กรรมฐานเปลี่ยนชีวิต ฉบับรวมภาษาไทยและภาษาอังกฤษ


เดือนมิถุนายนปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ มิชิแกน

๑ - ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๔

 

ชีวิตของข้าพเจ้าได้เปลี่ยนไปหลังจากการเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับอาจารย์ ไตรพิตรา วิสิษฐยุทธศาสตร์ (ป้าตุ๊ก ) ข้าพเจ้าได้ใช้เวลาสิบชั่วโมงทุกวันในการปฏิบัติเป็นเวลาสิบสี่วัน หลังจากออกกรรมฐานแล้วข้าพเจ้าสามารถนำความรู้ในพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน มีความทุกข์น้อย สุขมากขึ้น และคนรอบกายข้าพเจ้าก็พลอยมีความสุขมากขึ้นและมีความทุกข์น้อยลงเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้ายังคงปฏิบัติกรรมฐานทุกวัน ข้าพเจ้ายังจำได้ถึงความสุขความปิติที่เกิดการการปฏิบัติกรรมฐานอยู่จนถึงเวลานี้


วันคืนที่ล่วงผ่านไป มีสิ่งใดที่เธอใฝ่ทำ

ข้าพเจ้าเป็นคนไทยที่เกิดและเติบใตในประเทศสหรัฐอเมริกา ตอนเป็นเด็กได้ไปเรียนที่วัดไทย ปัจจุบันก็ยังคงไปวัดอยู่เสมอๆ ด้วยความอยากรู้อยากเห็นในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอนข้าพเจ้าเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้าพเจ้าได้ไปเข้าฝึกวิปัสสนากรรมฐานที่วัดป่าชิคาโกเป็นเวลาหลายครั้ง ครั้งละสามวัน เมื่อปี ๒๕๕๓ ข้าพเจ้าได้ไปเข้ากรรมฐานกับหลวงลุงที่จังหวัดเชียวใหม่ ประเทศไทย ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าได้เรียนรู้ในการปฏิบัติในตอนนั้น ข้าพเจ้าหาได้เข้าใจในภาคปริญัติที่อยู่เบื้องหลังของการปฏิบัติ ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเข้าในการบรรยายธรรม ของหลวงลุงได้ทั้งหมดเพราะความจำกัดในภาษาไทยของข้าพเจ้า (ข้าพเจ้าจบภาษาไทยแค่ประถมปีที่สี่ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าได้รับความปิติความสุขที่เกิดจากความสงบ แต่ความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในคำสอนของหลวงลุงข้าพเจ้าหาได้เข้าใจทุกคำพูดก็หาไม่


เมื่อสองปีที่แล้วข้าพเจ้าได้เคยมาปฏิบัติวัปัสสนากรรมฐานกับป้าตุ๊ก แต่เพิ่งจะเป็นครั้งนี้ที่ข้าพเจ้าได้เข้าใจในความรู้ของพระพุทธศาสนาอย่างแจ่มแจ้ง นั่นก็เป็นเพราะว่าการปฏิบัติธรรมก็เหมิอนกับการว่ายน้ำ ที่เราไม่สามารถที่จะว่ายน้ำได้จากการอ่านหนังสือ เราจะต้องลงมือปฏิบัติเองเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว การปฏิบัติก็เป็นเช่นเดียวกับการว่ายน้ำ เราจะต้องปฏิบัติด้วยตัวของเรา จะให้ผู้อื่นมาปฏิบัติแทนเราก็หาได้ไม่ ข้าพเจ้าได้รับการสอนในการใช้อริยาบทใหญ่คือ การยืน เดิน นั่ง นอน และในอริยาบทย่อย เช่นการรับประทานอาหาร การแปรงฟัน การเดินขึ้นลงบันได ป้าตุ๊กจะคอยตอบปัญหาในการปฏิบัติและคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ข้าพเจ้าได้ฟังอยู่เสมอๆ ความลังเลสงสัยเป็นนิวรณ์ตัวหนึ่ง ที่ป้าตุ๊กจะพยายามให้คำตอบแก่ผู้ปฏิบัติในเวลานั้น ป้าตุ๊กจะพยายามจะไม่ให้ผู้ปฏิบัติมีความสงสัยข้ามวันข้ามคืน เป็นการทำให้การปฏิบัติเนิ่นช้าไป)

 

ง่ายนิดเดียว

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นเรื่องง่าย เพียงแต่ผู้ปฏิบัติต้องมีสติทุกขณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างปฏิบัติ เพื่อจะนำสติที่ฝึกไว้ดีแล้วไปใช้ในชีวิตประวัน ป้าตุ๊กสอนข้าพเจ้าทั้งสมาธิและวิปัสสนา เริ่มต้นด้วยการภาวนา คำภาวนาจะนำให้ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งเดียวของจิต เพื่อให้ใจตั้งหมั่น คำภาวนานี้สามารถใช้ได้ในอริยาบท ๔ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน การปฏิบัติในเบื้องแรกของข้าพเจ้าเป็นไปด้วยความล่าช้า ราวกับว่าข้าพเจ้าไม่ได้เดิน ไม่ได้นั่งด้วยสติ ข้าพเจ้าเดินด้วยความไม่รู้สึกตัว ใจมันไหล ใจมันหลง เหมือนกับใจได้เคยหลงมาแล้วยี่สิบปี ลมหายใจของข้าพเจ้าที่หายใจอยู่ทุกวันมาแล้วยี่สิบปีก็ยังไม่สามารถมีสติระลึกได้ ไม่เคยรู้ใจตัวเอง ตอนที่ข้าพเจ้าฝึกกรรมฐานในอริยาบทนอน ก็เกิดความง่วงเหงาหาวนอนขึ้นมาเป็นเพราะอินทรีย์ไม่สมดุล มีสมาธิมากแต่มีสติน้อย ข้าพเจ้าต้องใช้เวลาสามวันแรกเพื่อที่จะมาถึงจุดที่ข้าพเจ้าเคยได้ทำมาแล้วในครั้งก่อน อีกสี่วันต่อมาให้หลังข้าพเจ้าจึงจะสามารถเริ่มรู้มีสติในอริยาบททั้งสี่ คือมีสติที่ลมหายใจโดยไม่่ใช้คำบริกรรมภาวนา สติของข้าพเจ้าเริ่มเกิดง่ายและตั้งมั่นเร็วขึ้น

 

 

การปฏิบัติเริ่มต้นด้วยการตื่นหกโมงเช้าในวันแรก หลังจากนั้นต้องตื่นเร็วขึ้นวันละครึ่งชั่วโมง จนกระทั่งถึงตีสี แล้วจึงหยุด แล้วตื่นตีสี่เป็นประจำทุกวัน ในการปฏิบัติตอนเช้ามืดเป็นไปด้วยความสดชื่น แจ่มใส เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนา นอกจากการตื่นเช้าจะช่วยแล้ว บ้านของป้าตุ๊กยังช่วยอำนวยความสะดวกสบายสำหรับผู้ที่มาปฏิบัติเพราะเป็นสถานที่สงบเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนจากสิ่งภายนอก หลังจากอาหารสามเวลาแล้ว ทุกวันข้าพเจ้าได้ใช้เวลาไปในการยืน เดิน นั่น นอน ด้วยความมีสติ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ในการมีสติในทุกอาการของการเคลื่อนไหว พร้อมๆกับการมีสติในการหายใจเข้าออก ขณะปฏิบัติข้าพเจ้าได้ใช้การเคลื่อนไหวของมือเป็นการใช้จังหวะ(คล้ายการสอนของหลวงพ่อเทียน) หลังจากนั้นใช้สติรับรู้การหายใจเข้าออก ตามด้วยการเดินจงกลมด้วยความมีสติ การปฏิบัติเหล่านี้ซ้ำไปซ้ำมาตลอดวัน  ข้าพเจ้าได้ดึงใจที่ส่งออกนอก กลับเข้ามารับรู้การเคลื่อนไหวรับรู้ลมหายใจ เสมือนกับว่าข้าพเจ้าไล่จับลูกหมาที่ไม่อยู่นิ่ง ข้าพเจ้าต้องดึงความคิดที่ส่งไปนอก กลับเข้ามาภายใน ใจของข่้าพเจ้า บางครั้งก็คิดถึงอดีต อนาคต ข้าพเจ้าต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะดีงใจให้มาอยู่กับปัจจุบัน ป้าตุ๊กบอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้เป็นสิ่งปกติ หน้าที่ของใจคือใจต้องคิด  

 สรภาพแห่งชีวิต

การปฏิบัติเริ่มเพิ่มขึ้นที่ละน้อยๆจนกระทั่งข้าพเจ้าสามารถนั่งและเดินได้ครั้งละหนึ่งชั่วโมง ภายในสองอาทิตย์ข้าพเจ้าสามารถที่จะจับความคิดที่มากระทับใจเร็วขึ้นทุกวัน จนกระทั่งวันหนึ่งข้าพเจ้าสามารถจับอารมณ์ที่กำลังจะเกิดและสามารถหยุดก่อนที่มันจะเกิดขึ้น

 ตอนเกือบจะครบกำหนดของการปฏิบัติ ข้าพเจ้าสามารถรู้ถึงความแตกต่างระหว่างความคิดที่เกิดขึ้นในจิตกับอาการที่เกิดขึ้นจริงๆ เมื่อจิตสงบโดยไม่มีความคิดใดๆเจือปนอยู่  ข้าพเจ้าไม่มีความต้องการอันใดและไม่มีทั้งความอยากและความไม่อยาก เมื่อจิตประภัสสร ปล่อยว่างทุกอย่างแล้วจิตข้าพเจ้าก็คลายออกจากทุกข์ เมื่อออกจากทุกข์ ความสุขก็เข้ามาแทนที่ จิตของข้าพเจ้าเป็นอิสระแล้ว 

 

พบพระไตรลักษณ์

อย่างไรก็ตามการปฏิบัติบางวันดีกว่าบางวัน บางวันข้าพเจ้ารู้สึกมีความสงบสุขและสามารถจับความคิดได้เร็วมาก บางวันข้าพเจ้ารู้สีกขี้เกียจและมีความเบื่อหน่าย สลับไปสลับมา บางครั้งข้าพเจ้าต้องใช้คำภาวนามาช่วยในระหว่างความคิดที่สับสน มีครั้งหนึ่งหลังจากการเดินจงกลม ข้าพเจ้ามีความขี้เกียจในการที่จะต้องมานั่งสมาธิอีก แต่หลังจากการนั่งสมาธิไปได้สักครู่ ข้าพเจ้าได้พบกับความสงบกลับคืนมาอีก ความเกียจคร้านหายไปจากจิตข้าพเจ้าได้ค้นพบความจริงแท้ในพระพุทธศาสนาว่า ไม่มีสิ่งใดเที่ยง ทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลง

 ในปฏิบัติที่ข้าพเจ้าจำได้ประทับใจเมื่อสติและสมาธิไม่เสมอกันหรือจิตของข้าพเจ้าเข้าไปสู่ความสงบในอันดับสูงๆ มีครั้งหนึ่งในขณะที่ข้าพเจ้านั่งสมาธิ ข้าพเจ้าเกิดปิติเกิดมือสั่น ป้าตุ๊กบอกว่านั้นคืออาการของความสุขสุดยอดของสมาธิ อาการเหล่านี้เกิดขึ้นมาเพราะความไม่สมดุลของสติกับสมาธิ บางครั้งหลังจากนั่งสมาธิครึ่งชั่วโมง ข้าพเจ้ามีความสุขเหมือนกับสายน้ำที่ไหลทะลักมาสู่ตัวของข้าพเจ้า ป้าตุ๊กเตือนข้าพเจ้าว่าอย่างไปติดอยู่กับความสุขเหล่านี้ เพราะสิ่งเหล่านี้คือความอยาก ป้าตุ๊กบอกให้ข้าพเจ้ากลับมารู้สึกกับฝีกสติอย่างเดิม ข่้าพเจ้าไม่เข้าใจในคำอธิบายของป้าตุ๊กตอนนั้น จนกระทั่งวันที่สิบของการปฏิบัติ ความเข้าใจก็เกิดเองในจิตของข้าพเจ้าในระหว่างการปฏิบัติ

ความรู้ความเข้าใจในจิตที่เกิดจากการปฏิบัติพร้อมทั้งคำอธิบายของป้าตุ็ก ข้าพเจ้าจึงได้เข้าใจในคำสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าจะนำไปสู่การหลุดพ้น จากคำถามที่เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็นของข้าพเจ้าที่ได้ถามป้าตุ๊ก นำมาซึ่งคำตอบของป้าตุ๊กที่เป็นกุญแจอันสำคัญที่จะมาไขความลับที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขปราศจากทุกข์ ป้าตุ๊กได้สอนให้ข้าพเจ้ารู้การใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีสติปัญญาด้วยวิปัสสนากรรมฐาน


ปลดแอกตัวเอง

กรรมฐานสอนให้ข้าพเจ้าได้พบตัวเอง ความคิด ด้วยปัญญาอันใสสะอาดปราศจากพันธนาการแห่งชีวิต ข้าพเจ้าสามารถที่จะใช้สติจับความรู้สีกที่กำลังจะเกิดขึ้น รับรู้และปล่อยวาง ก่อนที่จะเกิดอารมณ์กระทบในใจ

นี้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ที่จะใช้วิปัสสนากรรมฐานมาเป็นเกราะป้องกันอารมณ์และความความยึดติดทั้งหลายที่เคยตกเป็นทาสมายาวนาน โดยการรับรู้ว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเช่นนั้นเอง สติจะนำมาซึ่งปัญญาด้วยความเห็นที่ถูกต้องเมื่อจิตใจสงบ ข้าพเจ้าต้องการฝึกอบรมเช่นนี้เพื่อที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

แม้ว่าชีวิตนี้เต็มไปด้วยปัญหาร้อยแปด ข้าพเจ้ารู้ว่าข้าพเจ้าสามารถนำความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาใช้เพื่อให้เกิดความสงบในจิตใจในการต่อสู้กับความกังวลและความทุกข์ต่างๆ  ข้าพเจ้าสามารถจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยความคิดถูก เห็นถูก ด้วยสติที่ฝึกมาแล้ว ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงอยากถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้กับทุกคน อย่าได้ปล่อยให้ประโยชน์มหาศาลให้ผ่านไปในชีวิตนี้

ป้าตุ๊กเป็นครูสอนที่ดีที่สุดที่ข้าพเจ้าได้เคยพบมา ข้าพเจ้ามีความมั่นใจในการสอนของป้า ป้าเป็นแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าต่อปฏิบัติจากสิบวัน มาเป็นสองอาทิตย์ที่จะเรียนรู้มากขึ้น ป้าตุ๊กมีความอดทนที่จะอธิบายความรู้ความเข้าใจให้กับข้าพเจ้า  โดยมีความมั่นใจว่าข้าพเจ้าสามารถทำได้ ป้าดูแลข้าพเจ้าด้วยความเมตตาปราณี สองอาทิตย์ที่ข้าพเจ้าได้อยู่กับป้าทำให้ชีวิตของข้าพเจ้าเปลี่ยนไปในทางดีขี้น 

กราบขอบพระคุณป้าตุ๊กด้วยใจรักและเคารพอย่างสูง


 

         In June 2011, I spent two weeks at a life-changing meditation retreat in Michigan under the instruction of Ajarn Traipitra Visityuthasart (Paa Dtuk). While learning about Buddhism, I practiced meditation for ten hours every day. By the end of my stay, I was able to apply what I learned about Buddhism, meditation, and myself to gain mindfulness techniques and wisdom. I believe that I left the retreat a better person, equipped with the knowledge of how to live my life with less suffering and to cause others less suffering, as well. Since I left the retreat, I have been practicing meditation every day, and I still feel the positive effects of the practice.

         

         As a person of Thai ethnicity born in America, I have been going to Thai temples my entire life. Prompted by a desire to learn more about the heart of my religion, I started going on meditation retreats in high school. At that time, I practiced meditation at a temple in Chicago, staying about three days each time. In 2010, I spent nine days at a meditation center in Chiang Mai, Thailand. Though I gained some insight on meditation and Buddhism during these retreats, it was difficult for me to understand the theory behind what I practiced or to understand lengthy explanations due to the language barrier. I experienced peacefulness during those stays, but much was taught was lost to me since the instructors were monks who predominantly spoke Thai.


          Two years ago, I spent one week with Paa Dtuk on a meditation retreat. However, it was not until this past meditation experience that I had enough time to immerse myself and experience more profound results of meditation. This is because meditating is like swimming: it cannot be learned from reading a book and you must practice for some time in order to gain skill. Also, just as another person cannot swim for you, you must meditate yourself. At the retreat, I did four forms of formal meditation: standing, walking, sitting, and lying. I also attempted to be mindful when doing all other daily activities, such as eating meals, brushing my teeth, and walking up and down stairs. Paa Dtuk made herself available to answer any questions that I had about meditation and Buddhist theory. She even answered my questions on how to be a better person and gave me advice on how to use wisdom to solve personal problems.

 

           The concept of meditation is a simple one: be mindful of what one is doing, especially during formal meditation, in order to train oneself to be mindful in everyday life. Paa Dtuk taught meditation as a delicate combination of concentration and mindfulness. I began my practice using “mental notes,” words that my mind could concentrate on as I stood, walked, sat, or laid down. At the beginning of the retreat, my progress was slow. It seemed as if I had never truly walked or sat still, as if I had never truly been aware of my actions or thoughts. I felt this way even though I had walked every day for the past twenty years, and I had breathed every second of my life. When I first did lying meditation, I would often be overcome with drowsiness since my concentration was not strong enough to keep me alert in that position. It took the first three days to review all that I had learned in past meditation experiences and to reach the point where I had previously stopped. After about four days, I was able to focus on the act of moving or breathing themselves without the aid of words. My concentration and mindfulness were becoming stronger.


            I began the retreat waking up at six in the morning. Thereafter, I awoke half an hour earlier until I woke at four a.m. each day. At this early hour, my mind was surprisingly clear and refreshed as I meditated. While mornings were a time of particular clarity, in general Paa Dtuk’s house provided me as a meditator with a haven free from outside worries and distracting interactions with others. Other than three meals, my days were spent alternating between standing, walking, sitting, and lying meditation. While doing the formal meditation, I had to learn how to be mindful when I walked and observed my breathing. As I meditated, my mind wandered from the task at hand, and I would return to my breathing or following the steps of my walking. I repeated this process of following my mind and bringing it back over and over, as if I was chasing a puppy that would not sit still. I had to bring my mind back constantly: I was always thinking about something in the future that I was worried about, an event in the past, or some random speculation. It took effort to keep bringing my mind back to the present moment. Pa Dtuk said that this was normal, as it is the mind’s duty to think.


            I gradually increased my time until I was alternating between one hour of walking meditation and one hour of sitting meditation. Over the two weeks, I was able to catch my thoughts faster and faster, until the day came when I could sense a thought forming and stop that thought before it arose. Towards the end of my stay, I was differentiating between the thoughts that arose in my mind and my actual self. When I brought my mind to that calm self that was not overcome by thoughts, I was not desiring something or disliking something. Free from want and attachment, my mind was free from suffering. By extinguishing suffering, happiness arose. During meditation, I felt a peacefulness and happiness that was deep and serene. 

             However, some meditation sessions were better than others. I often felt peaceful and was able to “catch” my thoughts instantly. Other times, I felt lazy or bored, or as if my thoughts were racing. Sometimes, I had to bring back the mental notes to help me concentrate. Once, upon finishing walking meditation, I was filled with laziness about starting sitting meditation. However, almost as soon as I began sitting and all throughout the sitting meditation, I was filled with peacefulness; the feeling of laziness was completely gone. It was then that I understood another Buddhist concept: everything is impermanent and changing. Throughout the retreat, other certain memorable moments occurred when my concentration and mindfulness were unbalanced or when my mind progressed enough to reach a higher level. Once when I was doing sitting meditation, I felt an almost unbearable sensation of pricks up and down my arms, which Paa Dtuk said was a sensation of “bliss.” This occurred because concentration and mindfulness were not balanced. Another time, after about half an hour of sitting meditation, I was suddenly filled with a sensation of peace and happiness so powerful it felt as if it was washing over me in waves. Elated, I told Paa Dtuk, who warned me not to get attached to that feeling, as that would be another desire. Also, Paa Dtuk spoke of a concept of returning to my conscious self, a concept I could not understand until almost ten days passed and an understanding arose from meditation.

            Through meditation practice and Paa Dtuk’s explanations of Buddhism, I finally understood for myself how the Buddha’s teachings would lead the way to enlightenment. Yet, while the theory was necessary to understand in order to appease my curious mind and provide reasoning, her teachings of meditation was the simple key to learning how to live my life with happiness and without suffering. Paa Dtuk taught me how to truly, mindfully live my life through meditation. Meditation taught me how to know myself, my thoughts, and my true self undefiled from emotions and worldly thinking. I was able to be mindful of the thoughts that arose in my mind and drop them, instead of becoming those thoughts and emotions. This was incredibly powerful. I learned to use meditation to help prevent myself from being caught up in emotions, problems, and attachment and instead see things as they were. Mindfulness also brings wisdom in that one has “right thinking” when one is thinking from a calm mind. I vitally needed to go on this retreat and to incorporate meditation into my life. In the face of life’s difficulties, I know now that I can use meditation to not only find peace from stress and problems but to also find wisdom in the calmness of my mind. I can also start a new cycle of right and good thoughts, words, and actions from my mind when I am mindful. In this way, I believe that everyone can benefit from meditation.

             Paa Dtuk is the best teacher that I have had. I was completely confident in her teaching and was so inspired by her that I extended by retreat from ten days to two weeks to continue my learning. She was patient when imparting her wisdom, confident in my abilities, and caring about me as a person. The two weeks that I spent meditating with her made me a better person with the knowledge of how to lead a happy life with less suffering through meditation.  

             I sincerely thank Ajarn Traipitra Visityuthasart with all my heart.

 


คำสำคัญ (Tags): #กรรมฐาน#happy ba
หมายเลขบันทึก: 449748เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2011 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2013 03:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อ่านแล้วประทับใจ นั่งอ่านรวดเดียวจบ

อนุโมทนากับหลานสาวที่ได้ปฏิบัติธรรมที่ถูกตรงจากครูบาอาจารย์

เธอช่างโชคดี....

น้อมกราบครูบาอาจารย์  ท่านอาจารย์ ไตรพิตรา วิสิษฐยุทธศาสตร์ ด้วยความเคารพค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาอ่านครับคุณน้อง

สวัสดีค่ะ

จะนำไปปฏิับัติชอบจังค่ะ

ขอบคุณมากมาย

น่าส่งเสริมสารัตถะของชีวิตครับ

ควรให้ทุกคนได้อ่านกัน

  สาธุ อนุโมทนาครับ ที่เข้ามาอ่านบันทึกของลูกสาว

ขอบุญกุศลจงมีแก่ทุกท่านครับ

นี้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ที่จะใช้วิปัสสนากรรมฐานมาเป็นเกราะป้องกันอารมณ์และความความยึดติดทั้งหลายที่เคยตกเป็นทาสมายาวนาน 

คุณพ่อได้มอบของขวัญมีค่าสูงสุดในชีวิตให้กับลูกสาวสุดที่รัก

ประทับใจมากคะ :-)

ใฝ่ฝันสักวันหากมีลูก จะให้มาอ่านบันทึกนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท