วิธีการใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) แบบประหยัด สกัดกั้นข้าวเฝือใบ ปลอดภัยต่อหนอนและแมลง


หลังจากที่ใส่ปุ๋ย

โดยปรกติปุ๋ยยูเรีย
(46-0-0) ค่อนข้างเป็นที่นิยมในหมู่เกษตรกร ทั้งพืชไร่ไม้ผล ข้าว อ้อย มัน ปาล์ม
และยางพารา เพราะใช้แล้วเห็นผลได้ชัดเจน คือใบจะเขียวเข้ม ต้นเจริญเติบโต
สูงใหญ่แตกใบกิ่งก้านเบ่งบานแผ่สาขาอย่างรวดเร็ว
เมื่อเริ่มปลูกลงกล้าใหม่ๆ ปุ๋ยยูเรียจึงเป็นขวัญใจของพี่น้องเกษตรกรชาวนาเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะชาวนาเมื่อข้าวเริ่มได้อายุ 15 – 20 วันก็จะเริ่มหว่านปุ๋ยโดยเฉพาะปุ๋ยยูเรีย
จะได้รับความนิยมมากที่สุด เพื่อให้ข้าวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
(ภาษาชาวบ้านเรียกว่ากระทุ้งปุ๋ย เพื่อเร่งให้ข้าวโตเร็วๆ เหมือนเป็นการแข่งขันกัน
สร้างความภาคภูมิใจแก่เจ้าของนา)

หลังจากที่ใส่ปุ๋ย
ข้าวจะเจริญเติบโตงอกงามจนใบโค้งงอง้อมลงจนคำนับพับเพียบเจ้าของหาเจ้าของ  แลดูเขียวขจีสดใสไปทั่วแปลง
เป็นที่ถูกอกถูกใจเจ้าของนาเป็นอย่างยิ่ง แต่ต้นกล้าในแปลงนากลับไม่ชอบ
เพราะการที่หว่านปุ๋ยตั้งแต่ข้าวยังเล็กอยู่นั้น เปรียบเหมือนเป็นการยัดเยียดให้ข้าวกินปุ๋ยมากเกินไป
ทำให้ต้นอวบอ้วน ใบหนา ใหญ่ โค้งงอ อุ้ยอ้าย ต่างเป็นที่ถูกอกถูกใจของเหล่าหนอน แมลง
ที่มักอาศัยหลบซ่อนตัวเข้ามาทำลายลำต้นและใบข้าวในช่วงที่ข้าวอ่อนแอจากการใส่ปุ๋ยยูเรียนี้เอง
หลังจากใส่ปุ๋ยไปได้สองสามวัน ชาวนาจะต้องเตรียมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งยาฆ่าแมลง
ยาฆ่าหนอนและเพลี้ยไฟ ไรแดง ต่างๆ สารพัดเท่าที่จัดหามาได้

ความจริงในระยะนี้เกษตรกรชาวนาไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย
เพราะข้าวยังพอมีอาหารกินจากในเมล็ดและพื้นดินในแปลงนาตั้งแต่ทำเทือก
และต้องการดูดกินปุ๋ยมากจริงๆ ในช่วงระยะแตกกอ คือข้าวอายุประมาณ 30 วัน
ดังนั้นถ้าใส่ปุ๋ยในช่วงข้าวอายุ 29 – 30 วัน
ก็จะเป็นการใส่ปุ๋ยในช่วงเวลาที่เหมาะสม
เพราะหลังจากใส่ปุ๋ยเพียงวันหรือสองวันข้าวก็เริ่มแตกกอให้หน่อออกลูกออกหลานมาช่วยแบ่งเบากินปุ๋ยกระจายกันไปอย่างสมดุลย์  จะดีกว่าใส่ปุ๋ยตอนข้าวเป็นต้นเดียว (อายุ 15 -20
วัน) ที่ยังเป็นเม็ดเดียวต้นเดียวดูดกินปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเข้าไปเต็มๆ
นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อะไรมากแล้วยังเป็นการสิ้นเปลืองปุ๋ยและสิ้นเปลืองยาเคมีกำจัดศัตรูพืช
ทั้งทำให้ต้นข้าวอ่อนแอไม่ต้านทานต่อโรค แมลง รา ไรอีกต่างหาก

เทคนิคที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ที่จะเปลี่ยนปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ที่สูญเสียง่ายละลายเร็วให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า
คล้ายๆกับที่ประเทศญี่ปุ่นเขานำมาจำหน่ายในบ้านเราตกกิโลกรัมละหลายสิบบาท
คิดเป็นกิโลก็หลายร้อยบาท คิดเป็นตันก็สองสามหมื่นบาทหรือมากกว่า
เราสามารถทำให้ปุ๋ยยูเรียกลายเป็นปุ๋ยละลายช้าแบบเมดอินไทยแลนด์ได้ง่ายเพียงนำปุ๋ยยูเรีย
5 ส่วน พรมน้ำพอชุ่มชื้นไม่เปียกแฉะคลุกผสมกับ “ซีโอ-พูมิช”
(หินแร่ภูเขาไฟเกรดพรีเมี่ยม) 1
ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน เท่านี้เราก็จะได้สูตรปุ๋ยละลายช้าแบบไทยๆ
ที่ช่วยทำให้ข้าวไม่เฝือใบ ปลอดภัยต่อหนอนและแมลงที่จะเข้ามาทำลายได้เป็นอย่างดี

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 448557เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2011 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบเกษตรอินทรีย์

และทำสวนเพื่อเกษตรครับ

เช่นกันครับ ตอนนี้ผมก็ทำนาโดยใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 1 ถังต่อไร่ ใช้เทคนิคการปรับและเตรียมดินให้เหมาะสม และกำลังเตรียมพื้นที่ทำเกษตรผสมผสานเพิ่มที่จังหวัดอ่างทองอยู่ด้วยครับ

ขอบคุณสำหรับเทคนิค การทำปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยละลายช้าแบบเมดอินไทยแลนด์ ซึ่งเป็นประโยชน์มากกับเกษตรกรและคิดว่าน่าจะประยุกต์ใช้ได้กับทุกพืชนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท