ประวัติบุคคลสำคัญด้านดนตรีไทย


หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

ประวัตินักดนตรีไทย




 


ประวัตินักดนตรีไทย


 


 หลวงประดิษฐไพเราะ เป็นบุตรของ นายสิน นางยิ้ม ศิลปบรรเลงเนื่องจากบิดาคือครูสินเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ และเป็นศิษย์ของพระประดิษฐไพเราะในปี พ.ศ. 2443 ขณะเมื่ออายุ 19 ปี ท่านได้แสดงฝีมือเดี่ยวระนาดเอกถวายสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เป็นที่ต้องพระทัยมาก จึงทรงรับตัวเข้ามาไว้ที่วังบูรพาภิรมย์ ทำหน้าที่คนระนาดเอก ประจำวงวังบูรพาไปด้วย พร้อมกับสมเด็จท่านได้ เชิยครูมาสอนที่วัง คือ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เนื่องจากจางวางศร ได้รับพระกรุณาจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เป็นอย่างมาก ทรงจัดหาครูที่มีฝีมือมาฝึกสอน ทำให้จางวางศรมีฝีมือกล้าแข็งขึ้นในสมัยนั้นไม่มีใครมีฝีมือเทียบเท่าได้เลย จางวางศร ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นหลวงประดิษฐไพเราะ ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 ทั้งๆ ที่ท่านไม่เคยรับราชการอยู่ในกรมกองใดมาก่อน ทั้งนี้ก็เพราะฝีมือและความสามารถของท่าน เป็นที่ต้องพระหฤทัยนั่นเอง ครั้นถึงปี พ.ศ.2469 ท่านได้เข้ารับราชการในกรมปี่พาทย์และโขนหลวงกระทรวงวังท่านได้มีส่วนถวายการสอนดนตรีให้กับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชิน ีรวมทั้งมีส่วนช่วยงานพระราชนิพนธ์เพลงสามเพลงคือเพลงราตรีประดับดาว เถา เพลงเขมรละออองค์ เถา และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง สามชั้น หลวงประดิษฐไพเราะ ได้แต่งเพลงไว้มากกว่าร้อยเพลง ดังนี้ เพลงโหมโรง โหมโรงกระแตไต่ไม้ โหมโรงปฐมดุสิต โหมโรงศรทอง โหมโรงประชุมเทวราช โหมโรงศรทอง โหมโรงประชุมเทวราช โหมโรงบางขุนนท์ โหมโรงนางเยื้อง โหมโรงม้าสยบัดกีบ และโหมโรงบูเซ็นซ๊อค เป้นต้น เพลงเถา อาทิ กระต่ายชมเดือน เถา ขอมทอง เถา เขมร เถา เขมรปากท่อ เถา เขมรราชบุรี เถา แขกขาว เถา แขกสาหร่าย เถา แขกโอด เถาจีนลั่นถัน เถา ชมแสงจันทร์ เถา ครวญหา เถา เต่าเห่ เถา นกเขาขแมร์ เถา พราหมณ์ดีดน้ำเต้า เถา มุล่ง เถา แมลงภู่ทอง เถา ยวนเคล้า เถา ช้างกินใบไผ่ เถา ระหกระเหิน เถา ระส่ำระสาย เถา ไส้พระจันทร์ เถา ลาวเสี่งเทียน เถา แสนคำนึง เถา สาวเวียงเหนือ เถา สาริกาเขมร เถา โอ้ลาว เถา ครุ่นคิด เถา กำสรวลสุรางค์ เถา แขกไทร เถา สุรินทราหู เถา เขมรภูมิประสาท เถา แขไขดวง เถา พระอาทิตย์ชิงดวง เถา กราวรำ เถา ฯลฯหลวงประดิษฐไพเราะ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 รวมอายุ 73 ปี
 
 
คำสำคัญ (Tags): #บริหารการศึกษา 5
หมายเลขบันทึก: 447178เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2011 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท