บทความ


สบู่ดำพืชพลังงานทดแทนเพื่อเกษตรกรไทย

ใบงานที่ 3บทความ  สบู่ดำพืชพลังงานทดแทนเพื่อเกษตรกรไทย  พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อันเป็นต้นกำเนิดของโรงงานสาธิตการผลิตไบโอดีเซลสำหรับชุมชนแบบครบวงจร  นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ไม่เพียงแต่เป็นการพลิกฟื้น พื้นที่ดินเปรี้ยวให้ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่ยังเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตพลังงานทดแทน  และได้มีการใช้ที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  ในการนำร่องปลูกสบู่ดำ  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริม เรื่องการปลูกสบู่ดำ เพื่อนำมาผลิตพลังงานทดแทนใช้ในชุมชน และพัฒนาเป็นไบโอดีเซลต่อไป   เนื่องจากทำให้เกษตรกร มีกำลังใจ  มีความมั่นใจในการลงทุนปลูกสบู่ดำเพื่อนำไปผลิตพลังงานทดแทน   ในสภาวะที่แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันโลกปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ   และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน  ส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย กระแสสบู่ดำจึงมาแรงเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของเกษตรกรเป็นอย่างยิ่งสบู่ดำมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Physic  nut  ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Jatropha  curcus  ปลูกได้ในทุกภาคของประเทศ  ภาคเหนือเรียกว่ามะหุ่งฮั้ว  หมากเยา หรือมะเยา  ภาคอีสานเรียกว่าหมากเยาหรือมะเยา   ภาคใต้เรียกว่ามะหุ่งเทศ  ละหุ่งเทศ   หรือหงเทศ   ภาคกลางเรียกว่าสบู่ดำ   เป็นไม้พุ่มสูง 2 – 7  เมตรทุกส่วนมียางใส  ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวค่อนข้างกลม  ปลายใบแหลม   รอบใบมีหยักคล้ายใบละหุ่ง  หยัก ตื้นๆ 3 – 5  หยัก  โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ  เส้นใบออกจากโคนใบ  ก้านใบยาว  6 – 18  เซนติเมตร   ดอกสีเขียวแกมเหลือง  ออกเป็นช่อที่ซอกใบหรือปลายยอด  มีดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมียในช่อเดียวกัน  ผลเป็นพู  3  พู  สีเขียวอ่อนๆ   เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง  ใช้เวลาประมาณ  2-3  เดือน  ตั้งแต่ออกดอกจนกระทั่งผลแก่  เมล็ดรูปกลมรี  สีดำผิวเกลี้ยงมีน้ำมันสามารถจุดติดไฟ   ใน  100  เมล็ดจะมีน้ำหนักประมาณ  70  กรัม  ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด   การปักชำ  และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแทบทุกส่วนของต้นสบู่ดำนำมาใช้ประโยชน์ได้   เช่นนำยาง   และส่วนของลำต้นมาเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค   อย่างไรก็ตามแต่เดิมสบู่ดำไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อะไรมากมาย  นอกจากเป็นแนวรั้วของสวน  ป้องกันสัตว์เข้ามากัดกินพืชผลในสวน  เนื่องจากสบู่ดำมีสารพิษ  curcin   หรือ  curcasin   ซึ่งเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์   และนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น   ทั้งๆ ที่สบู่ดำเป็นพืชที่ชาวโปรตุเกสนำเข้ามาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา   กว่า  300  ปีมาแล้ว    แต่ประโยชน์ที่สำคัญยิ่งที่ค้นพบคือ   เมล็ดสบู่ดำ  สามารถนำมาบีบอัดทำน้ำมันใช้แทนน้ำมันดีเซล  ใช้กับเครื่องจักร  เครื่องยนต์การเกษตรระดับชุมชนเช่น รถไถเดินตาม   เครื่องสูบน้ำ   เครื่องปั่นไฟ  รถอีแต๋น  หรือเครื่องยนต์ดีเซลรอบต่ำ  และรถยนต์ดีเซลที่มีรอบไม่เกิน  1600  ซีซีโดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์   โดยไม่ต้องมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก  ไม่ต้องผสมกับน้ำมันชนิดอื่น  และการบีบอัดน้ำมันทำได้โดยวิธีง่ายๆ  คือล้างเมล็ดให้สะอาด  ผึ่งลมให้แห้ง  บดให้แตกเป็นชิ้นๆ  ใส่ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์   แล้วใส่เครื่องบีบอัดที่มีเกลียวขันลงและใช้แม่แรง  20  ตันดันขึ้น  น้ำมันที่ได้นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง  2  ชั้น   สามารถนำน้ำมันมาใช้ได้เลย    โดยเมล็ดสบู่ดำ 4  กิโลกรัมได้น้ำมันประมาณ  1 ลิตร  กับกากสบู่ดำประมาณ 3  กิโลกรัม  ซึ่งกากสบู่ดำยังสามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยอินทรีย์ได้อย่างดีอีกด้วยเพราะมีปริมาณไนโตรเจนมากกว่าวัตถุดิบอย่างอื่น                    นอกจากนี้การวิจัยพัฒนาสบู่ดำของกรมส่งเสริมการเกษตร  โดยการทดลองปลูกในไร่นาของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   และนำมาเป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์การเกษตรขนาดเล็ก  และผลจากการทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำมันจากสบู่ดำและน้ำมันดีเซล   โดยการทดลองกับเครื่องยนต์ยี่ห้อหนึ่งของญี่ปุ่น ปรากฏผลตรงกันคือไม่มีผลเสียกับเครื่องยนต์  ทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบ  ไม่มีการน๊อค      เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการใช้กับเครื่องยนต์    พบว่าปริมาณน้ำมันที่ผลิตจากสบู่ดำสิ้นเปลืองน้อยกว่าน้ำมันดีเซล    และจากการตรวจสอบความสึกหรอ  เมื่อเดินเครื่องยนต์ครบ  1000  ชั่วโมง  ไม่พบความแตกต่างระหว่างน้ำมันทั้งสองชนิด  และหากต้องการนำมาใช้ทดแทนในไร่นาของเกษตรกร  น้ำมันจากสบู่ดำก็สามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงเหมือนการผลิตไบโอดีเซล  จึงเป็นการเหมาะสมที่เกษตรกรจะผลิตใช้เองในชุมชนเป็นเบื้องต้นเพื่อเป็นการลดรายจ่าย  เพิ่มพูนรายได้   ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง  มีผลผลิตของตนเอง  มีรายได้และมีเงินทุนหมุนเวียนในชุมชน    ดังที่วิสาหกิจชุมชนระยองได้ตั้งสโลแกนว่า       ปลูกไป  ใช้ไป  กำไรสู่ชุมชน     และคำแนะนำของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของเกษตรกรจังหวัดชัยนาท  สรุปไว้อย่างน่าฟังว่า  น้ำมันสบู่ดำสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลหมุนช้าขนาดเล็กได้ดี   และเป็นการทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลได้   ทั้งนี้การปลูกสบู่ดำควรปลูกในพื้นที่ที่ปลูกพืชชนิดอื่นไม่ได้ผล  หรือในที่ว่างเปล่า  ที่ดอน  และบริเวณหัวไร่ปลายนา  ซึ่งเป็นการส่งเสริมการใช้พื้นที่ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกทางหนึ่งด้วย   แต่หากต้องการพัฒนาการปลูกสบู่ดำให้เป็นพืชเศรษฐกิจเชิงอุตสาหกรรม     ต้องคำนึงถึงการปลูก   และการดูแลบำรุงรักษาตามหลักวิชาการเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น                  จากสถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มากขึ้น   ประมาณปี พศ.2555คาดว่าประเทศไทยจะมีการใช้น้ำมันดีเซลจำนวน  85  ล้านลิตรต่อวัน         หรือ 31,000  ล้านลิตรต่อปี   โดยใช้ในภาคเกษตรกรรมประมาณ 5.1  ล้านลิตรต่อวัน  หรือ  1,860   ล้านลิตรต่อปี การส่งเสริมการปลูกสบู่ดำจึงไม่เพียงแต่ปลูกเพื่อใช้เองในชุมชนเท่านั้น    รัฐบาลมีแผนการพัฒนาไบโอดีเซล      ซึ่งเป็นผลผลิตจากการเกษตรให้ได้  ร้อยละ  10  ของน้ำมันดีเซลที่นำเข้าทั่วประเทศด้วย    โดยการให้ทุกภาคส่วนส่งเสริมในเรื่องนี้      เช่นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ทำการวิจัยพัฒนาและส่งเสริมเรื่องการปลูก     กระทรวงวิทยาศาสตร์ทำหน้าที่ศึกษาค้นคว้าวิจัย      กระทรวงพลังงานดูแลเรื่องการจัดจำหน่าย    ส่วนกระทรวงการคลังดูแลในเรื่องอัตราภาษีที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร      นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตกำแพงแสน  ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนเกี่ยวกับสบู่ดำตั้งแต่เริ่มเพาะต้นกล้า    ดูแลรักษา    การเก็บเกี่ยว   นอกจากนี้ยังสอนการแปรรูปด้วยเครื่องมือแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคนิคในการบีบอัดน้ำมัน  ตลอดทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่องจากโครงการ โรงงานสาธิตการผลิตไบโอดีเซลสำหรับชุมชนแบบครบวงจร  ซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจากการสนับสนุนส่งเสริมของภาครัฐดังกล่าวข้างต้น  เกษตรกรควรตระหนักว่าสบู่ดำไม่ใช่พืชข้างรั้วอีกต่อไป  จะต้องเป็นพืชสวนที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เพื่อเพิ่มผลผลิตให้คุ้มกับการลงทุน  เพราะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อเนื่องได้ถึง  50 ปี     เป็นการลดรายจ่าย  เพิ่มพูนรายได้    ให้แก่เกษตรกรโดยสามารถพัฒนาไปถึงขั้นผลิตเป็นไบโอดีเซลเพื่อใช้ในชุมชนหรือจำหน่ายในเชิงพานิชย์  และสบู่ดำมีแนวโน้มว่าจะได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างเป็นระบบ  มีการเชื่อมโยงกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตและโรงงานรับซื้อผลผลิต  ไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียเปรียบ     หากเกษตรกรร่วมมือกันปลูกสบู่ดำในชุมชนของตน  ให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพนำมาแปรรูปเป็นน้ำมันหรือไบโอดีเซลที่มีปริมาณได้มากเท่าไร ก็เป็นการช่วยชาติในการลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันดีเซลได้มากเท่านั้น    และสบู่ดำน่าจะเป็นพืชพลังงานทดแทนชั้นแนวหน้าของไทยได้ในอนาคต   ……………………………….. 

 เอกสารอ้างอิง 

ธนะสิทธิ์. “ พืชพลังงานทดแทนภูมิปัญญาพึ่งตนเอง ” . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้  

             จาก : http://www.kasetcity.com/Thaibioenergy/Soap/QAview.asp? id =7  

             2548. 

นาค  โพธิแท่น.  สบู่ดำ ” . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก http://www.doa.go.           

            th/th/ShowArticles.spx?id=1697.

พรชัย   เหลืองอาภาพงศ์.  เปิดโลกเกษตรกับดร.พรชัย โดยละเอียด ”.

            [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.kasetcity.com/Worldag/view.asp? 

            id=316.

---------“ สบู่ดำ พืชเพื่อชาติและเกษตรกรไทย ”. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้

           จาก :http://www.kasetcity.com/Thaibioenergy/Soap/QAview.asp?

            id=1 2548.

กรมส่งเสริมสหกรณ์ฯ เพิ่งตื่นหนุนเกษตรกรปลูกพืชน้ำมันทำไบโอดีเซล ” .   

              [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : /http://www2.manager.co.th/Science/

              ViewNews.aspx?NewsID=9490000096748  2549.             

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสบู่ดำ ” . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://aopdm01.doae.

               go.th/data/Physicnut21.htm .

นักวิจัยชาวจีนเร่งวิจัยสบู่ดำในไทยหวังใช้เป็นพลังงานทดแทนในอนาคต ” . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www2.manager.co.th/Science/

               ViewNews.aspx?NewsID=9480000078143  2548.             

น้ำมันสบู่ดำ พลังงานทดแทนน้ำมันดีเซล ” . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้ 

               จาก : http://aopdm02.doae.go.th/black%20oil%201.htm.

ไบโอดีเซลสบู่ดำดีจริงหรือ  ” . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.     

           kasetcity.com/Thaibioenergy/Soap/QAview.asp?id=3  2548.

เร่งวิจัย สบู่ดำ ความหวังไบโอดีเซล . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://

             www2.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9480000062403

             2548.

 วิจัยสบู่ดำขึ้นแท่นทดแทนพลังงานน้ำมัน ” . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http:  

            //www. kasetcity.Com/Thaibioenergy/Soap/QAview.asp?id=4  2548.

 สบู่ดำ” . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.doa.go/th/th/ShowArticle.

            aspx?id=1432 . 

สบู่ดำพืชพลังงานทดแทนน้ำมันดีเซล ” . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http:                       //news.cedis.or.th/detail.php?id=1040&lang=en&group_id=1.

สบู่ดำพืชสำคัญของคนไทย ” . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.          

         kasetcity.com/Thaibioenergy/Soap/QAview.asp?id=2  2548.

  สำนักนวัตกรรมแบ่ง 10 ล้านหนุนสบู่ดำสู่ไบโอดีเซล ” . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้

            จาก : http://www2.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID

            =9480000064787  2548.    

 อีกหนึ่งพระมหากรุณาฯ  ที่ดินในหลวง วิจัยผลิตไบโอดีเซล ” . [ออนไลน์]. 

            

             เข้าถึงได้จาก : http://www.nsitez.net/nvillage/lofiversion/index.php?t

            11247.html  2549.

5คำถามต้องคิด ” . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.kasetcity.com/

           Thaibioenergy/Soap/QAview.asp?id=9. 
หมายเลขบันทึก: 45045เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2006 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท