จีน : ราชวงศ์ชิง ภาคสรุป


ความเจริญของราชวงศ์ชิง            

 

          ราชวงศ์ชิง (ต.ศ.1644 – 1912) หรือแมนจูถือเป็นราชวงค์ต่างช่าติที่ ๒ ที่เข้ามาปกครองจีน ชาวแมนจูเลียนแบบจีนทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร และศาสนา ผู้นำคนแรกคือ นารูชิ ราชวงศ์ชิงถือว่าเป็นราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดราชวงศ์หนึ่งของจีนซึ่งสามารถปกครองจีนได้อย่างยาวนาน  ความเจริญของราชวงศ์ชิงสรุปได้ดังนี้

การปกครอง  

           กษตริย์ทุกประองศ์ปกครองในระบอบอัตตาธิปไตย คือบริหารงานทุกอย่างด้วยพระองค์เองทั้งนโยบายภายในและภายนอกประเทศ ข้าราชการในราชสำนักถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันได้แก่ ผู้ที่สืบเชื้อสายจากนารูชิ ข้าราสชการฝ่ายบริหารและฝ่ายพลเรือน ทหารประจำกองธง (Banner System) มีการแบ่งการปกครองดังนี้

            รัฐบาลส่วนกลาง จักรพรรดิมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ มีราชเลขาธิการให้คำแนะนำ  คณะรัฐมนตรีอีก  6 คนรับสนองพระราชโองการ  

           รัฐบาลส่วนภูมิภาค มีการเพิ่มจำนวนจังหวัด เขต อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านให้มากขึ้นกว่าราชวงศ์หมิง กำหนดผู้ดำรงตำแหน่งเป็ฯข้าหลวงจะต้องเป็นชาวแมนจู ส่วนผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็ฯชาวจีน เป็ฯการถ่วงอำนสจซึ่งกันและกัน มีการนำระบบชนชั้นใช้ โดยชาวแมนจูเป็นชนชั้นที่สูงที่สุด

เศรษฐกิจ  

           การเก็บภาษีมีประสิทธิภาพคือ มีการนำระบบการเก็บภาษีที่เรียกว่า “ระบบรวบยอด” และ ระบบการเก็บภาษีที่เรียกว่า “ระบบหลี่เจีย”  เพื่อประโยชน์ในการสำรวจจำนวนประชากร ควยเตือนผู้เสียภาษีแทนการส่งหมายเรียก  ภาษีมีทั้แร่เงิน และผลผลิตทางการเกษตร

สังคม 

                ใช้มาตรการกีดกันชาวจีนออกไปจากสังคมแมนจูเพื่อไม่ให้เกิดการกลืนชาติเช่น

          -          บังคับให้ชาวจีนโดนผมด้านหน้าออก และไว้ผมเปีย

          -          ให้ชาวจีนแต่งการแบบชาวแมนจู

          -          ไม่ให้มีการแต่งงานระหว่างชาวจีนและชาวแมนจู

          -          ชาวจีนที่จะเข้ารับราชการต้องผ่านการสอบคัดเลือก แต่ชาวแมนจูไม่จ้องสอบ

           -          บังคับให้ชาวจีนใช้ภาษาแมนจูเป็นภาษาราชการ               

วรรณคดี 

           มีวรรณคดีสำคัญเกิดขึ้นมากมายเช่นที่ได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิ เฉียนหลุงและ จักรพรรดิคังสีเช่น พจนานุกรมของมีค่าทั้ง 4 (Four Treasuries) นวนิยายเรื่องความฝันจากห้องสีแดง (The Dream of The Red Chamber)

ศิลปะ 

          เครื่องลายครามเช่น เครื่องถ้วยเปลือกไข่ ได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดยุโรป โดยเฉพาะที่ทำขึ้นในมณฑลกวางสี เพราะมีคุณภาพ สีสรรสวยงามที่เขียนลงเครื่องถ้วยลาคราม

 

ความเสื่อมของราชวงศ์(ชิง)

           ช่วยปลายราชวงชิงถือว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความอดอยาก บ้านเมืองชุกชมไปด้วยโจรผู้ร้าย ผู้คนแตกแยก ปัญหาภัยธรรมชาติรุมเล้าซึ่งได้ทำให้ผู้คนล้มตายราวกับใบไม้รวง อีกทั้งยังถูกขนาบหลังด้วยภัยคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตกและญี่ปุ่น อันนำไปสู่ความเสื่อของราชวงศ์ชิง สาเหตุความเสื่อมสามารถจำแนกได้ดังนี้

ภัยอันเกิดจากความไม่มั่นคงภายในประเทศ 

          ระบบการปกครองที่ไม่มีประสิทธิภาพ

          -  กษัตริย์มีอำนาจปกครองเพียงองศ์เดียว ใช้อำนาจไม่เป็นธรรม

          - การสืบสันตติวงศ์ไม่แน่นอน การแต่งตั้งกษัตริย์มักจะเลือกที่มีอายุน้อยหรือมากจนเกินไป ทำให้ถูกขุนนางและเจ้านายชักเชิด

          -  การใช้ระบบรายงานลับ เพื่อความคุมขุนนางไม่ให้รวมตัวกันได้จนเป็นภัยต่อราชบัลลังก์ ทำให้ขุนนางแบ่งฝักฝ่ายไม่ไว้ใจกัน เกิดรายงานลับใส่ความฝ่ายตรงข้ามบ่อยครั้ง การเมืองไม่มีประสิทธิภาพ

          -  ระบบการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการไม่เป็นไปตามแบบแผน ตำแหน่งไม่ได้เป็นของผู้มีความรู้ความสามารถ แต่ตกอยู่กับผู้ดีมีอำนาจ เศรษฐี มีการซื้อขายตำแหน่งและสืบทอด ส่งผลให้ขาดความคิดริเริ่มใหม่ในราชการ ขุนนางปฏิบัติตามแบบแผนเดิมเพื่อรักษาตำแหน่ง ช่อราษฎร์บังหลวง ไม่ใส่ใจบ้านเมือง ขาดประสิทธิภาพไร้ประสิทธิผล

          ความไม่มั่นคงอันเกิดจากภัยธรรมชาติ ความแตกต่างทางด้านสังคมทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ก่อให้เกิดกบฏ

          -  สืบเนื่องจากสันติสุขจีน (150 ปีแรก) ผู้คนวางใจในสถานการณ์ จึงทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกิน

          - การควบคุมระบบชลระบบชลประทานล้มเหลว ประสบกับภัยธรรมชาติใหญ่หลวง การเกษตรเสียหาย จากโจรผู้ร้ายตามชายฝั่ง ผู้คนอดอยาก

          -  ความไม่ยุติธรรมระหว่างชนชั้น ประชาชนต้องเสียภาษีและถูกเกณฑ์แรงงาน ถูกชนชั้นอภิสิทธิ์ชนกดขี่เอารัดเอาเปรียบ

          -  ราชสำนักใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เช่นทุ่มงบประมาณกับทางด้านการทหารเพื่อทำศึกภายในและภายนอก, การสร้างพระราชวัง ฯลฯ จนเกิดวิกฤติทางการคลัง รัฐจึงเรียกเกิดภาษีจากประชาชนในอัตราสูงและซ้ำซ้อน ในขณะที่ประชาชนกำลังประสบปัญหาอดอยากไม่อาจจ่ายภาษีได้  ระบบการคลังของรัฐจึงล้มละลาย

           -   เกิดการแตกแยกกันระหว่างบรรดาข้าราชการฝ่ายที่ต้องการพัฒนาประเทศให้มีความทัดเทียมกับชาติตะวันตก กับพวกอนุรักษ์นิยม

          -   เกิดกบฏนักมวย มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านราชวงค์แมนจูและพวกผู้ดีในปี ค.ศ. 1900 แต่ด้วยความสามารถของรัฐบาล กบฏจึงกลายเป็นเครื่องเมืองของนาซูสีเพื่อต่อต้านชาวต่างชาติ ต่อมากองทัพพันธมิตรได้ยึดครองปักกิ่ง พระนางชูสีได้หลบหนีออกจากพระราชวัง การพ่ายแพ้ครั้งนี้ทำให้ชาวจีนต้องสูญเสียสิทธิให้แก่ชาวยุโรปเพิ่มขึ้น

          - เกิดกบฏไต้ผิง ภายใต้การนำของหวน ชิง ชวน ผู้ที่เลื่อมใสในศาสนาคริสต์ซึ่งต้องการสร้างความเสมอภาคให้กับสังคม ทำให้เกิดความขัดแย่งระหว่างหัวเก่ากับพวกหัวใหม่

          - หยวน ซือ ไข เป็นนางทหารผู้ที่ควบคุมกองทัพที่มีประสิทธิภาพที่สุดของจีนร่วมมือกับ ดร. ซุน ยัด เซน ที่เป็นหัวหน้าขบวนการปฏิวัติที่ต้องการปฏิรูปประเทศจีนให้มีความเจริญเทียบเท่าต่างชาติ และต้องการกำจัดพวกแมนจู ร่วมกันทำการปฏิวัติประเทศจีน ผลคือ คณะปฏิวัติชนะและกำจัดพวกแมนจูได้ ทำให้หยวน ซื่อ ไข ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของจีน โดยมีกรุงปักกิงเป็นเมืองหลวง และเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบสาธารณรัฐในปี ค.ศ. 1912 ใช้ชื่อว่าสาธารณรัฐประชาชนจีน

          ภัยอันเกิดจากความไม่มั่นคงภายนอกประเทศ

 

           -  จีนมองว่าตนเป็นมหาอำนาจโลก มีอารยธรรมที่สูงส่งกว่าชาติอื่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงเป็นไปแบบผู้เจริญกับผู้ไม่เจริญ ชาติใดจะเข้าหาต้องปฏิบัติตามธรรมเนียมจีนอย่างเคร่งครัด เป็นไปตามระบบบรรณาการ ต่างกับชาติตะวันตกที่คิดว่า ทุกชาติมีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน

          -  จีนถือว่าการค้าขายกับชาวต่างชาติเป็นการช่วยเหลืออนุเคราะห์ ต่างชาติจะต้องค้าขายกับพ่อค้าและเมืองท่าที่กำหนดไว้เท่านั้น

          -  จีนกำหนดราคาซื้อขายตามใจชอบ อัตราภาษีไม่คงที่ และผูกขาดสินค้า

          -  จีนจำกัดเสรีภาพชาวต่างชาติ ไม่ให้เคลื่อนไหวได้อิสระ

          -  จีนใช้กฎหมายกับชาวต่างชาติไม่เป็นธรรม กฎหมายและการศาลของจีนไม่ได้เป็นไปในตามหลักสากล ไม่มีนิติบัญญัติ ใช้จารีตนครบาล มีบทลงโทษที่รุนแรง สร้างความไม่พอใจให้กับชาติต่างขาติเป็นอย่างมาก

          ความไม่พอใจของชาวต่างชาติที่มีต่อจีนส่งผลทำให้เกิดสงคราม และสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม นับว่าเป็นมหันตภัยของจีน

           ภัยจากความไม่มั่นคงจากภายในประเทศและภายนอกประเทศที่เริ่มประมาณปี ค.ศ. 1842 ประหนึ่งโรคร้ายที่คอยกัดกล่อนจีนและราชวงศ์ชิง แม้จีนจะใช้วิธีการแก้ไขปัญหาหลากหลายวิธีแล้วก็ตามแต่ก็ไม่สามารถหายามารักษาอาการไข้ได้อย่างถูกโรค ซ้ำยังทำให้ประเทศทรุดลงไปตามลำดับ จนกระทั้งปี ค.ศ. 1911 จักรวรรดิจีนยังยิ่งใหญ่ที่ปกครองภายใต้ระบอบจักรพรรดิราชย์ต้องปิดฉากลง ถึงจะเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบสาธารณะรัฐในปี ค.ศ. 1912 – 1949 ดังนั้นอนาคตของจีนภายหลังปี ค.ศ. 1949 จึงต้องฝากไว้กับระบอบคอมมิวนิสต์ช่วยแก้ไขต่อไป

 

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ การเปิดประเทศในสมัยราชวงศ์แมนจู สงครามฝิ่น


          ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในจีนตั้งแต่คริสตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา เช่น โปรตุเกส สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สอนศาสนา นักเดินทางท่องเที่ยว พ่อค้า ชาวตะวันตกยต้องยอมรับ “ประเพณีเกาเตา”  (Tow Tow) แสดงความคารวะแบบต่อองค์จักรรพรรดิ  ต้องยอมรับว่าจีนเป็นศูนย์กลางของการปกครอง จักรพรรดิเป็นผู้ปกครองสูงสุดของสากลโลก ผู้ที่จะติดต่อสัมพันธ์กับจีนจะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ ชาวต่างชาติต้องยอมรับว่าประเทศจีนเป็นอาณาจักรกลาง จักรพรรดิของจีนเป็นผู้ปกครองสูงสุดของสากล

          นอกจากนี้พวกพ่อค้าชาวจันจะไม่ยอมรับพวกพ่อค้าต่างชาติคือ

          -          พ่อค้าตะวันตกไม่แสดงการคารวะหรือแสดงควานอบน้อมต่อชาวจีน

          -          ชาวจีนคิดว่าอาชีพพ่อค้าเป็นอาชีพที่ต้องต่ำ จึงไม่ยกย่องพ่อค้าชาวต่างชาติ นอกจากนี้พ่อค้าชาวโปรตุเกสยังเปลี่ยนสภาพจากพ่อค้าเป็นโจรสลัดสร้างความอัคติแก่ชาวจีนเป็นอย่างมาก

          -          พ่อค้าต่างชาติเข้ามาทำลายวัฒนธรรมของจีนนำไปสู่สงครรามในที่สุด

          ในปี ค.ศ. 1699  อังกฤษได้เริ่มเข้ามาตั้งสถานีการค้าในเมืองแคนตอน แต่ไม่ได้รับการต้องรับจากจีนเท่าใดนัก ชาวจีนสร้างระบบการค้าที่เอาเปรียบต่างชาติมากมายเช่น

          -          สมาคมพ่อค้าชาวจีนเป็นผู้กำหนดอัตราภาษีซึ่งไม่เป็นระบบและอัตราตายตัวที่ไม่แน่นอน

          -          ให้พ่อค้าชาวตะวันตกค้าขายกับจีนเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

          -          การค้าต้องผ่านสามาคมพ่อค้าเท่านั้น 

          -           เปิดเมืองท่าค้าขายจำนวนจำกัด

          -          ระบบการศาลจีนไม่มีความยุติธรรม การลงโทษแบบป่าเถื่อน

          อังกฤษขาดดุลการค้ากับจีน เนื่องจากจีนไม่ยอมชื้อสินค้าจากอังกฤษ ในขณะที่สินค้าของจีนกับเป็นที่ต้องการของยุโรป  เช่น หยก เครื่องเทศ ใบชาผ้าไหม อังกฤษได้แก้ไขโดยการนำฝิ่นเข้ามาขายให้กับชาวจีน จนจีนต้องปราบปรามอย่างจริงจัง ทำให้เกิดสงครามในเวลาต่อมา

การเปิดประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ชิง  

           การค้าฝิ่นเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้จีนต้องเปิดประเทศต่อชาวยุโรปและเปลี่ยนสภาพจากการเป็นอาณาจักรกลางมาเป็นประเทศกึ่งอาณานิคมในสมัยต่อมา สงครามกับอังกฤษนำความสูญเสียอันยิ่งใหญ่กับจีนคือสงครามฝิ่น ค.ศ. 1839 และ จนนำไปสู่สนธิสัญญาการเปิดประเทศที่จีนเสียเปรียบ คือสนธิสัญญานานกิง (Treaty of Nanking) ส่งผลต่อจีนคือ

          -          จีนต้องสูเสียเกาะฮองกงให้กับอังกฤษ และต้องเปิดเมืองท่าอีก 5 เมือง ได้แก่ แคนตอน เอหมึง ฟูจา นิงโป และเซี่ยงไฮ้ ให้เป็นเขตสัมปทานในการดูแลของอังกฤษ

          -          ต้องสูญเสียสิทธิสภาพนองอาณาเขตให้กับชาวตะวันตก

          -          สูญเสียอำนาจในการกำหนดอัตราภาษี ทั้งนี้จะมีการกำหนดอัตรภาษีที่แน่นอนคือ 2.5 % การแก้ไขต้องได้รับการยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย

           -          เมื่อจีนทำสัญญากับประเทศใด อังกฤษจะได้รับผลประโยขน์ตามที่ประเทศนั้น ๆ ทำสัญญาด้วย

          ต่อมาในปี ค.ศ. 1857 ได้เกิดสงครามครั้งใหม่ขึ้น คือสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสเข้าร่วมด้วย จีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เกิดสนธิสัญญาเทียนสิน ในปี ค.ศ. 1860 ส่งผลต่อจีนคือ

          -          เปิดเมืองท่าตามลุ่มแม่น้ำแยงซีให้แก่ชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น

          -          จัดสถานที่พำนักให้กับราชทูตในปักกิ่ง ซึ่งในสมัยก่อน ราชทูตจะพำนักนอกเมืองตามที่จีนจัดไว้ให้

          -          อนุญาตให้ชาวยุโรปเดินทางโดยเสรีในแผ่นดินจีน

          -          จีนต้องชดให้ค่าปฏิกรรมสงครามากมาย

            สงครามเรือแอร์โร (Arrow War) ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1856 -1860 ถ่อว่าเป็นสงครามที่สืบเนื่องจากสงครามฝิ่น ทำให้จีนต้องเปิดประเทศทำให้ความรู้และวิทยาการตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศจีนมากมาก รวมทั้งแนวคิดประชาธิปไตยอันนำไปสู่การปฏิวัติประเทศจีนในภายหลัง

 

วาทิน สานติื สันติ : เรียบเรียง

หนังสือประกอบการเขียน

 

จันทร์ฉาย ภัคอธิคม. บทบาทของจีนต่อกิจการโลก : HI 465. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2521.

________. ประวัติศาสตร์จักรวรรดิจีน = History of imperial China : HI 368. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550.

มาตยา อิงคนารถ. ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ = History of modern China : HI 462. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2540.

คำสำคัญ (Tags): #ราชวงศ์ชิง
หมายเลขบันทึก: 449529เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2011 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท