งานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในหญิตั้งครรภ์แบบครบวงจรในเขตอำเมือง พิษณุโลก


งานอนามัยแม่และเด็กถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาคน

   ถ้าพูดถึงงานอนามัยแม่และเด็ก แต่เดิมการดูแลมารดาก่อนคลอด คลอด และหลังคลอด ถือว่าอยู่ในการดูแลของหมอตำแย ต่อมาก็อยู่ในความดูแลของผดุงครรภ์อนามัย และต่อมาเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และแพทย์เฉพาะทางสูติกรรม ตามลำดับ แต่ในส่วนของอำเภอเมืองพิษณุโลก สถานีอนามัยหรือศูนย์สุขภาพชุมชนไม่ได้ให้บริการฝากครรภ์มากว่าสิบปี มีเพียง 1-2 แห่ง ใน 25 แห่งเท่านั้นที่ยังมีหญิงตั้งครรภ์มาขอใช้บริการ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพื้นที่ตั้งอยู่ใกล้โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลเอกชน และคลีนิก ทำให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะทางการเงินดีสามารถเลือกใช้บริการได้ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมาคือ

  • คลินิกฝากครรภ์ในสถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชนค่อย ๆ หายไปทั้งอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ และ 
  • เจ้าหน้าที่ลืมความรู้และทักษะในการให้บริการ
  •  หญิงตั้งครรภ์ที่รายได้น้อย/ด้อยโอกาสหรือหญิงตั้งครรภ์ทั่วไปขาดโอกาสในการใช้บริการใกล้บ้าน
  • อัตราการมารับบริการฝากครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลพุทธชินราชสูงขึ้นมาก จนไม่สามารถจัดบุคคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอกับความต้องการได้    

          ดังนั้นด้วยวิสัยทัศน์ของหัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว ที่มองเห็นถึงความจำเป็นและศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในศูนย์สุขภาพชุมชนในเขตอำเภอเมือง จึงเห็นควรให้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในหญิงตั้งครรภ์แบบครบวงจรขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ และทักษะในการตรวจครรภ์อย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน สามารถวินิจฉัยอาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์และส่งต่อรักษาได้อย่างถูกต้อง มีแนวปฏิบัติในการส่งต่อ-ส่งกลับการรักษาระหว่างศูนย์สุขภาพชุมชนกับโรงพยาบาลพุทธชินราช ที่สะดวก รวดเร็ว และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  และพัฒนาให้มีคลินิกฝากครรภ์ที่ได้มาตรฐานในศูนย์สุขภาพชุมชนครบทุกแห่ง และเปิดให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน

   ซึ่งในส่วนของผู้รับผิดชอบโครงการเอง มีแนวคิดว่าทิศทางการพัฒนาควรเน้นด้านการพัฒนาวิชาการให้แก่บุคคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นอันดับแรกเพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้บริการ และการมีส่วนร่วมของ PCT ทีมทั้งบุคคลากรในโรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพชุมชนเพื่อสร้างข้อตกลงในการส่งต่อที่เป็นทิศทางเดียวกัน

  ขั้นตอนที่ 1 สอบถามความต้องการของเจ้าของหน้าที่ในการฝึกอบรม

จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ ศสช. 57 คน พบว่า ไม่มีประสบการณ์หรือมีประสบการณ์ในการให้บริการฝากครรภ์มากกว่า 10 ปีขึ้นไปร้อยละ 74 และต้องการอบรมทบทวนทั้งด้านความรู้ ทักษะการฝากครรภ์ การสอนสุขศึกษา มากกว่าร้อยละ 80

ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการจัดอบรม

ดังนั้นจึงได้จัดตารางการให้ความรู้ดังต่อไปนี้ คือ

ด้านการให้ความรู้ กำหนด2 วัน คือ

วันที่ 1 การฝากครรภ์ในรายปกติ โดย นพ.ดนัย สังขทรัพย์

            การให้สุขศึกษา โดยคุณอรพินท์ บุญเอี่ยม พยาบาลวิชาชีพ 7 แผนกฝากครรภ์

วันที่ 2 การฝากครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง(Hiegh Risk)

           ภาวะเสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์ โดยนพ.ดนัย  สังขทรัพย์

           การดูแลและการส่งต่อสำหรับเจ้าหน้าที่ในศสช. โดย นพ. วิเศรษฐ  วัชโรทน

           การเยี่ยมหลังคลอด โดย คุณเพ็ญศรี พันธ์ทรัพย์  พยาบาลวิชาชีพ 7 หัวหน้าหอผู้ป่วยสูติกรรมหลังคลอด

นพ.ดนัย สังขทรัพย์ สูติ-นรีแพทย์

   

คุณเพ็ญศรี  พันทรัพย์ หัวหน้าหอผู้ป่วยสูติกรรมหลังคลอด

วิทยากรที่เชิญมาสอนทุกท่าน ให้ความร่วมมือดีมาก ๆ มีการเตรียมการสอนมาอย่างดี  โดยเฉพาะ นพ. วิเศรษฐ วัชโรทน  ได้รับการประเมินดีมาก ส่วนคุณอรพินท์ และคุณเพ็ญศรี เป็นการสอนที่มาจากใจ การสอนที่นำแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพมาบอกต่อ และเปิดโอกาสให้ปรึกษาทางโทรศัพท์มือถือ ขอขอบพระคุณแทนพี่น้องชาว PCU มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 44764เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2006 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
มาถูกทางละอ้อย จะทำอะไรก็ต้องทำงานเป็นทีม ไม่มีใครเก่งไปซะทุกอย่างหรอกจริงมั้ย ความเก่งกาจของ PM ในแต่ละโครงการคือการเป็นผู้ประสานและจัดการชั้นเยี่ยม จนได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจ เป็นกำลังใจให้เต็มที่นะ อ้อย
   ภูมิใจ และดีใจแทนอ้อยจริงๆ ที่มีทีมงานให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเช่นนี้ ....nutim
ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ ขอบคุณค่ะพี่นู๋ อ้อยกำลังนึกหาวิธีบริหารเวลาที่จะตั้งทีมและออกนิเทศน์ติดตามใน PCU

เรียนถามอาจารย์เพิ่มเติมคะว่ามีแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงอย่างไร

ปีที่แล้วเคยจัดทำโครงการการเชื่อมโยงเครือข่ายการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในภาพของ cup ให้กับรพ. ชุมชนที่สนใจ โดยมีประเด็นของรร.พ่อแม่เป็นพื้นฐาน เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับข้อมูลด้านสุขศึกษาได้ครบถ้วนไม่ว่า จะไปฝากครรภ์ที่ใดก็ตาม รายละเอียดจะอยู่ที่ blog/โรงเรียนพ่อแม่ ค่ะ

ช่วยตอบหน่อยนะค่ะ

อยากรู้เกี่ยวกับ

อ.ปิยะเนตร นามสกุลจำไม่ได้

หัวหน้าพยาบาลสูตินารีค่ะ

ขอประวัตินะค่ะ

อยากรูว่ามากเลยค่ะ

ว่ามีพี่น้องกี่คน

อยากรู้ประสบการด้วยค่ะ

ใครรู้บอกแพนด้วยนะค่ะ

ขอบคุนมากๆนะค่ะ

ดิฉันเป็นคนหนึ่งค่ะที่ประทับใจโรงพยาบาลนี้มากเพราะว่าดิฉันคลอดลูกที่โรงพยาบาลนี้ได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีจากบุคลากรของที่นี่และที่สำคัญทำให้ดิฉันรับรู้ว่านมแม่มีประโยชน์มากแค่ไหนที่ร.พ.นี้สอนการดูแลลูกทุกอย่างจริงๆไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำให้ลูก,การเช็ดตัวให้ลูกและที่สำคัญคือการให้นมลูกที่ถูกวิธีเมื่มมีอุปสรรค์ปัญหาไม่ว่าจะหัวนมแตกเนื่องจากท่าให้นมไม่ถูกวิธีทางร.พ.นี้ก็ช่วยแก้ปัญหาซึ่งตัวดิฉันเองก็ประสบปัณณหาหัวนมแตกเนื่องจากให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธีจนท้อไปเลยค่ะเพราะว่ามันเจ็บมากแต่ที่นี่ก็สอนและช่วยรักษาจนหายกลับมาให้นมลูกได้จนถึง1ขวบค่ะเมื่อเปรียบเทีบยกับโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆแล้วเค้าไม่เคยปลูกฝังให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เลยบางคนให้นมลูกไม่เป็นก็มีข้อแตกต่างระหว่างร.พ.เอกชนกับร.พ.พุทธ1.รพ.เอกชนไม่เคยสอนให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง..2.รพ.เอกชนเมื่อลูกคลอดออกมาแล้วอำนวยความสะดวกด้วยการนำลูกไปเลี้ยงให้แต่ทางรพ.พุทธให้แม่ฝึกเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง2ชั่วโมงหลังคลอดเพื่อให้แม่ได้ใกล้ชิดกับลูกน้อยได้ไวที่สุด...มันทำให้ทัศนคติที่ดิฉันมีต่อรพ.พุทธชินราชเปลี่ยนไปทันทีค่ะตอนนี้ภูมิใจมากที่เราสามารถบอกใครๆได้ว่าดิฉันเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งตอนนี้ลูกชายดิฉันอ้วนท้วนสมบูรณ์และพัฒนาการไปได้เร็วมากเมื่อเรีบยเทัยบดับเด็กที่อายุ 1 ขวบ4เดือนเท่ากันและแข็งแรงมากขอบคุณรพ.พุทธค่ะขอบคุณจริงๆ ( กระทู้นี้ไม่ได้ค่าโฆษณาใดๆทั้งสิ้นแต่ดิฉันอยากบอกกับทุกคนว่าอย่ามองโรงพยาบาลนี้แต่ภายนอกที่นี่มีอะไรดีมากกว่าที่คุณคิด )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท