ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

“การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมชุมชนล่มสลาย”


คุณธรรม-จริยธรรม คือ การเป็นผูมีจิตใจสูง ไมเห็นแกตัว แสดงออกโดยการไมเบียดเบียนคนอื่น มีความเมตตากรุณา มุงช่วยเหลือผูอื่น และสังคมใหพนทุกข

การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมชุมชนล่มสลาย

               “การพัฒนาล่มสลาย เกือบ 45 ปี ที่เราได้พัฒนาประเทศตามแผนการพัฒนาที่เรียกว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่แผน 1 - 9 โดยเน้นการพัฒนาตามแนวทางทุนนิยม พัฒนาด้านวัตถุเป็นหลักมาโดยตลอด และจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในเวลานี้ จึงถือได้ว่าเป็น 45 ปีแห่งความล้มเหลวของการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ การเมืองล้มละลาย อีกทั้งเกิดวิกฤติทางสังคม (Social Crisis) ตามมาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับรากหญ้า จนกระทั่งถึงระดับชนชั้นปกครองหรือผู้บริหารประเทศ การล่มสลายทางคุณธรรม จริยธรรมของคนในสังคม โดยเฉพาะระดับผู้นำประเทศ ซึ่งปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านี้ผมจึงเห็นว่าบ้านเราเมืองเรา   

                “ล่มสลายแห่งการพัฒนาคุณธรรม-จริยธรรมคืออะไร ? จากที่ได้มีการศึกษา และสอบถามจากผู้รู้ ผมจึงใคร่ขอสรุปความหมายของคำว่า คุณธรรม-จริยธรรม  ดังนี้ครับ คุณธรรม-จริยธรรม คือ การเป็นผูมีจิตใจสูง ไมเห็นแกตัว แสดงออกโดยการไมเบียดเบียนคนอื่น  มีความเมตตากรุณา มุงช่วยเหลือผูอื่น และสังคมใหนทุกข ซึ่งถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติอันสูงส่งของความเปนมนุษย์ อันเป็นบ่อเกิดแห่งความศานติสุขในสังคมอย่างแท้จริง

            “ณ ราชธานีอโศก เมื่อเช้า 16 สิงหาคม 2549 ผมและเพื่อนๆ ชาวพัฒนบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการขับเคลื่อนคุณธรรม จริยธรรม ในระดับโรงเรียนประถมและมัธยมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี ท่าน ดร.ทรงพล   เจตนาวณิธย์  จากสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) และสมณะสิกขมาศ   ติกขวีโร จากราชธานีอโศก รวมทั้งคณะครู และนักเรียนประมาณ 30 คน เห็นจะได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้พูดคุยถึงกระบวนการที่ได้ดำเนินงานที่ผ่านมาว่ามีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง หลังจากที่ได้พานักเรียนมาอบรมเกี่ยวกับ คุณธรรม จริยธรรม ส่วนมากคณะครูก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า

1.      หลังจากนักเรียนมาฝึกอบรมแล้วเมื่อนักเรียนกลับไปจะมีพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่ดีขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปนักเรียนได้พบกับสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก ระดับคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนจะค่อยๆ ลดลง

2.      ผู้บริหารโรงเรียน และคณะครูที่โรงเรียนที่ไม่ค่อยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนคุณธรรม จริยธรรมในโรงเรียนไม่ค่อยให้ความสำคัญ และไม่สนใจกิจกรรมดังกล่าว

3.      ผู้ปกครองไม่ค่อยสนใจและให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนเท่าที่ควร เช่นไม่ยินยอมให้ลูกมาเข้าร่วมการอบรม เมื่อทางโรงเรียนจัดกิจกรรมนอกสถานที่

              แนวทางการขับเคลื่อน  หลังจากทุกฝ่ายได้นำเสนอปัญหาเสร็จที่ประชุมจึงได้เสนอแนวทางการขับเคลื่อนคุณธรรม จริยธรรม ในระดับโรงเรียนประถมและมัธยมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้   <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><div> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                                      บ้าน/ชุมชน</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> </div></td></tr></tbody></table> <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><div> <div>                                    อ.บ.ต./เทศบาล </div> </div></td></tr></tbody></table> <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><div>            โรงเรียน                                                 วัด <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr></tr></tbody></table></div></td></tr></tbody></table> <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"></td></tr></tbody></table>

                 จากไดอแกรมด้านบนแสดงให้เห็นว่าในการที่จะกระตุ้นและขับเคลื่อนคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนนั้นทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น คนในชุมชนรวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง โรงเรียน วัด และองค์การปกครองท้องถิ่น ต้องให้ความสำคัญ และความร่วมมือที่ดีต่อกันน่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการที่จะขับเคลื่อนคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้

</span><p>ขอบคุณครับ</p><p>อุทัย   อันพิมพ์</p><p>16 ส.ค. 49 </p>

หมายเลขบันทึก: 44966เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2006 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
     เพื่อนนักเรียนด้วยกัน เป็นต้นแบบของกันและกัน ก็น่าจะเป็นอีกมุมมหนึ่งนะครับ ไม่แน่ใจนักว่าจะได้ผลอย่างไร แต่ลึก ๆ ผมใช้ประสบการณ์ตนเองที่ผ่านวัยนั้นมา น่าจะพอใช้ได้นะครับ
ก่อนอื่นขอชื่นชมครับที่ร้อยเรียงเป็นกลละเม็ดเครัดน่ารู้ให้แก่ชาว KM ทั่งหลาย ได้รู้ถึงวิถีชีวิตของชาว อโศกได้เป็นอย่างดี ถ้าโลกนี้ยังมีกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตแบบชาวอโศกยังคงเหลือโลกอยู่ โลกนี้ก็คงจะดีไม่น้อย

ขอบคุณครับ สำหรับข้อเสนอแนะ

ผมจะได้พัฒนากระบวนการคิด และจะได้นำเทคนิคต่างๆ ไปใช้ และเผยแพร่ต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท