cha
นางสาว มาลินี cha โต๊ะหลี

การถ่ายภาพน้ำตก


ภาพน้ำตกนี้จะมีลักษณะเฉพาะอยู่อย่างหนึ่งนั่นก็คือความนิยมที่จะถ่ายให้เห็นสายน้ำพลิ้วนุ่มสวยงามแต่ก็เป็นปัญหาสำหรับนักถ่ายภาพมือใหม่อยู่มาก เพราะถ่ายภาพน้ำตกออกมาทีไรก็จะได้น้ำเป็นก้อนๆ แข็งๆ ไม่สวยงามเหมือนในปฏิทิน หรือตามนิตยสารท่องเที่ยว

การถ่ายภาพน้ำตก  

 

 

 ภาพน้ำตกนี้จะมีลักษณะเฉพาะอยู่อย่างหนึ่งนั่นก็คือความนิยมที่จะถ่ายให้เห็นสายน้ำพลิ้วนุ่มสวยงามแต่ก็เป็นปัญหาสำหรับนักถ่ายภาพมือใหม่อยู่มาก เพราะถ่ายภาพน้ำตกออกมาทีไรก็จะได้น้ำเป็นก้อนๆ แข็งๆ ไม่สวยงามเหมือนในปฏิทิน หรือตามนิตยสารท่องเที่ยว ทั้งนี้เป็นเพราะเรายังไม่ทราบเทคนิคที่สำคัญที่จะได้ภาพน้ำตกที่มีสายน้ำพลิ้วไหวสวยงามซึ่งต้องใช้เทคนิคทางด้านความเร็วของชัตเตอร์ต่ำ จึงจะถ่ายได้ แต่การถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำสิ่งที่คู่กันก็คือ การใช้ขาตั้งกล้อง ดังนั้นเวลาจะไปถ่ายภาพน้ำตกต้องเอาขาตั้งกล้องไปด้วยเสมอ แม้จะเป็นเวลาถ่ายภาพในเวลาเที่ยงวันหรือบ่ายที่มีแสงสว่างๆ ก็ต้องติดขากล้องไปด้วย นอกจากขาตั้งกล้องแล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรใช้สายลั่นชัตเตอร์ในการกดชัตเตอร์ด้วย
     เนื่องจากภาพถ่ายที่ใช้ความเร็วของชัตเตอร์ต่ำๆนั้น หากกล้องมีการขยับเขยื้อนแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้ภาพเบลอไม่คมชัดได้ การใช้สายลั่นชัตเตอร์จึงช่วยให้เราไม่ต้องไปสัมผัสกับตัวกล้องเวลากดปุ่มชัตเตอร์ แต่ถ้ากล้องของคุณไม่มีช่องเสียบสายลั่นชัตเตอร์ก็ให้ใช้ปุ่มตั้งเวลาถ่ายภาพตัวเอง(Self timer) แทนได้เช่นกันโดยก่อนถ่ายให้เลือกไปยังโหมดตั้งเวลาถ่ายภาพตัวเองที่เป็นสัญลักษณ์รูปนาฬิกา เหมือนกับเวลาเราจะตั้งเวลาเพื่อการถ่ายภาพตัวเองแต่เราใช้กับการถ่ายภาพที่มีความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ เช่นเดียวกับการถ่ายภาพน้ำตกนี้ด้วยเหมือนกันเพราะโหมดนี้เวลาที่เรากดปุ่มชัตเตอร์กล้องจะยังไม่บันทึกภาพทันที แต่จะนับถอยหลังสักระยะหนึ่งส่วนใหญ่จะประมาณ 10 วินาทีก่อนที่จะเริ่มบันทึกภาพ เพราะฉะนั้นหากเรากดปุ่มชัตเตอร์แรงเกินไปและกล้องจะสั่นก็ไม่เป็นไร เพราะว่ากล้องจะถ่ายในอีก 10 วินาทีถัดมากล้องก็หยุดสั่นไปแล้ว ภาพที่ได้จึงคมชัดไม่มีอาการสั่นไหวของกล้องให้เห็นภาพการถ่ายภาพเมื่อไปถึงสถานที่ และเลือกมุมที่เราต้องการได้แล้ว ให้วางขากล้องลงเอากล้องติดบนขาตั้งกล้องให้เรียบร้อย ให้เลือกใช้โหมด Sและเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สักราวๆ 1/4 วินาทีดูก่อน จากนั้นก็ลองวัดแสงดูว่าสภาพแสงนั้นๆ กล้องสามารถถ่ายที่ความเร็วชัตเตอร์นี้ได้หรือไม่ ถ้าสภาพแสงไม่แรงจนเกินไปกล้องก็จะบอกขนาดรูรับแสงที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพมาให้ แต่ถ้าสภาพแสงแรงเกินไป เช่น เราถ่ายภาพน้ำตกตอนเที่ยงวันหรือช่วงบ่ายๆ สภาพแสงอาจจะแรงเกินกว่าที่กล้องจะถ่ายภาพที่ความเร็ว 1/4วินาทีนี้
ได้ก็จะกระพริบเตือน หรือบางรุ่นจะเขียนว่า Hi ปรากฏขึ้นมาก็แสดงว่าถ่ายที่ความเร็วนี้ไม่ได้ก็ลองขยับเพิ่มความเร็วขึ้นไปเป็น 1/8 วินาที หรือ 1/5 วินาที แต่ภาพก็จะได้สายน้ำที่ไม่ค่อยนุ่มนวลเท่าที่ควร ความเร็วยิ่งเพิ่มสูงขึ้นสายน้ำในภาพยิ่งไม่นุ่มดังนั้นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพน้ำตก คือ ช่วงเช้าหรือช่วงเย็นๆ จะเหมาะกว่าเที่ยงวันหรือตอนบ่ายแสงค่อนข้างแรง
เพราะเราต้องการถ่ายภาพที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ แต่ถ้าเราไม่สามารถเลือกเวลาได้ และไปถึงตอนเที่ยงหรือตอนบ่ายที่แสงค่อนข้างแรง ก็มีวิธีการเพิ่มเติมโดยถ้าคุณมีฟิลเตอร์ C-PL หรือฟิลเตอร์ ND (Neutral Density) ก็ให้เอาฟิลเตอร์ดังกล่าวไปใส่ไว้ในเลนส์ ฟิลเตอร์ทั้ง แบบนี้จะช่วยลดทอนความเข้มข้นของแสงลงไปได้โดยไม่ทำให้ภาพสีเพี้ยนออกไป
เพื่อให้ได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลงไปกว่าเดิมได้ สำหรับในด้านการจัดองค์ประกอบสำหรับภาพถ่ายน้ำตก แนะนำให้ลองหากิ่งไม้ที่มีลักษณะสวยงามมาปรกด้านบนของภาพที่อาจจะเป็นท้องฟ้าว่างๆ อยู่ เพื่อจัดให้เป็นกรอบของภาพ บังคับสายตาของผู้ดูภาพให้มองมายังน้ำตก ไม่ไปมองดูท้องฟ้าแต่ถ้ากิ่งไม้ใบไม้แถวๆ นั้นไม่สวยก็อย่าเอามาเป็นฉากหน้าเลยจะดีกว่า
 เพราะอาจจะทำให้ดูรกตาแทนที่ความสวยได้ สรุปแล้วก็คือขึ้นอยู่กับมุมมอง และสภาพการณ์ในตำแหน่งที่ถ่ายภาพเป็นสำคัญ
      หมายเหตุ : การวางขากล้องที่ถูกต้อง คือวางให้ขาทั้ง ข้างอยู่ใกล้กับตัวผู้ถ่ายและขาข้างที่ อยู่ทางใต้ของเลนส์กล้องถ่ายรูปพอดี ทั้งนี้เพื่อให้น้ำหนักของกล้องและเลนส์ (ส่วนใหญ่จะหนักที่เลนส์) ตกลงบนขาตั้งขาที่ นั้นพอดี ซึ่งค้ำยันกันได้พอดี ถ้าหากไม่ทำดังนี้แล้วกล้องอาจจะคว่ำไปทางด้านหน้าได้ จำไว้ว่าขาตั้ง ขา ต้องอยู่ด้านหน้าผู้ถ่ายและ ขาอยู่ด้านใต้ของเลนส์จึงจะรับน้ำหนักของเลนส์ได้ไม่คว่ำไปด้านหน้า
นอกจากนี้ข้อระวังเพิ่มเติม เวลาถ่ายภาพบริเวณน้ำตกก็คือ ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนที่ควรละสายตาออกมาจากช่องมองภาพ และดูไปยังพื้นที่ที่เรากำลังจะเดินไปเพราะโขดหินค่อนข้างลื่น และหลายๆครั้งตากล้องมักจะมัวสนใจอยู่แต่กับภาพที่กำลังจะถ่ายทำให้ขยับตัวทั้งๆที่ตายังมองอยู่ในช่องมองภาพ หรือสะดุด ลื่นตกน้ำไป หรือตกหน้าผาซึ่งค่อนข้างอันตราย ทุกครั้งที่ขยับขาขอให้ละสายตาจากช่องมองภาพ และมองพื้นที่ๆจะเหยียบต่อไปด้วยเสมอทำให้เป็นนิสัยจะลดอุบัติเหตุลงได้โดยเฉพาะเวลาจะก้าวถอยหลัง             

 

 


คำสำคัญ (Tags): #การถ่ายภาพ
หมายเลขบันทึก: 449092เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2011 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นภาพที่สวยงาม

และวิธีการที่ดีในการถ่ายภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท