วิจัยในชั้นเรียน กศน.จังหวัดสุราษฏร์ธานี(1)


ตอนนี้ผู้เขียนอยู่ที่นิภาการ์เด้น ของจังหวัดสุราษฏร์ธานี กำลังจะจัดกิจกรรมการวิจัยในชั้นเรียนให้แก่ครู กศน.สุราษฏร์ธานี ท่าน ผอ.กานดา ชวนมาจัดกิจกรรมให้ครู

 

  ผู้เขียนแกล้งเป็นครูมาอบรม สงสัยหน้าตาให้ มีคนใช้ถ่ายรูปด้วย ฮ่าๆๆ

 

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม   2554

 
เวลา
                              กิจกรรม 
 
8.00-9.00
ลงทะเบียน
 
9.00-10.00
พิธีเปิด
 
10.00-11.00
แบบประเมินก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการ
 
11.00-11.15
Break
 
11.15-12.00
การวิจัยในชั้นเรียนคืออะไร
 
12.00-13.00
พัก
 
13.00-14.00
การวิจัยในชั้นเรียนคืออะไร(ต่อ)
 
14.00-14.15
Break
 
14.15-15.00
การตั้งปัญหาการวิจัย
 
15.00-16.00
ปฏิบัติการตั้งปัญหาการวิจัย
 
16.00-17.00
นำเสนอการตั้งปัญหาการวิจัย
 

รอดูภาพกิจกรรมนะครับ

 

 

ผอ.กานดา

 

กิจกรรมแรกคือกิจกรรมละลายพฤติกรรมคือกิจกรรม

http://gotoknow.org/blog/yahoo/305369   ปมมนุษย์  อ่านจุดประสงค์การดำเนินกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมและการประเมินกิจกรรม  ได้ที่นี่ครับ

 

 

 

 

 เกมกิจกรรมกลุ่ม

 

 

ผู้เขียนคิดว่าค่อนข้างใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่ก็ประสบผลสำเร็จได้ดี ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสรุปบทเรียนที่ได้จากกิจกรรม

 

 

 

กิจกรรมผ่อนพักตระหนักรู้

 

 

 

 

 

 วันแรกครูได้หัวข้อวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  แต่ยังไม่ได้ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ...

 

 

 ผู้เขียนใช้กระบวนการกลุ่มและวิธีการของวิทยากรกระบวนการเพื่อให้ครูออกแบบกิจกรรม

 

คุณสมบัติวิทยากรกระบวนการท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ให้ความหมายไว้ดังนี้

 

1. เป็นบุคคลที่พยายามเปลี่ยนแปลง ฝึกฝน พัฒนาตนเองและบุคคลในทีมให้เป็นผู้รอบรู้ มีโลกทัศน์ที่ถูกต้อง (Personal Mastery)
 
2.ให้ความเอาใจใส่กับกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีม (Team Learning)
 
3.มีความเป็นกลาง อิสระ เป็นธรรม ไม่โอนเอียง หรืออคติ
 
4. มีจิตใจรักมนุษย์ มีความสุขกับการเห็นมนุษย์เกิดการยกระดับทางจิตวิญญาณ และภูมิปัญญา และมีความเชื่อมั่นในพลังทวีคูณ (Synergy) ระหว่างมนุษย์ ไม่ดูถูกมนุษย์
 
5. มีจิตใจประชาธิปไตย ใจกว้าง ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม และยอมรับความแตกต่างหลากหลาย ไม่เป็นเผด็จการ เพื่อให้เกิดการปรับวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)
 
6.มีวิธีคิดแบบองค์รวม (System Thinking) ไม่แยกส่วน
 
7. มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ติดกรอบ พร้อมที่จะขยาย ปรับ หรือเปลี่ยนแบบแผนทางความคิด (Mental Model) กล้าคิด กล้าทำ กล้าจินตนาการ กล้าเปลี่ยนแปลง (Creativity – คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ออกนอกกรอบเดิม ๆ)
 
8. สามารถใช้สมองสองซีก ซ้าย – ขวาอย่างเชื่อมโยง มีทั้งศาสตร์และศิลปะ
มีประสาทสัมผัสที่ดี นอกเหนือจากตาดู หูฟัง ต้องมีความรู้ความเห็น (ญาณทัศนะ) ที่แจ่มชัด เป็นนักสังเกตการณ์ มีความละเอียดอ่อน (Sensibility)
 
9. สามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของคนได้ง่าย
 
10. มีอารมณ์ที่ดี สมาธิดี ใจเย็น ไม่ตื่นตระหนกง่าย ไม่ฉุนเฉียว ไม่เอาแต่ใจตัวเอง มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) มีความสนุก ตื่นเต้นตลอดเวลากับการปฏิสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของมนุษย์
 
11. ให้ความสำคัญกับกระบวนการสื่อสารระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ และสังคม โดยเฉพาะการสื่อสาร 2 ทาง (TWO WAY COMMUNICATIONS)
 
12. กล้าตัดสินใจ และมีความรับผิดชอบสูง

 

 วันนี้ที่สองมีกิจกรรมดังนี้ครับ

 

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม  2554

 

เวลา

                              กิจกรรม 

 

8.00-9.00

การตั้งชื่อเรื่องวิจัย,จุดประสงค์การวิจัย

 

9.00-10.00

นำเสนอการตั้งชื่อเรื่องวิจัย,จุดประสงค์การวิจัย

 

10.00-11.00

กลุ่มตัวอย่าง ตัวแปร

 

11.00-11.15

Break

 

11.15-12.00

นวัตกรรม,การจัดการความรู้

 

12.00-13.00

พัก

 

13.00-14.00

นำเสนอกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรและนวัตกรรม

 

14.00-14.15

Break

 

14.15-15.00

ระเบียบวิธีการวิจัย,งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

 

15.00-16.00

นำเสนอระเบียบการวิจัยและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

16.00-17.00

การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย,สรุปและการอภิปรายผล

ผู้เข้าอบรมนำเสนอเค้าโครงวิจัย

 

 

 

 

จุดประสงค์ เจ้าตัวเล็กทางการศึกษา 

การทำกิจกรรมเจ้าตัวเล็ก

 

กิจกรรมครอบคลุมหัวข้อวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ครูจะต้องเขียนข้อมูลของตนเองก่อนแล้วรวมกลุ่มคัดเลือกผลงานของเพื่อนคนที่ดีที่สุดออกมานำเสนอ และช่วยกันแก้ไขโดยใช้กระบวนการกลุ่ม เรียนรู้ร่วมกันหลังจากนั้นจึงแก้ไขงานของตนเองเป็นรายบุคคล

 

 

 

 

กิจกรรมการจับคู่เขียนเค้าโครงวิจัย

 

 

 

ครู แต่ละท่านจะต้อง ออกแบบเครื่องมือสำหรับการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล และเตรียมเขียนการอภิปรายผลของงานวิจัยตนเองด้วย ว่าใช้เครื่องมืออะไร ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร และอภิปรายผลออย่างไร

 

 ครูส่วนใหญ่เขียนหัวข้อวิจัยและเขียนเค้าโครงวิจัยของตนเองได้ มีบางประเด็นไม่ชัดเจน เลยใช้กระบวนการกลุ่มช่วยกันแก้ไข ผู้เขียนเองจัดการเรียนรู้ปนเล่นและจัดการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ เมื่อเห็นครูเบื่อและเริ่มง่วงจะรีบเปลี่ยนกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่เคลื่อนไหวทันที ทำให้ครูมีการติดตามการเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์ได้ตลอดเวลา  ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน..

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 448510เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2011 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ไปไกลแท้ ดินแดน หอยใหญ่ อย่าลืมไปคารวะ ท่านพี่ Handy ที่ถิ่นกำเนิด JJ อ.ไชยา นะท่าน

ขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอ JJ มากครับ ยังไม่ได้ติดต่อพี่อาจารย์ handy เลยครับ

-สวัสดีครับอาจารย์...

-แวะมาเยี่ยม/สบายดีนะครับ..

-จะรอติดตามอ่านในตอนต่อไปครับ..

อีกหนึ่งกิจกรรมดีๆมีความสุขทุกที่ที่ไปถึงจริงๆนะคะ..

สวัสดีค่ะ

แวะมาชมกิจกรรมดีๆ ในบันทึกนี้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ^^

  • ขอบคุณคุณเพชร
  • มากครับ
  • ขนมน่ากินมาก
  • ขอบคุณพี่ใหญ่ได้ลงใต้ด้วยครับ
  • ขอบคุณน้องเฟิร์น
  • ที่แวะมาอ่านกิจกรรม
  • ขอบคุณพี่หญิง
  • ถึงนครฯเมื่อไรครับ
  • เจอใครบ้างครับ
  • มาเยี่ยมชมกิจกรรม ครับ
  • กิจกรรมที่ วังม่วง เรียบร้อยดี นักศึกษาได้รับความรู้ และสนุกมาก ขอบคุณอาจารย์ และน้อง ๆ นิสิตด้วยครับ >> http://www.gotoknow.org/blog/nfebangban/448615

เพิ่งกลับมาจากอบรมเลยนะคะเนี๊ย น่าจะมีเวลาทำกิจกรรมกันมากกว่านี้คะ สนุกมาก ทุกกิจกรรมสอดแทรกด้วยความรู้ทั้งนั้น

กลับมาจัดกิจกรรมแบบนี้อีกนะคะ

hope to see you again

คราวนี้ไปไกลเลยวังไกลกังวลไปมากเลยนะครับ

ไปเครื่องหรือว่า รถยนต์ครับ 

คนขอให้ถ่ายรูปแสดงว่า หน้ายังเด็ก กระมัง อิอิ

สวัสดีค่ะ...อาจารย์

ขอขอบคุณสำหรับความรู้ที่มาอบรมนะคะ ช่วยพวกหนู่ได้เยอะเลย

ถ้า อาจารย์พอมีเวลา อย่าลืมแวะมาศิษย์ที่ กศน.เมืองฯสุราษฎร์ธานี บ้างนะคะ

ถ้ามีโอกาสหวังว่าคราวหน้า....อาจารย์จะเข้ามาอบรมพวกเราอีกนะคะ...

จะรอคร๊า......

                                         ***....  มาชื่นชมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ค่ะ .....  ***



                                            FlowersPinkSparkleButterflyBlue

                               

  • ขอบคุณมากครับพี่thanarak ต้องชมนิสิตว่านิสิตเก่งมากๆ
  • ขอบคุณมากครับคุณ PuUng
  • ดีใจที่ได้ความรู้
  • ขอบคุณท่านอาจารย์โสภณ
  • ไปไกลเลยครับ
  • พรุ่งนี้ได้กลับบ้านแล้ว
  • เย้ๆๆ
  • ขอบคุณมากครับ
  • ครูกัญญารัตน์ ผสม
  • ดีใจที่จะเอากิจกรรมไปใช้ครับ
  • ขอบคุณมากครับพี่ครู Pually
  • สบายดีนะครับ
  • งานคงยุ่งน่าดูนะครับ

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ได้ความรู้และสนุกมากมาย..

แต่หลังจากอบรมของอาจารย์หนูไข้หวัดรับประทานเลยค่ะ

ดร.อบรมพวกเราได้ความและสนุกมาก

สวัสดีค่ะ ดร.ขจิต

พัดชาห่างหายไปจาก G2K ซะนาน  แวะมาเยี่ยมค่ะ

  • ขอบคุณครูอรอนงค์พักผ่อนมากๆ
  • จะได้ไม่เป็นหวัดครับ
  • ขอบคุณครูก้อย
  • ขอให้รีบเขียนวิจัย
  • คิดว่าคุณครูก้อยเขียนได้แน่ๆ
  • ขอบคุณครูพัดชา
  • หายไปนานมาก
  • สบายดีไหมครับ

สบายดีค่ะ แต่ยุ่งมากเลยค่ะ รับงานมากไปหน่อย นาน ๆ ถึงจะได้เข้ามาค่ะ

อาจารย์คงสบายดีนะคะ ขยันเหมือนเดิมเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท