ผลการจัดงาน KM กับบัณฑิตอุดมคติไทย : (8) AAR - ถ้าท่านจะจัด KM Workshop ด้วยตัวท่านเอง ท่านจะปรับปรุงในเรื่องอะไรบ้าง (เมื่อเทียบกับการจัดในครั้งนี้)


ควรมีผู้เข้าอบรมตามโมเดลปลาทู ผู้บริหาร (หัวปลาทู) พนักงาน (ผู้ปฏิบัติงาน) (หางปลา) (ตัวปลา) นักศึกษา (ตัวปลา) ผู้ใช้บริการ คือ แรงงานที่รอรับนักศึกษา

         AAR จากโครงการการจัดการความรู้ของเครือข่ายการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย เมื่อวันจันทร์ที่ 7- วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ณ โรงแรมอมรินทร์ลากูน จ.พิษณุโลก

         5. ถ้าท่านจะจัด KM Workshop ด้วยตัวท่านเอง ท่านจะปรับปรุงในเรื่องอะไรบ้าง (เมื่อเทียบกับการจัดในครั้งนี้)

         - การสื่อสารระหว่างหลักการถ่ายทอดไปเป็นวิธีปฏิบัติ

         - คุณอำนวยควรมีการทำงานแบบเปิดโอกาสถึงความเป็นกันเองของกลุ่มออกมาก่อน

         - บรรยากาศน่าจะเป็น informal มากกว่าการตั้งโต๊ะนั่ง (ไม่ควรมีโต๊ะ แต่ต้องมีคุณลิขิตเลยต้องมีโต๊ะ)

         - อยากให้เข้า KM แล้วรู้ว่าตนเองมีจุดบกพร่องหรือควรปรับปรุงงานอย่างไรด้วยนอกจากข้อดี

         - คนที่จะทำ KM ควรมีการปูความคิดด้านการคิดเชิงบวกหรือการคิดแบบสร้างสรรค์

         - การทำงานให้มีความสุข

         - จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบกลุ่มย่อยให้มากขึ้น และสร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้น่าสนใจมากขึ้น

         - จำเพาะเจาะจงกับหัวข้อให้มากขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติ และนำไปปรับใช้ในการทำงานอย่างจริงจังต่อไป

         - จะปรับปรุงในเรื่องสถานที่เพราะสถานที่ไม่อำนวย เห็นได้ชัดจากการรับประทานอาหารที่มีที่นั่งไม่เพียงพอ

         - ในส่วนของการทำ workshop จะปรับปรุงในเรื่องของการนำทฤษฎีมาอธิบายควบคู่กับการปฏิบัติให้เห็นภาพและแนะนำให้ลองใช้เครื่องมือตัวใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพ

         - น่าจะจัดให้นานกว่านี้ และมีการทดลองใช้เครื่องมือหลาย ๆ แบบ กับงานหลาย ๆ งาน

         - การละลายพฤติกรรม สร้างบรรยากาศให้เกิดการกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น และมีความตื่นตัวอยู่เสมอ

         - มีกิจกรรมสันทนาการแทรกและนำเข้าสู่หัวข้อสัมมนาหรือกิจกรรมในส่วนต่าง ๆ

         - คัดผู้เข้าร่วม

         - ปูพื้นให้มากกว่านี้ก่อนจะเริ่มทำ KA

         - อาจใช้ระยะเวลายาวนานกว่านี้ อยากทำให้จบ Process (Mapping)

         - การประสานงานให้ชัดเจนกว่านี้

         - ทำความเข้าใจในวิธีการนี้ให้มากยิ่งขึ้น และคงต้องนำไปทดลองใช้ก่อน

         - เรื่องการดำเนินการ และเอกสารประกอบการสัมมนาถ้ามีเวลาน้อยขอให้มีเอกสารประกอบการสัมมนาที่วิทยากรแต่ละท่านที่บรรยายประกอบ

         - วิทยากรกระบวนการในส่วนของ observer มีบทบาทอย่างไรไม่แน่ชัด ในส่วนบทบาทของประธานเป็นผู้สร้างบรรยากาศ เลขาจดบางครั้งการเลือกเลขา ประธานที่ไม่สามารถแสดงบทบาทความที่ได้รับมอบหมาย มีผลต่อการดึงเอาความรู้ออกมาจากกลุ่ม

         - ก็คงจะต้องทำเกี่ยวกับเรื่องกิจการนักศึกษา

         - ตัวอย่างการจัดทำ KM โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ

         - ปรับปรุงคำอธิบายในสื่อที่นำเสนอ ให้ผู้มาร่วมฟังเข้าใจ KM ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

         - ห้องประชุมถูกรบกวน (วันแรก) เสียงแทรกจากห้องข้าง ๆ

         - การสรุปข้อมูล AAR และการนำเสนอแสดงความคิดร่วมกัน

         - ทีมวิทยากรที่ให้คำแนะนำปรึกษาแต่ละโต๊ะ ควรมีความเข้าใจในกระบวนการเป็นวิทยากรและให้คำแนะนำปรึกษาแก่สมาชิกแต่ละกลุ่ม เช่น การชี้แจงรายละเอียดว่าทุกคนควรจะเขียนรายละเอียดเรื่องเล่าของตนเองไว้ในกระดาษแผ่นใด เขียนรายละเอียดของเพื่อนในกลุ่มในแผ่นใดและแผ่นใดที่จะไปเป็น Key Card เพื่อนำไปติดบอร์ด

         - การจัดกลุ่มแต่ละกลุ่มควรมีระยะห่างพอสมควร ไม่ควรอยู่ใกล้กันมาก บางกลุ่มพูดเสียงดัง บางกลุ่มพูดเสียงค่อย

         - ควรมีกิจกรรมที่ผ่อนคลายหรือละลายพฤติกรรมช่วงก่อนที่จะแบ่งกลุ่มไปเล่าเรื่อง เพื่อช่วยลดความป้องกันตัว และสร้างความรู้สึกที่เป็นมิตรให้กับบุคคลที่เข้ากลุ่มที่มาจากหลายหน่วยงาน

         - บุคลากร บัณฑิตอุดมคติไทย ให้ใช้กับ KM ให้กระจ่าง เด่นชัด กว่านี้

         - คณาจารย์บางท่านยังหลงกับคำว่าบัณฑิตอุดมคติไทย ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้

         - ลำดับขั้นตอนในการจัดกิจกรรม

         - การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่และบุคลากร

         - กลวิธี แนวทาง การจัดกิจกรรมเพื่อนักศึกษา ได้เกิดการพัฒนาคุณลักษณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         - การมีส่วนร่วมของผู้ร่วมสัมมนาระหว่างมหาวิทยาลัย

         - ในครั้งนี้ดีแล้ว แต่อาจจะเพิ่มสันทนาการและโจทย์ของแต่ละกลุ่มที่จะเล่าเรื่อง อาจจะหวังเพิ่มกลุ่มแยกเรื่อง กลุ่มศึกษาทั่วไป กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มพัฒนาการ และอาจจะมีกลุ่มนักศึกษาด้วย

         - ควรจัดให้ครบองค์กรคือ ผู้บริหาร นักวิชาการ ฝ่ายงานกิจกรรม อาจารย์ผู้สอน บัณฑิตที่จบไปแล้ว และนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่  เราจะได้แนวคิดของแต่ละกลุ่มที่ต้องการบัณฑิตในอุดมคติไทย

         - การปรับกระบวนคิด เน้นฟังจากมุมมองผู้มีประสบการณ์ หรือวิทยากรจากผู้รู้มากขึ้น

         - ศึกษารายละเอียดมาก่อน (การทำ KM)

         - ดีแล้ว

         - การจัดกิจกรรมให้แก่บุคลากร/ผู้บริหาร/และนิสิตภายในมหาวิทยาลัย

         - การจัดกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถาบันอื่น ๆ 

         - การกระชับเวลา รูปแบบ

         - เนื้อหาที่กระชับไป เยิ่นเย่อ

         - ตั้งประเด็น “สร้างฝัน” เป็นวัตถุประสงค์การทำ KM ครั้งนี้เป็นหลักก่อน

         - ผู้เล่าเรื่องต้องเล่าเรื่องที่มีประสบการณ์ตามกรอบหรือหลักนั้น

         - สรุปประเด็นหรือประสบการณ์ทางบวกออกมาให้ชัดเจนนำไปปฏิบัติได้

         - ครั้งนี้ได้ความรู้ KM แต่งานบัณฑิตไม่ได้อะไรเลยวนอยู่ในอ่าง ถ้าสรุปผลว่าการทำ KM และได้แนวทางพัฒนาบัณฑิตอย่างนี้ใช้ไม่ได้ ความรู้ต้องมองไปข้างหน้า ข้อมูลเก่าที่ดีต้องสรุปเล่าเรื่องเก่าได้ดี เพราะฉบับสุดท้ายผู้เข้าสัมมนาครั้งนี้ต้องการความรู้ไปคิดและพัฒนาต่อไป

         - อยากจะให้ความรู้เรื่อง KM มากขึ้น

         - วิทยากรต้องกระตุ้นให้ผู้เล่ามีความตื่นตัวอยากที่จะเล่าในเรื่องที่อยู่ข้างในออกมาก่อนการร่วมกลุ่ม

         - ปรับปรุงการประสานงานกับสถานที่สัมมนา

         - กำหนดหัวเรื่องของแต่ละกลุ่ม ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

         - การบรรยายนำปูพื้นฐานความรู้เรื่อง KM เพราะในครั้งนี้รู้สึกว่าให้ความรู้พื้นฐาน KM น้อยไปสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับ KM

         - ระยะเวลากับเนื้อหาไม่สอดคล้องกันเพราะมีเนื้อหามากแต่เวลาน้อยไป

         - การทำงานในสำนักงานให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น

         - สถานที่ บรรยากาศ และเพิ่มเวลา

         - ควรมีผู้เข้าอบรมตามโมเดลปลาทู ผู้บริหาร (หัวปลาทู) พนักงาน (ผู้ปฏิบัติงาน) (หางปลา) (ตัวปลา)  นักศึกษา (ตัวปลา) ผู้ใช้บริการ คือ แรงงานที่รอรับนักศึกษา

         - แนวทางการจัดกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร

         - กระบวนการที่ทำให้เกิดการเปิดใจภายในกลุ่ม ต้องฝึกอบรม staff ให้เข้าใจขั้นตอนวิธีการมากกว่านี้

         - การเตรียมเจ้าหน้าที่ ตามฐานต่าง ๆ เพื่อเป็นพี่เลี้ยงที่จะเป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำในแต่ละกลุ่ม เพราะบางคนยังไม่เคยทราบเกี่ยวกับ KM มาก่อน และการเตรียมอุปกรณ์ประกอบที่ต้องให้เสริมกับกิจกรรมมากขึ้น

         - การศึกษาดูงานในสถานที่จริง

         - วิธีการ เครื่องมือ อื่น ๆ ในการคิดทำ KM เพื่อให้เหมาะสมกับการสัมมนาในแต่ละครั้ง (คงจะต้องกลับทำการศึกษา ทำความเข้าใจในรายละเอียดของเครื่องมือต่อไป)

         - บรรยากาศของห้องประชุมแสงสว่างต้องพอ ห้องไม่อึดอัดไป resort สวย ๆ กระจกใส ๆ ใส่ชุดกึ่งลำลอง สบาย ๆ ไม่เกร็ง

         - ให้ข้อมูลกับผู้เข้ารับการสัมมนาให้ชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มที่จะทำในขณะสัมมนา และชี้แจงให้เตรียมข้อมูลหรือเรื่องเล่าเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้อยู่ในหัวข้อเดียวกัน จะทำให้กลุ่มสามารถจะดำเนินการไปในแนวทางเดียวกัน

         - จัดผู้เข้าร่วมสัมมนาให้อยู่ในกลุ่มที่มีความใกล้เคียงกันจริง ๆ โดยให้ตรวจเช็คจากข้อมูลส่วนตัวของผู้เข้ารับการสัมมนาซึ่งอาจจะต้องให้มีรายละเอียดมากกว่านี้

         - การแจกเอกสารประกอบการสัมมนาจะต้องเผยแพร่ถึงผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รวดเร็วที่สุดและครบถ้วน

         - การพัฒนาบริการการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

         - ห้องประชุม+การจัดโต๊ะที่ accommodate การเรียนรู้

         - การแบ่งกลุ่ม+ป้ายชื่อ (สี,เบอร์) การประกาศจัดกลุ่มควร co-ordinate มากกว่านี้

         - การทำกลุ่มย่อย

         - การอธิบาย+ชี้แจงแต่ละขั้นตอนในการสัมมนา

         - แบ่งกลุ่มย่อยให้แน่นอนชัดเจน

         - จัดโต๊ะ ติดหมายเลขกลุ่มให้เห็นชัดเจน

         - จัดการ์ดประจำกลุ่มให้เรียบร้อย

         - สถานที่คับแคบ เจ้าหน้าที่โรงแรมไม่ค่อยยิ้มแย้มต้อนรับ

         - ความชัดเจนของผู้สังเกตการณ์ ในการชี้แจงว่าให้ทำอะไร

         - จำนวนสมาชิกที่ทำ KM ให้มีจำนวนน้อยลงเป็นกลุ่มเล็ก เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่เป็นกันเองและทุกคนสามารถเปิดใจเปิดตัวออกมาอย่าแท้จริง ซึ่งจะนำไปสู่การได้ขุมความรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพ

         - ขอเอาการจัดครั้งนี้เป็นแบบอย่างก่อน

         - การเตรียมระบบแสง-เสียงให้พร้อม เช่น แสงไฟในห้องพอหรือไม่ ระบบไมค์ลอย เป็นต้น

         - รายละเอียดการชี้แจงข้อกำหนดขอบการทำ KM

         - การจัดเวลาในการรู้จักสมาชิกในกลุ่มให้มากขึ้นก่อนการเล่าเรื่อง

         - เห็นว่าดีแล้วน่าจะนำไปทำได้เลย

         - เตรียมตนเองให้พร้อมในการทำ KM

         - ฝึกปฏิบัติให้ชำนาญก่อนที่จะ workshop

         - ทำ Mapping ของ KM meaning ให้ชัดเจน มากขึ้นและให้คำจำกัดความของ KM ให้ชัดเจน

         - ต้องมีเรื่องต้องสามารถแนะแนวทางได้ชัดเจน เพื่อจะได้ทำได้ตรงเป้าหมายของ KM

         - ต้องปรับโครงสร้างการบริหารและต้องมีบุคคลที่รับผิดชอบกิจกรรมโดยตรง

         - ขยายเวลา ขยายกลุ่มงาน ขยายกลุ่มคน อยากเห็นการต่อยอดไปทุกองค์กร เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและเห็นด้านการพัฒนาบัณฑิตต่อไป

          วิบูลย์  วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 44924เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2006 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท