มาตรการการป้องกันการล้มละลายในเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน : กรณีศึกษาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย


การป้องกันการล้มละลาย, วิสาหกิจขนาดกลางหรือวิสาหกิจขนาดย่อม(Small and Medium Enterprises หรือ SMEs), วิสาหกิจรายย่อย(Micro Enterprises :MEs)

8 มกราคม 2554
แรงบันดาลใจอยากศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องชุมชนและท้องถิ่น ด้วยเห็นว่า “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม”  ปัจจุบันแตกหน่อขยายมาจาก “ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” และ ปัจจุบันปรากฏว่ามีวิสาหกิจที่เป็นชุมชนแท้ ๆ เกิดเพิ่มเติมมาอีก ก็คือ “วิสาหกิจชุมชน” แต่การศึกษาปัญหานี้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวโยงถึงเรื่องระบบเศรษฐกิจ  ฉะนั้น การศึกษาในเรื่องของ “กฎหมาย” จึงมีข้อจำกัด

1.สภาพและความสำคัญของปัญหา
หัวใจของระบบเศรษฐกิจ (Economy System) อยู่ที่การผลิต (Production) ซึ่งมีปัจจัย (Factor) การผลิตที่สำคัญ คือ (1) ที่ดิน (Land) (2) แรงงาน (Labour) (3) ทุน (Capital) และ (4) ผู้ประกอบการ (Entrepreneurships) โดยเฉพาะ “ทุน” ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับระบบเศรษฐกิจ  และในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจก็จะต้องอิงกับระบบเครดิต (Credit System) หรือ ระบบสินเชื่อ  “กฎหมายล้มละลาย” จึงมีความสำคัญในการสร้างหลักประกันความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการค้า หรือ นักลงทุน (Trader and Investor)
และในบรรดากิจการค้าพาณิชย์ที่สำคัญอันถือได้ว่าเป็น “รากหญ้า” (Grass root) ของประเทศประเภทหนึ่งก็คือ “วิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อม” (Small and Medium Enterprises) หรือเรียกย่อว่า “SMEs” เพราะเป็นฐานรากที่กระจายอยู่ทั่วภูมิภาค โดยเฉพาะในท้องถิ่นชุมชน ซึ่งสามารถพัฒนารูปแบบกิจการค้าพาณิชย์ให้ขยายใหญ่ หรือ แข็งแกร่งได้ อันมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้ และจากข้อมูลปี 2552 พบว่า จำนวน SMEs ที่เป็นวิสาหกิจขนาดย่อม มีอยู่จำนวน 2.88 ล้านแห่ง คิดเป็นร้อยละ 99.4 ของจำนวนวิสาหกิจทั้งหมด (ข้อมูล สสว.2553)
การที่รัฐมีนโยบายส่งเสริม SMEs ย่อมทำให้ฐานรากของเศรษฐกิจเข้มแข็งได้ทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม SMEs ต่าง ๆ ย่อมมีลักษณะแตกต่างกัน  ในการดำเนินการกิจการค้าพาณิชย์ย่อมประสบปัญหาทางด้านการเงิน หรือ ประสบปัญหาลู่ทางใน “ทางการค้าและการลงทุน” เป็นธรรมดา อาทิเช่น ขาดแหล่งเงินทุน ขาดการส่งเสริมด้านการตลาด ศักยภาพในการแข่งขันมีน้อย จนกระทั่งประสบปัญหาทางการเงิน ขาดทุน มีหนี้สินได้
ในจำนวน SMEs นั้น ยังสามารถแยกขนาดของ SMEs ลงไปได้อีก เพราะยังมี SMEs ที่เป็น “วิสาหกิจขนาดย่อม” (Small Enterprises : S) อีกประเภทหนึ่งที่เล็กมาก เป็นบุคคลธรรมดาที่ส่วนใหญ่ไม่จดทะเบียน  ซึ่งแยกได้เป็น “วิสาหกิจขนาดเล็ก” และ “วิสาหกิจรายย่อย” (Micro Enterprises : MEs) จากรายงานการวิจัยของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ในปี 2550, 2551, และ 2552 พบว่าปี 2552 วิสาหกิจรายย่อย (MEs) มีเป็นจำนวนมากถึง 1.89 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 65.7 ของจำนวน SMEs ทั้งหมด  (ข้อมูล สสว.2553)

สรุปข้อมูลคร่าว ๆ ได้ว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดย่อม (S) และ ในจำนวน วิสาหกิจขนาดย่อม S นี้แยกเป็น วิสาหกิจรายย่อย (MEs) ถึงร้อยละ 65.7 ฉะนั้น ในสภาวะโลกปัจจุบันที่มีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน การศึกษาเรื่อง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs รวมไปถึง วิสาหกิจรายย่อย หรือ Micro Enterprises หรือ MEs ในสภาวะโลกปัจจุบันที่มีการแข่งขันเสรีทางด้านการค้าสูง จึงมีความจำเป็น ทั้งนี้เพื่อทราบลักษณะปัญหาต่าง ๆ ของวิสาหกิจรายย่อย หรือ MEs นั้น ๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ต่อไป

2.วัตถุประสงค์ของการศึกษา
2.1 เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ในประเทศไทย 
2.2 เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี ปัญหาและแนวทางแก้ไขที่เกี่ยวกับกฎหมายล้มละลาย และการป้องกันการล้มละลายของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs และวิสาหกิจรายย่อย หรือ MEs โดยเฉพาะเกี่ยวกับมาตรการทางปกครองตามกฎหมายล้มละลาย

3.นิยามศัพท์
“วิสาหกิจ” หมายความว่า กิจการผลิตสินค้า กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง กิจการค้าปลีก หรือกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 3 พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543)

“วิสาหกิจขนาดกลางหรือวิสาหกิจขนาดย่อม” (Small and Medium Enterprises หรือ SMEs) ได้แก่ วิสาหกิจที่มีจำนวนการจ้างงานมูลค่าสินทรัพย์ถาวร หรือทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา 4 พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543)

“วิสาหกิจรายย่อย” (Micro Enterprises :MEs) หมายถึง วิสาหกิจที่มีการจ้างงานไม่เกิน 5 คน และไม่จดทะเบียนพาณิชย์ (เป็นคำนิยามที่กำหนดโดย สสว.)

4.การเจาะตลาดต่างประเทศของ SMEs
ด้วยข้อจำกัดของ SMEs ที่เป็นกลุ่มวิสาหกิจส่วนใหญ่ของประเทศ (ร้อยละ 99 ของวิสาหกิจทั้งหมด) ซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ไม่อาจแข่งขันกับวิสาหกิจขนาดใหญ่ได้ และประเทศไทยเปิดเสรีด้านการลงทุน การบริการ และการค้า
รัฐบาลได้มีแผนการตลาดที่จะระดมแผนหนุนเศรษฐกิจ โดยการเจาะตลาดต่างประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในปี 2554 นี้  หากพิจารณาเรื่องการตลาด หรือการลงทุนในต่างประเทศแล้ว ถือว่า ตลาดเป็นของไทย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ทำให้ค่าของเงินบาทแข็งค่า ทำให้การส่งออกของไทยได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะสินค้าที่ผลิตส่งออกจาก SMEs แต่การที่ SMEs จะไปลงทุนในต่างประเทศนั้น ไทยจะได้เปรียบกว่า ด้วยค่าของเงินบาทที่แข็ง  และในทางกลับกัน สินค้านำเข้าจะเข้ามาตีตลาดสินค้าไทย  ฉะนั้น SMEs ของไทยที่ผลิตเพื่อบริโภคใช้สอยภายในประเทศก็จะพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย  ฉะนั้น SMEs ซึ่งรวมทั้ง วิสาหกิจรายย่อย หรือ MEs ก็เช่นกัน ก็ต้องปรับกลยุทธในการผลิต และ การตลาดด้วย

ด้วยปัจจัยทุนในการผลิต อันเป็นผลมาจากการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินในระบบ (ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธกส. และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจฯ) และแหล่งสินเชื่อกึ่งในระบบ (ได้แก่ สหกรณ์ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต) ก็จะทำให้สถานการณ์ด้านการเงินของ SMEs แข็งแกร่งขึ้น

ด้านการกระตุ้นการค้าระหว่างประเทศนั้น ปี 2554 กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าส่งออกที่จะขยายตัวประมาณ 10% มีมูลค่าประมาณ 207,910 - 209,586 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6 ล้านล้านบาท ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทประมาณ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และราคาน้ำมันที่ 67-77 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เศรษฐกิจโลกและตลาดการค้าที่สำคัญในปีหน้ายังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2553 แต่เป็นอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง โดยกระทรวงพาณิชย์จะทำงานบูรณาการร่วมกันกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

นอกจากนี้จะเน้นในเรื่องของการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งจะส่งเสริมผลักดันให้ออกสู่เวทีการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีประสบการณ์การส่งออกมาแล้ว และประเภทที่ยังไม่เคยหรือไม่มีประสบการณ์การส่งออกโดยตรง จะกำหนดยุทธศาสตร์แผนงานโครงการต่างๆให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการในแต่ละประเภท ซึ่งจะดำเนินการใน 4 ด้าน คือ การเพิ่มขีดความสามารถและสร้างผู้ส่งออกรายใหม่ , พัฒนาตลาด , พัฒนาเครือข่ายคลัสเตอร์ในธุรกิจกลุ่มต่างๆ และให้ความช่วยเหลือด้านการเงินลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการ โดยจะเริ่มตั้งแต่การพัฒนาความรู้ในด้านต่างๆ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ

ในส่วนของการเจาะตลาดต่างประเทศ จะขยายตลาดที่มีศักยภาพสูง เช่น ตลาดอาเซียน จีน อินเดีย และรัสเซีย เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ทดแทนตลาดหลักที่เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยง โดยเฉพาะตลาดอาเซียนที่จะรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมสินค้าและธุรกิจบริการบนพื้นฐานของการสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างตราสินค้า นวัตกรรม การสร้างสรรค์ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับการค้าในโลกยุคใหม่
(ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์, 4 มกราคม 2554 [Online]., Available URL :  http://www.managerweekly.com/)

5.ปัญหาทางการเงินของวิสาหกิจ SMEs ในประเทศไทย
ตามรายงานสถานการณ์ของ สกว. ปี 2552 พบว่า ปัญหาทางการเงินของ SMEs คือ (สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม,2553,Ibid.)
5.1 ขาดการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนว่า ควรสนับสนุนด้านการเงินแก่กลุ่มเป้าหมายใด จึงเกิดประโยชน์ต่อธุรกิจในลำดับถัดไป รวมถึงไม่มีการแบ่งกลุ่มการส่งเสริมสำหรับธุรกิจขนาดย่อม (S) ธุรกิจขนาดกลาง (M) หรือหลักเกณฑ์การส่งเสริมตามขนาดธุรกิจ (Size) หรือตามระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ (Stage) ซึ่งหากมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนและเหมาะสมจะทำให้สามารถมีเงินกู้ระยะสั้น / ระยะ ยาวที่เกิดประโยชน์กับ SMEs มากกว่าเงินกู้นอกระบบที่ SMEs ใช้อยู่ ซึ่งในทัศนะของผู้วิจัย เห็นว่า ประเทศไทยควรสนับสนุนวิสาหกิจขนาดย่อมที่มีศักยภาพพอที่จะพัฒนาไปเป็นวิสาหกิจขนาดกลาง เนื่องจาก ทุกธุรกิจย่อมมีการเติบโตเพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ดังนั้น การสนับสนุนด้านการเงินจากภาครัฐควรเป็นการเร่งกระบวนการดังกล่าวให้เร็วขึ้นหรือเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด
5.2 ข้อมูลการประกอบการ แทนที่จะเป็นปัญหาของภาครัฐและสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียวผู้ประกอบการ SMEs เองก็ควรต้องช่วยตนเองด้วย โดยการเก็บข้อมูลทางธุรกิจและเปิดเผยข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงินด้วยเช่นกัน รวมถึงให้ภาครัฐได้รับข้อมูลที่ชัดเจน ครบถ้วนเพื่อการกำหนดนโยบายที่เหมาะสม

นอกจากนั้น คำแนะนำปรึกษาสำหรับการบริหารจัดการทางการเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้สำหรับ SMEs หรือ ธุรกิจที่มีความเสี่ยงแต่มีความสามารถในการทำกำไร
มีข้อมูลการเข้าถึงสินเชื่อพบว่า สัดส่วนสินเชื่อจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.8 ของการให้เงินกู้ทั้งหมด การเข้าถึงเงินกู้ของ SMEs คิดเป็นร้อยละ 0.9 ของ SMEs ในประเทศไทยที่มีจำนวน 2,290,000 ราย ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยมาก

6.ปัญหาอุปสรรคในการปรับโครงสร้างหนี้ของ SMEs
ตามผลการศึกษาของ วิชา  มหาคุณ (วิชา, 2548, Ibid.)พบว่า การปรับโครงสร้างหนี้โดยสำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (สปน.) ประสบผลสำเร็จในจำนวนที่น้อยมาก เพราะ การปรับโครงสร้างหนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเจ้าหนี้และลูกหนี้มิใช่เป็นบทบัญญัติของกฎหมาย และเป็นหนี้ที่จำกัดเฉพาะเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินเท่านั้น ที่เกรงว่าจะเป็นหนี้สูญ (NPLs)     ซึ่งปกติเจ้าหนี้ของ SMEs อาจมีเจ้าหนี้อื่นที่มิใช่สถาบันการเงินก็ได้

นอกจากนี้ SMEs มีจำนวนมากกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศติดตามดูแลยาก และกิจการมีขนาดเล็กมีทรัพย์สินน้อยไม่เพียงพอเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ อีกทั้ง SMEs ยังมีระบบบัญชีที่ไม่ได้มาตรฐาน

เรื่องนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัยของ จีรพรรณ และคณะ ที่ได้ศึกษาการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อของ SMEs ภาคเหนือว่า เข้าแหล่งสินเชื่อที่เป็นสถาบันการเงินได้น้อย แต่จะใช้ทุนส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่ (จีรพรรณ และคณะ,2551.,Ibid.)

สำหรับการฟื้นฟูกิจการตามกระบวนการของพระราชบัญญัติล้มละลาย ของ SMEs นั้น เมื่อพิจารณาดูปัญหาอุปสรรคของการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว เห็นว่า SMEs ส่วนใหญ่ เป็นกิจการที่มีขนาดเล็ก หรือ เล็กมาก ตามข้อมูลพบว่า เป็น วิสาหกิจรายย่อย (MEs) ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก (ผู้จ้างงานไม่ถึง 5 คน) และส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาไม่จดทะเบียนพาณิชย์ มีเป็นจำนวนมากถึงร้อยละ 64 ของจำนวน SMEs ทั้งหมด ฉะนั้น  โอกาสที่ SMEs ที่เป็น MEs จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการจึงแทบไม่มี  ด้วยเงื่อนไข สภาพตัวของกิจการที่มิได้เป็นบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด จำนวนทุนที่น้อย ย่อมไม่มีโอกาสที่จะมีหนี้สินถึงจำนวน 10 ล้านได้เลย

7.บทสรุปและข้อเสนอแนะ

7.1 บทสรุป
การจัดระเบียบโลกใหม่ (New World Orders) โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นหัวหอก ระบบเศรษฐกิจโลกปัจจุบันถูกบริหารจัดการโดย “องค์การการค้าโลก” (World Trade Organization : WTO) ซึ่งเป็นการจัดการค้าขายโดย “บรรษัทข้ามชาติ” (Corporate Managed Trade) ไปทั่วทุกมุมโลก โดยมีการขยายเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) ประเทศไทยย่อมรับผลพวงจากการดำเนินการนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

“วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” หรือ SMEs ถือได้ว่าเป็นหน่วยการผลิตที่สำคัญของประเทศ ด้วยจำนวนที่มีเป็นจำนวนมาก ครอบคลุมถึงการจ้างงานเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่ท้องถิ่นและชุมชน กล่าวคือ ข้อมูลปี 2552 ระบุว่ามีจำนวน SMEs ถึง 2.88 ล้านหน่วย  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 99.4 ของจำนวนวิสาหกิจทั้งหมด ในจำนวนนี้เป็น “วิสาหกิจรายย่อย” (Micro Enterprise : MEs) ถึงร้อยละ 65.7 และมีการจ้างงาน SMEs จำนวน 8.26 ล้านคน และ  MEs จำนวน 3.15 ล้านคน

สำหรับวิสาหกิจ  MEs นั้นเป็นวิสาหกิจที่เล็กมาก มีการจ้างงานไม่เกิน 5 คน และส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่จดทะเบียนพาณิชย์ มีต้นทุนน้อย  โอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนน้อย  ดังนั้น ความยากในการเข้าถึงแหล่งทุนจึงอาจนำไปสู่การกู้นอกระบบ หรือใช้เงินส่วนตัวดำเนินการเอง

หลักการสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของกฎหมายล้มละลายก็คือ “หลักลูกหนี้ต้องสุจริต” (Good faith)ในด้านการป้องกันการล้มละลาย หรือ อีกนัยหนึ่ง ตามหลักกฎหมายล้มละลายสมัยใหม่ ก็คือ “การป้องกันการล้มละลาย” (Preventive) นั้น มีมาตรการหลายประการที่จะป้องกันไม่ให้มีการล้มละลาย  นับตั้งแต่กระบวนการป้องกันตนเองในการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กร ทำให้มีสถานะมั่นคง  กิจการก้าวหน้า ไม่มีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือแหล่งสินเชื่อต่าง ๆ รวมไปถึงมาตรการทางด้านกฎหมายต่าง ๆ ที่มิใช่ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย อันเป็นกระบวนการนอกศาล ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Debt’s Restructuring) การประนอมหนี้(Composition) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Mediation) หรือ การประนีประนอมยอมความ (Compromise) เหล่านี้ล้วนถือเป็น “มาตรการทางปกครอง” ที่สำคัญที่จะช่วยให้การป้องกันการล้มละลายของ SMEs และ MEs ทำให้ลูกหนี้ไม่มีโอกาสการเข้าสู่กระบวนการล้มละลายได้

สำหรับมาตรการในกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลายนั้น เห็นว่า SMEs และ MEs ไม่มีโอกาสที่จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการด้วยข้อจำกัดที่เป็นกิจการขนาดเล็ก ไม่จดทะเบียน โอกาสที่จะเข้าเงื่อนไขตามกฎหมายฟื้นฟูกิจการจึงเป็นไปไม่ได้ 

7.2 ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาได้พบข้อสังเกตหลายประการเกี่ยวกับ SMEs และ MEs จึงขอเสนอแนะบางประการ ดังนี้

7.2.1 ด้านเงินทุน
เห็นว่าโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs และ MEs มีน้อย ควรเปิดโอกาสให้มีโอกาสให้มากขึ้น  โดยให้นำแนวคิดเรื่อง “micro finance” ในเรื่อง “ธนาคารคนจน” ตามแบบของโมฮัมเม็ด ยูนูส นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังคลาเทศผู้ได้รับรางวัลโนเบล มาใช้  ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลก็ได้มีความคิดที่จะเปิด “ธนาคารคนจน” โดยมอบหมายให้บริษัทไปรษณีย์ไทยรับไปดำเนินการ

7.2.2 ด้านแรงงาน
ควรมีการพัฒนาทักษะฝีมือให้มีมาตรฐาน โดยการควบคุมคุณภาพการผลิต และการบริหาร  เช่น มาตรฐาน สมอ. หรือ มผช.(มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน) หรือ ให้มีการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพราะ SMEs และ MEs ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากชุมชนหรือท้องถิ่น ซึ่งมีเอกลักษณ์ของแต่ละแห่งแตกต่างกันไป  การได้รับการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นสิ่งดี และคุ้มครองเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไปในตัวด้วย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น

7.2.3 ด้านผู้ประกอบการ
ควรมีการอบรมแนะนำให้ความรู้ทางด้านการบริหารงาน โดยเฉพาะเทคนิคทางด้านการตลาด และ บรรจุภัณฑ์  เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก หรือ ตลาดภายในท้องถิ่นอื่น อีกทั้งการแข่งขันด้านผลิตภัณฑ์ยังอาจทำให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วย

7.2.4 เงื่อนไขการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู
เนื่องจาก SMEs และ MEs แทบไม่มีโอกาสเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้เลย จนกว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติล้มละลายใหม่  โดยลดเงื่อนไขการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูให้ง่ายขึ้น ได้แก่ การให้บุคคลธรรมดาเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้, การแก้ไขถ้อยคำ “มีหนี้สินล้นพ้นตัว” เป็น “ขาดสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว” (Lack of Liquidity or Temporary of Liquidity) การลดจำนวนเงินหนี้สิน ตามมาตรา 90/4 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ลงมาจาก 10 ล้านบาทให้เหลือน้อยลง ซึ่งอาจมีคณะทำงานศึกษาหาอัตราที่เหมาะสมต่อไป ด้วยเห็นว่า ยอดหนี้สินจำนวน 10 ล้านบาทเป็นยอดที่สูงมากเกินไป  นอกจากนี้การใช้มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ ควรนำมาตรการหยุดพักชำระหนี้ (Automatic Stay) ตามมาตรา 90/12 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาใช้ด้วย เพื่อเป็นการคุ้มครองลูกหนี้ โดยเฉพาะลูกหนี้ที่สุจริต

7.2.5 ข้อแนะนำอื่น ๆ ควรมีการปลูกฝังวินัยทางด้านการเงินการคลังแก่ประชาชน ไม่ว่าจะโดยวิธีใด โดยออกเป็นกฎหมาย หรือ ออกเป็นมาตรการเป็นการทั่วไปเพื่อให้มีผลบังคับด้วย  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้ระบุไว้ในมาตรา 83 ว่า “รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจเศรษฐกิจพอเพียง” รัฐได้นำไปกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 มาตรา 3 “วิสาหกิจชุมชน หมายถึง กิจการชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกัน และรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใด หรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน” เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 449623เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2011 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2012 08:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

บทที่ 2

ทบทวนวรรณกรรม

ผู้เขียนได้รวบรวมค้นคว้าบทศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

2.1 การศึกษาทางกฎหมายล้มละลาย

“ การป้องกันการล้มละลายของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs),” วิชา มหาคุณ, 2548

สรุปว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) เป็นฐานรากของการพัฒนาและฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศ แม้ประเทศไทยให้การสนับสนุน SMEs แต่ SMEs เมื่อประสบปัญหาทางการเงินอยู่ในขั้นเสี่ยงที่จะล้มละลายกลับปรากฏว่า มาตรการที่จะช่วยเหลือป้องกันการล้มละลายของ SMEs มีปัญหาในทางปฏิบัติ ผู้เขียนได้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้

(1) การปรับโครงสร้างหนี้โดยสำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้เป็นหลักการที่ดี เห็นว่า การประนอมหนี้ก่อน “มีหนี้สินล้นพ้นตัว” ตามกฎหมายฝรั่งเศสและกฎหมายอังกฤษจึงเป็นแนวทางที่ดี ในการหลีกเลี่ยงการล้มละลายของ SMEs การปรับโครงสร้างหนี้โดยสำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้ที่ไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมายก็จะมีสภาพบังคับเป็นการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายตามแบบพิธีตามพระราชบัญญัติล้มละลายได้

และหากการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายเป็นการระงับคดีในชั้นต้นประสบผลสำเร็จมาก ย่อมเป็นการลดจำนวนคดีที่จะเข้าสู่ศาลล้มละลายได้ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการในคดีล้มละลายหรือกระบวนการฟื้นฟูกิจการ และผู้เขียนเห็นว่าควรกำหนดเงื่อนไขสำคัญสำหรับการเริ่มกระบวนการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายว่า ต้องอาศัยหลักสุจริต กล่าวคือ ลูกหนี้ที่ยื่นคำขอต้องเกิดจากความต้องการแก้ไขปัญหาทางการเงิน การขาดสภาพคล่องเพียงชั่วคราว และปัญหาดังกล่าวมิได้เกิดจากการทุจริต หรือการบริหารงานผิดพลาดอย่างร้ายแรงของลูกหนี้

(2) กำหนดให้การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมีคนกลางเข้ามาช่วยเหลือเป็นผู้ไกล่เกลี่ยโดยศาลจะตั้งจากบุคคลผู้เป็นกลางไม่มีส่วนได้เสีย

(3) กำหนดให้มีการแจ้งเตือนถึงปัญหาทางการเงินของลูกหนี้ SMEs โดยผู้ตรวจสอบบัญชี คือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร และควรกำหนดให้มีการแจ้งเตือนโดยคณะกรรมการร่วมระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ผู้ถือหุ้นและศาลได้ ส่วนกรณี SMEs ที่เป็นเจ้าของกิจการคนเดียวก็กำหนดให้แจ้งเตือนโดยผู้สอบบัญชาภาษีอากรหรือศาล

“การปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูกิจการของธุรกิจไทย,” ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ และ ณัฐนันท์ วิจิตรอักษร, สถาบันวิจัยสังคมและเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2549

สรุปผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องพบว่า

(1) วิธีการแก้ปัญหาสถาบันการเงินและบริษัทธุรกิจ ไทยใช้การแทรกแซงโดยตรงจากรัฐน้อยที่สุด โดยให้กลไกตลาดและเอกชนช่วยตัวเองแม้กระทั่งในกรณีของสถาบันการเงินเอกชน ซึ่งรัฐช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถในการเพิ่มทุน เจ้าของธนาคารเอกชนต้องแบกรับความเสียหายจากวิกฤต และหาผู้ร่วมทุนมาร่วมกับส่วนที่รัฐจัดหาให้ ในส่วนของการปรับโครงสร้างธุรกิจก็เช่นกัน รัฐบาลไทยไม่เล่นบทแทรกแซงโดยตรงในสาขาหรือธุรกิจขนาดใหญ่ให้เข้าปรับโครงสร้างกันเองโดยให้สิทธิประโยชน์และแรงจูงใจ

(2) ประเทศไทยได้เน้นปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทมากกว่าการปรับโครงสร้างด้านอื่น ๆ ในด้านวิถีนอกศาลและผ่านศาลทั้ง คปน.และศาลล้มละลายกลางทุกวิถีมีสัดส่วนความสำคัญใกล้เคียงกัน

2.2 การศึกษาทางเศรษฐศาสตร์

“ปัจจัยที่มีผลต่อการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม,” ชุลีพร ไกรสมเดช, วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เป็นตัวสำคัญที่มีผลต่อการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แก่ SMEs 3 ปัจจัย คือ GDP(ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงในไตรมาสที่ผ่านมา), MLR-1 % (อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย) และ ER (เงินสดสำรองส่วนเกิน) เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า ER เป็นตัวแปรที่มีความสำคัญที่สุดและพบว่า ในขณะที่สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์มีมาก ธนาคารพาณิชย์จะปล่อยสินเชื่อให้ SMEs มากขึ้น ดังนั้น ในสภาวะปัจจุบันที่สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับสูง ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์ควรร่วมมือกันในการหามาตรการที่จะขยายสินเชื่อให้ SMEs มากขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องมีการพิจารณาการให้สินเชื่ออย่างรอบคอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้

ในส่วนของมาตรการที่สร้างความพร้อมแก่ SMEs ในด้านต่าง ๆ ล้วนเป็นมาตรการที่ส่งผลระยะยาว แต่ตราบใดที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว การขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุน การทำให้กลไกตลาดทำงาน และให้ SMEs เป็นตัวจักรในการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงไม่สามารถทำได้ในระยะสั้น จากปัญหาของ SMEs ที่ผ่านมา รัฐบาลควรปรับปรุงด้านกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริม SMEs เช่น การกำหนดเกณฑ์การให้สินเชื่อ SMEs ให้สอดคล้องกันระหว่างธนาคารพาณิชย์กับธนาคารแห่งประเทศไทย การผ่อนปรนเกณฑ์การกำกับสถาบันการเงินในส่วนการทำสำรองสำหรับสินเชื่อ SMEs เพื่อธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะกล้าปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และการผ่อนปรนเกณฑ์การให้สินเชื่อเพื่อจูงใจแก่ SMEs ที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

“การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและสาเหตุของการเกิด NPLs ของ SMEs: กรณีศึกษาภาคเหนือ,” จีรพรรณ โอฬาร์ธนาเศรษฐ์, วสันต์ ยศสมแสน, สมหมาย ศิริธรรม, และ ศิริพร ศิริปัญญาวัฒน์, ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2551

บทสรุป

1) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นธุรกิจที่ควรให้การสนับสนุน เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี การประกอบธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังคงมีข้อจำกัดและความเสี่ยงหลายประการ ซึ่งต้องอาศัยกลไกของภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุนเพื่อให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น หน่วยงานรัฐทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งด้านการผลิต การตลาด และการสนับสนุนด้านอื่นๆ ควรให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ โดยมีมาตรการที่มีความต่อเนื่องและสอดรับกัน อีกทั้ง มาตรการนั้นๆ ควรสอดคล้องกับขนาดและลำดับขั้นของการพัฒนาธุรกิจ เพื่อให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในแต่ละกลุ่มมากที่สุด นอกจากนั้น ควรประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับมาตรการของรัฐให้ทั่วถึง

2) จากการศึกษาพบว่า อุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบัน

การเงินคือ การที่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่ให้ความสำคัญกับการจัดทำบัญชี/งบการเงิน และการบริหารจัดการ ในขณะที่สถาบันการเงินถือปัจจัยนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกันให้ความรู้ ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ และจูงใจให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจจัดทำบัญชี/งบการเงิน

3) นอกจากนี้ ในการศึกษายังพบว่า การมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการพิจารณาสินเชื่อจะช่วยลดระยะเวลาในการพิจารณาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งทำให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

4) ฐานข้อมูลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีอยู่ควรพัฒนาให้ธนาคารพาณิชย์สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ

5) Fact finding ที่ได้จากการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลสำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยในการใช้ประกอบการจัดทำนโยบายเกี่ยวกับสถาบันการเงินและแผนแม่บททางการเงินต่อไป

2.3 การศึกษาวิจัยทั่วไป

“รายงานสถานการณ์วิสาหกิจรายย่อย ปี 2552,” สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.), 2553

ได้สรุปข้อเสนอแนะ 2 นโยบายที่จะส่งเสริมการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ดังนี้

(1) ปรับปรุงความสามารถของสถาบันการเงินในการประเมินเพื่อพิจารณาสินเชื่อให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Credit Appraisal) และระบบการประเมินการให้สินเชื่อ

มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเงินวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ดีขึ้น โดยลดความ

เข้มข้นของการพิจารณาที่ยึดติดอยู่กับการค้ำประกัน และขณะเดียวกัน เพื่อการปรับปรุงความสามารถในการประเมินเพื่อพิจารณาสินเชื่อ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงระบบการประเมินของสถาบันการเงินในประเทศไทย รวมถึงธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1. สถาบันที่เกี่ยวข้องในกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง

และขนาดย่อม กระทรวงการคลัง

2. หน่วยงานที่ได้รับประโยชน์ทางตรง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ

ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ของเอกชน และที่ได้รับประโยชน์ทางอ้อม

เช่น ผู้ประกอบการท้องถิ่น

แนวทาง

1. อันดับแรก มีความจำเป็นที่รัฐบาลไทยควรต้องดำเนินมาตรการอย่างต่อเนื่องเพื่อการ

ปรับปรุงระบบการบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม /การบันทึกรายการค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ ซึ่งถือเป็นนโยบายระยะกลาง-ระยะยาว และในขณะเดียวกัน ต้องมีหน่วยงานจัดทำข้อมูลสถิติ เช่น สถิติเกี่ยวกับบริษัท/การประกอบการ สถิติในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งยังไม่ค่อยมีการพัฒนาที่ดีเท่าที่ควร และเป็นการยากสำหรับเจ้าหน้าที่สินเชื่อของสถาบันการเงินที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลเครดิตและข้อมูลเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการประเมินเพื่อพิจารณาสินเชื่อให้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

2. นอกจากนี้ เพื่อที่จะส่งเสริมการให้เงินกู้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ข้อมูลพื้นฐานทางการเงินยังไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีมากนัก ดังนั้น จึงควร

2.1 จัดให้มีหลักสูตรอบรมเกี่ยวกับการประเมินเพื่อพิจารณาการให้สินเชื่อแก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs credit appraisal)

2.2 จัดทำ “ คู่มือการประเมินของเจ้าหน้าที่ธนาคาร เป็นรายอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้น”

โดยการรวบรวมและนำเสนอข้อมูลทางอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญสำหรับประกอบการพิจารณาประเมินการให้สินเชื่อ เป็นต้น

(2) พัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการกองทุนร่วมลงทุน (VC fund) ของภาครัฐ

ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่อย่างไรก็ตาม กองทุนร่วมลงทุนของภาครัฐ ยังคงไม่ค่อยได้รับการพัฒนา ทั้งในทางด้านการขาดทักษะพื้นฐานและความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการส่งเสริมโครงการ (Project) รวมไปถึงทักษะการประเมินโครงการแต่ยังไม่ก่อให้เกิดความเหมาะสมในการสนับสนุนธุรกิจที่อยู่ในระยะกลางและในระยะต่อไป

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งรวมไปถึงสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด

ย่อม (สสว.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง

2. หน่วยงานที่ได้รับประโยชน์ ทางตรง ได้แก่ หน่วยงานที่บริหารจัดการกองทุนร่วม

ลงทุน และทางอ้อม ได้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ท้องถิ่น และบริษัทที่มีความเสี่ยงแต่มีความสามารถในการทำกำไร (Venture company)

แนวทาง

1. เสริมสร้างความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการส่งเสริมในรูปแบบที่เหมาะสมกับธุรกิจที่มีความเสี่ยงแต่มีความสามารถในการทำกำไร (Venture company) ที่อยู่ในระยะเริ่มต้นธุรกิจ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในระยะกลางและระยะต่อไป และบริษัทของญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจอยู่ในประเทศไทย

2. เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านรูปแบบบริหารจัดการที่สนับสนุนการขยายธุรกิจจาก

ข้อมูลผลการดำเนินงานของธุรกิจ (รวมถึง บริษัทที่อยู่ในระยะเริ่มต้นธุรกิจ ระยะกลาง และระยะขยายตัว) โดยใช้ประโยชน์จากความรู้ความสามารถของที่ปรึกษาธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งรวมถึงการจัดระบบการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาธุรกิจ เพื่อก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในการทำงานของที่ปรึกษา

3. ทบทวนกลยุทธการสร้างกำไร (The profit-making strategy) โดยการขยายระยะเวลา

การคืนกลับที่ได้รับจากเงินปันผล โดยการนำไปลงทุนใหม่ ๆ เช่น การได้รับทุนเพิ่มขึ้นโดยการลงทุนในบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์

4. จัดหาบริการการให้คำแนะนำปรึกษาการบริหารจัดการธุรกิจ โดยที่ปรึกษาด้านการ

จัดการธุรกิจที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้คำแนะนำในการพัฒนาและปรับปรุงกิจการ

(3) ทัศนะต่าง ๆ ในมุมมองของผู้วิจัย

• จากการศึกษา 13 บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมด้านการร่วมลงทุนจากสำนักงานส่งเสริม

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้วิจัยได้แสดงความเห็นว่า เป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินการธุรกิจมานานแล้ว ไม่ใช่ธุรกิจในระยะเริ่มต้น รวมถึงเป็นบริษัทที่มีความสัมพันธ์กับสถาบันการเงินอยู่ก่อนแล้ว

• ประเทศไทยขาดการส่งเสริมที่จัดให้เฉพาะกลุ่มธุรกิจ เช่น กลุ่มรายย่อย (Micro: ME)

กลุ่มขนาดย่อม (S) กลุ่มขนาดกลาง (M)

• จากข้อมูลที่พบ เห็นได้ว่า ธุรกิจขนาดกลาง (M) และธุรกิจขนาดใหญ่ (L) ในประเทศไทย

มักได้รับเงินกู้ ส่วนธุรกิจขนาดย่อม (S) ไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้ ดังนั้น ประเทศไทยควรส่งเสริมการเงินแก่กลุ่มธุรกิจขนาดย่อมที่จะพัฒนาขึ้นสู่ธุรกิจขนาดกลาง เนื่องจากเห็นว่า ประเทศไทยมีฐานเศรษฐกิจที่เป็นธุรกิจขนาดย่อม (S) อยู่จำนวนมากและธุรกิจก็มักเติบโตไปตามช่วงการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นจึงควรคิดว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตมากขึ้น และจะทำอย่างไรให้มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดข้ามขั้น เช่น ธุรกิจรายย่อย (Micro: ME) เติบโตเป็นธุรกิจขนาดย่อม (S) ขณะที่ธุรกิจขนาดย่อม (S) เติบโตไปเป็นธุรกิจขนาดกลาง (M) หรือเติบโตไปเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (L) ได้ จึงควรให้การส่งเสริมแบบเป็น Package หากดำเนินการเพียง 1-2 อย่างจะไม่ค่อยเห็นผล

• จากข้อมูลการปล่อยสินเชื่อของธนาคารที่พบว่า ร้อยละ 80 ของเงินสินเชื่อ เป็นการให้

สินเชื่อของธนาคารขนาดใหญ่คิดเป็นร้อยละ 70 ดังนั้น ลูกค้าที่ธนาคารต้องการให้กู้มักเป็นลูกค้ารายใหญ่เช่นกัน อีกทั้งการพิจารณาสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ มักพิจารณาหลักทรัพย์ ซึ่งก็มักประเมินค่าหลักทรัพย์ต่ำกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้ได้วงเงินสินเชื่อต่ำ ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์จึงควรให้ความร่วมมือ เพื่อช่วยเหลือทางการเงินแก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มากกว่านี้

• นอกจากการให้คำแนะนำปรึกษาและการส่งเสริมทางการเงินแล้ว ควรจัดให้มีการติดตาม

(Follow up) ผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้รับเงินสินเชื่อแล้ว เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรึกษาหารือกับที่ปรึกษาในการแก้ปัญหาต่างๆ และพัฒนาธุรกิจของตนเองได้ต่อไป

บทที่ 3

กฎหมาย ระเบียบ หลักการที่เกี่ยวข้อง

3.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการประกอบกิจการของบุคคล และ แนวนโยบายของรัฐ ดังนี้

มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง

มาตรา 43 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขัน

โดยเสรีอย่างเป็นธรรม

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่ง

กฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน

มาตรา 82 รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศ และพึงถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค ตลอดจนต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งตามพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ

รัฐต้องส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับนานาประเทศ ตลอดจนต้องให้ความคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ

มาตรา 84 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้

(1) สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุน

ให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยต้องยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค

3.2 นโยบายเศรษฐกิจการคลัง

เมื่อกล่าวถึงนโยบายเศรษฐกิจ จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ส่วน คือ (1) นโยบายการคลัง ซึ่งประกอบไปด้วย (1.1) เรื่องรายได้ (1.2) เรื่องรายจ่าย และ (1.3) เรื่องหนี้สาธารณะ (2) นโยบายการเงิน ซึ่งเป็นเรื่องของธนาคารแห่งประเทศไทย และ (3) เรื่อง นโยบายต่างประเทศ

ซึ่งในการบริหารประเทศนั้น รัฐบาลต้องถือปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญที่ได้กำหนดแนวทางในการบริหารประเทศไว้ ประกอบกับสัญญาประชาคมที่ได้ตกลงไว้กับพี่น้องประชาชนว่าจะเข้าไปบริหารพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า โดยมีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อนที่จะบริหารประเทศ และ การจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีเสนอต่อรัฐสภา เพื่อควบคุมการใช้จ่ายของประเทศให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ

3.3 คำแถลงนโยบายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

แถลงต่อรัฐสภา (ณ กระทรวงการต่างประเทศ ) เมื่อวันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม 2551 โดยเฉพาะนโยบายการตลาด การค้าและการลงทุน (เว็บไซต์รัฐบาลไทย http://www.thaigov.go.th/)

… 4.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

4.2.4 การตลาด การค้า และการลงทุน

4.2.4.1 ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจ รัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และดูแล และให้มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค และให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งออกกฎหมายค้าปลีกเพื่อกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นระบบโดยให้ธุรกิจรายใหญ่และรายย่อยอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน

4.2.4.2 ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทย โดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้วและขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ ๆ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และเอเชีย เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้รวดเร็วโดยใช้ความได้เปรียบในเชิงแหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และศักยภาพการขนส่งของไทย

4.2.4.3 ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรี ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ รวมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4.2.4.4 ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย

4.2.4.5 ส่งเสริม ผู้ประกอบการไทย ให้มีการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ

4.2.4.6 ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารและบริการฮาลาล อุตสาหกรรมภาพยนตร์สินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4.2.4.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ที่สำคัญได้แก่ ศูนย์บริการครบวงจร ระบบอำนวยความสะดวกช่องทางเดียว ระบบการตรวจร่วมจุดเดียว ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

4.2.4.8 ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เรื่องภาษี โดยยกระดับหน่วยงานพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากระดับกรมขึ้นมาอยู่ในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินอุทธรณ์เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบ รวมทั้งมีการประกาศกำหนดเวลาแน่นอนในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์

3.4 สรุปนโยบายการเงิน การคลังของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ฯ

นโยบายการเงิน กล่าวโดยสรุปได้แก่

- ลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อกระตุ้นการลงทุนและรักษาค่าเงิน

- การลดมาตรการผ่อนปรนและกระตุ้นสินเชื่อ

- อัดเงินเข้าสู่ธนาคารต่างของรัฐ เช่น ออมสิน SME Bank (เข้าไปค้ำประกันเงินกู้แก่ธุรกิจ), อาคารสงเคราะห์ (กระตุ้นภาคการบริโภคและอสังหาริมทรัพย์)

นโยบายการคลัง กล่าวโดยสรุปได้แก่

- งบประมาณแผ่นดินแบบขาดดุล เพื่อขยายตัวทางเศรษฐกิจ

- อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ผ่านเช็คช่วยชาติ, โบนัสข้าราชการ, โครงการลงทุนสารธารณะ (รถไฟฟ้าสายใหม่ๆ)

- ลดภาษีบางตัว เก็บภาษีเพิ่มบางตัว (ยังไม่ได้ทำจริง)

( สำนักงาน ศสช.[Online] Available URL : http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=354)

3.5 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554

รัฐบาลเสนอตั้งงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เป็นจำนวนไม่เกิน 2,070,000,000,000 บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่น เป็นจำนวน 2,039,653,937,600 บาท และเพื่อชดใช้เงินคงคลัง เป็นจำนวน 30,346,062,400 บาท เสนอต่อรัฐสภาเมื่อ 27 พฤษภาคม 2553 (เว็บไซต์รัฐสภาไทย http://web.parliament.go.th/)

... 4.5 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การตลาด การค้าและการลงทุน งบประมาณ จำนวน 6,958.1 ล้านบาท โดยดำเนินมาตรการเชิงรุก เพิ่มเครือข่ายธุรกิจไทยให้ครอบคลุมภูมิภาคสำคัญ สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพไปทำการค้าและการลงทุนในต่างประเทศ โดยพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านการค้าระหว่างประเทศ 118,000 ราย ส่งเสริมองค์ประกอบทางการค้าให้เอื้อต่อความสามารถในการแข่งขันด้วยระบบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์บริการครบวงจร ระบบอำนวยความสะดวกช่องทางเดียว ระบบตรวจร่วมจุดเดียว และระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าชายแดนให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคงยั่งยืนด้วยแนว คิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมองค์ความรู้ทางสังคมกับนวัตกรรมที่ทันสมัยในการสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการสร้างสรรค์และพัฒนาระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และสร้างค่านิยมที่ถูกต้องด้านทรัพย์สินทางปัญญาในสังคมไทย

3.6 รูปแบบการประกอบธุรกิจต่าง ๆ

รูปแบบธุรกิจ SMEs ที่อาจเป็นไปได้ การประกอบธุรกิจต่าง ๆ อาจจะกระทำตั้งแต่คนเดียวขึ้นไป หากมีหุ้นส่วนร่วมกันหลายคน ก็มักจัดตั้ง ในรูปของนิติบุคคล รูปแบบธุรกิจมีลักษณะแตกต่างกัน ปรากฏดังตารางสรุป (กรมสรรพากรhttp://www.rd.go.th/)

ตารางสรุปรูปแบบธุรกิจ SMEs

ลำดับที่ /รูปแบบ /ลักษณะ

1 บุคคลธรรมดา บุคคลทั่วไปที่มีชีวิตอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 15)

2 คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อการทำกิจการร่วมกัน โดยไม่มีวัตถุประสงค์แบ่งปันกําไรที่ได้จากกิจการที่ทำ (หน่วยภาษีตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร)

3 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่ นิติบุคคล บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อการทำกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์แบ่งปันกําไรที่ได้จากกิจการที่ทำ (หน่วยภาษีตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร)

4 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนนิติบุคคล บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน โดยหุ้นส่วนทุกคนไม่จำกัดความรับผิดและต้องจดทะเบียน เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน หุ้นส่วนมีทั้งที่จำกัดความรับผิดและไม่จำกัดความรับผิดและต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

6 บริษัทจำกัด บุคคลตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป มาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นรับผิดในหนี้ต่าง ๆ ไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนลงทุนและต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช

7 บริษัทมหาชนจำกัด บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อ ประชาชนให้ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัด ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ ในหนังสือบริคณห์สนธิ (มาตรา 15 พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด)

8 กิจการร่วมค้า กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางการค้าหรือหากําไรระหว่าง บริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือระหว่างบริษัทและ/หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดาคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น - เป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (มาตรา 39)

9 นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

10 กิจการที่ดำเนินการค้า หรือหากําไรโดยรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ เป็นกิจการของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การของรัฐบาล ต่างประเทศ มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ประมวลรัษฎากร - เป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (มาตรา 39)

11 มูลนิธิหรือสมาคม เป็นนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรและมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลแต่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลถ้าเป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศให้เป็นองค์การสาธารณะกุศล

3.7 แนวคิดของกฎหมายล้มละลาย

กฎหมายล้มละลายเกิดมีขึ้นนานมาแล้วตั้งแต่สมัยโรมัน และ ของไทยก็ตามกฎหมายลักษณะกู้หนี้ (พระไอยการลักษณะกู้หนี้) ในสมัยอยุธยา รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาจักรพรรดิฯในปี พ.ศ. 2192 ซึ่งเริ่มพัฒนาการมาเป็น พระราชบัญญัติลักษณะกู้หนี้ ร.ศ.111 (พ.ศ.2435) พระราชบัญญัติล้มละลาย ร.ศ.127 (พ.ศ.2454) และ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยมีการนำหลักการมาจากประเทศอังกฤษ และ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในภาคฟื้นฟูกิจการ ในปี พ.ศ.2541 ซึ่งนำแนวคิดส่วนมากมาจากกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ใน Chapter 11 แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง ไม่เป็นไปตามหลักการสากล หรือตามหลักการที่เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมไทย และสังคมโลก หลักการสำคัญอย่างหนึ่งของกฎหมายล้มละลายก็คือ “หลักลูกหนี้ต้องสุจริตอย่างยิ่ง” (Principle of Good faith)

ลิขิต เทอดชนะกุล (2543) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายไว้ 3 ประการ คือ (1) เพื่อจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ (Maximization of Debtor’s Assets) (2) การฟื้นกิจการของลูกหนี้ในกรณีที่เหมาะสม (Reorganization in Appropriate Case) และ (3) การสร้างความเป็นธรรมหรือความเสมอภาคระหว่างบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกัน (Equity Among Creditors)

อาจารย์วิชา มหาคุณ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายระบบสากล 3 ประการ คือ (1) เพื่อให้บุคคลที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยบุคคลร้องขอให้ตนล้มละลาย เพื่อจะได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ (Fresh start) (2) เป็นการยับยั้งบุคคลจากการก่อหนี้โดยไม่รอบคอบ ให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีล้มละลายต่อลูกหนี้ เพื่อให้ศาลเข้าจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ และ (3) กระบวนการล้มละลายกำหนดให้มีการเก็บรวบรวมทรัพย์สินและจัดแบ่งให้แก่เหจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคทั่วหน้ากัน

รองศาสตราจารย์ภูมิ โชคเหมาะ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายไทยไว้ 6 ประการ คือ (1) เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาแก่เจ้าหนี้ในการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (2) เพื่อให้มีการดำเนินการชำระสะสางหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ของลูกหนี้ (3) เพื่อป้องกันมิให้ลูกหนี้ก่อหนี้สินอีกต่อไป โดยจัดให้ลูกหนี้นั้นเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่อาจใช้สิทธิของตนได้เท่าเทียมกับบุคคลอื่น

(4) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแบ่งเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้ (5) เพื่อให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้สินโดยเร็ว และอาจสามารถกลับมาตั้งตัวใหม่ได้ และ (6) เพื่อให้การคุ้มครองสังคมมิให้เกิดความเสียหายจากการที่บุคลล้มละลายอาจก่อหนี้สินต่อไปอีก

รองศาสตราจารย์ภูมิ โชคเหมาะ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการปรับโครงสร้างหนี้ มี 4 ประการ คือ (1) เพื่อช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้ (2) เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการ (3) เพื่อช่วยเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้อย่างเป็นธรรม (Pari passu) และ (4) เพื่อมหาชนทางเศรษฐกิจ หรือ เศรษฐกิจมหาภาค (Public Economics Law)

อาจารย์ไกรสร บารมีอวยชัย กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลาย(ภาคฟื้นฟู) เพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้มากกว่าชำระหนี้ในคดีล้มละลาย และ เพื่อให้กิจการลูกหนี้ดำเนิน ต่อไป ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่า กฎหมายล้มละลายภาคฟื้นฟูก็คือเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจไม่ล้ม

3.8 แนวคิดการป้องกันการล้มละลาย

ปัจจุบันมาตรการหนึ่งของกฎหมายล้มละลายปัจจุบันก็คือ มาตรการในการป้องกันการล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักแนวคิดแบบใหม่ที่กลับจากแนวเดิมในการ "ลงโทษ" (punishment) ลูกหนี้ มาเป็น “การยกโทษให้อภัย” (forgiveness) และต่อมาก็เน้นที่การป้องกันการล้มละลาย (Preventive)เพราะสภาพเศรษฐกิจสังคมโลกในปัจจุบัน หัวใจของระบบเศรษฐกิจที่สำคัญก็คือ

([Online]., Available URL : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=381.0;wap2)

1. “ทุน” (capital) อันเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่สำคัญ แม้ว่าในทางเศรษฐศาสตร์นั้น ทุน จะหมายถึงเพียงแค่สินค้าประเภททุน (real capital) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สินค้าทุน (capital goods) ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องกลที่เป็นเครื่องมือ วัตถุดิบในการผลิต และทุนทางสังคมเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง “ทุน” จะรวมไปถึง สินทรัพย์ (assets)หรือ ทรัพย์สินอย่างอื่น ๆ และ เงินทุน (money capital) ด้วย ฉะนั้น หากปัจจัยการผลิตในส่วนที่เป็นทุนประสบปัญหาในเรื่องการดำเนินกิจการ หรือ เรื่องสภาพคล่องทางการเงิน (liquidity) ของกิจการ ก็อาจทำให้กิจการนั้น ๆ มีปัญหา หยุดเลิก หรือล้มเลิกกิจการหรือล้มละลายได้

2. “หน่วยการผลิต” (Firm) ต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ในการผลิตสินค้า หรือบริการ หากหน่วยการผลิตที่เป็นฝ่าย “ลูกหนี้” มีปัญหาทางด้านการเงินทุน ทำให้ต้องหยุดเลิกกิจการ หรือ ล้มละลายไป ก็จะทำให้มีผลกระทบต่อเนื่องกับกิจการอื่น หรือ ต่อ การจ้างแรงงานในกิจการนั้น ๆ โดยเฉพาะระบบอุตสาหกรรมการผลิตปัจจุบันที่มีการแยกส่วนการผลิตออกเป็นหน่วยผลิตต่าง ๆ มากมาย เช่น การผลิตรถยนต์ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ มักจะไม่เครือข่ายแยกส่วนการผลิตในหลาย ๆ กิจการไป ฉะนั้น หากหน่วยการผลิตมีปัญหา หยุดเลิก หรือล้มเลิกกิจการ ก็จะทำให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมเสียหายได้ และ หากกิจการนั้นเป็นกิจการที่ใหญ่ หรือ เป็นกิจการที่เป็น “รากหญ้า” ของประเทศ ก็จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงได้

มาตรการในการป้องกันการล้มละลาย หรือ มาตรการที่จะทำความเข้มแข็งให้หน่วยการผลิต

ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใด เป็นแนวคิดสมัยใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้กิจการ หรือหน่วยธุรกิจนั้นต้อง “ประสบปัญหา” จนถึงขั้นที่จะต้องดำเนินการตามมาตรการของกฎหมาย ในที่นี้จะขอแยกวิธีการป้องกันการล้มละลายออกเป็น 2 ระยะ คือ

1. ระยะที่กำลังดำเนินกิจการ จะเป็นมาตรการป้องกันการล้มละลายก่อนพระราชบัญญัติล้มละลาย

2. ระยะที่ดำเนินกิจการไปแล้วและเกิดปัญหาทางด้านการเงิน เป็นมาตรการการป้องกันการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย

ในระยะแรกนั้น หากพิจารณาในแง่กฎหมายล้มละลายแล้ว ยังไม่ใช่กระบวนการตามกฎหมายล้มละลาย แต่เป็นเรื่องปกติในการประกอบกิจการธุรกิจโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายเฉพาะเรื่องทั่ว ๆ ไป ไม่เกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายแต่อย่างใด

สำหรับในระยะที่สองนั้น กฎหมายล้มละลายจะเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ใน 2 ระดับ คือ ในระดับแรกการล้มละลาย และ ระดับที่สองยังไม่ให้ล้มละลายแต่อยู่ในการ”ฟื้นฟู”กิจการ ซึ่งในระยะนี้มีปัญหาในการดำเนินกิจการบางอย่างที่ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ หรือ การล้มละลายได้โดยตรง เนื่องจาก ยังไม่ครบเงื่อนไขที่จะต้องขอให้ศาลดำเนินการ “ล้มละลาย” หรือ ขอให้”ฟื้นฟูกิจการ” ได้ เช่น ยอดหนี้สินไม่ถึงยอดตามที่กฎหมายกำหนด หรือ กิจการบางอย่างเช่น บุคคลธรรมดา หรือ ห้างหุ้นส่วนฯ ก็ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการ “ฟื้นฟูกิจการ” ได้ เป็นต้น

ฉะนั้น ในระยะที่สองนี้ จึงมีกระบวนการทางกฎหมายล้มละลายเกิดขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งหากพิจารณาตามหลักกฎหมายพระราชบัญญัติล้มละลายแล้ว ยังมิใช่มาตรการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย แต่ถือได้ว่า เป็น”มาตรการทางปกครอง” ของรัฐหรือฝ่ายปกครองที่จะดำเนินการมิให้เกิดการล้มละลายเกิดขึ้น ได้แก่ มาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล คือ การปรับโครงสร้างหนี้ของสำนักงานปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (สปน.) หรือ มาตรการการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตกร หรือมาตรการตามโครงการแก้ไขหนี้สินภาคประชาชน หรือโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.2553 หรือมาตรการอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่ามาตรการหยุดพักชำระหนี้ หรือมาตรการเสริมอื่นใด อาทิ การลดภาษี การส่งเสริมพัฒนาให้ความรู้หรือส่งเสริมลู่ทางในการค้าการลงทุน เป็นต้น ซึ่งมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้หากเป็นการแก้ไขปัญหา หรือทำให้ “หน่วยผลิต” ได้ประโยชน์จากการมีปัญหาทางการเงิน ก็คือ หลักที่ “กฎหมายล้มละลาย” ได้ยึดถืออยู่แล้วนั่นเอง อันถือได้ว่าเป็น “มาตรการป้องกันการล้มละลาย” ได้ทางหนึ่ง

3.9 มาตรการป้องกันการล้มละลาย

ผู้เขียนขอกำหนดขอบข่ายการศึกษา โดยกำหนดถึงมาตรการป้องกันการล้มละลายให้มากกว่าเดิม ดังนี้

1. การให้สินเชื่อ โดยเฉพาะสถาบันการเงินแก่ธุรกิจ

2. การให้สิทธิประโยชน์ (privilege ) ต่าง ๆ เช่น การลดภาษีต่าง ๆ แก่ หน่วยธุรกิจรัฐ หรือ การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP (Generalized System of Preference)ของต่างประเทศ

3. กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้นอกศาล อื่น ๆ อันได้แก่

3.1 ภายใต้หลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

สำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือ สปน.

3.2 มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน ตามประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2548

3.3 สำนักระงับข้อพิพาทและศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม

3.4 รวมถึงมาตรการอื่น ๆ ของรัฐบาลที่มี เช่น โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ฯลฯ เป็นต้น

4. กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ในศาล อันได้แก่

4.1 ภายใต้กระบวนการกฎหมายบริหารสินทรัพย์ (พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย หรือ บสท. พ.ศ. 2544)

4.2 ภายใต้กระบวนการกฎหมายล้มละลาย (พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)

ซึ่งอาจถือได้ว่ามาตรการตามข้อ 1, 2, และข้อ 3 เป็น “มาตรการทางปกครอง” และ รวมไปถึงมาตรการที่ใกล้เข้าสู่หลักการตามกฎหมายล้มละลาย

3.10 ความหมายของการปรับโครงสร้างหนี้

ในความหมายอย่างกว้างนั้น การปรับโครงสร้างหนี้ คือกระบวนการอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อโครงสร้างหนี้ของ ลูกหนี้ไม่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจของลูกหนี้ในขณะนั้น หรือมีแนวโน้มว่าในอนาคต โครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ซึ่งทำไว้แต่เดิม อาจไม่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจของลูกหนี้ การที่โครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ ไม่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจของลูกหนี้ อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ

(1) ประเภท ของสินเชื่อ และวงเงินสินเชื่อที่ลูกหนี้ขอใช้จากสถาบันการเงินสำหรับธุรกิจของลูกหนี้ ไม่เหมาะสมกับสภาพของธุรกิจ เช่นลูกหนี้ใช้สินเชื่อระยะสั้น (Working Capital) ทั้งที่ข้อเท็จจริงประเภทของธุรกิจ อาจต้องใช้สินเชื่อระยะยาว (Long Term Financing) มากกว่า หรือวงเงินสินเชื่ออาจมากเกินไป หรือน้อยเกินไป...

(2) ลูกหนี้มีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจที่ประกอบอยู่ทำให้ สภาพ และความจำเป็นของสินเชื่อ และหนี้ที่มีอยู่ต่อสถาบันการเงินต้องเปลี่ยนแปลงไป...

ในกรณีดังกล่าว ข้างต้น การปรับโครงสร้างหนี้มักจะทำได้โดยการที่ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ จะตกลงเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญาสินเชื่อที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีสภาพของสินเชื่อ และหนี้ที่เหมาะสมกับสภาพของธุรกิจของลูกหนี้ การปรับ โครงสร้างหนี้ในกรณีนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น “การปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งไม่ใช่กรณีที่ลูกหนี้มีปัญหาสภาพคล่อง”นอกเหนือจากการปรับโครงสร้างหนี้ข้างต้นแล้ว การปรับโครงสร้างหนี้อาจเกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้มีปัญหาสภาพคล่องโดยเฉพาะ อย่างยิ่งการ มีปัญหาสภาพคล่องดังกล่าวอาจเกิดขึ้นเนื่องจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้เป็นการปรับโครงสร้าง หนี้ในแบบหลังนี้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเราอาจเรียกได้ว่าเป็น “การปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งลูกหนี้มีปัญหาสภาพคล่อง” ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้ในแบบนี้ มีความสลับซับซ้อน และเกี่ยวพันกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ([Online]., Available URL : http://www.frdnews.net/index.php?option=com_content&view=article&id=53:2010-05-08-05-57-16)

กล่าวโดยสรุปว่า การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นกระบวนการที่เปิดให้ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ เจรจากันด้วยความสมัครใจ ถึงเงื่อนไขการชำระหนี้ที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของธุรกิจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทั้งลูกหนี้ และเจ้าหนี้ กล่าวคือ

1. ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ และดำเนินธุรกิจต่อไปได้

2. เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างเหมาะสม และเป็นธรรม

วิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทำได้หลายวิธี ได้แก่

1. ลดอัตราดอกเบี้ย

2. ขยายเวลาการชำระหนี้

3. ปรับหนี้ระยะสั้น เป็นหนี้ระยะยาว

4. โอนทรัพย์สินชำระหนี้

5. ลดต้นเงิน และ/หรือดอกเบี้ยค้างรับ

6. การย่นเวลาการชำระหนี้ มีประโยชน์คือดอกเบี้ยลดลง (ร.ศ.ภูมิ โชคเหมาะ)

นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ อีกหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละกิจการสำหรับหลักในการพิจารณาว่าควรจะใช้ (วิธีที่มักนิยมก็คือ การลดจำนวนหนี้ลง หรือที่เรียกว่า Haircut และ การแปลงหนี้เป็นทุน เพราะทำได้ง่ายกว่า : เพิ่มเติมโดยผู้เขียน)

วิธี การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับลูกหนี้และเจ้าหนี้ที่จะหารือกันถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจ รายรับรายจ่ายที่จะเกิดขึ้น ความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต เพื่อหาแนวทางการแก้ไขหนี้ที่เหมาะสม

([Online]., Available URL : http://loveseo.exteen.com/20090510/entry-5)

3.11 หลักเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้

เงื่อนไขสำคัญที่จะทำการปรับโครงสร้างหนี้ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ ที่มีส่วนสูญเสีย หรือไม่มีส่วนสูญเสียได้รับประโยชน์สูงสุด เช่นได้รับยกเว้นภาษี อากรแสตมป์ หรือได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมต่างๆ นั้น จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้าง หนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดด้วย ซึ่งแม้ว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้กับสถาบันการเงิน แต่ทางกรมสรรพกร และกรมที่ดินก็ยอมให้นำมาปรับใช้กับการปรับโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นๆ เช่น เจ้าหนี้ทางการค้า(Trade Creditors) เจ้าหนี้ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินด้วยโดยอนุโลม แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้เป็น การเฉพาะเท่านั้น แต่เดิมนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้ใช้หลักเกณฑ์การปรับปรุงโครง สร้างหนี้เฉพาะ สำหรับหนี้ที่มีปัญหาคือ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีส่วนสูญเสียเกิดขึ้นแก่สถาบันการเงินเท่านั้น แต่ต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ได้ปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้รวมไปถึงการปรับ ปรุงโครงสร้างหนี้ทั่วไป กล่าวคือ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ไม่มีส่วนสูญเสียด้วย

ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่าในปัจจุบันนั้นการปรับโครงสร้างหนี้ไม่ว่าจะ มีส่วนสูญเสียเกิดขึ้นหรือไม่ ก็มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ซึ่งทางการกำหนดให้เช่นเดียวกันแต่ทั้งนี้ จะต้องทำตามรูปแบบ ข้อกำหนด และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดด้วย

3.12 รูปแบบของการปรับโครงสร้างหนี้

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นแนวทางหนึ่งที่ทางการนำมาใช้เพื่อแก้ไข ปัญหาหนี้เสีย หรือ NPLs ในการปรับโครงสร้างหนี้ในปัจจุบันนั้น เพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ (บินหลาดง(นามแฝง), 2553)

1. การปรับโครงสร้างหนี้โดยสมัครใจ

เป็น กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว รวมทั้งมีความสลับซับซ้อนน้อย ที่สุดเนื่องจากไม่มีระเบียบและกฎเกณฑ์ใดๆ มาควบคุม นอกจากใช้หลักของสัญญาทั่วไป (Freedom of Contract principle)เป็นการ ตกลงกันโดยอิสระระหว่างฝ่ายเจ้าหนี้ และฝ่ายลูกหนี้ ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีที่ปรึกษาทางการเงินก็ได้ แต่อย่างน้อยควรจะมีนักกฎหมาย หรือที่ปรึกษากฎหมายช่วยทำหน้าที่ในการเตรียมเอกสารสัญญา หรือบันทึกข้อตกลง ในบางกรณีเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้ง ฝ่ายเจ้าหนี้ และลูกหนี้อาจตกลงร่วมกันเลือกที่ปรึกษากฎหมายเพียงรายเดียวเพื่อเตรียม เอกสารสัญญา หรือบันทึกข้อตกลงในการ ปรับโครงสร้างหนี้ก็ได้แต่ก็ควรจะระวังในเรื่องการขัดผลประโยชน์ (Conflict of Interests) ระหว่างฝ่ายเจ้าหนี้ และฝ่ายลูกหนี้ซึ่งจะทำ ให้ที่ปรึกษากฎหมายทำงานได้ยากลำบากมากขึ้น

การปรับโครงสร้างหนี้โดย สมัครใจเหมาะสมสำหรับกรณีที่เป็นเจ้าหนี้รายเดียว (Single Creditor) หรือเป็นเจ้าหนี้หลายราย(Multiple or Syndicated Creditors) แต่เป็นหนี้ที่ไม่มีความสลับซับซ้อนมากนัก และมักจะเป็นหนี้ขนาดเล็ก หรือขนาดกลางๆ แต่การปรับโครงสร้างหนี้โดยสมัครใจนี้อาจนำไปใช้กับอุตสาหกรรมบางประเภท ตัวอย่าง ของอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จโดยอาศัยการปรับโครงสร้างหนี้โดยสมัครใจ คืออุตสาหกรรมน้ำตาล ซึ่งมีธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทยเป็นตัวกลางในการประสานงาน ซึ่งสามารถปรับโครงสร้างนี้ของกลุ่มโรงงานน้ำตาลจำนวน 30 กว่าโรงงานซึ่งคิดเป็นมูลหนี้จำนวนหลายหมื่นล้านบาท

2. การปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้กระบวนการของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุง โครงสร้างหนี้ ( “ คปน. ” )หรือ The Corporate Debt Restructuring Advisory Committee (“CDRAC”)

เนื่องจากการปรับโครงสร้างหนี้เป็นกระบวน การ สำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ประเทศไทยมีภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเร็วขึ้น รัฐบาลจึงต้องเข้ามามีบทบาทโดยมอบหมายให้ธนาคาร แห่งประเทศไทยเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่างฝ่ายเจ้าหนี้และ ฝ่ายลูกหนี้เพื่อให้การปรับ โครงสร้างหนี้มีผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อภาพพจน์ที่ดีขึ้นของประเทศ และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ในการนี้ ร

(1.) คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ( “ คปน. ” ) หรือ The Corporate Debt Restructuring Advisory Committee (“CDRAC”)

(2.) คณะอนุกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และ

(3.) สำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ( “ สปน. ” ) ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งในธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นตรงต่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย องค์กรทั้ง 3 องค์กรจะเป็นตัวกลางในการประสานงาน และสนับสนุนให้มีการปรับ โครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้รายใหญ่ซึ่งได้รับเลือก หรือสมัครใจเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ของคปน. หรือ CDRAC โดยกำหนดให้สถาบันการเงินทั้งหลายซึ่งมีภูมิลำเนาภายในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้น ในประเทศไทยหรือในต่างประเทศก็ตามรวมทั้งลูกหนี้ รายใหญ่ ซึ่งทางสปน. จะกำหนดให้เข้าร่วมลงนามในสัญญา ระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ (Debtor-Creditor Agreement on Debt Restructuring Process หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า Debtor-Creditor Agreement) และได้กำหนดให้เจ้าหนี้ทั้งหลายลงนามในสัญญาระหว่างเจ้าหนี้ (Inter-Creditor Agreement on Restructure Plan Votes and Executive Decision Panel Procedures หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Inter-Creditor Agreement)ซึ่งสัญญาทั้งสอง ได้กำหนดกติกา ขั้นตอน และกำหนดเวลาในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไว้อย่างเป็นระบบรวม ทั้งกำหนดกระบวนการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างฝ่ายเจ้าหนี้ และฝ่ายลูกหนี้ โดยผ่านผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator) และได้กำหนดกระบวนการของคณะผู้ชี้ขาด (Executive Decision Panel) เพื่อพิจารณาการรับหรือไม่รับแผนในกรณีที่เจ้าหนี้มีมติเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนหนี้ แต่ไม่ถึงสามในสี่ (75%) ตามที่สัญญากำหนด

กล่าวโดยสรุป ก็คือ กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้การดูแลของคปน.หรือ CDRAC นั้น เป็นการกำหนดความผูกพันทางสัญญาระหว่างฝ่ายเจ้าหนี้ และฝ่ายลูกหนี้ เพื่อให้การปรับโครงสร้างหนี้มีกระบวนการที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมมากขึ้นและมีกำหนดเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน ในปัจจุบันนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้กระบวนการของคปน. หรือ CDRAC ทำให้เกิดผลสำเร็จสำหรับหนี้รายใหญ่ๆ ของประเทศ แต่ผลสำเร็จดังกล่าวจะนำมาซึ่งผลสำเร็จในการปรับ โครงสร้างหนี้อย่างแท้จริง และมีผลอย่างต่อเนื่องหรือไม่นั้น ผู้เขียนจะวิเคราะห์ให้เห็นในลำดับต่อไป

3. การปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการของศาลล้มละลาย

กระบวน การปรับโครงสร้างหนี้ในแบบนี้ ถือเป็นกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ที่สลับซับซ้อนมากที่สุดและมีบุคคลที่ เกี่ยวข้อง หลายฝ่ายมากที่สุด แต่ก็เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพที่สุดเช่นเดียวกัน เหตุที่ระบุว่ากระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ในศาลเป็น กระบวนการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็เนื่องจากสาเหตุที่กระบวน การปรับโครงสร้างหนี้ในศาล เป็นกระบวนการปรับ โครงสร้างหนี้แบบเดียวที่มีลักษณะพิเศษ ดังต่อไปนี้

(1.) มีหลักการการห้ามฟ้องร้อง บังคับคดี ดำเนินกระบวนพิจารณา หรือใช้วิธีการใดๆ เพื่อบังคับชำระหนี้ หรือบังคับหลักประกัน หรือ ทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างที่ศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการจนกว่าแผนฟื้นฟู กิจการจะได้รับอนุมัติ หรือจนกว่ากระบวนการ ฟื้นฟูกิจการจะจบลงโดยประการอื่น ซึ่งกระบวนการนี้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ “Automatic Stay”

(2.) กระบวนการบางอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลายาวนานและมีกระบวนการที่ซับซ้อน ตามกฎหมาย เช่น การลดทุนของลูกหนี้เพื่อกำจัดผลขาดทุนสะสม การเพิ่มทุนของลูกหนี้รวมทั้งการแปลงหนี้เป็นทุน สามารถกำหนดไว้ในแผน ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และเมื่อศาลอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวแล้วสามารถดำเนินการลดทุน เพิ่มทุน หรือแปลงหนี้เป็นทุน ได้ทันทีโดยไม่ต้องดำเนินการตามกระบวนการที่สลับซับซ้อน และต้องใช้ระยะเวลานานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าว

(3.) เจ้าหนี้สามารถปล่อยเงินสินเชื่อเพิ่มเติมในระหว่างดำเนินกระบวนการฟื้นฟู กิจการในศาลเพื่อให้ธุรกิจของลูกหนี้สามารถดำเนินไปได้ และเจ้าหนี้ดังกล่าวจะได้รับความคุ้มครองโดยมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้า หนี้อื่นโดยกำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การปรับ โครงสร้างหนี้โดยผ่านกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ทางศาลล้มละลายนี้ เป็นกระบวนการซึ่งฝ่ายเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้จะยื่นคำร้อง ขอฟื้นฟูกิจการต่อศาล และขอให้มีการแต่งตั้งผู้ทำแผน ซึ่งถือเป็นคนกลางในการดำเนินการร่างแผนฟื้นฟูกิจการ และกระทำการแทน ลูกหนี้ระหว่างการร่างแผนฟื้นฟูกิจการนั้น เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้นำเสนอเพื่อรับอนุมัติจากกลุ่มเจ้าหนี้และศาลแล้ว ก็จะดำเนินการ ฟื้นฟูกิจการตามรายละเอียดในแผนฟื้นฟูดังกล่าว โดยมีผู้บริหารแผนเป็นผู้ทำหน้าที่แทนลูกหนี้เพื่อดำเนินการตามแผน ฟื้นฟูกิจการซึ่งได้รับอนุมัติจากศาลจนจบกระบวนการตามที่กำหนดไว้ในแผน ฟื้นฟูกิจการดังกล่าว ซึ่งกระบวนการทั้งหมด อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งสังกัดอยู่กับสำนักฟื้นฟูกิจการ กระทรวงยุติธรรม

4. การปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย หรือ บสท. (Thai Asset Management Corporation – TAMC)

จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินและบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ปรับโครงสร้างหนี้และปรับโครงสร้างกิจการ โดยการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ของสถาบันการเงินและบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย รวมทั้งสิทธิอื่นใดเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันการชำระหนี้สำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพนั้น หรือ โดยการใช้มาตรการอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่การฟื้นฟูเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ

นับตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเงินใน ภูมิภาคเอเชียในปี 2540 ประเทศไทยได้ประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างรุนแรง การเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวส่งผลให้ ค่าเงินบาท อ่อนตัวลงอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสถาบันการเงินและภาคธุรกิจต่อเนื่องเป็น ลูกโซ่ สถาบันการเงินมีภาระการกันสำรองและต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ผลประกอบการยังขาดทุนสูงจากภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและรายรับจากการปล่อย สินเชื่อที่ลดลง เนื่องจากสถาบันการเงิน ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเป็นพิเศษ ส่งผลให้ภาคธุรกิจขาดสภาพคล่อง และไม่สามารถดำ เนินการต่อไปได้อย่างปกติ ด้วยเหตุนี้ ลูกหนี้ของสถาบันการเงินจึงไม่สามารถชำระสินเชื่อได้ ส่งผลให้สิน เชื่อเหล่านี้ได้กลายเป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan - NPL) เป็นจำนวนมาก

กระทรวงการคลังจึงได้แต่งตั้ง "คณะทำงานเพื่อการจัดตั้งสำนักงาน บริหารสินทรัพย์กลาง" เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2544 โดยมีนายทนง พิทยะ เป็นประธาน และมีผู้แทน จากภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการจัดตั้งองค์กรดังกล่าว รูปแบบและโครงสร้างขององค์กร รวมทั้งแนวทางในการบริหารงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

การเกิดขึ้นมาของ บสท. เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินด้อยคุณภาพ หรือ “หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้” (Non-Performing Loan) นับเวลาถึงปัจจุบันเป็นเวลา เกือบ 10 ปีแล้ว และคาดว่า บสท.น่าจะปิดตัวลงในปี 2554 นี้ ([Online]., Available URL : http://www.tamc.or.th/history.php)

3.13 ประโยชน์จากการเข้ากระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ในการเข้าร่วมกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีสิทธิประโยชน์ (Privilege) ต่าง ๆ ตามมาตรการสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ พอสรุปได้แก่

1. สิทธิประโยชน์ทางภาษี

2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

5. ลดค่าธรรมเนียมการโอน และจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์เหลือ 0.01% และไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์

6. การเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันต่างๆ สำเร็จเร็วขึ้น และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

7. ยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดในระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้

8. กรณีมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นจะมีผู้ไกล่เกลี่ยมาช่วยให้การเจรจาสำเร็จได้

([Online]., Available URL : http://loveseo.exteen.com/20090510/entry-5 และดูในธนาคารแห่งประเทศไทย [Online]., Available URL http://www.bot.or.th/)

3.14 สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ธุรกิจ SMEs ของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร

ลักษณะธุรกิจ SMEs ที่กรมสรรพากรอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากรออกกฎหมายเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยมีหลักเกณฑ์ลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง ดังนี้

1. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของ รอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท

2. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน

3. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI

4. เป็น VC (Venture Capital) ที่ถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวร ไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน

5. เป็นกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือต่อรอบระยะเวลาบัญชี ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

หมายเหตุ: การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะกำหนดหลักเกณฑ์ธุรกิจ SMEs ลักษณะใดลักษณะหนึ่งในการให้สิทธิประโยชน์นั้น ๆ เช่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของ รอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ 150,000 บาทแรก หรือบริษัทฯ ที่มีแรงงานไม่เกิน 200 คน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคา ในอัตราเร่ง เป็นต้น ดังนั้น บริษัทใดที่เข้าหลักเกณฑ์ธุรกิจ SMEs หลายลักษณะก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีมากขึ้นตามลักษณะนั้น ๆ (กรมสรรพากร http://www.rd.go.th/)

3.15 แนวทางตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ที่เป็นบริษัทของต่างประเทศ

มีการแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง (วิชา มหาคุณ, Ibid.,2548)

(1) แนวทางที่สนับสนุนการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้อย่างเต็มที่ เรียกว่า กระบวนการฟื้นฟูกิจการที่เข้มแข็ง (Tough Proceeding) เช่น ประเทศฝรั่งเศส ภายใต้หลัก Redressment Judiciaire ตามรัฐบัญญัติเมื่อวันที่ 25 มกราคม 1985 ประเทศแคนาดา ภายใต้หลัก The Commercial Reorganisation ตามกฎหมายชื่อ The Bankruptcy and Insolvency Act 1992, ประเทศอิตาลี ภายใต้หลัก The Extraordinary Administration ในปี 1979, ประเทศนิวซีแลนด์ ภายใต้หลัก The Statutory Management ตามกฎหมายชื่อ The Corporation (Investigation and Management Act) 1989 และประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้ Chapter 11 ของกฎหมายชื่อ The Bankruptcy Code of 1978 อันเป็นกฎหมายของสหพันธ์ (Federal State)

(2) แนวทางที่เปิดโอกาสให้ลูกหนี้ฟื้นฟูกิจการได้ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดซึ่ง เรียกว่า กระบวนการฟื้นฟูกิจการอย่างอ่อน (Mild Proceeding) เช่น ประเทศออสเตรเลีย ภายใต้หลัก The Voluntary and Deed Company Arrangement ตามกฎหมาย The Corporate Law Reform Act 1992 ประเทศอังกฤษ ภายใต้หลัก Administration ตามกฎหมายชื่อ Insolvency Act 1986, ประเทศสิงคโปร์ ภายใต้หลัก The Judicial Management ตามกฎหมายชื่อ The Company (Amendment) Act 1987, ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้หลัก The Corporate Rehabilitation ตามกฎหมายชื่อ The Corporate Rehabilitation Law of 1952 และประเทศเสปน ภายใต้หลัก ตามกฎหมายชื่อเดียวกันในปี 1922

สำหรับกระบวนการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ของประเทศไทย น่าจะอยู่ในแนวทางที่เปิดโอกาสให้ลูกหนี้ฟื้นฟูกิจการได้ภายใต้เงื่อนไขอันจำกัด เพราะยังมิได้สนับสนุนให้เกิดการฟื้นฟูกิจการอย่างเข้มแข็ง (Tough Proceeding) ตามแนวทางแรก ดังเช่น วิธีการของประเทศสหรัฐอเมริกา ตาม Chapter 11

3.16 โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ พ.ศ. 2544 ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน 2544 ขึ้น โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ หรือเรียกโดยย่อว่า กอ.นตผ ซึ่งฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มอบ หมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธานกรรมการ และให้ คณะกรรมการ กอ.นตผ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทการดำเนินงาน“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” กำหนดมาตรฐานและ หลักเกณฑ์การคัดเลือกและขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบลรวมทั้งสนับสนุนให้ การ ดำเนินงานเป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนแม่บท อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือเรียกสั้นๆว่า โอทอป (OTOP) มีการริเริ่มขึ้นในสมัยที่พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเป็นโครงการที่รัฐบาลส่งเสริมให้ชาวบ้านในแต่ละตำบลสร้างอาชีพในการผลิตสินค้า เพื่อออกจำหน่าย โดยสร้างสินค้าที่เป็นสินค้าประจำตำบลนั้นๆ (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

3.17 วิสาหกิจชุมชน

“วิสาหกิจชุมชน” ( Small and Micro Community Enterprise – SMCE ) คือ การประกอบการเพื่อการจัดการ “ทุน” ของชุมชนอย่างสร้างสรรค์เพื่อการพึ่งตนเอง กล่าวอย่างง่าย “วิสาหกิจชุมชน” เป็นการทำธุรกิจร่วมกันในรูปของชุมชนนั่นเอง

วิสาหกิจชุมชน หมายถึง

- คนหลายคน (มากกว่า 5 ) ในชุมชน ( Many People)

- มีข้อตกลงร่วมกัน ( Agreement )

- ประกอบธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน ( One Product )

(โครงการบริการข้อมูลในคลินิกเทคโนโลยี, 2547)

“วิสาหกิจชุมชน” (Small and Micro Community Enterprise - SMCE) หมายถึง การประกอบการขนาดเล็กขนาดจิ๋ว ที่ชุมชนหรือองค์กรชุมชนร่วมกันดำเนินการเพื่อจัดการทุนชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์เพื่อการพึ่งตนเอง อาจเป็นการผลิต การแปรรูป การจัดการตลาด ทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม การบริการ เช่น การท่องเที่ยว สุขภาพ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการออมทรัพย์และการจัดสวัสดิการชุมชน (เสรี พงศ์พิศ, 2547)

“วิสาหกิจชุมชน” (Small and Micro Community Enterprise – SMCE) หมายถึง กิจการชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกัน และรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใด หรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน (มาตรา 3 พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548)

“เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน” (Cluster) หมายถึง คณะบุคคลที่รวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเครือข่าย

(มาตรา 3 พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548)

3.18 วิสาหกิจขนาดกลางหรือวิสาหกิจขนาดย่อม

“วิสาหกิจ” (Enterprise) ตามพจนานุกรมหมายความว่า การประกอบการที่ยาก สลับซับซ้อนหรือเสี่ยงต่อการขาดทุน ล้มละลาย (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน) แต่ตามพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติให้ความหมายว่า “การประกอบกิจการเพื่อหารายได้” (วิชา มหาคุณ, Ibid.,2548)

“วิสาหกิจ” หมายความว่า กิจการผลิตสินค้า กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง กิจการค้าปลีก หรือกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 3 พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543)

“วิสาหกิจขนาดกลางหรือวิสาหกิจขนาดย่อม” (Small and Medium Enterprises หรือ SMEs) ได้แก่ วิสาหกิจที่มีจำนวนการจ้างงานมูลค่าสินทรัพย์ถาวร หรือทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา 4 พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543)

สรุปวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หมายถึง กิจการด้วยจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวร ดังนี้

ประเภท ขนาดย่อม ขนาดกลาง

จำนวน/(คน) สินทรัพย์ถาวร(ล้านบาท) จำนวน (คน) สินทรัพย์ถาวร (ล้านบาท)

กิจการการผลิต ไม่เกิน 50 ไม่เกิน 50 51-200 เกินกว่า 50 - 200

กิจการบริการ ไม่เกิน 50 ไม่เกิน 50 51-200 เกินกว่า 50 - 200

กิจการค้าส่ง ไม่เกิน 25 ไม่เกิน 50 26-50 เกินกว่า 50 - 100

กิจการค้าปลีก ไม่เกิน 15 ไม่เกิน 30 16-30 เกินกว่า 30 - 60

ที่มา : กฎกระทรวง กำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2545 และ มาตรา 4 พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543

3.19 วิสาหกิจรายย่อย

“วิสาหกิจรายย่อย” (Micro Enterprises : MEs) หมายถึง วิสาหกิจที่มีการจ้างงานไม่เกิน 5 คน และไม่จดทะเบียนพาณิชย์

นิยามวิสาหกิจรายย่อยของประเทศไทย ยังมิได้มีการให้คำจำกัดความอย่างเป็นทางการดังเช่นนิยามของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งจากการพิจารณาคำจำกัดความของต่างประเทศ ข้อมูลสถิติทั้งจำนวนและการจ้างงานของวิสาหกิจในประเทศไทย รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจและการจดทะเบียนพาณิชย์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) จึงได้กำหนดนิยามเบื้องต้นของวิสาหกิจรายย่อยของประเทศไทยไว้ดังข้างต้น และ หากพิจารณาจากนิยามของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า วิสาหกิจรายย่อย (Micro Enterprises) เป็นส่วนหนึ่งของวิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprises : S) ทั้งนี้ วิสาหกิจขนาดย่อมที่ไม่รวมวิสาหกิจรายย่อย เรียกว่าวิสาหกิจขนาดเล็ก

(สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.), รายงานสถานการณ์วิสาหกิจรายย่อย ปี 2552, 2553)

บทที่ 4

บทวิเคราะห์

บทนี้จะทำการวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายและอุปสรรคต่าง ๆ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม ในการป้องกันการล้มละลายของวิสาหกิจรายย่อย (Micro Enterprise : ME) กล่าวคือเป็นวิสาหกิจขนาดเล็ก ๆ ซึ่งตามความหมายในกฎหมายไทย หมายถึง “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” (SMEs)

ในการวิเคราะห์จะศึกษาด้านเศรษฐกิจสังคมประกอบไปด้วย เพราะกฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจส่วนรวม (Macroeconomics) ซึ่งต้องอิงกับระบบสินเชื่อหรือระบบเครดิต (Credit System) กฎหมายล้มละลายจึงมีความสำคัญในการสร้างหลักประกันความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการค้าหรือนักลงทุน กฎหมายล้มละลายจึงมีความสำคัญในการช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบเศรษฐกิจ

ผู้เขียนมีกรอบในการวิเคราะห์ปัญหาว่า ต้องวิเคราะห์ปัจจัยที่อยู่แวดล้อม หรือ “สภาพแวดล้อม” (Environment) ซึ่งเป็นปัจจัยทุกปัจจัย ที่มีผลกระทบ เพราะหากเปรียบองค์กรต่าง ๆ ในเชิงระบบ (System) แล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น

4.1 สถานการณ์เศรษฐกิจโลกปัจจุบันภายใต้ WTO

นับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 (1980’s) เป็นต้นมา กระแส “โลกาภิวัตน์” (Globalization) ได้แผ่ขยายไปทั่วทุกมุมโลก ประกอบกับประเทศสหรัฐอเมริกาโดยนายจอร์จ บุช(ผู้พ่อ) ได้ประกาศการจัดระเบียบโลกใหม่ (New World Order) เมื่อวันที่ 11 กันยายน 1990 (พ.ศ.2533)ใน 5 เรื่อง (issues) ที่สำคัญ คือ (1) เรื่องความเป็นประชาธิปไตย (Democracy) (2) เรื่องสิทธิมนุษยชน (Human Right) (3) เรื่องสภาพแวดล้อม (Environment) (4) เรื่องการค้าเสรี (Free Trade) และ (5) เรื่องลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร (Copyright) (อิศราวดี, 2552)

ประกอบกับความก้าวหน้าทางข่าวสารเทคโนโลยี ( Information Technology) ตามทัศนะของ Alvin Toffler (1980) (ปรเมศวร์ กุมารบุญ, 2550) เห็นว่า โลกปัจจุบันเป็น “ยุคแห่งข่าวสาร” ซึ่งเป็น “คลื่นลูกที่สาม” (Third wave) อันเป็นผลต่อเนื่องมาจาก “คลื่นลูกที่หนึ่ง” (ยุคสังคมแบบการเกษตร) และ “คลื่นลูกที่สอง” (ยุคสังคมแบบการผลิตอุตสาหกรรม) มีการแพร่ขยายของลัทธิบริโภคนิยม (Consumerism) ซึ่งเน้นการผลิตเพื่อการบริโภค เพื่อการพาณิชย์ การค้าขาย มิใช่เพื่อการยังชีพ หรือ การพออยู่พอกินตามอัตภาพ เหมือนดังแต่ก่อน ฉะนั้น แนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับ “การค้าเสรี” จึงมีอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์อยู่มาก ฉะนั้น ระบบเศรษฐกิจโลกรวมถึงระบบเศรษฐกิจไทย ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องอยู่ในกระแสอิทธิพลของกระแส “โลกาภิวัตน์” นี้

มีการกล่าวกันว่าระบบเศรษฐกิจโลกปัจจุบันนี้ เป็นเรื่องของ “การค้าที่จัดการโดยบรรษัทข้ามชาติ” (Corporate Managed Trade) ซึ่งแผ่ขยายมาพร้อมกับการขายตัวของเขตการค้าเสรี ตามกฎเกณฑ์ของ WTO กลับส่งเสริมโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจที่เรียกได้ว่า "การค้าที่จัดการโดยบรรษัทข้ามขาติ" (Corporate Managed Trade) ให้กลายเป็นระบบการปกครองโลกในรูปแบบใหม่ขึ้น ผู้ชนะที่แท้จริงคือบรรษัทข้ามชาติและธุรกิจขนาดใหญ่ที่ได้ผลประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ ส่วนผู้แพ้คือประชาชนทั้งในประเทศที่ร่ำรวยและยากจน (Lori Wallach and Michelle Sforza, 1999)

แม้ว่าไทยจะตกลงการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ แต่จากข้อมูลของ สถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่า ช่วงครึ่งแรกของปี 2553 ผู้ส่งออกไทยใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีเอฟทีเอยังถือว่าน้อยมาก คิดเป็นเพียงร้อยละ 54 ในการส่งออก และ ร้อยละ 63.8 ในการนำเข้า ไม่ว่าจะเป็น AFTA(เขตเสรีอาเซียน) TAFTA(เขตเสรีไทยออสเตรเลีย) ACFTA (เขตเสรีอาเซียนจีน) TIFTA (เขตเสรีไทยอินเดีย) AJCEP (หุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียนญี่ปุ่น) AKFTA (เขตเสรีอาเซียนเกาหลีใต้) AIFTA (เขตเสรีอาเซียนอินเดีย) AANZFTA (เขตเสรีอาเซียนออสเตรเลียนิวซีแลนด์) (ข้อมูล TDRI.,2 มกราคม 2554)

4.2 ภาพรวมระบบเศรษฐกิจโลก 40 ปีข้างหน้า

ในปี ค.ศ.2050 หรือ ปี พ.ศ.2593 คือ ในอีก 40 ปีข้างหน้า ระบบเศรษฐกิจโลกจะเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ สหรัฐฯและยุโรป ซึ่งในปัจจุบันเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก ในอนาคตจะสูญเสียสถานะดังกล่าว โดยการผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ จากเอเชียและลาตินอเมริกา ในปี 2050 60% ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G20 จะมาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ 5 ประเทศเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ บราซิล จีน อินเดีย รัสเซีย และเม็กซิโก อย่างไรก็ตาม ในอีก 40 ปี ข้างหน้า GDP ต่อหัว ของประเทศเหล่านี้จะยังคงต่ำกว่ากลุ่มประเทศร่ำรวยเดิม คือ กลุ่มประเทศ G7 อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะกระทบอย่างมากต่อระเบียบเศรษฐกิจโลก การปฏิรูปกลไกเศรษฐกิจโลกจาก G8 มาเป็น G20 ได้เริ่มชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของระเบียบเศรษฐกิจโลกในอนาคต (ประภัสสร์ เทพชาตรี , 2553)

มีนักวิชาการกล่าวว่าประเทศไทยเป็นประเทศ “เสรีนิยมใหม่”(Neo-Liberalism) หรือระบบอิสรเสรีนิยม ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2544-2549) ได้นำแนวคิดของ เฮอนานโด เดอ โซโต (Hernando De Soto) นักเศรษฐศาสตร์ชาวเปรู เกี่ยวกับ “ทุนที่ตายแล้ว” (dead capital) และภาคธุรกิจใต้ดินมาประยุกต์เป็นนโยบาย “แปลงสินทรัพย์เป็นทุน” อันเป็นนโยบายสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน (เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร , 2551.) นอกจากนี้ยังมีการเก็งกำไรที่ดิน อันเป็น “ทุน” ปัจจัยการผลิตหนึ่งที่สำคัญด้วย การเก็งกำไรที่ดินเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับแต่ปี 2530 เป็นต้นมา ด้วยเหตุผลสำคัญเพื่อเพิ่มมูลค่าที่ดินและเพิ่มมูลค่าการซื้อขายที่ดิน (พงษ์ทิพย์ สำราญจิตต์, 2553)

สรุปโดยรวมว่า กระแสระบบเศรษฐกิจโลกโลกาภิวัตน์ปัจจุบันทำให้ประเทศไทยต้องตกอยู่ในวังวนของระบบเศรษฐกิจโลกเสรี คือ “ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม หรือระบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) โดยเฉพาะเรื่องเขตการค้าเสรี (Free Trade Area -FTA) ที่มีการแข่งขันด้านการตลาด เน้นการผลิตเพื่อการพาณิชย์ มิใช่เพื่อการบริโภคเพียงอย่างเดียว มีการผลิตพืชผลเชิงอุตสาหกรรม มิใช่ผลิตเชิงเดี่ยว ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ที่ตามมา

4.3 วิกฤติการณ์ “ต้มยำกุ้ง”

Tom Yum Kung Crisis หมายถึง สภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจของไทย หรือที่ต่างประเทศเรียกกันว่า วิกฤติการณ์การเงินเอเชีย ( Asian financial crisis ) และบางประเทศแถบเอเชียเมื่อปี 2540 เมื่อ 2 กรกฎาคม 2540 ไทยต้องลดค่าเงินบาท ประเทศขาดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ เงินไหลออก นักลงทุนต่างชาติไม่เชื่อมั่นต่อความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศของไทย โดยเฉพาะภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) จนเกิดวิกฤติที่เรียกว่า วิกฤติต้มยำกุ้ง (Tom Yum Kung Crisis) หรือที่ต่างประเทศเรียกกันว่า วิกฤติการณ์การเงินเอเชีย ( Asian financial crisis ) จุดศูนย์กลางแหล่งกำเนิดวิกฤติ อยู่ที่ประเทศไทย เพราะเดือน กันยายน 2535 มีการเปิด BIBF (Bangkok International Banking Facility) หรือ “วิเทศธนกิจแห่งกรุงเทพฯ” เป็นหน่วยงานตัวกลางในการระดมเงินทุนจากต่างประเทศไปสู่ที่ที่ต้องการลงทุน ทำให้เงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาเพื่อลงทุน ทั้งระยะสั้นระยะยาวเจ้าของกิจการ บริษัท สามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก จนบางคนหัวใส แทนที่จะนำเงินเหล่านั้น มาลงทุนสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า กลับนำเงินมาลงทุนในตลาดหุ้น เก็งกำไร อสังหาริมทรัพย์ จนราคาบ้านที่ดิน เป็นทองคำกันเลยในเวลานั้น แถมบางคนบอกว่า เอาเงินกู้ไปฝากแบงค์ยังได้กำไรเลย แต่ทุนนิยม วัฒนธรรมการเก็งกำไร ทำมาหากินด้วยหลักการเงินต่อเงิน ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจที่แท้จริง มันย่อมถึงวันล่มสลาย

([Online]., Available URL : api.ning.com/files/JuEU16co2QzdIbbZ2.../TomYumK..JEAB.doc

4.4 วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2540

มีผู้วิจารณ์ประเทศไทยปี 2540 มีปัญหาวิกฤติอยู่ 3 วิกฤติ คือ (1) วิกฤติค่าเงิน (2) วิกฤติธนาคาร และ (3) วิกฤติหนี้ระหว่างประเทศ โดยเกิดจากปัจจัยที่เป็นเศรษฐศาสตร์ และ ปัจจัยที่มิใช่เศรษฐศาสตร์ ([Online]., Available URL : http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=429669&Ntype=120)

วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์ คือ

1. พฤติกรรมของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน

1.1 การจัดหาแหล่งเงินทุนและการบริหารสินเชื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่รัฐบาลอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนทำธุรกรรม BIBF (วิเทศธนกิจ) แต่แทนที่สถาบันการเงินจะระดมเงินทุนจากเงินฝากภายในประเทศ กลับนิยมกู้เงินจากต่างประเทศมาปล่อยกู้ในประเทศ เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำและต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก รวมทั้งไม่ต้องกังวลเรื่องความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนพฤติกรรมของสถาบันการเงินดังกล่าวทำให้สัดส่วนหนี้ต่อทุนอยู่ในระดับสูง ทำให้เกิดความเสี่ยงในการบริหารสภาพคล่อง และเกิดความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ประกอบกับสถาบันการเงิน ปล่อยสินเชื่อกระจุกตัวอยู่ในตลาดที่มีสภาพฟองสบู่ในระดับสูง คือ ตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น ดังนั้น เมื่อเกิดวิกฤตในตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น จึงมีผลกระทบต่อสภาพคล่องของสถาบันการเงิน รวมทั้งนำไปสู่การสะสมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินในที่สุด

1.2 พฤติกรรมของผู้บริหารสถาบันการเงินที่มีการบริหารงานในลักษณะที่คอร์รัปชั่น โดยการช่วยเหลือญาติพี่น้องหรือนักการเมืองด้วยการให้สินเชื่อในกลุ่ม ผู้บริหาร ญาติ ธุรกิจในเครือมากเกินไป หรือให้สินเชื่อในโครงการที่มีผลตอบแทนต่ำ การตกแต่งบัญชี หรือการสร้างลูกหนี้ปลอม

2. พฤติกรรมการระดมทุนของธุรกิจ

เกิดขึ้นเนื่องจากมีความผิดพลาดในการระดมทุน คือมีการกู้มาก จากทั้งในประนอกประเทศ ทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนสูง ทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ธุรกิจยังได้นำเงินกู้มาลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนระยะยาว ธุรกิจบางธุรกิจ เช่น อสังหาริมทรัพย์กู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนเป็นสกุลภายในประเทศ โดยไม่มีการประกันความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เพราะเชื่อมั่นว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะยึดมั่นกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้บริษัทอยู่ในสภาพความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะเมื่อการส่งออกหดตัว ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและเจ้าหนี้ต่างประเทศลดลง จึงทำให้ธุรกิจล้มละลายนำไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกในที่สุด

3. ธนาคารแห่งประเทศไทยบกพร่องในการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน การเปิดเสรีทางการเงินโดยให้สถาบันการเงินสามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้ง่าย ดังนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมีระบบการตรวจสอบสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

4.5 การเริ่มฟื้นตัวของไทย “จากเศรษฐกิจชุมชน”

เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 - 2544 เป็นต้นมา เมื่อเอ่ยถึง “โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” (One Tambon One Product) หรือ คำย่อภาษาไทยว่า “นผต.” หรือเรียกสั้นๆเป็นภาษาอังกฤษว่า โอทอป (OTOP) หลายคนจะคุ้นเคยและนึกไปถึงสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะมาจากแหล่งจากชุมชนต่าง ๆ ของประเทศ อันเป็นต้นตอของคำว่า “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” (Small and Medium Enterprises = SMEs) (ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543) ซึ่งเป็นคำเรียกสถานประกอบการหรือกลุ่มของกิจการที่เล็ก ๆ อันเป็นหัวใจของประเทศ เพราะการเริ่มต้นของกิจการมักจะเริ่มต้นที่ขนาดเล็ก ๆ มาก่อน รัฐบาลจึงได้มีการส่งเสริม “วิสาหกิจชุมชน” (Small and Micro Community Enterprises = SMCEs) ขึ้น ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 อันถือได้ว่า “วิสาหกิจชุมชน” เป็นกิจการที่เริ่มมาจาก “ชุมชน” อันเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า (Grassroots) หรือในระดับ “รากแก้ว” เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ตามหลักการ “เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficient Economy)

อาจถือได้ว่า ผลิตภัณฑ์จากชุมชน (OTOP) ได้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับ“วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” (Small and Medium Enterprises = SMEs) แต่เนื่องจาก SMEs มีลักษณะเป็นธุรกิจที่เป็นสถานประกอบการ ซึ่งต่อมาจึงได้มี “วิสาหกิจชุมชน” หรือ SMCEs ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ทั้ง OTOP SMEs SMCEs อาจถือได้ว่า ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากชุมชนด้วยกัน

จากสถานการณ์การเมืองหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณฯ ได้พ้นจากตำแหน่ง ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนโครงการเดิมของรัฐบาล เช่น ได้เปลี่ยนชื่อ สินค้า “โอทอป” หรือ “ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็น “ผลิตภัณฑ์ชุมชน” โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่า เป็นการเปลี่ยนชื่อเพื่อการตลาด ซึ่งมองว่า ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่การเปลี่ยนชื่ออาจมีต้นเหตุมากจาก “อคติ” มากกว่า

ข้อมูลปี 2551 พบว่ามี วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่อนุมัติจดทะเบียนแล้ว คือ วิสาหกิจชุมชน(แห่ง)/สมาชิก(ราย) 59,490/1,001,687 และ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน(แห่ง)/สมาชิก(ราย) 216/3,672 (สรุปผลการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร 30 ธันวาคม 2551 ([Online]., Available URL : http://smce.doae.go.th/ProductCategory/)

ข้อมูลปี 2543 พบว่า มีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จำนวน 524,960 ราย มีการจ้างงานรวม 6.6 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของกำลังแรงงานของประเทศ นอกจากนี้ ผลผลิตของ SMEs มีมูลค่าเท่ากับ 2.06 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของผลผลิตมวลรวมของประเทศ (GDP) โดยมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 6.7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.31 ของการส่งออกรวม (อ้างจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย)

ข้อมูลปี 2546 พบว่า ไทยมี SMEs อยู่ประมาณ 850,000 แห่ง SMEs มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องมาตลอด SMEs มีความสำคัญหลายประการ อันแรกคือเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญที่สุด วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม เป็นองค์ประกอบที่มีปริมาณสูงถึง ร้อยละ 99 ของธุรกิจในประเทศ สัดส่วนของ SMEs ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2543 SMEs ก่อให้เกิดมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประมาณ 2.1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศ SMEs ในปี 2542 มีการจ้างงานในภาคการผลิตจำนวน 1.9 ล้านคน (ขนาดกลาง 0.4 ล้านคน และขนาดย่อม 1.5 ล้านคน) ในภาคการค้าจำนวน 2.5 ล้านคน (ขนาดกลาง 0.1 ล้านคน และขนาดย่อม 2.4 ล้านคน) และภาคการบริการจำนวน 2.2 ล้านคน (ขนาดกลาง 0.4 ล้านคน และขนาดย่อม 1.8 ล้านคน) ตามลำดับ รวมจำนวนแล้วได้ทั้งหมด 6.6 ล้านคน ซึ่ง จะเห็นว่า SMEs ไทยมีศักยภาพ และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

(ข้อมูล ปี 2546 http://www.mfa.go.th/web/showStatic.php?staticid=1120&Qsearch=)

4.6 จุดเริ่มของวิสาหกิจรายย่อย (Micro Enterprises)

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ศึกษาข้อมูลของ วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม หรือ SMEs แล้วพบว่า ยังมี SMEs ที่เป็น วิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprise : S) ซึ่งมีขนาดเล็กมาก แยกเป็น สองประเภท คือ (1) วิสาหกิจขนาดเล็ก และ (2) วิสาหกิจรายย่อย (Micro Enterprise : MEs) โดยเฉพาะพบว่า ข้อมูลปี 2552 วิสาหกิจรายย่อย (Micro Enterprise : MEs) มีสัดส่วนที่ในวิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprise : S) ที่มากกว่าวิสาหกิจขนาดเล็กถึงร้อยละ 65.7 ต่อ 34.3

เมื่อพิจารณาข้อมูล “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)” เปรียบเทียบกับข้อมูล “วิสาหกิจขนาดเล็ก” “วิสาหกิจรายย่อย” (MEs)และ “วิสาหกิจชุมชน(SMCEs)” ในปี 2551-2552 จะเห็นได้ว่า วิสาหกิจประเภทดังกล่าวมีฐานกำลังผลิตและฐานการจ้างงานที่มีปริมาณที่สูงมาก ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นฐานกำลังสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ กล่าวคือ SMEs จำนวนการจ้างงานประมาณ 8.26 ล้านคน (ข้อมูลปี 2552) SMCEs จำนวนการจ้างงานประมาณ 1 ล้านคน (ข้อมูลปี 2551) และมี SMEs จำนวน 2.89 ล้านแห่ง ในจำนวนนี้จะเป็น วิสาหกิจขนาดเล็ก 0.98 ล้านแห่ง และเป็น วิสาหกิจรายย่อย หรือ Micro Enterprise หรือ MEs จำนวน 1.89 ล้านแห่ง (การจ้างงานเท่ากับ 3.15 ล้านคน) ซึ่งในจำนวนนี้จะเป็น วิสาหกิจชุมชน หรือ SMCEs จำนวน 59,490 แห่ง (SMCEs บางรายอาจมีลักษณะเป็น MEs) เมื่อคิดในภาพรวม SMCEs กับ MEs เข้าด้วยกัน โดยอัตราคร่าว ๆ รวมกันได้จำนวน 1.89 ล้านแห่ง และมีจำนวนการจ้างงานรวมกัน เท่ากับ 3.15 ล้านคน ถือได้ว่ามีจำนวนมากทีเดียว (ข้อมูล สสว.ปี 2552 และข้อมูลกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2551)

อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ จะเน้นการศึกษาที่ “วิสาหกิจรายย่อย (MEs)” อันถือว่าเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับฐานราก หรือระดับรากหญ้า (Grassroots) ซึ่งกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยในระดับชุมชน (Community or Local) เป็นจำนวนมาก ถึง 1.89 ล้านหน่วยผลิต (แห่ง) และ มีการจ้างงานจำนวน 3.15 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็กมาก (ตามนิยามของ สสว.ก็คือ วิสาหกิจรายย่อย หรือ MEs หมายถึง วิสาหกิจที่มีการจ้างงานไม่เกิน 5 คน และไม่จดทะเบียนพาณิชย์)

4.7 ความสำคัญของ SMEs ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ในระบบเศรษฐกิจต่างๆ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะมีอยู่เป็นจำนวนมากและกระจายตัวอยู่ทั่วไปในประเทศ SMEs จึงมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างน้อย 4 ด้านคือ (http://www.lawreform.go.th/lawreform/images/th/content/th/251/7630.htm)

1. การสร้างงานใหม่และเพิ่มการแข่งขันในตลาด SMEs โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดย่อมเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นได้ง่าย ใช้เงินทุนไม่สูงและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในวิสาหกิจขนาดใหญ่ ตลอดจนมีความคล่องตัวในการดำเนินการ จึงเป็นจุดกำเนิดของผู้ที่สนใจลงทุนเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ โดยเฉพาะยามเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ คนที่ว่างงานสามารถหันมาเริ่มต้นวิสาหกิจขนาดย่อมได้ง่าย นอกจากนี้ การที่มี SMEs เข้าสู่ตลาดยังช่วยเพิ่มระดับการแข่งขันในตลาดมากขึ้น ลดการผูกขาด จึงส่งผลให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในสินค้าและบริการต่างๆ มากขึ้น

2. การเชื่อมโยงกับวิสาหกิจขนาดใหญ่ SMEs มีส่วนช่วยเหลือและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดใหญ่ในหลายด้าน เช่น การรับช่วงการผลิต การช่วยในการจัดจำหน่ายสินค้าค้าส่งและค้าปลีกแก่ผู้บริโภค การเป็นผู้ผลิตปัจจัยการผลิตให้กับวิสาหกิจขนาดใหญ่ หรือการทำหน้าที่ให้บริการเสริมให้วิสาหกิจขนาดใหญ่ เช่น การซ่อมแซม การทำความสะอาด เป็นต้น

3. การรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ SMEs มักมีความยืดหยุ่นในการปรับตัว และมีความหลากหลาย ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจที่มี SMEs ที่แข็งแกร่งจำนวนมากอย่างเช่นไต้หวันจึงสามารถปรับตัวในช่วงเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจเอเชียปี ค.ศ.1997 ได้ดีกว่าเกาหลีใต้ซึ่งมีวิสาหกิจขนาดใหญ่เป็นวิสาหกิจหลัก

4. การกระจายการพัฒนาไปทั่วประเทศ SMEs มักมีลักษณะการจัดตั้งกระจัดกระจายไปตามชุมชนในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ จึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการกระจายความเจริญเติบโตของชุมชนต่างๆ

4.8 ไทยประกาศชำระคืนหนี้งวดสุดท้ายไอเอ็มเอฟ

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ชำระหนี้คืนไอเอ็มเอฟก้อนสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 ประมาณ 60,000 กว่าล้านบาท โดยไอเอ็มเอฟร่วมกับธนาคารกลางและกระทรวงการคลังของ 8 ประเทศ และประเทศญี่ปุ่นได้อนุมัติวงเงินให้ไทยกู้เป็นเงิน 14,500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ได้มีการเบิกใช้จริง 12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 510,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลชุดก่อนได้ใช้หนี้ไปแล้ว 10,000 ล้านบาท เหลือหนี้ทั้งหมด 500,000 ล้านบาท รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณฯได้เข้ามาทำงาน 2 ปีครึ่ง ได้ชำระหนี้คืนทั้ง 500,000 ล้านบาทหมด ทำให้ถือว่าไทยหมดพันธะต่อการที่ต้องพึงปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีไว้ต่อไอเอ็มเอฟ

(ข่าว Thailand Economic News 2009 [Online]., Available URL : http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=780092

4.9 สถานการณ์สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของไทยปัจจุบัน

วิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ทำให้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินไม่สามารถชำระสินเชื่อได้ ส่งผลให้กลายเป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans - NPLs) เป็นจำนวนมาก โดย มี NPLs สูงสุดจำนวน 2.7 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 47.7 ของสินเชื่อรวมของสถาบันการเงิน ณ สิ้น เดือนพฤษภาคม 2542

ข้อมูล NPLs ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ยังมีจำนวนสูงถึง 1.35 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.8 ของสินเชื่อรวมของสถาบันการเงิน เนื่องจากมี NPLs เกิดขึ้นใหม่หรือย้อนกลับมาในระบบ

(ข้อมูล บสท. [Online]., Available URL : http://www.tamc.or.th/history.php)

ข้อมูล NPLs ณ ไตรมาสที่สองปี 2553 มียอดคงค้าง 3.56 แสนล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 1.5 หมื่นล้านบาท จากการรับชำระคืนหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการขายหนี้ เป็นสำคัญ ทำให้สัดส่วนต่อสินเชื่อรวมลดลงทั้ง gross NPLs และ net NPLs เหลือร้อยละ 4.4 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ โดยสัดส่วน NPLs ของสินเชื่อภาคธุรกิจลดลงจากร้อยละ 5.0 เหลือร้อยละ 4.9

(ข้อมูลกรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 5 สิงหาคม 2553 [Online]., Available URL : http://www.bangkokbiznews.com/)

จากข้อมูลจะเห็นว่า ยอด NPLs ของไทยยังคงมีค้างอยู่ 3.56 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.8 ของยอดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ซึ่งนับว่าเป็นยอดที่ค่อนข้างสูงมาก

4.10 สถานการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth)

GDP (Gross Domestic Product) หมายถึง ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ซึ่งหมายถึงมูลค่าตลาดทั้งหมดของสินค้าและการบริการในประเทศในหนึ่งปี ได้มาจากผลรวมของการบริโภค(C) การลงทุน(I) การใช้จ่ายของรัฐบาล (G) การส่งออก (E) และ หักด้วย การนำเข้า (M) เขียนเป็นสมการได้ว่า GDP = C + I + G + (X-M) (เสรี พงศ์พิศ, 2547,Ibid.)

จากข้อมูล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ไทยมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยต่อปี (annual percentage change) และ อัตราร้อยละการว่างงาน (unemployment rate) ดังนี้

ปี 2549 2550 2551 2552 2553 2554 (ประมาณการ)

GDP 5.2 4.9 2.6 -2.3 7.6 4.5

%การว่างงาน 1.5 1.2 1.3 1.8 nd nd

จากข้อมูลพบว่าอัตราการเติบโตของ GDP ไทยยังคงใช้ได้ ยกเว้นในปี 2552 ที่ติดลบ และหากเทียบกับต่างประเทศในช่วงปี 2552 ถือว่า เกือบทุกประเทศต่าง GDP ติดลบกันแทบทั้งสิ้น ยกเว้น เวียดนาม และอินโดนีเซีย ไม่เว้นแม้แต่ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อังกฤษ ญี่ปุ่น มาเลเซีย สรุปว่า เมื่อพิจารณาข้อมูลการเจริญเติบโตของ GDP แล้ว ถือว่าไทยยังใช้ได้ ปัจจุบัน (ปี 2553) สิงคโปร์มีการเติบโตของ GDP สูงสุดในแถบ ASEAN คือ สูงถึง 14.7

สำหรับอัตราการว่างงานของไทยนั้นถือว่าค่อนข้างต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ

4.11 บรรษัทภิบาล(Good Corporate Government หรือ Corporate Social Responsibility : CSR)

จากแนวคิด “ธรรมรัฐ” คำที่เสนอโดยคณาจารย์คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ “ธรรมาภิบาล” คำที่เสนอโดยบวรศักดิ์ อุวรรณโณ (2541) หรือGood Governance คำที่ธนาคารโลกได้นำมาใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ.1989 ที่ได้นำมาใช้ในหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองด้วยความเป็นธรรม ซึ่งได้มีแนวคิดแนะนำให้นำมาใช้กับบริษัทเอกชนด้วย จึงเป็นในรูปของ “บรรษัทภิบาล” (พิชญ์, 2547) หรือ CSR หมายถึง การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กรในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข กล่าวคือ หน่วยงานธุรกิจเอกชนต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย โดยเฉพาะช่วยกันต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ

([Online]., Available URL : http://thaicsr.blogspot.com/2006/03/blog-post_20.html)

4.12 การเจาะตลาดต่างประเทศของ SMEs

ด้วยข้อจำกัดของ SMEs ที่เป็นกลุ่มวิสาหกิจส่วนใหญ่ของประเทศ (ร้อยละ 99 ของวิสาหกิจทั้งหมด) ซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ไม่อาจแข่งขันกับวิสาหกิจขนาดใหญ่ได้ และประเทศไทยเปิดเสรีด้านการลงทุน การบริการ และการค้า

รัฐบาลได้มีแผนการตลาดที่จะระดมแผนหนุนเศรษฐกิจ โดยการเจาะตลาดต่างประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในปี 2554 นี้ หากพิจารณาเรื่องการตลาด หรือการลงทุนในต่างประเทศแล้ว ถือว่า ตลาดเป็นของไทย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ทำให้ค่าของเงินบาทแข็งค่า ทำให้การส่งออกของไทยได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะสินค้าที่ผลิตส่งออกจาก SMEs แต่การที่ SMEs จะไปลงทุนในต่างประเทศนั้น ไทยจะได้เปรียบกว่า ด้วยค่าของเงินบาทที่แข็ง และในทางกลับกัน สินค้านำเข้าจะเข้ามาตีตลาดสินค้าไทย ฉะนั้น SMEs ของไทยที่ผลิตเพื่อบริโภคใช้สอยภายในประเทศก็จะพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย ฉะนั้น SMEs ซึ่งรวมทั้ง วิสาหกิจรายย่อย หรือ MEs ก็เช่นกัน ก็ต้องปรับกลยุทธในการผลิต และ การตลาดด้วย

ด้วยปัจจัยทุนในการผลิต อันเป็นผลมาจากการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินในระบบ (ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธกส. และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจฯ) และแหล่งสินเชื่อกึ่งในระบบ (ได้แก่ สหกรณ์ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต) ก็จะทำให้สถานการณ์ด้านการเงินของ SMEs แข็งแกร่งขึ้น

ด้านการกระตุ้นการค้าระหว่างประเทศนั้น ปี 2554 กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าส่งออกที่จะขยายตัวประมาณ 10% มีมูลค่าประมาณ 207,910 - 209,586 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6 ล้านล้านบาท ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทประมาณ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และราคาน้ำมันที่ 67-77 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เศรษฐกิจโลกและตลาดการค้าที่สำคัญในปีหน้ายังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2553 แต่เป็นอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง โดยกระทรวงพาณิชย์จะทำงานบูรณาการร่วมกันกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

นอกจากนี้จะเน้นในเรื่องของการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งจะส่งเสริมผลักดันให้ออกสู่เวทีการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีประสบการณ์การส่งออกมาแล้ว และประเภทที่ยังไม่เคยหรือไม่มีประสบการณ์การส่งออกโดยตรง จะกำหนดยุทธศาสตร์แผนงานโครงการต่างๆให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการในแต่ละประเภท ซึ่งจะดำเนินการใน 4 ด้าน คือ การเพิ่มขีดความสามารถและสร้างผู้ส่งออกรายใหม่ , พัฒนาตลาด , พัฒนาเครือข่ายคลัสเตอร์ในธุรกิจกลุ่มต่างๆ และให้ความช่วยเหลือด้านการเงินลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการ โดยจะเริ่มตั้งแต่การพัฒนาความรู้ในด้านต่างๆ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ

ในส่วนของการเจาะตลาดต่างประเทศ จะขยายตลาดที่มีศักยภาพสูง เช่น ตลาดอาเซียน จีน อินเดีย และรัสเซีย เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ทดแทนตลาดหลักที่เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยง โดยเฉพาะตลาดอาเซียนที่จะรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมสินค้าและธุรกิจบริการบนพื้นฐานของการสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างตราสินค้า นวัตกรรม การสร้างสรรค์ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับการค้าในโลกยุคใหม่

(ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์, 4 มกราคม 2554 [Online]., Available URL : http://www.managerweekly.com/)

4.13 ปัญหาทางการเงินของวิสาหกิจ SMEs ในประเทศไทย

ตามรายงานสถานการณ์ของ สกว. ปี 2552 พบว่า ปัญหาทางการเงินของ SMEs คือ (สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม,2553,Ibid.)

1. ขาดการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนว่า ควรสนับสนุนด้านการเงินแก่กลุ่มเป้าหมายใด จึงเกิดประโยชน์ต่อธุรกิจในลำดับถัดไป รวมถึงไม่มีการแบ่งกลุ่มการส่งเสริมสำหรับธุรกิจขนาดย่อม (S) ธุรกิจขนาดกลาง (M) หรือหลักเกณฑ์การส่งเสริมตามขนาดธุรกิจ (Size) หรือตามระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ (Stage) ซึ่งหากมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนและเหมาะสมจะทำให้สามารถมีเงินกู้ระยะสั้น / ระยะ ยาวที่เกิดประโยชน์กับ SMEs มากกว่าเงินกู้นอกระบบที่ SMEs ใช้อยู่ ซึ่งในทัศนะของผู้วิจัย เห็นว่า ประเทศไทยควรสนับสนุนวิสาหกิจขนาดย่อมที่มีศักยภาพพอที่จะพัฒนาไปเป็นวิสาหกิจขนาดกลาง เนื่องจาก ทุกธุรกิจย่อมมีการเติบโตเพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ดังนั้น การสนับสนุนด้านการเงินจากภาครัฐควรเป็นการเร่งกระบวนการดังกล่าวให้เร็วขึ้นหรือเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด

2. ข้อมูลการประกอบการ แทนที่จะเป็นปัญหาของภาครัฐและสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียวผู้ประกอบการ SMEs เองก็ควรต้องช่วยตนเองด้วย โดยการเก็บข้อมูลทางธุรกิจและเปิดเผยข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงินด้วยเช่นกัน รวมถึงให้ภาครัฐได้รับข้อมูลที่ชัดเจน ครบถ้วนเพื่อการกำหนดนโยบายที่เหมาะสม

นอกจากนั้น คำแนะนำปรึกษาสำหรับการบริหารจัดการทางการเงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้สำหรับ SMEs หรือ ธุรกิจที่มีความเสี่ยงแต่มีความสามารถในการทำกำไร

มีข้อมูลการเข้าถึงสินเชื่อพบว่า สัดส่วนสินเชื่อจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.8 ของการให้เงินกู้ทั้งหมด การเข้าถึงเงินกู้ของ SMEs คิดเป็นร้อยละ 0.9 ของ SMEs ในประเทศไทยที่มีจำนวน 2,290,000 ราย ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยมาก

4.14 ปัญหาอุปสรรคในการปรับโครงสร้างหนี้ของ SMEs

ตามผลการศึกษาของ วิชา มหาคุณ (วิชา, 2548, Ibid.)พบว่า การปรับโครงสร้างหนี้โดยสำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (สปน.) ประสบผลสำเร็จในจำนวนที่น้อยมาก เพราะ การปรับโครงสร้างหนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเจ้าหนี้และลูกหนี้มิใช่เป็นบทบัญญัติของกฎหมาย และเป็นหนี้ที่จำกัดเฉพาะเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินเท่านั้น ที่เกรงว่าจะเป็นหนี้สูญ (NPLs) ซึ่งปกติเจ้าหนี้ของ SMEs อาจมีเจ้าหนี้อื่นที่มิใช่สถาบันการเงินก็ได้

นอกจากนี้ SMEs มีจำนวนมากกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศติดตามดูแลยาก และกิจการมีขนาดเล็กมีทรัพย์สินน้อยไม่เพียงพอเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ อีกทั้ง SMEs ยังมีระบบบัญชีที่ไม่ได้มาตรฐาน

เรื่องนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัยของ จีรพรรณ และคณะ ที่ได้ศึกษาการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อของ SMEs ภาคเหนือว่า เข้าแหล่งสินเชื่อที่เป็นสถาบันการเงินได้น้อย แต่จะใช้ทุนส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่ (จีรพรรณ และคณะ,2551.,Ibid.)

สำหรับการฟื้นฟูกิจการตามกระบวนการของพระราชบัญญัติล้มละลาย ของ SMEs นั้น เมื่อพิจารณาดูปัญหาอุปสรรคของการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว เห็นว่า SMEs ส่วนใหญ่ เป็นกิจการที่มีขนาดเล็ก หรือ เล็กมาก ตามข้อมูลพบว่า เป็น วิสาหกิจรายย่อย (MEs) ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก (ผู้จ้างงานไม่ถึง 5 คน) และส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาไม่จดทะเบียนพาณิชย์ มีเป็นจำนวนมากถึงร้อยละ 64 ของจำนวน SMEs ทั้งหมด ฉะนั้น โอกาสที่ SMEs ที่เป็น MEs จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการจึงแทบไม่มี ด้วยเงื่อนไข สภาพตัวของกิจการที่มิได้เป็นบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด จำนวนทุนที่น้อย ย่อมไม่มีโอกาสที่จะมีหนี้สินถึงจำนวน 10 ล้านได้เลย

บรรณานุกรม

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 รวมฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 7 พ.ศ. 2547

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543

กฎกระทรวง กำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 11 กันยายน 2545

ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้และหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2541

ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและหลักเกณฑ์ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องถือปฏิบัติ พ.ศ. 2546

ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2548

เอกสารวิชาการ บทความ ข่าว หนังสือพิมพ์ วารสาร

Pawin Siripraphanukul,Nada Wasi. “Fighting Unemployment during Recessions : A Review of Fiscal Policies in Theory and Pracetice.” TDRI Quarterly Review. Vol.24 No.4 Dec.2009

Lori Wallach and Michelle Sforza, “Whose Trade Organization?: Corporate Globalization and the Erosion of Democracy.” (องค์การการค้าโลก : องค์การของใคร?), Public Citizen,1999 [Online]., Available URL : http://www.nidambe11.net/ekonomiz/document/worldtrade_org.doc

เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร .“กำเนิดและพัฒนาการแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่.” 2551 [Online], Available URL : http://kriangsakt.blogspot.com

“การปรับโครงสร้างหนี้คืออะไร.” [Online]., Available URL : http://www.frdnews.net/index.php?option=com_content&view=article&id=53:2010-05-08-05-57-16

ความหมายวิสาหกิจ [Online]., Available URL :

http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?q=SMEs&select=1#437

“คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี.” [Online]., Available URL : http://www.thaigov.go.th/multimedia/vana/คำแถลงนโยบาย%20.pdf

โครงการบริการข้อมูลในคลินิกเทคโนโลยี. “คู่มือการจัดเก็บข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลเทคโนโลยีที่พร้อมถ่ายทอด.” 2547 [Online]., Available URL :

www.ttc.most.go.th/stvolunteer/uploadclinic/ClinicTech_Manual.doc

“ซีเอสอาร์คืออะไร.” 2553 [Online]., Available URL : http://thaicsr.blogspot.com/2006/03/blog-post_20.html

บินหลาดง(นามแฝง). “การปรับโครงสร้างหนี้.” 11 พฤษภาคม 2010 [Online]., Available URL : http://www.frdnews.net/index.php?option=com_content&view=article&id=82:2010-05-11-03-58-42&catid=45:basic-knowledge-debt&Itemid=64

“ประกาศชำระคืนหนี้งวดสุดท้ายไอเอ็มเอฟ.” Thailand Economic News 2009 [Online]., Available URL : http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=780092

ประภัสสร์ เทพชาตรี , คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .“ระบบเศรษฐกิจโลกในปี 2050.” สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ,15 - 21 มกราคม 2553, 16 กุมภาพันธ์ 2553 [Online], Available URL : http://thepchatree.blogspot.com/2010/02/2050.html

ปรเมศวร์ กุมารบุญ, “คิดตามหนังสือเก่า “ทฤษฎีคลื่นลูกที่สาม” ของอัลวิน ทอฟเลอร์.” 2550 [Online], Available URL : http://lab.tosdn.com/?p=40

พงษ์ทิพย์ สำราญจิตต์ .“บทสรุปงานวิจัยการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน.” 21 พฤษภาคม 2553 [Online], Available URL :

http://www.thailandreform.net/data/index.php?option=com_content&view=article&i

d=72:2010-05-21-07-33-41&catid=96:2010-05-20-09-47-19&Itemid=21

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. “การเมืองกับวิกฤติเศรษฐกิจ : โลกาภิวัตน์ ธรรมาภิบาล และสมัชชาคนจน.” เอกสารสรุปคำบรรยายจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2547

“ภาพรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของ4ประเทศ.”[Online], Available URL : http://www.lawreform.go.th/lawreform/images/th/content/th/251/7630.htm

“มารู้จักการปรับปรุงโครงสร้างหนี้.”10 May 2009 [Online]., Available URL : http://loveseo.exteen.com/20090510/entry-5

“รัฐระดมแผนหนุนศก.โตปีกระต่ายดุ ชี้อุตสาหกรรมดาวรุ่งโกยเงิน 6 ล้านล้านบาท.”

ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์, 4 มกราคม 2554 [Online]., Available URL :

http://www.managerweekly.com/

“ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2554.” [Online]., Available URL : http://web.parliament.go.th/parcy/nlaw_index.php?item=0800&doc_id=179

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. [Online]., Available URL : http://th.wikipedia.org/wiki/

“วิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทย.” [Online]., Available URL : http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=429669&Ntype=120

“วิสาหกิจชุมชน.” [Online]., Available URL : http://www.ipthailand.go.th/ipthailand/index.php?option=com_content&task=view&id=307&Itemid=219&lang=en

สุธรรม รัตนโชติ. “หลักการประกอบธุรกิจสมัยใหม่.” คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี, 2548 [Online], Available URL :

www.management.su.ac.th/major/761316/Business.doc

อิศราวดี ชำนาญกิจ. “New World Order การจัดระเบียบโลกใหม่ ที่ผู้นำควรรู้,” 2552 [Online], Available URL : http://leadership.exteen.com/20090420/new-world-order

หนังสือ

ภูมิ โชคเหมาะ, ไกรสร บารมีอวยชัย, และ วิชา มหาคุณ. เอกสารประกอบคำบรรยายกฎหมายล้มละลายเปรียบเทียบ (LA729) หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ, 2553

เสรี พงศ์พิศ. ร้อยคำที่ควรรู้. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์พลังปัญญา, 2547

รายงานการศึกษา วิจัย

จีรพรรณ โอฬาร์ธนาเศรษฐ์, วสันต์ ยศสมแสน, สมหมาย ศิริธรรม, และ ศิริพร ศิริปัญญาวัฒน์. “การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและสาเหตุของการเกิด NPLs ของ SMEs: กรณีศึกษาภาคเหนือ.” ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2551 [Online]., Available URL : http://202.28.25.84/conference/Thai%20paper2/1-2%20Sommai.pdf

บัญชา ดอกไม้ และ เอกพล จงวิลัยวรรณ. “การค้าและการลงทุน : การจัดระเบียบการลงทุนในเศรษฐกิจโลก.” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.), 2550

พิริยะ ผลพิรุฬห์. “แนวคิดของการลงทุนจากต่างประเทศ FDI Flows : A Critical Concept.” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, มปป.

ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ และ ณัฐนันท์ วิจิตรอักษร. “การปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูกิจการของธุรกิจไทย.” สถาบันวิจัยสังคมและเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2549

วิชา มหาคุณ. “ การป้องกันการล้มละลายของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs).” 2548

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.). “รายงานสถานการณ์วิสาหกิจรายย่อย ปี 2552.” 2553

รายงาน วิทยานิพนธ์

ชุลีพร ไกรสมเดช. “ปัจจัยที่มีผลต่อการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.” วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546

นิรัติศัย จรัญญา. “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมพัฒนาอาชีพแกะสลักไม้บ้านหนองหวาย ต.ยุหว่า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม.” รายงานการวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549

ลิขิต เทอดชนะกุล. “การล้มละลายข้ามชาติ : การสำรวจบทกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันและแนวโน้มการพัฒนากฎหมาย.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2543

เว็บไซต์

เว็บไซต์กฎหมายไทย http://www.thailaws.com/

เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา http://www.ipthailand.go.th/

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ http://www.mfa.go.th/

เว็บไซต์กูเกิลกูรู http://guru.google.co.th/

เว็บไซต์ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (TKC e-Thesis) http://www.tkc.go.th/thesis/

เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย http://www.bot.or.th/

เว็บไซต์บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย หรือ บสท. http://www.tamc.or.th/

เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์. http://www.manager.co.th/

เว็บไซต์รวมลิงค์กฎหมายไทย http://www.lawamendment.go.th/totallink.asp

เว็บไซต์รัฐบาลไทย http://www.thaigov.go.th/

เว็บไซต์รัฐสภาไทย http://web.parliament.go.th/

เว็บไซต์ศูนย์บริการช่วยสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

http://isc.ru.ac.th/

เว็บไซต์สถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) http://www.tdri.or.th/

เว็บไซต์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) http://www.trf.or.th/

เว็บไซต์สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.) http://www.nesdb.go.th/

เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว. www.sme.go.th/

เว็บไซต์ห้องสมุดออนไลน์ https://history.myfirstinfo.com/

เศรษฐกิจไทยก้าวไกลไปกับSMEs

ปทิตตา ไชยปาน 28 กรกฎาคม 2554

http://www.learners.in.th/blog/patitta/478751

เศรษฐกิจไทยก้าวไกลไปกับSMEs

ปทิตตา ไชยปาน 28 กรกฎาคม 2554

http://www.learners.in.th/blog/patitta/478751

สมพงศ์ ตันติวงศ์ไพศาล."ความแตกต่างระหว่างวิสาหกิจชุมชนกับธุรกิจชุมชน." 23 มกราคม 2555,ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนเรียนรู้ สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน(มูลนิธิ)

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/475798

บทบาทของธุรกิจขนาดย่อมที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/476043

ม.ล. ชาญโชติ ชมพูนุท 24 มกราคม 2555

กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

บรรณานุกรม

กฎหมาย พระราชบัญญัติ ระเบียบ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

รัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น

รัฐธรรมนูญของสปป.ลาว

รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐประชาชนจีน

รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐอินเดีย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายที่ดิน

พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511

พระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ. 2518

พระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553

บทความ ข่าว หนังสือพิมพ์ วารสาร

กรมที่ดิน .“ความเป็นมาของการออกโฉนดที่ดิน.” [Online], Available URL : http://www.dol.go.th/dolwcag/?p=236

เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร .“กำเนิดและพัฒนาการแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่.” 2551 [Online], Available URL : http://kriangsakt.blogspot.com

เกษียร เตชะพีระ .“กรรมสิทธิ์ที่ดินเอกชน ในสังคมประชาธิปไตย.” 2551 [Online], Available URL : www.lawonline.co.th

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท)., คณะทำงานศึกษามาตรการทางกฎหมายและนโยบาย .“ข้อเสนอแนวทางและมาตรการ การกระจายการถือครองที่ดินในสังคมไทย.” 30 มิถุนายน 2552 [Online], Available URL :

http://www.thailandreform.net/data/index.php?option=com_content&view=article&i

d=39:2010-04-28-07-11-23&catid=94:2010-05-20-05-01-45&Itemid=16

ใจ อึ๊งภากรณ์ .“ร่วมกันเข้าใจวิกฤตเศรษฐกิจทุนนิยมโลก.” 21 พฤษภาคม 2552 [Online], Available URL : http://www.varinthorn.com/WordPress/?p=501

ตะวัน วรรณรัตน์ .“ทำความรู้จักกับรัฐสวัสดิการ.” 1 กันยายน 2552 [Online], Available URL :

http://downtoearthsocsc.thaigov.net/index.php?option=com_content&task=view&id=203&Itemid=3

ไทบ้านพระเสาร์,นามแฝง.” โฉนดที่ดินฉบับแรกของไทย ...อยู่ที่ใหน...ใครครอบครอง...” 10 กรกฎาคม 2552 [Online], Available URL : http://www.oknation.net/blog/su/2009/07/10/entry-1

ธนวัฏ เสือแย้ม .“คลังเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ 30 ก.ย.นี้.” สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) ,23 กันยายน 2553 [Online], Available URL: http://www.ryt9.com/s/iq03/991050

ประภัสสร์ เทพชาตรี , คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .“ระบบเศรษฐกิจโลกในปี 2050.” สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ,15 - 21 มกราคม 2553 16 กุมภาพันธ์ 2553 [Online], Available URL : http://thepchatree.blogspot.com/2010/02/2050.html

พงษ์ทิพย์ สำราญจิตต์ .“บทสรุปงานวิจัยการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน.” 21 พฤษภาคม 2553 [Online], Available URL :

http://www.thailandreform.net/data/index.php?option=com_content&view=article&i

d=72:2010-05-21-07-33-41&catid=96:2010-05-20-09-47-19&Itemid=21

มูลนิธิชีววิถี หรือ ไบโอไทย (BIOTHAI) . “เวทีระดมปฏิรูปประเทศไทยเสนอ 7 ข้อลดเหลื่อมล้ำ.” 2553 [Online], Available URL : http://biothai.net/news/2776

เยาวเรศ หยดพวง .“หมอนิรันดร์ ชี้บางมาตราในระเบียบโฉนดชุมชนมีตำหนิ.” 26 มิถุนายน 2553 [Online], Available URL :

http://www.thaireform.in.th/news-strong-communities/1417-2010-06-26-02-46-58.html

รับขวัญ ชลดำรงกุล. “ประเด็นหลักที่ต้องพิจารณาในการถือสิทธิที่ดินใน สปป.ลาว.”

นิตยสารผู้จัดการ, มีค. 2552 [Online], Available URL : http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=78023

รุ่งโรจน์ วรรณศูทร .“หลักนโยบาย 3 ข้อแก้ปัญหาเกษตรกร.” , 25 พฤษภาคม 2553 [Online], Available URL : http://arinwan.co.cc/index.php?topic=270.0

วรพล โสคติยานุรักษ์ , สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ .“นักเศรษฐศาสตร์ร่วมแก้วิกฤติ ถอดรหัสแผนปรองดองชาติ.” ไทยรัฐออนไลน์ ,31 พฤษภาคม 2553 [Online], Available URL : http://www.thairath.co.th/column/eco/ecoscoop/86297

วิเนตร ผาจันทา (คลินิคทนายความ) .“หลักของการได้มาหรือเสียไป ซึ่งสิทธิครอบครองและกรรมสิทธิ์ในที่ดิน.” มปป. [Online], Available URL : http://www.fpmconsultant.com/htm/advocate_dtl.php?id=21

สิริอัญญา,นามแฝง .“ส.ป.ก.4-01 ผิดที่คนหรือกฎหมาย ?.” นสพ.ผู้จัดการรายวัน , 26 มกราคม 2552 [Online], Available URL : http://www.dlo.co.th/node/160

โสภณ พรโชคชัย , มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย .“โฉนดชุมชน เรื่องวิบัติที่ต้องคัดค้านอย่างถึงที่สุด.” 2552 [Online], Available URL :

http://www.thaiappraisal.org/thai/market/market_view.php?strquery=market265.htm

2009-09-27 23:39. และ www.prachatai.com/journal/2009/09/25985

สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ .จดหมายข่าว “ต้นคิด” รายเดือน , ฉบับที่ 27 , มิถุนายน 2553 [Online], Available URL :http://www.tonkit.org/upload_mag/84.pdf

อนุสรณ์ ธรรมใจ .“ความท้าทายของการปฏิรูปที่ดิน.” 6 กันยายน 2553 [Online], Available URL : http://www.rsunews.net/Think%20Tank/TT274/Challenges.htm

อภิวัฒน์ นาคชำนาญ . “ว่าด้วยทรัพยสิทธิ (สิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นมนุษย์),” 24 สิงหาคม 2550 [Online], Available URL : http://learners.in.th/blog/human-right/63417

อาลี เสือสมิง อัสสิยามีย์ . “คนที่โกงทรัพย์สินส่วนรวมนั้นหากจะสำนึกผิดและประสงค์ที่จะให้พ้นจากบาปจะทำอย่างไร.” 9 พฤษภาคม 2553 [Online], Available URL : http://www.alisuasaming.com/qa/index.php?topic=1194.0

“การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน.” 6 พฤษภาคม 2552 [Online], Available URL : http://www.1asiaproperty.net/index.php?mo=3&art=288972

“ชำแหละกม.ปฏิรูปที่ดิน ประเด็นร้อนท้าทายรัฐบาล ดับเครื่องชนที่ทำกินเกษตรกร.” มติชนรายวัน, 9 กุมภาพันธ์ 2548 [Online], Available URL :

http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q1/article2005february09p7.htm

“ผ่าทางตันปฏิรูปที่ดิน.” โพสต์ทูเดย์ ,28 กรกฎาคม 2553 [Online], Available URL : http://friendfeed.com/soclaimon/542dbdca

“ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม.” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ , 19 สิงหาคม 2553 [Online], Available URL : http://mblog.manager.co.th/phakri/th-102378/

“รัฐซื้อที่ดินบสท. 3 หมื่นไร่แจกคนจน-แก้ปัญหาโดนบุกยึด.” 6 กันยายน 2553 [Online], Available URL : http://www.corehoononline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=7618%3A-3--&catid=14%3A2010-03-15-03-55-40&Itemid=1

“รัฐดันตั้งแบงก์ปฏิรูปที่ดินแจกที่ดินคนจน.” 25 มิถุนายน 2553 [Online], Available URL : http://www.suthichaiyoon.com/detail/3807

“เอ็นจีโอเสนอนายกฯเร่งจัดที่ดินทำกิน-คนจนไร้ที่ดิน.” มติชนออนไลน์ , 20 ธันวาคม 2551 [Online], Available URL : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1229747237

รายงานวิจัย

นัยนา เกิดวิชัย . การใช้ประโยชน์จากที่ดินที่รัฐเวนคืนจากประชาชน. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา , 2549.

วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ และคณะ .โครงการศึกษาการถือครองและใช้ประโยชน์และมาตรการทางเศรษฐศาสตร์และกฎหมายเพื่อให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุด. 2544.

วิทยานิพนธ์

ตรีเพชร์ จิตรมหึมา . “ปัญหาการครอบครองที่ดินมือเปล่า.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538. URL : http://www.tkc.go.th/thesis/abstract.asp?item_id=9504URI:

ปิยะรัตน์ ตัณฑศรี . “มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองที่ดินที่เกษตรกรได้รับมา จากการเช่าซื้อในเขตปฏิรูปที่ดิน.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530. URL : http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10883

หนังสือ

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

เอกสารประชุม วิชาการ

คณะทำงานแก้ไขปัญหาที่ดินภาคประชาชน.“การสัมมนาการขับเคลื่อนขบวนการแก้ไขปัญหาที่ดินโดยภาค ประชาชน.” เอกสารประกอบการสัมมนา ณ วังธารรีสอร์ท อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ , 21-23 เมษายน 2552. [Online], Available URL : http://www.paknue.com/images/upload/20090522172238_1.pdf

เวบไซต์

กรมที่ดิน http://www.dol.go.th/

เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร http://kriangsakt.blogspot.com

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) http://www.thailandreform.net/

บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) http://tamc.or.th/

มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย http://www.thaiappraisal.org/

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน http://www.lawonline.co.th

สำนักงานกฎหมายออนไลน์ http://www.wichianonline.com/

นโยบายเศรษฐกิจการเมืองของรัฐบาลทักษิณ อยู่ในกรอบทฤษฎีลัทธิเสรีนิยมใหม่ (Neo-liberalism) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1) ลัทธิเสรีนิยมใหม่ทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย การลงทุนเสรีไร้พรมแดน ระบบการเงินเสรี และระบบการค้าเสรี (สุดขั้ว)

2) ลัทธิเสรีนิยมใหม่ทางการเมือง ได้แก่ การแปรรูปเป็นเอกชน (Privatization) การทำให้เป็นประชาธิปไตย (Democratize) ที่มุ่งหวังพัฒนาประชาธิปไตยให้เป็นแบบรวมศูนย์เบ็ดเสร็จของกลุ่มทุน โดยอ้างคำว่าเพื่อให้การเมืองนิ่ง ไม่มีคนคัดค้าน หรือปกครองแบบบริษัทประเทศไทย และแอบอ้างธรรมาภิบาล (Good Governance) ที่หลายประเทศใช้ดำเนินการคอรัปชั่นทางนโยบาย และคอรัปชั่นทางการเมือง

 

http://www.reocities.com/save_egat/col_ex_2.htm

 

บทเรียน 8 ปีของรัฐบาลทักษิณ แนวคิดสำคัญในการบริหารประเทศผ่านคำขวัญ “คิดใหม่ ทำใหม่” ของพรรคไทยรักไทยนั้นคือ “ทฤษฎีขวาใหม่” (new right) หรือเสรีนิยมใหม่ (neo-liberalism)

 

ระวัง! รัฐบาลเอียงซ้ายกับนโยบายขวาใหม่ 

31 กรกฎาคม 2554 - 00:00

http://www.thaipost.net/tabloid/310711/42557

 

ตัวกูของกู  เป็นกฎที่ปฏิสัมพันธ์กับสังคมส่วนรวม   ถ้าตัวกูของกูเข้มข้นมากเท่าไหร่  ความเป็นสังคมและรัฐก็จะน้อยลงเท่านั้น   ลัทธิเสรีนิยม  หรือเสรีนิยมใหม่  (Neo-Liberalism)   ที่เน้นตัวกูของกูสูง  สามารถเปิดให้มนุษย์แสวงหาผลประโยชน์อย่างกว้างขวางไปทั่วโลก  ด้วยการแข่งขันกันอย่างเสรีและพล่าผลาญทรัพยากรธรรมชาติอย่างเสรี  ไร้ขีดจำกัด  จึงเป็นสิ่งที่เชิดชูยกย่องควบคู่ไปกับประชาธิปไตยที่เห็นแก่ตัว   โดยไม่มีใครมองถึงผลด้านกลับที่จะเกิดขึ้น   เพราะแต่ละคนคิดแต่จะเอาตัวรอดไว้ก่อน   สังคมหรือชาติจะฉิบหายโลกจะฉิบหายช่างมัน

 

พรรคการเมืองใหม่แบบชั่วคราว   

Written by Administrator  

Monday, 20 June 2011 12:52

http://www.cpcs.nida.ac.th/home/index.php?option=com_content&view=article&id=110:2011-06-20-05-52-28&catid=41:2011-06-20-05-09-17&Itemid=38

พรรคการเมืองใหม่แบบชั่วคราว : พิทยา ว่องกุล

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์  บทความพิเศษ 8 มิถุนายน 2552

'ศศินทร์'แนะเอสเอ็มอีพัฒนาบริการ ชูจุดเด่นท่องเที่ยว-อาหาร

http://www.thairath.co.th/content/eco/284053

ไทยรัฐออนไลน์ 16 สิงหาคม 2555

ศศิ นทร์ แนะทางออกเอสเอ็มอีหลังเปิดเออีซี จี้พัฒนาทักษะรองรับลูกค้าชั้นกลางกำลังซื้อสูงจากทั่วโลก แทนลุยตลาดต่างประเทศ ชี้ธุรกิจท่องเที่ยว และด้านอาหาร มีโอกาสจากจุดเด่นหลายอย่างได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนภาคอุตสาหกรรมควรพัฒนาบริการหลังการขาย ควบคู่กับการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ...

เมื่อวันที่ 16 ส.ค.2555 ดร.กฤษติกา  คงสมพงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์    สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจในภาคบริการหลังจากเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะต้องมีการปรับตัวทั้งการบริการภายในประเทศและนอกประเทศ  โดยเฉพาะบริการภายในประเทศที่ธุรกิจต่างๆ  จำเป็นต้องพัฒนาทักษะการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ มีความหลากหลาย เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมที่ไม่มีศักยภาพในการบุกตลาดต่างประเทศ จะมีโอกาสที่ดีในการรองรับกลุ่มผู้บริโภคที่คาดว่าจะไหลเข้ามาในประเทศไทย มากขึ้น เพราะประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ซึ่งจะทำให้ธุรกิจบริการต่างๆ มีโอกาสเติบโตโดยไม่ต้องไปลงทุนในต่างประเทศ

ทั้ง นี้ ต้องพัฒนาตัวเองเพื่อเพิ่มศักยภาพให้สามารถรองรับกลุ่มผู้บริโภคชนชั้นกลาง จากทั่วโลกที่มีกำลังซื้อสูง   ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในอาเซียนเท่านั้นแต่กลุ่มคนดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะมีสัด ส่วนเพิ่มขึ้น เช่น จีน อินเดีย   รวมทั้งอีกหลายประเทศในยุโรปและอเมริกา ที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวบางประเทศรู้จักภูเก็ต เชียงใหม่ พัทยา ฯลฯ มากกว่าประเทศไทย  ดังนั้น ไม่ใช่เฉพาะธุรกิจโลจิสติกส์ที่ต้องพัฒนาศักยภาพด้านบริการ  เพื่อรองรับการเป็นศูนย์การขนส่งของภูมิภาค แต่ธุรกิจบริการท่องเที่ยวอื่นๆ รวมทั้งจุดเด่นด้านอาหารการกินจะมีโอกาสที่ดีจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย

นอก จากนี้  ในอนาคตภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะต้องหันมาพัฒนาด้านบริการหลังการขายให้สามารถ รองรับตลาดในอาเซียน  เนื่องจากการแข่งขันของตลาดทำให้สินค้าต่างๆ มีคุณภาพที่ดีขึ้น ส่งผลให้ยืดอายุการใช้งานและความถี่ในการซื้อลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องหันมาสนใจพัฒนาการให้บริการควบคู่ไปกับการผลิตสินค้าที่ มีคุณภาพ เพื่อสร้างจุดขายใหม่และดึงดูดผู้บริโภคให้ตัดสินใจซื้อเพราะประทับใจบริการ หลังการขายยอดเยี่ยม.

 

พยุงศักดิ์หนุนตั้งกองทุนส่งเสริมSMEไปAEC

http://news.sanook.com/

25 ก.พ. 55 11.44 น.  

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของ เลขาธิการอาเซียน ที่ให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SME ไทย ออกไปลงทุนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC

เพราะธุรกิจขนาดเล็ก ยังไม่มีความแข็งแกร่งพอ จึงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนในหลายด้าน ทั้งสินเชื่อ ข้อมูลการค้า การลงทุน ผู้ร่วมลงทุน โดยเฉพาะ อัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษ  ซึ่งวงเงินที่ใช้ในการจัดตั้งกองทุนระยะเริ่มต้น อาจเป็นเงินจำนวนหนึ่ง แล้วค่อยทยอยเพิ่มวงเงินตามความต้องการ โดยแนวทางดังกล่าวจะต้องศึกษาวิธีดำเนินการให้รอบคอบ

นอกจากนี้ เห็นว่า ควรมีการแก้ไขกฎระเบียบทางภาษีในเรื่องของการนำเงินตราที่ได้จากการลงทุนกลับเข้าประเทศ เพราะยังเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจออกไปลงทุน

นอกจากนี้ นายพยุงศักดิ์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลใจ กับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่เริ่มแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะผู้ส่งออกในกลุ่มสินค้าเกษตร ที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก เพราะจะทำให้รายได้จากการขายสินค้า เมื่อแลกกลับมาเป็นเงินบาทน้อยลง แต่ค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นถือเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่มีการนำเข้าวัตถุดิบ และอุปกรณ์จากต่างประเทศ ทำให้ต้นทุนถูกลง ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะยังไม่มีผลกระทบต่อการแข่งขัน หากธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลค่าเงินให้อยู่ใยระดับใกล้เคียงกับค่าเงินของประเทศเพื่อนบ้าน และดูแลไม่ให้เกิดการเก็งกำไรในตลาดการเงิน เพราะมองว่ากระแสเงินทุนไหลเข้ายังมีอย่างต่อเนื่องตามสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท