งานกับสุขภาพอย่างไหนสำคัญกว่า


เคยทำงานหนักที่สนามกอล์ฟ เริ่มงานตั้งแต่ตี 5 เลิกงานดึก ทำให้รับประทานอาหารไม่เป็นเวลาและไม่ครบทั้ง 3 มื้อในบางวัน อาศัย ดื่มนมมากกว่า 1 ลิตรต่อวัน

    วันนี้ได้พบกับผู้ป่วยเป็น DM ใหม่  ชื่อนายเจษ อายุ 42 ปี  มีญาติแนะนำให้มารักษาเบาหวานที่ รพ.เทพธารินทร์   เนื่องจากช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้  คุณเจษรู้สึกว่าร่างกายผอมลงจนเพื่อนทัก น้ำหนักลด 6 ก.กใน 1 ปี ร่วมกับมี อ่อนเพลียง่าย  ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน  กระหายน้ำมาก  บางครั้งจะมีอาการหน้ามืดในช่วงบ่าย 

     จากการพูดคุยได้ข้อมูลมาว่า  นายเจษเป็น DM มาประมาณ 5 ปี  แต่ 2-3 ปีหลังไม่ได้ไปพบแพทย์และทานยาไม่สม่ำเสมอ  อีกทั้งยังมีกรรมพันธุ์เป็นเบาหวานด้วย    เคยทำงานหนักที่สนามกอล์ฟ  เริ่มงานตั้งแต่ตี 5 เลิกงานดึก  ทำให้รับประทานอาหารไม่เป็นเวลาและไม่ครบทั้ง 3 มื้อในบางวัน อาศัย ดื่มนมมากกว่า 1 ลิตรต่อวัน โดยมื้อแรกเป็นนมผสมคอนเฟลก 1 กำมือ 

มื้อที่ 2 จะทานช่วงบ่าย 2-  3 เป็นพวกอาหาร
ฟาสต์ฟู้ด  ข้าวเหนียวส้มตำ 

มื้อที่ 3 จะทานดึกประมาณ 4-5 ทุ่ม  เป็นพวกมาม่า  โจ๊กคัพ 

และยังมีประจำรายการอื่นๆอีก พวกน้ำอัดลมอย่างน้อย   2 กระป๋องต่อวัน  ไอศกรีมหวานเย็น 4-5 แท่งต่อวัน  ที่สำคัญจะชอบดื่มเบียร์กับลูกน้องแทบทุกวัน  

  ดูผลLABวันนี้พบว่า  HBA1c=16.6  BS=291  Cholesterol=342 ถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน  หากปล่อยให้ีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานานๆ
ถ้ายังไม่รีบรักษาและควบคุมดูแลสุขภาพตนเอง  
    ดิฉันได้แนะนำคุณเจษไปว่า  หัวใจสำคัญในการรักษาเบาหวาน คือ  การควบคุมอาหาร  ออกกำลังกาย  และกินยาสม่ำเสมอ
เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น  ซึ่งดิฉันดูแล้วว่าเขามีความตั้งใจและพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำ  โดยเสนอว่า
ประการแรก-ถ้าเป็นไปได้อยากให้งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์  เพราะแอลกอฮอร์จะยับยั้งไม่ให้ตับสร้างกลูโคส  ตับจะไม่สามารถนำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานได้  แอลกอฮอร์บางชนิด  เช่น  ไวน์หวาน  และเหล้าบางชนิด  มีส่วนประกอบของCHOมาก  อาจทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้  อีกทั้งการดื่มแอลกอฮอร์มากเกินจะทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากขึ้น  โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะไตรกลีเซอร์สูงอยู่ด้วย
ประการที่สอง-ปรับเรื่องการรับประทานอาหาร  จะเห็นได้ว่า  นายเจษรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการและไม่เคยควบคุมอาหารเลย
    ดิฉันได้ให้หลักง่ายๆ  คือ  เลือกรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการ
ของร่างกาย  จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน  และรู้จักการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วน  และสัมพันธ์กับยาที่ใช้    รับประทานอาหารให้ตรงเวลาซึ่งจะช่วยควบคุมเบาหวานได้
    จากนั้น 2 อาทิตย์  ดิฉันก็ได้พบคุณเจษอีกครั้ง  ครั้งนี้เขาดูสดชื่นบอกน้ำหนักขึ้นเกือบ2กิโลกรัม  1วันหลังมาหาหมอเขาบอกว่า จะนอนเกือบทั้งวันเต็มๆจนเกือบไม่ได้ลุกมาทานข้าว  ดิฉันจึงสอบถามว่า  ได้มีการปรับการรับประทานอาหารอย่างไรบ้าง  เขาบอกส่วนใหญ่จะทานข้าวต้มสลับกับข้าวสวย มื้อละ 2 ส่วน
กับข้าวจะเป็นพวกแกงจืด  ผัดผักน้ำมันน้อย  จะทานแต่เนื้อปลาและผักเป็นส่วนใหญ่  งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ น้ำอัดลม
และไอศกรีม  แต่ช่วงกลางคืนยังมีหิวบ่อย  จะดื่มนมถั่วเหลือง  หรือขนมปังทาแยม 2 แผ่น  ระหว่างมื้อจะทานผลไม้
       ครั้งนี้ดิฉันจึงเน้นให้คุณเจษ  เลือกทานโปรตีนที่มีคุณภาพดี  เช่นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน  ปลา  ไข่  นม  เพื่อควบคุมระดับไขมันในเลือด  
ให้ทานผลไม้ระหว่างมื้อได้  วันละ 3 มื้อ  มื้อละ 1 ส่วน  ดื่มนม 1-2 ชม.ก่อนนอนแทนมื้อจุกจิกก่อนนอน  
    รายคุณเจษนี้ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งสำหรับนักกำหนดอาหารมือใหม่อย่างดิฉัน  ในการที่จะโน้มน้าวเพื่อให้คำแนะนำ
เกี่ยวกับแบบแผนการบริโภคที่้เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน  ให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาล,ไขมัน ให้ใกล้เคียง
กับคนปกติมากที่สุดและให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ดิฉันคอยติดตามผู้ป่วยรายนี้ต่อไป  สิ่งสำคัญคือต้องให้ผู้ป่วยได้เลือกแนวทางที่ตนเองสามารถปฏิบัติได้ง่าย   แล้วดิฉันจะ up date ความคืบหน้าต่อไป  อย่าลืมนะค่ะ  กำลังใจจากคนใกล้ชิดสำคัญเสมอ...

สุวิชชา    เทพลาวัลย์ 

หมายเลขบันทึก: 44913เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2006 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท