การสืบพันะแบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธ์พืช


การสืบพันะแบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธ์พืช

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืช

             พืชดอกนอกจากจะสืบพันธุ์โดยใช้เมล็ดซึ่งเป็นวิธีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศแล้ว    ยังมีการสืบพันธุ์
ุ์แบบไม่อาศัยเพศ  โดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืช  เช่น   การแตกหน่อของขิง   ข่า    ใช้ใบ    ตา   เช่น  ต้นตายใบเป็น
ใช้ราก  เช่น   มันเทศ   เป็นต้น   มนุษย์ได้นำความรู้จากการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศของพืชต้นใหม่
่ที่มีลักษณะเหมือนต้นเดิม  ไม่กลายพันธุ์รวมทั้งไห้ดอกและผลเร็วขึ้น  แต่การขยายพันธุ์โดยวิธีนี้จะไม่มีรากแก้ว
ทำให้ระบบรากไม่แข็งแรง

             ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีชีวภาพในการเนื้อเยื่อพืช  มาใช้ในการเกษตรอย่างแพร่หลาย  เช่น
การขยายพันธุ์พืชเพื่อให้ได้ต้นพืชจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น  และมีลักษณะเหมือนพันธุ์เดิม
ซึ่งประสบผลสำเร็จกับพืชเศรษฐกิจหลาย ๆ ชนิด เช่น   กล้วยไม้  ไม้ตัดดอกอื่น ๆ  กล้วย   สตรอเบอรี่     
นอกจากนี้การเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชยังมีประโยชน์ในการผลิตพืชที่ปลอดโรค  การสร้างพืชสายพันธุ์แท้ 
การเก็บพันธุ์พืชเพื่อการอนุรักษ์  ฯลฯ   ส่วนทางด้านการแพทย์และเภสัชกรรม  สามารถทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อพืช
สร้างสารเคมีที่ต้องการได้

 

 

 

การขยายพันธุ์พืชโดยการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  
             การเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นการนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชไม่ว่าจะเป็นอวัยวะ  เนื้อเยื่อ  เซลล์ 
แม้กระทั่งโพรโทพลาสต์   (  เซลล์พืชที่ปราศจากหนังเซลล์ )    มาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์  ชิ้นส่วนของพืช
ที่นำมาเลี้ยงเหล่านี้จะเจริญไปเป็นราก  ลำต้น   หรือเจริญเป็นแคลลัส  (  callus ) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเซลล์
์พาเรงคิมา กลุ่มเซลล์นี้จะเจริญต่อเนื่องจนได้แคลลัสขนาดใหญ่ที่สามารถชักนำให้เปลี่ยนไปเป็นลำต้นหรือ
รากได้  ระยะนี้อาจแบ่งเพิ่มจำนวนได้มากขึ้นเรื่อย ๆ  โดยแยกไปเลี้ยงในอาหารใหม่  ซึ่งเมื่อได้จำนวนต้น
ในปริมาณที่มากพอแล้ว  ก็สามารถที่จะย้ายปลูกได้

             นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการทำเมล็ดเทียม  ( artificial   seed )  เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์พืชบางชนิด
เช่น  ข้าว   แครอท   ยาสูบ  หน่อไม้ฝรั่ง   ซึ่งการผลิตเมล็ดเทียมนี้พัฒนามาจากหลักการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
โดยการนำเซลล์ของพืชที่เจริญมาจากการเลี้ยงเนื้อเยื่อมาชักนำให้เป็นเอ็มบริโอ  ( embryo ) 
แทนเอ็มบริโอที่เกิดจากการปฏิสนธิเอ็มบริโอนี้จะนำมาห่อหุ้มด้วยสารอาหารที่ทำหน้าที่แทนเอนโดสเปิร์ม
และมีสารเคลือบอยู่ภายนอก

 

การวัดการเจริญเติบโตของพืช

การวัดการเจริญเติบโตของพืชสามารถวัดได้หลายวิธี  เช่น  ความสูง  จำนวนใบ   ขนาดของใบ  เส้นรอบวง 
มวล ฯลฯ 

พืชมีการเจริญเติบโตช้าหรือเร็วนั้น   มีวิธีการวัดได้หลายวิธี  เช่นการวัดมวล   หรือน้ำหนักสดของพืช
เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด   แต่ผลที่ได้  อาจไม่บ่งถึงการเพิ่มขึ้นของชีวมวลที่แท้จริงทั้งหมด  
เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเกิดจากเซลล์เก็บสะสมน้ำไว้ในปริมาณมาก ๆ  จนเซลล์เพิ่มขนาด 
ส่วนการชั่งน้ำหนักแห้งที่แท้จริง   วิธีนี้ทำให้พืชตาย    ดังนั้นพืชที่ใช้วัดจึงต้องปลูกจำนวนมาก 
แล้วสุ่มตัวอย่างมาเพียงบางส่วนเพื่อเป็นตัวแทนของพืชทั้งหมดในระยะเวลาต่าง ๆ กัน 
นำมาเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้น  แล้วจึงสรุปได้ว่าพืชนั้นมีการเจริญเติบโต 
การวัดความสูงของพืชก็เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมกันมากเช่นเดียวกับการวัดมวลเพราะวัดได้สะดวก 
แต่มีข้อควรระวัง  คือพืชบางชนิดมีความสูงจำกัด  แต่กิ่ง  ตา  ดอก  ผล  และขนาดของลำต้น 
สามารถเพิ่มขึ้นได้อีก   นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่น ๆ  เช่น   การนับจำนวนใบ  การนับวงปี  การวัดเส้นรอบวง
การวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง   เป็นต้น    ซึ่งวิธีการใดจะดีที่สุดย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด

           การเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่งอกออกจากเมล็ดจนโตเต็มที่ ออกดอก ออกผล  มีลักษณะคล้ายกับ
กราฟการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ  ไป  สามารถเขียนกราฟของการเจริญเติบโตเป็นรูปตัว  S
(  S – shaped  curve ) 

 

 

 

 

 

 

           จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า  พืชดอกมีดอกซึ่งเป็นโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
ดอกของพืชแต่ละชนิดมีโครงสร้างดอกที่แตกต่างกัน   มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
เมื่อเกิดการปฏิสนธิซ้อนแล้วจะได้ไซโกตและเอนโดสเปิร์ม  ซึ่งไซโกตจะเจริญไปเป็นเอ็มบริโออยู่ในเมล็ด
ถ้าสภาวะแวดล้อมเหมาะสม  เมล็ดจะงอกได้และเจริญเติบโตต่อไป  เมล็ดพืชบางชนิด   แม้อยู่ในสภาวะแวดล้อม
ที่เหมาะสมก็ไม่สามารถงอกได้  ต้องมีระยะเวลาปรับสภาพภายในเมล็ดก่อนจึงจะสามารถงอกได้  
เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นแล้วสามารถวัดการเจริญเติบโตของพืช  แล้วนำมาเขียนเป็นกราฟ  ซึ่งจะได้กราฟรูปตัว  S
เหมือนกับสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ  ไป       

หมายเลขบันทึก: 447551เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2011 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท