Lesson study in Mathematics 2


การทำงานต่อเนื่องสำหรับผู้สนใจการสอนแบบใหม่ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นด้านการสอน

          วันพุธที่ 16 สิงหาคม ผมและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้จัด Learning Forum เรื่อง "Lesson study in Mathematics 2" ต่อเนื่องจากครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ซึ่งเป็นการเผยแพร่วิธีการสอนในโครงการที่ศ.ดร.จีระ ได้สนับสนุนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการของบประมาณจาก APEC ผ่าน APEC HRD Working Group ที่ศ.ดร.จีระ เป็นประธานคณะทำงาน เป็นการทำงานต่อเนื่องในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของมูลนิธิฯ เพราะคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของกระบวนการคิดที่สำคัญ

           โดย Lesson study นี้เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กและครูที่ใช้กันและพัฒนาในญี่ปุ่นมากว่า 100 ปี เป็นวิธีการที่ครูได้เรียนรู้ สอน และทำวิจัยไปพร้อม ๆ กัน เพราะต้องมีการเก็บข้อมูลการสอนของครู โดยจะมีครูอีกคน สังเกตุการสอนอยู่หลังห้อง และเก็บข้อมูลของเด็กนักเรียน เนื่องจากโจทย์คณิตศาสตร์มีวิธีการแก้ปัญหาได้หลายวิธี ดังนั้นครูจะต้องเก็บข้อมูลของเด็กเพื่อมาวิเคราะห์ว่าเด็กสามารถเข้าใจบทเรียนได้มากน้อยเพียงใด Lesson study จึงเป็นวิธีการที่ช่วยให้การเรียนรู้และการสอนคณิตศาสตร์ของครูและนักเรียนสมบูรณ์

            ขอเชิญทุกท่านที่สนใจการสอนแบบใหม่ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

หมายเลขบันทึก: 44863เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2006 00:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ยม "บทเรียนจากความจริงกับ ศ.ดร.จีระ Isreal/Hezbollah และ ทักษิณ/อภิสิทธิ์"
       

 

             

 

     
ยม "บทเรียนจากความจริงกับ ศ.ดร.จีระ Isreal/Hezbollah และ ทักษิณ/อภิสิทธิ์"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

  หลายวันที่ผ่านมา ผมไม่ได้เขียนข้อความลงใน Blog ของอาจารย์ เนื่องจากไปสัมมนาที่ Bankgalore ประเทศอินเดียมาหลายวัน หลังจากผมกลับจากการไปร่วมสัมมนา ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง Isreal/Hezbollah และ ทักษิณ/อภิสิทธิ์   ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ     ยุคนี้เป็นยุคของการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูล การมีสื่อ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้อ่านได้ประโยชน์ จากการทำงานร่วมกับ FM 96.5 MHz ผมได้ย้ายรายการจากวันอาทิตย์มาเป็นวันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. จะมีการพูดเรื่องระยะยาว ที่ผู้ฟังสามารถนำไปใช้ได้ ผมดีใจที่การใช้สื่อของผมได้ประโยชน์มากขึ้น ยุคนี้ต้องนำเอา Ideas ดี ๆ ไปสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดเวลา  ประเด็นนี้ ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างยิ่ง เป็นยุค Knowledge-Based Economy  ความรุ่งเรือง ความสำเร็จของสังคม องค์การ ของประเทศชาติ ขึ้นอยู่กับองค์ความรู้ การจัดการความรู้ เช่น สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นมหาอำนาจ ก็เพราะมีการจัดการเรื่องความรู้ดีมาก มีมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอยู่ที่นั่นหลายแห่ง มีการทำวิจัยเรื่องต่าง ๆ มากมาย ทั้งชีวิตคน ชีวิตสัตว์ ชีวิตการทำงาน และมีการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ   ส่วนประเทศไทยเราในความเห็นผมเรื่องการจัดการความรู้ ควรต้องเร่งพัฒนา มีนโยบายสาธารณะด้านการส่งเสริม การจัดการเรื่องการศึกษาทั้งระยะสั้น ระยะยาว โดยเฉพาะเรื่อง ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และด้าน IT รวมทั้งด้านจริยธรรม ศีลธรรมอันดีงาม เป็นต้น   คนมีความรู้หลายคนไม่ได้ทำอย่าง ศ.ดร.จีระ ทำ แต่กลับมีพฤติกรรมตรงกันข้ามคือมีความรู้แต่เก็บความรู้ไว้ ไม่เผยแพร่ หรือไม่เผยแพร่หมด ไม่พัฒนาต่อ รู้อยู่คนเดียว แถมหวงวิชา และไม่ชอบให้ใครรู้มากกว่า   ผมไปดูงานและสัมมนาที่ประเทศอินเดีย ได้มีโอกาสร่วมสัมมนากับสถานบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงของอินเดีย ซึ่งมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกหลายแห่ง และได้มีโอกาสไปดูงานบริษัทที่มีชื่อเสียงด้าน ไอที และผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อย่าง TOYOTA ในประเทศอินเดีย น่าทึ่งมากครับที่อินเดียพัฒนาไปไกลแล้ว โดยเฉพาะด้าน IT และการบริหารการศึกษา อินเดียเป็นประเทศที่มีการพัฒนาการจัดการความรู้ได้ดี ศูนย์ไอที ที่ดีที่สุดในโลก อยู่ที่นี่ เป็นแหล่งรวบรวมคนมีความรู้ ความสามารถมารวมไว้ และให้คนเก่ง คนดีเหล่านั้นได้ทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนความรู้กัน จึงกลายเป็นจุดแข็งของการจัดการความรู้ประเทศอินเดีย ซึ่งสามารถแข่งกับจีนได้ ผมได้ถามนักวิชาการด้านการบริหารชาวอินเดียว่า ในความเห็นของเขาคิดว่าใครจะเป็นประเทศมหาอำนาจกันแน่ระหว่างจีนและอินเดีย  คำตอบที่ได้คือ เป็นทั้งสองประเทศ แต่แตกต่างกันตรงที่อินเดีย เน้นที่ Software เน้นการศึกษาพัฒนาคนและ Software ขณะที่จีน เน้นการพัฒนา Infrastructure เน้นที่ Hardware คนจีนไม่เก่งภาษาอังกฤษ ขณะที่คนอินเดียพูดภาษาอังกฤษได้ อินเดียไม่หวงความรู้ แต่สนใจที่จะแชร์ความรู้ร่วมกับประเทศต่าง ๆ ขณะที่ไทยมีประชากร หกสิบกว่าล้านคน แต่อินเดียมี หนึ่งจุดสองพันกว่าล้านคน อินเดียยังไม่วุ่นวายทางการเมืองเหมือนไทยในขณะนี้  เขาร่วมมือกันพัฒนาชาติ กลุ่มคนเก่ง ๆ มาที่รวมตัวกันไปเรียน ไปทำงานต่างประเทศ กลับมาประเทศบ้านเกิด หันมาร่วมมือกันพัฒนาความรู้ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประเทศ เพื่อขยายความเจริญทางด้านความรู้ ไปสู่การพัฒนาประเทศและทรัพยากรมนุษย์ของชาติ  สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีกิจกรรม 3 เรื่องที่น่าสนใจ
เรื่องแรกคือ ไปร่วมบรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำให้กับกลุ่ม Marketing Guru ในโครงการ Nano MBA ซึ่งทำเป็นครั้งที่ 5 แล้ว การหารือกันเรื่องผู้นำถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ
-
ผู้นำสร้างได้
-
ผู้นำไม่เกี่ยวกับอำนาจทางกฎหมายหรือตำแหน่ง
-
ผู้นำจะมีทั้งผู้หญิง ผู้ชาย แต่ในปัจจุบันผู้หญิงมีน้อยกว่ามาก
-
เป็นเรื่องจำเป็น เพราะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ
-
ผู้นำแตกต่างกับผู้บริหาร
-
อะไรคือแรงกระตุ้น ( Motivation ) ให้อยากเป็นผู้นำ
-
ผู้นำต้อง
-
เก่งงาน
-
เก่งคน
-
เก่งบริหารการเปลี่ยนแปลง
-
มีคุณธรรม จริยธรรม
ผู้นำมีหลายชนิด
-
แบบมีเสน่ห์ ( Charisma )
-
แบบ Transformation จาก A B
-
แบบเหตุการณ์สร้างผู้นำ ( Situational Leadership )”

เรื่องการไปร่วมบรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำให้กับกลุ่ม Marketing Guru ในโครงการ Nano MBA ของ ศ.ดร.จีระ  ผมได้มีโอกาสไปร่วมในงานนี้ด้วย พบว่าการบรรยายให้ความรู้ ของ ศ.ดร.จีระ เป็นการฝึกภาวะผู้นำไปในตัวด้วย  ให้ความรู้ควบคู่กับการฝึกฝน ผมเชื่อว่าในวันนั้น ศ.ดร.จีระ คงเห็นแววผู้นำของผู้เข้ารับการอบรมว่าเป็นอย่างไร เรื่องผู้นำ ที่ ศ.ดร.จีระ บรรยาย และเขียนมาในบทความนี้ เป็นองค์ความรู้ที่สด ไม่ได้ใช้ทฤษฎีแบบดั้งเดิมเอามาสอน แต่เป็นการนำเอาสถานการณ์ ยุคของโลกปัจจุบันและองค์ความรู้ข้ามศาสตร์มาบูรณาการ ออกมาเป็นผู้นำยุคใหม่  และสิ่งที่ผู้นำยุคใหม่ควรมีอย่างยิ่งก็คือ การสามารถบริหารความขัดแย้งให้เป็นคุณค่าแก่ส่วนรวมได้เป็นอย่างดี   และที่สำคัญที่ ซึ่ง ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้ว่า ผู้นำ ต้องมีความอยากจะเป็น ด้วย ผมได้ความรู้ใหม่ตรงนี้  ผู้นำยุคนี้ต้องมีความอยากจะเป็นซึ่งผิดจากสมัยก่อน ว่าผู้นำคือผู้ที่คนอื่นยอมรับและแต่งตั้งขึ้นมา ทั้งที่ไม่อยากเป็น  ที่ว่าผู้นำ ควรต้องมีความอยากจะเป็นด้วย ผมเห็นด้วยเป็นอย่างมาก เพราะผู้นำต้องกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ นโยบายสาธารณะต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก ย่อมต้องเจอกระแสต่อต้าน ถ้าผู้นำไม่มีความอยากจะเป็นเมื่อเจอปัญหาเหล่านี้ก็จะหมดแรง และท้อแท้ถอยหลังไป นอกจากนี้ ศ.ดร.จีระ ยังได้อธิบายความแตกต่างระหว่างผู้บริหารและผู้นำ ซึ่งผมขอร่วมแชร์ไอเดียเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้ ครับ นักบริหารมืออาชีพ นักบริหารมืออาชีพมีคุณลักษณะภายในตนที่สามารถปลูกฝังและฝึกได้หลายประการ ดังต่อไปนี้
    • มีวิสัยทัศน์ มีสายตาที่ยาวไกล ก้าวไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา
    • ตรงไปตรงมา มีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างสูงสุด
    • ทำงานโดยมุ่งผลสำเร็จมากกว่ามุ่งกระบวนการ
    • มองปัญหาชัด
    • ใช้ปัญญาในการการแก้ปัญหาและ
    • กล้าตัดสินใจ
    • เป็นผู้มีศิลปะในการประนีประนอม
    • การทำงานเป็นทีม ฯลฯ
บุคลิกนักบริหาร ·        เรียนรู้สิ่งใหม่/ รับฟัง/ อ่านตำราใหม่ ๆ ผู้บริหารที่อ่านมากจะรู้มาก ก้าวทันโลกวิทยาการ ·        รู้จักเลือกใช้คน ใช้คนให้เหมาะกับความรู้ความสามารถ ·        มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ช่วยป้องกันการตัดสินใจที่อาจผิดพลาด ·        สื่อสารให้ทีมงานเข้าใจได้ กระจายข้อมูลที่จำเป็นให้ทุกคนรับรู้อย่างทั่งถึงและรวดเร็ว ·        สร้างเศรษฐกิจชุมชนไปสู่การแข่งขันตลาดโลกจากการกสร้างเศรษฐกิจในครัวเรือนให้พอมีพอเพียง ไปสู่การทำมาค้าขายในระดับท้องถิ่นไปจนถึงก้าวเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ ·        ผู้นำต้องมีผู้อยากเดินตาม ขณะที่ผู้บริหารต้องสามารถทำงานและกำกับควบคุมให้ผู้อื่นทำงานได้ดี   ผู้นำ คุณสมบัติผู้นำที่ดีควรมี ดังนี้·        เป็นผู้มีความคิดกว้างไกลและลึก·        มีความสามารถในด้านการใช้ภาษาต่างๆ ·        มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์                        ·        เป็นคนที่ฉลาด มีทุนทางความรู้มาก·        มีความสำเร็จในด้านวิชาการและด้านบริหาร·        มีความรับผิดชอบสูง ·        มีความกล้าและมีความอดทน·        ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมได้

·        มีระดับจิตใจสูง มีคุณธรรม ฯลฯ

 ผู้นำมักสร้างคน ต้องสร้างผู้บริหารไว้หลายระดับ มีตัวตายตัวแทนหมุนเวียนให้คนรุ่นใหม่ก้าวเข้ามาแทนเพื่อตัวเองสามารถก้าวให้สูงขึ้น ผู้นำต้องคิดให้ทะลุ มองปัญหาไว้ตั้งแต่การป้องกัน การแก้ไข กระบวนการทำงานทุกขั้นตอน    ผมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมการค้าต่างประเทศได้จัด workshop เรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ที่น่าสนใจเพราะเป็นการจัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 โดยเน้นทฤษฎีว่า ถ้าจะทำ HR ให้ได้ผล ต้องพัฒนาความเชื่อและศรัทธาก่อน
เรื่องเผยแพร่องค์ความรู้ด้านทรัพยากรมนุษย์ เราโชคดีที่มี ศ.ดร.จีระ เปิดประเด็นใหม่ ๆ หลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำให้   HR Manager หลายท่านไม่หลงประเด็นไปเน้นแต่ สรรหา คัดเลือก อบรม ก.ม.แรงงานฯ เป็นต้น  เพราะสิ่งที่ ศ.ดร.จีระ แนะนำ โดยเฉพาะเรื่อ ทฤษฎี 8 K’s จะเป็นรากหญ้าของทรัพยากรมนุษย์ ถ้าทรัพยากรมนุษย์ ไม่มีสิ่งที่ ศ.ดร.จีระ บรรยาหรือแชร์ความรู้ ก็ไม่มีประโยชน์ ที่จะไปทำการสรรหา คัดเลือก อบรม ทำด้านแรงงานสัมพันธ์ฯ ผมจึงมั่นใจว่า สิ่งที่ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมการค้าต่างประเทศได้รับ จะมีประโยชน์อย่างมาก เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการทำงาน   การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในยุคนี้ต้องพูดคุยกันในเรื่องโลกาภิวัตน์และ Innovation ไม่มาย้ำคิดย้ำทำเรื่อง สรรหา คัดเลือก อบรม แรงงานสัมพันธ์ฯ อย่างที่ทำกันอยู่ แค่งานประจำวันเท่านั้น ยังไม่สามารถขับเคลื่อนองค์กร สังคม ประเทศชาติได้ดีนัก
เมื่อกลับมาดูคุณทักษิณ กับคุณอภิสิทธิ์ ในระยะแรก นายกฯทักษิณได้เปรียบ ชนะอยู่หลายช่วงตัว แต่วันนี้ คุณอภิสิทธิ์ปรับปรุงแนวทางของการเป็นผู้นำ จุดแข็งของคุณทักษิณ คุณอภิสิทธิ์ก็นำมาใช้ได้ และหลีกเลี่ยงจุดอ่อนอื่น ๆ เช่น
-
คุณธรรม จริยธรรม
-
เรื่อง Corruption ก็นำมาชี้ให้เห็น
-
สิ่งใดที่เป็นประชานิยมก็จะทำ ทำเพื่อความยั่งยืน เช่น มีกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง
-
เน้นเรื่องการลดค่าครองชีพ ทุนนิยมของทักษิณเป็นแบบเน้นการตลาดเต็มตัว แต่ทุนนิยมของคุณอภิสิทธิ์เป็นทุนนิยมแบบยั่งยืน เน้นกระจายผลประโยชน์ต่อทุกกลุ่ม และยังมองเรื่องการศึกษาด้วย สนใจเรื่องสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้คนในประเทศอย่างเป็นรูปธรรมด้วย”  เรื่องประเด็นทางการเมืองที่ ศ.ดร.จีระ เขียนมา ผมเห็นด้วย เห็นว่าคุณอภิสิทธิ์มีการพัฒนารูปแบบการหาเสียงได้ดีขึ้นมาก ก็ขอให้มีการประเมินผลการทำดังกล่าวเป็นระยะและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ก็จะยิ่งเก่งและดีขึ้น   ที่สำคัญ การหาเสียงและนโยบายพรรคของทุกพรรคการเมือง ก็ควรควรคำนึงถึงกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2549 พระราชดำรัส 4 ข้อนี้ ขอให้นักการเมืองทั้งหลาย นำไปช่วยปฏิบัติให้เกิดผล ทั้งยังเป็นการเผยแพร่ และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชนรุ่นหลัง พระราชดำรัส 4 ข้อ ดังกล่าว ผมพอสรุปมาได้ดังนี้
  1. จะคิด จะพูด จะทำ ก็ขอให้มีเมตตามุ่งดีต่อกัน
  2. ให้ช่วยเหลือประสานงานสามัคคีกัน ต้องช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ประสานประโยชน์กัน ทำงานช่วยเหลือตัวเองด้วย แก่ประเทศชาติด้วย
  3. ให้ปฏิบัติตนอยู่ในกฎระเบียบ เคารพกฎหมายให้เท่าเทียมเสมอกัน และ
  4. ต้องพยายามทำความคิดความเห็นของตัวเองให้ถูกต้องมั่นคง มีเหตุผล อย่าทำอะไรด้วยอารมณ์ ตัณหา กิเลส ต้องมีอยู่ในเหตุผล และปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน จะขัดแย้งกันบ้าง แต่เมื่อตกลงกันแล้วก็เดินไปในทิศทางเดียวกัน
 นอกจากนี้ การหาเสียงของนักการเมือง ก็ควรระวังว่าจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อมากเกินไป หาประโยชน์ใส่ตนและพวกพ้อง ทำเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนน แต่ไม่สนใจว่าจะถูกต้อง และสิ่งที่พูดจะเป็นไปได้หรือไม่  ที่สำคัญ นโยบายแต่ละพรรคผมยังไม่เห็นมีพรรคไหน มีโครงการที่ยั่งยืนถาวรเพื่อแผ่นดินจริง ๆ จึงขอให้บอกผ่านมายังทุกพรรคการเมืองว่า ลองทบทวนดูวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ นโยบายเป้าหมาย อีกครั้ง ว่าแผ่นดินได้อะไรจากนโยบายนั้นหรือไม่อย่างไร  นโยบายของพรรคเป็นการคิดสั้นหรือคิดยาว คิดแบบ Local อย่างเดียว หรือคิดแบบ Globalization ร่วมกันไปด้วย ในยุคนี้ ถ้าคิดสั้น คิดแคบเฉพาะท้องถิ่น อาจจะอยู่รอดได้ยาก เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ขีดจำกัดหรือเน้นแค่ท้องถิ่น แต่อยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง บนกระแสโลกาภิวัตน์ ให้คนไทยอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน วันนี้ ผมเขียนไว้เท่านี้ก่อน  ศ.ดร.จีระ มีรายการที่น่าสนใจหลายรายการ เช่นรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 และรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทาง ททบ. 5 ทุกวันอังคารและวันพุธ เวลา 9.55 น. – 10.00 น. หรือทาง http://www.chiraacademy.com/   

เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานเขียนของ ศ.ดร.จีระ  เรื่อง Isreal/Hezbollah และ ทักษิณ/อภิสิทธิ์ ใน Blog ถัดไป

  ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน     ยม   
ยม "บทเรียนจากความจริงกับ ศ.ดร.จีระ Isreal/Hezbollah และ ทักษิณ/อภิสิทธิ์"

Isreal/Hezbollah และ ทักษิณ/อภิสิทธิ์[1]

 บทความนี้ผมเขียนในวันพุธ ก่อนจะเดินทางไปประชุม APEC/ILO ที่จาการ์ตา ประเทศ อินโดนีเซีย กิจกรรมหนึ่งที่ผมทำในนามของ ประธานคณะทำงานด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ เอเปก ( APEC HRD Working Group ) ซึ่งดำรงตำแหน่งมา 2 ปีแล้ว ได้ความรู้และเป็นประโยชน์มากต่อคนไทย กิจกรรมทุกเรื่อง ผมจะรายงานให้คนไทยทราบเพราะ
ยุคนี้เป็นยุคของการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูล การมีสื่อ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้อ่านได้ประโยชน์
ในยุคต่อไป องค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ จะทำงานร่วมกันมากขึ้น ต่างคนต่างทำจะไม่สำเร็จ ผมเปิดกว้างให้องค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ มาทำงานร่วมกับ APEC มากขึ้น เช่น OECD หรือธนาคารโลก
การประชุมครั้งนี้ เป็นเรื่องการลดการใช้แรงงานเด็กในหลายประเทศ ซึ่งปัญหาแรงงานเด็กเกิดขึ้นเพราะ
-
ค่าจ้างถูก
-
กฎหมายควบคุมไม่ถึง
-
พ่อแม่ยากจน
-
เด็กไม่ได้เรียนหนังสือ จึงต้องทำงานหาเงิน
จุดอ่อนคือ เด็กขาดโอกาสทางการศึกษา เมื่อเขาอายุ 25 ปีขึ้นไปแล้ว เขาจะทำอะไร อนาคตจะลำบาก เพราะไม่ได้เรียนหนังสือ
APEC/ILO
จึงร่วมมือกัน ลดการใช้แรงงานเด็ก และต้องให้ได้ผลจริง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเด็ก หาวิธีให้เขาได้รับการศึกษาที่ดี
สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีกิจกรรม 3 เรื่องที่น่าสนใจ
เรื่องแรกคือ ไปร่วมบรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำให้กับกลุ่ม Marketing Guru ในโครงการ Nano MBA ซึ่งทำเป็นครั้งที่ 5 แล้ว การหารือกันเรื่องผู้นำถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ
-
ผู้นำสร้างได้
-
ผู้นำไม่เกี่ยวกับอำนาจทางกฎหมายหรือตำแหน่ง
-
ผู้นำจะมีทั้งผู้หญิง ผู้ชาย แต่ในปัจจุบันผู้หญิงมีน้อยกว่ามาก
-
เป็นเรื่องจำเป็น เพราะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ
-
ผู้นำแตกต่างกับผู้บริหาร
-
อะไรคือแรงกระตุ้น ( Motivation ) ให้อยากเป็นผู้นำ
-
ผู้นำต้อง
-
เก่งงาน
-
เก่งคน
-
เก่งบริหารการเปลี่ยนแปลง
-
มีคุณธรรม จริยธรรม
ผู้นำมีหลายชนิด
-
แบบมีเสน่ห์ ( Charisma )
-
แบบ Transformation จาก A B
-
แบบเหตุการณ์สร้างผู้นำ ( Situational Leadership )
ผู้นำมีหลายชนิด แตกต่างกัน จะเหมาะกับแต่ละคน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และความเหมาะสมแต่ละคน
การเรียนรู้ผู้นำ อย่าลอกตำราฝรั่งเท่านั้น ควรจะวิจัยในประเทศไทยมากขึ้น ดูจากจุดอ่อนของเรา/มองตัวเราเอง หรือดูแบบอย่าง Role model
ผมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมการค้าต่างประเทศได้จัด workshop เรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ที่น่าสนใจเพราะเป็นการจัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 โดยเน้นทฤษฎีว่า ถ้าจะทำ HR ให้ได้ผล ต้องพัฒนาความเชื่อและศรัทธาก่อน
ผมประทับใจในอธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร เพราะเป็นผู้ที่สนใจการสร้างคุณภาพของคนในองค์กร มานั่งฟังและมีส่วนร่วมทั้ง 3 ชั่วโมง ซึ่งอธิบดีในประเทศไทย ไม่ชอบการเรียนรู้ และเราจะมีการทำงานต่อเนื่องในอนาคต
สรุปการทำ workshop พบว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมการค้าต่างประเทศอยากเรียนเรื่อง
- Team work
-
การสร้างความรัก ความผูกมิตรในองค์กร
-
การเป็นเจ้าขององค์กร
ซึ่งแต่ละเรื่องน่าสนใจ แต่ทำยาก อย่างน้อย กระทรวงพาณิชย์ได้มองอะไรแบบ Intangible ครับ
อีกเรื่องหนึ่งคือ จากการทำงานร่วมกับ FM 96.5 MHz ผมได้ย้ายรายการจากวันอาทิตย์มาเป็นวันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. จะมีการพูดเรื่องระยะยาว ที่ผู้ฟังสามารถนำไปใช้ได้ ผมดีใจที่การใช้สื่อของผมได้ประโยชน์มากขึ้น ยุคนี้ต้องนำเอา Ideas ดี ๆ ไปสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดเวลา
เมื่อพูดถึงผู้นำ ก็นึกถึงช่วงนี้ที่มีการเปรียบเทียบผู้นำการเมือง 2 คนคือคุณทักษิณ ชินวัตร และคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หากจะเปรียบเทียบภาวะผู้นำของ 2 คน อย่ามองแบบ static นิ่ง ขอให้มองอย่างรอบคอบ เพราะทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผมขอยกตัวอย่าง
เมื่อปี 1967 ในการรบระหว่างยิวกับอียิปต์ ยิวชนะภายในเวลา 5-6 วัน แต่ในวันนี้กว่า 40 ปี ที่ผ่านมา ยิวรบกับกองโจร Hezbollah ทุกคนคิดว่า ยิวต้องชนะอย่างง่ายดายแต่ปรากฏว่า Hezbollah ปัจจุบันปรับยุทธวิธีการรบ สู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี อะไรที่เป็นจุดแข็งของการรบของยิว Hezbollah สามารถนำมาปรับปรุงใช้ได้
ปัจจุบันผู้นำการทหารของยิวหรืออิสราเอล ก็ตกใจ ไม่คิดว่าการรบจะยืดเยื้อไปมากมายขนาดนี้
เมื่อกลับมาดูคุณทักษิณ กับคุณอภิสิทธิ์ ในระยะแรก นายกฯทักษิณได้เปรียบ ชนะอยู่หลายช่วงตัว แต่วันนี้ คุณอภิสิทธิ์ปรับปรุงแนวทางของการเป็นผู้นำ จุดแข็งของคุณทักษิณ คุณอภิสิทธิ์ก็นำมาใช้ได้ และหลีกเลี่ยงจุดอ่อนอื่น ๆ เช่น
-
คุณธรรม จริยธรรม
-
เรื่อง Corruption ก็นำมาชี้ให้เห็น
-
สิ่งใดที่เป็นประชานิยมก็จะทำ ทำเพื่อความยั่งยืน เช่น มีกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง
-
เน้นเรื่องการลดค่าครองชีพ ทุนนิยมของทักษิณเป็นแบบเน้นการตลาดเต็มตัว แต่ทุนนิยมของคุณอภิสิทธิ์เป็นทุนนิยมแบบยั่งยืน เน้นกระจายผลประโยชน์ต่อทุกกลุ่ม และยังมองเรื่องการศึกษาด้วย สนใจเรื่องสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้คนในประเทศอย่างเป็นรูปธรรมด้วย  

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]

โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

เช้าวันนี้ ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า  http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์   ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

สัปดาห์นี้ ผมมี 3 เรื่องมาแบ่งปันให้ได้รู้กัน
เรื่องแรกคือ ได้รับเชิญไปเป็นองค์ปาฐก ( keynote ) ของการประชุมนานาชาติ Science and Technology for Sustainable Development of the Greater Mekong Sub-region 

 

เรื่องที่สอง ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เป็นต้นไป เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที สุดท้ายวันพุธที่ 16 สิงหาคม มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้จัด Learning forum เรื่อง Lesson study in Mathematics เป็นครั้งที่ 2 
สัปดาห์นี้ ศ.ดร.จีระ เขียนบทเรียนจากความจริง ท่านได้ทำสิ่งดีมีประโยชน์กับสังคมแล้วนำมาเขียนให้ศึกษาครั้งนี้ 3 เรื่อง เป็นสิ่งที่นักศึกษา ลูกศิษย์ ลูกหา ของอาจารย์ควรเอาอย่างอยู่สองประการ

 

ประการแรก  คือเรื่องการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แบบข้ามศาสตร์  อาจารย์ทำงานที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวมประเทศชาติ มากกว่าเพื่อส่วนตน ตรงนี้น่ายกย่องสรรเสริญ และควรยึดถือเป็นตัวอย่างที่ดี  

ประการที่สองเรื่องการเขียน ศ.ดร.จีระ เขียนบรรยายสิ่งที่ปฏิบัติภารกิจในสัปดาห์ สรุปเป็นเรื่อง ๆ สามเรื่อง ให้ผู้สนใจได้อ่านหาสาระได้หลากหลาย   ที่สำคัญคือแนวทางในการเขียนสรุป ของท่าน ศ.ดร.จีระ ทำได้ดีไม่ติดขัด ถึงแม้เป็นสามเรื่อง แต่ก็ดูเหมือนเรื่องเดียวกัน โดยใช้วันเวลา เป็นตัวเรียงลำดับเรื่องราว คือวันที่ 15 16 และ วันที่ 18  อ่านได้เข้าใจง่าย เป็นหลักการเขียนเรื่องที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่าย ถ่ายทอดความคิดผ่านสื่อได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญคือการสอดแทรกข้อคิด ที่ชวนให้ศึกษาและเกิดปัญญาได้ดี 
มีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย จากกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมากันมากมายกว่า 300 คน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน นอกจากนี้ ยังมีมาจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษด้วย  ในฐานะที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความรู้สึกว่าการประชุมเช่นนี้ทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีภาพลักษณ์ที่ดี มีชื่อเสียงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเรื่อง networking หรือการร่วมพันธมิตรทางวิชาการ การวิจัย การสร้างการทูตภาคประชาชน ( People to People Diplomacy : PPD)”
ศ.ดร.จีระ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง ม.ขอนแก่นโชคดีที่มี ศ.ดร.จีระ ร่วมอยู่ในสภาฯ เพราะท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ สดเสมอ และเป็นผู้มีความเมตตา มีคุณธรรม จากประโยคนี้ ทำให้ทราบว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณาจารย์ที่นั่นทำงานใหญ่เพื่อชาติ  การที่มีนักวิชาการ นักวิจัย จากกล่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง และสหรัฐอเมริกา อังกฤษ มาร่วมกิจกรรมนี้ นอกจากจะเป็นการทำงานด้านวิชาการระดับชาติแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมด้านการทูต ด้วย ผมคิดว่าเนื้อหาสาระที่เสวนากันน่าจะเป็นเรื่องสำคัญระดับชาติและความร่วมมือต่อกัน คงไม่มาคุยกันเรื่องต้นไม้ข้างถนน หรือขยะในชุมชน  
โดยพูดเรื่อง ทุนแห่งความยั่งยืนในทฤษฎี 8 K's มานาน ความยั่งยืนเป็นทุนเพราะการจะได้ความยั่งยืน ต้องเสียสละเพื่ออนาคต ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง นักการเมืองควรต้องรู้ 
เรื่องทุนแห่งความยั่งยืน ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นสิ่งสำคัญ การบริหารกิจการบ้านเมืองก็ดี นโยบายสาธารณะต่าง ๆ ก็ดี นโยบายพรรคการเมืองต่าง ๆ ก็ดี ควรคิดถึงความยั่งยืนให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ผมได้เรียนรู้เรื่องทุนแห่งความยั่งยืน และการจะทำสิ่งใด ก็ตามขอให้คิดถึงความยั่งยืน จาก ศ.ดร.จีระ  ศ.ดร.บุญทัน ศ.ดร.ติน ศ.ดร.อุทัย อาจารย์แม่คุณหญิงเต็มศิริ และจากบทความต่าง ๆ ของ ศ.ดร.ป๋วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง  ประเทศเราผมคิดว่า ยังขาดทุนแห่งความยั่งยืนอยู่มาก รัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรจัดให้ครู อาจารย์ผู้สอนนักเรียนตั้งแต่ประถม มัธยม ให้มีองค์ความรู้ รู้จริงเกี่ยวกับทุนแห่งความยั่งยืน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  รวมทั้งทุนตามทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ เพื่อให้บรรดาครูทั้งหลายได้เข้าใจ เพื่อนำไปสอนนักเรียนได้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่ไปสอนเด็กว่า เศรษฐกิจพอเพียงคือการจัดการพื้นที่น่าอย่างไร 
ผมจึงนำเอาความคิดของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ เรียกว่า 6 ปัจจัยของความยั่งยืน ( Chira 's 6 factors ) ซึ่งผมจะสรุปว่า
ปัจจัยแรกคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเน้นให้ระยะสั้นสร้างความสมดุลย์ในระยะยาว 

ปัจจัยที่สองคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย


ปัจจัยที่ 3 คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กัน

ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้


ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชนหรือประเทศ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย

สุดท้าย ต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว
 

ตรงนี้ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ศ.ดร.จีระ ท่านสรุปไว้ได้ดี ทำให้เข้าใจถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้มากขึ้น เข้าใจถึงหลักแห่งความยั่งยืนมากขึ้น

 

 ปัจจัยแรก การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องเริ่มที่การทำโครงการระยะสั้นให้ดี ทำอะไรอย่างคิดสั้นอย่างเดียว ต้องคิดให้ยาวด้วยว่าจะมีผลกระทบหรือไม่ 
ปัจจัยที่สอง การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ  ที่มีอยู่ นอกจากไม่ทำลาย แล้วควรเป็นการทำเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ให้คงอยู่ไปถึงรุ่นลูก หลานในอนาคตด้วย ต้องคำนึงถึงตรงนี้ให้มาก ๆ มิฉะนั้นแล้วในอนาคตไทยอาจจะต้องซื้อข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะนี้เวียดนามเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวรายใหญ่รองจากไทยแล้ว  และถ้าเราไม่หันมาอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติกันให้ดี เวียดนามแซงหน้าไทยแน่นอน 
ปัจจัยที่สาม การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริธรรม  ควบคู่ไป ในความเข้าใจของผม สรุปสั้น ๆ ว่า คุณธรรม คือรู้ว่าอะไรควร ไม่ควร รู้ว่าปฏิบัติอย่างไรแล้วจะเกิดคุณประโยชน์ และเกิดความเป็นธรรม คือรู้  ส่วนจริยธรรม เป็นพฤติกรรมที่ควรต้องปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะตามหลักคุณธรรม และเป็นที่ยอมรับของสังคม  การพัฒนาอย่างยั่งยืน คนพัฒนาต้องมีตรงนี้  นักการเมืองที่กำหนดนโยบายพรรค รัฐมนตรีที่กำหนดนโยบายสาธารณะ ต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรม จึงจะเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราท่านตรงเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ 
ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้ ตรงนี้ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง การจะทำอะไรให้ยั่งยืน ต้องคิดแบบมีเหตุ มีผล มีที่มาที่ไป ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้ผ่านการศึกษา พิสูจน์ วิเคราะห์มาแล้ว ไม่ตัดสินใจด้วยอารมณ์และความคิดของตนเองเป็นหลัก สังคมใด องค์การใดมีผู้นำที่ตัดสินใจโดยเอาตนเองเป็นใหญ่ คงไปได้ไม่ยั่งยืน ในระยะยาวจะสร้างปัญหาตามมาอย่างมาก เพราะปกติการตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ปัญหาอื่นมักจะตามมาเสมอ การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล ที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว จะทำให้ทราบว่าจะเกิดอะไรและจะแก้ไขป้องกันอย่างไรการหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ยั่งยืนได้เพราะโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความรู้ ความสำเร็จในอดีต อาจไม่สามารถรับรองความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคตได้ การหาความรู้อย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับความยั่งยืน 
ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ผมเห็นด้วยกับเรื่องนี้ ประเทศจะขับเคลื่อนได้ด้วยคุณภาพของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ  เรื่องนี้ ประเทศอินเดียรู้ปัญหาดีและมีการเตรียมการไว้ดีมาก อินเดียกำลังจะเป็นประเทศมหาอำนาจแข่งกับจีน  แต่อินเดียมีปัญหาว่า ความเจริญกำลังกระจุกตัวอยู่ที่บางเมืองและกับคนบางกลุ่ม รัฐบาลอินเดียมีมาตรการรองรับด้วยการปรับปรุงคุณภาพคนด้วยการศึกษา ยกระดับความสามารถของครู ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน และมีการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง โดยเน้นที่ภูมิปัญญา ไม่เน้นฟอร์ม  คนอินเดียไม่เน้นฟอร์มแต่เน้นว่าในหัวมีความรู้ มีปัญญาดีหรือไม่ ซึ่งในอนาคตเราจะเห็นคนอินเดียส่วนใหญ่มีความรู้ดีมากขึ้น  คนอินเดียพูดภาษาอังกฤษได้เป็นส่วนใหญ่ทำให้ง่ายต่อการพัฒนาศาสตร์อื่น ๆ

 

การจะทำอะไรให้ยั่งยืน ถ้าทำให้เกิดความเจริญเฉพาะกลุ่ม ไม่กระจายออกไปอย่างทั่วถึง ปัญหาความขัดแย้งแก่งแย่งชิงดีกันจะตามมา   
ปัจจัยสุดท้ายต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ การให้ที่ทรงคุณค่าที่สุดคือการให้ผู้อื่นได้มีมีเข้มแข็งขึ้นทั้งความรู้ สติ สมาธิ ศีล ปัญญา ให้เขาได้มีความสามรถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ และสามารถขยายผลสามารถช่วยผู้อื้น ต่อได้จะยิ่งเกิดความยั่งยืน  การให้วัตถุให้เงินเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าไม่ให้เขาได้มีโอกาสพึ่งตัวเองอย่างที่ ศ.ดร.จีระ ว่า ก็คงยั่งยืนได้ยากครับ 
เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที เป็นความร่วมมือกันของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ Chira Academy ธนาคารกรุงไทยมี ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ มาร่วมผนึกกำลังกัน น่าติดตามว่ามีอะไรน่าสนใจในประเด็น
คนไทยสับสนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ยังรู้ไม่จริง
สับสนเรื่องโลกาภิวัตน์ ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรและนึกว่าเศรษฐกิจพอเพียง จะแก้ปัญหาเฉพาะภาคคนจน 

รายการโทรทัศน์ ที่ท่าน ศ.ดร.จีระจัดเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ เดิมทราบว่าจะออกรายการทางช่อง 5 ต่อมาทราบภายหลังว่าจะออกทางช่อง 11 รายการนี้ ผมคิดว่าสำคัญและจะเกิดประโยชน์ ทางกระทรวงศึกษาธิการน่าจะร่วมด้วย เพื่อจัดทำรายการนี้เป็นวีดีโอทัศน์ ประกอบการพัฒนาองค์ความรู้ให้ครู เพื่อให้ครูใช้สอนนักเรียน ต่อไป รัฐบาลต้องเร่งพัฒนาครูให้มีความรู้เรื่องนี้ให้มาก ก่อนจะสายเกินไป ผมเคยได้ยินครูสอนนักเรียนเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครูตั้งใจดีมาก แต่สอนเรื่องการจัดสรรที่นา ที่เลี้ยงปลา ที่เพาะปลูก ไม่ได้สอนแก่นแท้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้สอนเรื่องโลกาภิวัตน์ว่าคืออะไรและมีผลกระทบอย่างไร และในฐานะคนไทยควรต้องทำอย่างไร 

 ผมหวังว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่เกี่ยวข้อง ควรทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง กระจายความรู้เหล่านี้ไปอย่างทั่วถึงประชาชนส่วนใหญ่ และมีการติดตามประเมินผล และพัฒนาการให้ความรู้ด้านนี้อย่างต่อเนื่องทั้งระยะสั้นและระยะยาว  

 

ดร.ไมตรี อินทรประสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูกว่า 20 คน โดยดร.ไมตรี ต้องการสร้างเด็กให้คิดเป็น ไม่ปิดกั้นการคิดของเด็ก โดยให้เด็กได้คิดอย่างเสรี คิดนอกกรอบ คือการสอนแบบ Lesson study ซึ่งได้พัฒนาในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 100 ปี

 

วิธีการนี้อาจจะขัดกับวัฒนธรรมของไทย เพราะการศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตมักจะกำหนดการคิดให้เด็ก ไม่ค่อยรับฟังความคิดของเด็ก และไม่ยอมให้ใครมาวิจารณ์การสอนของตนเอง การศึกษาไทยจึงล้มเหลว แต่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจะทำงานต่อเนื่องต่อไปในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย

 

ท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาน่าจะอ่านตรงนี้ และเชิญ ศ.ดร.จีระ ไปเป็นที่ปรึกษากระทรวงศึกษาธิการ เชิญ ดร.ไมตรี เข้าไปร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาด้วย  เพื่อรีบปฏิรูปการทำงานของครู  รูปแบบการสอนของครูที่เป็นแบบดั้งเดิมถือเป็นโรคร้ายอย่างหนึ่งทางการพัฒนาเด็กไทย ผลการวิจัยที่อินเดีย ซึ่งทาง BOI ได้จ้างนักวิชาการที่อินเดียวิจัยค้นหาอุปสรรคในการพัฒนาของไทย พบว่า ครูของไทยยังด้อยประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องภาษา และหลักการสอน ข้อเสนอแนะก็คือควรมีแผนระยะสั้นและระยะยาวในการพัฒนาครูอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมให้เกิดรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ ผมเห็นด้วยกับ ดร.ไมตรี ครับ รัฐบาลควรเข้ามาช่วยส่งเสริมแนวคิดนี้ให้เป็นจริง โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ครับ

  

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ 

   

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน

ยม   
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์" (ต่อ)
เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์[1]

สัปดาห์นี้ ผมมี 3 เรื่องมาแบ่งปันให้ได้รู้กัน
เรื่องแรกคือ ได้รับเชิญไปเป็นองค์ปาฐก ( keynote ) ของการประชุมนานาชาติ Science and Technology for Sustainable Development of the Greater Mekong Sub-region ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันอังคารที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ผมประทับใจการจัดการประชุมครั้งนี้มาก โดยเฉพาะคณบดี ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง ที่ทำงานอย่างหนักและได้ผล เพราะมีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย จากกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมากันมากมายกว่า 300 คน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน นอกจากนี้ ยังมีมาจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษด้วย
ในฐานะที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความรู้สึกว่าการประชุมเช่นนี้ทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีภาพลักษณ์ที่ดี มีชื่อเสียงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเรื่อง networking หรือการร่วมพันธมิตรทางวิชาการ การวิจัย การสร้างการทูตภาคประชาชน ( People to People Diplomacy : PPD )
ผมคงเป็นนักวิชาการคนเดียวที่ไม่ได้จบทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ต้องพูดในหัวข้อเรื่องวิทยาศาสตร์ล้วนๆ ที่เน้นการสร้างทรัพยากรมนุษย์ในส่วนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อไปสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยพูดเรื่อง ทุนแห่งความยั่งยืนในทฤษฎี 8 K's มานาน ความยั่งยืนเป็นทุนเพราะการจะได้ความยั่งยืน ต้องเสียสละเพื่ออนาคต ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง นักการเมืองควรต้องรู้
ในวันนี้ ผมจึงเน้นมากๆ ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนคืออะไร
ความจริง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนนั่นเอง
ผมจึงนำเอาความคิดของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ เรียกว่า 6 ปัจจัยของความยั่งยืน ( Chira 's 6 factors ) ซึ่งผมจะสรุปว่า
ปัจจัยแรกคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเน้นให้ระยะสั้นสร้างความสมดุลย์ในระยะยาว อย่าให้ระยะสั้นดี แต่ทำลายระยะยาว ผมได้ตัวอย่างมาจากเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในประเทศไทย คือรวยระยะสั้น แต่มีปัญหาระยะยาวมากมายอย่างที่เห็นกัน
ปัจจัยที่สองคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย และต้องไปด้วยกันกับ การพัฒนา บางแห่งเรียกว่าเป็น Green development
ปัจจัยที่ 3 คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันกับความเจริญ คือมีศีลธรรม คุณธรรมคู่ไปกับกับพัฒนา
ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้
ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชนหรือประเทศ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็กๆ
และสุดท้ายต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว
ผมคิดว่า การเน้นเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่จะทำได้จริงหรือไม่ มีปัจจัยหลายอย่างที่ไปไม่ถึงเพราะ เหตุผลทางการเมือง ความโลภและความเห็นแก่ตัวของสังคม
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย เราคิดว่ารัฐบาลจะมีหน้าที่ต้องทำ แต่จริงๆ แล้ว ประชาชน โดยเฉพาะชุมชนของนักวิทยาศาสตร์ก็สามารถมีส่วนร่วมกับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นได้ เพื่อจะพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผมจึงขอเน้นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะช่วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น
-
สาขาแรกคือ ช่วยให้การศึกษาของชุมชนหรือสังคมดีขึ้น ในวันนั้น ผมเน้นเป็นพิเศษคือ การใช้ Internet การใช้ Blog การเรียนแบบทางไกลหรือ E-Learning
-
สาขาที่สองคือ การใช้เทคโนโลยี มาช่วยในการแพทย์ ซึ่งปัจจุบันการแพทย์มีต้นทุนสูงขึ้นเรื่อย การแพทย์ จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสังคม ไม่ใช่เฉพาะเรื่องรักษา แต่เป็นเรื่องการป้องกันด้วย ผมจึงเสนอเรื่อง Tele - Medicine ไปด้วย
-
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากคือ การพัฒนาชนบท และการพัฒนาศักยภาพของภาคเกษตรของประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงที่ยังล้าหลังอีกมาก
-
ต่อมาจะช่วยเรื่องการลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มศาสนาต่างๆ ในสังคม เพื่อสร้างสันติภาพ รวมทั้งการลดการก่อการร้ายข้ามชาติ
-
การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน Global warming หรือภัยธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่งมีมากขึ้นทุกวัน และกระทบต่อประชาชนมาก
-
การแสวงหาพลังงานทดแทนน้ำมัน
-
และสร้างความสามารถในการแข่งขัน competitiveness แบบยั่งยืน ในสังคมในภูมิภาคนี้มากขึ้น แทนที่จะเน้นเฉพาะสินค้าส่งออกแรงงานราคาถูกเท่านั้น ให้มีการใช้ความรู้และวิทยาศาสตร์สำหรับการพัฒนาสินค้ามากขึ้น
ถ้าจะพัฒนาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ผมขอให้นักวิทยาศาสตร์มองอะไรที่กว้าง เชื่อมโยงกับการพัฒนา ไม่ใช่สนใจแต่เรื่องวิจัยเฉพาะทางที่ตัวเองถนัด ต้องมี networking มากขึ้น รับฟังและเรียนรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มากขึ้น
เรื่องที่สอง ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เป็นต้นไป เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที เป็นความร่วมมือกันของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ Chira Academy ธนาคารกรุงไทยมี ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ มาร่วมผนึกกำลังกัน น่าติดตามว่ามีอะไรน่าสนใจในประเด็น
-
คนไทยสับสนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ยังรู้ไม่จริง
-
สับสนเรื่องโลกาภิวัตน์ ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
-
และนึกว่าเศรษฐกิจพอเพียง จะแก้ปัญหาเฉพาะภาคคนจน
ซึ่งแท้จริงแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ซึ่งผู้ส่งออก นักลงทุน นักการเงิน นักวิทยาศาสตร์ นำไปใช้ได้ เพื่ออยู่ในโลกาภิวัตน์แบบยั่งยืน ซึ่งรายการโทรทัศน์นี้จะเชื่อมโยงให้ได้อย่างดี ผมอยากให้ผู้อ่านได้ติดตามชม
และสุดท้าย เมื่อวันพุธที่ 16 สิงหาคม มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้จัด Learning forum เรื่อง Lesson study in Mathematics เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเชื่อมโยงกับ APEC ที่ผมเคยเขียนถึงว่า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ขอเงินสนับสนุนโครงการเรื่อง Lesson study โดยร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ศึกษา และเผยแพร่ในประเทศไทย เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งที่ไทยได้รับจาก APEC
ครั้งนี้มี ดร.ไมตรี อินทรประสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูกว่า 20 คน โดยดร.ไมตรี ต้องการสร้างเด็กให้คิดเป็น ไม่ปิดกั้นการคิดของเด็ก โดยให้เด็กได้คิดอย่างเสรี คิดนอกกรอบ คือการสอนแบบ Lesson study ซึ่งได้พัฒนาในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 100 ปี การสอนแบบนี้ต้องมีการสังเกตว่าเด็กคิดอย่างไร ทำไมเขาถึงคิดแบบนี้ มีการสร้างคำถามลักษณะปลายเปิด ที่เด็กสามารถคิดหาคำตอบที่หลากหลาย จะมีการถกเถียงกัน ซึ่งจะนำไปสู่การบูรณาการที่ดี และมีการสังเกตการสอนของครู ครูจะต้องอภิปรายถกเถียงกันหลังจากเสร็จสิ้นการสอน คล้ายเป็นการวิจัยชั้นเรียน นับเป็นการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง
แต่วิธีการนี้อาจจะขัดกับวัฒนธรรมของไทย เพราะการศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตมักจะกำหนดการคิดให้เด็ก ไม่ค่อยรับฟังความคิดของเด็ก และไม่ยอมให้ใครมาวิจารณ์การสอนของตนเอง การศึกษาไทยจึงล้มเหลว แต่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจะทำงานต่อเนื่องต่อไปในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย และสิ่งสำคัญที่ได้รับนอกเหนือจากความรู้แล้วคือ networking ซึ่งครูทุกคนที่ได้มาร่วมกันในวันนั้น คงจะได้ร่วมมือกันเพื่อพัฒนาแผนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กไทยต่อไปในอนาคต
หวังว่าท่านผู้อ่านคงได้แนวทางจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ยุคนี้ สื่อดีๆ ต้องสร้างความรู้ใหม่ให้ผู้อ่าน และนำไปต่อยอด

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


                            โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คณะปฏิรูป: นโยบายเพื่อความยั่งยืน"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

เช้าวันเสาร์ที่ 30 ก.ย. ผมเดินทางมาวัดไร่ขิง ด้วยวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก มาทำบุญที่วัดไร่ขิง ประการที่สองเพื่อชมงานประกวดสุนัข ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอดแห่งประเทศไทย

 

การทำบุญที่วัดไร่ขิง มีการพัฒนาเป็นระบบมากขึ้น โดยเฉพาะการถวายสังฆทานบริเวณข้างโบสถ์วัดไร่ขิง มีประชาชนจำนวนมากหมุนเวียนเข้ามาถวายสังฆทาน โดยทางวัดจัดให้มีจตุปัจจัยสำหรับถวายสังฆทานเตรียมไว้ และมีตู้รับบริจาค เปิดโอกาสให้คนที่ยากจนได้มีโอกาสทำบุญถวายสังฆทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องซื้อของอะไรไป เพราะทางวัดจัดไว้ให้ เพียงบริจาคเงินใส่ตู้รับบริจาคเท่าใดก็ได้   อีกมุมหนึ่งคือมีการรับบริจาคเงินเพื่อซื้อโรงศพให้สำหรับศพไม่มีญาติ หรือศพผู้ยากไร้ ก็มีประโยชน์สำหรับคนยากจน ทางวัดก็มีเงินที่ได้รับบริจาคมาซื้อโรงศพให้ได้  

ทึ่จริงทางวัดที่มีประชาชนไปทำบุญจำนวนมาก ๆ น่าจะมีการให้ความรู้เป็นวิทยาทาน

วัดน่าจะเป็นแหล่งสร้างทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนได้ดี วัดน่าจะมีการจัดเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงฯ เผยแพร่ให้คนทั่วไปได้เรียนรู้ด้วย

 

อีกมุมหนึ่งที่เห็นแล้วน่าเป็นห่วงคือสุนัขในวัดมีจำนวนมาก หลายตัวมีอาการขี้เลื้อน ทางราชการควรเข้ามาช่วยเหลือวัดในการจัดการกับสุนัขจรจัด ให้เป็นระบบ และไม่สร้างภาระให้พระ ทำบุญเสร็จผมแวะไปดูงานประกวดสุนัข

 

งานประกวดสุนัขประจำปีของสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขเยอรมันเช็พเพอด แห่งประเทศไทย ผมมักติดตามงานนี้ทุกปีถ้ามีโอกาส ปีนี้จัดที่วัดไร่ขิง บริเวณโรงเรียนวัดไร่ขิง

 

ผมเป็นคนชอบสุนัขตั้งแต่สมัยเป็นเด็กวัด พระท่านมอบหมายให้ผมดูแลสัตว์ในวัดทั้งหมด ไก่วัด หมาวัด ปลาหน้าวัด ผมได้รับมอบหมายให้เอาเศษอาหารที่เหลือจากพระและเด็กวัดแล้ว มาแจกสุนัขในวัด อยู่ระยะหนึ่ง เห็นว่าสุนัขแม้เป็นสัตว์แต่มีความรักและกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ได้บทเรียนจากสุนัขในวัดหลายเรื่อง

 

เมื่อครั้งผมบวชเป็นพระ ผมเคยใช้สุนัขเป็นครูสอนเด็กวัด ลูกศิษย์ก้นกุฏิ ที่เกเร และชอบหนีออกจากบ้านเพราะโกรธแม่ที่ชอบดุด่าประจำ ผู้เป็นแม่มาหาผมและขอร้องให้ผมช่วยสอนเด็กเกเรนี้  ผมเรียกเด็กมาสอน โดยใช้สุนัขเป็นครู ผมเรียกสุนัขที่เคยดูแลเป็นประจำมาหา และใช้หนังสือพิมพ์ม้วนและตีสุนัขตัวนั้นอย่างแรง สุนัขตกใจหนี เด็กเกเร อยู่ข้าง ๆ เห็นสุนัขถูกตีอย่างแรง แล้วสุนัขวิ่งหนีตกใจ วิ่งไปยืนอยู่ไกล แล้วมองมาด้วยความงง  จากนั้นผมเรียกสุนัขเข้ามาหาอีกครั้ง สุนัขก็วิ่งเข้ามาหา พร้อมกระดิกหาง สุนัขเข้ามาโดยไม่โกรธ  ผมได้สอนให้เด็กเกเร เห็นว่า แม้สุนัขยังไม่โกรธผู้มีพระคุณ แล้วเราเป็นมนุษย์ ทำไมจึงโกรธผู้เป็นแม่เพราะถูกว่าเท่านั้น  เด็กถึงกับน้ำตาไหลด้วยความประทับใจ และบอกว่าต่อไปนี้จะไม่โกรธแม่จะขอกลับไปดูแลแม่  นี่เรียกว่า สุนัขเป็นครู  เด็กคนนั้นขณะนี้บวชเป็นพระอยู่ที่วัดในจังหวัดเพรชบุรี กลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ส่วนผู้เป็นแม่เมื่อลูกบวชเป็นพระได้ไม่นานได้เสียชีวิตไป ทั้งแม่ลูกครอบครัวนี้ เป็นครอบครัวคนที่มาจากอีสาน ซึ่งผมได้เคยช่วยอุปถัมภ์เด็กเกเร คนนั้นไว้ เด็กดังกล่าวได้ดีส่วนหนึ่งเพราะใช้สุนัขเป็นครู สุนัขจึงเป็นสัตว์เลี้ยงประจำตัวของผม ก็ว่าได้

 

ด้วยคุณสมบัติที่น่าสนใจของสุนัข ผมจึงเริ่มศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสุนัขมากขึ้น พบว่า สุนัขที่ดีที่สุดในโลก มีไม่กี่สายพันธุ์ สายพันธุ์เยอรมันเช็พเพอด เป็นสายพันธุ์หนึ่งที่จัดว่าเป็นสายพันธ์ที่ได้รับการพัฒนาจากภูมิปัญญาชาวบ้านในเยอรมัน และนำมาใช้ในการทหาร ตำรวจ ในบ้านเรานิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้มานาน จนมีสมาคมฯ และมีการนัดพบปะกันระหว่างผู้สนใจเป็นระยะ ๆ

 

การมาชมการประกวดครั้งนี้ก็เพื่อทำชีวิตให้ Balance วิชาการ การทำงาน ครอบครัว ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง บริหารให้เกิดความสุขกับชีวิตบ้างตามสมควรสะสมทุนทางความรู้ ทุนทางสังคมของคนรักสุนัข

 

ระหว่างรอเวลาการประกวดสุนัข ผมได้นำ Note book มาเขียนบทความนี้ที่บริเวณสนามประกวดสุนัขด้วย  ในโลกยุคใหม่การใช้ internet การหาความรู้ไม่มีขีดจำกัด ไม่กำหนดสถานที่ สามารถเคลื่อนย้ายได้ตลอดเวลา ได้บรรยากาศที่ร่มรื่นและแปลกใหม่ คิดถึงเมื่อสมัยเป็นเด็กวัด ตอนนั้นไม่มีอะไรเลย ขณะนี้มานั่งทึ่วัด มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หาความรู้ และติดต่อได้ทั่วโลก ในเวลาชั่วไม่กี่นาที โลกมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก็ควรที่จะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก

 

วกกลับมาถึงเรื่องบทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ สัปดาห์นี้ อาจารย์เขียนเรื่อง คณะปฏิรูป : นโยบายเพื่อความยั่งยืน ผมเสนอความเห็นเช่นเคย ข้อความที่มีสีน้ำเงิน คือส่วนที่ผมคัดมาจากบทความของอาจารย์ ส่วนสีดำ เป็นส่วนที่ผมแสดงความคิดเห็น เชิญท่านผู้สนใจติดตามอ่านได้จากข้อความข้างล่างนี้ 
"สิ่งใดที่รัฐบาลเดิมทำไว้ดี ก็คงไว้ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์จะทำเพิ่มเติมอย่างรอบคอบ หลายฝ่ายวิจารณ์การสนับสนุนอดีตรองนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะผู้สมัครเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หากแพ้ก็ไม่เป็นไร เพราะได้สู้อย่างเต็มที่ น่าชื่นชมคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะสื่อโจมตีคณะปฏิรูปการปกครองฯว่า ไม่สมควรจะสนับสนุน"

สิ่งที่ คณะปฏิรูปการปกครองฯ ทำอยู่ขณะนี้ เรียกได้ว่าเป็นการบริการการเปลี่ยนแปลง Change management กับระบบการปกครองของไทย คณะปฏิรูปการปกครองฉลาดทำ การบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ถือว่าเป็นการพัฒนาที่ถูกต้อง เมื่อมีสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมก็ควรคงไว้ ส่วนที่เป็นจุดอ่อน เป็นปัญหาแก่ส่วนรวม ก็ขจัดออกไป นี่เป็นพื้นฐานของการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเปลี่ยนแปลงทั้งระบบและคน ผมหวังว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คณะปฏิรูปการปกครองฯ จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ชาติ ทำเพื่อชาติ จริง ๆ ถ้าเป็นเช่นนั้น ผมขอให้คณะปฏิรูปการปกครองฯ ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดความผาสุกแก่ประชาชนโดยเร็ว  

 

"คนไทยต้องศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างรอบคอบ ใฝ่เรียนรู้ ทำใจเป็นกลาง สมัครสมานสามัคคีกันให้มากที่สุด"

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ที่ว่า คนไทยต้อง*   
  • ศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด
  • รอบคอบ
  • ใฝ่เรียนรู้ *   
  • เป็นกลาง *  
  • สมานสามัคคี

คุณสมบัติของคนไทยที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวมาข้างต้น ถือได้ว่า เป็น Competency หรือสมรรถนะ ของคนทรัพยากรมนุษย์ของไทย ในปัจจุบันและอนาคต จึงอาจกล่าวได้ว่า จะบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตได้อย่างไร คำตอบคือบริหารให้ทรัพยากรมนุษย์เกิดสิ่งเหล่านั้น และมีการวัดผล นำไปสู่การพัฒนาจุดอ่อน หรือสิ่งที่เขายังด้อยอยู่ให้เป็นจุดแข็งในอนาคต แบบมีตัวชี้วัดความสำเร็จว่าต้องให้จุดอ่อนกลายเป็นจุดแข็งในแต่ละประเด็นภายในกี่ปี  แล้วนำมาสู่ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างองค์กร เพื่อสร้างชาติต่อไป

"นโยบายประชานิยมของอดีตนายกรัฐมนตรียังคงอยู่ ผมเชื่อว่า อนาคตข้างหน้าคงจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้นโยบายไปสู่ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำทุกอย่าง อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการปฏิรูปที่เน้นสันติวิธีและการประนีประนอม"นโยบายประชานิยม ในความเห็นส่วนตัวของผม คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ถ้าจะกำหนดยุทธ์ศาสตร์แบบให้เกิดทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืน  คนกำหนดนโยบายนี้ หนึ่งต้องคำนึงถึงลูกค้า(ประชาชน)เป็นหลัก สองต้องคำนึงถึงอนาคตของชาติเป็นหลักที่สอง และสามต้องคำนึงถึงผลเสียที่อาจจะตามมา และเตรียมมาตรการรองรับไว้  การปฏิรูปการปกครองฯครั้งนี้  ขอให้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการกำหนดนโยบายสาธารณะและปฏิรูปการปกครองฯ คือ ค่อยเป็นค่อยไป ในสิ่งที่เราถนัดมีทรัพยากรเพียงพอ กำหนดเป้าหมาย แผนงาน การวัดผล และเตรียมการรองรับไว้ กรณีที่เกิดปัญหา ต้องมีแผนอื่นรองรับไว้เสมอ  และขอให้คิดคำนึงถึงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานให้ไว้หลายเรื่อง คณะปฏิรูปการปกครองฯ น่าจะตั้งคณะกรรมการในการศึกษาพระบรมราโชวาทของท่าน กำหนดขึ้นมาเป็นแบบตรวจสอบ Check list ในการบริหารการปฏิรูปการปกครองฯครั้งนี้ด้วย

"ผมชื่นชมคำสัมภาษณ์ของโฆษกที่เน้นงบประมาณที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยอย่างจริงจัง เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันเป็นโลกของความรู้ หรือสังคมฐานความรู้ เป็นนโยบายที่ทุกประเทศทำ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในยุคคุณทักษิณ เรื่องนโยบายระยะยาวอ่อนมาก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่องพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาสังคมฐานความรู้ เรื่องการปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา ขาดการปฏิรูปพฤติกรรมในการทำงาน ยังทำงานแบบเดิม ไม่มี Innovation ไม่มี Paradigm shift หรือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์"

เรื่องที่ โฆษกคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้กล่าวถึงงบประมาณเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง ถือว่าเป็นสัญญานของความโชคดีของประเทศไทย  ที่คณะปฏิรูปการปกครองฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ น่าจะเป็นคณะปฏิรูปการปกครองฯคณะแรก ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้  ผมขอให้การให้สัมภาษณ์ดังกล่าว เกิดผลขึ้นจริงจัง ให้งบประมาณด้านการทรัพยากรมนุษย์ มีจำนวนมากพอ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อชาติจริง ๆ ไม่ใช่ทำกันให้ผ่านไปแค่ปีต่อปี ได้ชื่อว่าทำ  เท่านั้น   

 

คณะปฏิรูปการปกครองฯ น่าจะตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อพัฒนาชาติขึ้นมา เป็นกรณีพิเศษ ให้เป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากคณะปฏิรูป จัดทำระบบพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ในแต่ละระดับ ให้ชัดเจน ตั้งแต่ทรัพยากรมนุษย์ในครรภ์มารดา จนกระทั่งถึงเชิงตะกอน และมียุทธ์ศาสตร์การพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และน่าจะให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นผู้นำในด้านนี้  
"เรื่องแรก สมควรหรือไม่ที่จะมีการปฏิรูประบบการศึกษาอีกรอบ ที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และมองจากความจริง ไม่ใช่มองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก"
 
ในความเห็นส่วนตัวของผม เห็นว่าสมควรจะมีคณะปฏิรูประบบการศึกษาของไทย
เรามีคณะปฏิรูปการปกครองฯ แล้วถ้าจะให้ครอบคลุมระบบการบริหาร ก็ควรมีการปฏิรูประบบการศึกษาด้วย  เพราะการศึกษามีความสัมพันธ์กับระบอบประชาธิปไตย  การศึกษามีความสัมพันธ์กับความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 

 

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ระบบการศึกษาของเรา ยังไม่สามารถสร้างทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ที่มีคุณภาพได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
สถานบันการศึกษาของเรา ยังไม่ติดอันดับสถาบันการศึกษาที่ดีในโลก หรือในภูมิภาค ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิ จึงสมควรให้มีการปฏิวัติทางการศึกษาด้วยโดยเร็ว  

 

"ดูประเทศที่เขาไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แต่เห็นคุณค่าและเอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้"
ดูรายชื่อประเทศที่เอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้ พวกนี้ล้วนเคยเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติมาก่อน เป็นประเทศที่เคยถูกต่างชาติเข้ามายึดอำนาจและทำการปฏิรูปหลายเรื่อง การจัดระเบียบสังคมวัฒนธรรม กฎหมาย การเมือง และแน่นอนคือเรื่องการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลจากการปกครองของต่างชาติ  เราน่าจะศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติเหล่านี้ นำเอาทั้งปัญหา อุปสรรคและความสำเร็จของประเทศเหล่านี้มาบูรณาการกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะนโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควบคู่ไปกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ   

 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ     

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน 

 

ยม  
นักศึกษา ปริญญาเอก  
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คณะปฏิรูป: นโยบายเพื่อความยั่งยืน"
คณะปฏิรูป : นโยบายเพื่อความยั่งยืน[1]

ประเทศไทยไม่มีระบอบทักษิณมา 7-8 วันแล้ว วันที่เขียนบทความนี้เป็นวันพุธ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เห็นได้ว่าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ดำเนินการแบบสันติ สิ่งใดที่รัฐบาลเดิมทำไว้ดี ก็คงไว้ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์จะทำเพิ่มเติมอย่างรอบคอบ หลายฝ่ายวิจารณ์การสนับสนุนอดีตรองนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะผู้สมัครเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หากแพ้ก็ไม่เป็นไร เพราะได้สู้อย่างเต็มที่ น่าชื่นชมคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะสื่อโจมตีคณะปฏิรูปการปกครองฯว่า ไม่สมควรจะสนับสนุน
คนไทยต้องศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างรอบคอบ ใฝ่เรียนรู้ ทำใจเป็นกลาง สมัครสมานสามัคคีกันให้มากที่สุด
นโยบายประชานิยมของอดีตนายกรัฐมนตรียังคงอยู่ ผมเชื่อว่า อนาคตข้างหน้าคงจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้นโยบายไปสู่ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำทุกอย่าง อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการปฏิรูปที่เน้นสันติวิธีและการประนีประนอม
การที่โฆษกคณะปฏิรูปการปกครองฯ พลโทพลางกูร กล้าหาญ พูดถึงการทำงบประมาณปี พ.ศ 2550 แบบขาดดุล และเร่งนำไปเบิกจ่ายได้ในเดือนมกราคม พ.ศ.2550 เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะคณะที่ทำงบประมาณ ไม่ใช่นักการเมือง แต่เป็นข้าราชการประจำ ฝ่ายคณะปฏิรูปการปกครองฯ คงจะใช้งบประมาณเพื่อประโยชน์ระยะยาวได้ดี ผมชื่นชมคำสัมภาษณ์ของโฆษกที่เน้นงบประมาณที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยอย่างจริงจัง เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันเป็นโลกของความรู้ หรือสังคมฐานความรู้ เป็นนโยบายที่ทุกประเทศทำ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในยุคคุณทักษิณ เรื่องนโยบายระยะยาวอ่อนมาก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่องพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาสังคมฐานความรู้ เรื่องการปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา ขาดการปฏิรูปพฤติกรรมในการทำงาน ยังทำงานแบบเดิม ไม่มี Innovation ไม่มี Paradigm shift หรือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์
เรื่องเหล่านี้ ผมขอเสนอไว้ 2 ประเด็นคือ
เรื่องแรก สมควรหรือไม่ที่จะมีการปฏิรูประบบการศึกษาอีกรอบ ที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และมองจากความจริง ไม่ใช่มองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก
หลายฝ่ายอยากเห็นระบบการอุดมศึกษา เป็นอิสระจากอิทธิพลของกระทรวงศึกษาฯ โดยจะเป็นองค์กรใหม่หรือกระทรวงใหม่ และจะรวมคำว่าวิจัยเข้าไปด้วย น่าจะดี
หรือการมองประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อยู่ในแท่งเดียวกันต่อไปหรือไม่ และวัฒนธรรมของประถม เข้ามามีบทบาท มีอิทธิพลมากกว่ามัธยม จะสร้างปัญหาระยะยาวหรือไม่
การปฏิรูปการศึกษา คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของครู ผู้ปกครอง นักเรียน แบบที่ปฏิรูปโครงสร้าง ไม่ได้ผลอย่างแท้จริง
ดูประเทศที่เขาไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แต่เห็นคุณค่าและเอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้
ในกลุ่ม HRD ของ APEC ที่ผมเป็นประธานคณะทำงาน HRD อยู่ เห็นได้ชัดว่า ประเทศเหล่านั้น เขาเอาจริงกับเรื่องการสร้างทรัพยากรมนุษย์พันธุ์ใหม่ ให้จัดการกับโลกในอนาคตได้
ผู้บริหารโรงเรียน มหาวิทยาลัยของประเทศเหล่านี้ จะเป็นคนที่มีโลกทัศน์กว้าง มีภาวะผู้นำ ใฝ่รู้ มองอนาคตของเศรษฐกิจคู่ไปกับการศึกษา ในขณะที่การปฏิรูปการศึกษาของไทยเน้นการปฏิรูปโครงสร้างเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่มีการลงทุนในการพัฒนาทัศนคติ ความรู้ใหม่อย่างจริงจัง เป็นสังคมการเรียนรู้ที่ไม่ต่อเนื่องและไม่ได้ผล
ผลงานของคณะปฏิรูปการปกครองฯ ในการแต่งตั้งทหารและข้าราชการที่เป็นคนดี คนเก่ง และไม่รับใช้นักการเมืองอย่างเห็นได้ชัด ยกย่องให้ท่านเหล่านี้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ผมดีใจที่ข้าราชการประจำกลับมามีบทบาทที่เหมาะสมต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้น การมีอิทธิพลของนักการเมืองในรัฐวิสาหกิจจะน้อยลง จึงเป็นจุดหักเหที่น่าสนใจ
งานของผมเป็นเช่นเดิม สังคมยังให้ความสนใจและหิวกระหายในเรื่องการเรียนรู้ของผมอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งที่มีปัญหาการเมืองที่เป็นอยู่
ผมได้ไปร่วมสร้างภาวะผู้นำ และสร้าง Teamwork ให้แก่กลุ่มบริษัท Softsquare เป็นบริษัทที่ให้การบริการด้าน Software ของคนไทย ซึ่งมีพนักงานเขียน Software อยู่กว่า 400 คน ผู้บริหารเห็นความสำคัญของการสร้างภาวะผู้นำ สร้างสังคมการเรียนรู้ และการสร้างความสุขในการทำงาน โดยเฉพาะให้ชีวิตกับงานไปด้วยกัน ปัจจุบันเรียกว่า work/life Balance
ผมได้ขึ้นเหนือไปเป็นแขกของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ดร.ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ บรรยายให้นักศึกษาปริญญาโทกว่า 50 คนฟัง ในเรื่องโลกาภิวัตน์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การเรียนของเด็กในยุคนี้ ต้องให้เขาทำการบ้าน โดยทำ workshop มีส่วนร่วมมาก ๆ อย่าไปสอนแบบบรรยายข้างเดียว โดยให้นักศึกษาทำ workshop ว่า
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- มีประโยชน์ต่อประเทศอย่างไร
- มีโทษหรือการคุกคามอย่างไร
- จะแก้ปัญหาโดยใช้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างไร
กลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มสมาคมรองผู้อำนวยการสถานการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย ได้เชิญผมไปบรรยายแบบมีส่วนร่วมให้รองผู้อำนวยการในเขตกรุงเทพฯ และภาคตะวันออก ซึ่งผมได้ให้กำลังใจในการทำงาน และได้เน้นถึงการเป็นสังคมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นทิศทางของการบริหารทรัพยากรบุคคลในทศวรรษหน้า ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จึงจะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง จะต้องสร้างศักยภาพตามทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ให้เกิดขึ้นในเด็ก และผู้ร่วมงาน และต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมได้รับเชิญให้ไปทำงานต่อเนื่องแก่รองผู้อำนวยการโรงเรียนในภาคตะวันตกที่กาญจนบุรีในเดือนตุลาคมนี้ด้วย
ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2549 ผมและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและสถานกงสุลไทยประจำโฮจิมินห์จะไปสร้างสังคมการเรียนรู้และการทูตภาคประชาชน (People to People Diplomacy : PPD) ที่เมืองโฮจิมินห์ เวียดนาม แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์กับภาคเกษตร ให้แก่ข้าราชการและเกษตรกรในเวียดนามประมาณ 40 คน
เป็นการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมเคยจัดที่กัมพูชา พม่า และจีนตอนใต้มาแล้ว สร้างให้เกิดสังคมการเรียนรู้ ซึ่งทางเวียดนามจะเล่าให้ผมฟังว่า เขามองเรื่องโลกาภิวัตน์ เรื่องภาคเกษตรอย่างไร เพราะเวียดนามจะเป็นสมาชิกของ WTO จึงต้องบริหารความเสี่ยงจากโลกาภิวัตน์มากขึ้น

 

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


โทรสาร 0-2273-0181
 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท