แคน


แคน

ประเภท ระดับ และสถานที่ตั้งภูมิปัญญา ไม้ทำลูกแคนหรือกู่แคน ไม้ทำเต้า ลิ้นแคนทำจากโลหะทองแดงหรือเงิน ขี้สูดหรือชันโรง วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญในการทำแคน แคน เป็นเครื่องดนตรีอีสาน จัดเป็นภูมิปัญญาที่เป็นรูปธรรม ระดับชุมชน สถานประกอบการตั้งอยู่ ตำบลสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด [แก้ไข] องค์ความรู้ และเอกลักษณ์ของแคนบ้านสีแก้ว จังหวัดร้อยเอ็ด แคนได้มีการผลิตและละเล่นกันอย่างแพร่หลายในประเทศลาว ต่อมาได้มีการแพร่ข้ามลำโขงมายังฝั่งไทยจากการไปมาหาสู่ โดยเข้ามาทางภาคอีสาน ซึ่งมีภาษา วัฒนธรรม ประเพณีที่คล้ายคลึงกัน แคนใช้ละเล่นประกอบศิลปะการแสดงของท้องถิ่น คือ หมอลำประเภทต่างๆ และใช้ละเล่นเพื่อให้ความเพลิดเพลิน ในการเกี้ยว(จีบ) สาวของหนุ่มๆ ในสมัยก่อน หากใครมีความสามารถเป่าแคนได้ คนนั้นก็จะเป็นที่ต้องใจของสาวๆ มากกว่า [แก้ไข] องค์ความรู้ และเอกลักษณ์ของแคนบ้านสีแก้ว จังหวัดร้อยเอ็ด แคนได้มีการผลิตและละเล่นกันอย่างแพร่หลายในประเทศลาว ต่อมาได้มีการแพร่ข้ามลำโขงมายังฝั่งไทยจากการไปมาหาสู่ โดยเข้ามาทางภาคอีสาน ซึ่งมีภาษา วัฒนธรรม ประเพณีที่คล้ายคลึงกัน แคนใช้ละเล่นประกอบศิลปะการแสดงของท้องถิ่น คือ หมอลำประเภทต่างๆ และใช้ละเล่นเพื่อให้ความเพลิดเพลิน ในการเกี้ยว(จีบ) สาวของหนุ่มๆ ในสมัยก่อน หากใครมีความสามารถเป่าแคนได้ คนนั้นก็จะเป็นที่ต้องใจของสาวๆ มากกว่า แคนเป็นดนตรีพื้นบ้านอีสาน ที่สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน มีเสียงประสานในตัวไพเราะอย่างยิ่ง แม้เป็นเพียงดนตรีเพียงชิ้นเดียว ทำให้ผู้เล่นและผู้ฟังเกิดการผ่อนคลาย จิตใจแจ่มใส เยือกเย็น ตัวแคนมีน้ำหนักเบา สะดวกในการพกพา ชาวร้อยเอ็ด โดยเฉพาะชาวตำบลสีแก้วได้รับการสืบทอดการทำแคนจากบรรพบุรุษมาหลายชั่วอายุคน ดังจะเห็นได้จาก เมื่อปี 2509 – 2510 ได้มีการสำรวจพบว่า ชาวบ้านสีแก้ว ประมาณ ร้อยละ 80 ของครัวเรือน ประกอบอาชีพในการทำแคนขายเป็นอาชีพเสริม รองจากการทำนา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวตำบลสีแก้ว จังหวัดร้อยเอ็ด มีความสนใจต่ออาชีพการทำแคนเป็นอย่างมาก การทำแคนของชาวตำบลสีแก้วได้ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคน พอพ้นหน้านาคนหนุ่ม ๆ ส่วนมากมักจะนิยมทำแคนซึ่งเป็นการสืบสานเจตนารมณ์ของบิดามารดา ประกอบกับอาชีพทำแคนสามารถทำรายได้ให้แก่ครอบครัวค่อนข้างสูง จึงนิยมทำกันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน [แก้ไข] การปรับใช้กับชีวิตประจำวัน แคน เป็นเครื่องดนตรี ที่ใช้ในวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้านทั่วไป และเมื่อศึกษา ภูมิปัญญาการผลิตแคน จะเห็นว่าช่างที่ผลิตได้ดีมีคุณภาพต้องใช้ความอดทนสูงในการผลิต ต้องมีใจรักในอาชีพ และการประกอบอุปกรณ์แต่ละขั้นตอนการผลิตต้องใช้ทั้งความสามารถ และพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพสูงอยู่ตลอดเวลา และประการสำคัญช่างต้องมีคุณธรรม ซึ่งการปฏิบัติตัวของช่างผู้ผลิตดังกล่าว เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งสามารถยกระดับของผู้ผลิตและประชาชนในท้องถิ่นให้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีอาชีพสุจริต และอยู่ในสังคมด้วยความสงบสุข [แก้ไข] ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาภูมิปัญญา เนื่องจากวัฒนธรรม ประเพณีของชาวอีสานมีอาชีพหลักในการทำนาเมื่อเสร็จจากฤดูทำนาก็จะหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว และปัจจัยจากวัฒนธรรมอีกอย่างคือชาวอีสานชอบความสนุกสนาน มีการร้องรำทำเพลงในงานบุญประเพณี และเทศกาลต่าง ๆ ในความหลากหลายของวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวอีสาน ที่มีความโดดเด่นและถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของคนในภูมิภาคนี้ ก็คือ ศิลปะการแสดง “หมอลำ” ซึ่งเป็นที่นิยมมากและรับใช้ชีวิตของชาวอีสานในแง่มุมต่าง ๆ กล่าวคือ ให้ความบันเทิง ผ่อนคลายความตึงเครียดของคนในสังคม ให้การศึกษา ให้ความรู้ ให้แง่ คิดในด้าน ศีลธรรม แก่ชุมชน การลำของชาวอีสานมีหลายประเภท เช่น หมอลำเรื่องหรือหมอลำหมู่ หมอลำกลอน หมอลำเพลิน หมอลำประยุกต์ หมอลำผีฟ้า และหมอลำซิ่ง และในการแสดงแต่ละครั้งเครื่องดนตรีที่ขาดไม่ได้เลยคือจะต้องมี “แคน” เป็นองค์ประกอบในการแสดงทุกครั้ง อาชีพในการทำแคนจึงเป็นภูมิปัญญาของชาวอีสาน ที่สืบทอดต่อกันมาทุกยุค ทุกสมัย [แก้ไข] ภูมิปัญญามีคุณค่าอย่างไร คุณค่าของภูมิปัญญาช่างทำแคน ก็คือ เป็นการอนุรักษ์ สืบทอดศิลปะและวัฒนธรรม ของชาวสีแก้วที่ได้สั่งสมสืบต่อกันมา จนสามารถสร้างเป็นอาชีพมีรายได้ต่อครอบครัว และยังทำให้เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดด้วย นอกจากนี้ภูมิปัญญาการทำแคนยังทำให้เกิดคุณธรรม กล่าวคือ ทำให้ชาวบ้านสีแก้วเกิดความรักความภูมิใจในท้องถิ่น เกิดความสามัคคี ใช้ชีวิตสมถะมีเศรษฐกิจที่พอเพียง มีความขยันหมั่นเพียร รอบรู้เท่าทันโลก และทำให้เกิดสัมมาอาชีวะ จะเห็นว่าชาวบ้านสีแก้วส่วนใหญ่เมื่อเสร็จหน้าทำนาก็จะมีอาชีพเสริมคือการทำแคน จะไม่อพยพไปทำงานต่างถิ่น ทำให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัว เนื่องจากพ่อ แม่ ลูก ต่างอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา จึงไม่ทำให้เกิดปัญหาสังคม [แก้ไข] ภูมิปัญญาสะท้อนวิถีชีวิตอย่างไร ภูมิปัญญาการทำแคน นอกจากจะให้คุณค่าในด้านการอนุรักษ์ สืบทอดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านชาวอีสาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยของชาวอีสานที่มีความสนุกสนาน ร่าเริง และมีความเชื่อในด้านต่าง ๆ ของการทำแคนแฝงอยู่จำนวนมาก เช่น วัสดุที่นำมามัดลูกแคนต้องเป็น เถาหญ้านาง เพราะเชื่อว่าแคนประกอบด้วยสิ่งสำคัญ คือ “นางไม้” จึงใช้เถาหญ้านาง มัดลูกแคนซึ่งเป็นไม้ และเมื่อประกอบเข้าเป็นแคนแล้วจึงมีทั้ง “นาง” และ “ไม้” ถึงจะเป็นแคนที่สมบูรณ์แบบ มีจิตและวิญญาณ เป่าได้ไพเราะ [แก้ไข] ความเชื่อ เรื่องการทำแคนก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวบ้านบ้านสีแก้ว ผลิตแคนที่มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์ ให้น้ำเสียงไพเราะ เป็นที่ถูกอกถูกใจของคนทั่วไป นอกจากความเอาใจใส่ในผลงานที่ทำแล้ว จากการสัมภาษณ์ นายเคน สมจินดา ช่างทำแคน บ้านสีแก้ว เกี่ยวกับ ความเชื่อเรื่องแคน ก็มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ตั้งแต่การกำเนิดของแคน การทำแคน และการใช้แคน กล่าวคือการทำแคนเป็นการบูรณาการเทคนิควิธีการ พร้อมทั้งความเชื่อเข้าด้วยกัน คุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งของช่างทำแคนบ้านสีแก้วที่ทำให้สามารถรักษาภูมิปัญญาการทำแคนไว้ได้จนถึงปัจจุบันและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสำหรับชาวร้อยเอ็ดและศิลปินที่ชื่นชอบ ที่ยอมเดินทางเป็นระยะทางที่ไกลเพื่อจะได้แคนที่ดีมีคุณภาพ ก็คือ ช่างทำแคนต้องเป็นคนที่มีความอดทน ใจเย็นสุขุม ไม่ประมาทครู ในเวลาทำแคนห้ามโกรธ หากโกรธก็ต้องหยุดทำชั่วขณะหากจิตใจดีแล้วจึงกลับมาทำต่อ ผู้ที่เรียนเป่าแคน หรือช่างแคน ห้ามโมโหทำลายแคนหรืออุปกรณ์การทำแคนเด็ดขาด เพราะเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตอาชีพการงานไม่เจริญก้าวหน้า และการเรียนการทำแคน คนโบราณเชื่อว่าศิษย์ต้องเรียนจากอาจารย์คนอื่น ไม่ให้เรียนจากพ่อของตนเอง ความเชื่ออีกอย่างของชาวสีแก้วเกี่ยวกับแคนก็คือ เครื่องดนตรีแคนเกิดจากผู้หญิง ส่วนประกอบของแคนก็คือ “เต้าแคน” เป็นส่วนประกอบสำหรับใช้ปากเป่า ผู้หญิงได้รับการยกย่องว่าเป็นครูในการทำแคน เมื่อช่างทำแคนจะยกครูหรือไหว้ครูจะต้องนำเครื่องใช้และเครื่องแต่งตัวของผู้หญิงมาประกอบในพิธี ผู้หญิงสามารถเดินก้าวข้ามเครื่องมืออุปกรณ์ทำแคนได้ แต่ผู้ชายข้ามไม่ได้เพราะ “ขะลำ” [แก้ไข] การยกครูและอุปกรณ์ยกครูของชาวสีแก้ว การยกครูเป็นพิธีกรรมที่สำคัญสำหรับผู้ที่เรียนการทำแคน เพราะต้องเรียนจากครูที่ไม่ใช่พ่อของตนเอง หรือญาติโดยตรง วันที่เริ่มเรียนหรือวันยกครูต้องเป็นวันอังคาร ซึ่งถือว่าเป็นวันแข็ง จะทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำ และรุ่งเรืองในการทำอาชีพนี้ต่อไป ซึ่งเครื่องยกครูหรือคาย มีดังนี้ 1. ผ้าซิ่น 1 ผืน 2. ผ้าแพรขนาด 2 วา 2 ผืน 3. เหล้า 1 ก้อง (ปัจจุบัน คือ 1 ขวด) 4. ไข่ไก่ 1 ฟอง 5. เงิน หากเรียนแคนใหญ่ จำนวน 6 บาท หากเรียนแคนเล็ก 4 บาท 6. ขันธ์ 5 7. เครื่องประดับสตรี - ขจรเงิน (ตุ้มหูเงิน) - ก้องแขนเงิน (กำไลเงิน) - แหวนเงิน 8. เครื่องแต่งตัวสตรี ได้แก่ - ต้องผม (เส้นผมที่ตัดเป็นกระจุกมัดรวมกัน) - กระจกเงา (กระจกเงาสำหรับแต่งตัวสตรี) - หวี 9. เครื่องมือในการทำแคนที่สำคัญ ๆ เช่น สิ่ว เหล็กซี นำมาประกอบเป็นเครื่องไหว้ การทำพิธียกครู จะนำเครื่องยกครูมาให้ครู โดยผู้เรียนจะพูดขอสมัครเป็นศิษย์ ยกยอครู เป็นคำพูดธรรมดา แต่มีความหมายเทิดทูนครูและสิ่งที่ดีงาม เมื่อครูรับเอาเครื่องยกครูแล้วถือว่ารับเป็นศิษย์ [แก้ไข] การไหว้ครูและอุปกรณ์ไหว้ครู ในแต่ละปี หากศิษย์คนใดต้องการให้วิชาการทำแคนคงอยู่กับตัวเอง ต้องทำแคนเป็นประจำ หากไม่ทำแคนในปีนั้นก็จะต้องทำพิธีไหว้ครูใหม่ เพื่อให้วิชาการทำแคนติดตัวตลอดไป เครื่องไหว้ครู มีดังนี้ 1. ขันธ์ 5 ซวย 5 2. ดอกไม้ 1 ครู่ 3. เทียน 4 เล่ม การไหว้ครูจะทำพิธีในวันอังคาร ใช้คำพูดที่มีเนื้อหายกย่อง และระลึกถึงคุณครู ศิษย์ผู้ใดทำแคนแต่ละปีสม่ำเสมอ ก็ไม่จำเป็นต้องไหว้ครูทุกปี เพราะว่าในการทำแคนแต่ละครั้งช่างทำแคนจะ ไหว้ครูก่อนเสมอ เครื่องไหว้ครูก็เหมือนกับไหว้ครูในแต่ละปี และจะนำเครื่องมือทำแคนมาในการไหว้ครูทุกครั้ง การไหว้จะใช้คำพูดอธิษฐานและระลึกถึงคุณงามความดีของครู และการไหว้ครูจะทำในวันอังคารเช่นกัน ช่างทำแคนใหม่ถ้าต้องการให้มีความชำนาญควรไหว้หรือบูชาเครื่องมือก่อนทุกครั้งที่ลงมือทำแคน [แก้ไข] การไหว้ครูและอุปกรณ์ไหว้ครู [แก้ไข] แนวโน้มของการสูญหายของภูมิปัญญา ในปัจจุบันภายใต้สังคมยุคโลกาภิวัตน์ และโลกยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้วิถีชีวิตของประชาชนทุกระดับถูกครอบงำด้วยระบบวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ที่เน้นคุณค่าทางวัตถุมากกว่าจิตใจ ค่านิยมของความเป็นตะวันตกกำลังรุ่งเรือง ทำให้คนรุ่นหลังไม่เห็นความสำคัญในการประกอบอาชีพการทำแคนเท่าที่ควร ถึงแม้ว่าอาชีพดังกล่าวจะสามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้พอสมควร จากการสัมภาษณ์พ่อเคน สมจินดา ได้เคยสอนศิษย์ที่มีความสนใจในอาชีพการทำแคน จำนวนมาก แต่ที่ยึดเป็นอาชีพทำแคนจริง ๆ ในปัจจุบัน ประมาณ 2-3 คนเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะศิษย์ส่วนใหญ่ไม่มีความอดทน ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันต้องดิ้นรนหาเงิน หากมีอาชีพอื่นดีกว่าจะไปทำอาชีพนั้น ช่างทำแคนต้องต้องมีใจรักจริง ๆ หากไม่เอาจริงเอาจังทำแคนจะมีผลเสีย กล่าวคือ คุณภาพของแคนไม่ดี จะขายไม่ได้ อาชีพทำแคนก็จะไปไม่รอด ซึ่งในอนาคตข้างหน้าช่างผลิตแคนอาจจะค่อย ๆ สูญหายไป [แก้ไข] แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟู แนวทางการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาการทำแคนของบ้านสีแก้ว ซึ่งอนุชนรุ่นหลังไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร ทั้งที่การผลิตแคนของบ้านสีแก้วเป็นแคนที่มีคุณภาพให้เสียงที่ไพเราะ จึงควรมีการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาดังกล่าว โดยหน่วยงานภาครัฐควรจะเป็นองค์ส่งเสริมและให้การสนับสนุน ในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาให้ชนรุ่นหลังมีค่านิยมและพฤติกรรมที่เหมาะสม มีความภาคภูมิใจและสืบทอด ศิลปวัฒนธรรม อันเป็นอัตลักษณ์ของตนเองและชุมชน สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาและยกระดับองค์ความรู้ภูมิปัญญาการทำแคนให้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความรักชาติ รักถิ่น โดยภาครัฐควรให้การส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองดูแล รักษา อนุรักษ์ และสืบทอดภูมิปัญญาการทำแคน ให้คงอยู่ตลอดไปและจากการส่งเสริมภูมิปัญญาดังกล่าวก็จะทำให้เกิดผลตามมา ดังนี้ 1. สร้างงาน สร้างรายได้ แก่ชุมชน 2. สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ให้สามารถคิดเอง ทำเอง ในการพัฒนาท้องถิ่น 4. ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 5. ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน [แก้ไข] สรุปและข้อเสนอแนะ จากที่ได้ศึกษาความเป็นมาของการทำแคน จะเห็นได้ว่าทุกส่วนของภูมิปัญญาการทำแคนเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษของเราสร้างสรรค์ด้วยความชาญฉลาด ด้วยภูมิปัญญาที่คิดค้นรูปแบบ การทำ และการใช้ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงสมควรที่เราอนุชนรุ่นหลังควรจะได้อนุรักษ์และสืบสานมรดกวัฒนธรรมทางภูมิปัญญาให้คงอยู่สืบไป [แก้ไข] ขั้นตอนการทำแคน ของช่างแคนตำบลสีแก้ว จังหวัดร้อยเอ็ด รับข้อมูลจาก "

คำสำคัญ (Tags): #แคน
หมายเลขบันทึก: 447705เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2011 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท