การกำหนดโครงการด้วยกลยุทธ์ขององค์การ


การกำหนดโครงการด้วยกลยุทธ์

บทที่ 3 

การกำหนดโครงการด้วยกลยุทธ์ขององค์การ 

ความนำ 

            การกำหนดโครงการมีหลายแนวทาง แนวทางปัจจุบันเป็นแนวทางการบริหารโครงการแบบบูรณาการ โดยบูรณาการโครงการกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นการวางแผนพัฒนาองค์การในอนาคต ในลักษณะองค์รวม (holistic) กำหนดตำแหน่งขององค์การในอนาคต (positioning) โดยกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ พันธกิจ เป้าประสงค์ ดังนั้น การกำหนดโครงการจึงควรเชื่อมโยงมาจากกลยุทธ์ขององค์การ แนวคิดของการบริหารโครงการอย่างเต็มรูปแบบ (project-driven) เป็นการพัฒนาการสูงสุดในการบริหารโครงการในปัจจุบัน

 โครงการกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Project and the Strategic Plan)

                การเชื่อมโยงระหว่างแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์การกับโครงการอย่างชัดเจน มีคุณค่าต่อแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งได้ออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในอนาคต องค์การหลายองค์การไม่สามารถ พัฒนากระบวนการและคัดเลือกโครงการให้สอดคล้องกับแผนเชิงกลยุทธ์ ผลสัมฤทธิ์ที่ปรกฏต่อทรัพยากร ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปการณ์และความสามารถหลัก มีการใช้อย่างไม่มี ประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้ามองค์การที่เชื่อมโยงอย่างต่อเนื่องระหว่างโครงการกับกลยุทธ์จะมีการร่วมมือภายในระหว่างฝ่ายต่างๆในองค์การ องค์การจะต้องมีการวางแผนแบบเชิงกลยุทธ์และมีกระบวนการจัดลำดับความสำคัญของโครงการที่สอดคล้องกับแผนและผู้บริหารโครงการ

 ผู้บริการโครงการควรเข้าใจกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ 

1. การเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการการบริหารเชิงกลยุทธ์ จะทำให้ผู้บริหารโครงการได้เห็นภาพรวม จุดสนใจขององค์การว่ามุ่งไปที่สิ่งใด ซึ่งจะส่งผลให้สามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้น

2. ผู้บริหารโครงการที่มีประสบการณ์ สามารถให้ความคิดเห็นที่มีคุณค่าแก่ผู้บริหารองค์การเกี่ยวกับสมรรถนะขององค์การ และข้อจำกัดทางด้านทรัพยาการที่มีอยู่

3. ทำให้ผู้บริหารโครงการแต่ละคนสามารถมองเห็นความเกี่ยวพันระหว่างโครงการของตนเองกับโครงการของผู้อื่นในองค์การได้

กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ 

            การบริหารเชิงกลยุทธ์ หมายถึง กระบวนการประเมินค่า “เราอยู่ที่ใด” และตัดสินใจและการปฏิบัติว่า “เราต้องการเป็นอะไร” และ “เราจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร” องค์การจะประสบผลสำเร็จโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบันและในสภาพแวดล้อมอนาคตอย่างไร

            การบริหารเชิงกลยุทธ์มีมิติที่สำคัญ 3 ประการ คือ

  1. ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก
  2. จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อที่จะพัฒนาองค์การให้อยู่ในตำแหน่งที่แข่งขันได้
  3. เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องที่จะพัฒนาการบูรณาการและประสานงานการปฏิบัติตามแผนระยะยาว

องค์ประกอบของการบริหารเชิงกลยุทธ์ จะเชื่อมโยงกันและเป็นผลให้องค์การประสบความสำเร็จในอนาคต การเชื่อมโยงกันระหว่างองค์ประกอบจะต้องชัดเจน

การบริหารเชิงกลยุทธ์มีแนวทางแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน

1. การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) หรือเรียกว่า การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation) ประกอบด้วย

    1.1  การพิจารณาวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์การ

    1.2  การกำหนดวตถุประสงค์ขององค์การ

    1.3  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและการประเมินสถานภาพขององค์การ

    1.4  การวิเคราะห์และเลือกกลยุทธ์

2. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation) ประกอบด้วย 

    2.1  การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน

    2.2  การวางแผนปฏิบัติงาน (action plan)

    2.3  การสนับสนุนกลยุทธ์ โครงสร้าง วัฒนธรรม บุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการ

3. การควบคุมกลยุทธ์ (Strategy Control) ประกอบด้วย

    3.1  การตรวจสอบผลการดำเนินงาน

    3.2 การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ

1. การวางแผนเชิงกลยุทธ์ เป็นกระบวนการซึ่งองค์การพยายามที่จะสร้างอนาคตภาพของตนเองและพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตลอดจนกรรมวิธีปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุผลดังกล่าว มีลักษณะสำคัญ คือ

                    1) การมุ่งเน้นอนาคต โดยการสร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับทิศทางขององค์การการระดมสรรพกำลัง รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ เพื่อดำเนินการตามทิศทางดังกล่าว

                    2) การมุ่งเน้นเป้าหมายรวมขององค์การ โดยกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผลได้ ตามช่วงระยะเวลาต่างๆ

                    3) การมุ่งเน้นกระบวนการ โดยจะต้องมีการดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป้นวงจรที่ไม่สิ้นสุด

                    4) การมุ่งเน้นภาพรวม โดยเน้นระดับของการวิเคราะห์ทั้งองค์การมากกว่าพิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือเฉพาะบางแผนงาน/โครงการ

                การวางแผนเชิงกลยุทธ์ มีกระบวนการดังนี้

1.1     การศึกษาสถานภาพขององค์การ ประกอบด้วย

      1.1.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การ (External Environment) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโอกาส (Opportunities : O) และอุปสรรค (Treats : T) ของการดำเนินงานของหน่วยงาน ประกอบด้วย

                 1) สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้องโดยตรง (Task Environment) เช่น องค์การที่เป็นสถานศึกษา สภาพแวดล้อมที่มีผลและรับผลโดยตรงจากการดำเนินงานของสถานศึกษา

                  2) สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป (General Environment) เป็นสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการดำเนินงานขององค์การโดยรวม ประกอบด้วย 4 ด้าน

                                      (1) ด้านเศรษฐกิจ (Economic Component : E) เป็นการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ ได้แก่ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ ดุลการชำระเงิน อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

                                      (2) ด้านสังคม วัฒนธรรม (Sociocultural  Component : S) เป็นการวิเคราะห์สภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ ระดับการศึกษาและอัตราการรู้หนังสือของประชากร จำนวนประชากร โครงสร้างของประชากร ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และวัฒนธรรมแบบแผน การดำเนินชีวิตและพฤติกรรม คุณภาพชีวิตลักษณะ ของชุมชนและการตั้งถิ่นฐาน การกระจายรายได้และความเป็นธรรมในสังคม โครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปโภค การคมนาคม การติดต่อสื่อสาร เป้นต้อน

                                      (3) ด้านเทคโนดลยี (Technological Component : T) เป็นการวิเคราะห์สภาพการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อการดำเนินงาน ได้แก่ การผลิตคิดค้นเทคโนโลยีต่างๆ ความรู้และวิทยากรแขนงต่างๆ

                                      (4) ด้านการเมือง – กฎหมาย (Polical Component : P) เป็นการวิเคราะห์นโยบายและกฎเกณฑ์ต่างๆของภาครัฐ ที่น่าจะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การ ได้แก่ นโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีและกฎระเบียบต่างๆ

                      วิธีการเก็บข้อมูล ควรใช้วิธีการหลากหลาย เช่น การประชุมระดมพลังสมอง การสำรวจความคิดเห็น การสัมภาษณ์ การสอบถาม การสนทนากลุ่ม

             1.1.2 การวิเคราะห์สถานภาพภายในองค์การ (Organizational Analysis)

                                การวิเคราะห์สถานภาพภายในองค์การ เป็นการตรวจสอบขีดสมรรถนะขององค์การที่จะบ่งบอกถึงจุดแข็ง (Strengts : S) และจุดอ่อน (Weaknesses : W) ในด้านต่างๆในการวิเคราะห์จะดำเนินการเช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์โอกาส (O) และอุปสรรค (T) ขององค์การ กล่าวคือวิเคราะห์แยกเป้นประเด็นต่างๆเก็บข้อมูลจากหลายแหล่ง โดยมีประเด็นในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย 6 ด้าน ย่อว่า 2 S + 4 M มีดังนี้

                       1) ด้านโครงสร้างและนโยบาย (Structure and Polity : S) เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างขององค์การมีความหมายเหมาะสมหรือไม่ จัดโครงสร้างองค์การในแนวราบ (horizontal) และในการตั้งสายบังคับบัญชา (Hieraachy) เหมาะสมหรือไม่

                       2) ด้านผลผลิตและการบริการ (Products and Service : S) เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับผลผลิตและบริการ

                       3) ด้านบุคลากร (Man : M ) เป็นการพิจารณาวิเคราะห์เกี่ยวกับคุณภาพ ได้แก่ การศึกษา ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ปรสบการณ์ เป็นต้น

                       4) ด้านการเงิน (Money : M) เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานะทางการเงิน วงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ การบริหารงบประมาณ การติดตามประเมินผงการใช้งบประมาณ

                       5) ด้านวัสดุอุปการณ์ (Materrial : M) เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวด อาคาร สถานที่

                       6) ด้านการจัดการ (Management : M ) เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับการนำ นโยบายมาปฏิบัติ แผนพัฒนาและแผนปฏิบัติ การอำนวย การประสานงาน การควบคุม

                1.1.3 การกำหนดจุดตำแหน่งขององค์การ

                การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและวิเคราะห์สถานภาพ ภายในขององค์การเรียบร้อย ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมอภิปรายอย่างกว้างขวาง จนเป็นที่ยอมรับทั้งในด้านประเด็นต่างๆของโอกาส (O) อุปสรรค (T) จุดแข็ง (S) และจุดอ่อน (W)

1.2     การกำหนดทิศทางการดำเนินงานขององค์การ

วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การ วิเคราะห์สถานภาพในขององค์การทำให้ทราบจุดแข็งและจุดอ่อนในการดำเนินงานในแต่ละด้านและภาพรวม ปัจจุบันขององค์การ คือ เรากำลังอยู่ตรงไหน – Where are we now ? ดังนั้น ในขั้นนี้ จึงต้องกำหนดทิศทางการดำเนินงานขององค์การ คือ เรามีเป้าหมายอย่างไรหรือเราต้องการจะไปที่ไหน – Where would we like to be? ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) การกำหนดพันธกิจ (Mission) และการกำหนดเป้าหมาย (Goals)

1.2.1 การกำหนดวิสัยทัศน์

                                วิสัยทัศน์จะสื่อให้ทราบถึงความปรารถนาหรือความคาดหวังในอนาคตขององค์การ วิสัยทัศน์ หมายถึง ความคาดหวังในอนาคตขององค์การที่ต้องการจะเป็น เป็นข้อความซึ่งกำหนดทิศทางขององค์การเป็นสถานภาพที่องค์การมุ่งหมาย มุ่งหวัง หรือประสงค์ จะเป็นหรือมีในอนาคต

                                         1) ลักษณะของวิสัยทัศน์ที่ดี ได้แก่ มีขอบเขต (scope) ของการปฏิบัติงานเป็นภาพเชิงบวก (positive image) ที่ทุกคนในองค์การมุ่งมั่นศรัทธาและสะท้อนถึงความเป็นเลิศขององค์การ เป็นข้อความในเชิงบวก จูงใจ (motivating)และดึงดูดใจ (inspiring) คำนึงถึงความต้องการ (need ) ของผู้มารับบริการเป็นสำคัญ (customer oriented) มีความสอดคล้องกับค่านิยม (values) ขององค์การ มีความสอดคล้องกับแนวโน้มในอนาคต (futuer trend) มีความชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้ (implement ability)

                                      2) ปัจจัยในการกำหนดวิสัยทัศน์ ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร ทั้งภายในและภายนอกองค์การความรู้ ของบุคลากรในองค์กรนั้น ในด้านศักยภาพและความสามารถของบุคลากร ตลอดจนทักษะและประสบการณ์ในลักษณะองค์การแห่งการเรียนรุ้ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การและแนวดน้มต่างๆ

                                      3) ประโยชน์ของวิสัยทัศน์ต่อการบริหารองค์การ เป็นการกำหนดอนาคต (Futuer oriented) ที่ทุกคนศรัทา เป็นการฟันฝ่าความท้าทายใหม่ ไม่หลงกับความสำเร็จในอดีต และการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน

                                1.2.2 การกำหนดพันธกิจ (Mission) 

                                พันธกิจ หมายถึง  การกำหนดขอบเขตของงานหรือบทบาทหน้าที่ขององค์การ ต้องทำในลักษณะอาณัติ (Mandate) เพื่อให้องค์การบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ หรือเป็นพันธกิจตามยุทธศาสตร์ ตามแผนชาติ ตามนโยบายของรัฐบาล ตามนโยบายของรัฐมนตรี ซึ่งพันธกิจขององค์การมี 2 ระดับ คือ

                                              (1) พันธกิจดั้งเดิม คือ พันธกิจที่องค์การจะต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ขององค์การที่สังคมกำหนดให้ บทบาทหน้าที่ขององค์การที่มีต่อสังคม

                                              (2) พันธกิจตามวิสัยทัศน์ เป็นพันธกิจที่องค์การจะต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุตามความคาดหวังขององค์การตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ จึงสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป อย่างไรก็ดี พันธกิจตามวิสัยทัศน์ไม่ควรเปลี่ยนแปลงมากจนออกนอกกรอบ หรือ เปลี่ยนแปลงจนกระทั่งขัดแย้งกับพันธกิจดั้งเดิม

                                ขั้นตอนการกำหนดพันธกิจขององค์การ ควรใช้วิธีการหารือร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและการตรวจสอบความเป็นไปได้ของพันธกิจ

                                การกำหนดพันธกิจ มีประเด็นสำคัญดังนี้

       1) ข้อความพันธกิจ (Mission Statement)

                       ข้อความพันธกิจจะเป้นการแสดงแนวคิดและวิธีการดำเนินงาน เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนด เป็นการระบุภารกิจที่องค์การนั้นพยายามจะบรรลุและจะระบุขอบเขตการปฏิบัติการขององค์การเกี่ยวกับผลผลิตและการบริการ

                                       2) ความสำคัญในการกำหนดพันธกิจ เพื่อเป็นหลักสำคัญในการกำหนดจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ขององค์การ และทิศทางขององค์การ กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานในการจัดสรรทรัพยากรขององค์การ เพื่อความสะดวกในการแปลความหมายของวัตถุประสงค์ในโครงสร้างการทำงาน การออกแบบงาน

                                       3) แนวทางการกำหนดพันธกิจจะต้องตอบคำถามดังนี้คือ อะไรคือเหตุผลในการก่อตั้งหรือคงอยู่ขององค์การ และอะไรคือจุดมุ่งหมายพื้นฐานขององค์การ ลักษณะเด่นหรือเอกลักษณ์ขององค์การคืออะไร ความแตกต่างด้านภารกิจขององค์การกับองค์การอื่น ในช่วง 3 – 5 ปี ข้างหน้า

                                       4) ส่วนประกอบที่สำคัญของข้อความพันธกิจ ได้แก่

                                           (1) ผู้รับบริการ (Customer) ใครคือผู้รับบริการขององค์การ

                                           (2) ผลผลิตหรือบริการ (Concern of Services) ผลผลิตหรือการบริการขององค์การที่สำคัญคืออะไร

                                           (3) ตลาด (Markets) องค์การมีการแข่งขันในตลาดใด

                                           (4) เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีพื้นฐานขององค์การคืออะไร

                                           (5) เกี่ยวข้องกับความอยู่รอด ความเจริญเติบโต และความสามารถสร้างกำไร (Conof Surviral, Growth, and Profitability) องค์การต้องการบรรลุวัตถุประสงค์ในลักษณะใด

                                           (6) ปรัชญา (Philosophy) ควาทเชื่อ ค่านิยม (คุณค่า) ความพึงพอใจ และลำดับความสำคัญของปรัชญาองค์การ คืออะไร

                                           (7) แนวความคิดส่วนตัว (Self – Concept) ความโดดเด่นหรือข้อได้เปรียบทางการแข่งขันทางองค์การคืออะไร

                                           (8) ความเกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ของชุมชน (Concern for Public Image) องค์การมีการตอบสนองต่อสังคม ชุมชน และสภาพแวดล้อมอย่างไร

                                           (9) ความเกี่ยวข้องกับพนักงาน (Concern for Employees) พนักงานได้รับการพิจารณาว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีคุฯค่าทางองค์การหรือไม่

                                       5) ตัวอย่างพันธกิจ

                                           “จดทะเบียนธุรกิจ บริการข้อมูลธุรกิจและจัดทำบัญชีธุรกิจ คุ้มครองแลรักษาความเป็นธรรมทางการค้าเกี่ยวกับการชั่ง ตวง วัดและน้ำมันเชื้อเพลิง

                                1.2.3 การกำหนดเป้าหมาย (Goals)

                                การกำหนดเป้าหมาย (Goals) นักวิชาการบางท่าน เรียกว่า จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์หลัก หรือ เป้าประสงค์ ในที่นี้เรียกว่า “เป้าหมาย”

                                วิสัยทัศน์ (Vision) ซึ่งมีลักษณะเชิงนามธรรม จะถูกแปลเป็นเป้าหมาย ที่เป็นรูปธรรม สิ่งที่ต้องการในอนาคตซึ่งองค์การจะต้องพยายามให้เกิดขึ้น หรือผลลัพธ์/ผลสำเร็จที่องค์การต้องการบรรลุถึง โดยทั่วไปจะเป็นข้อความที่เกริ่นอย่างกว้างๆ

1)       ลักษณะของเป้าหมายที่ดี มีดังนี้

         (1) ขยายหลักการ สาระสำคัญที่ระบุในวิสัยทัศน์/พันธกิจ ให้มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น

                                         (2) ระบุถึงกลุ่มเป้าหมายที่องค์การต้องการจะมอบสิ่งที่มีคุณค่าให้

                                         (3) ระบุคุณค่า ผลประโยชน์ ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อกลุ่มเป้าหมาย

                                         (4) ต้องไม่เป็นนามธรรม คือสามารถแปลงให้เป็นกิจกรรมที่ง่ายต่อการมอบหมายและการกระจายงาน

                                    2) ตัวอย่างของเป้าหมายขององค์การ

                                         (1) เป้าหมายของการพัฒนาระบบราชการไทย มี 4 ประการ ดังนี้

                               ก. พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น

                               ข. ปรับบทบาท ภารกิจและขนาดให้มีความเหมาะสม

                               ค. ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่า

ง. ตอบสนองต่อการบริหารการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

    ตัวชี้วัด :

                                    1. ประชาชนร้อยละ 80 โดยเฉลี่ยมีความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของหน่วยงานราชการ

                                    2. ขั้นตอนและระยะการปฏิบัติราชการ เพื่อให้บริการประชาชนลดลงได้มากกว่าร้อยละ 50 โดยเฉลี่ยภายในปี พ.ศ. 2550

                                                ก. วิสัยทัศน์ 

                                                “เป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษา ภาคบังคับอย่างทั่วถึงและมีคุณค่า”

                                                ข. พันธกิจ

                                                “ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาภาคบังคับ แก้ปัญหาประชาชนในวัยเรียนอย่างเสมอภาคและทั่วถึง”

                                                “พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนด”

                                                “พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ”

                                                ค. เป้าหมาย 

                                                “ประชากรในวัยการศึกษาภาคบังคับทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพตามมาตรฐาน”

                ในการกำหนดเป้าหมายของภาครัฐนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance-based budgeting : PBB) สำนักงบประมาณได้กำหนดเป้าหมายไว้เป็น 3 ระดับ

1. เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ระดับชาติ เป็นเป้าหมายระดับชาติหรือระดับรัฐบาล โดยบูรณาการจากแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐธรรมนูญ นโยบายรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2. เป้าหมายการให้บริการสาธารณะ  โดยหน่วยงานระดับกระทรวง จะกำหนดยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง เพื่อกำหนกเป้าหมายการให้บริการสาธารณะของกระทรวงในระยะปานกลาง (5 ปี) ให้สอดคล้องและสนับสนุนเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ระดับชาติ

3. เป้าหมายผลผลิต หรือแผนการให้บริการ โดยหน่วยงานระดับกรมกำหนด เป้าหมายผลผลิตของหน่วยงานให้สอดคล้องและสนับสนุนเป้าหมายการให้บริการสาธารณะของกระทรวง

       1.3 การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ 

        จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและสถานภาพภายในองค์การ ทำให้ทราบโอกาสกับอุปสรรค และจุดแข็ง และจุดอ่อน ของการดำเนินงานขององค์การ ทำให้ทราบจุดตำแหน่งขององค์การว่าเป็นแบบใดแล้วนั้น และกำหนดทิศทางขององค์การ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย เรียบร้อยแล้ว จะต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์การ กำหนดกลยุทธ์ขององค์การ (Strategy) หมายถึงแนวทางหรือวิธีการทำงานที่ดีที่สุดเพื่อให้องค์การบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ องค์การมีสถานภาพที่เป็นไปได้ 4 รูปแบบ และใช้กลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานภาพองค์การ ดังนี้

       1. แบบองค์การมีโอกาสและมีจุดแข็ง ในการดำเนินงาน ต้องใช้กลยุทธ์ SO (SO Strategies) คือ ใช้จุดแข็งประสานกับโอกาสจากภายนอก เรียกว่า กลยุทธ์ “เอื้อและแข็ง” คือว่าเป็นสถานการณ์ดาวรุ่ง (Public sector star)

       2. แบบองค์การมีโอกาสและมีจุดอ่อนในการดำเนินงาน ต้องใช้กลยุทธ์ WO (WO Strategies) คือใช้โอกาสจากภายนอกมาปิดจุดอ่อน เรียกว่า กลยุทธ์ “เอื้อแต่อ่อน” คือว่าเป็น สถานการณ์กล่องร้อนทางการเมือง (Political hot box) หรือปัญหาภายในที่ต้องหาทางแก้ไข คือ “?” (Question)

       3. แบบองค์การมีอุปสรรคแต่มีจุดแข็ง  ในการดำเนินงานต้องกลยุทธ์ ST (ST Strategies) คือ ใช้จุดแข็งและหลบหลีกอุปสรรค เรียกว่า กลยุทธ์ “ไม่เอื้อแต่แข็ง”  คือเป็น สถานการณ์แม่วัวให้นม (Cash cows)

      4. แบบองค์การมีอุปสรรคและจุดอ่อนในการดำเนินงาน ต้องใช้กลยุทธ์ WT (WT Strategies) คือใช้ความระมัดระวังจุดอ่อนและหลบเลี่ยงอุปสรรค เรียกว่า กลยุทธ์ “ไม่เอื้อแต่อ่อน” คือเป็น สถานการณ์ที่อาจถูกเก็บใส่ลิ้นชัก (Back drawer issues) หรือสุนัข (Dog)

       การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ ตามที่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์การ (SWOT Analysis) มีการประยุกต์ใช้ SWOT Analysis ได้ 3 วิธี คือ

  1. 1.        เมตริกซ์ความเจริญเติบโต – ส่วนครองตลาด BCG (BCG growth – share matrix)

เป็นการวิเคราะห์ใน 2 มิติ คือ ความเจริญเติบโตของตลาด และส่วนครองตลาด

                ถ้าองค์การมีสถานภาพปัญหา (Question marks)จะมีส่วนการครองตลาดต่ำ แต่มียอดขายสู.ต้องใช้ กลยุทธ์การเจริญเติบโต (Growth strategy) โดยการเจาะตลาด (Market penetration) และการพัฒนาตลาด (Market development) และใช้กลยุทธ์ตัดทอน (Retrenchment)

                ถ้าองค์การมีสถานภาพทำเงิน (Cash cows)  จะมียอดต่ำ ส่วนการครองตลาดสูง ต้องใช้กลยุทธ์การครองสภาพ (Stability) และกลยุทธ์การเจริญเติบโตในระดับปานกลาง (Modest growth)

                ถ้าองค์การมีสถานภาพต่ำ (Dogs) จะมียอดขายต่ำ ส่วนการครองตลาดต่ำ ต้องใช้ กลยุทธ์การตัดทอน (Retrenchment) เช่น การไม่ลงทุน (Divestiture) การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ (Harvest) การปรับเปลี่ยน (Turnaround) การขาย (Sell) หรือ เลิกกิจการ (Liquidate)

                       2. เมตริกซ์ปัจจัยภายใน-ภายนอก เป้นการนำผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกมาสร้างเป็นเมตริกซ์

                * องค์การตกอยู่ในสถานภาพที่ 1, 2, 4 จะใช้กลยุทธ์การเจริญเติบโต (Growth)

                * องค์การตกอยู๋ในสถานภาพที่ 3, 5, 7 จะใช้กลยุทธ์รักษาสภาพ (Stability) โดยการประคับประคอง (Hold) การักษา (Maintain) การเจาะตลาด (Market penetration) พัฒนา ผลิตภัณฑ์ (Product development)

                1. เมตริกซ์การวิเคราะห์ส่วนประกอบของหน่วยงานภาครัฐ เป็นการวิเคราะห์ 2 มิติ คือ ขีดสมรรถนะขององค์การ และความต้องการของประชาชน

                กลยุทธ์ดังกล่าว เป็นการวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Portfolio approach) โดยการวิเคราะห์องค์การ (SWOT Analysis) มากำหนดเป็นกลยุทธ์ในระดับองค์การโยรวม ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์หลักที่ผู้บริหารระดับสูง จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าควรใช้กลยุทธ์ใดไปดำเนินการ กลยุทธ์ดังกล่าวถือเป็นนโยบายขององค์การที่ผู้บริหารระดับกลาง จะนำไปเป็นกรอบสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ระดับหน่วยงาน ระดับกอง หรือฝ่ายต่างๆ ซึ่งจะต้องแปลงกลยุทธ์หลักขององค์การให้เป็นกลวิธี หรือ แผนปฏิบัติงาน เพื่อให้องค์การสามารถรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน

                1. การกำหนดกลยุทธ์หลัก  หรือกลยุทธ์หลัก เป็นกลยุทธ์ระดับองค์การโดยรวม ที่จะแสดงให้เห็นถึงทิศทางการดำเนินงานขององค์การและสร้างสมรรถนะในการแข่งขัน ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก 5 ประเภท ดังนี้

                       1.1 กลยุทธ์การเจาะลึก (Concentration strategy)

                       1.2 กลยุทธืรักษเสถียรภาพ (Stability strategy)

                       1.3 กลยุทธ์สร้างความเจริญเติบโต (Growth strategies)

                       1.4 กลยุทธ์การตัดทอน (retrenchment strategies)

                       1.5 กลยุทธ์การผสมผสาน (Mixed or Combination Strategies)

                2. การกำหนดกลยุทธ์ระดับหน่วยงาน 

                    กลยุทธ์ระดับหน่วยงานจะต้องกำหนดตา

หมายเลขบันทึก: 447713เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2011 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท