โครงการค่ายผู้นำรุ่นใหม่ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ORRAF Leader Camp)


มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้รับมอบหมายจาก สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ให้จัดโครงการ “ค่ายผู้นำรุ่นใหม่ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง” ระหว่างวันที่ 11 กรกฎาคม-4 สิงหาคม 2554 ให้กับผู้บริห...
มีต่อ

11 ก.ค. 54

 

กล่าวรายงานโครงการฯ

-          กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อพัฒนาให้เกิดการทำงานเชิงรุก เน้นการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของ สกย. ให้พร้อมกับการทำงานในโลกยุคเปลี่ยนแปลง เรียนรู้การรับมือการเปิดการค้าเสรีอาเซียน รู้จักคิดวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์สำหรับการทำงานยุคใหม่

-          การดำเนินการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 ระยะ

 

กล่าวเปิดโครงการและปาฐกถาพิเศษ

เรื่อง    จริยธรรมของผู้นำ

โดย     ฯพณฯ ดร.อำพล เสนาณรงค์

 - กล่าวแสดงความยินดีกับการจัดหลักสูตรนี้ และยินดีที่เป็นหลักสูตรในการจัดเพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้นำ สกย.ให้เตรียมพร้อมกับการทำงานในการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาภิวัตน์

 

การบรรยายหัวข้อ ทศพิธราชธรรม (จริยธรรมของผู้บริหาร)

- ขอนำหลักทศพิธราชธรรมที่เป็นหลักในพระมหากษัตริย์ไทยใช้มาโดยตลอดสืบทอดมาเป็นระยะเวลานาน เป็นหลักการปกครองเพื่อให้บ้านเมืองเป็นสุข รวมทั้ง พระองค์ทรงให้ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานต่าง ๆ ไปปรับใช้ พระองค์ไม่ได้รับสั่งโดยตรง แต่เป็นการทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่าง

1.ศิล 5

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงผนวชเมื่อ 29 พรรษา และทรงศึกษาหลักธรรมคำสอนโดยตลอด พระองค์ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่าง

2. อาชวะ คือความซื่อตรง

พระองค์ทรงรักษาสัตย์ในการบริหาร  พระองค์ทรงลงนามในการแต่งตั้ง ทรงงานโดยการรับทราบ และผ่านความเห็นชอบ 

ในฐานะข้าราชการต้องยึดหลักในหัวข้อนี้ ปฏิบัติงานโดยความซื่อสัตย์ สุจริต ต่องาน ต่อตนเอง ต่อประชาชน

3. บริจาคะ  คือการเสียสละ

เสียสละน้อยไปสู่สิ่งที่มีประโยชน์มากกว่า

       ตลอดรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ท่านทรงออกมาทำงานช่วยเหลือประชาชนต่าง ๆ เช่น กรณีเกิดน้ำท่วม พระองค์ก็ทรงงานไปต่างจังหวัดในกรณีน้ำท่วม หรือเกิดพายุต่าง ๆ พระองค์เสด็จไปเยี่ยมเยียน และบริจาคสิ่งของ   พระองค์ทรงทำงานวิจัยต่าง ๆ เพื่อไปช่วยเหลือชาวบ้านด้วย โดยพระองค์ท่านมีความประสงค์อยากให้ชาวบ้านเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตัวเองด้วย

      ในกรณีที่มีปัญหา พระองค์จะเรียกผู้ใหญ่ของบ้านเมืองไปรับทราบด้วย  

      ต้องเสียสละ และมีจิตใจกว้างที่จะรับฟังปัญหาต่าง ๆ ทุกคน ทุกฝ่าย ด้วยความสงบ โดยไม่ใจร้อน

4. มัททวะ คือความอ่อนโยน

ดังเช่นกรณีที่นครพนม มีชาวบ้านกราบถวายพระพร พระองค์ ทรงอ่อนโยน และทรงพูดคุย ตรัสกับประชาชนด้วยความใกล้ชิด

ข้าราชการต้องมีสัมมนาคารวะ อ่อนน้อม ไม่แสดงความเย่อหยิ่ง สามารถเข้ากับคนได้ทุกชั้น

5. ตบะ คือการข่มกิเลศตัณหา

คือมีความเพียรเพื่อกำจัดกิเลส พระองค์พยายามทรงงานเพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้นำทั้งหลายเห็นถึงการเข้าไปถึงพื้นที่ และให้ใกล้ชิดประชาชน

มีความเพียร ทำในสิ่งควรทำ ไม่เกียจคร้าน หรือย่อท้อต่อปัญหาต่าง ๆ

6. ขันติ คือความอดทน อดกลั้นต่อกิเลส

พระองค์ทรงมีความอดทนที่จะรับฟังปัญหาของชาวบ้าน  เปลี่ยนจากยืน เป็นนั่งคุกเข่า คุยกับประชาชน

พระองค์ทรงอดทนในทุกเรื่อง และหาข้อเท็จจริงในด้านต่าง ๆ

ข้าราชการก็ต้องพยายามทำเช่นนี้เช่นเดียวกัน

7 . อริโรธนะ คือ มีความหนักแน่นเป็นธรรม

      พระองค์ท่านทรงยึดหลักความเป็นธรรม  ข้าราชการในท้องถิ่น ต้องรู้เรื่องในท้องถิ่นที่ดี พระองค์ต้องมีขันติ มีความหนักแน่นเป็นธรรม ไม่เอนเอียงหวั่นไหว เที่ยงธรรม รู้ประเพณี ศิลธรรมเป็นหลัก หน้าที่ของข้าราชการต้องพยายามศึกษา หมั่นหาความรู้รอบด้าน แล้วรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย  ใช้หลักความเป็นธรรมในการตัดสินเรื่องต่าง ๆ

8.อักโกรธะ คือความไม่โกรธ

            มีความเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ไม่โกรธ ข่มใจ หรือลดความโกรธลง

9.  อริหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียน

            ที่เห็นชัด คือ โครงการพระราชดำริ บางโครงการฯ เมื่อเป็นที่รับความเห็นชอบก็ดำเนินการได้

      ที่บึงหนองบอน  แก้มลิงในกรุงเทพฯ เกิดความเห็นชอบจากประชาชน  จึงได้เกิดมีโครงการฯ นี้ขึ้นแต่ถ้าที่ประชาชนไม่เห็นด้วย พระองค์ท่านก็ไม่ทรงทำ

10.  ทาน คือ การให้

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเยี่ยมผู้ป่วยในกรณีต่าง ๆ มีถุงยังชีพให้ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ท่านทรงปฏิบัติมาโดยตลอด  พระองค์ทรงไม่อยากให้เงินเนื่องจากให้แล้วหมดไป เลยทรงอยากให้เป็นของ จะดีกว่า   การมอบอุปกรณ์การเรียน  เสื้อผ้าต่าง ๆ   การพระราชทานฝนหลวง โครงการพระราชดำริ เพื่อทำสิ่งของ และพันธุ์พืชต่าง ๆ

      อย่างข้าราชการ ควรทำตามแบบอย่าง  และต้องฟังเสียงสมาชิก หรือประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ด้วย

     ทศพิธราชธรรม ที่พระมหากษัตริย์ใน ราชวงศ์จักรี ใช้มาโดยตลอด โดยมีข้าราชการและผู้บริหารต่าง ๆ นำมาประยุกต์ แต่แนวทางปฏิบัติอาจมีความแตกต่างบ้าง  เนื่องจากต้องมีกฎของแต่ละหน่วยงานเพิ่มขึ้น  ทุกคนอาจไม่สามารถปฏิบัติได้ทั้ง 10 ข้อ

      การใช้หลักพระพุทธศาสนาคือกฎแห่งกรรม ใครทำกรรม ได้รับกรรมดี  ใครทำกรรมชั่วได้รับกรรมชั่ว แต่ช้าหรือเร็วต่างกัน

 

ดร.จีระ  กล่าวขอบคุณท่านองคมนตรี ฯพณฯ อำพล เสนาณรงค์  และเรียนว่าท่านเสมือนเป็น Mentor ของอาจารย์จีระ ฝากผู้เข้าอบรมถึงทิศทางที่สังคมไทยว่าจะเดินไปทางไหน เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต                    

            การเรียนรู้ เน้นความร่วมมือกันในการหาวิธีการใหม่ ๆ อย่าง ยางของไทย ต้องมี Expertในด้านต่าง ๆ เข้ามาช่วย  ให้ธุรกิจสวนยางมีการกระจายรายได้ สู่ต่างจังหวัดมากขึ้น มีการสร้าง Network ทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วย

                  

                   กระทรวงเกษตรฯ ควรช่วยทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเนื่องจากกรุงเทพเป็นเสมือน    เมืองสวรรค์ของนักท่องเที่ยว

 

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้

โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

11 ก.ค. 54

  • ในเวลา 8 วันที่จะทำเว้นทำการบ้านจะทำอะไรให้เป็นประโยชน์ที่สุด โดยช่วงแรกอยากให้ฟังถึงวิธีการที่เราจะทำในหลักสูตร มีอะไรบ้างที่ต้องปรับปรุง 
  • ดร.จีระ  บอกว่ามีหน้าที่มาแบ่งปันความรู้ไม่ใช่มาสอน 

มูลนิธิฯ ตั้งโดยมติ ครม. ทำหน้าที่เพื่อประชาชน และประเทศเพื่อนบ้าน   อย่าง สกย. ควรมีตัวแทนอยู่ที่จีนสักคน เพราะเราไปพึ่งยางพาราจากจีนมากเหมือนกัน  เราควรเน้นการสร้างขวัญ กำลังใจ แรงบันดาลใจ

เราต้อง Open Mind และ Open Heart  

4 แนวคิดสำหรับการเรียนรู้ในหลักสูตรนี้ :

  1. มีแรงบันดาลใจ  Inspiration
  2. Energy  คือ การเรียนรู้ต้องให้มีพลัง มีไฟ มีการถกเถียงกัน  ถ้ามาเรียนกับ ดร.จีระ แล้วเบื่อเรียน ไม่มีไฟ  ต้องคิดถึงยุทธศาสตร์การมองในอนาคตเป็นอย่างไร เนื่องจากธุรกิจยางเป็นธุรกิจที่ยากที่สุด เนื่องจากมีความผันผวน จึงอยากให้มองกลุ่มเป้าหมายคือประชาชน  สกย. ต้องให้ความรู้ ความคิด แก่ประชาชน ไม่ควรให้เงินเขา

เกษตรฯ เป็นอะไร

  1. อยากให้รู้ว่าวิธีการเรียน สำคัญที่สุด  ค้นหาตัวเอง และพยายามสร้างความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเองและสวนยาง จับประเด็นว่าอนาคต กิจกรรมสวนยาง มีความเสี่ยงมหาศาล มูลค่าเพิ่มของยางพาราอยู่ในมือสกย. เราต้องเรียนรู้การคิดนอกกรอบ มี Network กับต่างประเทศ สนใจต่างประเทศเยอะ ๆ ทำให้โลกทัศน์กว้าง
  • มนุษย์เราความเก่งอยู่ที่บรรยากาศการทำงาน ความมุ่งมั่น ถึงไปสู่ความสำเร็จ
  • Maslow บอกว่า เราจะสร้างมรดกอะไรให้กับโลกเราบ้างเนื่องจากเราไม่อยู่แล้ว

 หลักการและเหตุผล

-  การเปลี่ยนแปลงของโลก ต้องติดตามโลกาภิวัตน์ให้ได้ อะไรที่เกี่ยวข้องกับโลกภายนอกต้องศึกษาและเรียนรู้

-  อยากให้ท่านทั้งหลายมองธุรกิจยางเป็นธุรกิจที่เข้มแข็ง มองศักยภาพการแข่งขัน + ความยั่งยืน อย่าทำร้ายวิถีชีวิตของข้าว หรือวัฒนธรรมในภาคอื่น  อย่างสกย. ขอเสนอว่า วิชาที่ควรเรียนมากคือวิถีชีวิตในชุมชน

วัตถุประสงค์หลักของหลักสูตรนี้คือ

-          เรียนรู้การคิดแบบยุทธศาสตร์  คิดเป็นวิเคราะห์เป็น

-          เข้าใจจุดแข็ง ปรับจุดอ่อน ใช้จุดแข็งหลีกเลี่ยงจุดอ่อน

-          คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์เราเป็นอย่างไร ความเป็นธรรม และยุติธรรมในองค์กรเป็นอย่างไร

-          หลักสูตรนี้จะเอาความจริงมาพูดและเน้นการเอาชนะอุปสรรค

 

การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้

-          Morning Coffee

-          Round Tables

-          Mobile Library

-          Internet Corner

-          Plants/Flower Decoration

         

วิธีการเรียนรู้

-          การเรียนเป็นทีม

-          ทำ Workshop

-          ทำการบ้าน ผ่าน Blog

-          Brain Storming

-          ประเมินผล

  • ผู้เข้ารับการอบรมเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของหลักสูตร
  • ผู้เข้ารับการอบรมร้อยละ 90 ต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบหลังจบหลักสูตร ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

เกณฑ์

  • Assignment
  • ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่าน Blog
  • รายการการนำเสนอผลงานต่อผู้บริหาร
  • มีการจัด Public Seminar หัวข้อควรมีประโยชน์ต่อประชาชน

 

4L’s

 

  • Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี หลักสูตร 8 วันกระตุ้นให้คิดเท่านั้น
  • Learning  Environmentใช้บรรยากาศในการเรียน
  • ต้องการให้เกิดการปะทะกันทางปัญญา อาจารยจีระพูด ผู้อบรมพูด แล้วเข้ากลุ่มแสดงความคิดเห็น อาจมีทฤษฎีโป๊ะเช๊ะ เกิดขึ้นมา หมายถึงเรามี ไอเดียใหม่ ๆ เกิดขึ้น
  • Learning Communities  คือตัวแปลที่สำคัญที่สุดก่อนจะไปสู่ความสำเร็จ

 

2 R’s

  • Reality มองความจริง
  • Relevance ตรงประเด็นและเป็นประโยชน์กับคุณ

 

2I’s

  • Inspiration
  • Imagination

 

3I’s  การเรียนไม่ใช่เรียนจากตำราอย่างเดียว ต้องเรียนจาก

  • Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด
  • Learning from experience  เรียนรู้จากประสบการณ์
  • Learning from Listening  เรียนรู้จากการรับฟัง

 

C&E Theory

Connecting

Engaging

เรา Connect อย่างเดียวไม่ได้ เราต้อง Engaging ด้วย

 

C-U-V

Copy ลอก 20 %

Understand เข้าใจ 50-60 %

Value added สร้างมูลค่าเพิ่ม 40-50%

 

เราต้องทำ สกย. ให้ดีและเป็นประโยชน์ต่อ

  • ตัวเอง
  • องค์กร
  • ประเทศ
  • ประชาคมโลก

 

Workshop  เวลาทำแบ่งปันความรู้กันในห้องให้มากที่สุด

  1. คิดว่าเท่าที่ฟังอาจารย์จีระ คิดว่าประโยชน์ที่ได้จากที่ร่างหลักสูตรนี้เป็นอย่างไร

มีจุดอ่อนอย่างไรบ้าง

  1. มีความคาดหวังอย่างไร สิ่งที่ให้ในหลักสูตรตรงกับที่แต่ละท่านคาดหวังไว้หรือไม่
  2. ให้วิเคราะห์ถึงประโยชน์ที่ได้รับ
  • · ตัวเอง
  • · องค์กร
  • · ประเทศ
  • · โลก

กลุ่ม 6

  1. ประโยชน์ เปิดโอกาสให้เราสามารถคิดต่างได้ คิดต่างได้ต้องยอมรับในความคิดต่าง มีการกระตุ้นความคิดและกล้าที่จะคิดนอกกรอบ

      จุดอ่อนคือ อยากให้มีการอบรมอย่างนี้ทุกระดับไม่ใช่ระดับบริหารอย่างเดียว อีกเรื่องคือเวลาน้อยไป เนื่องจากการเปลี่ยนความคิดคนนั้นเวลาในหลักสูตรแค่นี้อาจไม่เพียงพอ

    ดร.จีระ เสนอเรื่องความต่อเนื่อง

2. ตรงตามความคาดหวังคือ การคิดต่างและมีเวลาเรียนรู้จากเพื่อน

3. ต่อตนเอง ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง

    ต่อองค์กร คือ มีศักยภาพในการแข่งขัน ทั้งผู้ผลิตด้วยกันเอง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  มีวาระแห่งชาติว่าจะให้มีการบริโภคยางในประเทศประมาณ 20 %

            ความมีเอกภาพขององค์กร องค์กรอยู่อย่างมีความสุข ความขัดแย้งไม่มากนัก

    ต่อประเทศ ความมั่นคง ยั่งยืน ต่อสิ่งแวดล้อม

    ต่อประชาคมโลก โลกยิ้ม สภาพแวดล้อมดี มีความสัมพันธ์ที่ดีของมวลมนุษยชาติ ไม่มีการแบ่งแยก  ได้ผู้ที่อยู่ในโลกนี้มีความสุขจากการไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบเกินไปนัก

 

ดร.จีระ เสนอว่า

  • เมื่อพูดดีแล้วต้องไปปรับพฤติกรรมตนเองด้วย เสียเปรียบคือถูกอิทธิพลขององค์กรมากไป  ไม่เน้นเฉพาะการผลิตเน้นมูลค่าเพิ่ม
  • คู่แข่งคือใคร คือตลาดโลกใช่ไหม

 

กลุ่ม 1

  1. ประโยชน์คิดว่าเป็นหลักสูตรสร้างผู้นำ น่าจะมีผลต่อการสร้างผู้นำและให้ประโยชน์ให้ผู้เข้ารับการอบรมคิดนอกกรอบ เป็นการใช้สมองซีกขวามือ   คิดไม่มีระเบียบแต่อาจอยู่ภายใต้กรอบ

ดร.จีระ เสนอว่า คิดนอกกรอบหมายถึงประสบการณ์ที่มีอยู่เต็มแล้ว เพียงแค่หนีจาก Paradigm เดิม ไปอยู่อีก Paradigm หนึ่ง ไม่ใช่ทิ้งกรอบอันเดิม  เสนอให้มีไอเดียใหม่  ขึ้นมา  ต้องเป็นหนึ่งแบบยิ่งใหญ่ และเป็นหนึ่งตลอดกลางเพราะมีความเสี่ยง อยากให้ผู้นำในห้องนี้ มองไกล และมองกว้าง ผู้นำต้องเรียนรู้เรื่องคนอื่นด้วย ไม่ใช่รู้แค่เรื่องของตนเองเท่านั้น  ทำตัวแบบ ลีโอนาโด ดาวินชี่

จุดอ่อน  ขาดความพร้อมในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการฯ  ลักษณะการทำงานของคนในสกย.ยังเป็น ไซโรอยู่

  1. ความคาดหวัง เกินความคาดหวัง เนื่องจากตอนแรกนึกว่ามาฟังบรรยายเฉย ๆ

อาจารย์จีระเน้นการสอนที่ประเทืองปัญญา คือ Inspiration

  1. ต่อตนเอง ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น

ดร.จีระ อยากให้แต่ละคนค้นหาตนเองมากขึ้นว่าต้องการอะไร ขาดอะไร และต้องพัฒนาอะไร  เมื่อรู้วิธีการเรียนแล้ว จะเป็นเลิศ แล้วเสริมตอนหลัง  

 กลุ่ม 3

  1. เกิดความคิดสร้างสรรค์ซึ่งจะนำไปพัฒนาตัวเกษตรกร 

ส่วนที่ต้องปรับปรุง กลุ่มที่เข้ามีความหลากหลายไม่ใช่แต่ สกย.อย่างเดียว ควรมีการบูรณาการและบริหาร มีการประชุมทุกเดือน

ผู้เข้าอบรมในวันนี้คือผู้บริหารในอนาคต

ดร.จีระ เสนอว่า  ก.เกษตรฯ เป็นกระทรวงพัฒนาคนได้น้อย

  1. ความคาดหวัง ให้ตนเองมีการเปลี่ยนแปลง ตัวองค์กรก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น แต่อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับผู้บริหารที่ต้องกล้าเปลี่ยนแปลงด้วยเหมือนกัน
  2. การกระทบต่อตนเอง เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว

ดร.จีระ เสนอว่า เรื่องการพัฒนาคนควรเน้นที่คุณภาพมากกว่าปริมาณ Quality>Quantity  ดร.จีระอยากเป็นทฤษฎีเจ้าจำนำเนื่องจากการทำอะไรก็ตามให้สำเร็จต้องต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง  การวัดคุณภาพของมนุษย์วัดยาก เพียงแต่เราจะขยายความสำเร็จไปเรื่อย ๆ

ต่อองค์กรควรมีการใช้งบประมาณมากกว่านี้  ควรมีการจัดซื้อหนังสือ และมีระบบอินเตอร์เน็ตมากกว่านี้

 

กลุ่ม 4

  1.  ประโยชน์ที่คิดว่าจะได้รับ เมื่อจบหลักสูตร พวกเราทุกคนต้องนำไปปรับเปลี่ยนองค์กร  วิชาความรู้ที่ได้รับ รับเต็ม ดังนั้นต้องนำไปพัฒนาให้ก้าวไกล
  2. ตรงตามความคาดหวังหรือไม่ อาจารย์ที่มาสอน ตรงหรือไม่อยู่ที่การรับความรู้ไปปรับเปลี่ยน ไปต่อยอด อยู่ที่บุคลากรทุกจังหวัด  ความคาดหวังจะบรรลุหรือไม่อยู่ที่พวกเราเอง
  3. หลักสูตรกระทบต่อ 4 ด้านอย่างไร ทั้ง 4 ข้ออยู่ที่ตนเองก่อนค่อยขยายไปองค์กร ประเทศ และโลก และจากวิสัยทัศน์ขององค์กร ได้ยึดให้องค์กรนี้บรรลุตามเป้าหมายและโดดเด่นในสังคม  ใช้ดึงความรู้จากวิทยากรทุกท่านเพื่อพัฒนาองค์กร น่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจที่ดีที่สุดของชาติตามที่ผู้อำนวยการหวังไว้

ดร.จีระ เสนอว่าอยากให้ทุกคนท้าทายตนเอง เรียนรู้วิธีการแบ่งปันกัน มีคำพูดที่อยากพูดตัวหนึ่งคือ Relationship อยากให้ใกล้ชิดกันไว้ อยากให้ศึกษาว่า รถแข่ง F-1 ชนะด้วยยาง แต่ใครเป็นคนทำยาง??? อยากให้ สกย.คิดกว้างไว้ ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์จัดแข่งขัน F-1 เป็นการสร้างภาพที่ดีมาก

ให้เอาจริงเลยว่าเราจะสามารถสร้าง Brand ระดับโลกได้อย่างไร เราขาย Community ไม่ได้ เราต้องขาย Process 

 

กลุ่ม 5

หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรผู้นำรุ่นใหม่ ในความเห็นของกลุ่มคือ ผู้นำต้องเป็นคนดีมีคุณธรรม และผู้นำต้องคิดเป็น หลักสูตรของอาจารย์จีระ ได้ทั้ง 2 อย่างเลย และเริ่มต้นหลักสูตรดีมากคือ การเรียนเชิญ ฯพณฯ องคมนตรี ดร.อำพล  เสนาณรงค์ มาพูดเรื่อง จริยธรรมของผู้นำ ผู้นำต้องคิดว่าเราจะบริหารอย่างไรบนทรัพยากรที่มีจำกัดให้ได้  ดังนั้น หลักสูตรนี้ตอบโจทย์ได้แน่นอนครับ

ดร.จีระ เสนอว่าอยากให้ทั้ง 40 คนใช้ อินเตอร์เน็ตให้เป็น

 

กลุ่ม 2

  1. ประโยชน์ที่ได้รับคือให้ทุกคนรู้จักการทำงานเป็นทีม มีการใฝ่รู้ สร้างการกระตุ้นให้คนอยากเรียนรู้เพิ่มขึ้น

ส่วนต้องปรับปรุง คือ ระยะเวลาอบรมสั้น และในเบื้องต้นมีการเตรียมความพร้อมไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถหาข้อมูลล่วงหน้าก่อนการเข้ารับการอบรมเป็นผู้นำยุคใหม่

  1. ความคาดหวัง ต้องการให้ผู้บริหารมีการเรียนรู้เรื่องภาวะผู้นำ
  2. ต่อตนเอง ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ใฝ่รู้เพิ่มขึ้น เป็นผู้นำที่ดีในอนาคต

ต่อองค์กร ทำให้องค์กรมีชื่อเสียง เป็นองค์กรชั้นนำของสังคม

ต่อประเทศ  เมื่อองค์กรดีขึ้น ก็จะมีมีผู้นำประเทศดีขึ้น มีรายได้ดีขึ้น กระทบต่อเศรษฐกิจในอนาคต

สรุป     ดร.จีระ อยากให้แบรนด์ของไทยด้านยางถูกยกขึ้นไปเหมือนภูเก็ตหรือสมุย  อยากให้ภาพลักษณ์เรื่องยางพาราอยู่ในความรู้สึกที่เป็น Soft Skill  , Brand is Feeling

          อยากให้ทุนมนุษย์ รู้จักการทำงานเป็นทีม และเรียนรู้การสร้างมูลค่าเพิ่ม ต้องเรียนรู้เรื่อง Passion ได้ความสุข คิดนอกกรอบ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และท้ายสุดคือ Happiness ในการทำงา

 

การบรรยายเรื่องผู้นำยุคใหม่ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 11 ก.ค. 54

 

ผู้นำ

  • ผู้นำไม่ได้อยู่แต่ตำแหน่ง ผู้นำคือใครก็ได้ที่ได้รับการยอมรับได้รับความศรัทธาจากเพื่อนร่วมงาน

Quotations

  • การเป็นผู้จัดการที่ดีคือทำทุกอย่างให้ถูกต้อง แต่ผู้นำคือทำทุกอย่างให้ถูกต้องและมีคุณธรรมด้วย  การเป็นผู้นำทำมากกว่าถูกกฎหมาย

“Managing is doing the things right, Leadership is doing the right things.” Peter Drucker

  • “ผู้นำไม่จำเป็นต้องสั่งการ”  George S.Patton
  • “ผู้นำที่ดีไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถนำได้”  Dwight D.Elsenhower
  • “ผู้นำที่ดีคือให้ขวัญ กำลังใจ ให้แรงบันดาลใจ” Napoleon
  • “ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์ แต่สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้และสามารถฝึกฝนได้” จีระ หงส์ลดารมภ์
  • Life Changing Moment เกิดได้ตลอดชีวิต
  • “ผู้นำไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎหมาย ผู้นำคืออิทธิพล”  K.Blanchard
  • “สังคมไทยจะพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือไม่ ? ปัจจัยสำคัญคือภาวะผู้นำของนักการเมืองยุคใหม่ในประเทศไทย”  จีระ หงส์ลดารมภ์

 

วัตถุประสงค์หลักคือ

  1. สนใจความสำคัญ
  2. หาวิธีการ ยุทธวิธีสร้างคนในห้องนี้ 40 คน มีภาวะผู้นำเพิ่มขึ้น เพราะภาวะผู้นำเพิ่มขึ้นเมื่อไร องค์กรจะดีขึ้น
  3. มีผู้นำแล้วทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพดีหรือเปล่า ผู้นำมีแล้วองค์กรดีขึ้นไหม เราจึงจำเป็นต้องศึกษาผู้นำชุมชน หรือผู้นำเกษตรกรด้วย ถึงพาองค์กรไปได้
  4. แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน แล้วสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้  เราอาจมีคุณภาพมนุษย์ที่ไม่เพียงพอ

 

  • ปัญหาของเมืองไทยสอนผู้นำยากมาก เราจำเป็นต้องศึกษาผู้นำใน Stake holder แต่ละกลุ่ม  ถึงแม้ว่าเราจะมีปัญหาเยอะ เราต้องค้นหาผู้นำให้สำเร็จได้อย่างไร
  • ผู้นำเป็นวิชาอยู่ทุนมนุษย์ อยู่ในตรงส่วน  3 วงกลม ตรง Competency
  1. Competency มาจากงานของเรา เช่นเก่งบัญชี กฎหมาย
  2. Competency ผู้บริหาร  เช่นเก่งเจรจาต่อรอง
  3. Competency ภาวะผู้นำ

โดยสรุปแล้ว Competency คือทำให้องค์กรแตกต่างจากองค์กรอื่น

  • เราจะสร้างผู้นำได้อย่างไร  เราต้องเป็นคนที่แก้ปัญหาให้ได้
  • แรงกดดันของภาวะผู้นำต้องได้รับการสะสม
  • ผู้นำที่ดีถ้ารู้ว่าอะไรเก่งแล้วต้องรู้จักมอง Macro ด้วย สิ่งแรกที่อยากฝากไว้คือ มองอะไรให้ไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ อัตราแลกเปลี่ยน  Human Right  
  • ความรู้ในห้องนี้หมุนเวียนเร็ว และเปลี่ยนตลอดเวลา Interlinking
  • ผู้นำในยุคต่อไป ต้องเน้น Sustainability, Wisdom, Creativity, Innovation, Intellectual Capital ให้มีในภาคเกษตรด้วย
  • คนในห้องนี้สนใจเรื่องทุนมนุษย์หรือคนน้อยไป ดังนั้นการเป็นผู้นำต้องบริหารคนให้ได้ ผู้นำที่ดีไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งแต่ต้องมีศรัทธาให้เกิดขึ้น  ผู้นำที่ดีต้องมองอะไรที่ยาวไกล ต้องถามว่าเพราะอะไร? และทำไม ?  ผู้นำที่ดีต้องบ้าคลั่งนวัตกรรม  ผู้นำที่ดีต้องพร้อมที่จะบริหารการเปลี่ยนแปลง

Efficiency  คือใช้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นผู้นำกับผู้บริหารมีความแตกต่างกัน

ชนิดของผู้นำ

-          Trust/Authority ผู้นำสามารถเกิดจากศรัทธา หรือตำแหน่ง

-          Charisma ผู้นำที่มีเสน่ห์ ใคร ๆ อยากอยู่ใกล้ สามารถดึงความเป็นเลิศมนุษย์เข้ามา

-          Situation ในสถานการณ์หนึ่งเราอาจสามารถค้นหาผู้นำ

-          Quiet Leader ไม่จำเป็นต้องเป็นคนพูดเก่งแต่คิดเก่ง

Trust  มีหลายขั้นตอน  ต้องสร้าง ขยาย ดึงกลับถ้าหายไป

Trust มีหลายประเภท ต้องคำนึงถึงตนเองก่อน มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน, อยู่ในองค์กรเป็นที่ยอมรับกับเพื่อนร่วมงาน,  และเป็นที่ยอมรับกับสังคม

  • คุณลักษณะของการเป็นผู้นำที่แตกต่างกัน  และยุทธวิธีที่จะสร้างผู้นำให้เกิดขึ้นในแต่ละกลุ่ม
  • การเป็นผู้นำที่ดีต้องอยู่ที่จังหวะ ถ้าจะจัดการบริหารศัตรูเราต้องรู้จักเขาให้ดี
  • ต้องสื่อสารเป้าหมายให้คนอื่นทราบได้ว่าคืออะไร
  • แบรนด์ของกองทุนสวนยาง ผู้นำในห้องนี้ต้องสร้าง Brand ขึ้นมา ต้อง Relevance สร้างแบรนด์ที่มีอิทธิพลต่อประเทศไทย
  • ผู้นำต้องสร้างแรงบันดาลใจ สนุกกับการคิดข้ามศาสตร์ และถึงจะเก่งอย่างไร ต้องรับฟังคนอื่น
  • ผู้นำนอกจากรุกแล้วต้อง Caring ด้วย  ต้องมีทั้งบู้ และหมุน ต้องมีทั้งใฝ่รู้และคิดเป็นด้วย 
  • ผู้นำเมื่อทำอะไรแล้วแต่ต้องวัดผลให้ได้ด้วย ต้องแบ่งปันความรู้ ไม่ใช่ใครเก่งกว่าใคร และสำคัญคือการตัดสินใจที่เด็ดขาด และรวดเร็ว  อย่างไรก็ตามการตัดสินใจเร็วได้นั้นต้องมีข้อมูลพร้อมด้วย
  • การเป็นผู้นำที่ดีต้องค้นหาช่องให้ได้ อย่าทำอะไรที่ติดขัดด้านใน ถ้าพื้นที่แน่น ก็ลาออก
  • โดยปกติแต่ละองค์กรมักมีอะไรที่ขัดแย้งกัน เราต้องลงทุนใน HR อย่างมโหฬาร หาทางเอาคนเก่งมาช่วย สร้าง Benchmark ใหม่ในการเรียนหนังสือ
  • ผู้นำที่ดีต้องสามารถกระจายอำนาจ กระจายความรู้ ที่สำคัญอย่ามอบอำนาจเร็วเกินไป เพราะบางคนบ้าอำนาจไม่บ้าความรับผิดชอบ ไม่หาความรู้ด้วย 
  • Role Model  ผู้นำที่ดีคือผู้สอนที่ดีด้วย
  • การเป็นผู้นำที่ดี ต้องเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการที่ดี ได้ประโยชน์จากการแปรรูปด้วย
  • จะสร้างผู้นำได้อย่างไร ...ตัวอย่างขององค์กรหนึ่งในการสร้างผู้นำที่ดีคือ
  1. Example คือหาและเป็นแบบอย่างที่ดี
  2. Experience สร้างประสบการณ์ให้ลูกน้องเรา หรือในฐานะลูกน้องให้เจ้านายมอบหมายงานให้ยากและท้าทาย
  3. Education จัด Workshop มีวิธีการเรียนที่สนุก ก็จะชนะ
  4. Environment คือสร้างบรรยากาศให้องค์กรสร้างผู้นำขึ้นมา มีการทำ Career Path
  5. Evaluation มีการประเมินผล มีการทำ KPI

การสร้างผู้นำแบบ Ram Charan

  • เป็นผู้นำตั้งแต่อายุยังน้อย
  • ศึกษาว่าแต่ละคนเก่งเรื่องอะไร
  • พัฒนาเขาเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง
  • ดูแลไม่ให้เขาตกราง

การวิเคราะห์ของอาจารย์ที่ Washington ผู้นำมี 4 วิธี

  1. ผู้นำที่เกิดจากตัวตน หรือคุณลักษณะของตัวเอง
  2. ผู้นำมีทักษะที่เหมาะสม
  • ตัดสินใจ
  • เจรจาต่อรอง
  • ทำงานเป็นทีม
  • บริหารความรับผิดชอบ
  1. ทำงานเป็นกระบวนการ มี Vision พาองค์กรไปสู่เป้าหมายนั้น ๆ
  2. คุณค่าของการเป็นผู้นำคือศรัทธาที่จะได้รับ

ถ้าเรามีทั้งหมดนี้ ก็สามารถไปหาความสำเร็จขององค์กรได้

สรุป คือการสร้างผู้นำในองค์กรของ สกย. คือการเอาความจริงไปปะทะกัน 

  • Where are we? สถานการณ์ผู้นำเราเป็นอย่างไร
  • เราจะสร้างผู้นำอย่างไร?
  • เราจะมียุทธวิธีอย่างไร?
  • เราจะประสบความสำเร็จจริงหรือไม่?

เราต้องเป็นผู้ผลิตผู้นำ อยู่ที่วัฒนธรรมองค์กร เจ้านาย

 

ขอ Volunteer 1 คน สรุปที่อาจารย์จีระพูดตอนบ่าย สั้น ๆ คืออะไร ?

  • ความแตกต่างระหว่างคนที่เป็นผู้จัดการและผู้นำ ... ผู้จัดการทำหน้าที่ที่เป็นงานประจำ ตามกฎหมาย แต่ผู้นำทำนอกเหนือจากกฎหมาย มีคุณธรรม กล้าตัดสินใจ
  • ดร.จีระ บอกว่า ผู้นำต้องมีเป้าหมาย มีวิสัยทัศน์ และนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายให้ได้  คนภายนอกจะมององค์กรของคุณเป็นอย่างไร ? การเป็นผู้นำต้องค้นหาว่าอะไรเป็นอุปสรรคกับเรา ใน Session นี้จึงอยากให้ Debate เยอะ ๆ

 

Workshop 2

กลุ่มที่ 1-2   วิเคราะห์เรื่องผู้นำที่สกย.

กลุ่มที่ 3-4   วิเคราะห์ผู้นำเกษตรกรและสหกรณ์สวนยาง

กลุ่มที่ 5-6   วิเคราะห์ผู้นำชุมชน

 

ดังต่อไปนี้

  1. คุณลักษณะผู้นำในแต่ละกลุ่ม 5 ข้อ          และยกตัวอย่าง
  2. วิธีการสร้างผู้นำในแต่ละกลุ่ม ปัจจัยความสำเร็จและล้มเหลวคืออะไร?  ยกตัวอย่างแบบ Winning Project
  3. ถ้าสร้างผู้นำได้สำเร็จแล้ว…ได้ประโยชน์อย่างไร ?

 

กลุ่ม 2 วิเคราะห์เรื่องผู้นำที่สกย.

คุณลักษณะผู้นำ

  1. วิสัยทัศน์ที่กว้างไกล จะมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาบุคลากรของสำนักงานให้ตรงกับความต้องการของสำนักงาน
  2. ต้องมีบุคลิกดี การวางตัวต้องดี การพูดจานำเสนอดี เป็นที่ยอมรับทุกระดับ
  3. กล้ารับการเปลี่ยนแปลง
  4. ต้องใฝ่เรียนรู้ ไม่อยู่กับที่ การเรียนรู้ไม่สิ้นสุด
  5. ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเป็นนักประชาสัมพันธ์

วิธีการสร้างผู้นำในแต่ละกลุ่ม ปัจจัยความสำเร็จและล้มเหลวคืออะไร

  • จัดอบรมให้มีความรู้แก่พนักงานทุกระดับ ต้องมีงบประมาณ จัดปีละ 2 ครั้ง จัดหลักสูตรผู้นำที่ดี ธรรมาภิบาล และต่อเนื่อง
  • จัดเวทีสัมมนา ว่าสิ่งที่เสนอทั้งผู้นำและผู้ปฏิบัติว่าอย่างไร รับได้หรือไม่

ประโยชน์

การสร้างผู้นำให้สำเร็จ จะทำให้ สกย. เป็นเลิศในองค์กรระหว่างประเทศ

ดร.จีระ เสนอว่าควรมีการจัดทั้งผู้นำ และผู้ตาม ให้เขียน Winning Project มีงบประมาณประกอบด้วย   ควรพัฒนาให้ผู้นำมีภาษาต่างประเทศด้วย

กลุ่ม 3  วิเคราะห์ผู้นำเกษตรกรและสหกรณ์สวนยาง

แต่ละกลุ่มไม่เหมือนกันในแต่ละตำบล แต่ละหมู่บ้าน แต่อาจมีคล้ายกัน

เกษตรกรทำสวนยาง 5 ล้านคน มี 157 กลุ่ม ผู้นำหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด

คุณลักษณะผู้นำ

  1. ผู้นำต้องมีจิตอาสา มีความเสียสละ
  2. ได้รับการยอมรับของชุมชน
  3. มีคุณธรรม จริยธรรม
  4. มีวิสัยทัศน์ ความรู้ ความสามารถ
  5. ต้องใฝ่รู้

วิธีการสร้างผู้นำในแต่ละกลุ่ม ปัจจัยความสำเร็จและล้มเหลวคืออะไร

  1. หาเกษตรกรที่มีคุณสมบัติเป็นผู้นำ ครูยาง
  2. พัฒนาผู้นำหาจิตอาสาผู้นำ ให้ความรู้อบรม เอาผู้นำจิตอาสามาประยุกต์ใช้กับสำนักงาน
  3. การประสานความกลมกลืนกับเทคโนโลยี

ปัจจัยความสำเร็จ คือความต่อเนื่องของนโยบาย และการมีส่วนร่วมภาคประชาชน คือเกษตรกรชาวสวนยาง

ปัจจัยความล้มเหลว คือขึ้นอยู่กับครูยาง

ประโยชน์

  • ประโยชน์ ภาพพจน์ของสำนักงานดีขึ้น ถ้าครูยางมีคุณภาพทำดี การเกิดภาพลักษณ์จะดีขึ้นเพราะมีเครือข่าย ครูยางจะเป็นเสมือนผู้ช่วยสำนักงาน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี
  • ครูยางอาจมีการคัดเลือก ตามความสามารถ เช่น ความสามารถกรีดยาง ดูแลรักษายางเป็นต้น
  • ประหยัดงบประมาณ โดยการจ้างครูยางซึ่งมีผลตอบแทนไม่มาก แต่มีจิตอาสา

 

กลุ่ม 6 วิเคราะห์ผู้นำชุมชน

ปัจจัยความสำเร็จอยู่บนพื้นฐานของผู้นำ ผู้นำชุมชนหมายถึงตัวแทนของเกษตรกรในพื้นที่ต่าง ๆ อาจเป็นผู้นำท้องถิ่น ครู อาจารย์ ก็ได้ ซึ่งในชุมชนจะเกิดโดยธรรมชาติ เป็นผู้นำอาชีพ

คุณลักษณะผู้นำ

  1. จิตอาสา ชุมชนใดมีจิตอาสาความสำเร็จ เป็นไปได้มาก
  2. การมีความคิดก้าวหน้า
  3. มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม
  4. ความสามารถในการบริหารความขัดแย้ง

 

วิธีการสร้างผู้นำในแต่ละกลุ่ม ปัจจัยความสำเร็จและล้มเหลวคืออะไร

  • ใช้หลักของ Ram Charan ซึ่งเป็นหลักที่ใช้อยู่ เรามีพนักงานอยู่ในพื้นที่ของทั่วประเทศ จะพบว่าใครมีจุดเด่นอย่างไร เป็นการมองผู้นำแบบมีเป้าหมาย เน้นการสร้างผู้นำตั้งแต่เด็ก ๆ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและไม่ให้ตกราง
  • ศึกษาจากความสามารถในท้องถิ่น เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายไปแล้วก็นำมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในการกำหนดหลักสูตร
  • การป้องกันไม่ให้ตกราง จะทำแบบลักษณะ Coaching ให้ความรู้ และช่วยแก้ไขปัญหา

Coach คือการมีปัญหา และแก้เป็นจุด ๆ

Mentoring เป็นการโอบอ้อมอารี คอยดูแล

 

ปัจจัยความสำเร็จ  ทัศนคติเชิงบวก  การทำงานเป็นทีม และมุ่งสู่ความสำเร็จของงาน การมองการไกล  ความศรัทธาของชาวบ้านและผู้นำชุมชน  เป็นเรื่องของความรู้สึกและจิตใจมากกว่า ผู้บริหารต้องให้ความสนใจในนโยบาย

ปัจจัยล้มเหลว  ความสนใจในนโยบาย ความต่อเนื่อง

ดร.จีระ  เสนอว่าผู้นำเกษตรฯ มีประโยชน์มากเพราะ  มีอิทธิพลต่อความยั่งยืน ต่อความปรองดอง

 

กลุ่ม 1 วิเคราะห์เรื่องผู้นำที่สกย.

คุณลักษณะผู้นำ

  1. คุณธรรมจริยธรรม
  2. วิสัยทัศน์ก้าวไกล
  3. มีมนุษยสัมพันธ์
  4. กล้าตัดสินใจ
  5. รับผิดชอบ
  6. ใฝ่รู้ตลอดเวลา

 

วิธีการสร้างผู้นำในแต่ละกลุ่ม ปัจจัยความสำเร็จและล้มเหลวคืออะไร

  • เปิดโอกาสให้คนเก่งและคนดีเข้ามาเป็นผู้นำ มีแบบประเมินผลที่น่าเชื่อถือ และกำหนดคุณสมบัติให้ชัดเจน
  • มีโรงเรียนบ่มเพาะผู้นำ จัดในนาม สกย.

ปัจจัยความสำเร็จ ตั้งเป็นโครงการ อยู่ที่ความจริงใจของผู้บริหาร มีคนรับผิดชอบ มีงบประมาณ

ดร.จีระ เสนอว่า น่าจะเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของพวกเรา

ประโยชน์

ถ้าได้ผู้นำที่ผ่านโรงเรียนบ่มเพาะแล้วจะได้ผู้นำที่ผ่านอุตสาหรรมยางเพิ่มมูลค่าของประเทศ และรายได้เข้าประเทศมากขึ้น  

กลุ่ม 4 วิเคราะห์ผู้นำเกษตรกรและสหกรณ์สวนยาง

มี 2 ลักษณะ 1. ตรวจสวนสงเคราะห์ (ครูยาง)  2.การได้ผลผลิตแล้วหรือรวมผลผลิต

คุณลักษณะผู้นำ

  1. มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการกลุ่ม (ใฝ่รู้ในสาขาที่ขาด) – อ.จีระ เสริมว่า สิ่งนี้เรียกว่า Modern Management เป็นการเรียนรู้ในสิ่งที่ขาด สนับสนุนให้เกษตรกรมีความสนใจในวิชา และการจัดการสมัยใหม่  วิธีการเรียนยุคใหม่คือการใช้ Long Distance
  2. มีคุณธรรมจริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต
  3. มีจิตอาสา มีความเสียสละ
  4. มีความสามารถในการสื่อสาร และประสานงาน ทำงานเป็นทีมได้
  5. มีวิสัยทัศน์และความคิดสร้างสรรค์

สกย.จะเป็นพี่เลี้ยงอย่างใกล้ชิด

คุณครูชุบ อยู่ที่จะนะ  คุณลุงประยงค์ นครศรีธรรมราช คุณลุงงามปาน ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของเกษตรกร

วิธีการสร้างผู้นำในแต่ละกลุ่ม ปัจจัยความสำเร็จและล้มเหลวคืออะไร

การจัดทัศนศึกษาดูงานดูตัวอย่างกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ ดูวิธีการดำเนินงานต่าง ๆ เป็นต้นแบบ  นำมาใช้ในท้องที่ชุมชนต่อไป มีการจัดงบประมาณ

ประโยชน์

เมื่อมีผู้นำ เกษตรกรเข้มแข็งยั่งยืน สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งในระดับตำบล อำเภอ หมู่บ้าน ภาค จนถึงประเทศ การรวบรวมผลผลิตดีขึ้น รายได้มากขึ้น

ดร.จีระ เสนอว่า ควรให้มีการประสมระหว่างการทัศนศึกษาดูงานคือให้มีการทำ Workshop ค้นหาตัวเขาเอง

กลุ่มที่ 5  วิเคราะห์ผู้นำชุมชน

  • ผู้นำชุมชนเป็นลักษณะผู้นำทางด้านปกครอง  ถ้าทางสกย. สามารถโน้มน้าวได้ก็จะเกิดประโยชน์มาก
  • วิธีการสร้างผู้นำคือ การปฏิสัมพันธ์กับชุมชนก่อน ก่อนที่เราจะค้นคน
  • ผู้นำมี 2 ประเภท คือ พรสวรรค์ กับ พรแสวง ดังนั้น จึงเชื่อว่าตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญ ลักษณะที่พึงประสงค์ การเสียสละเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ถ้าไม่ได้ผู้นำที่เสียสละ การประสบความสำเร็จยากมาก

คุณลักษณะผู้นำ

  1. มีจิตอาสา
  2. มี Relationship มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
  3. มีคุณลักษณะของการถ่ายทอดที่ดีได้
  4. การเสริมสร้างทัศนคติเรื่องยางที่ดี

วิธีการสร้างผู้นำในแต่ละกลุ่ม ปัจจัยความสำเร็จและล้มเหลวคืออะไร

มี 2 ประเภท คือ ผู้นำเยาวชน และผู้นำเร่งด่วน

  1. ผู้นำเยาวชน มีศูนย์เรียนรู้ เป็นศูนย์บ่มเพาะ  ใช้ปัจจัยที่เรามีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  2. ผู้นำเร่งด่วน จะใช้กลยุทธ์ที่ต่างกันไป (ยังขอไม่พูดถึง)

ประโยชน์ ที่จะได้ ต้องมีตัวชี้วัด ในอดีตใช้การวัดในรูปของวัตถุ ในระยะหลังวิธีการที่เหมาะสมที่สุดคือการใช้ Outcome  ส่งผลดีย้อนกลับไปที่ชุมชน ผลประโยชน์เกิดในลักษณะคู่ขนาน

 

 

 

ผมอ่านเนื้าหาแล้วอยากเข้าร่วมอบรมมาก

ผู้นำไม่ใช่ผู้ใช้ แต่เป็นผู้รับใช้

นี่แหละผู้นำที่ดี

เป็นโชคดีของผู้ที่ได้เข้าร่วมโครงการค่ายผู้นำรุ่นใหม่

เพราะได้บุคคลที่มีชื่อเสียงระดับผู้นำประเทศ มาเป็น

วิทยากรให้ความรู้ 

สรุปบทเรียน

โครงการค่ายผู้นำรุ่นใหม่ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

วันจันทร์ ที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔

---------------------------------------------------------------

โครงการค่ายผู้นำรุ่นใหม่นับได้ว่า เป็นโครงการแห่งนวัตกรรมที่ ผอ.วิทย์ ประทักษ์ใจ ผลักดันให้เกิดขึ้นโดยมีเป้าประสงค์ที่จะให้ สกย. เป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง  (Hight Performance Organization)

การเปิดตัวโครงการในวันแรก โดยการเชิญ ฯพณฯ องคมนตรี ดร.อำพล เสนาณรงค์ มาปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “จริยธรรมของผู้นำ” แสดงให้เห็นว่าผู้รับผิดชอบโครงการมีความตระหนักเป็นอย่างดีว่า คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้นำ คือ ต้องมีคุณธรรมจริยธรรม หาไม่แล้วองค์กรก็จะมีเพียงผู้นำเชิงอำนาจ ใช้อำนาจเป็นธรรม และแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง อันทำให้องค์กรตกต่ำ แทนที่จะเป็นองค์กรแห่งสมรรถนะตามที่คาดหวัง

ฯพณฯ ดร. อำพล ได้ชี้ให้เห็นว่าผู้นำที่ดีต้องมีธรรมะ ๑๐ ประการ หรือ ทศพิธราชธรรม        อันได้แก่ ทาน ศีล บริจาค อาชวะ มัทวะ ตบะ อโกธะ อวิหิงหา ขันติ และอวิโรธนะ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้าฯ ของปวงชนชาวไทย ได้ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม อย่างมั่นคง ดังจะเห็นได้จากภาพพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ของพระองค์ ที่ทรงงานหนัก เสด็จเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร เพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชน โดยไม่ถือพระองค์ ภาพที่ทรงน้อมพระองค์ลงไปรับดอกบัวเหี่ยว ๆ จากหญิงชราคนหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าพระองค์มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นอย่างยิ่ง (มัทวะ)  และเมื่อมีวิกฤติของชาติพระองค์ก็ทรงแก้ปัญหาด้วยพระปรีชาญานด้วยความเป็นธรรม (อวิโรธนะ) เป็นต้น  

หลังจากปาฐกถาของท่านอำพล แล้ว ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้จุดประกายความคิดโดยชี้ให้เห็นว่าผู้นำที่แท้จริงควรเป็นอย่างไร เช่น ผู้นำต้องมีภาวะผู้นำ ต้องมองภาพใหญ่ มีความกล้าหาญ มองการณ์ไกล มีความรอบรู้ มีคุณธรรม และบริหารวิกฤติได้ เป็นต้น

ทฤษฎี ๕  E s ของอาจารย์  คือ  การสร้างตัวอย่างที่ดี ถ่ายทอดประสบการณ์  การให้การศึกษา การสร้างบรรยากาศที่ดี และการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง บวกกับ การทำเวิร์คช๊อพเกี่ยวกับผู้นำ สกย. ผู้นำสหกรณ์ และผู้นำชุมชน ทำให้พวกเราเห็นภาพและมั่นใจได้ว่าผู้นำสร้างได้จริง ๆ 

 

บทสรุปสำหรับวันนี้

 

๑.      การเป็น “ผู้นำ” ที่ “ไม่มีภาวะผู้นำ” ไม่ต่างอะไรกับยักษ์ที่ไร้กระบอง

การที่จะทำให้ สกย. เป็นองค์กรแห่งสมรรถนะ ด้านหนึ่งต้องสร้างผู้นำเครือข่าย (เกษตรกร ชุมชน สังคม) เพื่อร่วมทำงานกับเรา (เก่งคนเดียวไปไม่รอด)

จากการฟังการบรรยายเรื่องกเกี่ยวกับผู้นำ สามารถเเยกเเยะได้ว่า ผู้นำเเตกต่างจากผู้จัดการ/ผู้บริหาร การเป็นผู้นำต้องมองระยะยาวต่อยอดได้ เเต่ผู้จัดการมองแค่กำไรขาดทุน ระยะสั้นหรือผู้นำต้องเน้นนวัตกรรม การเปลี่ยนเเปลง ผู้บริหารมองการจัดการให้มีประสิทธิภาพก็เพียงพอ

ผู้นำนั้นนอกจากต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมแล้วต้องมี Leader Skill คือการตัดสินใน การเจรจาต่อรอง คณะทำงานเป็นทัมและการทำงานให้สำเร็จ(โดยอาศัยคนอื่น)

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้นำต้องมีคุณลักษณะที่พึงปราถนาคือใฝ่รู้เเละคิดบวก

สิ่งที่ยากสำหรับการเป็นผู้นำคือ การสร้างผู้นำ บางคนอาจจะมีพรสวรรค์ในการเป็นผู้นำ เเต่ส่วนใหญ่ผู้นำสามารถสร้างขึ้นมาได้จากการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

ช่วงเช้า โดย ฯพณฯ ดร.อำพล เสนาณรงค์

                ได้ฟังการบรรยายที่ได้รับทราบถึงหลัก ทศพิศราชธรรม และพระกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติ แก่ประชาชน และการที่ทรงยึดหลักครองราชย์โดยมีทศพิธราชธรรมซึ่งข้าพเจ้าฟังแล้วคิดว่า ประชาชนหรือข้าราชการหรือข้าราชการทั่วไปควรนำหลักปฏิบัตินี้เป็นแบบอย่าง ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติงานก็ดี การปฏิบัติต่อผู้อื่นก็ดี จะทำให้มีความรู้สึกที่ดีต่อกันมีชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองอันเป็นผลส่งให้ความเป็นอยู่ทุกๆอย่าง และประเทศชาติมีความสงบจะส่งผลให้ทำสิ่งใดก็มีผลสำเร็จ เจริญรุ่งเรือง ทุกคนจึงควรยึดหลักทศพิธราชธรรมในการดำเนินชีวิตและเพื่อเป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นหลังต่อไป

 

ช่วงบ่าย โดยศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                ได้ฟังหัวข้อการเป็นผู้นำยุคใหม่ของ สกย. นอกเหนือจากเนื้อหาสาระอันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาศักยภาพของผู้นำยุคใหม่ ตามเอกสารแจกแล้วอาจารย์ยังสอนในเชิงให้คิดเองในการทำงานร่วมกับคนอื่น การทำงานเป็นทีมและการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อนำมาผนวกรวมกับความคิดเห็นของตนเอง เพื่อจะทำให้เกิดประโยชน์และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

จากการรับฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่องจริยธรรมของผู้นำโดย ฯพณฯ ดร.อำพล เสนาณรงค์และปฐมนิเทศเเนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้เเละเรื่องภาวะผู้นำของท่านอาจารย์จีระ  รู้สึกมีความประทับใจเป็นอย่างมาก ท่านองคมนตรีได้นำพระราชกรณียกิจของพระบาทมสเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงใช้ทศพิษราชธรรมในการดำเนินงานมาเป็นตัวอย่างคุณธรรมที่สูงส่ง

การเรียนรู้ของ ดร.จีระ เป็นการเรียนรู้ระดับผู้บริหาร มีทั้งการวิเคราะห์ วิจารณ์ ลงมือปฎิบัติเป็นกลุ่ม นำเสนอในการประชุม มีความสงบ

รวมทั้งได้รับความรู้ใหม่ ศัพท์ใหม่ อย่างทุนมนุษย์ ถือว่าได้รับประสบการณ์จากการเเลกเปลี่ยนความิดเห็นในเรื่องภาวะผู้นำ เพราะว่าผู้ที่จะเป็นผู้นำได้จริงๆนั้นจะต้องมีภาวะผู้นำสูงมาก

ประยูร อินทกูล

สงขลาเขต 2

1.ผู้นำต้องมีกรอบในการดำเนินชีวิต หรือแนวทางในการปฏิบัติ (คัมภีร์ชีวิต) ชีวิตต้องมีการควบคุมที่เข้มงวดอย่าปล่อยให้เลยตามเลย เพราะทางที่มนุษย์ชอบที่สุดคือ ง่ายที่สุด สบายที่สุด จึงเป็นทางไปสู่กิเลศ ต้องข่มตนไว้ รู้ดี ชั่ว ควรไม่ควรอย่าปล่อยใจไปทางง่ายๆ

2 ผู้นำต้องอยู่ให้ทันโลก เหตุการณ์ต้องตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกวัน ให้ทันตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกวัน ให้ทันเพื่อพัฒนา

ต้องตื่นตลอด กระจายคิด ทำ คิดไปข้างหน้า ทบทวน ย้อนกลับ เพื่อปรับตัวให้ทันโลก

 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายหัวข้อ “HR for Non-HR และการสร้างทุนมนุษย์ที่สกย.”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 

12 ก.ค. 54

 

เกริ่นช่วงแรก

  • ในทีมบริหารจัดการ มีเรื่อง Know and Do ที่ต้องทำ :

-          คิดเรื่อง Project Proposal ไม่ต้องรอเจ้านายสั่ง

-          Project Approval

-          Project Presentation 

  • การทำอะไรก็แล้วแต่ควรให้ Incentive กับคน ที่เหลือคือความถูกต้อง ยุติธรรม Incentive คือแรงจูงใจ

ดร.จีระ สรุปสิ่งที่ได้จากการบรรยายให้ สกย.ในวันแรกฟัง ดังนี้

  1. ดร.จีระ ได้เรียนรู้จากสกย. ในเรื่องความมุ่งมั่นความตั้งใจสูงไม่แตกต่างจากองค์กรใหญ่ ๆ คือ กฟผ. และสำนักข่าวกรอง ได้เห็นคุณภาพของคนในห้องนี้
  2. ตอนทำ Workshop ตอบประเด็นเร็วมาก และตอบคำถามดีมากและให้ความสนใจด้านชุมชน เป็นการให้ความสำคัญในรากหญ้า  ควรให้มีการใส่เรื่องประชาธิปไตย ความปรองดอง ความสามัคคี ผ่านทางวิทยุชุมชนด้วยจะดีมาก บางครั้งอาจมีการพูดเรื่องยางและการเกษตร สู่การขยายพรมแดนด้านอื่น เช่นสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อม อนามัย
  • สกย. ต้องถามว่า Stake Holder คือใคร แล้วเขามีความพอใจหรือไม่ ?  ต้องเป็น Partner กับเขา และทำงานร่วมกัน  HR ยุคใหม่ ต้อง Behavior Change ห้ามแตกแถวเด็ดขาด เพราะแรงบันดาลใจของคุณคือ Knowledge ในห้องนี้อาจมีตัวแทนด้านการเกษตรสักคน  และมีตัวแทนบ้าง  คำนึงถึงเป้าหมายของเราคือประโยชน์ของประเทศ
  • ค้นหา GAP ว่าต้องทำอะไรเพิ่มขึ้น อาจนำไปปฏิบัติทันทีไม่ได้เพราะส่วนหนึ่งคือปรัชญา ขณะนี้ ทุนมนุษย์คือ 1 ใน 4 ทุนของโลกในปัจจุบัน  เช่น คน เงิน ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยี Ethical Capital , ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่บ้าคลั่งทุนทุกอย่างยกเว้นคน
  • จากหนังสือเรื่อง Meta Secret   เวลาทำงานที่ไหนจะเข้าไปมองที่ Process คือกระบวนการว่าติดตรงไหน  

HR for Non-HR และการสร้างทุนมนุษย์ที่สกย.

  • ถ้าจะพูดเรื่องคน สิ่งแรกที่ต้องพูดคือ Level  ทรัพยากรมนุษย์สำคัญเท่ากับทรัพยากรอื่น ๆ หรือไม่ ประเทศไทยถือว่าอยู่ในกับดักที่น่ากลัวเนื่องจากเรามีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีประมงที่ยิ่งใหญ่ มีลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปลูกเข้าได้ดีที่สุดในโลก
  • มีทฤษฎีทางเศรษฐศาตร์ Factor Proportion คือถ้าประเทศใดมีทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าคน ประเทศนั้นก็จะใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือย Exploit สิ่งแรกคือความไม่สนใจเรื่องคน เราต้องเปลี่ยนจากทำมาทำให้มีคุณภาพ และทำอย่างจริงจัง
  • เราต้องวัดว่าเมื่อฝึกอบรมไปแล้วได้ประโยชน์จริงหรือไม่  วิชา HR สอนยาก เนื่องจากความสนใจของคนมีน้อย แต่องค์กรไหนก็ตามที่ลงทุนเรื่องคนอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ผลตอบแทนก็จะสูงขึ้นและมีความยั่งยืนในอนาคต ให้ดูตัวอย่างจากประเทศที่ลงทุนทางด้านคน เช่นที่ สิงคโปร์
  • การบริหารจัดการทุนมนุษย์ให้ได้ผล ต้องมีปัจจัยบางอย่างที่ช่วย ทุนมนุษย์ไม่ได้ผลิตอย่างเดียว แต่เป็นการเก็บเกี่ยว ต้องกมีการถกเถียงกันในระดับหนึ่ง  ต้องถามว่า Session ทางด้าน HR ได้อะไร  
  • มีการวิเคราะห์แล้วในเมืองไทยองค์กร 3 ชนิด

ข้าราชการทั้งหมดมีศักยภาพ 100 %ใช้ 30 %

รัฐวิสาหกิจทั้งหมดมีศักยภาพ 100 % ใช้ 40 %

เอกชนมีศักยภาพ 100 % ใช้ 70 %

  • ปัญหาคือ เราไปสร้างอะไรที่จำกัดความสามารถของมนุษย์ เพราะฉะนั้นกฎระเบียบ และวัฒนธรรมองค์กรนั้นสำคัญ  ลองไปดูว่าวัฒนธรรมองค์กรของ สกย. คืออะไร บางเรื่องที่ดีควรเก็บไว้ บางเรื่องไม่ดีก็ควรเลิกซะ  คนต้องอยู่ด้วยกันในองค์กรอย่างมีความสุข
  • การจัดการเรื่องคนนั้นเรียนอย่างเดียวไม่ได้ต้องเอาชนะอุปสรรคด้วย ดูจากความสุขของพนักงานความพึงพอใจของลูกค้า ROI ต่อทรัพย์สิน ฯลฯ  และเวลาวัดความสำเร็จนั้นควรวัดความสำเร็จที่ระยะยาวไม่ใช่ระยะสั้น
  • ถ้าเราจะประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนทุนมนุษย์ ต้องมี 3 ปัจจัย คือ
  1. บทบาทของผู้นำ และบอร์ด
  2. บทบาทผู้ทำเรื่อง HR (Smart HR)
  3. ตัวคุณเอง Non-HR
  • การเรียนวิชาทรัพยากรมนุษย์ต้องรู้ว่า Vision และเป้าหมายขององค์กรคืออะไร  อย่างสกย. มีเป้าหมายแล้วก็ต้องให้ความสำคัญในการเอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์  ส่วน HR รู้เรื่อง HR ก็ต้องไปตอบเป้าหมายได้
  • อย่างแรกเราต้องกำหนด Vision, Mission (ภารกิจ) และแก่นนิยมของเรา แล้วค่อยกำหนด Strategy
  • ทำไมต้องมีหลาย Strategy คือ ต้องมียุทธศาสตร์หลายอัน คือ เงิน ลูกค้า คน ชุมชน งบประมาณ ล้อไปกับเราด้วย เขาถึงเรียกว่าทรัพยากรมนุษย์จะไม่เป็นอะไรที่ Isolate จากนโยบายอื่น  ดังนั้นคือ ต้องใช้ความสมดุลให้ได้
  • ทำไมเราสนใจเรื่อง HR ….ก็เพราะ HR ไปเกี่ยวข้องกับ Change เร็ว คาดการณ์ไม่ได้…
  • การบริหารความเสี่ยง ไม่ได้มองที่ Production อย่างเดียว เราต้องเรียนรู้เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง
  • การแข่งขันของประเทศในอนาคตขึ้นอยู่กับ คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ...คุณภาพมาก่อนปริมาณ  ... คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์คืออะไร ? ส่วนใหญ่คุณภาพของทรัพยากร(Quality of Human Resource) เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น (intangible) เราต้องประเมินผลในพฤติกรรมของเขาหลังจากจบการอบรมไปแล้ว .... มีวิธีการอย่างไรในการพัฒนาตนเองและงานให้ดีขึ้น
  • เราจะสร้างทุนมนุษย์ได้ก็ควรเริ่มตั้งแต่ครอบครัว การพัฒนาทุนมนุษย์ก่อนมาทำงานในองค์กร ล้มเหลวสิ้นเชิง  สกย.ต้องมีหน้าที่พัฒนาทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพดังต่อไปนี้  8K’s

ทุนมนุษย์ที่เราจบปริญญามาแล้วมีคุณภาพหรือไม่

  1. ทุนมนุษย์
  2. ทุนทางปัญญา
  3. ทุนทางจริยธรรม
  4. ทุนแห่งความสุข
  5. ทุนทางสังคม
  6. ทุนแห่งความยั่งยืน
  7. ทุนทาง IT
  8. ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ 

ทุนแห่งความสุข...มนุษย์ทำอะไรก็แล้วแต่ต้อง  :

  1. ต้องมีความสุขในการทำงาน
  2. ต้องมี Passion ในการทำงาน คือ ความรักในอาชีพของเรา และทำตามหัวใจปรารถนา
  3. ต้องมี Purpose ทุกงานที่ทำให้ สกย. เป็นเป้าหมายที่สูงส่ง
  4. ต้องมีความหมายต่อชีวิตของเรา Meaning  อย่างสกย. คือ เกษตรกรรายย่อยสวนยางเติบโตได้
  5. ต้องมีความสามารถมี Capability ในการทำงานที่ทำอยู่

ทุนแห่งความสุข ในที่นี้คือ  Mean

 

Social Capital

  • Social Capital เมื่อคุณมีแนวร่วมแล้วคุณต้องสร้างเครือข่าย ต้องรู้จักคน ต่างประเทศ หรือสื่อมวลชน เราจะเป็นคนกว้าง คนแคบ หรือคนแบบไซโร หรือเป็นคนช่วยคนอื่นได้
  • Networking ที่ดีต้องมีคนพาเราไป ทุนทาง Networking มีข้อดีอย่างคือ Information ที่ได้มา อย่างในสังคมไทย ถ้ารู้จักคนที่มีคุณภาพ คุณจะไปรอด

 

ทุนแห่งความยั่งยืน

ถ้าลงทุนทำ ณ วันนี้ ในอีก 5-6 ปีดีขึ้น อย่างนี้เรียกว่าทุนแห่งความยั่งยืน เป็นต้น ถ้าอยากยั่งยืนก็ไม่ต้องอวิชา

การบ้านลง Blog ก่อน 2 ทุ่ม :

  • ก่อนเที่ยงครึ่งได้อะไรที่ไม่เคยคิดมาก่อน 2 เรื่อง

การทำงานในสิงคโปร์ต้องมี 3 อย่างคือ

  • ทักษะ
  • ความรู้กว้าง ๆ
  • ทัศนคติ

ต้องยอมรับว่ารู้ไม่พอในศาสตร์ต่าง ๆ เน้นการหาความรู้นอกวงการ

 

ทฤษฎี 5K’s ใหม่

  • ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์
  • ทุนทางความรู้
  • ทุนทางนวัตกรรม
  • ทุนทางอารมณ์
  • ทุนทางวัฒนธรรม

 

  • เราน่าจะมีการทำวิจัยเกี่ยวกับยางในภาคต่าง  ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่ม  โลกในอนาคตไม่ได้ดูอย่างเดียว แต่เขาอยากมาดู Story อย่าง Story เรื่องยาง ทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งกีฬา แหล่งสัมมนา .
  • ทุนทางวัฒนธรรมอยู่ที่ตัวคน  ต้องรู้จักการเปลี่ยนจากยางเป็นมูลค่าเพิ่ม
  • กิจกรรมจะไม่รอดต้องมีนวัตกรรมเสมอ แต่อย่างไรต้องมี Management Innovation ตลอดเวลาในการ Deal กับชุมชน Innovation ประกอบด้วย ไอเดียใหม่ ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์
  • ความคิดสร้างสรรค์กับการใช้ความรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
  • การจะพัฒนาผู้นำจริง ๆเราควรทำอย่างไร ?
  • ถ้าเรามีปัจจัยเป็นลบในระดับสังคม การศึกษา แล้วเข้ามาในองค์กรเราจะสามารถเปลี่ยนคนเหล่านี้ได้อย่างไร  อย่างในเวียดนาม ครูมัธยมก็เก่ง

 

เมื่อเราปลูกทุนมนุษย์แล้วทำยังไงถึงเก็บเกี่ยวให้ได้ ได้สูงสุด

  • ข้างบนคือ วิสัยทัศน์
  • ข้างล่างคือตัวละคร CEO,HR,Non-HR (คนที่ไม่ได้เรียนวิชานี้แต่ควรเข้าใจพฤติกรรมของคนและองค์กรให้ได้)
  • การดูแลทรัพยากรมนุษย์ ตัวคุณต้องดูแลด้วย

 

องค์ประกอบ 3 อย่างเพื่อการพัฒนาองค์กรเป็นเลิศ ทฤษฎี 3 วงกลม

การประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการคน วงกลมทั้ง 3 ส่วนต้องซ้อนทับกัน

  • Context องค์กรเป็นบ้านที่น่าอยู่หรือไม่
  • Competencies เรามีสมรรถนะที่พร้อมกับการทำงานใน สกย.หรือไม่ ต้องมีความใฝ่รู้ มี Leadership มีภาพใหญ่
  • Motivation อยากทำงานเพื่อองค์กรนี้ ทุ่มเท จริงใจ พอใจ กับการทำงานในองค์กรนี้แล้วหรือยัง? (Motivation,Incentive,Happiness-แตกต่างตามช่วงอายุ)

สมรรถนะอันหนึ่งที่ สกย.ควรจะมีคือการคิดเชิงประกอบการ ต้องเอาชนะอุปสรรค มีความคิดริเริ่ม บริหารความเสี่ยง และ พร้อมที่จะล้มเหลว

ความสำเร็จของคนไม่ได้อยู่ที่ Function ของ HR เท่านั้น

  • ต้องทำร่วมกับ CEO  กลุ่มเพื่อนร่วมงาน และคนอื่น ๆ ในองค์กรด้วย
  • HR ยุคใหม่ต้องสร้างผู้นำ สร้างแนวร่วม ทำงานกับชุมชน และบริหารการเปลี่ยนแปลงด้วย  ดังนั้น HR ในที่นี้ไม่ต้องมองที่ Function แต่ให้มองที่ตัวเราเอง
  • HR ยุคใหม่ต้องเป็น Communicator ที่ดี เป็นคนสร้าง Brand ที่ดี

 

แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

  • ให้แต่ละโต๊ะมีคำถามที่หลุดโลก และวิจารณ์ตั้งแต่เช้า 1 เรื่อง

กลุ่ม 6

  1. คำถาม - สกย.จะพัฒนาองค์กรได้เทียบเท่ากับปูนซีเมนต์ไทยได้อย่างไร ?

ดร.จีระ บอกว่า

  • ปูนซีเมนต์ให้ทุกคนเรียน 7 วันไม่นับวันลาทุกคน
  • มีงบ Training ต่อหัว
  • ซื้อหนังสือแจก The World is Flat
  1. วิจารณ์ - เราจะนำแนวคิดของท่านพารณมาพัฒนาระบบ HR ได้อย่างไร คุณค่าของคนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในองค์กร คนเป็นสินทรัพย์ที่ไม่เสื่อมค่า และไม่มีค่าเสื่อมเหมือนเครื่องจักร หรือเครื่องมือ  และคนสามารถอบรมให้ความรู้ เกิดขึ้นได้ การพัฒนาองค์กรต้องพัฒนาคนให้มีสินทรัพย์ ให้มีคุณภาพ

ดร.จีระ เสนอว่า ทรัพยากรมนุษย์ต้องให้คนเป็น Asset

กลุ่ม 4

1.    วิจารณ์ - ระดับนโยบายที่เข้ามาในช่วงของแต่ละท่านมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง  ไม่ต่อเนื่อง เป็นปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาบุคลากรที่มีในสกย.

2.    คำถาม - ทิศทางเหล่านี้ CEO มีวิธีคิดสู่การนำพาองค์กรไปอีก 20 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร และเป็นไปได้ไหม?

 กลุ่ม   5

  1. คำถาม-ทำอย่างถึงให้คนจงรักภักดีต่อองค์กรให้ได้

เห็นด้วยว่าเราน่าจะมาสำรวจ Turn Over ที่นี่ด้วย

2.  วิจารณ์-การที่ท่านพารณเป็น CEO แล้วลดตัวมากินข้าวกับลูกน้อง เป็นตัวอย่างที่ดีมากในการลดอัตตา สามารถผูกใจคนได้

 

กลุ่ม 1

  1. คำถาม-เมื่อไรสำนักงานจะเห็นคุณค่าของพวกเรา แล้วพาไปดูงานตปท.บ้าง
  2. การกระจายอำนาจยังไม่ดี เนื่องจากติดในสายงานผู้บังคับบัญชา

ดร.จีระ  บอกว่า...ถ้ามีการกระจายอำนาจต้องมีการฝึกอย่างมาก อย่าเวอร์  และการกระจายอำนาจอย่ากระจายทุกเรื่อง ต้องฝึกความสามารถในการบีบบังคับในการหยุดยั้งในสิ่งที่ไม่ควร ผู้นำที่ดีต้องเดินหน้าได้ด้วย และถอยหลังด้วย Restrain สำคัญ ผู้นำต้องทั้งรุกและควบคุมไม่ให้ลุกลามในสิ่งที่อันตราย เศรษฐศาสตร์สอนว่า เรา Maximize ทุกอย่างได้ แต่เราต้องมีขีดจำกัด ผู้นำทุกคนจำเป็นต้องมี

 

กลุ่ม 3

  1. อยากให้ สกย. มี CEO เหมือนอย่าง Steve Job ที่บริหาร i-phone  สามารถทำนวัตกรรมที่หลุดโลก

ดร.จีระ บอกว่าอยาก ให้เปรียบเทียบกับองค์กรอันดับ 1  ของโลกว่าเป็นอย่างไร ? สังเกตการทำงานของเมืองนอกเป็นลักษณะข้ามศาสตร์  ฝากให้คิดว่าเรา Study ในการได้ความเห็นนี้มา

  1. วิจารณ์ สำนักงานมีจุดอ่อนเรื่องคุณธรรม และจริยธรรม มีระบบเส้นสาย อยู่

 กลุ่ม 4  ตอบอีกครั้ง

ทุกองค์กรถ้าหยุดความทุจริตจะดีมากจะได้ไหม?

 

กลุ่ม 2

  1. ทำอย่างไรจึงกำหนดให้ HR เป็นวาระแห่งชาติ

ดร.จีระ บอกว่า ...แผนพัฒนาที่ 11 มีเรื่องเศรษฐกิจฐานความรู้ ,Life Long Learning , Creative Economy , Happiness, คิดเป็นวิเคราะห์ เป็นอยู่ในแผนเรียบร้อยแล้ว อย่าง สกย. น่าจะตั้งสถาบันพัฒนาทุนมนุษย์ของการยางด้วย  ยางพารามีคน 40 คนดูแล สกย.เป็น Driver แต่ทิศทางอย่ามั่ว  เราต้องทำตัวให้เป็นพื้นฐานเป็นที่ยอมรับของสังคม เราต้องมีอำนาจทางความรู้ Knowledge is power แต่ไม่มีเวทีเล่น มีแต่ Supply แต่ไม่มีคนฟัง  ,HR ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องทำให้คนฉลาดเท่านั้น แต่เกี่ยวกับไปที่ไหนด้วย คือ ต้องมี Vision ,ให้มีนิสัยใฝ่รู้   ดร.จีระ มีแหล่งความรู้ที่หาได้เจอเร็ว  การเรียนยุคใหม่สามารถเรียนได้จากอากาศ

 

 

 

อุษณีย์ อุยสวัสดิ์

11 ก.ค. 54    

จากการรับการฝึกอบรม โครงการพัฒนานักบริหาร หลักสูตร “ค่ายผู้นำรุ่นใหม่ สกย. เรื่อง ภาวะผู้นำและการปฏิบัติตัวของผู้นำ ได้รับประโยชน์ดังนี้

            1. นำหลักทศพิศราชธรรมของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นแนวทางในการปฏิบัติตน

            2. ลักษณะของผู้นำชุมชม

            3. การสร้างผู้นำชุมชน

12 ก.ค. 54

            ข้อความที่ประหลาดใจ คือ ทุนแห่งความสุข

 

 

 

จันทร์ทิพย์ อภิจิตรานนท์

ประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรม วันที่  11 ก.ค. 54

1  จริยธรรม 10  ประการ ที่ผู้นำควรมีและพึงปฏิบัติ

2  สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างพลังให้กับตนเอง

3 การทำงานเป็นทีม

4 ได้รับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย

5 คุณลักษณะของผู้นำ

 

ความรู้ที่ได้ในวันที่ 11 ก.ค. 54

-          การทำงานเป็นทีม ร่วมมือในการทำงาน

-         การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

-         การมีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต

-         การมีความใฝ่รู้ ต่างๆ รอบตัว ทั้งภายนอกองค์กร สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

-         ความกระตือรือร้นในการที่จะนำความรู้ไปปรับใช้ได้ความคิดใหม่ๆที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง มีการคิดนอกกรอบ

สนทยา กลิ่นสมิทธิ์

ความรู้ที่ได้ในวันที่ 11 ก.ค. 54

-          การทำงานเป็นทีม ร่วมมือในการทำงาน

-         การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

-         การมีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต

-         การมีความใฝ่รู้ ต่างๆ รอบตัว ทั้งภายนอกองค์กร สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

-         ความกระตือรือร้นในการที่จะนำความรู้ไปปรับใช้ได้ความคิดใหม่ๆที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง มีการคิดนอกกรอบ

 

วันจันทร์ที่ 11 ก.ค. หัวข้อหลักสูตรที่อบรมมีดังนี้

1 จริยธรรมของผู้นำ

2 ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้

3 ผู้นำยุคใหม่ของ สกย.

 

สิ่งที่ได้จากการรับการอบรมในวันที่ 11 ก.ค. 54

1 ความรู้เรื่องจริยธรรมเกี่ยวกับทศพิษราชธรรมของผู้บริหารที่ควรมีได้ทราบความหมาย ภาพประทับใจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้นและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงาน

2 ทราบแนวทางและวิธีการเรียนรู้ในหลักสูตรนี้ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองเพื่อเตรียมตัวและพัฒนาตนเอง รวมทั้งเป็นการสร้างแรงบันดาลใขทั้งนี้เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการเข้าอบรมหลักสูตรนี้ได้มากที่สุด

3 ทราบถึงแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำและสามารถนำไปปรับใช้กับสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมปัจจุบันในองค์กรในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดแนวคิดใหม่ๆ และดึงเอาความรู้ของแต่ละคนออกมาแบ่งปันให้ผู้อื่น ทำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

 

กนกพรรณ  โลพินิจ

สรุปการเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 54

1.ผู้นำจะต้องมีจริยธรรมของผู้บริหาร เช่น รู้จักการให้ อดทนต่อทุกเรื่อง  ซื่อสัตย์สุจริต  และมีความเสียสละ

2. ภาวะผู้นำและพึงประสงค์จะต้องเข้ากันได้ดี

3. ต้องมีการทำงานเป็นทีม สามารถตัดสินใจได้ พร้อมทั้งต้องมีการเจรจาต่อรอง

4.ผู้นำต้องมีทักษะ ขบวนการ วิชั่น และคนศรัทธา

5. ชอบการเรียนรู้ในสิ่งที่จะเน้นไปที่จุดประสงค์ที่ต้องการขององค์กร

จากการได้เข้าร่วมโครงการพัฒนานักบริหารหลักสูตร “ค่ายผู้นำรุ่นใหม่ของ สกย. ในวันแรก (11 กรกฎาคม 2544) ขอแสดงความคิดเห็นว่าได้อะไรบ้าง ดังนี้

                         ฯพณฯ ดร.อำพล  เสนาณรงค์ องคมนตรี กล่าวเปิดโครงการและปาฐกถาพิเศษ เรื่องจริยธรรมของผู้นำ จึงทำให้ทราบถึงหลักทศพิธราชธรรมซึ่งเป็นหลักการที่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงนำมาใช้  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับการปฏิบัติงานหรือแนวทางการดำเนินชีวิตได้ แต่ก็ยังมีกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ อีกที่เป็นส่วนประกอบเพื่อควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ที่แตกต่างกันเพื่อการอยู่ร่วมกันได้  สุดท้ายอาจเป็นการใช้กฎแห่งกรรมของแต่ละบุคคลที่ได้กระทำไว้ ซึ่งจะช้าหรือเร็วก็แล้วแต่กรรมดีหรือชั่ว

                         ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และประธาน Chira  Academy ท่านมาสร้างกำลังใจ  สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความมุ่งมั่น ให้กับพวกเราชาว สกย. ได้อย่างยอดเยี่ยม ช่วยแนะนำ กระตุ้น เพื่อให้เกิดภาวะผู้นำตามหลักการของอาจารย์จีระ / ทฤษฎี 5E’s / การสร้างผู้นำแบบ Ram Charan/ ทฤษฎีการเรียนรู้ในยุคที่โลกเปลี่ยน จากประสบการณ์ของดร.จีระ ให้ทราบว่าวิธีการเรียนรู้สำคัญที่สุด ค้นหาตัวเองว่าจุดอ่อน จุดแข็งคืออะไร ใช้จุดแข็งปรับปรุงจุดอ่อน เข้าใจสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน  หาโอกาสหรือหลีกการคุกคาม อย่าฟังและ Copy ต้องคิดเยอะ ๆ เอาความคิดเหล่านั้นไปปะทะกับความจริง (บริบทของสกย.)

สรุป – ผู้นำต้องใฝ่รู้ มีบู๊ มีบุ๋น

-           ทำอะไรสำคัญสุด อยู่ตรงการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดี ต้องมีข้อมูลพร้อม อย่าด่วน ใจร้อน เมื่อข้อมูลไม่ครบ

-           ทำอะไรต้องวัดผลให้ได้

 

นายประเสริฐ  ปักเข็ม

11 ก.ค. 54

สุกฤกษ์ กุลวนาโรจน์

1  การเข้ารับการอบรมโครงการค่ายผู้นำรุ่นใหม่ สิ่งที่ได้รับสิ่งใหม่คือการเน้นการใช้ทรัพยากรมนุษย์ด้านคุณลักษณะของผู้นำพฤติกรรมการสร้างทุนมนุษย์

2 การออกแบบโครงสร้างทฤษฎีและความหมายความสำคัญที่องค์กรต้องมีเพื่อบรรลุต่อองค์กร เช่น

-         ทฤษฎีทุน 8 ประการ 8K’s พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

-         ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ 5K’s เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

3 และการเปรียบเทียบทฤษฎี 8H ของคุณหญิงทิพาวดี กับ 8 k’s ของดร.จีระ

 

1 บุคลากรขององค์กรเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญและจำเป็นกว่าสิ่งอื่นๆ

2  ความรู้ความสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้โดยไม่หมดอายุเหมือนกับเกษียณอายุ

3 ทำอย่างไรให้ประเทศไทยหยุดคอร์รัปชั่นเสียที

 

12 ก.ค. 54

1  การสร้างเครือข่ายองค์ความรู้สู่บุคคลภายนอกวงการยางเพื่อสร้างทีมงานให้กว้างขวางพึ่งพาอาศัยด้านต่างๆ

2 อย่ามุ่งเน้นทำงานด้านยางพาราด้านเดียว ต้องส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ

ข้อเสนอแนะ อ.จีระ หงส์ลดารมภ์

            บุคลากรของ สกย. ส่วนหนึ่งเป็นบุตรหลานของเกษตรกร ปัญหาความเดือดร้อนความต้องการเกษตรกรอยู่ในจิตสำนึก ความรับผิดชอบของพนักงาน การปฏิบัติงานไม่คาดหวังผลตอบแทนสูงสุดหรือตำแหน่ง

 

วิพัฒน์ สุวรรณรัตน์

คุณคิดว่าคุณได้อะไรโดยที่ไม่เคยคิดมาก่อน

1 ทุนทางอารมณ์

2 ระบบ IT และการสื่อสาร

 

เพ็ญทิพย์ ศุภธีรเวทย์

1 ทฤษฎีทุน 8K’s , 5K’s การเพิ่มมูลค่า Value Added

2 การสัมภาษณ์ของ อ.พารณ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว สามารถนำมาใช้ในปัจจุบัน (มองการณ์ไกล)

 

1  ไม่เคยรู้ว่าอาจารย์สอนหนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกรด 2.8  จะสอนเด็กมหาวิทยาลัยได้รู้สึกว่าการศึกษาล้มเหลวมาก

2  จากาการเรียนวันนี้ทำให้ทราบว่าพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องมีทฤษฎีทุน 8 ประการ ทำให้เข้าใจถึงบทบาทของผู้นำมากขึ้น

                                                           

นางสุภา สกุลเอี่ยม

 

คุณคิดว่าได้อะไรบ้าง โดยที่ไม่เคยคิดมาก่อน 2 ข้อ

1 คนคือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ไม่ใช่เงิน สิ่งของ หรือเครื่องจักร

2  ผู้เข้ารับการอบรมไม่ความรู้ด้าน IT หรือใช้อินเตอร์เน็ทไม่เป็น ความรู้เรื่องภาษาอังกฤษอ่อนมาก จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีความรู้เทคโนโลยี ที่ทันสมัย และติดตามข่าวสาร พร้อมทั้งต้องหาความรู้ด้านภาษาต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพราะ ณ ปัจจุบันนี้มีความจำเป็นและสำคัญที่ผู้นำต้องมีความรู้ด้าน IT และภาษาต่างประเทศ

การอภิปรายหัวข้อ สถานการณ์ยางพาราในประเทศไทยถึงตลาดโลก

คุณชัยวัฒน์ ฉันติกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)

  • สกย. เป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบการผลิตของยาง ตั้งแต่ต้นนำกรผลิตจนถึงการแปรรูป
  • ตัวชี้วัดผลงาน สกย. สกย.สามารถสร้างผลผลิตต่อไร่ที่เพิ่มขึ้นเป็น 280 บาทต่อไร่ต่อปี
  • ยางพาราเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 4 ของไทย มีมูลค่า 165,000 ล้านบาท
  • ผลิตภัณฑ์ยาง เช่นล้อ ถุงมือยาง ฯลฯ เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 8 ของไทย มีมูลค่า 98,162 ล้านบาท
  • สกย. มีส่วนอย่างมากในการคุมเกษตรกรชาวสวนยาง โอกาสที่กระจายให้กลุ่มเกษตรกรรายย่อยเป็นเรื่องที่ดี95% ของเกษตรกรถือครองสวนยางพารา 50 ไร่ลงมา
  • ปีนี้มีแผนกลยุทธ์หลักปลูกทดแทนยางดี
  • มีการพัฒนาสถาบันเกษตรกร ขยายตลาดยาง และเชื่อมโยงเครือข่ายสนับสนุนข้อมูลข่าวสารได้ทันท่วงที
  • รู้จุดอ่อนประเทศใช้ยางดิบในประเทศน้อยมาก ต้องใช้นโยบายรัฐนิยม
  • มีความเป็นไปได้ในการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางยางพาราโลก
  • ในสกย.ยังรักษาศูนย์การเรียนรู้ โรงงานต้นแบบ

 

คุณสุธี อินทรสกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยางด้านเศรษฐกิจการต่างประเทศ

  • กรมวิชาการเกษตรใช้ข้อมูล Demand และ supply ผ่าน Committee on Statistics แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตกับผู้ใช้
  • ต้องสร้างความร่วมมือยางระหว่างประเทศ ไทย อินโดนีเซียและมาเลเซีย
  • ปี 2565 demand ยางโลก 13.8 ล้านตัน ไทยผลิตได้ 9 ล้านตัน ต้องนำ demand เป็นตัวตั้ง ผนวกนโยบายรัฐในการผลิต
  • มีมาตรการ supply rationalize scheme ควบคุมไม่ให้ล้นตลาด
  • มีมาตรการชะลอการส่งออก
  • ไทยผลิตยางเป็นอันดับ 1
  • ต้องฝากผู้นำยุคใหม่ ให้เชื่อมทางเหนือกับประเทศจีน ที่แม่สอดจะมีเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีมาตรการภาษี ห้องทดสอบคุณภาพ ท่าเรือทำงานตลอด จีนสนับสนุนเต็มที่
  • อุดรธานีเป็นจุดเชื่อมในการขนส่ง
  • จีนกำลังปรับขึ้นมาเป็นผู้ใช้ยางรถยนต์
  • ควรเสนอการศึกษาความเป็นไปได้เรื่องยางต่อรัฐมนตรี

 

คุณทำนอง ดาศรี กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

  • เรื่องข้อมูล ก็ร่วมมือหลายประเทศ
  • เรื่อง Zoning เราควรเป็น trading nation ด้วย

 

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

  • ต้องรู้ทางเทคนิคในการวิเคราะห์ตลาดล่วงหน้า  (AFET)
  • ราคาล่วงหน้ากับราคา Physical บางทีมีความห่างกันอาจทำให้เกิดการขาดทุนได้ เช่นขายโดยไม่รู้ว่าราคาจะขึ้น
  • ต้องเผื่อขาดทุน 20% อย่าทุ่มไปหมด
  • ถ้าทิศทางเส้นกราฟยังไม่ตก แสดงว่าทิศทางยางไทยยังไม่ตก
  • ถ้าเขย่งแบบสั้น ก็เปลี่ยนแปลงแบบสั้น ต้องรออีกหน่อยแล้วค่อยซื้อ
  • ปีนี้ราคายางผ่านสูงสุดมาแล้ว
  • ตลาดยางพาราไทยได้รับอิทธิพลจากจีน(ตลาดเซี่ยงไฮ้) และโอคอม มีการอธิบายเพิ่มเติม
  • การตีความ Fundamental มีผลต่อ perception ไม่ใช่พฤติกรรม
  • ยางพารามาจาก Demand และ supply เกี่ยวข้องกับดินฟ้าอากาศ ทำให้ราคาล่วงหน้ากับราคา Physical ห่างกันมาก
  • บางคนวิเคราะห์ Fundamental แล้ว overbought
  • ยางพาราต้องดูจากอิทธิพลจีน ทำให้ราคาขึ้นและลงมาก เช่นเงินเฟ้อในจีน บางทีราคายังไม่ขึ้นเพราะปัจจัยเศรษฐกิจโลกได้จากยุโรปยังไม่ฟื้น
  • ถ้าดอลล่าร์อ่อน เทียบกับโอคอม ราคายางก็ลดลง
  • การบริโภคยางพาราของจีนมีอิทธิพลด้าน Demand
  • มีปัจจัยที่มาเกี่ยวข้องกับยางพารามาก
  • เวลาน้ำมันมีปัญหา ราคายางก็ตก บางทีอุตสาหกรรมแย่ แต่พืชผลขาดตลาด นี่คือลักษณะ Commodity พืชผล ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามอุตสาหกรรมก็ได้

ช่วงถาม-ตอบ

คนที่ 1

  • ตลาด AFET จะโตไหมเพราะ volume น้อย

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

  • ถ้าอยากให้โต ต้องอย่าแทรกแซง
  • ตลาดล่วงหน้าแต่ละประเทศกำลังขยายตัว จะรวมถึง AFET ถ้าหากมีคนเรียนรู้เพิ่มขึ้น

คนที่ 2

  • ผมรู้จัก AFET มา 5 ปีแต่ยังไม่เคยได้สัมผัสลึก มันมีประโยชน์อย่างไรกับราคายางพาราบ้าง
  • สถานการณ์ยางปี 2554 จะเป็นอย่างไร
  • ทำไมเรื่องกล้ายางจึงเป็นแบบปัจจุบันนี้

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

  • AFET เกิดมาเพื่อช่วยเกษตรกร เขาได้ราคาที่พอใจ เช่น ราคาปัจจุบัน 150 คาดว่า ราคาเดือนพฤศจิกายน จะขึ้น เป็น 160 จึงขายไปก่อน แต่เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน ราคาจริง 120 ทำให้ได้กำไรเพราะขายได้ 150 ถือเป็นการประกันราคา AFET เป็นการซื้อกระดาษ ต้องมีหลักประกันเป็นเงิน เมื่อมี AFET รัฐบาลไม่ต้องประกันราคาพืชผล
  • สถานการณ์ยางปี 2554 80% ราคายากที่จะสูงเท่ากับปีที่แล้ว ปีหน้าเป็นต้นไปราคาจึงจะสูงขึ้น ตอนนี้ราคายางมีความผันผวน เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจในยุโรป

คุณสุธี อินทรสกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยางด้านเศรษฐกิจการต่างประเทศ

  • ตอนนี้กรมวิชาการเกษตร ดูเมล็ดพันธุ์ยาง เพียงพอกับความต้องการ เราเข้าไปควบคุมไม่ได้เพราะเป็น Demand และ Supply
  • อยากให้มี Regional Market Price แม้ตอนนี้มี AFET แต่ราคายังไม่สะท้อนความจริงเพราะ Volume น้อย
  • อยากให้มี Market maker รายใหญ่มาซื้อ
  • การคาดการณ์สถานการณ์วิจัยยางก็ผันผวน

คนที่ 3

  • สกย.จะดูแลเกษตรกรเรื่อง AFET อย่างไร

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

  • ต้องให้ความรู้เกษตรกร
  • ต้องมีหน่วยงานที่ช่วยให้ใช้ตลาด AFET ไม่กระทบกับการเก็งกำไร
  • AFET มีเพื่อป้องกันความเสี่ยง เงินกองทุนสวนยางช่วยเป็นหลักประกันกรณีราคาผันผวน

คุณชัยวัฒน์ ฉันติกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)

  • จากเว็บไซต์สกย. ราคายางพารา AFET ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป 133-144 บาทต่อกิโลกรัม
  • ทางสกย.ได้นำทีมงาน AFET มาอธิบายและนำธุรกิจเข้ามา รัฐต้องป้องกันไม่ให้เกิดการเก็งกำไร
  • ไทยมีบทบาทในเวทีโลกเรื่องยางพารา โดยเฉพาะบริษัทร่วมทุน 3 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซียและมาเลเซีย
  • ลิสด้ามีวัตถุประสงค์ครบวงจร ปุ๋ยทำกำไรให้ลิสด้ามาก เพราะมีลูกค้าอยู่แล้ว
  • ผมนำพ.ร.บ.ลิสด้ามาแปลและพิมพ์เผยแพร่
  • สกย.ต้องเตรียมการ แก้พ.ร.บ.กองทุน มีเงินเพิ่มในกองทุนแต่ต้องมีภารกิจเพิ่มขึ้น

คุณทำนอง ดาศรี กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

  • ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการเป็นศูนย์กลางยางพาราโลก

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

  • เห็นด้วย
  • ขณะนี้ยางไทยมีทุกแห่ง มีไปลงทุนปลูกในประเทศเพื่อนบ้านด้วย
  • ไม่ควรขายยางแค่เป็นพืชเกษตร
  • ต้องส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาให้สามารถขายยางแบบมีมูลค่าเพิ่มได้

คุณสุธี อินทรสกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยางด้านเศรษฐกิจการต่างประเทศ

  • สถาบันวิจัยยางจะเน้นศึกษายางให้ตรงตามความต้องการผู้ส่งออก เช่นทำถุงมือที่ไม่มีสารปนเปื้อนต่ออาหาร
  • ควรสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ

คุณทำนอง ดาศรี กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

  • ควรเพิ่มการวิจัยและพัฒนา และภาวะผู้นำ

 

เรื่องที่ได้ที่ไม่เคยคิดมาก่อน 2 เรื่อง

1 เรื่องไอที IT  ผมไม่มีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้และไม่อยากจะเรียนรู้ แต่เมื่อได้มารับรู้จากการบรรยาย การชี้นำของอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้ระลึกว่า IT เป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นอาวุธส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์กรให้ทันต่อโลกในยุกต์ที่กำลังพัฒนาในขณะนี้

2 เรื่องภาษา ผมคนหนึ่งที่ไม่ชอบภาษาอังกฤษ เลยไม่ค่อยสนใจภาษาคิดแต่ว่าเมื่อตัวเองไม่รู้ ส่งเสริมให้ บุตรได้ศึกษาให้ดีว่าพ่อลูกแต่ละคนต้องเรียนให้จบอย่างน้อยปริญญาตรี ลูก 3 คนจบปริญญาโทแต่เมื่อรับฟังการบรรยายจากอาจารย์ ทำให้ต้องเริ่มต้นการเรียนรู้และจะศึกษาเรียนรู้และพัฒนาตนเองสม่ำเสมอและตลอดไป

หมายเหตุ ผมเป็นโรคภูมิแพ้ ดูทีวี และดูคอมพิวเตอร์ไม่ได้ (น้ำตาไหล) จึงเป็นปัญหาและอุปสรรคมาก

มณฑล ทองศรีนุ่น

สกย.จ.หนองคาย

Learning Forum & Workshop หัวข้อ โลกาภิวัตน์…เทคโนโลยี และผลกระทบต่อการทำงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)

โดย ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

  • กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ต้องรู้จักสร้าง network เชื่อมโยงกับความเก่งของกลุ่มอื่นๆ ต้องมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
  • ควรนำยางพาราไปทดแทนทรัพยากรที่หมดเปลืองไป เช่นนำมาเปลี่ยนโครงสร้างเป็นน้ำมันดีเซล และสิ่งอื่นๆ
  • ควรให้โอกาสลูกน้อง ฝึกลูกน้องให้เก่งกว่าเรา
  • ควรทำจากสิ่งที่เราเก่งและมีความชอบ จะประสบความสำเร็จสูง
  • ต้องรู้วิธีแก้ปัญหา (ทำงานขั้นวิจัยและพัฒนา)
  • ต้องให้งานเหมาะแก่ประเภทคน
  • นักทฤษฎี คนภาคกลาง เวลาให้งาน ต้องบอกว่าทำแล้วได้อะไร
  • นักผจญภัย คนใต้ เวลาให้งาน บอกเฉพาะเป้าหมายเท่านั้น
  • นักกิจกรรม คนอีสาน ถ้าจะทำให้คนกลุ่มนี้รัก ต้องมีกิจกรรมเอาใจเขา ถามทุกข์สุขก่อนให้งาน
  • นักปฏิบัติ เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศไทย คนภาคเหนือ เวลาให้งาน ต้องลงรายละเอียด
  • เวลาประชุม ต้องการชนะการประชุม ต้องนำพวกนักผจญภัยมาเป็นพวกก่อนแล้วเขาจะช่วยเถียงแทนเรา
  • และนักปฏิบัติ ที่นิ่งเงียบเวลาประชุม แต่ออกความเห็นนอกที่ประชุม ถ้านำเป็นพวกได้จะไม่ทำการปฏิบัติพัง
  • แบบทดสอบการดูภาพ ถ้าพบภาพใหญ่ๆก่อน เหมาะทำงานบริหาร ถ้าเห็นสิ่งเล็กๆก่อน เหมาะกับเป็นผู้เชี่ยวชาญ ถ้าบอกความรู้สึกในการบรรยายภาพ แสดงให้เห็นถึงการใส่ใจความรู้สึกผู้อื่น
  • การสร้างเครือข่ายต้องเริ่มด้วยการเปิดเผยเปิดใจจึงจะเกิดการสื่อสารกัน
  • นวัตกรรมต่างจากความคิดสร้างสรรค์
  • คิดสร้างสรรค์เป็นความคิดเชิงบวก
  • นวัตกรรมเป็นความคิดใหม่นำไปสู่การกระทำ
  • การคิดนวัตกรรมได้เก่งต้องคิดนอกกรอบโดยไม่ผิดกติกา

 

Workshop 1 แก้ปัญหา (เรือถูกพายุ บริหารเสบียง) บนหลักพื้นฐานนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กลุ่ม 3

1.ถ้าเรืออับปาง  ต้องวิดน้ำ ซ่อมเรือ

2.กินอาหารประหยัด หาอาหารเพิ่ม

3.ก่อควันไฟขอความช่วยเหลือจากกองทัพเรือ

4.ขอพรพระเจ้าให้ช่วย

 

Workshop 2 สร้างนวัตกรรมให้สกย.

 

กลุ่ม 1 เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

  • ในส่วนกลาง ควรนำงานไปทำที่บ้าน ประหยัดค่าเดินทาง นำงานมาส่งตรงเวลา
  • อาจมีการจัดห้องให้พนักงานคลายเครียด พักผ่อน จะได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

  • เน้นผลสัมฤทธิ์ แต่ไม่เน้นวิธีการ นี่เป็นวิธีที่ประเทศที่เจริญแล้วทำ

 

กลุ่ม 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์

  • ใช้น้ำยางสดฉีดทำหลังคาบ้าน
  • ทำนาบนแผ่นยางปูพื้นลดการซึมของน้ำ

 

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

  • เป็นการลดค่าใช้จ่ายได้ดี ปะง่ายกว่ากระเบื้อง

 

กลุ่ม 3 บริหารงบประมาณ

  • พนักงานไม่เพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรภาคสนาม ต้องอบรมครูยางให้มีความรู้ใกล้เคียงพนักงาน
  • ต้องหาวิทยากรผู้ช่วยคือเกษตรกรเพื่อลดต้นทุน

 

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

  • เกษตรกรสอนกันใช้ภาษาง่ายกว่า

 

กลุ่ม 4 บริหารลูกน้อง

  • สลับตำแหน่งการทำงานระหว่างหัวหน้าและลูกน้องจะได้เข้าใจกัน

 

กลุ่ม 5 การสร้างพันธมิตร

  • หาการบ้านวิชาการ ทำวิจัย หารือร่วมทำ MOU กับสถานศึกษา
  • บริการการจ่ายเงิน โดยร่วมกับธนาคาร
  • ร่วมมือกับอบต.ในเรื่องข้อมูล

 

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

  • นำฐานความชำนาญเขามาทำงานร่วมกับเรา

 

กลุ่ม 6 การบริหารความสุขในชีวิต

 

  • เป็นความรู้สึกเชิงนามธรรม ทำจิตให้มีความสุข
  • ทำงานวันนี้ให้ดีที่สุด

ช่วงคำถาม

1.อีก 20 ปีข้างหน้า ปาล์มน้ำมันกับยางพาราอะไรจะสำคัญกว่ากัน

ตอบ ทั้งสองอย่างเกี่ยวกับปิโตรเลียม ขึ้นกับ demand และ supply และ การทดแทน พลังงานสามารถทดแทนด้วยน้ำ ลมและนิวเคลียร์ ส่วนยางพาราก็ยังไม่มีอะไรทดแทน และใช้ทุกส่วนได้ อีก 20 ปีข้างหน้ายางจะสำคัญกว่า

2. ทำอย่างไรให้ยางโตเร็วผ่านเทคโนโลยีชีวภาพ

ตอบ ใช้หลักการลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ที่ห่างกันมาก

คิดว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการรับฟังการบรรยายหลักสูตร "ค่ายผู้นำรุ่นใหม่ของ สกย."

วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ซึ่งสอนให้มองตัวเองก่อน ทำให้เรารู้จักตัวเราเอง เมื่อรู้จัก

ตัวเราเองแล้ว ก็จะรู้ว่าตัวเราขาดเกินอะไรไปบ้าง  ควรจะปรับปรุงพัฒนาตัวเองอย่างไร เพื่อให้ตัวเรามีศักยภาพ มีภาวะผู้นำ และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร สกย. ให้ประสบความสำเร็จในงานที่รับผิดชอบ

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔  ช่วงเช้า ในหัวข้อการบรรยาย เรื่อง HR for Non - HR และการสร้างทุนมนุษย์ที่ สกย. ทำให้รู้ว่าการควบคุมอารมณ์ของตัวเราได้ ก็ถือเป็นทุนอย่างหนึ่งในทฤษฎีทุนใหม่ 5 K's (ใหม่) ของ อ.จิระ หงส์ลดารมย์ และช่วงบ่าย ในหัวข้อการบรรยาย เรื่อง สถานการณ์ของยางพาราในประเทศไทยถึงตลาดโลก ได้ปะทะกับคนเก่ง (ได้สนทนากับ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ กูรูชั้นนำระดับประเทศ อย่างใกล้ชิด)

คุณคิดว่าคุณได้อะไรที่ไม่คาดคิดมาก่อนนการรัฟังวิทยากรในวันที่ 12 ก.ค. 54

1 ได้รับความรู้เรื่อง แนวคิดเรื่องทุนมนุษย์ที่จะใช้ในองค์กร สกย.

2 ในการบริหารธุรกิจของบริษัทขาดใหญ่ เช่น ปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งมีการขยายกิจการหรือขยายเครือข่ายธุรกิจให้โตขึ้น จะต้องเป็นเรื่องคนเป็นสำคัญ ต้องมีการกระจายอำนาจ มีการฝึกอบรมลูกน้องให้มาก ผู้บริหารไม่บ้าอำนาจ ให้ความเสมอภาคกับคนทุกคน

นายสมฤกษ์ กุลวนาโรจน์

 

โครงการค่ายผู้นำรุ่นใหม่ สกย.  

 11 ก.ค.2554

       เรียนรู้การปฏิบัติงานโดยใช้แนวทศพิศราชธรรม ของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงใช้ เป็นหลักปฏิบัติงานปกครองบ้านเมือง  เพื่อนำมาปฏิบัติเป็นแนวทางการทำงานในหน้าที่ ตลอดจนได้การเรียนรู้ทฤษฏีและคุณสมบัติของผู้นำที่ได้รับการยอมรับ ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนรู้ถึงข้อแตกต่างการเป็นผู้นำกับการเป็นผู้จัดการ ได้การทำงานต้องเปิดโลกทัศน์กับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ขององค์กรวิเคราะห์การเป็นผู้นำที่พึงประสงค์หน่วยงานและผู้นำกลุ่มเกษตรกร,สหกรณ์,ผู้นำชุมชนที่จะเป็นผู้นำที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การมีจิตอาสา มีจริยธรรมและคุณธรรม เรียนรู้ถึงวิธีปรับแนววิธีคิดการทำงานวางแผน โดยมุมมองหลายด้านเพื่อลดความเสี่ยงที่ จะเกิดความเสียหาย เช่นการส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ปลูกสร้างสวนยาง ไปกระทบลดพื้นที่ต่อพืชเศรษฐกิจ  เช่นข้าว อาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตในอนาคต และให้ระมัดระวังต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน ที่เปลี่ยนแปลงไป    ผลผลิตจากยางพาราที่จะนำสู่การเปลี่ยนแปลงด้านบุคคลเกษตรกรต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกรและด้านสิ่งแวดล้อม,ในด้านองค์กร,ในด้านประเทศและต่อโลก.                                                    

                                                          นายสมฤกษ์ กุลวนาโรจน์                                                                                          สกย.จ.อุบลราชธานี

สมศักดิ์ ตัณฑ์ศิริ

- การสร้างความผูกพันธ์ความรักองค์กรให้เริ่มตั้งแต่เดินเข้ามารในองค์กรในวันแรก

- การลงทุนคือการเสียใจแล้ววันนี้ เพื่อจะได้ประโยชน์หรือผลตอบแทนมากขึ้นในวันหน้า

- การบริหารจัดการคน

- ความจงรักภักดีต่อองค์กรสามารถนำองค์กรสู่ความสำเร็จ

ศิลป์ชัย วิฑูรย์พิศาลศิลป์

ได้อะไรที่ไม่คิดมาก่อน

1 อ.จีระ วิเคราะห์ได้ถูกต้อง สกย.ขาดทุนทาง IT

2  อ.จีระวิเคราะห์ได้ถูกต้อง สกย.ขาดการอ่านโดยเฉพาะหนังสือภาษาอังกฤษ 

 

 ได้อะไรในวันนี้

1  ได้ความรู้เรื่องผู้นำ

-         ความหมาย

-         ประเภท

-         คุณลักษณะ

-         แนวทางสร้างผู้นำ

 

2  ลักษณะการทำงานเป็นทีมและการร่วมแสดงความคิดเห็นของกลุ่ม

3 เรื่องการวิเคราะห์ตนเอง

-         เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็ง

-         เพื่อปรับปรุงจุดอ่อน

-         เพื่อหลีกเลี่ยงภัยคุกคาม

-         เพื่อค้นหาโอกาส

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Mind Mapping โดย อาจาย์ธัญญา ผลอนันต์

วันที่ 13 กรกฎาคม 2554 

 

วีดิโอ 

  • เราสามารถใช้ Mind Mapping ในการทำงานและชีวิตประจำวันตลอดเวลา
  • ศ.ดร.วารี  หนึ่งในผู้เข้ารับการอบรม Mind Map (ลายแทงสมอง)  ทำให้เด็กสามารถเสริมเรื่องได้ดี  , และก่อให้เกิดการคิดแตกแยก เกิดการ Brain Storming ,เปิดโอกาสให้เด็กคิด และรับฟังความคิดเห็น  เปิดใจการเรียนรู้ให้เข้ากับจินตนาการ ความรู้เป็นสิ่งมีอยู่แล้ว จินตนาการเป็นส่วนที่คิดเพิ่มเติมขึ้นมา ถ้าเราเรียนรู้อยู่เรื่อย ๆ จะทำให้สมองไม่ฟ่อ ได้คิดแตกแขนงไปเรื่อย ๆ

อาจารย์ธัญญา

  • Mind Mapping เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่ช่วยในการคิด 
    • รอบคอบ
    • รู้คิด
    • จิตอาสา

ตัวอย่างการคัดเลือกคนจากผู้บริหารบริษัทชั้นนำ

  • คนสามารถคิดเองเป็น
  • สามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
  • สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ เมื่อเจอปัญหา สามารถแก้ปัญหาได้
  • เราจะพัฒนาหลักสูตร และสภาพแวดล้อมให้คนเก่งปานกลางเก่งขึ้นมามีความสามารถขึ้นมาได้อย่างไร
  • ทำอย่างไรให้เขามีโอกาสพัฒนาตนเอง

อาจารย์ธัญญา  ผลอนันต์

สิ่งที่ได้รับจาก Mind Mapping

  • ความคิดสามารถสอนกันได้ เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการใช้งาน
  • ดูว่าสมองทำงานอย่างไร ?
  • ความคิดจะช่วยในการจำด้วย ต้องใช้สี ใช้ภาพในการช่วยในการจำ และเน้นการสื่อสาร
  • ช่วยในเรื่องการทำงานเป็นทีม ประสานกัน เมื่อเจอปัญหาที่หาทางออกไม่เจอจะช่วยในการวิเคราะห์ แก้ปัญหาและวางแผนได้
  • ช่วยให้การประชุมสั้นลง
  • เครื่องมือจากวิวัฒนาการของสมอง  ตั้งแต่ 5,000 ปีมีการคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ มีวิวัฒนาการในการแสดงออก และความอยากรู้  แต่ก่อนเริ่มจากการใช้หิน เปลี่ยนเป็นโลหะ ไม้ เขาสัตว์ ฯลฯ  มีพัฒนาการของเครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  มีวิวัฒนาการของภาษาเขียนในชนชาติต่าง ๆ ภาษาจากซ้ายไปขวา บนลงล่างเป็นต้น
  • โทนี่ บูซาน เป็น คนที่คิดหลักของสมองโดยเริ่มจากตรงกลางแล้วกระจายไปส่วนรอบนอก ๆ เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา

แบบทดสอบการจำของสมอง

  • ทดสอบความจำ ในเวลา 16 วินาที ให้ดูตัวหนังสือทั้ง 16 คำ ดูว่าตัวไหนอยู่ตรงไหน ?

      ...ต่อมา ในเวลา 32 วินาทีให้เขียนคำทั้ง 16 คำ เท่าที่จำได้

ผลที่ออกมา.....

  •  สังเกตได้ว่าตัวหนังสือคนส่วนใหญ่ จำได้ครึ่งหรือต่ำกว่าครึ่งเล็กน้อย ทั้งที่ทั้ง 16 คำเป็นคำง่าย ๆ และอ่านแล้วเข้าใจเลย.....แสดงว่าสมองเราไม่มีกลไกในการจำตัวหนังสือ  ถ้าเราต้องการจะจำ ไม่ควรใช้ตัวหนังสืออย่างเดียว

วีดิโอ

  • การทำงานของสมอง ส่งผลให้มนุษย์เกิดการปรับตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเอาชนะธรรมชาติ
  • สมองซีกซ้าย เป็นรูปธรรม หลักการ หลักเหตุผล  สมองซีกขวาเป็นนามธรรม เป็นความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ศิลปะ
  • คนดังระดับโลกที่ประสบความสำเร็จ ใช้สมองสองซีกผสมกัน ดังเช่นปรัชญาจีน เรื่องหยิน หยาง
  • ปกติคนเราใช้สมองแค่ 1% เท่านั้นทำให้สมองเราแก่เกินที่จะเป็น
  • ในสมองมีเซลประสาท แสนล้าน ล้านเซลล์ ไม่มีเซลได้เหมือนกัน และมีลักษณะเหมือนนิวเคลียส แตกกิ่งก้านสาขาเหมือนต้นไม้

 ยกตัวอย่างการ ดูเรื่อง Spider ถ้าขาวดำ กับสี ต่างกันอย่างไร  สมองจดจำอะไรดีกว่า ?

  •  
    • จะสังเกตว่าสีเป็นตัวช่วยจำ และช่วยในการคิดด้วย

 

  • ทดสอบความจำครั้งที่ 2 การฟัง พยายามจำทุกคำเรียงลำดับห้ามจด
    • สมาธิในการจำมีน้อยมาก 1 ชั่วโมงควรพัก 1 ครั้ง  เนื่องจากถ้าเรียนเป็นระยะเวลายาวตลอดจะทำให้ตอนต้นจำได้ แล้วก็ลดลง ลดลง ตอนท้ายจะจำได้อีกนิดนึง ดังนั้น ถ้ามีการเรียนควรแบ่งเป็น 3 คาบ จึงทำให้เรามีช่วงในการจำมากขึ้น การกระทำซ้ำ ๆ จะทำให้เกิดความสำเร็จ และการเชื่อมโยงจะช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้
    • สมองเราชอบเติมเต็ม ตัวเชื่อม และจินตนาการ จึงเกิดการคิดค้นและประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ จากการนำสิ่งต่าง ๆ มารวมกัน
    • วิธีที่เราจะทำให้ความจำอยู่ คือ ทำซ้ำ ทบทวนความจำ หมั่นฝึกฝน เป็นต้น

 

  • ทดสอบความจำ ในเวลา 16 วินาทีให้ดูภาพทั้ง 16 ภาพ ดูว่าภาพไหนอยู่ตรงไหน ?

การทดสอบนี้ข้อมูลเหมือนการทดสอบความจำจากตัวหนังสือเพียงแต่เป็นภาพสี..ผลที่ออกมาคือ...เราสามารถจำได้มากกว่าครึ่ง...แสดงว่าสมองเราสามารถจำเป็นภาพและสีได้มากกว่าตัวอักษร

  • ทดสอบการดึงข้อมูลที่รู้อยู่แล้วออกมา

      ให้เขียนชื่อเพื่อน ญาติ พี่น้อง ผู้มีบุญคุณ ที่คุณรู้จักที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้มากที่สุดภายใน 3 นาที ไม่ต้องเขียนชื่อจริง เต็มยศ ใช้ชื่อเล่น หรือสมญาที่คุณเรียกตามปกติได้

ลองนับดูว่าได้กี่ชื่อ

  • ทดสอบความคิดสร้างสรรค์

      ให้ลองคิดว่า “แปรงสีฟันใช้ทำอะไรได้บ้าง นอกจากสีฟัน” เขียนสั้น ๆ ไม่ต้องอธิบาย นึกให้หลายหลายที่สุดใน 3 นาที

  • เรื่องเล่าของตัวเอง

      ใช้เวลา 3 นาทีเขียนเรื่องตัวเองเพื่อแต่นำต่อหน้าสาธารณชน เช่น ชื่อจริง /ชื่อเล่น/นามสกุล/อายุ/วันเกิด/ที่เกิด/ครอบครัว/บ้าน/หมู่บ้าน/สถานศึกษา/งานอดิเรก/อุปนิสัยใจคอ/อาหารที่ชอบฯลฯ

  • สังเกตได้ว่าเวลาจด จะมีวิธีการจดทั้งแบบย่อความ และเรียงความ

การจดแบบเรียงความสมองทำงานมาก กว่าจะได้ประโยคหนึ่ง สมองจึงเครียด 

จึงอยากให้การจดแบบย่อความเป็นหัวข้อ ๆ จะดีกว่า...เนื่องจากเอามาแตกย่อยเองได้ และพูดขยายได้มากกว่า

  • เราจดบันทึกกันเพื่ออะไร?
    • จดเพื่อจำ
    • จดเพื่อบันทึก
    • ฯลฯ

 

เวลาเราเริ่มจดความคิด เราควร “จดหัวเรื่อง” ไว้ก่อน หรือ เราลงมือจด “สิ่งที่คิดได้” ทันที

  • บางครั้งเราพลาดการตั้งสติ เช่นให้คิดชื่อเพื่อนให้มากที่สุด การจดหัวข้อไว้เสมอ เป็นการให้สติเรา

สมอง 2 ซีก ซีกขวาจะทำสมาธิได้มากกว่าซีกซ้าย 

ถ้าเราจดสิ่งที่คิด และเป็นภาพ เป็นสี จะเกิดสติ และ สมาธิ ทำให้ความคิดและปัญญาตามมา

  • เราจดประโยชน์ของแปรงสีฟันน้อยกว่าชื่อเพื่อนเนื่องจากชื่อเพื่อนบางทีเราไม่จดความคิดที่เราคิดลงไปด้วย แต่จดประโยชน์ของแปรงสีฟันได้น้อยกว่าเนื่องจากเราใช้สมองซีกซ้ายในการวิเคราะห์เหตุผลมากไป 
  • จึงขอเสนอวิธีการจดแบบ Brain Storm ให้จดทุกอย่างที่คิดไว้ทั้งหมดเหมือนชื่อเพื่อน ทำให้เราจดเร็วขึ้น

วิธีการจดที่แนะนำ

  • การ Brain Storm เอาสิ่งที่คิดไว้ตรงกลางหน้า   เช่น เอาแปรงสีฟันอยู่ตรงกลาง และ แตกกิ่งหน่อออกมา ว่าแปรงทำอะไรได้บ้าง ปลายจุดของเส้นต่าง ๆ คือจุดกระตุ้นความคิด  ตรงไหนพร้อมจะแตก แตกไปก่อนไม่ต้องรอ ยิ่งคิดมากทำให้มีจุดที่คิดต่อได้มาก แค่เพียงเราตั้งสมาธินิดนึง แล้ววาดเป็นรูป

 

เวลาจดบันทึกด้วย 5 ส

  • จดเป็นสัญลักษณ์ ภาพ
  • สั้น
  • เส้น
  • สี
  • สร้างสรรค์ สวย

 

เวลาเขียน Mind Mapping เอาเรื่องสำคัญไว้ตรงกลาง เสมือนเป็นนิวเคลียส

เริ่มจาก  1. แก่นกลางของความคิด

             2. แตกความคิดของออกมาเป็นประโยชน์ คิดคำได้เขียนคำทันที (ถ้าคิดไม่ออกให้ขีดเส้นไว้ก่อน เวลาคิดได้เขียนบนเส้น คิดไม่ออก ทิ้งไว้ก่อน คิดได้ค่อยเขียนใหม่

            3. ขยายเป็น 16 จุดกระตุ้นความคิด  ยิ่งคิดมากพื้นที่ความคิดจะกว้างขึ้น  (ทุกอย่างโยงเชื่อมเสมอ และปลายกิ่งแตกได้เสมอ)

 

วิธีการเขียน

  1. ต้องให้เส้นติดกับสิ่งที่เราคิด
  2. แตกความคิดออกมา  ให้เส้นอยู่ใต้คำ
  3. ใช้สีช่วยในการเขียนตามกิ่งละสี

 

ฝึกคิดเป็นรัศมี

ฝึกคิดกว้าง

หัด..คิดลึก

 

หน้า 16 เลือก 5 รายการ จาก 16 รายการ

ให้นำสิ่งที่เลือกไว้แล้วแตกกิ่งออกมา

1.ให้เส้นที่ขีดติดกับสิ่งที่เราคิด ให้เส้นเชื่อมโยงกันอย่าให้ขาด ,อย่าทำเป็นช่องว่างระหว่างสิ่งที่คิดได้ , 

2.เส้นต้องอยู่ใต้คำ อย่ามีคำมาขวางระหว่างเส้น

3. ให้แตกความคิดเป็นลึกออกมา

 

เขียนแผนที่ของตัวเอง

หน้ากึ่งกลางระหว่างหน้า 36-37

  • วาดภาพโลโก้ของตัวเองขนาดวงกลมไว้ตรงกลางกระดาษรูปอะไรก็ได้, หรือ ทำเป็นตัวหนังสือได้ แต่ต้องมีสีใช้ปากกาอย่างน้อย 3 สี ให้ดูแล้วสวยงาม
  • เส้นต้องติดกับสิ่งที่เราคิด เสมือนน้ำและกิ่งใบที่ต้องหล่อเลี้ยงให้ถึงกัน  เมื่อเขียนเสร็จแล้วทุก ๆ ปลายกิ่งต่อได้
  • เวลาเขียนคำซ้ำสามารถทำได้ ให้ใช้ปากกาแถบสิ่งที่เหมือนกัน แม้ว่าอยู่ไกลสิ่งเหมือนกันก็โยงกันได้

 

 

 

วิธีการ

  1. วางกระดาษตามแนวนอนนึกภาพแทนสิ่งที่เราคิดแล้วเขียนไว้ตรงกลาง
  2. แตกกิ่งออกอย่าแตกกิ่งเป็นเส้นตรง ให้โคนใหญ่กว่าปลาย เขียนประเด็นสำคัญเป็น 1 Key word บนเส้นเท่านั้น  กิ่งไม้ทุกกิ่งแทนความคิด
  3. ต่อมาก็เป็นการเชื่อมโยงความคิด เป็นประเภทต่าง ๆ  แตก “กิ่งแก้ว” ออกมารอบ ๆ เป็น “กิ่งแกน”
  4. แตก “กิ่งแกน”  ออกมาเป็น “กิ่งก้อย” หรือแตกกิ่งไปกี่แขนงก็ได้

ปล. ถ้าเป็นไปได้ 1 กิ่งที่แตกไปเรื่อย ๆ พยายามให้เป็นสีเดียวจะได้ไม่ตาลายเกินไป

       เวลาเขียนให้คิดกว้าง 3- 4 กิ่งก่อน แต่ถ้าติดตรงไหนก็ให้เขียนกิ่งใหม่เลยไม่ต้องติดอยู่ที่กิ่งเดิม

  • กิ่งใน Mind map คล้ายแผนที่ของสมองให้คุณเดินตาม ทำให้ความคิดของเราไม่ต้องจำกัดแค่กรอบ

 

 

 

 

                                                   

 

 

คุณคิดว่าคุณได้อะไรที่ไม่คาดคิดมาก่อนการรัฟังวิทยากรในวันที่ 12 ก.ค. 54

1 ได้รับความรู้เรื่อง แนวคิดเรื่องทุนมนุษย์ที่จะใช้ในองค์กร สกย.

2 ในการบริหารธุรกิจของบริษัทขาดใหญ่ เช่น ปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งมีการขยายกิจการหรือขยายเครือข่ายธุรกิจให้โตขึ้น จะต้องเป็นเรื่องคนเป็นสำคัญ ต้องมีการกระจายอำนาจ มีการฝึกอบรมลูกน้องให้มาก ผู้บริหารไม่บ้าอำนาจ ให้ความเสมอภาคกับคนทุกคน

 

นายสมฤกษ์ กุลวนาโรจน์

โครงการค่ายผู้นำรุ่นใหม่ สกย.   

 11 ก.ค.2554

       เรียนรู้การปฏิบัติงานโดยใช้แนวทศพิศราชธรรม ของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงใช้ เป็นหลักปฏิบัติงานปกครองบ้านเมือง  เพื่อนำมาปฏิบัติเป็นแนวทางการทำงานในหน้าที่ ตลอดจนได้การเรียนรู้ทฤษฏีและคุณสมบัติของผู้นำที่ได้รับการยอมรับ ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนรู้ถึงข้อแตกต่างการเป็นผู้นำกับการเป็นผู้จัดการ ได้การทำงานต้องเปิดโลกทัศน์กับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ขององค์กรวิเคราะห์การเป็นผู้นำที่พึงประสงค์หน่วยงานและผู้นำกลุ่มเกษตรกร,สหกรณ์,ผู้นำชุมชนที่จะเป็นผู้นำที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การมีจิตอาสา มีจริยธรรมและคุณธรรม เรียนรู้ถึงวิธีปรับแนววิธีคิดการทำงานวางแผน โดยมุมมองหลายด้านเพื่อลดความเสี่ยงที่ จะเกิดความเสียหาย เช่นการส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ปลูกสร้างสวนยาง ไปกระทบลดพื้นที่ต่อพืชเศรษฐกิจ  เช่นข้าว อาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตในอนาคต และให้ระมัดระวังต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน ที่เปลี่ยนแปลงไป    ผลผลิตจากยางพาราที่จะนำสู่การเปลี่ยนแปลงด้านบุคคลเกษตรกรต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกรและด้านสิ่งแวดล้อม,ในด้านองค์กร,ในด้านประเทศและต่อโลก.                                                     

                          นายสมฤกษ์ กุลวนาโรจน์                                                     

                            สกย.จ.อุบลราชธานี

สมศักดิ์ ตัณฑ์ศิริ

-         การสร้างความผูกพันธ์ความรักองค์กรให้เริ่มตั้งแต่เดินเข้ามารในองค์กรในวันแรก

-         การลงทุนคือการเสียใจแล้ววันนี้ เพื่อจะได้ประโยชน์หรือผลตอบแทนมากขึ้นในวันหน้า

 

-         การบริหารจัดการคน

-         ความจงรักภักดีต่อองค์กรสามารถนำองค์กรสู่ความสำเร็จ

 

ศิลป์ชัย วิฑูรย์พิศาลศิลป์

            ได้อะไรที่ไม่คิดมาก่อน

1 อ.จีระ วิเคราะห์ได้ถูกต้อง สกย.ขาดทุนทาง IT

2  อ.จีระวิเคราะห์ได้ถูกต้อง สกย.ขาดการอ่านโดยเฉพาะหนังสือภาษาอังกฤษ

                                                                         

วันที่ 11 ก.ค. 54

            ตอบคำถาม ได้อะไรในวันนี้

1  ได้ความรู้เรื่องผู้นำ

-         ความหมาย

-         ประเภท

-         คุณลักษณะ

-         แนวทางสร้างผู้นำ

 

2  ลักษณะการทำงานเป็นทีมและการร่วมแสดงความคิดเห็นของกลุ่ม

3 เรื่องการวิเคราะห์ตนเอง

-         เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็ง

-         เพื่อปรับปรุงจุดอ่อน

-         เพื่อหลีกเลี่ยงภัยคุกคาม

-         เพื่อค้นหาโอกาส

 

 

สุภิชาญ ช่อเรืองศักดิ์

1 Human Capital

            ทุนมนุษย์คิดว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดขององค์กรมากกว่าทุนอื่นๆ เพราะว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับคุณภาพของคนในองค์กร ดังนั้นองค์กรควรจะมีการวางแผนในการพัฒนาคุณภาพของคนให้มากควบคู่กับการพัฒนาทุนทางด้านอื่นๆ ควบคู่กันไป และจะต้องมีขบวนการเก็บข้อมูลองค์ความรู้ของพนักงานที่จะจากองค์กรไป เพื่อถ่ายทอดให้กับพนักงาน เพื่อร่วมงานได้อย่างไร เพื่อให้องค์ความรู้อยู่ควบคู่กับองค์กรต่อไป

                                                                                   

อดุลย์ สุวรรณรัตน์

อะไรที่ไม่ได้คิดมาก่อน

1  แนวทางการรักษาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร (ปูนซิเมนต์)

2 เรื่องคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์

            คำถาม “ได้อะไรบ้างในวันนี้”

1 แนวทางการวิเคราะห์ราคายาง

2 แนวคิดต่อการบริหารในสถานของโลกาภิวัตน์

                                                                       

ทฤษฎีการเรียนรู้และผู้นำยุคใหม่ของ สกย.

            ในการอบรมหลักสูตร “ค่ายผู้นำรุ่นใหม่ของ สกย. ในวันที่ 11 ก.ค. 54 ซึ่งเป็นวันแรกของโครงการ ในการปฐมนิเทศหลักสูตร โดยท่าน ศ.ดร.จีระทำให้เกิดบรรยากาศที่สนใจติดตามตลอดเวลา โดยเฉพาะการได้รับการแนะนำถึงวิธีการเรียนรู้และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เช่น วิธีการสร้างผู้นำหรือช่องว่างระหว่างผู้นำกับผู้จัดการตลอดจนการคิดทางช่องทางนำความรู้ไปปฏิบัติร่วมกับผู้เกี่ยวข้องให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จยั่งยืนได้

                                                                                             

จากการเข้าร่วมโครงการวันที่ 12 ก.ค. 54

รายงานว่า คิดว่าได้อะไรที่ไม่เคยได้มาก่อน 2 เรื่อง

1 พวกคนเก่ง เก่งอย่างเดียวไม่พอ สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญห้ามเครียด แค่ผมได้มาเป็น Coach ของคุณถือว่าโชคดีมาก    ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ กล่าว

 

2 แนวคิดเรื่องทุนมนุษย์ “ปลูกข้าว ไม่สำคัญเท่าเก็บเกี่ยว”

HR for Non HR และการสร้างทุนมนุษย์

            ในการอบรมตามหลักสูตรในวันที่ 2 ของหลักสูตร ได้เริ่มต้นโดยการทบทวนสะท้อนบทเรียนเมื่อวาน และนำเข้ามาสู่บทเรียนของบทบาทและความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นหัวใจที่สำคัญขององค์กรโดยสรุปแล้วการพัฒนาองค์กรสู่ความสำเร็จต้องอาศัยความศรัทธาและเชื่อมั่นในคุณค่าของคนในองค์กร โดยถือว่าคนเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีค่าเสื่อมเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องจักร และการเรียนรู้ประสบการณ์สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของคนได้

                                                                                                

สิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะได้จากการประชุม

1  ได้แรงบันดาลใจจากอาจารย์ว่า คนเราไม่มีเวลาเกษียณ ทุกคนควรดึงคุณค่าของตัวเองและนำมาเป็นมูลค่าของตัวภายหลังจากเกษียณ อย่าหยุดทำงานเพื่อจะได้ทำให้ตัวเองมีสุขภาพที่ดี สมองไม่ฝ่อ อาจารย์มีอายุ 66 แล้วแต่ยังมีคุณค่า ถ่ายทอดความรู้เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรอีกมากมาย

2 ได้ดูเทปสัมภาษณ์อาจารย์พารณ ทั้งในวิสัยทัศน์ของท่านเมื่อ 20 ปีที่แล้วบทสัมภาษณ์นำมาใช้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดไป

                                                                       

 

สิ่งที่น่าประหลาดใจในหัวข้อ HR for NON – HR วันที่ 12 ก.ค. 54

1 ทฤษฎีทุน 8 ประเภท

มีทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางไอที ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

สิ่งที่น่าประหลาดใจเนื่องจากไม่เคยได้ยินมาก่อน คือ “ความสุข” เป็นทุนซึ่งข้าพเจ้าเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง แนวคิดนี้ตรงกับคำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาส ที่ท่านสอนให้คนทำงานไปพลางขึ้นสวรรค์ไปพลาง อย่าทำงานไปพลาง ตกนรกไปพลาง

2 นวัตกรรมคือ การคิดนอกกรอบโดยไม่ผิดกฎระเบียบเป็นคำนิยามที่โดนใจมากครับ

                                                                                   

นิวัติ นวลทอง สกยจ.กาญจนบุรี

 

ได้อะไรมาโดยไม่คาดคิดมาก่อน 2 ข้อ

  1. ไม่คิดว่ามนุษย์เป็นทุนและมีมูลค่าเพิ่ม
  2. ทุนก็คือสิ่งที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้

11 ก.ค. 54

  1. การสร้างเครือข่ายองค์ความรู้ในด้านการสร้างภาวะผู้นำ
  2. ผู้นำและผู้จัดการมีความแตกต่างกัน
  3. การสร้างศรัทธา
  4. จริยธรรมของผู้นำ

12 ก.ค. 54

  1. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยโดยให้ความสำคัญของคน “คนคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร”
  2. ทฤษฎีทุนใหม่เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์
เพ็ญทิพย์ ศุภธีรเวทย์

 

                จากการที่ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตร ค่ายผู้นำรุ่นใหม่ของสกย. ช่วงระยะเวลาสั้น ได้รับความรู้เพิ่มเติมขึ้นในส่วนที่ยังไม่รู้ เกี่ยวกับทศพิธราชธรรม ที่ท่านองคมนตรีได้บรรยายให้ฟัง และมีภาพบรรยากาศของพระองค์ท่านที่ได้นำเสนอในแต่ละข้อ ทั้ง 10 ข้อนั้น ทำให้เราได้เห็นภาพชองพระองค์ท่านและได้รับข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพที่เราเคยเห็น

                จากการที่ท่านองคมนตรีได้ให้ความรู้ แก่พวกเราที่เข้ารับการอบรม รู้สึกเป็นเกียรติแก่พวกเราเป็นอย่างมาก เข้าใจว่าผู้เข้ารับการอบรมทุกคนให้ความสนใจ ใส่ใจและจะนำข้อควรปฏิบัติตามอย่างพระองค์ท่านไปใช้ในการดำรงชีวิตและการทำงาน เพื่อพัฒนาตนเองและองค์กรให้ดีขึ้น บรรยากาศในการรับฟัง พวกเรามีความตั้งใจฟังการบรรยายทุกคน

                ส่วนเรื่องของอ.จีระเกี่ยวกับทฤษฎีของผู้นำยุคใหม่ โดยวิธีการบรรยายของท่านเป็นลักษณะการให้โจทย์เป็นหลัก เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้รับการฝึกฝนการเป็นผู้นำได้ดี ชอบวิธีการที่ท่าน comment แนะนำ แต่ละเรื่องที่แต่ละกลุ่ม present นำเสนอ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รู้ว่า  สิ่งที่เรานำเสนอหรือสิ่งที่เราได้คิด ได้ทำไปตามแนวทางที่ถูกต้องหรือไม่ อาจจะมีบางคนมีความรู้เรื่องนี้บ้างแล้วแต่บางทีทฤษฎีหรือที่ได้ปฏิบัติกันมาอาจจะไม่ถูกต้อง ซึ่งท่านได้ให้คำแนะนำให้ถูกต้องด้วย ฉะนั้นในช่วงระยะเวลาต่อไปของการอบรมอีกหลายวัน คงทำให้พวกเราที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ ข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกมาก และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานต่อไป

อนันตยศ แก้วคุ้มภัย

 

วันนี้ได้อะไรจากการเรียนรู้ 11 ก.ค. 54

                ทศพิธราชธรรม เป็นหลักธรรมของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งสามารถนำมาใช้ในการบริหารงาน บริหารบุคคล ภายในองค์กรและนอกอค์กรได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการโดยเฉพาะผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องมีจริยธรรมและหลักของคุณธรรม

                ดังนั้นการที่ผู้นำหรือผู้บริหารจะมีบารมีได้ จะต้องยึดหลักทศพิธราชธรรมหรือธรรมของพระราชามาประยุกต์ใช้ งานในหน้าที่รับผิดชอบ และคุณค่าของผู้นำ

                ผู้นำยุคใหม่ของสกย.ต้องยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงต่อกระบวนการหรือวิธีคิดและคิดอย่างมีระบบเพื่อนำมาปรับปรุงตนเองตลอดจนนำมาใช้ในการพัฒนาองค์การ จึงถูกกำหนดโดยปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการตัดสินใจ

                เพราะฉะนั้นคุณลักษณะของผู้นำที่ดีและนำไปสู่ความเป็นเลิศได้

  1. มีความใฝ่รู้ สู้งาน ประสานความคิด
  2. มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานหรือต่อบุคคลภายนอก
  3. ต้องกระจายอำนาจ และกระบวนการบริหาร
  4. มีมุมมองในอนาคตที่ดี
  5. การมีความศรัทธา
  6. การสร้างทีมงาน
  7. การตัดสินใจและการเจรจาต่อรอง

กล่าวคือ ยางพาราทุกของเกษตรกรจะต้องได้รับการบริการและการดูแลจากสกย.ครบวงจร

องค์กรต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับภาคประชาสังคมและบริบทต่อการส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรทั้งด้านประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ มุ่งสู่สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศเพื่อลดสภาวะความแปรปรวน สภาพอากาศของโลก สร้างฐานเศรษฐกิจให้ชุมชน นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมมีคุณภาพและอบอุ่น ชุมชนเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญต่อการพัฒนาและพร้อมที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลงต่อทิศทางและนโยบายขององค์กร

 

วันนี้ได้อะไรบ้าง ที่ไม่ได้คิดมาก่อน 12 ก.ค. 54

  1. กรอบแนวคิดของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

ปรัชญาหรืออุดมการณ์ในธุรกิจ

1.1      มีความศรัทธาและความเขื่อ

1.2      เชื่อมั่นในคุณภาพของคน

1.3      คนมีคุณค่าเพิ่มขึ้นทุกๆปีเมื่อเทียบกับทรัพยากรอื่นๆ

1.4      งานจะประสบความสำเร็จได้จากคน

    2.ในเชิงเศรษฐกิจคนมีค่าเพิ่มขึ้นทุกปี และมีคุณค่ามากที่สุด

ขององค์กร บริษัทปูนซิเมนต์ไทย มองเห็นความสำคัญต่อการสร้างทุนมนุษย์ HR for Non-HR ต้องมีการบริหารจัดการที่ดีต่อทรัพยากรบุคคล ต่อการสร้างหลักคุณธรรมในการบริหาร

ดังนั้นทรัพยากรที่มีความสำคัญและมีค่าที่สุดในยุคปัจจุบันไมใช่เงินแต่เป็นคนหรือทุนมนุษย์

ทฤษฎีทุน 8 ประเภทคือ

ทุนมนุษย์

ทุนทางปัญญา

ทุนทางจริยธรรม

ทุนแห่งความสุข

ทุนทางสังคม

ทุนแห่งความยั่งยืน

ทุนทาง IT

ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ

การบ้าน

ทุนมนุษย์

ทุนมนุษย์สำคัญที่สุด ในบรรดาทุนของโลกสัก 3 ทุนคือทุนทรัพยากรธรรมชาติ ทุนเทคโนโลยีและทุนทางการเงิน

ปกติประเทศที่มีทุนดังกล่าวพร้อม ก็พอที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้ในระดับต่างๆ แต่บางประเทศ ทุนดังกล่าวไม่พร้อมหรือไม่ครบ แต่อย่างไรก็ตาม ทุนที่มีอยู่แน่ๆคือ ทุนมนุษย์ หากพัฒนาให้คนมีคุณภาพ ประเทศนั้นๆ จะสามารถพัฒนาประเทศได้อาจจะมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่มีทุนพร้อมสรรพเสียอีก

การอภิปรายกลุ่ม

                ตลาดล่วงหน้า AFET เป็นหนทางการตลาดให้แก่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางได้ในการจัดการความเสี่ยงด้านราคาและสามารถวางแผนการผลิตแต่ละฤดูกาลได้

                ตลาดล่วงหน้าที่มีผลต่อราคายางโลกได้แก่ตลาด Tocom, Sicom และเซี่ยงไฮ้ การตั้งความหวังว่า ไทยจะเป็นศูนย์กลางยางพาราของโลกนั้นมีความเป็นไปได้เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ต้องแสวงหาความร่วมมือกับประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซียด้วย ซึ่งผลผลิตยางพาราของ 3 ประเทศดังกล่าว รวมกันมีมากกว่า 70% ของปริมาณยางพาราของโลก

โลกาภิวัตน์เทคโนโลยี

                สกย.ต้องอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับความคิดเชิงสร้างสรรค์ เมื่อสร้างนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าสู่การพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนด้วยการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทรัพยากรที่มีเพียงพอและคนที่มีคุณภาพ

Panel Discussion หัวข้อ เรียนรู้เรื่องวิจัยในบริบทของสกย.

โดย ศ.ดร.อารี วิบูลย์พงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • งานวิจัยมันต้องเกี่ยวเนื่องกับบริบททางสังคม
  • อย่าเป็นนักวิจัยบนหอคอยงาช้าง เพราะจะทำให้งานวิจัยขึ้นหิ้ง ไม่มีใครนำไปใช้
  • ควรจะทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหา
  • แต่ก็สามารถคิดและทำวิจัยเพื่อดักอนาคตไว้หรือวางแผน คำถามสำหรับงานวิจัยนี้คืออนาคตควรเป็นอย่างไร เช่น ยุทธศาสตร์เตรียมประเทศไทยในอีก 10 ข้างหน้า
  • ยางพารายังมีคุณสมบัติอื่นด้วย จะได้นำไปสร้างนวัตกรรมต่อ
  • รัฐบาลเกาหลีทุ่มงบวิจัยอย่างมากในสิ่งที่ไม่รู้จะได้ผลหรือไม่ ทำให้ความรู้ใหม่ๆทางด้านเทคโนโลยี
  • ประเทศไทยมีงบ 0.26% ของ GDP สำหรับวิจัย
  • เราวิจัยเพื่อพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพได้
  • เราสามารถทำวิจัยเพื่อการประเมินผลโครงการ
  • ถ้าเราวิจัยไว้ก่อน พอมีนโยบายมา เราสามารถนำโครงการเดิมมาทำแล้วใส่ข้อมูลไปใหม่ ก็จะได้วิจัยผลกระทบ
  • ต้องหาโจทย์วิจัยที่สอดคล้องกับบริบทของท่าน เช่น ความสุข ประสิทธิภาพการผลิต
  • ต้องบอกได้ว่า อะไรเป็นปัจจัยหลัก ควรระดมความคิดจากเวที แต่เวลาตัดสินใจต้องใช้ตัวเลข
  • ดัชนีชี้วัดต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรม

 

Workshop 1 กำหนดเรื่องที่วิจัยและสอดคล้องกับบริบทอย่างไร มีวัตถุประสงค์การวิจัย

 

กลุ่ม 1

หัวข้อวิจัย ศึกษาวิจัยตัวชี้วัดความสุขของเกษตรกรชาวสวนยางหลังพ้นสงเคราะห์

บริบท

  • สกย.มีตัวชี้วัดการทำสวนสงเคราะห์

วัตถุประสงค์การวิจัย

  • หาตัวชี้วัด ออกมาเป็นความสุข

ศ.ดร.อารี วิบูลย์พงษ์

  • ควรเปลี่ยนชื่อเป็นพัฒนาวิจัยตัวชี้วัดความสุขของเกษตรกรชาวสวนยางหลังพ้นสงเคราะห์
  • หลักการและเหตุผลควรบอกว่า มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในช่วงสงเคราะห์ ปละหลังจากนั้นเกิดอะไร เกษตรกรมีความสุขไหม ประเด็นยังกว้างอยู่
  • ควรมีข้อมูลชี้ว่า มีสัญญาณเกิดขึ้นเป็นเหตุจูงใจให้ศึกษา ทำให้มีน้ำหนักในการศึกษา
  • ดัชนีชี้วัดต้องมีบริบทของสกย.
  • ควรจะมีการประเมินระดับความสุข อาจจะประเมินระหว่าง 2 พื้นที่โดยบอกเหตุผลด้วย
  • วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกับปัญหา
  • วิธีการในการศึกษาจะทำอย่างไร

 

กลุ่ม 2

หัวข้อวิจัย การสร้างสวนยางอย่างยั่งยืน

ปัญหา

  • เกษตรกรมีปัญหาสภาพพื้นที่ ขาดความรู้ทักษะเกษตร
  • ไม่มีทุน
  • ใช้แรงงานในครอบครัว ทำให้ขาดแรงงาน
  • ขาดตลาด
  • ไม่รู้แหล่งปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง

วัตถุประสงค์การวิจัย

  • ทำให้เกษตรกรมีสวนยางคุณภาพ
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร
  • ลดต้นทุนการผลิต
  • ใช้แรงงานหมู่บ้านช่วงไหน
  • เพิ่มผลผลิต

ศ.ดร.อารี วิบูลย์พงษ์

  • นี่คือปัญหาที่ใครๆก็พูด ต้องทำให้มีความจำเพาะไม่เหมือนที่อื่น เช่น สภาพพื้นที่ทำสวนยางอยู่บนไหล่เขา
  • วัตถุประสงค์น่าจะเขียนว่า ผลที่คาดว่าจะได้รับคืออะไร
  • ต้องระบุว่า ยั่งยืน หมายถึงอะไร
  • ควรใช้คำว่า อย่างมีคุณภาพ แม้ใช้คำว่า อย่างมีคุณภาพ คือมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ แต่ไม่จำเป็นต้องให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอ ต้องกำหนดว่ากี่ปี จึงจะถือว่าสม่ำเสมอ
  • ถ้าใช้คำว่ามีประสิทธิภาพ ต้องประเมินว่า มันคืออะไร และต้องออกมาเป็นตัวเลข
  • เพิ่มในวัตถุประสงค์ว่าจะได้คำตอบมาอย่างไร

 

กลุ่ม 3

หัวข้อวิจัย การใช้สารเคลือบปุ๋ยเคมี (คล้ายปุ๋ยเคลือบช็อกโกแลต)

ปัญหา

  • ขาดแรงงาน และค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนผลิตสูงขึ้น
  • ใช้สารเคมีปราบวัชพืช
  • ปัญหาการเจริญเติบโตของพืช ปุ๋ยละลายไปกับน้ำ ต้องใส่ปุ๋ยแล้วอยู่ได้นาน

วัตถุประสงค์การวิจัย

  • แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ลดต้นทุน
  • รักษาสิ่งแวดล้อม
  • การเจริญเติบโตของต้นยางสม่ำเสมอขึ้น

ศ.ดร.อารี วิบูลย์พงษ์

  • เรื่องนี้เป็นปุ๋ยละลายช้า ใส่ปีละครั้งเท่านั้นและละลายในเวลาที่ต้องการ ต้องมี NPK ที่แตกต่างกัน
  • ในบริบทของท่านคือขาดแรงงาน ต้นทุนสูงปราบวัชพืช ปัญหาเจริญเติบโต ปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • ท่านรู้ปัญหา
  • มีต้นทุนแรงงานในการใส่ปุ๋ยเท่าไร
  • หัวข้อกว้างทำให้ตีความไม่ชัดเจน ทำให้คิดว่า สารเคลือบคืออะไร  ต้องวิจัยอย่างไรจึงได้สารเคลือบปุ๋ย
  • วัตถุประสงค์ไม่ตรงกับหัวข้อวิจัย สารเคมีประหยัดแรงงานแต่อาจจะไม่ลดต้นทุนด้านอื่น สารเคลือบอาจะไม่ใช่ NPK ที่ช่วยให้โต
  • ควรปรับว่า
  • ต้องการเปรียบเทียบคุณสมบัติในการปล่อยปุ๋ยออกมาของสาร 3 ชนิด
  • ต้องการศึกษาต้นทุนใช้สารเคลือบ
  • ศึกษาต้นทุนปุ๋ยปกติกับที่มีสารเคลือบ
  • ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของสารเคลือบนี้
  • สรุปแล้วได้วิจัย 4 เรื่อง
  • จะมีวิธีประเมินอย่างไร
  • ต้องศึกษาสารที่มี หรือทบทวนวรรณกรรมถ้ายังไม่มี หรือสารใหม่
  • ต้องคำนวณผลเศรษฐกิจของสารทดลอง

 

กลุ่ม 4

หัวข้อวิจัย การบำรุงรักษาสวนยางเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ได้ครึ่งศตวรรษ

ปัญหา

  • ต้นยางที่กรีด ทรุดโทรมเร็วกว่ากำหนด ต้องยืดเวลาการเก็บเกี่ยวของมัน เป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในภาพรวม

 

วัตถุประสงค์การวิจัย

  • เพื่อค้นหาพันธุ์ยางที่เหมาะสมที่มีคุณภาพ
  • ยืดเวลาเก็บเกี่ยว

ศ.ดร.อารี วิบูลย์พงษ์

  • คล้ายๆกับกลุ่มอื่น
  • ปัญหาคือ วิธีกรีดยางไม่เหมาะสม เก็บเกี่ยวไม่ถูกต้อง มีความรู้แต่ไม่ทำ
  • ควรจะไปดูว่าทำไมเกษตรกรจึงไม่กรีดยางตามกรมวิชาการเกษตรบอก จะได้แก้ปัญหาได้ดีขึ้น
  • ควรเปลี่ยนหัวข้อว่า ทำไมเกษตรกรจึงไม่กรีดยางตามกรมวิชาการเกษตรบอก
  • ควรหากรณีศึกษาที่เป็นตัวอย่างที่ดีและค้นหาว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมการทำคืออะไร

กลุ่ม 5

หัวข้อวิจัย ผลกระทบจากการขยายพื้นที่ปลูกยางต่อวิถีชุมชน

ปัญหา

  • ตอนนี้ยางราคาดีมาก ทำให้ปลูกยางเพิ่มขึ้น รัฐบาลส่งเสริมมากและมีเกษตรกรปลูกเอง

วัตถุประสงค์การวิจัย

  • ศึกษาผลกระทบจากการขยายพื้นที่ปลูกยางต่อวิถีชุมชนทั้งแง่สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม
  • แง่สังคมคือ การย้ายถิ่นฐาน สถาบันครอบครัว
  • แง่เศรษฐกิจ คือ ขาดรายได้อย่างไรหลังปลูกยางเพราะใช้เวลานานกว่า
  • ปลูกยางแล้วดินถล่มไหม มีผลต่อป่าไม้ มีมลภาวะทางเสียง
  • มีผลกระทบต่อพืชเศรษฐกิจอื่นอย่างไร

ข้อเสนอแนะโดยกลุ่ม 1

  • ชื่อเรื่องควรมีบริบทบอกว่าที่ไหน
  • คนเข้าร่วมโครงการต้องมีการเปรียบเทียบก่อนร่วมโครงการ หัวข้อจะได้ไม่กว้างเกินไป
  • วัตถุประสงค์ต้องเป็นผลที่คาดว่าจะได้รับด้วย แต่ก็ยังกว้างไป ทำให้กำหนดวิธีการวิจัยได้ยาก

ศ.ดร.อารี วิบูลย์พงษ์

  • แก้โดยใส่ขอบเขตของงานเพื่อป้องกันตัวเอง
  • กลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์ชัดขึ้น
  • ต้องมีการเปรียบเทียบก่อนและหลัง
  • ไม่จำเป็นต้องเขียนทุกอย่างไว้ในวัตถุประสงค์
  • ถ้าตั้งคำถาม ก็จะตอบด้วยวัตถุประสงค์งานวิจัยได้

 

กลุ่ม 6

หัวข้อวิจัย การขยายพื้นที่ปลูกยางพารามีผลกระทบอย่างไรต่อพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น

ปัญหา

  • ราคายางสูงจึงขยายพื้นที่ปลูกไม่จำกัด
  • รัฐไม่จัด Zoning
  • สกย.ไม่มีอำนาจกำหนดพื้นที่ปลูก
  • เกษตรกรขาดความรู้ในการปลูกยางจึงไปปลูกในพื้นที่พืชชนิดอื่นทำให้ล้มเหลว และทำลายสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์การวิจัย

  • สร้างสมดุลการทำสวนยางกับพืชอื่น
  • ศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ

ศ.ดร.อารี วิบูลย์พงษ์

  • ควรนำพื้นที่ปลูกยางและพืชอื่นใน 10 ปีมาเปรียบเทียบก็จะพิสูจน์ได้ในตารางเดียว
  • สร้างสมดุล เป็นโจทย์ที่ใหญ่ ต้องบอกความหมายให้ชัด เช่น สมดุลกายภาพ สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงอาหาร พลังงาน ถ้าใช่ ก็ต้องนำเป้าหมายเหล่านี้เป็นตัวตั้ง
  • ควรเปลี่ยนหัวข้อเป็น พื้นที่ที่เหมาะสมทางกายภาพและชีวภาพในการปลูกยางในประเทศไทย

14 กรกฎาคม 2554

ทัศนศึกษาดูงาน ณ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

Learning Forum & Workshop หัวข้อ การวิจัยยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า

โดย         ผศ.ดร.เสวก  พงษ์สำราญ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตราชมงคลจันทบุรี

  • มหาวิทยาลัยเราตั้งปี 2507 เริ่มเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมก่อน
  • ปี 2518 เป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
  • ปี 2548 เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • มีนศ 2,200 คน
  • มหาวิทยาลัยเริ่มปลูกยาง 2524
  • จะเปิดคณะเทคโนโลยีการยาง
  • วันนี้จะพาไปดูเกษตรกรที่มีพื้นที่ 10,000 ไร่
  • ที่นี่เมล็ดยางแพงกว่าเงาะ
  • ต้นยางเฉลี่ย 50 บาท
  • ปี 2528 ปลูกยาง RRIM 600 พันธุ์นี้ทน เรากำลังจะร่วมกับบริษัทที่ชุมพรร่วมมือใช้สารเร่งกับยางเล็กอายุ 1 ปี
  • ปี 2532 ปลูกยาง RRIM 600 ไม่มีทุน กรีดไปได้ 10 กว่ากิโลกรัม บอกนักศึกษาให้เลือกกิ่งดีๆ
  • ยาง PR 255 เจอโรคราสีชมพู ทำให้ปลูกพืชชนิดอื่นไม่ได้
  • ปี 2534 ปลูกยาง GT 1 ต้นอวบ กิ่งน้อย
  • ปลูกยาง PB235 น้ำยางมาช่วงฝนมา แต่พอแล้งน้ำยาหาย
  • ปี 2534 ทำเครื่องรีดยางกึ่งอัตโนมัติ
  • ปี 2534-2536 ขอทุนวิจัยสภาวิจัย ปลูกสละเนินวงศ์ และระกำร่วมกับยางพารา  ทำให้ทราบว่าปลูกได้จริง
  • มีวิจัยต่อยอดการขยายพันธุ์สละเนินวงศ์โดยไม่ทำลายต้นแม่ แช่น้ำแล้วรากออก
  • ปี 2536 ปลูกกฤษณาสภาพกลางแจ้ง 5 ปี ห่างกัน 3 เม็ด ปลูกได้ แต่สภาพใต้ร่มเงาของยางพารา กฤษณาขึ้นแต่ไม่โต
  • กฤษณาที่เกิดนำไปขายได้กิโลกรัมละหลายหมื่นบาท
  • ชิ้นไม้ 15 กิโลกรัม กลั่นน้ำมันกฤษณาได้ 2 โตร่า
  • คนที่ขึ้นไปหากฤษณาก็จะกรีดยางรงค์ลงมาก้วยใช้ทำยาถ่าย แม่สี
  • บริษัทสวนแดนไทยปลูกยางไม่ต่ำกว่า 50 ปี เป็นรุ่นที่ 3 ที่โค่น ปลูกแซมกล้วยไข่
  • ช่วงลองกองถูก คนก็นำไปปลูกแซมกับยาง
  • เรานำรากเร่วหอมทำชาแก้ท้องอืด
  • เราปลูกกระวาน หวายด้วย
  • อยากให้มีเครื่องกรีดยางแทนมีด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • มหาวิทยาลัยนี้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสน่ห์
  • ทิศทางที่มหาวิทยาลัยนี้ควรจะไป ตอนนี้ที่ท่านทำยังเน้น Supply มาเกินไป ต้องดูการแปรรูปด้วย โดยไป network กับหน่วยงานอื่น

ช่วงความคิดเห็น

คนที่ 1 จากจังหวัดน่าน

  • ผมสนใจ GT 1 ผลผลิตยังสูงคงเส้นคงวาหรือไม่ในมหาวิทยาลัย ตอนนี้ GT 1 หายากมาก

ผศ.ดร.เสวก  พงษ์สำราญ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตราชมงคลจันทบุรี

  • ช่วงแรกน้ำยาเกือบเต็มถ้วย ผลัดใบช้า
  • ส่วนแปลงที่เหลือ น้ำยาลดลง 30% เหลือครึ่งถ้วย มีความเข้มข้นกว่าพัน์ 600
  • ปลูกใหม่ๆใบเป็นราแป้งบ้าง

คนที่ 1 จากจังหวัดน่าน

  • ยางนี้ทน ปลูกในที่ไม่ระบายน้ำได้
  • ถ้าทำผลวิจัย GT 1 เชิงเศรษฐกิจได้ไหม

ผศ.ดร.เสวก  พงษ์สำราญ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตราชมงคลจันทบุรี

  • ผมมีข้อมูลเพิ่มเติม GT 1 ที่ปลูกจริง เราปรับปรุงโดยนำต้นน้ำยางดีสุด เปลือกหนาน้ำยางสม่ำเสมอมาปรับปรุง

คนที่ 2

  • ตอนนี้ ยางราคาแพง มีปัญหาการเตรียมพันธุ์ยางมาก ถ้าเพาะเมล็ด ติดตา แล้วยางทำถุง ถ้าใช้วิธีอื่นได้ไหม

ผศ.ดร.เสวก  พงษ์สำราญ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตราชมงคลจันทบุรี

  • เป็นไปได้ Refrigerator แบบกล้วยไม้ ถ้านำเนื้อเยื่อยางไปอยู่ในขวด อย่างน้อยก็ 6 เดือนแล้ว แต่เพาะเมล็ดใช้เวลา 8 เดือน
  • บางทีขยายพันธุ์ใช้เวลาน้อยแต่ออกมาช่วงราคาถูกก็ไม่ดี
  • ตอนนี้หลายพื้นที่ไม่เหมาะปลูกยาง ใน 2 ปี ก็อาจตันแล้ว ขยายไม่ออก

คนที่ 1

  • ควรของบสกย.จันทบุรี

คนที่ 3

  • เคยมีงานทดลองผสมพันธุ์ยาง

ผศ.ดร.เสวก  พงษ์สำราญ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตราชมงคลจันทบุรี

  • ยังไม่มี แต่ประเทศอื่นทำแล้ว ไทยมีแต่รวบรวมพันธุ์

คนที่ 1

  • ปี 2521 มีโครงการแนะนำการติดตาเปลี่ยนยอดมาเป็น GT 1
  • มหาวิทยาลัยควรหาตัวเลขมายืนยันว่าทำได้

ผศ.ดร.เสวก  พงษ์สำราญ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตราชมงคลจันทบุรี

  • ตอนนี้กรมวิชาการเกษตรมีสถาบันวิจัยยาง เราสอนนักศึกษาผลิตแปรรูป
  • เรื่องพันธุ์ยาง เรามีพื้นที่น้อย

คนที่ 4

  • วิธีไหนทำให้เกิดน้ำมันกฤษณามากที่สุด

ผศ.ดร.เสวก  พงษ์สำราญ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตราชมงคลจันทบุรี

  • ทำให้เกิดแผล โดยไม่ต้องใช้น้ำยา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • เป็นห่วงอะไรมากที่สุด 3 เรื่องในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องยาง

ผศ.ดร.เสวก  พงษ์สำราญ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตราชมงคลจันทบุรี

  • เราคิดว่าถ้ายางราคาถูกลงอย่างไร เราต้องส่งเป็นผลิตภัณฑ์ยางเองเพื่อเพิ่มมูลค่าได้
  • ที่ตราดมียางเป็นโรคก้างปลา ทำให้ตายทั้งสวน อาจจะมีโอกาสจากโรคต่างๆ และเทคโนโลยี

Learning Forum & Workshop หัวข้อ กรณีศึกษาของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

โดย         คุณนิพนธ์  สมพื้น

                ประธานกรรมการดำเนินการชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด

  • สหกรณ์สวนยางจะสามารถเป็นพันธมิตรกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนได้อย่างไร
  • ผมปลูกยางพารา 5,000 ต้น ก็พอแล้วเพราะไม่มีพื้นที่ปลูก
  • การกรีดยางเป็นงานหัตถศิลป์ แรงงานเหล่านี้จะหาได้อย่างไรขอให้สกย.ช่วยคิดด้วย
  • ต้องมีผู้นำในการปูทิศทางให้เกษตรกรเดินไปได้
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็น 1 ใน 7 ประเภทสหกรณ์
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศเยอรมนี
  • หัวใจสหกรณ์คือหลักการประชาธิปไตย
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องให้ความรู้และอบรมเพื่อตรวจสอบว่ายังต้องการเป็นสมาชิกอยู่หรือไม่ มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์และมีความรู้เพียงพอในเรื่องสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และจะทำอะไรให้สหกรณ์
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนยึดหลักจิตตารมณ์ คือ ความสนใจกัน ความห่วงใย การแบ่งปัน และการรับใช้กัน
  • แนวคิดแก้ปัญหาโดยวิธีเครดิตยูเนี่ยนคือการให้ (คิดถึงผู้อื่น) ให้แรงกาย น้ำใจ สติปัญญา แรงจำนวน (ความร่วมมือ)
  • สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องมีคุณธรรม 5 ประการในการอยู่ร่วมกัน คือ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นใจกัน ความไว้วางใจกัน
  • ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทยเป็นชุมนุมระดับชาติ ทำให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเข้มแข็งขึ้นประธานชุมนุมต้องไปเป็นคพช. กรรมการสันนิบาตสหกรณ์ และกรรมการกพส.
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมุ่งหวังช่วยเหลือสวัสดิการสมาชิกตั้งแต่เกิดจนตาย
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมุ่งพัฒนาคน คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคม การมีส่วนร่วมของสมาชิกเป็นสิ่งสำคัญของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

ช่วงความคิดเห็น

คนที่ 1

  • ในฐานะที่เป็นคพช. มีผลต่อการแก้ไขกฎให้เลือกตั้งได้ตลอดชีวิตอย่างไร
  • การบริหารรายได้ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีกลยุทธ์อย่างไร

คุณนิพนธ์  สมพื้น

  • เป็นนโยบายสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย สหกรณ์หลายประเภทมีข้อจำกัดในการพัฒนาคนเป็นผู้นำสหกรณ์นั้นๆ จึงมีการแก้ไขกฎ สมัยที่ร่างพ.ร.บ. ไม่มีกำหนดว่า กรรมการอยู่ไม่ให้เกิน 2 วาระ
  • ถ้ามีข้อจำกัดในการพัฒนาคนเป็นผู้นำ ก็ไม่ต้องจำกัดว่า กรรมการอยู่ไม่ให้เกิน 2 วาระ
  • ผมเห็นว่า ถ้าเราเป็นนักสหกรณ์ เราต้องสร้างคนขึ้นมา ไม่ควรยึดติดกับตัวบุคคล เมื่อสมาชิกได้รับการพัฒนา ก็จะเป็นผู้นำสหกรณ์ได้
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องมีเงินทุนสำรองให้บริการสมาชิก เราต้องรับเงินฝาก ปล่อยเงินกู้ นำเงินไปลงทุนที่ไม่ขัดคพช.แล้วนำดอกผลมาให้บริการสวัสดิการสมาชิก ที่เหลือเป็นเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนสมาชิก

คนที่ 2

  • คุณสมบัติของสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนค่อนข้างสูง มีการทุจริตบ้างไหม

คุณนิพนธ์  สมพื้น

  • เราต้องส่งเสริมคนดี และให้คนไม่ดีมีน้อยที่สุด โดยทำทุกวัน เราต้องคิดว่าเราทำได้
  • แต่คนเรามีความหลากหลาย สหกรณ์ต้องสร้างตัวอย่างความเป็นคนดีโดยการศึกษาอบรมและทดสอบ มีเครื่องมือวัดเพื่อพัฒนาสมาชิกแต่ละคน

คนที่ 3

  • วันนี้ผมเจอนักสหกรณ์ตัวจริง
  • ผมมีศรัทธาต่อท่าน ถือเป็นโชคดีที่มีคนมาทำงานสหกรณ์ด้วยจิตวิญญาณ
  • สหกรณ์ประเภทอื่นควรแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในเรื่องคัดเลือกสมาชิก
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคือสหกรณ์ในฝัน
  • ในหลวงรับสั่งว่า สหกรณ์กู้ชาติได้
  • เราต้องทำให้เป็นสหกรณ์แท้

คนที่ 4

  • มีการคุ้มครองเงินออมทรัพย์และเงินกู้อย่างไร

คนที่ 5

  • การกระจายอำนาจไม่จริงจังและไม่ได้ผล อนาคตก็จะดีขึ้น
  • สหกรณ์มีกฎหมายรัฐรองรับแต่เป็นองค์กรภาคพลเมืองมารวมกัน
  • สามารถเชื่อมโยงในวงสัมพันธ์จะทำได้ไม่แพ้อบต.อบจ.

คุณนิพนธ์  สมพื้น

  • สหกรณ์เป็นสถาบันการเงินรับฝากเงินให้สมาชิกและสหกรณ์อื่นกู้เงิน ลงทุนที่ไม่เสี่ยง (หุ้นกู้ระดับ A- อย่างต่ำ) รวบรวมข้าว ทำยางคอมปาวน์
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต่างจากสหกรณ์ประเภทอื่นคือ มุ่งพัฒนาคน และส่งเสริมคนเป็นนักสหกรณ์มืออาชีพ มีการฝึกอบรมทุกไตรมาส สอบผ่านจึงจะเป็นสมาชิกได้
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องจ่ายพรีเมี่ยม 1,000 บาทต่อ 60 สตางค์ต่อปีตามมูลหนี้ที่มีอยู่ให้ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นหลักประกัน
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องจ่ายพรีเมี่ยม 1,000 บาทต่อ 60 สตางค์ต่อปีตามหุ้นที่สมาชิกมีอยู่ให้ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นหลักประกัน
  • ตอนนี้มีการเชื่อมโยงสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนกับประเภทอื่นๆและในหมู่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเอง
  • การเป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ต้องได้รับหนังสือรับรองจากชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทยแล้วนายทะเบียนจะจดทะเบียนให้เพื่อเป็นการกรองสมาชิก และจะเป็นสมาชิกสามัญโดยอัตโนมัติ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • สกย.กับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องทำงานร่วมกันในบางเรื่อง

คุณทำนอง ดาศรี

  • อยากให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีชื่อภาษาไทยจะได้ทำให้คนไทยเข้าใจง่ายขึ้น

วันที่ 12 กรกฎาคม 2554

Panel Discussion 

หัวข้อ   สถานการณ์ของยางพาราในประเทศไทยถึงตลาดโลก

           โดย     รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

                      คุณสุธี อินทรสกุล

                      (ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยางด้านเศรษฐกิจการต่างประเทศ)

                      คุณชัยวัฒน์ ฉันติกุล

                      (ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง)

                      ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ   โลกาภิวัตน์เทคโนโลยี และผลกระทบต่อการทำงาน

ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)

โดย       ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

วันที่ 13 กรกฎาคม 2554

Learning Forum

หัวข้อ   Mind mapping..เพื่อการคิดสร้างสรรค์ และการบริหารโครงการเพื่อสร้างผลงานที่เป็นเลิศของ สกย.

 

 

Learning Forum

หัวข้อ   เรียนรู้เรื่องวิจัยในบริบทของ สกย.

โดย       ศ.ดร.อารี วิบูลย์พงษ์

             อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อฟังข่าวโครงการ

http://www2.mcot.net/fm965/mp3.cfm?cat=Archive&id=239275

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/news.asp?ID=270837

 

สวัสดีค่ะ สมาชิกค่ายผู้นำรุ่นใหม่ สกย.

      เป็นยังไงกันบ้างค่ะหลังจากกลับไปทำงาน ได้ทำการบ้านของอาจารย์บ้างหรือยังค่ะ

อย่าลืมส่งการบ้านกันน๊ะค่ะ ว่าง ๆ ก็เข้ามาคุยกันใน Blog บ้างน๊ะค่ะ

                                                            จันทร์

 

สวัสดีค่ะพี่ๆ ค่ายผู้นำรุ่นใหม่ของ "สกย"

อบรมครั้งหน้าพบกันวันที่ 1 - 4 สิงหาคม 2554 ที่โรงแรมรอยัลซิตี้

อย่าลืมส่งการที่อาจารย์มอบหมายด้วยนะค่ะ

1. ผู้นำแบบ นาย เนลสัน แมนเดลา

ประโยชน์ 1. รู้ปัญหาต่างๆของผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานในงานที่ทำ

2. มีความคิดสร้างสรรค์

3. มีความกล้าหาญ สามารถนำอยู่ข้างหน้าและเป็นผู้ตามข้างหลังได้

4. มีภาพลักษณ์ที่ดี

ประเด็นสำคัญที่จะปรับใช้กับ สกย.

การที่จะเป็นผู้นำได้จะต้องรู้ปัญหารอบด้านในงานที่ทำ และสามารถแก้ไขปัญหา ต่างๆได้ นำข้อขัดข้องหรือปัญหาต่างๆไปพัฒนาในการปฏิบัติงานของ สกย. ได้ ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในทีมงาน โดยให้มีความกระตือรือร้นสนใจไฝ่หาความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถของตนเอง มุ่งมั่นหาวิธีการใหม่ๆมาพัฒนาทีมงาน ให้มีการทำงานที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพดีขึ้นและแสดงความเต็มใจในการปฏิบัติงานร่วมกับทีมงานอยู่เสมอ

2. ปัจจัยท้าทาย ต้องการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า

ประโยชน์ 1. จัดสรรทรัพยากรให้คุ้มค่าและเน้นการบริโภคภายในให้มากขึ้นการส่งออกก็จะขยายตัวเพิ่มขึ้น

2. ปรับปรุงโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนและแสวงหานวัตกรรมใหม่ๆ

3. ต้องให้ความสนในเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น

ประเด็นสำคัญที่จะปรับใช้กับ สกย.

ปัจจุบันการส่งออกยางพาราของไทย ส่งออกที่ประเทศจีนมากเป็นอันดับ1 ถ้าเมื่อใดประเทศจีนประสบปัญหาเศรษฐกิจและไม่นำเข้ายางพารา จะเกิดปัญหามากกับการส่งออก แต่ประเทศไทยได้ขยายตลาดการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนซึ่งเป็นตลาดใหม่ในปี 2553 ได้ 60%แล้ว จึงควรมีการส่งเสริมการส่งออกยางพาราไปตลาดอาเซียนให้มากขึ้น และเน้นการบริโภคภายในประเทศให้มากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น การส่งออกของไทยต้องสนใจในการเรียนรู้ วิธีการ ค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำสิ่งที่เรียนรู้มาพัฒนาการผลิตยางพาราให้ดีขึ้น ซึ่งในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงและมีนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้น โดยคนจะเป็นตัวขับเคลื่อน ดังนั้นจึงต้องสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ กระจายไปทุกระดับในองค์กร

3. ศึกษากรณีคุณยรรยง

ประโยชน์ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับการเมือง

2. ความผิดพลาดและการหาทางป้องกัน

ประเด็นสำคัญที่จะปรับใช้กับ สกย.

ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับการเมือง สกย.มีบอร์ดที่มาจากนักการเมืองหลายท่าน บางครั้งสั่งการด้วยปากหรือโทรศัพท์ ไม่มีหนังสือเป็นทางการ สกย.ต้องปฏิบัติตามทั้งๆที่บางครั้งยังไม่มีงบประมาณยอมรับ ดังนั้นจึงต้องเขียนโครงการเพื่อของบประมาณมาดำเนินการ พนักงานจึงต้องปรึกษากับทีมงาน เพื่อหาข้อมูลดำเนินการให้ครบถ้วนและมีการติดตามประเมินผล เพื่อเสนอต่อบอร์ดเพื่อทราบด้วย แต่อย่างไรก็ตาม สกย.ก็ยังมุ่งมั่นและยืนหยัดในข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร

4. เศรษฐกิจ เกษตร ท่องเที่ยว รักษาพยาบาล ระดับโลกWorld Class

ประโยชน์ 1. ทำให้รู้ว่าการท่องเที่ยวยังขาดภาษา การเป็นผู้ประกอบการ การบริหารจัดการสมัยใหม่ และการใช้ IT

2. พัฒนาข้าราชการอย่างจริงจังเรื่องพลังงานทดแทน โลจิสติกส์ สิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน

3. คนไทยคิดไม่เป็น ไม่ไฝ่รู้ ไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. พัฒนาเกษตรกรให้มีการจัดการสมัยใหม่ผสมกับภูมิปัญญาท้องถื่น

ประเด็นสำคัญที่จะปรับใช้กับ สกย.

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยได้ดีเพราะมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และคนไทยเองเป็นคนมีมารยาท มีวัฒนธรรมและบริการท่องเที่ยวได้ดีที่สุดในโลก เมื่อการท่องเที่ยวฟื้นได้เร็วภาคเกษตรก็จะดีตามไปด้วย ดังนั้น ต้องพัฒนาพนักงาน สกย. อย่างจริงจัง เรื่องพลังงานทดแทน โลจิสติกส์ สิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน ให้มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ แต่ต้องมองทุนมนุษย์และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาพนักงานทุกระดับในองค์กรด้วย การสร้างความสามารถให้เกิดการแข่งขันในกิจการยางพาราให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาการบริหารจัดการสมัยใหม่ผสมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเกษตรกร เพื่อพัฒนาตลาดยางพาราให้ครบวงจร รวมถึงผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราด้วย

นายสมฤกษ์ กุลวนาโรจน์

โครงการค่ายผู้นำรุ่นใหม่ สกย.

จากการศึกษาบทความ บทเรียนจากความจริง ดร.จิระ หงส์ลดารมย์ 3 ฉบับได้แก่

1.สรุป 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela ประเด็นที่ได้ประโยชน์และสามารถนำไปปรับใช้ได้

•ด้านทักษะภาวะผู้นำและด้านความคิดสร้างสรรค์ ที่ผู้นำทุกคนต้องมี เพื่อจะหาแนวทางให้คนในองค์กรมีแรงกระตุ้นมีการปรับปรุงการปฏิบัติงาน การทำงานเชิงรุก ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆและฝึกฝนให้ลูกน้องและผู้ร่วมงานในองค์กรทำงานให้ประสบความสำเร็จบรรลุตามความจุดประสงค์ที่มุ่งหมาย ขององค์กร และจะส่งผลให้องค์กรโดดเด่นสู่ความเป็นเลิศ

•ได้เรียนรู้ 8 ประเด็นของ Mr.Nelson Mandela นักกฎหมาย อดีตประธานาธิบดีผิวดำของแอฟริกาใต้ ผู้นำที่มีภาพลักษณ์ที่ดีมีความมุ่งมั่นอดทนกล้าหาญ แสวงหาเชิงกลยุทธการบริหารศัตรูรู้จังหวะรู้จักการพอดี มีการประนีประนอมที่เหมาะสมแต่รักษาหลักการไว้ เรียนรู้ตนเองสามารถใกล้ชิด เพื่อนและศัตรู จนสามารถสร้างความปรองดองของคนในชาติ และยุติการเหยียดสีผิว เกิดสันติภาพอย่างถาวรในประเทศ

2.ศึกษากรณี คุณยรรยงที่ ครม. เมื่อ 13 พ.ค. 2552 ประเด็นที่ได้ประโยชน์และสามารถนำไปปรับใช้ได้

ข้าราชการการเมือง ซึ่งมีอำนาจสั่งการและกำกับดูแลในหน่วยงานราชการ หากจะดำเนินการอย่างไร ต้องรอบคอบ ระมัดระวัง และจะต้องตั้งทีมที่ปรึกษาหารือก่อนนำไปปฏิบัติ และต้องติดตามการประเมินผลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ติดกับดัก ในการหาแสวงผลประโยชน์จากนักการเมืองที่สั่งการ

3.ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศปีหน้า ประเด็นที่ได้ประโยชน์และสามาถนำไปปรับใช้ได้

การให้ความสำคัญเรื่องการจัดการด้านจัดสรรทรัพยากร เพื่อใช้อย่างคุ้มค่าระมัดระวัง ให้มองถึงความยั่งยืน และประเด็นสำคัญด้านทรัพยากรมนุษย์ ผู้บริหารองค์กร ต้องสร้างองค์กรแห่งการศึกษาเรียนรู้และสร้างความผูกพันและความสุขให้คนในองค์กร

นายสมฤกษ์ กุลวนาโรจน์ สกย.จ.อุบลราชธานี

25 กรกฏาคม 2554

นางสาวพัชราภรณ์ ศิลาลาย

1. 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela

           จากการศึกษาแนวทางเรื่องภาวะผู้นำของอดีตประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ Mr.Nlson Mandela  ซึ่งโลกให้การยอมรับมากและเห็นว่าจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครเทียบเคียงได้

            ในความเห็นส่วนตัวรู้สึกชื่นชมมาก สิ่งแรกสุดที่ประทับใจคือตั้งแต่เริ่มแรกท่านเป็นคนที่มุ่งมั่นสูงในการช่วยคนผิวดำให้หลุดพ้นจากการเหยียดผิวของคนผิวขาว การเหยียดผิวเป็นเรื่องทุกข์มากนำมาซึ่งความแตกแยกและสร้างคามเจ็บปวดให้คนผิวดำอย่างมาก จะเห็นว่าท่านมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะทำสิ่งนี้ให้สำเร็จ ไม่อาฆาตพยาบาท แม้จะลำบากจนต้องถูกขังในคุกเป็นเวลา 27 ปี ก็ไม่ย่อท้อ จนในที่สุดประสบความสำเร็จ สามารถสร้างความปรองดองระหว่างคนผิวดำกับผิวขาวได้อย่างถาวร  และเมื่อออกจากคุกท่านก็ได้ประกาศตัวไม่ขอรับตำแหน่งประธานาธิบดีอีกต่อไป ยอมสละตำแหน่ง ยอมสละอำนาจในเวลาอันควร รู้จักพอในเวลาที่พอเหมาะ ต่างจากผู้นำบ้านเราที่กระทำสวนทางกับ Mandela โดยสิ้นเชิง มีความอาฆาตพยาบาท เอาประเทศชาติเป็นเดิมพันในการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งอำนาจ และไม่รู้จักพอ จนนำมาซึ่งความแตกแยกของคนในชาติ จนยากที่จะเยียวยา ณ วันนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหาทางปรองดองกันได้อย่างไร

 2. ศึกษากรณีคุณยรรยง ที่ ครม.

        จากข่าวกรณีขออนุมัติ ครม.ประมูลข้าวโพดของกระทรวงพาณิชย์ เห็นว่าประเด็นนเป็นเรื่องระดับนโยบายของ กระทรวง รมต.ควรจะแถลงเอง ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเสมอที่นักการเมืองใช้ข้าราชการเป็นเครื่องมือ เมื่อมีปัญหาตัวเองก็จะพ้นผิด เท่าที่ทราบคุณยรรยงเป็นข้าราชการที่ดีคนหนึ่งที่มีจุดยืนไม่ยอมศิโรราบให้นักการเมืองมาหาผลประโยชน์ ลักษณะนี้คือยอมหักไม่ยอมงอ ซึ่งก็ไม่ดีนักในบรรยากาศของการทำงาน น่าจะหาวิธีแบบกลางๆเหมือนกฎข้อหนึ่งของ Mandela ที่ว่าการเป็นผู้นำอย่าไปเน้นถูกต้อง 100 % หรืออย่าไปเน้นขาวหรือดำ 100% บางครั้งเราต้องมีทางออกที่พบกันครึ่งทาง มีการประนีประนอมที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้และหาทางตกลงกันได้แบบ win win จะดีกว่า

 3. ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า

        จากการที่กูรูทางด้านเศรษฐกิจหลายๆท่านให้ความเห็นในเรื่องเศรษฐกิจไทยในปีหน้า โดยส่วนตัวเห็นด้วยว่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เราก็ต้องหาทางให้มีเสถียรภาพคือทำอย่างไรให้สินค้าไทยติดตลาดและมีตลาดใหม่ๆเพิ่มขึ้น จึงเห็นว่าต้องหาความแตกต่างของสินค้าโดยการส่งเสริมให้มี creativity และ innovation

         นอกจากสนใจเฉพาะเรื่องการเงิน, การตลาดแล้วก็ต้องสนใจเรื่องคน หรือเรื่องทรัพยากรมนุษย์ สร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่มีความรู้และชอบท้าทาย เพื่อจะได้เป็นตัวขับเคลื่อนในเรื่องการ manage องค์กรให้มีการจัดการที่ดี ให้ทุกคนในองค์กรทำงานโดยทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจมี passion ในการทำงาน ผลิตสินค้าให้คุณภาพ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดจนนำไปสู่ความเป็นเลิศขององค์กรและ productivity

4.  บทความเศรษฐกิจไทย..เกษตร,ท่องเที่ยว,รักษาพยาบาล ระดับโลก world class ?

         มองในภาพรวมเห็นด้วยว่าไทยมีความโดดเด่นใน 3  เรื่องนี้ และถ้าพิจารณาให้ลึกๆแล้วเรายังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขมากที่สุดคือที่ตัวคน คนยังขาดศักยภาพและคุณภาพ ถ้าเป็นแรงงานส่วนมากก็เป็นแรงงานไร้ฝีมือ จึงขอวิเคราะห์เป็นเรื่องๆ ดังนี้

        ประเด็นแรก ในเรื่องเกษตรกรรม โดยภาพรวมประเทศไทยมีแรงงานไร้ฝีมือในภาคเกษตรมาก คือทำงานได้รับค่าจ้างพอกินไปวันๆ เพราะฉะนั้นต้องเน้นให้การพัฒนาประชากรกลุ่มนี้ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าภาคเกษตร ตัวอย่างที่เห็นชัดๆคือไทยผลิตยางพารา 40% ของโลก ส่งออก 30% ปัจจุบันการแปรรูปทำได้เพียง 10% แต่ทำรายได้ 1.4 แสนล้านบาท ลองคิดดูหากเพิ่มการแปรรูปอีก 10% รายได้จะเพิ่มเท่าตัวคือ 2.8 แสนล้านบาท

        ประเด็นที่ 2 ภาคการท่องเที่ยว จากข้อมูลเห็นว่าเรามีการจ้างงานในภาคนี้มากและรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นรายได้มหาศาลที่จะนำเข้าประเทศ เราได้เปรียบในเรื่องทรัพยากร ภูมิประเทศสวยงามที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวเมืองเรา แต่เราก็ยังมีจุดอ่อนมากในเรื่องคน มีการทำร้าย, เอาเปรียบนักท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆตามที่เป็นข่าวอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นเราควรมาเตรียมคนเพื่อให้มีศักยภาพ โดยเฉพาะภาคบริการ มัคคุเทศก์, บริษัททัวส์ต่างๆให้มีความรู้ในเรื่องภาษา ให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวให้ได้รับความสะดวกและความพึงพอใจในการใช้บริการ

             ประเด็นสุดท้ายเรื่องการรักษาพยาบาลและสุขภาพอนามัย จะเห็นว่าในช่วงไม่กี่ปีนี้ชาวต่างชาตินิยมมาใช้บริการรักษาพยาบาลตามโรงพยบาลต่างๆในประเทศเรา เนื่องจากบ้านเรามีบริการที่ดีเยี่ยมและค่ารักษาพยาบาลเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆโดยเฉพาะซีกโลกตะวันตก ของเราจะถูกกว่ามาก เราจึงควรฉกฉวยโอกาสความได้เปรียบในการแข่งขันตรงนี้มาพัฒนาเพื่อให้โรงพยาบาลของเราเป็น HUB ในการรักษาพยาบาลและการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ชาวต่างชาติโดยเฉพาะเศรษฐีกระเป๋าหนักจากเอเซียตะวันออกกลาง เช่นบรูไน หรือจากซีกโลกตะวันตกมาใช้บริการของเรามากขึ้น

         โดยสรุปการจะให้เศรษฐกิจไทยทั้ง 3 ด้านไปถึงระดับโลก world class ได้ก็ต้องเริ่มที่คน ภาครัฐจึงจำเป็นต้องทุ่มงบประมาณเพื่อสร้างคนให้มีศักยภาพในทุกๆด้าน ซึ่งเป็นตามหลักที่ว่าประเทศไหนมีคนมีความรู้หรือปัญญามาก ผลผลิตของสินค้าก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

 

      

 

นายปรีชา บุญคงแก้ว

จากการอ่านบทความ บทเรียนจากความจริง ดร.ธีระ หงส์ลดารมย์

1. 8 บทเรียนของ Mandela ประเด็นที่ได้ประโยชน์และนำปรับใช้ได้

- ผู้นำต้องมีทักษะที่ผู้นำทุกคนต้องมีคือต้องรู้ปัญหาต่างของลูกน้อง หรือ เพื่อนร่วมงานที่ทำ และหาทางปรับปรุง

ผู้นำไม่ใช้แต่นั่งสั่งการอย่างเดียว ผู้นำต้องฝึกฝนให้ลูกน้อง หรือ ผู้ร่วมงานไปสู่ความสำเร็จ ผู้นำต้องมีความคิดสร้างสรรค์

มีแนวคิดใหม่ ๆ เสนอวิธีการ ที่จะทำให้องค์กรโดดเด่น ทำให้องค์กรมีพลังมากขึ้น

- ได้เรียนรู้ 8 ประเด็น คือ ความกล้าหาญ ถึงแม้จะอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ ก็สามารถที่จะจุดประกายให้คนอื่นไปสู่ความเป็นเลิศได้ การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้าไม่เปิดให้แนวหลังมีความอ่อนแอ ต้องรุกได้ และ รับได้ โดยไม่ประมาท การนำอยู่ข้างหลังคนที่เรายกย่อง

ให้มีบทบาทอยู่ข้างหน้าต้องให้เข้ารู้สึกว่าเข้าได้ภูมิใจ การบริหารศัตรู ศึกษาศัตรูให้ดี รู้จังหวะศัตรู และเพื่อนคู่แข่ง และไกล้ชิด มีภาพลักษณ์ที่ดี มีคำว่าพอ หรือถอย จนสามารถปองดองคนในชาติ ให้หลุดพ้นจากการเยียดสีผิว ทำให้เกิดสันติภาพ ขึ้นอย่างถาวรในประเทศของเขา

2. ศึกษากรณี คุณยรรยงที่ครม.

- ข้าราชการ การเมือง จะมีอำนาจในการสั่งการ หรือมีอำนาจมากกว่า ข้าราชการประจำ ข้าราชการต้องมีความรอบคอบ

ในการใข้วิจารณญาณที่เหมาะสม ต้องศึกษา และ สร้างประสบการณ์ และ มีความสัมพันธ์อันดีกับนักการเมือง เพื่อที่จะ

ทำงานกับนักการเมืองได้ โดยไม่มีปัญหา และ อุปสรรค์ นักการเมืองมักจะใช้อำนาจในทางผลประโยชน์ส่วนตน

- ประเด็นที่นำไปปรับใช้

ผู้บริหารต้องมีคุณธรรม และ จรรยาบรรณในเรื่องประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

และการทำงานต้องมีความรอบคอบ และต้องใช้วิจารณญาณ

3. เศรษกิจไทย...เกษตร, ท่องเที่ยว , รักษาพยาบาล ระดับโลก World Class ?

- ประเทศไทย มีศักยภาพ และสามารถแข่งขัน ได้อย่างมีคุณภาพ สร้างรายได้ มี พื้นฐานระดับโลก 3 อย่าง

คือ เกษตร , การท่องเที่ยว , การรักษาพยาบาล และสุขภาพอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การท่องเที่ยวเมืองไทย

มีแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ นักท่องเที่ยว และ บริการของคนไทยที่มีมารยาท วัฒนธรรม มีบริการที่ดีเลิศ แต่ต้อง

พัฒณา การขนส่ง , บริษัททัวร์ , ของที่ระลึก , ร้านอาหาร เป็นต้น จึงจำเป็นต้อง มีการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

เช่นเรื่อง ภาษา , การเป็นอยู่ประกอบการ , การบริหารจัดการสมัยใหม่ , การใช้ IT

- ภาคเกษตร ต้องทำการแบบแผนใหม่ ให้มีมูลค่าเพิ่ม

นำมาปรับใช้

- ทำยางพาราให้ครบวงจร ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

- สร้างมูลค่าเพิ่ม ยางพาราให้มากกว่าเดิม

4. ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า

การพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทย ต้องพัฒนาหลายด้าน คือด้านเศรฐกิจ และด้านการศึกษา คนไทยต้องคิดเป็นไฝ่รู้

ต้องชอบอ่านหนังสือ และเรียนรู้ตลอดชีวิต เรื่องพลังงานอย่าแทรกแซงพลังงาน จัดสรรทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ต้องมีความยั่งยืน

ต้องหาพลังงานทดแทน และต้องประหยัดพลังงาน เรื่องส่งออก การส่งออกสินค้าหลากหลาย การค้ากับต่างประเทศ การส่งออก

ก็มีความสำคัญ แต่ต้องบริโภคในประเทศให้มากขึ้น ภาคการเกษตรต้องพึ่งพาหาตลาดใหม่ ต้องปรับปรุงโลจิสติกส์ ทั้งนี้ทั้งนั้นที่สำคัญขาดเสียไม่ได้ องค์กรต่าง ๆ ต้องเอาจริงกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง

การนำมาปรับใช้

- การพัฒนาองค์กรให้มีความก้าวหน้า ให้ม้มีความสำเร็จ ตามความมุ่งหมาย และตามประสงค์ต้องมองหลายด้าน

นายสุทัน ไชยสุวรรณ

ศึกษา คุณยรรยง พวงราช ที่ครม.

      ตามที่ท่านอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์ ได้รับเคราะห์กรณีการให้ที่คุณยรรยง  พวงราช ทำหน้าที่อธิบาย ครม. เรื่อง ประมูลข้าวโพดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2554 ทำให้ผู้อ่านเข้าใจกับบทบาทของข้าราชการประจำกับบทการเมือง

        คุณยรรยง  ตัดสินใจมาก่อนแล้วโดยเลือกที่จะทำหน้าที่แทนคุณพรทิวา รมต. กระทรวงพาณิชย์ ในการนำเสนอรายละเอียดในการประมูลข้าวโพด ต่อ ครม. ด้วยเหตุการณ์ที่ว่า คุณพรทิวา เป็นผู้บังคับบัญชาดดยตรง ที่จะให้คุณให้โทษได้
  • คุณบรรยง คงคิดว่า คุณพรทิวาส่งจัดพรรคร่วมรัฐบาล (ภูมิใจไทย) ซึ่งมีอำนาจในการต่อรองสูง จึงมองข้าม ครม. ของท่านนายกอภิสิทธิ์ด้วย อย่างไรเสียทางคุณพรทิวา สนันสนุนตัวเองในอนาคตคงไม่มีปัญหา
  • คุณบรรยง แม้จะเก่งและดี แต่ยังขาดความกล้าหาญที่จะปลดแอกพันธการมีนักการเมืองมีมาให้ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่ข้าราชการประจำส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนี้

       ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่กล้าชนนักการเมืองที่ฉ้อฉลหรือไม่มีธรรมิบาลก็มีปรากฎให้เห็นในสังคมไทย แต่ยังมีจำนวนชอบปิด สมมุติว่าข้าราชการส่วนใหญ่ต้องยืนข้างความถูกต้องและสนับสนุนข้าราชการที่กล้าเข้ารับหน้ากับนักการเมืองอย่างจริงจัง เพราะเมื่อสิ้นศักดิ์ศรีข้าราชการก็จะกลับมา

ปัจจัยท้าทยต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทสไทยปีหน้า

                               (ปี2553)

         ผมคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่รักในหลวง แต่แปลกที่ไม่ประพฤกปฏิบัติตามพระบรมราโชวาท เพื่อให้พระองค์ท่านมีความสุขอันได้แก่ การมีสติ มีปัญญา มีความซื่อสัตว์สุจริต และคิดเพื่อส่วนรวม

          อย่างไรก้อตามประเทศไทยยังมีความโชคดีที่ยังมีกลุ่มคนไทยที่รักชาติ ที่จะกล่าวถึงก็คือ ท่านอาจารย์ดร.จีระ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสดงฟอร์ด กลุ่มไทยยั่งยืนและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรระหว่างประเทศ ได้ร่วมกันจัดสัมมนา โดยมีครูทางเศรฐกิจและการเมืองให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มาก

          ดร.กอร์ปศักดิ์ ภูตระกูล พูดเรื่องเศรฐกิจไทยปี 2553 ผมเห็นด้วยว่าเศรฐกิจไทยมีพื้นฐานที่ดี มีรายได้จากการส่งออก ท่องเที่ยว เกษตรและอุตสาหกรรม แต่ว่าข้อเสียก็คือ ยังต้องพึ่งทางตลาดต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่หาก อเมริกา และยุโรป แก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจไม่ได้ เราอาจได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย

         ท่านอ.จีระ พูดถึง โครงการไทยเข้มแข็ง ที่จะมีเม็ดเงินกระตุ้นเศรฐกิจนั้น ผมเห็นด้วย แต่โครงการไทยเข้มแข็งมีจุดออ่นไม่ชอบในเรื่องความไม่โปรงใส่ของนักการเมือง ที่สำคัญ อ.จีระ พูดถึง ทางมนุษย์ซึ่งประกาศไทยต้องจัดทำเป็นวาระแห่งชาติ และเป็นเรื่องแรกที่สำคัญที่สุด เรื่องพลังงานทดแทนประกาศเราต้องมีจุดเริ่มต้นวันนี้เลยจะรอให้น้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติ พลังงานถ่านหินหมดก่อนไม่ได้ แม้กระทั่งเรื่องพลังงานทดแทนต้องใช้เวลาดำเนินการนานมาก สำหรับเรื่องโลจิสติกส์ผมคิดว่าสำคัยมากเพราะจะช่วยเรื่องลดการใช้พลังงานและต้นทุนการผลิตและสำคัญที่สุดก็คือสิ่งแวดล้อมต้องมีการปลูกฝังให้คนไทยอยู่กับสภาพแวดล้อมธรรมชาติอย่างกับญาติมิตร

        ดร.สรศักดิ์  เกษมสุวรรณ พูดเรื่องคนไทยได้ตรงแต่แรงไปหน่อยที่ว่าคนไทย คิดไม่เป็น ไม่ไฝ่รู้ ไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผมคิดว่าเพราะคนไทยเป็นเช่นนี้แหละ ท่านอ.ดร.จีระ จึงยังคงต้องทำงานหนักเรื่องทุขมนุษย์

         ทิศทางพลังงาน คุณมนูญ  ศิริวรรณ ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลอุดหนุนราคาน้ำมัน เพราะราคาไม่สะท้านความเป็นจริง ทำให้คนไทยไม่ปรับตัวจะส่งผลเสียทางด้านวินัยของคนไทยและด้านเศรษฐกิจระยะยาวต่อไป

          คุณประพัฒน์  โพธิวรคุณ ได้พูดถึงความโชคดีที่การส่งออกในด้านอุตสาหกรรมสามารถขยายตลาด ASEAN ได้มากรวมถึงได้มีตลาดใหม่ ๆ ด้วย ผมคิดว่า การหาตลาดใหม่ ๆ และขยายตลาดเดิมเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากเพราะช่วยกระจายความเสี่ยงเศรฐกิจของประเทศ

          ผมเห็นด้วยกับคุณสมชาย สาโรวาท ที่ประเทศต้น ดำเนินนโยบายคู่ขนาน ทั้งการต่างประเทศ และการบริโภค ภายในประเทศและเพื่อแก้ปัญหาปัจจัยเสี่ยง หาตลาดใหม่ต้องช่วยกันทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน จัดทำแผนแม่บทเรื่องโลจิสติกส์เชิงกลยุทธ์ เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุนอย่างจริงจัง

           ต่อความเห็นของท่านประกาย  ชลหาญ เกี่ยวกับ HR ซึ่งตรงกับความเห็นของหลายท่านที่ให้มนุษย์มาว่า HR เป็นเรื่องสำคัญที่กระทำให้กับองค์กรมีความยั่งยืน ผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าประเทศไทยจะยั่งยืนได้ต้องพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อไปสู่ทุนปัญหา แล้วสร้าง Creativity และ Innovation เพิ่มมูลค่าเพิ่มแก่เศรษฐกิจชาติ

เศรษฐกิจไทย,เกษตร,ท่องเที่ยว,รักษาพยาบาล ระดับโลก

                           (23 เม.ย. 54)

          ด้านการเกษตร ผมเห็นตัวเลขสัดส่วนของ GDP ภาคเกษตร ต่ GDP ปัจจุบัน อยู่ที่ 8 - 9 % มีผู้อยู่ในภาคแรงงาน 45% แสดงถึง Productivity ต่ำมากจึงได้จริงตามนั้น ถ้าจะมองเป็นชนิดพืชเกษตรที่สำคัย ๆ ได้แก่

           ข้าว ชาวนาเรามีผลผลิตประมาณ 400-500 ก.ก./ไร่ หรืออย่างเก่ง 1000 ก.ก./ไร่ ขณะนี้ประเทศจีนมีพันธุ์ข้าวให้ผลิตผล 2000 ก.ก./ไร่

            ยางพารา ยางผลิตเฉลี่ยส่วนประเทศ 278 ก.ก./ไร่  ขณะที่มาเลเซีย มีผลผลิต กว่า 400 กก./ไร่

            พืชอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย ฯลฯ  ล้วนผลผลิตต่อไร่ต่ำ และหากยังมองไปไกลถึงคุณภาพผลผลิต ยังคงต้องปรับปรุงคุณภาพอีกมาก

             ถ้าหากประเทศไทยจะต้องการเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ทันสมัย และเป็นครัวโลก ต้องมี R&D พร้อมงบประมาณรองรับให้พอเพียง ในการคิดค้นวิจัยพัฒนาพันธุพืชเศรษฐกิจให้เพิ่มผลิตภาพ และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก       รวมทั้งการพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่

              ด้านการท่องเที่ยว ผมคิดว่าประเทศไทยโชคดีที่เรามีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่ไม่ต้องลงทุน และได้เงินตราจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศจำนวนหลายแสนล้านบาท แต่มีข้อควรระวังไว้อย่างยิ่ง ก็คือ การดูแลรักษาแหล่งธรรมชาติไม่ให้เกิดการเสียสมดุลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เราคงไม่อยากเห็นแหล่งท่องเที่ยวของเราเสื่อมโทรมและหมดคุณค่าเมื่อเวลาผ่านไป แม้เราจะได้เงินตรามากมายเท่าไร ผมคิดว่าไม่คุ้ม

          ดังนั้น การดูแลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน ต้องมีการบริหารจัดการที่ทันสมัย รวมทั้งเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรม  เน้นเรื่องราวตำนานทางประวัติศาสตร์โดยไม่ต้องลงทุนด้านเงินทุนเลย  แต่ต้องลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ ตามที่ท่าอาจารย์วีระ เสนอแนะไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  หากอยากเห็นประเทศไทยมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่นำรายได้เข้าประเทศมหาศาล และมีความยั่งยืน

          ด้านการรักษาพยาบาลและสุขภาพอนามัย

          ผมคิดว่าคนไทยเรามีจุดแข็งไม่แพ้ชาติใดในโลก  ดังที่ชาวโลกกล่าวขวัญถึง ยิ้มสยาม ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม ความอ่อนน้อมอ่อนหวาน สิ่งเหล่านี้เอง วันนี้ทำให้ประเทศเรามีโอกาสที่จะเป็นเลิศด้านบริการที่ประทับใจ ด้านการรักษาพยาบาลและสุขภาพอนามัย ยิ่งประกอบกับเรามีบุคลากรทางการแพทย์ที่ยอดเยี่ยม และมีคุณภาพอันดับต้นๆ ของโลก

          นโยบายรัฐบาลต้องสนับสนุนเอกชนอย่างเต็มที่ ในการขับเคลื่อนให้ไทยสามารถมีศักยภาพความเป็นเลิศด้านรักษาพยาบาลและสุขภาพอนามัย ซึ่งต้องมีการลงทุนอย่างเต็มที่กับทุนมนุษย์ เมื่อเป็นความน่าเชื่อถือศรัทธาของลูกค้าต่างชาติ  อันจะนำมาซึ่งคุณค่าทางเศรษฐกิจของชาติอย่างยั่งยืน

 

                                                      นายสุทัน   ไชยสุวรรณ

 

 

 

จันทร์ทิพย์ อภิจิตรานนท์

บทความที่ 1.  8 บทเรียนผู้นำของ Mandela

ประโยชน์จากการอ่านบทความ

       ทำให้ได้ทราบคุณลักษณะของผู้นำทั้ง 8 ประการของMandela ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญมาก คือ

       -  ผู้นำจะต้องมีความกล้าหาญ สามารถจุดประกายให้คนอื่นสามารถไปสู่จุดของความเป็นเลิศได้

      -  การเป็นผู้นำจะต้องสามารถอยู่ได้ทั้งข้างหน้า และข้างหลัง หมายถึง ถ้าอยู่ข้างหน้า ก็อย่าเปิดแนวหลังให้อ่อนแอ  ถ้าอยู่ข้างหลัง ก็ต้องยกย่องให้คนข้างหน้านำได้อย่างสมศักดิ์ศรี

       -  ต้องรู้จักบริหารศัตรู คือรู้ดีว่าเขาชอบอะไร และต้องใกล้ชิดได้ทั้งเพื่อนและคู่แข่ง

       -  ต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี

       -  ผู้นำจะต้องรู้จักประนีประนอม แต่รักษาหลักการไว้

       -  ผู้นำจะต้องสามารถวิเคราะห์แบบ 360 องศา เพื่อปรับวิธีคิดและวิธีทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์

      จากประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ มีประโยชน์มากถ้าผู้นำทุกท่านนำมาปรับใช้ใน สกย.ของเรา ทำให้ได้ผู้นำที่มีความเข้มแข็ง และสามารถจุดประกายให้ทุกคนใน สกย. สามารถไปสู่จุดของความเป็นเลิศได้ ดังเช่นที่ สกย.ตั้งเป้าไว้ว่าปี  2556 สกย.จะเป็นรัฐวิสาหกิจดีเด่นให้ได้

บทความที่ 2.  ศึกษากรณีคุณยรรยงที่ ครม.

ประโยชน์จากการอ่านบทความ

        - ทำให้ได้ทราบถึงสถานการณ์ระหว่างข้าราชการกับนักการเมือง ซึ่งถ้าข้าราชการยอมที่จะทำตามนักการเมืองทุกอย่าง ก็จะทำให้คุณค่าของข้าราชการนั้นหายไป หรือทำให้ขาดความน่าเชื่อถือทั้งที่เป็นคนเก่งมีความสามารถ

        - สิ่งที่สำคัญที่ข้าราชการควรมี คือ ต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน มีความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณที่เหมาะสม และต้องทำเพื่อประเทศชาติไม่ใช่นักการเมือง

       จากบทความนี้ สามารถนำมาปรับใช้กับ สกย. คือ ผู้นำของ สกย. ก็ควรจะมีความรอบคอบในการบริหารงาน สกย. และยึดหลักการทำงานที่ดี มีข้อมูลครบถ้วนที่จะชี้แจงหากไม่เห็นด้วยกับนักการเมือง

บทความที่ 3.  ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า

ประโยชน์จากการอ่านบทความ

         - ในเรื่องของเศรษฐกิจไทย จะให้ฟื้นตัวจะต้องมีการจัดสรรทรัพยากรให้คุ้มค่า และต้องมีการหาพลังงานทดแทน รวมถึงการประหยัดพลังงาน

         -   ทิศทางอุตสาหกรรม มีการขยายตลาดไปยังตลาด ASEAN ได้ดี

         -  ทิศทางการค้าต่างประเทศ การส่งออกยังมีความจำเป็น แต่คนไทยเองควรจะมีการส่งเสริมให้มีการบริโภคในประเทศให้มากขึ้น และต้องปรับปรุงโลจิสติกส์จะได้ทำให้ต้นทุนลดลง

        -  แนวโน้นการบริหารคน  ผู้นำจะต้องเน้นเรื่องทรัพยากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้น เพราะต้องมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งคนจะต้องเป็นตัวขับเคลื่อน และสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้กระจายไปทุกระดับในองค์กร

         จากบทความสิ่งที่ สกย. ควรนำมาปรับใช้คือการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และเน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มากขึ้น เพราะไม่ว่าการทำงานใดๆ จะสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยมนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อน จึงควรมีการลงทุนกับเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ให้มากขึ้นด้วย

บทความที่ 4.  เศรษฐกิจไทย....เกษตร ท่องเที่ยว รักษาพยาบาล ระดับโลก World Class?

ประโยชน์จากการอ่านบทความ

         -  ทำให้เห็นความสำคัญของทุนมนุษย์ เพราะคนไทยมีความเก่งอยู่ในตัวแต่ขาดการสนับสนุนเรื่องการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ทำให้คุณภาพด้อยลงไป ถ้าจะให้เกิดความยั่งยืนก็ต้องพัฒนาเรื่องคุณภาพทุนมนุษย์อย่างจริงจัง ประเทศไทยจึงจะไปสู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

         -  ภาคการเกษตรก็เช่นเดียวกัน ต้องมีการพัฒนาให้เป็นเกษตรแนวใหม่ มีมูลค่าเพิ่มมากกว่าเดิม พัฒนาทั้งผู้ประกอบการ การบริหารจัดการผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และพัฒนาอาหารไทยให้มีคุณภาพในระดับโลก

          จากบทความนี้สามารถนำมาปรับใช้ใน สกย. คือ สกย.จะต้องเน้นเรื่องทุนมนษย์อย่างจริงจัง มีการพัฒนาพนักงานทุกระดับ เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน และจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตยางพาราให้เป็นผลิตภัณฑ์ระดับโลกให้ได้เช่นเดียวกับแนวคิดของอาหารไทยในระดับโลก

นายทหาร รัตนากาญจน์

จากบทเรียนผู้นำของ Mandela ได้รับประโยชน์จากการอ่านบทความ

 เกี่ยวกับภาวะผู้นำซึ่งเป็นการสะสมจากประสบการณ์เป็นาวลานาน เป็นตัวอย่างเรื่องความมุ่งมั่นตั้งใจจริงถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ยากมากๆ และเกี่ยวข้องกับการสร้างความปรองดองอย่างจริงใจทำให้เกิดสันติภาพขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร คนเป็นผู้นำจะต้องไม่บ้าคลั่งอำนาจเงินและอำนาจการเมือง การเป็นผู้นำในแบบของ Mandela ต้องมีความกล้าหาญ กล้าจุดประกายเป็นRole  Model  การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า ต้องรุกได้ แต่ต้องตั้งรับและไม่ประมาท  การนำอยู่ข้างหลัง ต้องสร้างความรู้สึกว่าเขานำจริง ไม่ใช่ทำแบบนอมินี การบริหารศรัตรู ต้องรู้จักเข้าดีว่าเขาชอบอะไร การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อน กับคู่แข่งส่วนคนที่เราไม่ชอบต้องใกล้ชิดมากกว่า ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี ปรากฎตัวตามที่ต่างๆ อย่ามีเกียรติและสง่างาม เวลลาพบผู้คนต้องยิ้มและมีความเป็นกันเอง  ไม่เน้นถูกหรือผิดแบบ 100%

หาทางตกลงกันแบบ win-win และการเป็นผู้นำทีดีต้องรู้ว่าจังหวะไหนจะพอ หรือจะถอย และต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์แบบรอบด้านเพื่อปรับวิธีคิดและวิธีทำงาน   สำหรับการนำไปปรับใช้ภายในองค์กรของ สกย.นั้นจะต้องปรับวิธีคิดและวิธีการทำงานทั้งระบบทั้งผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติไปพร้อมๆกัน

  ศึกษากรณีคุณยรรยง ที่ ครม.  เป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นข้าราชการที่ดีมีความมุ่งมั่น

มานะอดทน ใฝ่รู้  แต่การที่มีจุดยืนไม่มีความยืดหยุ่นไม่ควรจะใช้กฏข้อกลาง ๆ ของ

Mandela  คือการเป็นผู้นำ ๑๐๐ %  บางครั้งเราต้องมีการยืดหยุ่น  พบกันครึ่งทางประณี

ประณอม  ปรองดอง ในความเหมาะสมตกลงกันได้แบบ Win-Win

         ๓. ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า

         การมองแบบหลายด้าน Traditional คือ การมองเศรษฐกิจการเงิน  การค้าระหว่าง

ประเทศการตลาดแล้ว  ต้องสร้างความศึกษาให้เป็นเลิศ  ต้องสนใจในเรื่องคนหรือ

ทรัพยากรมนุษย์  สร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่ชอบท้าทาย  สามารถสร้างความผูกพันความสุขให้คนในองค์การ  การทำงานต้องสำเร็จเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง

          ๔. บทความเศรษฐกิจไทย  เกษตร,การท่องเที่ยว,รักษาพยาบาล ระดับ Worl class

          มองภาพรวมประเทศไทยมีความเก่งทั้ง ๓  ด้าน  แต่ยังขาดความรู้หรือศักยภาพ

ของทุนมนุษย์ ในทั้ง ๓  สาขา  ที่จะนำไปสู่งความเป็นระดับโลกให้ได้  ความเสี่ยงเรื่อง

คนไทยไม่เป็นไม่ใฝ่รู้  ไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ควรจะมีการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่องและ  พัฒนาการให้บริการแบบไทย ๆ  พัฒนาพนักงานระดับล่าง

และระดับกลาง  การทำให้เกษตรกรเป็นเกษตรแนวใหม่  เป็นเกษตรกรระดับโลกจะต้อง

เรียนรู้หลักสูตร "การสร้างผู้ประกอบการจากเกษตรกร" พัฒนาการบริหารจัดการสมัยใหม่ผสมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น  พัฒนาให้เป็น Thai Food ระดับโลก" 

 

"ค่ายผู้นำรุ่นใหม่ของ สกย. "  ส่งการบ้านคร้าบ

บทความที่ ๑

     ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาบทความเรื่อง "๘ บทเรียนผู้นำของ Mandela"  คือคุณสมบัติของความเป็นผู้นำของแมนเดลา  ๘  ข้อ  ความกล้าหาญ  การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า  การเป็นผู้นำอยู่ข้างหลัง   การจัดการบริหารศัตรู  ผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อน  ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี  การไม่เน้นถูกผิดแบบ ๑๐๐%  การรู้จังหวะ  "พอ"  หรือ  "ถอย"

     คุณสมบัติผู้นำ ๘ ข้อ  ของแมนเดลานั้น  เขาสั่งสมมาตลอด  ๙  ทศวรรษ  เช่นในเรื่องความกล้า ไม่ใช่ว่าเขาไม่กลัว แต่เขาเชื่อว่าผู้นำต้องแสร้งไม่กลัวเสียบ้าง  นิ่งเมื่อยามภัยมา ไม่ตื่นตูมเพื่อไม่ทำให้ลูกน้องเสียขวัญ  ในเรื่องของการนำอยู่ข้างหลัง เขาเชื่อว่าผู้นำไม่มีหน้าที่สั่งลูกน้องว่าจะต้องทำอย่างไร แต่มีหน้าที่หามติเอกฉันท์ในหมู่คณะและมีหน้าที่โน้มน้าวลูกน้องให้ทำในสิ่งที่ต้องอย่างมีศิลปะ

     เขาบริหารจัดการศัตรู เขาทำความเข้าใจศัตรู ศึกษาจุดอ่อนจุดแข็งของศัตรู เขาศึกษากีฬารักบี้ซึ่งเป็นกีฬาโปรดของคนผิวขาวในแอฟริกาใต้เพราะอยากเข้าใจแท็กติกการทำทีม เพื่อนำมาปรับใช้ในการเจรจา และเขาไม่ปล่อยให้ศัตรูอยู่ห่างตัว เขาสังสรรค์กับเพื่อนสนิทและศัตรูของเขาเป็นประจำ เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหวของศัตรู  เขาเชื่อว่าเสน่ห์ที่แท้จริงมาจากรอยยิ้มจริงใจ  ทำให้เขามีภาพลักษณ์ที่ดีอยู่เสมอ  เขามีความประนีประนอม รู้จักจังหวะพอ  จังหวะถอย

     ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้เขาสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นบนโลก  จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ๑๙๙๓

     คุณสมบัติความเป็นผู้นำทั้ง ๘ ข้อ สามารถนำมาปรับใช้กับผู้นำของ สกย. ได้ทุกข้อและที่สำคัญอีกข้อหนึ่งสำหรับสังคมแบบไทย ๆ ในปัจจุบันก็คือ  "ความมีคุณธรรมและจริยธรรม". 

 

บทความที่ ๒

     กรณีนายยรรยงในที่ประชุม ครม. นั้น สิ่งที่ได้ก็คือ  ได้เห็นว่าข้าราชการประจำเป็น "เหยื่อ" ของนักการเมืองเสมอ  เพราะประเทศไทยเลือกตั้งนักการเมืองเข้ามาเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำ  ถ้าสนองนโยบาย สนองผลประโยชน์ให้ฝ่ายการเมืองได้ก็รอดตัว  ถ้ารักษาประโยชน์ของชาติบ้านเมือง  แต่ขัดผลประโยชน์ ขัดนโยบายของฝ่ายการเมือง ก็ถูกโยกย้ายออกไปให้พ้นทางด้วยเหตุผล "เพื่อความเหมาะสม"  โยกพรรคพวกของตัวเองเข้ามา ข้าราชการประจำถูกบังคับให้เลือกข้างโดยอัตโนมัติมาโดยตลอด

     สำหรับนายยรรยงเมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว ท่านเป็นนักเรียนเรียนดีของจังหวัดศรีสะเกษ  เป็นนิติศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมและสอบได้เนติบัณฑิตในปีเดียวกัน (ปี ๒๕๑๗)  เป็นมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก มีลูกศิษย์เป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความมากมาย  เป็นคนเก่งและฉลาดในสายตาของนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี 

     ท่านมีเกียรติประวัติในด้านหน้าที่การงาน ความรู้ความสามารถมากมายขนาดนี้ท่านย่อมมีจุดแข็งของท่าน แต่บังเอิญไปเข้าทาง พรรคภูมิใจไทยในเรื่องประมูลข้าวโพด ๔.๕ แสนตัน และไปขัดลำท่านนายกฯ อภิสิทธิ์เข้า  เลยเกิดวิวาทะกันในที่ประชุม ครม.

     จากประวัติผลงานการทำงานของท่าน ผ่านตำแหน่งต่าง ๆ ในกระทรวงพาณิชย์ เป็นอาจารย์สอนกฎหมายมานับสิบปี มีประสบการณ์พอตัว  แต่ในบางครั้งบางสถานการณ์ หลักการและเหตุผลมันทับซ้อนอยู่กับผลประโยชน์ จึงไม่มีทางเลี่ยงเป็นอย่างอื่น

     เรื่องนี้สอนให้ผู้นำรุ่นใหม่ของ สกย. รู้ว่าการทำงานให้ประสบผลสำเร็จนั้น นอกจากมีข้อมูลดี ทีมงานดี มีความรอบคอบแล้ว เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง.  

บทความที่ ๓

     ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า (๒๕๕๓)

     ปัจจัยที่จะทำให้ประเทศพัฒนาและก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืนหรือไม่นั้น  ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การค้าต่างประเทศ สังคมและการศึกษา การพลังงาน ฯลฯ  ล้วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันทุกด้าน  ที่จะนำประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต 

     แต่ปัจจัยที่สำคัญและเป็นตัวขับเคลื่อนปัจจัยด้านอื่น ๆ ด้วยคือ ทรัพยากรมนุษย์ การให้การศึกษาแก่ทรัพยากรมนุษย์ของไทย  เพราะถ้าฅนไทยยังมีการระดับการศึกษาต่ำ ไม่มีการเรียนรู้ ไม่ใฝ่รู้ ไม่ชอบอ่านหนังสือ (ฅนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย ๘ บรรทัด/คน/ปี และหนังสือที่อ่านมากที่สุดเป็นหนังสือดารา นิยาย เรื่องย่อละครโทรทัศน์)  ก็ทำให้เป็นคนคิดไม่เป็น คิดไม่สร้างสรรค์ ไม่สามารถบริหารจัดการเรื่องเศรษฐกิจ การค้า ฯลฯ  ไม่สามารถนำพาประเทศไปสู่ความยั่งยืนในเรื่องต่าง ๆ ได้

     ประเด็นที่เป็นประโยชน์คือ  ประเทศไทยต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้คิดเป็นและคิดอย่างสร้างสรรค์

     สกย. จะต้องนำความคิดเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปพัฒนาพนักงานลูกจ้างทุกระดับ ทุกตำแหน่งใหรู้จักเรียนรู้ รู้จักคิด ในทางสร้างสรรค์.

บทความที่ ๔

     เศรษฐกิจไทย เกษตร ท่องเที่ยว รักษาพยาบาล World Class?

     จากบทความดังกล่าว เห็นได้ว่าประเทศไทยมีจุดแข็ง มีศักยภาพทั้ง ๓ เรื่อง มีภูมิประเทศ ภูมิอากาศเหมาะแก่การเกษตร  มีแหล่งท่องเที่ยว  มีแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีฝีมือ  แต่บุคลากรในด้านต่าง ๆ  ยังไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพถึงขีดสุด  ทั้งผู้ผลิต ผู้ประกอบการและภาครัฐที่ดูแลเรื่องเกษตร ท่องเที่ยว การรักษาพยาบาล สุขภาพและอนามัย

     ควรที่หน่วยงานต่าง ๆ ภาครัฐจะได้ให้การสนับสนุนและร่วมมือกันพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ให้ความรู้ด้านต่าง ๆ  เช่นความรู้ด้านการผลิต การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การตลาด  เพื่อให้ผลผลิตทั้งสินค้าและบริการของไทยมีคุณภาพสู่ระดับโลกได้อย่างยั่งยืนประเทศไทยขาดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ  ทำให้บุคลากรส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ

     สกย. ควรพัฒนาบุคลากรในองค์กรเพื่อให้มีศักยภาพถึงขีดสุด สามารถถ่ายทอดไปสู่เกษตรกร เพื่อเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ.

 

นายดำรงค์ ธรรมเพชร

ประโยชน์ที่ได้รับ และสามารถนำไปปรับใช้ กับ สกย.

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้รู้ถึงการต่อสู้ของผู้นำ ต้องใช้ความอดทน พยายาม  กล้าแสดงออกอย่างกล้าหาญ พร้อมด้วยความไม่ประมาทในการต่อสู้  และมีคุณธรรม จริยธรรม

        2. ได้แนวคิดในเรื่องของการเป็นคนเก่ง หรือจะเก่งได้ต้องทำงานร่วมมือกันได้ทุกภาคส่วน และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตนเอง

        3. การพัฒนาที่สำคัญ คือ การพัฒนาคน ให้มีความรู้ที่ทันสมัย และควบคู่กับคุณธรรม

          4. การอยู่ร่วมกับผู้อื่นต้องรู้นิสัย ใจคอของผู้อื่น เพื่อจะได้อยูร่วมกันอย่างมีความสุข

          5. การทำงานต้องใช้ความรอบคอบและการใช้วิจารณญาณ

          6. การหาข้อมูลให้ครบถ้วน และปรึกษา/หารือ ให้รอบคอบกับทีมงาน

          7. องค์ประกอบของการทำงาน คือ การมีสติ มีปัญญา มีความซื่อสัตย์สุจริต คิดเพื่อส่วนรวม

          8. การทำงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้ได้มุมมอง แนวคิดในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 

          9. การดำเนินธุรกิจ ต้องใช้ทรัพยากรที่ตนมีอยู่ จะทำให้กิจกรรมประสบผลสำเร็จสูง

          10. ค้นหาศักยภาพหรือความเป็นตัวตนให้พบ

นำไปปรับใช้ กับ สกย.

1. การเป็นผู้นำต้องใช้ความอดทน พยายาม  กล้าตัดสินใจ ความรอบคอบ และใช้ความรู้คู่คุณธรรม

        2. ทำงานร่วมมือกันได้ทุกส่วนงาน/หน่วยงาน

        3. การพัฒนาตนเอง และ สกย. ให้ก้าวหน้า โดยการพัฒนาพนักงาน ให้มีความรู้ที่ทันสมัย และควบคู่กับคุณธรรม

          4. ศึกษา เรียนรู้นิสัย ของผู้ร่วมงาน/ผู้อื่น เพื่อจะได้อยูร่วมกันมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน

          5. การเป็นผู้นำที่ต้องใช้ความรอบคอบและการใช้วิจารณญาณในการสั่งการ

          6. การหาข้อมูลให้ครบถ้วน/ถูกต้อง และปรึกษา/หารือ กับทีมงาน

          7. การมีสติในการไตร่ตรอง มีปัญญาในการตัดสินใจ และมีความซื่อสัตย์สุจริต คิดเพื่อส่วนรวม

          8. การบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาลในการพัฒนา สกย. 

          9. การเข้าใจตนเอง/ค้นหาศักยภาพหรือความเป็นตัวตนของตนเอง

 

        นายดำรงค์   ธรรมเพชร

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อ 1. ศึกษากรณี คุณยรรยงที่ ครม.

ทางด้านการเมือง

1. การเมือง เรื่องผลประโยชน์ แต่ประโยชน์นั้นได้กับใคร

2. ทุจริตเชิงนโยบายหรือไม่

3. นักการเมืองต้องมีคุณธรรมและธรรมาภิบาล ผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นหลัก

4. ผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่

ผลประโยชน์ที่จะได้จากกรณีนี้ ด้านบริหาร คือ

1. ผู้บริหารต้องมีประสบการณ์

2. ต้องมีความรอบรู้รอบคอบ

3. ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

4. ต้องมีหลักธรรมาภิบาล (ซื่อสัตย์ , โปร่งใส , ตรวจสอบได้)

5. ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี ในรอบด้าน

6. มีทีมงานที่ดี

7. ประนีประนอม มีวัตถุประสงค์

การนำไปใช้กับ สกย.

นำไปใช้ได้กับผู้บริหาร สกย. ทุกระดับตลอดจนถึงการนำไปพัฒนาให้กับผู้นำสถาบันเกษตรกร สกย.

สหกรณ์ สกย. และผู้นำเครือข่ายฯ

ข้อ 2. กรณีศึกษา 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela

ผู้นำที่ดีจะต้องมีความสามารถ 2 แนวคิด ดังนี้

1. Coaching - การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน, คือผู้ทำจะต้องรู้ปัญหาต่าง ๆ ของเพื่อนร่วมงาน และแนว

ทางปรับปรุงแก้ไข และต้องฝึกให้คนเป็นคนเก่งและป็นคนดี

- เก่ง 4 ได้แก่ เก่งงาน, เก่งคน, เก่งคน, และเก่งเรียน

- ดี 4 ได้แก่ ประพฤติดี, มีน้ำใจ, ใฝ่ความรู้, คู่คุณธรรม

2. Creativity - ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผู้นำทุกคนจะต้องมีวิสัยทัศน์, มีแนวความคิดใหม่ ๆ

ซี่งเป็นการคิดนอกกรอบ , มีการสร้างแรงจูงใจ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะก่อให้เกิดพลังในองค์กรขึ้น

ผลประโยชน์ที่ได้จากกรณีนี้ ด้านผู้นำ คือ

1. ผู้นำต้องมีความกล้าหาญอดทน และเป็นแบบอย่างที่ดี กล้าลงทุน คือเสียโอกาสวันนี้ ได้ผลประโยชน์

ตอบแทนที่มากขึ้นในวันข้างหน้า

2. ผู้นำที่ดีต้องไม่ตั้งอยู่ในความประมาท มีสติตลอดเวลา

3. ผู้นำต้องมีอุดมการณ์ที่มั่นคง

4. ผู้นำต้องรู้เขารู้เรา

5. ผู้นำต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

6. ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี

7. ผู้นำต้องประสานผลประโยชน์ได้ดี

8. ผู้นำต้องมีความพอดี ไม่ตกอยู่ในความโลภ โกรธ หลง

การนำไปใช้กับ สกย.

ใช้ได้กับพนักงาน สกย. ทุกระดับ

ข้อ 3 กรณีศึกษาปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า

สรุปการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะต้องมองหลาย ๆ ด้านมาประกอบกัน คือ การเมือง, เศรษฐกิจ, สังคม,

สิ่งแวดล้อม และต้องสร้างให้การศึกษาเป็นเลิศ และผู้นำในองค์กรต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญ

ต่อทรัพยากรมนุษย์ คือ

1. ทุนมนุษย์

2. ทุนทางปัญญา

3. ทุนแห่งความสุข

4. ทุนทางสังคม

5. ทุนแห่งความยั่งยืน

6. ทุนทาง IT

7. ทุนแห่งความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ถ้าประเทศไทยมีองค์ประกอบต่อต่าง ๆ เหล่านี้การพัฒนาก็จะเกิดความยั่งยืน

ข้อ 4 กรณีศึกษาเศรษฐกิจไทย...เกษตร, ท่องเที่ยว, รักษาพยาบาล ระดับโลก World Class?

ไทยเก่งใน 3 เรื่อง

- เกษตร

- ท่องเที่ยว

- การรักษาพยาบาล และสุขภาพอนามัย

ซึ่งทั้ง 3 เรื่องไทยมีโอกาสมากทางด้านทุนที่มาจากธรรมชาติ คือ ที่ดินอุดมสมบูรณ์ มีน้ำฝน มีทะเล

และสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม เหมาะสมทั้งทางด้านการเกษตรและการท่องเที่ยว

แต่ไทยก็มีปัญหาอุปสรรค การพัฒนาด้านการเกษตร, ท่องเที่ยว และการรักษาพยาบาล ดังนี้ คือ

1. แรงงานใช้ฝีมือทำงานไปวันๆ ขาดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ

2. ขาดการเรียนรู้ ในภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ

3. ขาดการบริหาร การจัดการสมัยใหม่

4. การใช้ IT

อุปสรรคทั้ง 4 ข้อ นี้มีอยู่ในหัวข้อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งประเทศไทยจะต้อง

ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ ทั้ง 5 ทุน คือ

1. ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity capital)

2. ทุนทางความรู้ (Knowledge capital)

3. ทุนทางนวัตกรรม (Innovation capital)

4. ทุนทางอารมณ์ (Emotional capital)

5. ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural capital)

การนำไปใช้ประโยชน์กับ สกย.

1. ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเป็นเกษตรอุตสาหกรรม (จากต้นน้ำกับปลายน้ำ)

2. ใช้ประโยชน์ในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเกษตรนิเวศน์

3. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นายวิพัฒน์ สุวรรณรัตน์

1. ผู้นำแบบนายเนลสัน แมนเดลา

ประโยชน์

1. มีความอดทน ความมุ่งมั่น และมีสติปัญญา

2. ความกล้าหาญ ความเป็นผู้นำ

3. มีภาพลักษณ์ที่ดี

4. การรู้จักพอ

ประเด็นปรับใช้กับ สกย.

สกย. ได้ให้ความสำคัญการพัฒนาบุคคลากรในองค์กร อย่างไรก็ตามผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดีทั้งความกล้าหาญ

นำพาองค์กรไปข้างหน้า หาวิธีการใหม่ๆ มาพัฒนาทีมงาน การสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน รวมทั้งใฝ่หาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

เรื่องที่ 1 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela

1. อ่านแล้วได้ประโยชน์ ในการนำไปพัฒนาตนเองในการเป็นผู้นำว่าควรจะต้องเป็นอย่างไร ปฏิบัติตนเช่นไรถึงจะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ใน 8ประเด็นหลักจึงเป็นแนวสำหรับใช้ปฏิบัติได้จริงเป็นอย่างดี

2. มีความรู้สึกว่า Mandela เป็นผู้นำที่จิตใจดี ไม่คิดอาฆาตผู้อื่น แม้แต่ตัวเองก็มีจิตใจไม่คิดตอบโต้ล้างแค้น แต่กลับสร้างความปรองดอง เพราะเขาเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล ทำให้คนผิวดำอยู่ร่วมกับคนผิวขาวได้โดยสันติ ทำให้เกิดสันติภาพและคนผิวดำก็อยู่ได้สงบสุข

3. ใน 8 ประเด็นหลักหรือความคิดของ Mandela นำมาปรับใช้ใน สกย. ได้ทุกกรณี ตั้งแต่ต้องมีความกล้าหาญในการเป็นผู้นำ สามารถจุดประกายให้ผู้อื่นนำไปสู่ความเป็นเลิศได้ และปรับใช้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ได้เข้าใจถึงจิตใจผู้อื่น ถ้าหัวหน้าได้ใจลูกน้อง การทำงานใดๆก็จะสำเร็จได้ง่ายและการพัฒนาเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรก็ต้องเข้าถึงจิตใจ รู้จักว่าควรส่งเสริมด้านใด หรือฟังความเห็นของผู้อื่น เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี

เรื่องที่ 2 ศึกษากรณีคุณยรรยงที่ครม.

1. อ่านแล้วรู้สึกว่าคุณยรรยงเป็นคนพูดจาตรงไปตรงมา แต่การพูดโดยไม่ดูกาลเทศะถึงจะพูดความจริง แต่ก็อาจถูก คนอื่นมองต่างมุมได้ เพราะฉะนั้นการเป็นผู้นำจะต้องคำนึงถึงกาลเทศะที่จะออกความคิดเห็นด้วย หรือรู้จักหลักการประนีประนอม

2. ได้ข้อคิดเตือนใจว่า ข้าราชการต้องซื่อสัตย์ในขณะที่ต้องฉลาดเฉลียวในการอยู่รอดกับการเมืองบางยุค

3. สามารถนำมาปรับใช้กับ สกย. ได้บ้าง คือ สอนให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวิสัยทัศน์ให้มองโลกหลายๆด้าน แต่ต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องเป็นหลักเพื่อความมั่นคงในชีวิตราชการและรู้จักกาลเทศะ

เรื่องที่ 3 เศรษฐกิจไทย...

1. อ่านแล้วเห็นด้วยกับผู้เขียนว่าคนไทยยังขาดการพัฒนาทุนมนุษย์ในแต่ละสาขาอาชีพ ไม่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องที่แท้จริง เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าต่างๆโดยเฉพาะสินค้าเกษตร หากมีการพัฒนาที่จะเพิ่มมูลค่า การท่องเที่ยวต้องพัฒนาผู้ประกอบการด้านภาษาด้วย นอกเหนือจากการให้บริการที่ดี

2. ได้ข้อคิดว่าการจะทำอาชีพใดหรือจะปรับแต่งการประกอบการธุรกิจใดๆนั้น จำเป็นจะต้องพัฒนาทุนมนุษย์ หากมนุษย์มีการพัฒนาในทุกๆด้านตามบทความ กิจการหรืออาชีพใดๆก็จะปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยง่าย และก้าวไปในระดับโลก โดยเฉพาะแรงงาน ถ้ามีการฝึกฝนฝีมือให้ชำนาญก็จะได้รับรายได้มากขึ้น เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตขึ้นด้วย

3. สามารถนำมาปรับใช้ใน สกย. ได้ในกรณีพัฒนาพนักงานทุกระดับหรือเพิ่มพูนความรู้ในส่วนที่ไม่ชำนาญ ให้มีคุณภาพมากขึ้นหรือมีทักษะอันเป็นผลที่ดีต่อองค์กร

เรื่องที่ 4 ปัจจัยท้าทาย...

1. อ่านบทความแล้วมีความรู้สึกว่าคนไทยทั้งประเทศควรทำหน้าที่ของตัวเองตามกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อตอบแทนในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

2. ได้แง่คิดที่ว่า การประกอบกิจการใดก็ตาม ต้องมองให้ครบทุกด้าน การจะทำกิจการให้ครบทุกด้านได้ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทุกเรื่องมีปัจจัยความเสี่ยง แต่การที่จะควบคุมไม่ให้เกิดความเสี่ยงบุคลากรต้องมีความรู้ครบทุกเรื่อง และประเมินสถานการณ์ได้ในภาพรวม

3. บทความนี้สามารถนำมาปรับใช้ใน สกย. ในกรณีทำหน้าที่ของตัวเองให้ครบองค์ประกอบ เพื่อตอบสนองพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และต้องมีการพัฒนาบุคลากรควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะผู้นำต้องเห็นความสำคัญกับเรื่องทรัพยากรมนุษย์ อย่าเห็นความสำคัญแค่ปัจจัยภายนอกที่อาจทำให้องค์กรมีกำไร แต่ต้องประสบผลสำเร็จด้านมนุษย์ที่มีความเป็นอยู่อย่างมีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถและอยู่ในโลกปัจจุบันได้อย่างมีความสุข

สนทยา กลื่นสมิทธิ์

ประโยชน์ที่ได้รับจากบทความ 4 เรื่อง ได้แก่ 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela ศึกษากรณีคุณยรรยง ที่ ครม. ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า และ เศรษฐกิจไทย เกษตร ท่องเที่ยว รักษาพยาบาล ระดับโลก World Class มีดังนี้

1.ได้แนวคิดความเป็นผู้นำในแบบของ Mandela เช่น ผู้นำต้องเป็น Role Model และสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นก้าวสู่ความเป็นเลิศได้ ต้องรู้จักคิดวิเคราะห์รอบด้าน สามารถบริหารความขัดแย้งโดยหาทางให้ตกลงกันได้แบบ Win-Win

2. ความคิดสร้างสรรค์(Creativity) เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับองค์กรเพราะจะช่วยให้องค์กรมีพลังในการผลักดันการดำเนินงานขององค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์

3. กระบวนการตัดสินใจจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ โดยจะต้องมีข้อมูลครบถ้วน สิ่งสำคัญคือต้องตัดสินใจโดยเน้นในเรื่องธรรมาภิบาล รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลด้วย

4. ปัจจัยในการพัฒนาประเทศไทยแบบยั่งยืน นอกจากมองในด้านเศรษฐกิจ การเมืองแล้ว เพื่อให้เกิดความยั่งยืนจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นในเรื่องการศึกษา การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้เกิด Innovation ที่จะทำให้องค์กรมีความโดดเด่น

5. การที่ประเทศไทยจะเป็น World Class ในเรื่องเกษตร ท่องเที่ยว รักษาพยาบาล ได้จะต้องพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

ส่วนที่สามารถนำไปปรับใช้กับ สกย. ได้คือ

1. นำแนวคิดของผู้นำแบบ Mandela มาเป็นแบบอย่างเพื่อปรับใช้ในสภาวะการณ์ต่างๆ และสร้างภาวะผู้นำที่ดีให้เกิดขึ้นในผู้บังคับบัญชาทุกระดับ

2. นำแนวคิดเรื่องการไม่เน้นถูกผิด 100 % เพื่อหาข้อยุติในเรื่องต่างๆ ที่มีความเห็นขัดแย้งกันเพื่อให้ตกลงกันได้แบบ Win-Win

3. ในกรณีที่องค์กรต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดๆ และจำเป็นต้องตัดสินใจควรดำเนินการอยู่บนฐานของข้อมูลที่ครบถ้วนและยึดหลักธรรมภิบาลเพื่อป้องกันการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอก เข่น การเมือง เป็นต้น

4. การที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มหรือสร้างความแตกต่างในเรื่องยาง เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จในวงการยางระหว่างประเทศ สามารถนำเรื่องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้มาใช้ทั้งภาคของ สกย. ซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อน และในส่วนของภาคเกษตรกร เพื่อก่อให้เกิด Creativity และนำไปสู่ Innovation

5. เนื่องจาก สกย. เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในเรื่องยางซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ และ สกย. จะต้องเผชิญกับปัจจัยภายนอกหลายอย่างที่มีผลกระทบต่อการดำเนินการตามภารกิจ ดังนั้น การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่องทั้งในภาคบุคลากรของ สกย. และภาคเกาตรกร เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยผลักดันให้การดำเนินการในเรื่องยางก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ในระดับนานาชาติ

อดุลย์ สุวรรณรัตน์

๑. ๘บทเรียนผู้นำของMandela

    

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมมาทำการบ้าน เพื่อเตรียมตัวครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ธนพล ก่อฐานะ

วิพัฒน์ สุวรรณรัตน์

2. ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า

ประโยชน์

1. ความสำคัญเศรษฐกิจการส่งออก

2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ประเด็นปรับใช้กับ สกย.

ยางพาราส่วนใหญ่เป็นสินค้าส่งออกในรูปยางดิบต้องพึ่งพาตลาดส่งออกจะมีความเสี่ยงด้านราคาและความต้องการของตลาด องค์กรพัฒนาด้านยางพาราจะต้องคิดค้นและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการผลิตแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆรวมทั้งการส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ควรปรับปรุงด้านโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนควบคู่ไปด้วย

สกย. เป็นองค์กรหนึ่งที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้บุคคลากร มีความรู้ความสามารถที่จะขับเคลื่อนองค์กร การพัฒนายางพาราอย่างต่อเนื่อง

3. ศึกษากรณีคุณยรรยง

ประโยชน์

1. เป็นบทบาทของนักการเมืองกับข้าราชการ

2. การบริหารความขัดแย้ง

3. ความรอบคอบ

4. ข้อมูล

ประเด็นปรับใช้กับ สกย.

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจและเป็นพืชทางการเมืองกรณีเกิดสภาวะราคายางตกต่ำ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต การประกันราคาและการแทรกแซงราคายางอาจจะนำมาใช้อีก สกย.ต้องเตรียมข้อมูล การวางแผน และความรอบคอบ

ทั้งนี้การทำงานต้องเป็นระบบ

4. เศรษฐกิจไทย เกษตร ท่องเที่ยว รักษาพยาบาลระดับโลก World Class

ประโยชน์

1. การใช้ภาษา

2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

3. การบริหารจัดการสมัยใหม่

4. การพัฒนาเกษตรกรด้วยวิทยาการสมัยใหม่ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

ประเด็นปรับใช้กับ สกย.

สกย.ให้ความสำคัญการพัฒนาพนักงานทุกระดับให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน ในส่วนเกษตรกรได้วางยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การให้ความรู้เกษตรกรชาวสวนยาง การจัดการสวนยางโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้ยางพันธุ์ดี การเพิ่มความสมบูรณ์ให้แก่ดิน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยบำรุง และการรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนการผลิตและการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

ข้อ 1. ศึกษากรณี คุณยรรยงที่ ครม.

ทางด้านการเมือง

1. การเมือง เรื่องผลประโยชน์ แต่ประโยชน์นั้นได้กับใคร

2. ทุจริตเชิงนโยบายหรือไม่

3. นักการเมืองต้องมีคุณธรรมและธรรมาภิบาล ผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นหลัก

4. ผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่

ผลประโยชน์ที่จะได้จากกรณีนี้ ด้านบริหาร คือ

1. ผู้บริหารต้องมีประสบการณ์

2. ต้องมีความรอบรู้รอบคอบ

3. ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

4. ต้องมีหลักธรรมาภิบาล (ซื่อสัตย์ , โปร่งใส , ตรวจสอบได้)

5. ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี ในรอบด้าน

6. มีทีมงานที่ดี

7. ประนีประนอม มีวัตถุประสงค์

การนำไปใช้กับ สกย.

นำไปใช้ได้กับผู้บริหาร สกย. ทุกระดับตลอดจนถึงการนำไปพัฒนาให้กับผู้นำสถาบันเกษตรกร สกย.

สหกรณ์ สกย. และผู้นำเครือข่ายฯ

ข้อ 2. กรณีศึกษา 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela

ผู้นำที่ดีจะต้องมีความสามารถ 2 แนวคิด ดังนี้

1. Coaching - การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน, คือผู้ทำจะต้องรู้ปัญหาต่าง ๆ ของเพื่อนร่วมงาน และแนว

ทางปรับปรุงแก้ไข และต้องฝึกให้คนเป็นคนเก่งและป็นคนดี

- เก่ง 4 ได้แก่ เก่งงาน, เก่งคน, เก่งคน, และเก่งเรียน

- ดี 4 ได้แก่ ประพฤติดี, มีน้ำใจ, ใฝ่ความรู้, คู่คุณธรรม

2. Creativity - ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผู้นำทุกคนจะต้องมีวิสัยทัศน์, มีแนวความคิดใหม่ ๆ

ซี่งเป็นการคิดนอกกรอบ , มีการสร้างแรงจูงใจ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะก่อให้เกิดพลังในองค์กรขึ้น

ผลประโยชน์ที่ได้จากกรณีนี้ ด้านผู้นำ คือ

1. ผู้นำต้องมีความกล้าหาญอดทน และเป็นแบบอย่างที่ดี กล้าลงทุน คือเสียโอกาสวันนี้ ได้ผลประโยชน์

ตอบแทนที่มากขึ้นในวันข้างหน้า

2. ผู้นำที่ดีต้องไม่ตั้งอยู่ในความประมาท มีสติตลอดเวลา

3. ผู้นำต้องมีอุดมการณ์ที่มั่นคง

4. ผู้นำต้องรู้เขารู้เรา

5. ผู้นำต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

6. ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี

7. ผู้นำต้องประสานผลประโยชน์ได้ดี

8. ผู้นำต้องมีความพอดี ไม่ตกอยู่ในความโลภ โกรธ หลง

การนำไปใช้กับ สกย.

ใช้ได้กับพนักงาน สกย. ทุกระดับ

ข้อ 3 กรณีศึกษาปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า

สรุปการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะต้องมองหลาย ๆ ด้านมาประกอบกัน คือ การเมือง, เศรษฐกิจ, สังคม,

สิ่งแวดล้อม และต้องสร้างให้การศึกษาเป็นเลิศ และผู้นำในองค์กรต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญ

ต่อทรัพยากรมนุษย์ คือ

1. ทุนมนุษย์

2. ทุนทางปัญญา

3. ทุนแห่งความสุข

4. ทุนทางสังคม

5. ทุนแห่งความยั่งยืน

6. ทุนทาง IT

7. ทุนแห่งความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ถ้าประเทศไทยมีองค์ประกอบต่อต่าง ๆ เหล่านี้การพัฒนาก็จะเกิดความยั่งยืน

ข้อ 4 กรณีศึกษาเศรษฐกิจไทย...เกษตร, ท่องเที่ยว, รักษาพยาบาล ระดับโลก World Class?

ไทยเก่งใน 3 เรื่อง

- เกษตร

- ท่องเที่ยว

- การรักษาพยาบาล และสุขภาพอนามัย

ซึ่งทั้ง 3 เรื่องไทยมีโอกาสมากทางด้านทุนที่มาจากธรรมชาติ คือ ที่ดินอุดมสมบูรณ์ มีน้ำฝน มีทะเล

และสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม เหมาะสมทั้งทางด้านการเกษตรและการท่องเที่ยว

แต่ไทยก็มีปัญหาอุปสรรค การพัฒนาด้านการเกษตร, ท่องเที่ยว และการรักษาพยาบาล ดังนี้ คือ

1. แรงงานใช้ฝีมือทำงานไปวันๆ ขาดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ

2. ขาดการเรียนรู้ ในภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ

3. ขาดการบริหาร การจัดการสมัยใหม่

4. การใช้ IT

อุปสรรคทั้ง 4 ข้อ นี้มีอยู่ในหัวข้อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งประเทศไทยจะต้อง

ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ ทั้ง 5 ทุน คือ

1. ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity capital)

2. ทุนทางความรู้ (Knowledge capital)

3. ทุนทางนวัตกรรม (Innovation capital)

4. ทุนทางอารมณ์ (Emotional capital)

5. ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural capital)

การนำไปใช้ประโยชน์กับ สกย.

1. ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเป็นเกษตรอุตสาหกรรม (จากต้นน้ำกับปลายน้ำ)

2. ใช้ประโยชน์ในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเกษตรนิเวศน์

3. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นายอนันต์ยศ แก้วคุ้มภัย

ตอบคำถามเรื่อง 8บทเรียนผู้นำของ Mandela

จากการอ่านบทความของ ท่านอาจารย์ จีระ หงส์ลดรมภ์ มีคำถามของท่านอาจารย์ซึ่งฝากไว้กับอาจารย์ทำนอง ดาสี ซึ่งในขณะที่กระผมได้เดินทางกลับจากการที่ได้ไปศึกษาดูงานโรงงานผลิตยางแผ่น ของบริษัทสินแดนไทยการยาง จำกัด ในช่วงเวลาที่เดินทางกลับจาก จังหวัดจันทบุรี เพื่อไปกรุงเทพมหานคร กำลังหลับๆ ตื่นๆ อยู่ในรถพอดี ได้ยินเสียงของ อาจารย์ทำนอง ซึ่งได้แจกเอกสารเรื่อง บทเรียนจากความจริงให้ 3เรื่องด้วยกัน ซึ่งอาจารย์ได้ฝากคำถามไว้ว่า

“อ่านบทความแล้วท่านได้ประโยชน์อะไรบ้าง ? “

พอเดินทางมาถึงบ้านพักที่จังหวัดน่าน เพื่อไม่ให้ท่านอาจารย์ จีระ ต้องคอย กระผมอยู่นานเพราะท่านบอกว่าไม่งั้นท่านจะ SMS มานะ เพราะท่านคิดถึง….ลูกศิษย์ของท่าน

กระผมในฐานะลูกศิษย์คนหนึ่ง ได้มีโอกาสได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมในครั้งนี้เพื่อ ให้คุ้มค่ากับการลงทุนในการพัฒนาทรัพย์ยากรมนุษย์ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในเชิงเศรษฐศาสตร์ แง่คิดมุมมองของกระผมได้ประโยชน์ ดังนี้

มองเชิงพลังอำนาจ (Power)

อำนาจหมายถึง บทบาทหรือความสามารถของบุคคลหรือองค์กรที่มีอยู่เหนือบุคคล หรือ องค์กรอื่นซึ่งสงผลต่อการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม ทัศนคติ ค่านิยม ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการ การใช้อำนาจที่เหมาะสมและก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้นำ หรือผู้บริหารต้องตระหนักอยู่เสมอ ผู้นำมักมาพร้อมอำนาจ การเลือกใช้อำนาจให้เหมาะสมกับบุคคล และสถานการณ์จะเป็นทักษะ (Coaching) ที่สำคัญของผู้นำ

จะเห็นได้ว่าการใช้อำนาจ จะทำให้เกิดการยอมตามของผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ส่วนอิทธิพลที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ดี และไม่ดี การยอมตามจึงมาพร้อมกับการต่อต้านของผู้ที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของบุคคลหมู่มาก “นานาจิตตัง” หรือ”ต่างจิตต่างใจ” จึงเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องเสมอ สำคัญที่ผู้นำ หรือคนส่วนใหญ่จำนำพาสังคมไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่เท่านั้น

จากประสบการณ์ที่สั่งสมมานานของ Mandela

กับภาวะผู้นำ กระผมมองในเชิงคุนค่าในแนวทางฐานอำนาจการอ้างอิง (Referent Power) ได้ในเชิงประโยชน์

เกิดจากคุณลักษณะของความมีภาวะผู้นำ เป็นที่ชื่นชมของบุคคลจนประสงค์ที่จะมีลักษณะเช่นนั้นบ้าง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า

“เอาอย่างตามตัวอย่าง” โดยผู้นำหรือผู้บริหาร เป็นตัวอย่าง มีผู้กล่าวไว้ว่า “ การเป็นตัวอย่างที่ดี มีค่ากว่าสอน” หมายความว่า ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องปฏิบัติตนให้เป็นตัวแบบ ที่สำคัญ เพื่อจะได้เป็นตัวอย่างในการอ้างอิง ของผู้ใต้บังคับบัญชา และที่สำคัญผู้บริหารจะต้องมีลักษณะของผู้นำ (Qecideneas of Leaders) ดังนี้

1. ความมีชีวิตชีวาและทนทาน (Vitality and Endurance) หมายถึงความคล่องแคล่วว่องวัย ตื่นตัวอยู่เสมอ พร้อมอยู่เสมอที่จะรับกับสถานการณ์ ทุกชนิด ปรับตัวเปลี่ยนแปลงได้ และร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ ความทนทานคือ การทำงานต่อเนื่องกันได้ โดยไม่ต้องหยุดพัก เป็นเวลานานๆ ทนต่อความลำบากได้ โดยไม่ต้องปริปากบ่น หรือแสดงอาการท้อแท้ให้ผู้พบเห็น

2. ความสามารถในการตัดสินใจ (Decideness) โดยต้องตัดสินใจได้ถูกต้อง ตัดสินใจได้เร็ว และเต็มใจเสมอที่จะเป็นตัวตัดสินใจด้วยตนเอง ในเมื่อมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น การรู้จักตัดสินใจเป็นลักษณะหนึ่งของความเชื่อมั่นตนเอง การตัดสินใจได้ถูกต้องรวดเร็วทำให้การแก้ไขปัญหาต่างๆ กระทำได้ทันท่วงที

3. ความสามารถในการจงใจคน (Persuasiveness) ความสามารถในการสนทนา ความเป็นนักพูด นักเขียน การวางตนให้ผู้อื่นเลื่อมใส ความสามารถจับจุดสนใจของบุคคลอื่นได้ รู้จักเอาใจคนถูกจังหวะโดยไม่เสียงาน รู้จักขัดในที่อันควร ใช้ภาษาได้ดี และแสดงความสุจริตใจของตนเองออกมา ให้คนอื่นเห็นได้ชัดเจน

4. ความรับผิดชอบ (Responsibitity) หมายถึง ความรู้ด้วยตนเองว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดควร ในเชิงศีลธรรม ผู้นำที่ดีย่อมยอมรับเมื่อผิดพลาดและเต็มใจรับคำตำหนิ ขณะเดียวกันเมื่อรับหน้าที่ใดมาแล้วจะบากบั่นทำหน้าที่อย่างดีที่สุด โดยไม่ทอดทิ้งแม้จะมีอุปสรรคนานาประการมาเกี่ยวข้อง ความรับผิดชอบเป็นลักษณะที่จำเป็นของผู้นำทุกคน

5. ความฉลาดไหวพริบ (Intellectual Capacity) สมองเฉียบแหลม รอบรู้ทันโลก ทันเหตุการณ์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้นำ ไม่มีใครที่อยากได้ผู้นำที่โง่ไม่ทันคน ไม่มีใครที่อยากตามผู้นำที่เสียทีคนอื่นอยู่เสมอ ความฉลาดไหวพริบจะมีได้ก็ต่อเมื่อเป็นผู้มีความรู้สึกดี รู้งาน รู้นโยบาย และวัตถุประสงค์โดยแจ่มชัด เป็นพหูสูต สนใจและรอบรู้ในเรื่องต่างๆ

สิ่งเหล่านี้คือฐานความเป็นผู้นำ และประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่าน 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela นั้นคือ บทเรียนจากความจริง

มีประเด็นอะไรบ้างที่ปรับใช้ได้กับ สกย.

ประเด็นที่น่าสนใจ และสามารถนำมาปรับใช้กับงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ในยุคปัจจุบัน และสอดคล้องกับสถานการณ์ ประเด็นในข้อที่ 5 คือ

การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อน หรือบางครั้งเราอาจเรียกว่า ฐานอำนาจพึ่งพา หรือการประสานอำนาจ (Connection Power) ซึ่งเกิดจากตังของเราเองซึ่งเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์ผูกพันกับคนอื่นๆ ที่มีอิทธิพลทั้งภายใน และภายนอกองค์การ เช่นมีความสัมพัน์กับหน่วยงานในกระทรวงเดียวกัน แต่ในขณะเดียวกันเราก็มีความสัมพันธ์กับหน่วยงานต่างกระทรวง เพื่อสร้างระบบเครือข่าย บางครั้งการยอมตามผู้อื่นเพราะกลัวต่ออิทธิพล ดังกล่าว หรือเพื่อหลีกเลี่ยงความลำบากใจ อันจะเกิดตามมา

โดยปกติคนทั่วไปมักเข้าใจกันว่าเมื่อเป็นผู้นำแล้งย่อมมีอำนาจล้นฟ้า ซึ่งความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ แม้มีอำนาจมากเพียงใดก็ไม่อาจประกาศิตให้ผู้ไม่มีความสามารถมีความสามารถขึ้นได้มาทันทีทันใด จำเป็นต้องพึ่งพาคนที่มีวิชา กระผมขอยกตัวอย่าง เช่น ในมหากาพย์รามเกียรติ์ พระรามต้องอาศัยพลพรรคมากมายมหาศาลในการรบหรือ ในอีกตัวอย่างหนึ่ง ในนิยายอิงพงศาวดารจีน เรื่องสามก๊ก เล่าปี่ต้องพนมมือไปทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะไปกราบขอวิชาให้อาจารย์ฮกหลง (ขงเบ้ง) ซือแป๋ผู้เก่งกาจ ให้ยอมสละความวิเวกบนยอดเขามังกร นิทรา (ภูเขาโงวลังกั๋ง) เพื่อมาเป็นเสนาธิการผู้วางแผนการรบกับ โจโฉ

ประธานาธิบดี รูสเรลท์ ได้รับเลือกตั้ง 4 สมัย แม้เขาจะเป็นคนพิการ อันสืบเนื่องมาจากโรคโปลิโอ แต่ก็สามารถเป็นผู้นำและบริหารประเทศ สหรัฐอเมริกา จนได้รับการยกย่องว่า เป็นประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ 200ปี ของสหรัฐอเมริกา สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งคือการที่เขารู้จักใช้บุคคลอื่น และการมีที่ปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ

กล่าวคือ การนำเอาหลักคิด หรือวิธีการของ Mandela มาปรับใช้กับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้

ผู้นำต้องมี ทักษะ(Coaching) และมีแนวความคิดสร้างสรรค์(Creativity) เพื่อนำมาพัฒนาในด้านทรัพย์ยากรมนุษย์ได้ และการสร้างนวัตกรรมในการบริหารจัดการ หน่วยงาน หรือองค์กรของตนเอง ซึ่งนำไปสู่องค์กรสมัยใหม่ เพื่อรับและขับเคลื่อนไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งให้สอคล้องกับสภาวการณ์ในยุคปัจจุบันทั้งในแง่ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมของชุมชน และที่สำคัญที่สุดคือ ระบบนิเวศน์ ซึ่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนของชุมชนชาวสวนยาง ตลอดไป

บทเรียนจากความจริง

• ศึกษากรณี คุณยรรยงที่ ครม.

• อ่านบทความแล้วท่านได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?

ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษากรณี คุณยรรยง พวงราชอธิบดรกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยรัฐมนตรีพรทิวา ให้คุณยรรยง มาชี้แจงต่อ ครม. ในกรณีขออนุมัติประมูลข้าวโพดจะเห็นได้ว่าความเป็นผู้นำ (Leader) ของอธิบดีกรมการค้าภายใน จากการศึกษาพบว่าภาวะผู้นำของท่านมีปัญหาในการอธิบายต่อ ครม. ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 นั้น

ประโยชน์ที่ได้จากกรณีดังกล่าวแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองใยฐานะผู้นำได้นั้น จึงมองในเชิงประโยชน์ได้แก่

1. ถ้าหากขาดประสบการณ์ จะต้องหาที่ปรึกษาและมีความเชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ (Take counsel) เพื่อรวบรวมข้อมูลและทำการสืบค้น หาข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อประกอบการชี้แจงต่อ ครม. ให้เข้าใจต่อกรณีดังกล่าว

2. ความรอบคอบเป็นสิ่งที่สำคัญ พร้อมข้อมูลเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกอรปกับ จะต้องใช้วิจารณญาณ ในการตัดสินใจซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง อีกทั้งยังต้องปรึกษาหารือให้ละเอียด ของขั้นตอนการดำเนินงาน ให้รอบคอบกับทีมงาน และเพื่อความมั่นใจต่อการนำเสนอข้อมูล

3. การประนีประนอม (Compromisisng) ในบางครั้งผู้นำจะต้องโยนอ่อน ผ่อนตามเพื่อป้องกัน ความขัดแย้งที่รุนแรงอันจะทำให้ตนเองไม่ประสบความสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ แต่ถ้ามองในแง่ผลประโยชน์ทับซ้อน เราก็ต้องยึดหลักธรรมภิบาล เพื่อตอบสนองต่อโครงการ และอำนาจแฝงทางการเมือง โดยหาวิธีการเน้นแบบกลาง ๆ หรือแบบ win –win ซึ่งทำให้ฝ่ายและฝ่ายประจำไม่เสียประโยชน์ทั้งคู่ ดังนั้นผู้นำต้องมความฉลาดเฉลียวและต้องมีการศึกษาเรียนรู้หรือจะต้องมีการฝึกให้อยู่รอดในสภาวะการทางการเมืองในยุคปัจจุบัน

4. การผูกมิตร (Alliances) ผู้นำจะต้องมีศิลปะในการสร้างความสัมพันธ์อย่างดีกับผู้บังคับบัญชาหรือความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายประจำกับฝ่ายนโยบาย เพื่อให้เกิดการสอดคล้องและประสานงานในเชิงนโยบายและสามารถนำมาปฏิบัติงานได้อีกทั้งทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในสายตาของผู้บังคับบัญชา

ประเด็นที่สามารถนำมาปรับใช้กับ สกย.

1. ผู้นำต้องมีความฉลาด ไหวพริบในขณะเดียวกันต้องมีประสบการณ์ บารมี อีกทั้งมีศิลปะในการนำเสนอเพื่อชี้แจง อธิบายได้อย่างละเอียด รอบคอบ ต่อผู้บังคับบัญชา ต้องรอบรู้ทันโลด ทันเหตุการณ์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้นำ

2. ผู้นำจะต้องรู้งาน รู้นโยบายและวัตถุประสงค์ ของฝ่ายนโยบาย (ฝ่ายการเมือง)

3. ผู้นำจะต้อมีความสามารถสร้างพวก หรือมีพันธมิตรและความมีสัมพันธ์ส่วนตัวกับระดับนโยบายเพื่อจะได้มีความคล่องตัวในการประสานงานร่วมกันได้อย่างเหมาะสม

ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า

บทเรียนจากความจริง : ท่านอ่านบทความแล้วท่านได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?

เมื่ออ่านบทความแล้ว กระผมต้องทำความเข้าใจแนวความคิด การพัฒนาแบบยั่งยืนเสียก่อน ว่าในมุมมองของกระผม “เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงปริมาณ ละเชิงคุณภาพที่ประกอบด้วยปัจจัยมากมาย อันทำให้บุคคล และสังคม เริ่มสร้างเอกลักษณ์ของตนที่มีลักษณะจำเพาะ และสร้างความสามารถที่จะเผชิญกับโลกได้อย่างมีจุดมุ่งหมายก่อให้เกิดความภาคภูมิใจซึ่งเน้นการเติบโตอย่างกลมกลืนของมนุษย์ และสังคมกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และจิตวิญญาณของสังคมโดยรวม และมุ่งเน้นในเรื่องของความเสมอภาคของสังคมเป็นหลัก”

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. การจัดสรรทรัพยากร ให้กับทุกภาคส่วน และต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่าต่อสังคม ซึ่งในขณะเดียวกันสามารถบริหาร จัดการด้านเศรษฐกิจได้เร็ว

2. ความสามารถในการส่งออก ด้านสินค้าอุตสาหกรรม ลดความเสี่ยงลงได้ เนื่องจากเรามีตลาดใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งขยายตลาดไปในกลุ่ม ASEAN

3. สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่สำคัญ ซึ่งส่งผลต่อการบริหาร จัดการ ความเสี่ยงในอนาคตในภาคอุตสาหกรรม

4. ได้ทราบถึงปัจจัยความเสี่ยง โดยภาครัฐต้องมีการจัดประชุมสัมมนา ระหว่างเอกชนกับภาครัฐ เพื่อบูรณาการและกำหนดนโยบายร่วมกัน ในการจัดเรื่องตลาดใหม่ร่วมกัน

5. สร้างและปรับปรุงระบบขนส่ง ในเรื่องต้นทุนให้ต่ำลง

6. ทำให้ผู้นำในองค์กรหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างศักยภาพต่อการพัฒนาองค์กร

ประเด็นที่สามารถนำมาปรับใช้กับ สกย.

1. สร้างและพัฒนาองค์ให้เป็นเลิศ และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยยึดหลักการ คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

2. ให้พนักงานในองค์กรยึดหลักการมีส่วนร่วมส่งเสริมให้พนักงานมีความคิดเชิงสร้างสรรค์ และมุ่งเน้นสู่การบริหารจัดการ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นในองค์กร

3. ให้พนักงานทุกระดับ ได้รับการพัฒนาทั้งด้านทักษะ ทัศนคติ ความรู้ และเป้าหมายในการทำงาน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณของคน และให้การศึกษาเพื่อเป็นผู้ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศและพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตเพื่อให้องค์กรสามารถแข่งขัน และอยู่รอดได้ กล่าวคือ

การเปลี่ยนแปลงเชิงกระบวนการ ทัศนะในการพัฒนาใหม่ หรือนวัตกรรมการบริหารจัดการยุคใหม่

1. มองพนักงานเป็น “ทรัพยากรมนุษย์”

2. ใช้พนักงานในรูป “ทีมงาน”

3. จัดองค์กรใน “แนวนอน”

4. มุ่งเน้น ภายนอก มองที่ “ลูกค้าหรือเกษตรกรสวนยาง”

5. องค์กรจัดตาม “กระบวนการ”

6. ใช้ IT เพื่อช่วย “พนักงาน”

7. “พัฒนา” พนักงาน

8. ถือ “ประสิทธิผล” เป็นหลัก

กล่าวคือ ในฐานะผู้นำหรือผู้บริหารสามารถนำเอากระแสพระราชดำรัช ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งที่เสด็จออกมหาสมาคม

ความว่า “ความสุขของพระองค์ท่านคือคนไทยทำหน้าที่ของตัวเองให้ครบ ซึ่งประกอบด้วย มีสติ มีปัญญา มีความซื่อสัตย์สุจริต คิดเพื่อส่วนรวม”

ผู้นำ หรือผู้บริหารจะต้องทำความเข้าใจให้ครบถ้วนทั้ง 4 ด้าน เพื่อนำมาปรับใช้และพัฒนาองค์กรขิงตนเอง คือ

1. มีสติ การควบคุมความรู้สึกว่าเราคือใคร คิดและทำอะไรถูกต้องดีงามเป็นธรรมตามวิสัยมนุษย์หรือไม่

2. มีปัญญา แสดงถึงความสามารถในการพึ่งตนเอง

3. มีความซื่อสัตย์สุจริต ต่องานในหน้าที่หรือต่อองค์กร

4. คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ หรือจิตอาสา

การที่มีปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้น ผู้นำหรือนักบริหารต้องมองหลายมิติ คือ มิติทางเศรษฐกิจและการเงิน มิติ ต่อการค้าหรือการส่งออก หรือการค้าระหว่างประเทศแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา คือ ถ้ามองมิติถึงความยั่งยืน จะต้องสร้างการศึกษานำไปสู่ความเป็นเลิศ ดังนั้นผู้นำหรือนักบริหารที่ดีต้องให้ความสนใจในด้านพัฒนาทุนทางทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งส่งผลต่อความผูกพันและเกิดความสุขให้คนในองค์กรสามารถทำงานได้สำเร็จ

เศรษฐกิจไทย…เกษตร ?

ท่องเที่ยว…?

รักษาพยาบาลระดับโลก ? (World class)

บทเรียนจากความจริง : อ่านบทความแล้ว ท่านได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?

เมื่อดูจากแผนที่โลกแล้วแระเทศไทยของเราอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรตามลักษณะของภูมิศาสตร์ มีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น มีทรัพยากร มากมายที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะ ภาคการเกษตร ซึ่งเป็นตัวค้ำจุนฐานเศรษฐกิจ ของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน เป็นสำคัญ

1. เป็นแหล่งผลิตธัญญาหารของโลก ที่ส่งสินค้าด้านการเกษตร ไปหล่อเลี้ยงพลโลก ได้ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 7 ในปัจจุบันนี้

2. การพัฒนาด้านศักยภาพ เพื่อสร้างภาคการเกษตรในแนวใหม่ ซึ่งมุ่งเน้นถึงการเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในระดับโลกได้

3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในระดับต่าง ๆ ให้มีความรู้ ความสามารถ รัฐจะต้องมีการลงทุนด้านการศึกษา อบรม ไปสู่ความเป็นเลิศ ทำให้การเกษตรเป็นการเกษตรแนวใหม่

4. ยกระดับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว นำไปสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะด้านการบริการซึ่งนักท่องเที่ยวต้องการอยู่แล้วซึ่งคนไทยเรามีลักษณะเฉพาะหรืออัตตลักษณะอยู่แล้ว เช่น การยิ้มแย้มแจ่มใส…มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอยู่แล้ว

5. ทำให้เกิดการสร้างงาน ให้กับคนและมีรายได้จากการท่องเที่ยว การเกษตร ทำให้เกิดการแข่งขัน ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ ดังนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ตลอดไป

การนำมาปรับใช้กับ สกย. ได้อย่างไร ?

1. การสร้างมูลค่า สกย. จะต้องมีแผนก และโครงการเพื่อกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 2 ด้าน

• ด้านพนักงานของ สกย. จะต้องมีแผนกที่ชัดเจนในการพัฒนาพนักงาน โดยเฉพาะการลงทุนด้านการศึกษาเรียนรู้ในเชิงการสร้าง นวัตกรรม ด้ารการบริหารโครงการ ฯลฯ

• ด้านเกษตรกร ต้องจัดการให้มีการบริหารจัดการที่ดีในด้ารการศึกษาหรือเรียนรู้ตลอดชีวิต

2. การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง ในรูปแบบโฮมสเตย์

• ทำให้สวนยางพารา ให้เป็นป่ายาง หรือ นวสวนยาง คือมีความหลากหลายทางด้านพันธุ์พืชที่อยู่ร่วมกันได้ และเกื้อกูลเชิงระบบนิเวศน์ เช่นพันธุ์ไม้ในท้องถิ่น

• ทำให้สวนยางพารามีความหลากหลาย และสร้างคุณค่า ในเชิงสร้างสรรค์ได้ การเลี้ยงกล้วยไม้ในระหว่างแถวยาง การผลิตไม้ดอกไม้ประดับในสวนยาง การเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง เช่น แพะ ไก่บ้าน หรือไก่พื้นเมือง หมูพื้นเมือง ฯลฯ

• ทำให้สวนยางพาราของเราเป็นต้นธารแห่งการผลิตของต้นน้ำให้ เช่นวิธีชีวิตของคนตัดยาง กระบวนการผลิตพื้นฐาน ในรูปแบบต่างๆ

3. การสร้างยุทธศาสตร์ใหม่ โดยร่วมมือกับกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในการทำ MOU ร่วมกัน เพื่อจะขับเคลื่อนกิจกรรม ก่อให้เกิดกับสังคม ชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบแนวคิดว่า “ยางพาราทุกต้นที่เกษตรกรปลูกขึ้นในพื้นที่ใดก็ตาม

สกย. ต้องจริงใจ นำไปพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

.นายอนันต์ยศ แก้วคุ้มภัย

MR. Aununyod Kaeokumpai

นางอุษณีย์ อุยสวัสดิ์

1.  8 บทเรียนผู้นำของ Mandela

ประโยชน์ที่ได้รับ

          ภาวะผู้นำ ของ Nelson Mandela

         1. ประสบการณ์

         2. ความมุ่งมั่น คือความตั้งใจสูงที่จะมุ่งมั่นที่จะไปสู่ความสำเร็จที่วางไว้

         3. การแสวงหาความรู้ มีสติและปัญญา เพื่อความอยู่รอด

         4. มีความอดทน คิดในทางบวก เพื่อนำประเทศไปสู่สันติ

         จากลักษณะผู้นำของ Mandela ทั้ง 8 ข้อ ทำให้เขาเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญในการจุดประกาย สร้างแรงจูงใจให้คนในชาติเปลี่ยนพฤติกรรม มีความหวัง และมีความภาคภูมใจในเกียรติของตนเอง ที่จะร่วมพัฒนาประเทศให้คงอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ประโยชน์ที่นำมาปรับใช้กับ สกย.

          การให้การพัฒนากับพนักงานในองค์กรทุกระดับ โดยการ

          1. ให้ความรู้

          2. การฝึกอบรมเรื่องภาวะผู้นำ

         

          2.  ศึกษากรณี คุณยรรยง ที่ ครม.

ประโยชน์ที่ได้รับ

          ลักษณะผู้นำ (นักการเมือง) ที่ไม่ดี

          1. ขาดคุณธรรมและจริยธรรม

          2. ใช้อำนาจ อิทธิพล ให้ผู้อื่นเป็นเครื่องมือในการประพฤติมิชอบ

          3. เห็นประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง มากกว่าผลประโยชน์ชองชาติ

          4. มีผลประโยชน์ทับซ้อนเชิงนโยบาย

          ลักษณะผู้นำ (คุณยรรยง)

          1. ขาดประสบการณ์ และความรอบคอบ

          2. ถูกครอบงำโดยนักการเมือง

          3. ขาดความน่าเชื่อถือของการเป็นข้าราชการ

การปรับใช้กับ สกย.

          สามารถนำมาปรับใช้กับพนักงานในองค์กรทุกระดับ โดยการ

          1. สร้างจิตสำนึก ให้ความรู้เรื่องคุณธรรม จริยธรรม และประชาธิปไตย

          2. การฝึกอบรมภาวะผู้นำ

 

            3.  เศรษฐกิจไทย เกษตร ท่องเที่ยว รักษาพยาบาล ระด้บโลกได้อย่างยั่งยืน จะต้อง

         1. การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

         2. การพัฒนาการบริหารแบบวัฒนธรรมไทย

         3. พัฒนาพนักงานทุกคนให้มีส่วนร่วม

การปรับใช้กับ สกย.

          ให้มีการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้องค์กร สกย. พัฒนาแบบยั่งยืน สำหรับพนักงานทุกระดับ

 

          4.  ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้าหรืออนาคต

ประโยชน์ที่ได้รับ

          1. จะต้องพัฒนาและสร้างให้การศึกษาเป็นเลิศ

          2. องค์กรจะยั่งยืนได้ ผู้นำจะต้องสนใจทรัพยากรมนุษย์ สร้างความผูกพัน และสร้างความสุขให้คนในองค์กร โดยการให้มีส่วนร่วม

ปรับใช้กับ สกย.อย่างไร

          1. ให้ความรู้ความเข้าใจ เพิ่มศักยภาพแก่พนักงานทุกระดับ

          2. ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารหรือดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนด

          3. สร้างความรักและความศรัทธาในองค์กร ให้พนักงานทุกระดับ

โครงการค่ายผู้นำรุ่นใหม่ สกย.

จากการศึกษาบทความ “บทเรียนจากความจริง ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมย์ 4 ฉบับ

1. สรุป กรณี 8 บทเรียนผู้นำของ Mr.Nelson Mandela ประเด็นที่ได้ประโยชน์ ผู้นำต้องมีทักษะภาวะการณ์เป็นผู้นำ คือ

- ความกล้าหาญ คือแม้ว่าไม่อยู่ในภาวะที่ไม่ปกติก็มีความสามารถจุดประกายให้คนอื่นไปสู่จุดของความเป็นเลิศได้ ในช่วงที่ติดคุก 27 ปี เขาพยายามสร้างสมความคิด รวบรวมสติปัญญา และสร้างความปรองดองระหว่างชนผิวขาวกับผิวดำ และเกิดสันติภาพขึ้นในประเทศของเขา

- ผู้นำอยู่ข้างหน้า ต้องรุกได้ และต้องตั้งรับ ไม่ประมาท

- ผู้นำต้องรอบรู้บริหารศัตรูต้องรู้จักเขาดีว่าเขาชอบอะไร เขาบ้าคลั่งกีฬาอะไรบ้าง

- ผู้นำต้องมีพฤติกรรมใกล้ชิดกับคู่แข่งมากกว่าเพื่อนสนิท หรือคนที่ชอบพอกัน

- ผู้นำต้องมีพฤติกรรม สามารถวิเคราะห์แบบ 360 องศา เพื่อให้ปรับวิธีคิด และวิธีทำงานให้เขากับสถานการณ์

จากประเด็นเหล่านี้สามารถนำมาปรับใช้กับองค์การ สกย.ได้ดังนี้

- ผู้นำองค์กรต้องมี Couching คือมีทักษะ รู้ปัญหาต่าง ๆ ของลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงานในงานที่ทำ และหาทางแก้ไข ปรับปรุง ฝึกฝน ให้ลูกน้องหรือผู้ร่วมงานไปสู่จุดที่ประสบความสำเร็จ

- ผู้นำองค์กร สกย.ต้องมี Creativity คือมีความคิดสร้างสรรค์ จะทำให้องค์กร สกย.โดดเด่น และสามารถขับเคลื่อนองค์กรให้มีการเปลี่ยนแปลงไม่อยู่กับที่

2. จากการศึกษากรณีของ คุณยรรยง พวงราช ที่ ครม.

ประเด็นประโยชน์ที่ได้รับ

ผมคิดว่าคุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นผู้แถลงกรณีขออนุมัติ ครม.ประมูลข้าวโพด ซึ่งความเป็นจริงแล้วรัฐมนตรีควรทำหน้าที่เอง คุณยรรยง พวงราช เป็นข้าราชการที่มีอนาคตมีความรู้ดี และมีความซื่อสัตย์สุจริต มีความเชื่อมั่นคิดว่าคุณพรทิวา สังกัดพรรคร่วมรัฐบาล (ภูมิใจไทย) มีอำนาจในการต่อรองสูงจึงมองข้าม ครม. ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อน ขาดประสบการณ์ในระดับความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับการเมือง ขาดวิจารณญาณที่รอบคอบ เมื่อทำไปแล้วถูกใจรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แต่ไม่ถูกใจ ครม.ทั้งคณะ สร้างปัญหาให้กับตัวเองขาดความเชื่อถือของการเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ในสายตาของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นบทเรียนที่ล้ำค่าของข้าราชการประจำกับการเมือง

ประเด็นที่นำมาปรับใช้กับ องค์กร สกย.

- ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานต้องมีธรรมาภิบาล มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณในเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวม ขององค์กรและของประเทศชาติมากกว่าส่วนตน

3.กรณีเศรษฐกิจไทย การเกษตรกรการท่องเที่ยว การรักษาพยาบาลและสุขภาพอนามัยระดับโลก World Class

ประเด็นนี้สรุปได้ว่าประเทศไทยมีความเก่งที่สามารถแข่งขันได้มีคุณภาพ และสร้างรายได้ที่มีพื้นฐานดีระดับโลก มีอยู่ 3 เรื่อง แต่ต้องพัฒนาเรื่องคุณภาพทุนมนุษย์จึงจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ และยั่งยืนตลอดไป

1. การเกษตร

2. การท่องเที่ยว

3. การรักษาพยาบาลและอนามัย

- ภาคการเกษตรในปี 2553 ดร.กอร์ปศักดิ์ สรุปว่าสินค้าการเกษตรมีแนวโน้มดีขึ้นแต่สัดส่วนของ GDP ภาคการเกษตรต่อ GDP ปัจจุบันของประเทศ 8-9 % แต่สภาพการจ้างงานถึง 45% แสดงว่าคุณภาพของภาคการเกษตรต่ำมากการจะทำให้ภาคเกษตรมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมเป็นเกษตรระดับโลกจะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

1. การสร้างผู้ประกอบการจากเกษตรกร

2. พัฒนาการบริหารจัดการสมัยใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น

3. การพัฒนาอาหารไทยให้มีคุณภาพในระดับโลกให้เป็น Thai Food ระดับโลก

สามารถนำมาปรับใช้กับองค์กร สกย.

- จะต้องพัฒนาองค์กร สกย.ดำเนินธุรกิจยางพาราครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

- ผลักดันให้รัฐบาลจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทยทุกรัฐบาล

4. ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยในปีหน้า

ประโยชน์ที่ได้รับ

- จากการที่ครูมอบด้านเศรษฐกิจไทยในปีหน้า โดยความเห็นส่วนตัว เห็นด้วยว่าการส่งออก จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และขยายการส่งออกไปยังตลาด ASEAN แต่ต้องปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ ต้นทุนต้องลดลงจาก 19% อยู่ที่ 13%

- ภาคราชการต้องพึ่งเอกชนในการหาตลาดใหม่ พึ่งภาครัฐอย่างเดียวไม่พอ แต่รักษาเสถียรภาพด้านคุณภาพของสินค้า

- มีแนวโน้มพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง เพราะว่านักวิชาการ หรือผู้รอบรู้ มีความเห็นว่าประเทศไทยยังมีความเสี่ยงเรื่องคนไทยคิดไม่เป็น ไม่ใฝ่รู้ ไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

สามารถนำมาปรับใช้กับองค์กร สกย.

ผู้นำในองค์กรต้องเป็นผู้สนใจทรัพยากรมนุษย์ สามารถสร้าง ความผู้พัน และความสุขให้กับคนในองค์กร ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนให้องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานก็ประสบความสำเร็จ ถือเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่งของผู้บริหาร

1. วิเคราะห์บทเรียนของ Mandela

การมองคนในภาพที่ดีจะมีผลต่อสภาพแวดล้อมทั่วไปคือ สามารถปรับฐานความคิดเพื่อการเรียนรู้เบื้องลึกของสังคมไปสู่การยอมรับ แต่ต้องมีจิตเป็นสาธารณะที่มั่นคงและแล้วความฝันที่คาดไว้ จะได้รับการตอบสนอง นำพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ และเป็นที่ยอมรับของมวลสังคม ซึ่งสามารถสืบสานเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคตตลอดไป

Mandela ถ้ามองอีกด้านหนึ่งในภาพอดึตอาจเป็นคนมุทะลุ ดุดัน แต่เมื่อได้รับการบ่มเพาะในสิ่งที่ดี ๆ เป็นเวลา 27 ปี กลายเป็นคนสำนึกบาป บทสรุปในภาพรวม "มองคนอย่างมองข้าม" และสามารถนำเอามาเป็นแบบอย่างของผู้นำได้

2. ความขัดแย้ง/ความไม่พอใจ ของผู้มีอำนาจสูงกว่า

กรณีคุณยรรยง พวงราช ถ้ามองภาพในความเป็นธรรม และความอุสาห์ของบุคคล กว่าจะก้าวถึงความสำเร็จของชีวิต เช่นคุณยรรยง ควรมีการให้เกียรติซึ่งกันและกันมากกว่านี้ ผลงานของท่านที่ผ่านมาควรนำมาคิด/วิเคราะห์ จุดเด่น จุดด้วย และควรให้โอกาสเพื่อการเรียนรู้สู่การพัฒนา ไม่ควรมองคนในแง่ลบ เมื่อโอกาสนั้นยังมาไม่ถึง ภาพรวมและประวัติย้อนหลังท่านคือคนดี สามารถนำพาองค์กรได้

3. เกษตรท่องเที่ยว

การลงทุน ถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องวิเคราะห์เพื่อให้ทุนที่ลงไปได้กลับคืนมา ให้ทันกับสถานการณ์โลกเปลี่ยน บางครั้งเป็นดาบ 2 คม ที่สังคมต้องการ

-ภาพมั่วสุม

-ภาพลักษณ์ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ควรสืบทอด

สังคมทั้ง 2 ภาพนี้สามารถบ่งบอกถึงการลงทุนของผู้ประกอบการ ถ้าเลือกทางลบอะไรจะเกิดขึ้นกับสังคม แต่ถ้าเลือกทางบวกและเกิดการยอมรับ โดยการสืบทอดเพื่อความกลมกลืน และองค์รวมของความเป็นคนไทย ซึ่งจะขาดเสียไม่ได้คือ วัฒนธรรม/ประเพณี/สภาพแวดล้อมไม่ถูกทำลาย

ส่วนด้านการพัฒนาอื่น ๆ คนไทยไม่แพ้ชาติอื่นในทุก ๆ ด้าน

4. ความยั่งยืนของประเทศไทย

ภาพรวมในสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย ขาดความมั่นคงในหลายด้าน เช่น ความคิดแตกต่าง พฤติกรรมแตกแยก มีการชิงอำนาจ/ยึดอำนาย โลภ หลง อบายมุข ซึ่งเป็นเหตุให้มีการฉ้อฉล ทุจริต โกงบ้านกินเมืองโดยไม่มีความละอายต่อบาป

เพราะฉนั้นต้องสร้างคนเพื่อพัฒนาคนไม่ดีให้เป็นคนดี เพื่อนำพาบ้านเมือง (ประเทศไทย) สู่ความยั่งยืน

นายประเสริฐ ประกอบโกศล

8 บทเรียนผู้นำของ MANDELA

ต้องยอมรับว่า 8 ประเด็นของความเป็นผู้นำ Mandela เป็นสิ่งที่ทำให้ท่านสามารถฟ้นฝ่าอุปสรรค และก้าวเป็นถึงผู้นำของประเทศได้ นอกเหนือจาก 8 ประเด็นดังกล่าว สิ่งที่ท่านผู้นำมีนั้น คือ มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัยและรู้จักแสวงหาโอกาส

ถ้าจะนำมาปรับใช้ใน สกย.เราต้องรู้บทบาทหน้าที่ขององค์กร ภาวะผู้นำ-ผู้ตามขององค์กร ผู้สนันสนุน- แนวร่วมและขู่แข่งขององค์กร ฯ ถ้านำ8 ประเด็นนี้มาประยุกต์ใช้ เชื่อได้ว่าองค์กรเราสามารถเป็นเลิศได้

นายสมศักดิ์ ตัณฑ์ศิริ

1. ศึกษากรณีคุณยรรยง ที่ ครม.

ประเด็นคุณยรรยงที่ต้องสนองนักการเมืองในการขออนุมัติ ครม. ประมูลข้าวโพดของกระทรวงพาณิชย์ จนเกิดการโต้เถียงกับ ครม. ทั้งคณะ ซึ่งทำให้มองว่าคุณยรรยงทำงานไม่โปร่งใส ทั้งๆ ที่เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มีความรู้ ประวัติไม่ด่างพร้อย ต้องมาเสียชื่อเสียงในการขออนุมัติประมูลข้าวโพด เพียงเพื่อทำงานเอาใจนักการเมืองที่แสวงหาเงินเข้าพรรค ทำนองความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ซึ่งอาจตรงกับทฤษฎีของการตัดสินใจผิดพลาดของคนเก่ง

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ในเรื่องนี้ ซึ่ง สกย. สามารถนำไปใช้กับพนักงาน คือต้องสอนให้ทุกคนทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม มีคุณธรรม และธรรมาภิบาล

2. 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela

- ประโยชน์ที่ได้รับคือ ความเป็นผู้นำทั้ง 8 ข้อ ของ Mandela มีอยู่ 1 ข้อ ที่ค่อนข้างแปลกคือ “การนำอยู่ข้างหลัง” ซึ่งโดยปกติ คนเรามักคิดว่าผู้นำต้องอยู่ข้างหน้าเสมอ คล้ายเป็นแม่ทัพนำกองทัพไปข้างหน้า และส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีบุคลิกดี

- การนำอยู่ข้างหลัง สกย. สามารถนำไปใช้ได้อีกแนวทางหนึ่งซึ่งเป็นวิธีการส่งเสริมให้บุคลากรในองค์การมีภาวะผู้นำ โดยการสร้างบทบาทให้มีความรู้สึกว่าเป็นผู้นำอย่างแท้จริง เช่น ในการจัดตั้งกลุ่มชาวสวนยาง สกย. ให้เกษตรกรคัดเลือกผู้นำกันเองแล้ว สกย. คอยให้คำแนะนำอยู่เบื้องหลัง เป็นการสร้างผู้นำให้แก่ชุมชน

3. ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า

ประโยชน์ที่ได้รับ

- ได้รับรู้ถึงระบบเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแล้ว และเติบโตขึ้นอย่างช้าๆ ด้านอุตสาหกรรมมีการขยายตัว การท่องเที่ยวและสินค้าเกษตรจะดีมาก

- ให้มีการระวังความเสี่ยงจากอเมริกาและประยุโรป ที่มีปัญหาด้านโครงสร้างหนี้

- ได้มีการเตรียมตัวรับปัญหาสิ่งแวดล้อม

- ทราบถึงความเสี่ยงที่คนไทยไม่ใฝ่รู้ คิดไม่เป็น ไม่ค่อยอ่านหนังสือ ไม่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะความยั่งยืนของประเทศไทยอยู่ที่การศึกษา และทุนมนุษย์เป็นหลัก

สิ่งที่ สกย. จะนำไปใช้จากการสัมมนาครั้งนี้ คือ สำนักงานฯ ต้องให้การศึกษาและพัฒนาพนักงานในทุกทิศทาง เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร การดำเนินงานก็จะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

4. เศรษฐกิจไทย เกษตร, ท่องเที่ยว, รักษาพยาบาลระดับโลก World Class

ประโยชน์ที่ได้รับ

-->ด้านการท่องเที่ยว

จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของทุนมนุษย์ เนื่องจากขาดความรู้ด้านต่างๆ ดังนี้

- ด้านภาษา

- ด้านการเป็นผู้ประกอบการ

- ด้านการบริหารจัดการที่ทันสมัย

- ด้านการใช้ IT เป็นการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการทำงาน เพื่อความรวดเร็วและคล่องตัว

โดยสรุป ต้องพัฒนาทุนมนุษย์ พัฒนาพนักงานระดับล่างและระดับกลาง ให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม ตลอดจนให้เห็นคุณค่าของพนักงาน

-->ภาคเกษตรกร

การเพิ่มมูลค่าทางการเกษตร จะต้องให้ความสำคัญด้านผู้ประกอบการ พัฒนาการบริหารจัดการยุคใหม่ผสมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนพัฒนาอาหารไทยให้มีคุณภาพ

สกย. จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับสำนักงาน โดยการพัฒนาพนักงานทุกระดับ และให้มีส่วนร่วมในการทำงาน ผู้บริหารต้องสนใจดูแลพนักงานด้วย

นายประเสริฐ ประกอบโกศล

ศึกษากรณีคุณยรรยง

1.ข้าราชการประจำกับนักการเมืองต้องทำงานกันอย่างใกล้ชิด โดยยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

2.ข้าราชการประจำต้องมีศักดิ์ศรี ไม่จำเป็นต้องยอมทำตามนักการเมืองในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

3.นักการเมืองมักใช้ข้าราชการประจำหาผลประโยชน์แก่ตนเอง และพรรคพวก

4.ข้าราชการประจำที่ยอมทำตามนักการเมืองมักมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

ในปัจจุบันมีอำนาจแฝงทางการเมืองแทรกซึมในองค์กร ของสกย. ซึ่งจะมีผลทั้งในเชิงบวก และเชิงลบ

1.เชิงเศรษฐกิจ ทำให้ความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวสวนยาง และ นักการเมืองดีขี้น

2.เชิงสังคม ทำให้ภาพลักษณ์ของ สกย.ดีขี้น เนื่องจากได้นำนโยบายที่ดีของรัฐบาลมาปฏิบัติ เช่น ม.21 ทวิ การไขราคาปุ๋ยเคมี ฯ

ปัยจัยท้าทายต่อการพ็ฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทย

จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อ.จีระ หงส์ลดารมภ์ สามารถ นำมาตอบสนองได้อย่างดีเยียม กล่าวคือ

- ถีงแม้เศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ก็เป็นการฟื้นตัว V แบบ NITE คือฟื้นขึ้นมาแต่แผ่ว คนไทยจึงควรมี สติ ตั้งรับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แนนอน การจับจ่ายใช้สอยควรใช้อย่างระมัดระวัง

- การมีปัญญา ทุกองค์กรต้องเอาจริงกับการพ้ฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีการศึกษาค้นคว้าพลังงานทดแทน ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มีนวัตกรรมใหม่ๆ

- การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ผู้หญิง และผู้ส่งออกรุ่นใหม่ เพื่อแข่งขันกับประเทศอื่น นอกจากความรู้เกี่ยวกับประกอบการแล้ว ควรจะเน้นเรื่องธรรมาภิบาล และคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต กับคู่ค้า

- ภาคราชการและเอกชน ควรมีความคิดร่วมกัน คิดเพื่อส่วนรวม เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ

ในส่วนของ สกย.ควร นำพระราชดำรัส ฯ มาถือปฏิบัติ และส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเป็นการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน

นายประเสริฐ ประกอบโกศล

บทความ วันที่ 28 เม.ย.2554

จากบทความ ถึงแม้คนไมยเราจะเก่ง 3 เรื่อง คิอ เกษตร ท่องเทียว การรักษาพยาบาล แต่ด็ใช่ว่าเราเก่งจริง เพียงแต่เรามีทรัพยากรธรรมชาติ มีภูมิอากาศ และมีวัฒนธรรมที่ดีกว่า ที่กล่าวว่าเราไม่เก่งจริง เพราะประเทศเรายังไม่มีการส่งเสริม การพัฒนา ทุนมนษย์ พัฒนาการให้การบริการ และพัฒนาพนักงานทุกระดับ ให้อย่างเพียงพอ ถ้ามีการส่งเสริมอย่างจริงจัง ประเทศเราจะเก่งทั้ง 3 เรื่องอย่างมั่นคงและยั้งยืน

ถ้าจะนำมาปรับใช้กัย สกย. ต้องมีการพัฒนาเรื่องคุณภาพทุนมนุษย์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง และควรจะกำหนดเป็นภารกิรหลักของสกย.

อดุลย์ สุวรรณรัตน์

ประโยชน์ที่ได้จากบทเรียน

๑. บทเรียน ๘บทเรียนผู้นำของMandela

 

              ได้เพิ่มพูนความรู้เรื่องภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำเป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งต้องมาจากจิตใจที่มีความมุ่งมั่น ต่อการอยากทำสิ่งใดๆให้สำเร็จ จึงเกิดความกล้าหาญ ความประนีประนอม การรักษาภาพลักษณ์ และสามารถหาแนวทางในดำเนินการให้สำเร็จ

 

๒. บทเรียน กรณีศึกษา คุณยรรยง ที่ ครม.

 

              มองเห็นความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร

 

             นักการเมืองแสดงพฤติกรรมเป็นนักบริหารแทนการเป็นผู้นำ ที่ควรน่าจะนักการเมืองเป็นผู้ชี้แจง

             ข้าราชการจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ทั้งที่สิ่งควรจะเป็นไม่ควรเป็นผู้ชี้แจงในประเด็นดังกล่าว

 

๓.บทเรียน ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทย

 

             ได้ความรู้ในการพิจารณาปัจจัยที่มีต่อการพัฒนาประเทศไทยในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านพลังงานทดแทน ด้าโลจิสิกส์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมไทยกับการศึกษา ด้าอุตสาหกรรมและการค้า

 

๔. บทเรียน เศรษฐกิจ..เกษตร,ท่องเที่ยว,รักษาพยาบาลและสุขภาพ

 

              ได้รับทราบจุดแข็ง ของประเทศไทย :การเกษตร การท่องเที่ยว รักษาพยาบาลและสุขภาพ

              จุดออ่น ของประเทศไทย: การขาดบุคคลากรที่เชี่ยวชาญด้าน ภาษา การเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ การใช้IT

               ทางแกไข: พัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง

 

                                                                            อดุลย์ สุวรรณรัตน์

 

นายมณฑล ทองศรีนุ่น

๑. ประเด็นของความเป็นผู้นำ Mandela อ่านแล้วมีประโยชน์ดังนี้

ผู้นำไม่ใช่มีแต่ความกล้าอย่างเดียว แต่เป็นคนที่สามารถจุดประกายให้คนอื่นไปสู่จุดความเป็นเลิศได้ เป็นคนที่รุกได้ตั้งรับเป็น ไม่เป็นคนประมาท ไม่จำเป็นที่อยู่แนวหน้าตลอดไป อยู่เบื้องหลังก็ได้ จะทำอะไรต้องศึกษาให้ดี ให้รู้เขารู้เรา เรื่องไหนที่ไม่ชอบต้องใกล้ชิดและศึกษาให้มาก การจะเป็นผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี พัฒนาบุคลิกภาพ ผู้นำที่ดีต้องเป็นกลาง มนุษย์ที่ดีต้องเรียนรู้ อย่าคิดว่าตัวเองถูกเสมอไป ตามแนวคิดและวิเคราะห์ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เพราะฉะนั้นนักบริหารที่ดีของ สกย. ต้องมีความเป็นผู้นำที่ดี

๒. การปฏิบัติงานของข้าราชการประจำกับนักการเมือง

ท่านยรรยง พวงราช เป็นข้าราชการที่มีคุณธรรม มุ่งมั่นและอดทน ไม่มีประวัติต่างพรอย แต่ถ้านักการเมือง ไม่มีคุณธรรม และธรรมาภิบาลจะไม่มีประโยชน์อะไรต่อส่วนรวม ถึงแม้ คุณท่านยรรยงจะเก่าและมีคุณธรรมลึกแค่ไหน ถ้าขาดประสบการณ์ในระดับความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับนักการเมือง

แต่คนดีอย่างท่านยรรยงคงไม่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองโดยไม่จำเป็น ส่วนที่มาปรับใช้กับ สกย. คือ ความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม เดินสายกลาง มีอะไรให้ศึกษาให้ถ่องแท้ ข้าราชการเป็นเกียรติและศักดิ์ศรี ตรงกับที่ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ วิเคราะห์

๓. ปัจจัยท้าท้ายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า

คนไหนที่จะพัฒนาให้ยั่งยืน ตามพระราชดำรัส ของพระเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย สติ ปัญญา ซื่อสัตย์สุจริต คิดเพื่อส่วนรวม

แต่ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านว่า สรุปว่าต้องมองหลายด้าน ถ้าจะให้ยั่งยืนจริงๆ ต้องให้การศึกษาเป็นเลิศ สนใจทรัพยากรมนุษย์ สร้างความผูกพันและความสุขแก่องค์กร งานถึงจะสำเร็จ เพราะฉะนั้นส่วนนี้เป็นส่วนที่ท้าทาย สกย.

๔. เศรษฐกิจไทย : เกษตร-ท่องเที่ยว-รักษาพยาบาล

จากบทเรียน จากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ ที่ว่าคนไทยเก่ง ๓ เรื่อง ตามเศรษฐกิจไทย คงไม่ใช่เศรษฐกิจไทย จะให้ไปสู่ความสำเร็จได้ คือ

๑. คุณภาพมนุษย์ ต้องดูให้เป็นระบบอย่างจริงจัง

๒. พัฒนาข้าราชการอย่างจริงจัง

๓. เรื่องสิ่งแวดล้อม คือ ภาวะโลกร้อน

สรุปได้ว่าความยั่งยืนของประเทศไทย ต้องอยู่ที่การศึกษาและทุนมนุษย์เป็นหลักและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

นายศิลป์ชัย วิฑูรย์พิศาลศิลป์

จากการเรียนรู้ คำถามของท่านอาจารย์และทบทวนบทเรียนจากความจริง

1. สรุปในเรื่องของผู้นำแล้วเห็นว่า

1. ผู้นำต้องมี ทักษะ รู้ปัญหา หาทางแก้ไข ปรับปรุง

2. ผู้นำต้องคิดสร้างสรรค์ (พัฒนาในสิ่งที่ดี)

ดังตัวอย่าง 8 ประเด็กของการเป็นผู้นำของ Mandela และตัวอย่างศึกษากรณีคุณยรรยงที่ ครม. สรุปรวมตามแนวคิดของท่านอาจารย์ ทั้ง 2 ข้อ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ใน สกย. ได้เป็นอย่างมาก

2. สรุปแนวคิดที่ท่านอาจารย์ได้บรรยายในเรื่องยางแย่งที่ปลูกข้าว

ปัจจุบันนี้เกษตรกรหันมาปลูกยางพารากันมากทั่วทุกภาคของประเทศ อาจจะเป็นไปได้บางส่วน แต่ต้องคิดความถูกต้องหลาย ๆ ประเด็น กล่าวคือ

1. ยางพารามี สกย. ให้การดูแลอยู่ ให้ความรู้ทุกด้านแก่เกษตรกรชาวสวนยาง

2. ความเหมาะสมของพื้นที่ที่ปลูกยางกับข้าวต่างกัน ยางพาราปลูกได้ในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขังส่วนข้าวต้องปลูกในน้ำ เป็นต้น

ผมเกิดข้อคิดมานานแล้ว มีแต่พูดคุยกับเพื่อฝูงถึงเรื่องข้าว

ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของประเทศ คนไทยทุกคนเกิดมากินข้าว แต่ชาวนาไทยทำนาขาดทุน เป็นหนี้ส่งออกข้าวเก็บภาษีส่งออก ทำไมไม่ทำเหมือนยางพารา กล่าวคือ ตั้งกองทุนสงเคราะห์ข้าว โดยใช้ภาษีส่งออกมาให้ชาวนาไทยเหมือนกับกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทำไม ไม่เข้าใจ

นายศิลป์ชัย วิฑูรย์พิศาลศิลป์ สกย.จ.ศรีสะเกษ

บทเรียน โครงการค่ายผู้นำรุ่นใหม่ของ สกย.

ระหว่างวันที่ 11 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2554

 

  1. 1.      ภาวะผู้นำของประธานาธิบดี เนลสัน แมนเดลล่า แห่งอัฟริกาใต้

 

สังคมโลกได้แสดงความชื่นชมและยกย่อง ในความสำเร็จของ ประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลล่า

อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้  ผู้สร้างศรัทธาทำให้เกิดสันติภาพและความปรองดองระหว่างคนผิวขาวกับผิวดำขึ้นอย่างถาวรในประเทศแอฟริกาใต้

            จากปัญหาความแตกต่างของคนในสังคม ระหว่างคนผิวขาวกับผิวดำ นำมาซึ่งไม่เท่าเทียมกันในแง่

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  เป็นเรื่องที่คนทั่วไปมองไม่เห็นโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะทำให้คนทั้งสองกลุ่มนี้

หลอมรวมเป็นสังคมเดียวกันได้  แต่ด้วยคุณลักษณะและคุณสมบัติความเป็นผู้นำของ แมนเดลล่า  ที่มุ่งมั่นจะช่วยเหลือคนผิวดำในสังคมแอฟริกาให้มีความเสมอภาคและภารดรภาพ  ก่อให้เกิดแรงศรัทธาทางสังคมในวงกว้าง  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติการเหยียดสีผิว  สร้างความปรองดองขึ้นระหว่างคนผิวขาวกับผิวดำ  เกิดความร่วมมือในการนำพาสังคมแอฟริกาใต้ ไปสู่สันติภาพและความสงบสุขจนถึงทุกวันนี้

            ในสังคมสกย. ภารกิจขององค์กรไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงในเชิงสังคม  แต่เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาชีพหรือเศรษฐกิจของคนหรือสังคม  ซึ่งในบางพื้นที่โดยเฉพาะภาคใต้  เป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ในสังคมภาคการเกษตร  ดังนั้นผลการดำเนินงานของสกย.   จึงส่งผลกระทบและเกิดผลที่ตามมา ของคนหรือสังคมอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

            จากคุณสมบัติ 8 ประการของผู้นำตามแนวทางของเนลสัน แมนเดลล่า  สามารถนำมาใช้ในการสร้างผู้นำในสังคมหรือชุมชน เกษตรชาวสวนยางได้เป็นอย่างดี  โดยเฉพาะความเป็นแบบอย่างของความมุ่งมั่น ความสามารถที่จะจุดประกาย นำชุมชนหรือสังคมไปสู่ความเป็นเลิศในการประกอบอาชีพยางพาราให้มีความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่ความมั่นคงและความสุขของสังคมเกษตรกรชาวสวนยางในที่สุด

 

  1. 2.      บทบาทของผู้บริหารในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ    

  

ในกรณีของคุณยรรยง  พวงราช  เสนอขออนุมัติ ครม.ประมูลข้าวโพดของกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะ

อธิบดีกรมการค้าภายใน ฐานะผู้ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการ ให้ชี้แจงต่อครม.อภิสิทธิ์ นั้น ทำให้เห็นได้ว่าในฐานะผู้นำหรือผู้บริหารองค์กร  ภาระหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบหรือรับมาดำเนินการ มีทั้งแนวนโยบายที่เป็นงานประจำและนโยบายที่เกิดขึ้นตามสถานการณ์    ในกรณีนี้ เป็นการดำเนินนโยบายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดให้สามารถขายได้ในราคาที่สูงหรือเป็นธรรม   แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเคลือบ

แคลงสงสัยจากสังคมถึงความโปร่งใส หรือผลประโยชน์ทับซ้อน  

ในฐานะผู้นำในการบริหารองค์กร บางครั้งอาจไม่ต้องเน้นความถูกต้อง 100% แต่ที่สำคัญต้องคงไว้ซึ่งหลักการในการทำงาน และสามารถสื่อสารทำความเข้าใจได้ในการคงไว้ซึ่งหลักการที่ถูกต้อง เป็นพื้นฐานทางจริยธรรมของผู้บริหาร   ซึ่งจะต้องประพฤติปฏิบัติสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ความถูกต้อง ซึ่งเป็นพื้นฐานของคุณธรรมที่สังคมต้องการและยอมรับ หากพิจารณาในระดับองค์กร กรณีนี้รัฐมนตรีว่าการฯได้มีนโยบายให้กรมการค้าภายในประมูลข้าวโพดเป็นเป้าหมายปฏิบัติ และในระดับบุคคล อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นผู้บริหารระดับสูงที่มีอำนาจในการดำเนินการ  ดังนั้นผลการปฏิบัติจึงขึ้นอยู่กับ อัตลักษณ์ของคุณยรรยง ในการตัดสินใจดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว

            ผู้บริหารมักเผชิญภาวะกดดันและการตัดสินใจที่ลำบาก เป็นความขัดแย้งในใจที่จะต้องทำบางสิ่งที่จะต้องเลือกเอาระหว่างผลประโยชน์กับจริยธรรมที่ถูกท้าทาย ทำให้เกิดความกดดันของผู้บริหารที่มีจริยธรรมต้องตัดสินและหลีกเลี่ยง

            ในสังคม สกย. อาจนำกรณีของคุณยรรยง  พวงราช มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับองค์กรในแง่ของ

จริยปฏิบัติ     การที่องค์กรและผู้บริหารระดับสูงสร้างสำนึกของความดีในสังคม สกย.  จะมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงาน  ก่อให้เกิดการกระทำที่ดีและรับผิดชอบต่อผู้อื่น หากผู้บริหารเป็นผู้ที่มี

คุณธรรมและกระทำตนเป็นผู้นำการกระทำในการดำเนินภารกิจ สกย.ของแล้ว  จะส่งผลให้เกิดจริยปฏิบัติ

แบบยั่งยืนได้

 

  1. 3.      ปัจจัยที่ท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า (2553และอนาคตข้างหน้า)

 

การเสวนาเรื่อง  “ ปัจจัยท้าทายประเทศไทย ปี2553  อยู่รอดหรือยั่งยืน ”    เมื่อ  8  ธันวาคม  2552

ณ  มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด เป็นการสะท้อนมุมมองของกลุ่มคนไทย ที่มีความรัก ความหวงแหน

และต้องการมีส่วนร่วมในการนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อตอบสนองพระราชดำรัสของพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    

การแสดงทัศนะของผู้เข้าร่วมเสวนา ทั้ง 6 ด้านคือ ด้านเศรษฐกิจ ดร.กอร์ปศักดิ์ได้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสหรือความได้เปรียบเชิงทรัพยากรของไทย    ประกอบกับความสามารถกระจายความเสี่ยงจากความเติบโตของภูมิภาคเอเซีย    ในขณะที่เศรษฐกิจในยุโรปและอเมริกาประสบปัญหา  แต่ทั้งนี้ก็ต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายของรัฐบาลไทยด้วย  การกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศโดยสร้างอำนาจซื้อให้กับประชาชน ด้วยนโยบายประชานิยม ในด้านสังคมและการศึกษาในระยะยาวอาจทำให้ประชาชนคุ้นเคยกับการบริโภค  การได้รับความช่วยเหลือจนคนไทยคิดไม่เป็น  ไม่ใฝ่รู้  ชอบลอกเลียนแบบ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อความยั่งยืนของประเทศ ดังมุมมองของ ดร.สรจักร  เกษมสุวรรณ 

            ด้านพลังงานและอุตสาหกรรม   คุณมนูญ  ศิริวรรณ    ได้ให้ข้อคิดเห็นที่แตกต่างในการอุดหนุนงบประมาณสำหรับราคาน้ำมัน  ท่านเห็นว่าควรลดการแทรกแซงและปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดบ้าง

เพื่อปรับสมดุลและ ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์   ไห้เน้นการประหยัดและส่งเสริมนวัตกรรมพลังงานทดแทนเป็นสำคัญ

            คุณประพัฒน์  โพธิวรคุณ   ยืนยันว่าอุตสาหกรรมไทยยังดีอยู่   จากการขยายตัวของภูมิภาคเอเซียน

เป็นตลาดใหม่ที่สามารถทดแทนตลาดยุโรป  อเมริกา ที่อ่อนแอลง แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยต้องเผชิญ

ความเสี่ยงที่เกิดจากมลภาวะของอุตสาหกรรมที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต  

ในขณะที่คุณสมชาย สาโรวาท ได้กระตุ้นให้เห็นความจำเป็นของการเพิ่มการบริโภคภายในประเทศแทนการส่งออกเพียงด้านเดียวและเน้นความสามารถลดต้นทุนการขนส่งและทักษะความสามารถของกิจการทั้งภาครัฐ และเอกชนให้มากขึ้น

            คุณประกาย  ชลหาญ  วิทยากรร่วมการสัมมนา  ได้ให้ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของทุกภาคส่วน  ซึ่งจะทำให้เกิดความได้เปรียบและมีความสามารถในการแข่งขัน   ดังนั้นทุก

องค์กรจะต้องสนใจจริงจังกับทรัพยากรมนุษย์    เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนองค์กรท่ามกลางกระแสความ

เปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน  ซึ่งเป็นปัจจัยที่ท้าทายอย่างยิ่ง

            การพัฒนายางพาราของไทยให้เกิดความยั่งยืนนั้น  มีปัจจัยท้าทายในทิศทางเดียวกับการพัฒนา

ประเทศเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในภาคการเกษตร และยางพาราก็เป็นสินค้าการเกษตร ที่สำคัญในการนำรายได้สู่ประเทศในอันดับต้นๆ   ถึงแม้ยางพาราจะเป็นสินค้าเกษตรที่มีคุณสมบัติและ ศักยภาพในการแข่งขันสูง  แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายประการที่ไม่สามารถมองผ่านไปได้ เป็นต้นว่า

  1. การศึกษาการใช้ทรัพยากรในการผลิตยางพารา
  2. การสร้างนวัตกรรมเพิ่มมูลค่าผลผลิตยางพารา
  3. การเพิ่มปริมาณการบริโภคภายในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ
  4. การพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยางในมุมมองด้านทุนมนุษย์
  5. ความรับผิดชอบขององค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. การสร้างสภาพสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทั้ง  6  ประการ  นี้ล้วนส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนายางพาราสู่ความยั่งยืนทั้งสิ้น จึงขอเสนอปัจจัย

ดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนในสังคมไทย  ได้ร่วมแสดงทัศนะและพัฒนาสู่ความยั่งยืนต่อไป

 

 

“มุ่งพัฒนาคน พัฒนายาง สร้างสังคมและสิ่งแวดล้อม

ตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

 

                                       นายสุกิจ   บุญชัย

นาย ไพบูลย์ กิตติพงศ์วิวัฒน์

กรณีศึกษา คุณยรรยง พวงราช ในที่ประชุม ครม

คุณยรรยง พวงราช เป็นข้าราชการที่น่ายกย่อง ที่กล้าเสนอความจริงให้ ครม. ได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ว่า ครม. มิใช่นิติบุคคล ทำสัญญาเองไม่ได้ เรามักจะพบว่าข้าราชส่วนใหญ่ไม่กล้าทักท้วงเรื่องที่ไม่ถูกต้องโดยเฉพาะเรื่องของผู้บังคับบัญชา หรือผู้บริหารสั่งให้ทำคำพูดที่ว่าลอยไปตามน้ำเป็นเรื่องธรรมดา สำหรับข้าราชการที่หวังจะเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นโดยเฉพาะนักการเมืองมีอิทธิพลต่อความเจริญก้าวหน้าของข้าราชการยุคนี้ เราจะสร้างค่านิยมด้านคุณธรรม และจริยธรรม ให้นักการเมือง และข้าราชการให้มีจิตสำนึกและอุดมการณ์ให้ทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนมาก่อน แต่ส่วนใหญ่มีความเคลือบแฝงไปด้วยผลประโยชน์ของพรรคพวก หรือตังเองก่อนที่เหลือจึงจะตกเป็นของประชาชน หรือใช้ประชาชนเป็นข้ออ้างเท่านั้น

นายไพบูลย์ กิตติพงศ์วิวัฒน์

สกย.อ.ห้วยยอด

29 ก.ค. 54

สันติศักดิ์ ฐาน์กาญจน์

ข้อ1.เกี่ยวกับ Nelson Mandela

ได้รู้จักท่านมากขึ้นและได้รู้ว่าทำไมจึงมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก ทั้งนี้เพราะว่าท่านมีภาวะผู้นำใน8ด้านดังนี้

1.ความกล้าหาญ 2. การเป็นผู้นำข้างหน้า(รุกได้ รับได้และไม่ประมาท) 3.การนำอยู่ข้างหลัง(ตัองแน่ใจว่าคนที่เรายกย่องให้มีบทบาทอยู่ข้างหน้า ตัองให้เขารู้สึกว่า เขาได้นำอย่างน่าภาคภูมใจ และสมศักดิ์ศรี 4.การบริหารจัดการศัตรู(ต้องรู้จักศัตรูดี) 5.ต้องอยู่กับเพื่อนอย่างใกล้ชิด แต่กับคู่แข่งหรือคนที่เราไม่ชอบยิ่งต้องใกล้ชิดกว่า 6.ต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี 7.ต้องไม่เนันถูก-ผิด ขาว-ดำ 100%(มีการประนีประนอมที่เหมาะสม รักษาหลักการหาทางตกลงแบบwin-win) 8.ต้องรู้ว่าจังหวะไหนจะพอหรือจะถอย

การปรับใช้กับสกย.ทั้ง8ประเด็นผู้บริหารทุกระดับสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานะการณ์ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงเน้นข้อกล้าหาญและการนำอยู่ข้างหลัง

ข้อ2. กรณีคุณยรรยง พวงราช ที่ครม.

ได้ว่าข้าราชการประจำกับการเมือง มีความสัมพันกันอย่างใกลชิด มีความละเอียดอ่อนที่ไม่ธรรมดา ผู้นำสกย.ควรยึดถือเป็นแบบอย่างในความกล้าหาญที่จะให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและเหตุผล ยืนยันในสิ่งถูกต้อง

ข้อ3.เรื่องปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทย

ได้รู้ว่ามุมมองของผู้รู้ในแต่ละวงการไม่ว่าด้านการเงินการธนาคาร การอุตหสาหกรรม การค้าต่างประเทศ เป็นข้อมูล เป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ สกย.สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนดำเนินการ ต่างๆให้สอดคล้องกับภารกิจ เป้าหมายของสกย.ที่มุ่งพัฒนายางพาราครบวงจร นำชุมชน สังคมเข้มแข็งยั่งยืน

ข้อ4. เรื่องเศรษฐกิจ เกษตร ท่องเที่ยว รักษาพยาบาลระดับโลก

ได้รู้ว่าการที่จะพัฒนาด้านต่างๆให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลกนั้น รัฐจะต้องให้ความสำคัญกับทุนมนุษษย์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านนั้นๆเช่นเกษตร,ท่องเที่ยว การรักษาพยาบาล โดยสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจังเป็นระบบ

สำหรับสกย.ก็เช่นเดียวกัน จะต้องลงทุนพัฒนา คนให้มีคุณภาพ.ตอบสนองภารกิจปัจจุบันของสกย. อย่างจริงจังเช่น ระบบทั้งระยะสั้นและระยะยาว

1.Mandela

ถือเป็นผู็นำทางจิตวิญญานของชนผิวสีอย่างแท้จริง ซึ่งการเหยียดผิวยังคงดำรงอยู่แม้ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วก็ตาม

ท่านสามารถเอาชีวิตรอดได้ท่ามกลางศัตรูที่รายล้อมและพร้อมจะหยิบยื่นความตาย ท่านคงจะ"บริหารศัตรู"อย่างบทความของท่านอาจารย์

มนนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาย่อมต้องได้รับการปฏิบัติตามควรแก่ศักย์ศรีของตน ท่านปธน.คนที่ 3ของUSA Thomas Jefferson กล่าววาทะ"All Men Are Created Equal" (เมื่อ 4 กรกฎาคม 1776)

2.ปลัดฯยรรยง พวงราช

ข้าราชการที่ใครๆมองว่าเป็นคนดีนั้นเสียอนาคต เสียผู้เสียคนไปก็หลายคน

วิเคราะห์บทความของอาจารย์เจ้ากระทรวงเห็น"ช่องทาง"เลยเกิดกรณีวิวาทะระหว่างนายกฯกับรมต. เลยไปถึงการแต่งตั้งปลัดกระทรวงฯกว่าจะได้ นายกฯเรียกไปติวหลายรอบ

ข้าราชการที่เอาตัวเข้าอิงกับถูกทำให้อิงการเมือง(บีบ) ย่อมมองเห็นถึงวิธีคิดของคนนั้นๆ

3.เห็นด้วยอย่างมากกับข้อกังวลของอาจารย์เกี่ยวกับการนำที่นามาปลูกยาง เห็นชัดที่จังหวัดพัทลุง หากยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ น่าเป็นห่วงถึงความมั่นคงทางอาหาร

สุภิชาญ ช่อเรืองศักดิ์

1.  8 บทเรียนนำของ ผู้ Mandela

อ่านบทความแล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง

การบริการจัดการศัตรูอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จทำให้ศัตรูกลายมาเป็นมิตรหรือกลายเป็นพันธมิตรกับเราได้  ผู้นำที่ดีต้องรู้สถานการณ์ว่าช่วงไหนควรจะรุก ช่วงให้ควรจะถอยตั้งรับ  การจะทำงานอะไรจะต้อง รู้เขา& รู้เรา จึงจะประสบความสำเร็จในการทำและผู้นำที่ดีควรมีความพอเพียง

มีอะไรบ้างที่นำมาปรับใช้กับ สกย.

การบริหารจัดการศัตรูให้เป็นมิตรที่ดี การทำงานต้องมีการปรับกลยุทธ์ในการทำงานมีตั้งจังหวะรุกหรือจังหวะถอย ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ในเกิดขึ้นจริงในช่วงนั้นๆ

2. กรณีศึกษาคุณยรรยงที่ครม.

อ่านบทความแล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง

ความผิดพลาดในการทำงานที่อ่อนประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับนักการเมือง การควบคุมอารมณ์(EQ)ไม่ได้ทำให้เสียอนาคต การทำงานเพื่อประโยชน์ของชาติ จะต้องมีความรอบครอบ ถูกต้อง ต้องมีการปรึกษาหารือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องยอมรับความคิดเห็นของท่านอื่นๆ หากถูกต้องสามารถแก้ไขแนวทางเดิมที่ได้อนุมัติให้ความเห็นชอบไปแล้วได้

มีอะไรบ้างที่นำมาปรับใช้กับ สกย.

การควบคุมสติหรืออารมณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อปรึกษาหารือการทำงานให้ได้ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนยางและองค์กรมากที่สุด ไม่ใช่ทำงานเพื่อเอาใจนักการเมือง

3. เศรษฐกิจไทย..เกษตร, รักษาพยาบาล ระดับโลก(World Class)

อ่านบทความแล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง

การพัฒนาทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด  การบริหารความเสี่ยงด้านต่างๆ มีอยู่ในเศรษฐกิจไทยที่จะไปสู่ระดับโลก(World Class)  การบริหารจัดการจุดแข็ง–จุดอ่อนของประเทศไทยในการพัฒนาศักยภาพไปสู่ระดับโลก(World Class)

มีอะไรบ้างที่นำมาปรับใช้กับ สกย.

การพัฒนาบุคลากรของ สกย.และเกษตรกรชาวสวนยาง ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพและการเพิ่มมูลค่าของสินค้า

4. ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า(2553)

อ่านบทความแล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง

ทราบเศรษฐกิจของไทยถึงจุดต่ำสุดแล้ว และกำลังฟื้นตัวขึ้นมาอย่างช้าๆแต่ โดยเฉพาะด้านการส่งออกต่างประเทศภาคอุตสาหกรรม,ภาคการเกษตรกรและอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยว ด้านการบริโภคภายในประเทศมีการปรับตัวที่สูงขึ้น แต่ก็มีปัจจัยที่เสี่ยงอยู่เรื่องวิกฤตเศรษฐกิจที่ประเทศกรีก เรื่องราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ความอ่อนแอตลาดสินค้าอเมริกาและยุโรป ที่ลดลงไป  ต้องมีการพัฒนาการหาตลาดใหม่เพื่อการส่งออกและการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นที่สำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

มีอะไรบ้างที่นำมาปรับใช้กับ สกย.

ในการทำงานต้องมองหลายมิติและทำงานแบบบูรณาการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร และต้องถือว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดขององค์กรที่ควรรักษาเอาไว้ ต้องมีการวางแผนเป็นระบบในการพัฒนาบุคลากรของ สกย. และเกษตรกร

ขอเพิ่ม ในประเด็นที่จะปรับใช้กับ สกย.ด้วยค่ะ

จากบทความทั้ง 4 อ่านแล้วได้ข้อคิดที่เห็นว่านำปรับใช้กับ สกย. ได้ ดังนี้

 

บทความที่ 1 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela ผู้นำของ สกย. จะต้องมีความสง่างามทั้งในบริบทของการทำงานและการดำรงตน เป็น idol ของพนักงาน สร้างความปรองดองในหมู่พนักงานให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อนำพา สกย.ไปสู่รัฐวิสาหกิจ 1ใน 10 ภายในปี 2556

 

บทความที่ 2 ศึกษากรณีคุณยรรยง ที่ ครม. การทำงานของ สกย.ต้องยึดกฎ ระเบียบ แต่บางครั้งก็ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย ยิ่งต้องทำงานร่วมกับเกษตรกร ก็ต้องพิจารณาหลายๆด้าน เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย และมีความพึงพอใจด้วยกันทุกฝ่าย

บทความที่ 3 ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า สกย.ในยุคปัจจุบันรับคนรุ่นใหม่เข้ามามาก เป็นโอกาสที่ดีที่จะพัฒนาบุคลากรซึ่งต้องอยู่กับ สกย.เป็นเวลานาน โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อให้การสนับสนุนให้ทุนการศึกษาจนถึงระดับปริญญาเอก หรือจัดหลักสูตรอบรมที่เข้มข้นในการพัฒนาคนรุ่นนี้ให้มาก คิดว่าคนนี่แหละที่นำไปสู่การพัฒาที่ยั่งยืนที่สุดของ

 สกย.

บทความที่ 4 บทความเศรษฐกิจไทย..เกษตร,ท่องเที่ยว,รักษาพยาบาล ระดับโลก world class ? จากประเด็นนี้ บทบาทของ สกย.ก็ไม่พ้นเรื่องการเกษตร การจะไปถึงระดับ World class ได้ ก็ต้องทำยางพาราให้มีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มโดยการแปรรูป และกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนายางพาราให้ครบวงจร สร้างคนของ สกย.ให้มีศักยภาพเพื่อจะได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในวงการยางพาราเพื่อนำไปสู่ระดับโลก

บทเรียนผู้นำของ Mandela   เป็นกรณีศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้นำที่ได้รับการยอมรับนับถือจากสาธารณชนทั่วโลก กล่าวคือ จะต้องมีความกล้าหาญ อดทน มีความมุ่งมั่น  มีความยืดหยุ่นแต่ยังคงแน่วแน่ในอุดมการณ์  แสดงความจริงใจต่อมิตรและศัตรู  รู้จักวางตัว  เป็นคนประนีประนอม  รู้เขารู้เรา และไม่แสวงหาประโยชน์ใส่ตัว      หากผู้นำของ สกย.ในทุกระดับ สามารถปฏิบัติได้และเป็นตัวอย่างที่ดี     ก็จะทำให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา อันนำมาซึ่งความตั้งใจในการทำงานร่วมกัน และจะเป็นผลให้ สกย.เป็นองค์กร ที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

 

กรณีศึกษาของคุณยรรยง พวงราช ในการชี้แจง ครม.  ในความคิดเห็นส่วนตัวเห็นว่าหากคำชี้แจงที่คุณยรรยง พวงราช อธิบายในที่ประชุม ครม.ถูกต้องตามที่ควรจะปฏิบัติแล้ว  ประกอบกับคุณยรรยง พวงราช เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ รมต.พรทิวา คุณยรรยง พวงราช ก็ไม่สมควรที่จะถูกตำหนิเพราะเป็นการมาให้ข้อมูลตามคำสั่งของ รมต.พรทิวา    กรณี ครม.จะแสดงความไม่พอใจหรือไม่เห็นด้วย ก็สมควรหารือหรือว่ากล่าวกันเองในระดับ รมต.   ประโยชน์จากกรณีศึกษาของคุณยรรยง พวงราช สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร สกย.ได้คือ ผู้ใต้บังคับบัญชามีหน้าที่จะต้องหาข้อมูลให้ครบถ้วน มีความละเอียดรอบคอบในการชี้แจงพร้อมเสนอแนะแนวทางแก้ไข ในส่วนผู้บังคับบัญชาควรแสดงตัวปกป้องและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของตน

 

ปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จิระ)   ซึ่งสรุปปัจจัยที่สำคัญ คือ เศรษฐกิจการเงิน การค้าระหว่างประเทศ และถ้าต้องการให้ยั่งยืนต้องสร้างให้การศึกษาเป็นเลิศ ผู้นำในองค์กรต้องเป็นผู้ที่สนใจทรัพยากรมนุษย์    ในความคิดเห็นส่วนตัวเห็นว่าปัจจัยท้าทายต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของประเทศไทยปีหน้า นอกเหนือจาก ที่กล่าวข้างต้นแล้ว ปัจจัยด้านความมีเสถียรภาพของรัฐบาล  และปัจจัยด้านความปรองดองขอชนในชาติ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะเอื้ออำนวยให้ปัจจัยอื่น ๆ เกิดขึ้นได้และประสบความสำเร็จ       ในส่วนของการพัฒนาแบบยั่งยืนของ สกย. ปัจจัยที่สำคัญ คือ ต้องปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง

 

บทความเศรษฐกิจไทย...เกษตร , ท่องเที่ยว , รักษาพยาบาล ระดับโลก World Class ?      สรุปให้เห็นถึงปัญหาการใช้แรงงานจำนวนมากแต่ผลผลิตที่ได้กับตรงกันข้าม  มีแรงงานไร้ฝีมือจำนวนมาก ต้นทุนการขนส่งสูง ไม่มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้  ในความคิดเห็นส่วนตัวเห็นว่าในอนาคตหากไม่มีการนำการบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้  ประเทศไทยจะต้องประสบปัญหาไม่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรในทุกระดับทั้งตัวผู้ประกอบการให้มีการบริหารจัดการสมัยใหม่และนำเอาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดต้นทุนค่าขนส่ง  ตัวผู้ใช้แรงงานต้องพัฒนาให้มีความรู้ความชำนาญให้เป็นแรงงานที่มีฝีมือ    ในส่วนของ สกย.มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ในงานที่ทำ แต่ไม่ได้รับความรู้หรือได้แลกเปลี่ยนความรู้กับหน่วยงานภายนอก  ทำให้ผลผลิตของ สกย.ย่ำอยู่กับที่หรือไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร    จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร ของ สกย.

 

 

เพ็ญทิพย์ ศุภธีรเวทย์

Mandela

ได้แนวคิดของผู้นำที่ผ่านความยากลำบากก่อนมาเป็นผู้นำ น่าจะได้นำแนวคิดไปปฏิบัติ

การเป็นผู้นำของ สกย. และการทำงานภายใน สกย. ในบางครั้ง ก็มีความกดดัน หรือมีภาวะถูกแทรกแซงจากการเมือง ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพื่อให้การบริหารงานอยู่รอดได้นั้นถ้าได้นำแนวคิดของท่านผู้นำมาใช้โดยจำเป็นต้องรู้จังหวะ รู้รุก รู้ถอย ผ่อนหนัก ผ่อนเบา และไม่หวังผลประโยชน์จากองค์กร มุ่งหวังพัฒนากรองค์กรให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นไป

กรณีคุณ ยรรยง พวงราช

การทำงานในแต่ละหน่วยงาน ควรจะให้เกียรติซึ่งกันและกัน มองความถูกต้อง ไม่มีการเอาเปรียบผู้ใต้บังคับบัญชา

การทำงานของ สกย. ภายใต้การกำกับ และนโยบายของคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง เป็นผู้กำหนดนโยบาย และกำกับการทำงานของสำนักงานนั้น การพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ  ผู้บังคับบัญชาควรจะศึกษาถึงเรื่องต่าง ๆ  ความเป็นมาเป็นไปของเรื่องนั้น ๆ ที่ผู้ใต้บังคับบัญชานำเสนอ ให้เข้าใจให้ดี เมื่อเกิดปัญหา จะได้ช่วยแก้ไขได้ทันท่วงที และร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น

เศรษฐกิจ  เกษตร และการท่องเที่ยว

การที่ได้รู้ว่าประเทศไทยยังคงมีทรัพยากรที่ดี สามารถประกาศให้ทั่วโลกรู้ถึงศักยภาพของความเป็นไทยได้

สกย.เป็นหน่วยงานที่ให้บริการแก่เกษตรกร ส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกร ในการปลูกสร้างสวนยาง ให้ได้ผลผลิตสูง  เพื่อเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ ของไทยนั้น สกย. จึงเป็นส่วนหนึ่งในภาคการเกษตร ดังนั้นเพื่อให้ภาพรวมของประเทศ ทางด้านการเกษตรดีขึ้น สกย. ก็ต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้วย การมีส่วนร่วม จึงต้องพัฒนาให้พนักงานมีความรู้ในสถานะภาพขององค์กร มีความรักในภาระหน้าที่ขององค์กร เพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท