สรุปภาพรวม 1 ปี โครงการพัฒนาต้นแบบการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในบริบทพยาบาล


"ได้เรียนรู้ถึงการเข้าตัวคน เข้าถึงชุมชนจริงๆ เป็นการดีที่เราจะนำวิธีการวิจัยนี้ไปใช้ในงานอื่นๆ จากการที่เราไม่เคยฟังผู้มารับบริการเลย มีแต่เราเป็นคนป้อนข้อมูลต่างๆให้เขา เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ แต่เราไม่เคยรู้เลยว่า ตอนนี้ผู้มารับบริการคิดอย่างไร ต้องการอะไรจากเรา ได้คิดว่า เราต้องฟังเขามากขึ้น คิดร่วมกันมากขึ้น"

สรุปภาพรวม  1 ปี   โครงการพัฒนาต้นแบบการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในบริบทพยาบาล


ที่มา/แนวคิด

 -พยาบาลเป็นวิชาชีพที่กระจายอยู่ในสถานบริการสาธารณสุขที่ใกล้ชิดกับครอบครัวและชุมชนมากที่สุด
 -พยาบาลเป็นวิชาชีพที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชนมากที่สุด
 -พยาบาลเป็นวิชาชีพที่สามารถใช้องค์ความรู้ทั้ง 4 มิติในการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น  การสร้างเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ  รวมทั้งสามารถใช้ความรู้ทางด้านสังคม  จิตวิทยาในการทำงานกับผู้ป่วย  ครอบครัวและชุมชน
  -พยาบาลจึงเป็น Change Agent ที่สำคัญในการสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน  สนับสนุนให้ คนมีสุขภาพดี  มีการดูแลตนเอง  ลดพฤติกรรมเสี่ยง   และเมื่อเจ็บป่วยสามารถดูแลตนเองให้ทุเลาหรือหายจากโรคได้    โดยใช้กิจกรรมหรือกระบวนการ ที่กระทำกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน  มีเป้าหมายเพื่อ มุ่งเน้น การสร้างปัจจัยเอื้อ กระบวนการเรียนรู้  กระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการจัดการด้านสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการมีนโยบายรัฐสนับสนุน
            จุดเริ่มต้น.....โครงการ จึงได้วิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานสร้างสุขภาพของพยาบาล นำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาวิธีคิดและพัฒนาวิธีการทำงานสร้างสุขภาพให้สอดคล้องกับพื้นที่  โดยใช้เครื่องมือของการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ  เพื่อค้นหาปัญหาที่ซับซ้อนที่มีอยู่ในผู้ป่วย  ครอบครัว  ชุมชน  หรือแม้แต่ในระบบการทำงานสาธารณสุข ในบริบทที่แตกต่างกันไป 

              ใน  1  ปีที่ผ่านมา  ชมรมพยาบาลชุมชน  มีพยาบาลจำนวนประมาณ  30 คน   ที่สมัครเข้าเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการใช้เครื่องมือของการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ   เข้าทำงานในพื้นที่ของตนเอง    ข้อค้นพบที่เกิดขึ้น ใน 1  ปี
ด้านการเรียนรู้
 -โครงการสร้างทักษะการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสนับสนุนของ สสส.เป็นกระบวนการเรียนรู้ทุกขั้นตอนซึ่งนำไปสู่การสร้างสุขภาพในบริบทพยาบาลโดยมีผู้ป่วย/ชุมชนเป็นศูนย์กลาง
 -ความรู้และทักษะที่ได้รับการฝึกฝนสามารถนำไปขยายผลฝึกอบรมสมาชิกในทีมเพื่อร่วมกันเรียนรู้ทั้งงานวิจัยและกระบวนการแก้ไขปัญหาให้สำเร็จ
ด้านพฤติกรรมบริการ
 -แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริการ  เนื่องจากวิธีการทำงานเอื้อให้มีการสื่อสาร ๒ ทางกับผู้ป่วยมากขึ้น  ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย รวมทั้งการนำทักษะการสัมภาษณ์ การสังเกต ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานชุมชน
 “การรับฟังคำพูดของผู้ป่วยมีประโยชน์ในการวางแผนให้การดูแลเขาต่อได้“
 "จนท. สามารถทำงานหาปัญหา ได้มากขึ้น นำทักษะการสัมภาษณ์ การสังเกต มาใช้ในการทำงาน ลงพื้นที่หมู่บ้าน"
 "แพทย์ซักประวัติผู้ป่วยเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเป็นหลักฐานให้มีการดูแลต่อเนื่องซึ่งเมื่อก่อนไม่ค่อยมีการซักประวัติเช่นนี้มาก่อน“
 "ได้เรียนรู้ถึงการเข้าตัวคน เข้าถึงชุมชนจริงๆ เป็นการดีที่เราจะนำวิธีการวิจัยนี้ไปใช้ในงานอื่นๆ จากการที่เราไม่เคยฟังผู้มารับบริการเลย มีแต่เราเป็นคนป้อนข้อมูลต่างๆให้เขา เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ แต่เราไม่เคยรู้เลยว่า ตอนนี้ผู้มารับบริการคิดอย่างไร ต้องการอะไรจากเรา ได้คิดว่า เราต้องฟังเขามากขึ้น คิดร่วมกันมากขึ้น"
ด้านทัศนคติของ จนท.
 เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในโครงการเกิดทัศนคติในการทำงานในแนวราบมากขึ้นทั้งกับผู้ป่วย และผู้ร่วมงาน/สหวิชาชีพ ตื่นตัวเห็นความสำคัญของกระบวนการทำงานเชิงคุณภาพมาก และมีทัศนคติเชิงบวกกับผู้ป่วยและการทำงานมากขึ้น   ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ข้อมูลที่ได้จากผู้ป่วย/ชุมชนมาใช้ในการทำงานและแก้ไขปัญหามากขึ้น
 "จนท.เกิดความตื่นตัวในการทำงาน คิดวิเคราะห์มากขึ้น แต่ก่อนมุ่งทำงานให้เสร็จอย่างเดียว"
 "มีการตื่นตัวพร้อมที่จะร่วมมือกัน..ทุกคนเข้าใจและให้ความร่วมมือมากขึ้น”
 "กลุ่ม รพ.อื่นในจังหวัดสนใจในการทำวิจัยนี้และถามว่าจะมาเข้าโครงการได้อย่างไร“
 "หัวหน้าตึกผู้ป่วยใน บอกว่าน่าจะมีการขยายผลการทำวิจัยเชิงคุณภาพอย่างนี้ให้ครอบคลุมทั้ง รพ. ประธาน  HRD มีความสนใจ เข้าใจงานวิจัยเชิงคุณภาพมากขึ้นอยากนำมาใช้พัฒนางาน“
 "ทำให้มีความเข้าใจผู้ป่วยและญาติ ดูแลเหมือนเขาเป็นญาติของตน ฟังผู้ป่วยมากขึ้น“
ด้านการทำงานร่วมกับพหุพาคีสุขภาพ
 ผลของการทำงานเชิงคุณภาพในพื้นที่ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างบุคลากรทางสาธารณสุขกับพหุพาคีอื่นๆ เช่น องค์ปกครองท้องถิ่น หน่วยงานระดับอำเภอ ชุมชน/ผู้นำ/ผู้รับบริการ/ครอบครัว เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ
 "เกิดความเข้าใจ ซึ่งกันและกันระหว่างบุคลากรด้านสาธารณสุขและบุคลากรขององค์กรปกครองท้องถิ่น...เกิดพลังในชุมชน"
 "ขอเบี้ยยังชีพจากเทศบาลตำบลให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการได้”
 “ยังหางบประมาณจากกองทุนหมู่บ้าน กองทุน ๗,๕๐๐ มาจัดสรรแบ่งเป็นค่าผู้นำออกกำลังกายในหมู่บ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ
 “นำหลักการจากโตรงการนี้ ไปพัฒนาโครงการวิจัยร่วมกับ ชมรมอนุกรักษ์กลุ่มน้ำชี มีทีมงานประกอบด้วย NGO/อบต./ตัวแทนชุมชน/บุคลากร สธ. ได้รับการพิจารณาอนุมัติโครงการเป็นวงเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท จาก สกว.แล้ว
ด้านการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ
 การทำงานเชิงคุณภาพ ทำให้สัมพันธภาพของทีมพยาบาลกับสหวิชาชีพดีขึ้น           เกิดเครือข่ายสหวิชาชีพในการสร้างสุขภาพในชุมชน   และการให้บริการผู้ป่วย   สหวิชาชีพเริ่มเข้าใจและให้ความสนใจกับการทำงานเชิงเชิงคุณภาพร่วม  
 "เกิดเครือข่ายสหวิชาชีพ มีทั้งพยาบาลวิชาชีพ นวก.สธ. จนท.บริหาร สธ. จนท.สธ....ได้เครือข่ายการสร้างสุขภาพ"
 “เกิดทีมวิจัยเพิ่มขึ้นคือทันตแพทย์ และแพทย์ ในรพ.สนใจอยากมาร่วมทีมอีกและให้ความร่วมมือดีในการทำงานด้านอื่นๆ เช่น ตรวจคนไข้ให้ดีขึ้น ร่วมงานวิชาการดีขึ้น สัมพันธภาพกับเราดีขึ้น"
ผลกระทบของโครงการ
ด้านพฤติกรรมของ จนท.

 ผลกระทบของการทำงานเชิงคุณภาพในพื้นที่ครั้งนี้ ทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วม/ให้ความร่วมมือในการทำงานระหว่างกลุ่มงานต่าง ๆ  และจนท.บางคนมีการปรับพฤติกรรมบริการในทางที่ดีขึ้น
 "เกิดความร่วมมือระหว่างกลุ่มงานใน รพ...จนท.บางคนมีเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม.”
 "เกิดความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมในการทำงาน.”
ด้านการพัฒนาระบบบริการ
 ผลกระทบจากการดำเนินงาน    ทำให้เกิดการพัฒนาระบบบริการสุขภาพทั้งในสถานบริการ/ชุมชน   การดูแลผู้ป่วย/การสร้างเสริมสุขภาพ  ระบบข้อมูล  การประสานงานในแนวราบกับสหวิชาชีพและพหุพาคีรวมทั้งกระบวนการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
 “มีการจัดระบบการนัดผู้ป่วยให้มาด้วยกันในผู้ป่วยที่อยู่หมู่บ้านเดียวกัน เพื่อความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย."
  ”เกิดแนวคิดว่าการให้ความรู้กับผู้ป่วยจะต้องให้ญาติมามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจริง (จากเดิมจะให้ความรู้กับผู้ป่วยหรือให้เฉพาะญาติคนใดคนหนึ่งก็พอ”
 "การสร้างทีมงานวิจัยการทำงานเชิงคุณภาพใน รพ.เพื่อบูรณาการกับกระบวนการรับรองคุณภาพ รพ.”
 "ผู้บริหารเห็นความสำคัญของการจัดระบบบริการให้ความรู้ ในแผนกผู้ป่วยในมากขึ้น สนับสนุนแลให้กำลังใจ มีการพัฒนาระบบจำหน่ายผู้ป่วยให้มีคุณภาพ"
ด้านทัศนคติผู้รับบริการ
 ผลกระทบของการทำวิจัยเชิงคุณภาพในพื้นที่ครั้งนี้ ทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วม/ให้ความร่วมมือในการทำงานระหว่างกลุ่มงานต่างๆ และบางรายมีการปรับพฤติกรรมเสียใหม่
 "ผู้ป่วยมีส่วนร่วม ให้ความร่วมมือไว้วางใจและกล้าเปิดเผยพฤติกรรมเสี่ยง ที่เกิดขึ้น“
 "ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการเข้าไปเก็บข้อมูลมีความกระตือรือร้น ในการที่จะดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลช่วยเหลือกันมากยิ่งขึ้น“
 "เกิดความเข้าใจกันกับ จนท.กับประชาชน ชาวบ้านในพื้นที่ชมว่ามีหมอมาดูแลเอาใจใส่ดีขึ้นกว่าเดิม มาพูดคุยเป็นกันเองมากขึ้น"


ปัญหาอุปสรรคผู้วิจัย
 ผู้บริหาร/เพื่อนร่วมงาน/สหวิชาชีพ บางส่วนยังไม่เข้าใจ/ไม่เห็นความสำคัญ จึงไม่ให้การสนับสนุนการทำโครงการอย่างเต็มที่ บางครั้งกลับมอบหมายภาระงานอื่นเพิ่มเติม แต่ไม่ถึงกับขัดขวางการทำงาน ผู้วิจัยต้องปรับตัว/เวลา/บริหารตนเอง เพื่อฝ่าฟันบากบั่นทำงานโครงการนี้ให้สำเร็จให้ได้ นอกจากนี้งานประจำบางอย่างในระบบการสั่งการแบบนึกเอาจากบนลงล่าง เป็นสิ่งไม่จำเป็นแต่เป็นภาระในการสร้างภาพ
สรุป  สิ่งที่เกิดขึ้นใน 1 ปี
1 . มีรูปแบบและเครื่องมือการสร้างสุขภาพในระดับพื้นที่
2 . มีผู้นำการสร้างสุขภาพเพื่อขับเคลื่อน งานสร้างสุขภาพในชุมชนอย่างเป็นระบบ
3.  เกิดบทบาทใหม่ของพยาบาลเพื่อ การสร้างสุขภาพเชิงรุก
4.  มีการสนับสนุนพยาบาลและเครือข่ายในการดำเนินงานสร้างสุขภาพ ระดับจังหวัด
5.  มีรูปแบบ / องค์ความรู้ ที่เหมาะสมเพื่อผลักดันงานสร้างสุขภาพเชิงรุก ต่อกระทรวงสาธารณสุข
ความคิดเห็นต่อโครงการฯ  ของผู้ทรงคุณวุฒิ / ที่ปรึกษา / สหวิชาชีพ /ทีมประเมินภายนอก /ตัวแทนเครือข่ายชมรมพยาบาลชุมชน
 “รู้สึก ทึ่ง ภูมิใจในวิชาชีพมากขึ้น  ไม่เคยเห็นพยาบาลเป็นแบบนี้  ควรมีการขยายวงให้กว้างขึ้น”
“เริ่มเปลี่ยนมุมมอง เมื่อได้ทำงานในชุมชน ตำราเล่มไหนก็สู้ไม่ได้ได้เรียนรู้กับชุมชน จะปล่อยปัญหาไว้ได้อย่างไร”
“รู้สึกเป็นบุญ  หัวหน้าดันให้มา ได้รับคำตอบว่าหัวใจ PCU.อยู่ที่ไหน”
ข้อเสนอแนะ...       จากที่ปรึกษาในพื้นที่
“การวิจัยเชิงคุณภาพ  คือพลวัตรของการเปลี่ยนแปลง”
“โครงการเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ รู้สึกดีใจ ผมไม่ได้เป็นพยาบาล  เห็นการเปลี่ยนแปลง น่าจะนำไปให้  สหวิชาชีพอื่นๆได้นำไปใช้ “
“ไปปรับใช้กับการสอนนักศึกษาในการลงพื้นที่ภาคสนาม  นักศึกษาบอกว่า...ทำไมอาจารย์ไม่สอนแบบนี้แต่แรก..”
ข้อเสนอแนะ...       จากที่ปรึกษาหลัก
“20  โครงการนับค่าไม่ได้  หนึ่งแสนบาทถือว่าไม่แพงแสน...แต่สิ่งที่อยู่ในตัวพยาบาลที่มาร่วมโครงการมีอีกมากมาย  ที่จะนำไปใช้ในเกิดประโยชน์กับประชาชน”
“ โครงการนี้เป็นหนึ่งในสามความภูมิใจที่สุดของผม  ผมคิดว่าเราคงจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอนาคตของประเทศชาติอย่างแน่นอน “
ข้อเสนอแนะ...       จากผู้ประเมินภายนอก
“ไม่ได้มีหน้าที่ประเมิน แต่มาร่วมเรียนรู้ กับทีม อยากให้ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการนี้”
“ ดีใจ....พยาบาลมีความสามารถ ขอให้นักวิชาการได้มาเรียนรู้กับนักปฏิบัติ  ขอให้มีโอกาสสนับสนุนแก่พยาบาลภาคปฏิบัติบ้าง

หมายเลขบันทึก: 44888เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2006 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนปรึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพค่ะ

ยินดีครับ ผมตอบไปทาง email ของคุณแล้ว

สุพัฒน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท