KM ที่รัก ตอนที่41 " วิจัยเชิงคุณภาพ กับ คุณภาพการวิจัย"


แนวคิดหลังปฏิฐานนิยม

                                               คำว่า วิจัย เป็นคำ ใหญ่ และ แสลงใจ หลายคนที่กำลังจะเข้าสู่กระบวนการวิจัย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยเล็กๆ ในห้องเรียน , งานวิจัยชุมชน , หรือแม้กระทั้ง การทำวิจัยเพื่อทำผลงานวิชาการ เพื่อเป็นบัณฑิต ของมหาวิทยาลัย ก็ตาม โดยเฉพาะครูบาอาจารย์ ในโรงเรียน ทั้งประถมและมัธยม    อ. อริยาภรณ์ ที่ ม. อุบลเล่าไห้ฟังว่าไปส่งเสริมให้ครูทำวิจัยใน สาม จังหวัดชายแดน (อีสานใต้) พบว่าครูกลัวงานวิจัยมาก ไม่กล้าทำ ไม่กล้าที่จะคิด กลัวไปเสียทุกอย่าง อาจจะเนื่องมาจาก คุณครูเหล่านั้นไม่คุ้นชิน กับวิธีทางการวิจัย โดยเฉพาะ คำศัพท์ทางการวิจัย เช่น ระเบียบวิธีวิจัย , ปฏิฐานนิยม ,การวิจัยเชิงปริมาณ , การวิจัยเชิงคุณภาพ  การไม่เข้าใจความหมายของคำที่ลึกซึ้ง  อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของความกลัวการวิจัย ก็อาจเป็นไปได้  แม้กระทั่ง คำ สอง คำที่เราบางคนคุ้ยเคย และคุ้นชิน และบางคนก็ยังไม่แน่ใจและยังแยกไม่ได้ชัดเจนเท่าที่ควร คือคำว่า วิจัยเชิงปริมาณ และ วิจัยเชิงคุณภาพ  ซึ่งวิจัยทั้งสองอย่างมีเส้นแบ่ง ว่า มีคุณภาพหรือไม่มีคุณภาพ  และที่ผ่านมา วัดกันที่ เป็นวิทยาศาสตร์ หรือไม่  ที่ผ่านมาการวิจัย เชิงปริมาณ เป็นที่ยอมรับ อย่างน่าเชื่อถือยิ่ง  ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ แต่การวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ไม่เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข  ยังไม่ได้รับการยอมรับ ว่าเป็นวิทยาศาสตร์    

                                               แต่ราวครึ่งศตวรรษที่ 20 มีกระแสร์ วิพากษ์ มากมาย ในความสำเร็จของการวิจัยเชิงปริมาณ ว่าสามารถ อธิบายความสัมพันธ์ เชิงเหตุและผล โดยใช้ตัวแปรมากกว่าที่จะใช้ผู้กระทำ เป็นหลัก ตัวแปรกลายเป็นตัวการที่กระทำสิ่งต่างๆ แทนที่จะเป็นคน  ซึ่งเป็นผู้กระทำทางสังคมจริง (Abbutt 1992)

                                              ด้วยเหตุนี้จึงได้มีนักวิชาการ โดยเฉพาะ นักสังคมศาสตร์ได้วิพากษ์  ว่าการวิจัยเชิงปริมาณ ถ้าเป็นนักสำรวจป่า ก็จะมองเห็นเฉพาะป่า  แต่ไม่เห็นต้นไม้  นอกจากนี้ การวิจัยเชิงปริมาณ ยังไม่สามารถ จับพลวัตของความเปลี่ยนแปลง ทั้งในระดับบุคคล ระดับสถาบัน  และระดับสังคม ได้ดีเท่าที่ควร   ..บุคคลที่ทำไห้วงการวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์สะเทือนอย่างกว้างขวาง คือ Thomas Kuhn(1970)  จากผลงานเขียนทางปรัชญาชื่อ The structure of Scientitic  เขาเสนอว่า ความก้าวหน้าในทางความรู้ และการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะในศาสตร์ แขนงใดก็ตาม จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ  มีการ แหวก ออกไปจากกระบวนทัศน์ (Paradigm) เดิมๆ                                                    หลังจากนั้นมากระแสร์ การวิจัยที่เป็นเชิงคุณภาพที่ไห้ความสำคัญ   การศึกษา และสนใจชีวิต ของคนเฉพาะราย ที่เป็นอัตวิสัยของมนุษย์ ( human subjectity)  ซึ่งเขาเชื่อว่า วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้มาซึ่ง ข้อมูลที่ อุดมได้ดังที่คาดหวัง  และในปัจจุบัน ก็มีตัวบ่งชี้ ว่า วิจัยเชิงคุณภาพ ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นวงการวิจัยเชิงพฤติกรรม , สาธารณสุข , พยาบาลศาสตร์ , จิตวิทยาสังคม  ศึกษาศาสตร์ , การพัฒนา , รัฐศาสตร์ , แม้แต่ด้านการตลาดเอง ก็ยอมรับวิธีการเชิงคุณภาพ ในฐานะเป็น เครื่องมือที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง  นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมของกลุ่ม นักวิชาการ นักวิจัยเชิงคุณภาพ มากมาย เช่นมีผลงานวิชาการ  มีการจัดตั้งองค์กร  มีการจัดการเรียนการสอนมากมาย   ..แต่ก็อย่าลืมว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ ไม่ได้หมายความว่า เป็นงานวิจัยที่ มีคุณภาพเสมอไป..ครับ
หมายเลขบันทึก: 44835เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2006 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เมื่อวันหยุดที่ผ่านมา  ดิฉันก็ไปต่างจังหวัดห่างจากกรุงเทพฯ สองร้อยกว่ากิโลเมตร  เพื่อลงภาคสนามการทำวิจัยเชิงคุณภาพ

เรื่องที่ทำคือ  ศึกษาหมู่บ้านที่มีอายุมากกว่า 100 ปี

วิจัยเชิงคุณภาพ  ต้องใช้เทคนิควิจัยแบบมีส่วนร่วม  ตัวผู้วิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ดิฉันก็ยังไม่ถ่องแท้  พอบันทึกของอาจารย์จึงเข้าใจยิ่งขึ้นค่ะ  เข้าใจในสิ่งที่ตนทำ

ขอบคุณมากค่ะ

วิจัยเชิงคุณภาพ  แต่ไม่ได้หมายความว่า  วิจัยนั้นมีคุณภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท