีในวรรณกรรมเกี่ยวกับพุทธและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้นแล.

หมายเลขบันทึก: 450588เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2011 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะอาจารย์

มาตามอ่านค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีครับ คุณณัฐรดา

มีความสุขกับการแสวงหาความรู้นะครับผม

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท