Type of Action Research


ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณสำหรับกำลังใจทุก ๆ กำลังใจครับที่ส่งให้เมื่อครั้งต้องประสบพบเจอกับอาการเจ็บป่วยที่ถือได้ว่า "หนักที่สุดในชีวิต" ตั้งแต่เกิดมาครับ

สมมติฐานแรกที่คิดไว้ว่า อะไรนะที่ทำให้ "อาหารเป็นพิษ"

"ต้นคอนแคน" สมมติฐานแรกครับ แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ครับ ขอปฏิเสธสมมติฐานหลัก

แต่สิ่งที่ทำให้เกือบเอาชีวิตไม่รอดครานั้นก็คือ "หอยแมลงภู่" ครับ ทำให้ป่วยติดต่อกันถึง 3 วัน 3 คืนครับ

หลังจากที่หายป่วยแล้ว ก็เข้าสู่ช่วงวันแม่ครับ ต้องลงเรื่องเบา ๆ ไว้สักสองสามวัน ก็เลยต้องพักบันทึกนี้ไว้สักครู่ครับ เพราะบันทึกนี้เป็นบันทึกแบบ "กบฏทางวิชาการ" เนื้อหาอาจจะดูหนักสักหน่อยครับ กับเรื่อง ประเภทของงานวิจัยที่ทำกันในชุมชนอยู่ในปัจจุบันทุก ๆ วันนี้ครับ

โดยเฉพาะวิจัยที่กำลังฮอทฮิตมาก ๆ วิจัยชุมชน ทำเพื่อชุมชน ทำกับชุมชน ทำในชุมชน ตามนโยบายและสมัยนิยม ติดชุมชนที่เรียกว่า Action Research

Type of Action Research

 

Type -

Type +

1. I'm ok You’re not ok everybody not ok


2. มองเห็นทุกอย่างเป็นปัญหา


3. จัดการความรู้เพื่อมองทุกอย่างเป็นปัญหา


4. รู้จำ ท่องเก่ง จำเก่ง เป็นนกแก้วนกขุนทอง ชุมชนต้องใช้ทำทุกอย่างตามทฤษฎี


5. พูดเก่ง รู้หมดทุกเรื่อง


6. เวที จัดการความรู้ เน้นความรู้จากนักวิชาการภายนอก


7. เวที คุยเรื่อง “ทุน” ของคนข้างนอก มองภายในชุมชนมีแต่ปัญหา หน้าบึ้งมีแต่ความเครียดและทุกข์


8. รู้ปัญหาแล้ว เดี๋ยวรอให้หน่วยงานราชการเอาความรู้ เครื่องมือ เทคโนโลยีจากภายนอกมาแก้ไข


9. ใช้ KM เพื่อมองทุกอย่างเป็นปัญหา และใช้รู้ว่าจะต้องใช้ทุนภายนอก


10. หาปัญหาเพื่อสร้างโจทย์ ของบฯ และทำงานเพื่อเบิกงานตามแผนงบประมาณที่ได้เขียนไว้ กระตุ้นทีมงานให้ทำงาน และให้ชุมชนมาเข้าร่วมเพื่อให้ครบองค์ประกอบ


11. Win-Lost ทีมวิจัยได้ประโยชน์(แน่นอน ได้ก่อนเสมอ) ชุมชนถูกบอกให้เชื่อว่าจะได้ประโยชน์ แต่ต้องรอไปก่อน


12. ใช้นักวิชาการเก่ง ๆ มาแก้ปัญหา


13. ใช้เงินแก้ปัญหา


14. นักวิจัยทำเอง ชาวบ้านไม่เชื่อเดี๋ยวทำให้ดู ทำเสร็จแล้วค่อยไปสอนเขาหรือพาเขามาเดินเยี่ยมชมงาน จัดการอบรม เผยแพร่ สร้างภาพ


15. ของบประมาณ (มาก ๆ ) จากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ผู้ว่าฯ CEO สกว. มหาวิทยาลัย


16. ทำงานเป็นกลุ่ม


17. สอนแพะ สอนแกะ เป็นผู้สั่งและสอน จัดเวทีเพื่อสอนและสั่งให้เขาทำ บางครั้งทำให้ทั้งแพะทั้งแกะ เพราะทั้งแพะและแกะโง่ทั้งคู่ เราฉลาดอยู่คนเดียว


18. ผสมงานและผสมคน


19. สั่งให้แพะทำเรื่องแกะ แกะไปทำเรื่องแพะ งานตัวเองไม่ทำ ทำแต่งานของคนอื่น ไม่รู้หน้าที่ของตนเอง รู้แต่ว่าคนอื่นทำงานไม่ดี ไม่รู้ว่างานใครเป็นงานใคร แต่ทุกอย่าง ฉันเก่งที่สุด


20. คนมีเป็นปัญหาแก้ที่เงิน งานมีปัญหาแก้ที่เงิน ทุกอย่างมีปัญหา ใช้เงินแก้ได้หมด


21. เสริมสร้างการจำและใช้เงิน


22. สร้างมิตรเทียม (หมดงานเลิกกัน มีเงินมาใหม่ค่อยว่ากัน)


23. ทีมวิจัยเก็บข้อมูล ค้นหาโจทย์ วิเคราะห์ชุดโจทย์ เพื่อเขียนโครงร่าง ขอประมาณ ถ้าได้ก็ลงไปทำ ถ้าโจทย์ไม่ผ่าน แก้ใหม่ เปลี่ยนหัวข้อ ฯ


24. จัดการความรู้ จัดเก็บ เข้าเล่ม เผยแพร่เอกสารทั้งในและนอกประเทศ นำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ แก้ไขปัญหาและพัฒนาตนเองเพื่อขอผลงาน เรียนจบ  และก้าวหน้าหน้าในอาชีพการงาน


25. จัดเลี้ยงอาหารว่างและอาหารกลางวัน เบิกเงินจากโครงการฯ และงบประมาณแผ่นดิน


26. สร้างค่านิยมในการกินอาหารขยะ ค่านิยมต่างประเทศ (เค้ก ขนมปัง)


27. ซื้อวัตถุดิบราคาแพงจากภายนอกเข้ามาประกอบอาหาร


28. มาประชุมเพราะโดนบังคับ มาเพื่อเบี้ยประชุม


29. แก้ไขปัญหาและพัฒนาทีมวิจัย เพื่อผลงานและปริญญาของทีมวิจัย


30. ข้อมูลเป็นสิทธิของทีมวิจัยที่จะนำไปหาประโยชน์


31. ไปชุมชนเฉพาะเวลาที่ว่าง เป็นงาน PART TIME ว่างถึงลงไป ติดประชุมที่อื่นก็ไม่ไป เลื่อนนัดเป็นประจำ


32. ทีมวิจัยไม่ไป ทำงานกันไม่ได้

 

33. ห้ามชุมชนทำเองเดี๋ยวผิดระเบียบวิธีวิจัย

 

34. สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่เต็มหน่วยงาน เพื่อกลับไปทำงาน (สร้างบาป) กับชุมชนอย่างยั่งยืน


35. งานจบ โครงการฯ จบ ทุกอย่างจบ จบแล้วจบกัน


36. เข้าไปเพื่อเก็บข้อมูลเป็นหลัก

 


37. ชุมชนเป็นผู้นั่งรอรับความเอื้ออาทร

1. I'm ok you’re ok  everybody ok

 

2. มองเห็นปัญหาทุกอย่าง


3. จัดการความเพื่อให้เห็นปัญหาทุกอย่าง


4. รู้แจ้ง เพื่อรู้จริง ประยุกต์บริบทและทุนเป็นตัวกำหนดในการนำทฤษฎีหรือหลักการที่จะนำมาใช้


5. ฟังเก่ง ฟังได้หมดทุกเรื่อง


6. เวที จัดการ “ทุนความรู้” ของแต่ละคนและเป็นทุนภายในชุมชน


7. เวที คุยเรื่อง “ทุน” ความสำเร็จและการต่อสู้ของชุมชน มีรอยยิ้มและความสุข


8. รู้ปัญหาแล้ว ชุมชนแก้ไขด้วย “ทุน” ของตนเอง ใช้ทุนของตนเองในชุมชนแก้ไข


9. ใช้ KM จัดกระบวนการให้รู้ถึงปัญหาและรู้ถึงทุนชุมชนที่จะใช้แก้ปัญหา


10. หาสิ่งดี ๆ ในชุมชน ปัญญา ความรู้ นักจัดการความรู้กระตุ้นและสร้างเสริมให้ชุมชนทำด้วยตนเอง

 


11. Win-Win ได้รับประโยชน์ทั้งคู่แบบฉับพลัน


12. ใช้คนในชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านแก้ไขปัญหา


13. ใช้ใจและชีวิตแก้ไขปัญหา


14. ลองทำร่วมกัน รับผิดและรับชอบร่วมกัน ร่วมกันล้มและลุก ทำผิดเริ่มต้นทำใหม่ร่วมกัน ถ้าจะทำต้องทำด้วยกัน


15. ใช้ใจเป็นงบประมาณ ขอใจและแรงกายจากชุมชนมาทำงานร่วมกัน


16. ทำงานเป็นทีม


17. จับแพะชนแกะ เป็นผู้เอื้อ และผู้อำนวย จัดเวทีเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมาเจอกัน จัดการความรู้เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน ทุกคนมีความรู้และปัญญา เราเป็นผู้จัดกระบวนการและร่วมเรียนรู้


18. ประสมงานและประสานคน


19. รับผิดชอบหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด รู้ว่างานหลักของเราคืออะไร


20. คนมีปัญหาแก้ที่คน งานมีปัญหาแก้ไขที่งาน

 


21. เสริมความความคิด


22. สร้างมิตรแท้ หมดงานคบกันตลอดชีวิต


23. เก็บข้อมูลร่วมกัน วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน ทำแล้ววิเคราะห์แล้วแก้ปัญหาและพัฒนาในขณะนั้น ร่วมรับผลประโยชน์ฉับพลัน


24. จัดการความรู้และจัดเก็บความรู้ เพื่อให้ชุมชนเข้าถึงและใช้ความรู้นั้นในชุมชนเพื่อชุมชน

 


25. พี่น้องในชุมชนร่วมกันนำอาหารมากินกันเอง เผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน


26. ได้งานแล้วยังได้ร่วมค้นหาและรักษา อนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมด้านอาหารประจำถิ่น


27. ใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ ต้นไม้ใบหญ้าในชุมชนมาประกอบอาหาร


28. อยากมาประชุมเพื่อร่วมกันแก้ไขและพัฒนาชุมชนของตนเอง


29. แก้ไขปัญหาและพัฒนาร่วมกันกับชุมชนเพื่อชุมชน


30. ข้อมูลเป็นสิทธิของชุมชน


31. ทำงานร่วมกันชุมชนทุกเวลา Full Time หัวใจและกระบวนการอยู่ในชุมชนตลอด


32. มีทีมวิจัยชุมชน เป็นทีมหลัก ทีมข้างนอกเป็นทีมเสริม ทำกันได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เรียนรู้ร่วมกัน


33. สร้างระเบียบวิธีใหม่ ๆ ที่เหมาะสมร่วมกันกับชุมชน


34. เกิดนักวิจัยชุมชน ทำงานภายในชุมชนของตนเองอย่างยั่งยืน


35. งานจบ โครงการจบ แต่กระบวนการวิจัยยังดำเนินอยู่ในชุมชนตลอดไป


36. เข้าไปเพื่อทำงานร่วมกับชุมชนไม่หวังข้อมูล เก็บเพียงรอยเท้าและย่างก้าวที่เดิน


37. ชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

บันทึกมาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

หมายเลขบันทึก: 44650เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2006 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ครั้งต่อไปเขียน การวิจัย แบบ PAR บ้างสิค่ะ จะตามอ่านตลอดไปนะคะ
  • ขอบพระคุณมาก ๆ ครับคุณกัลยาที่แนะนำครับ
  • ขอไม่เขียนแต่ทำให้ดูได้ไหมครับ
  • เพราะทุกบันทึกที่ผมเขียน ทุกอย่างอยู่ในกระบวนการของ "การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม" หรือที่คุณกัลยาเรียกว่า PAR ครับ
  • อาจจะเรียกว่าวิจัยก็ได้ครับ หรือเรียกว่าการเรียนรู้ก็ได้ครับ
  • ซึ่งส่วนใหญ่ผมจะใช้คำว่า Participatory Action Learning ครับ
  • และอีกคำหนึ่งที่จัดกระบวนการอยู่ใน G2K แห่งนี้ก็คือ Participatory Action Knowledge Laerning ครับ
  • เพราะจุดมุ่งหมายของ PAR ไม่ได้อยู่ที่รูปเล่ม ข้อมูล หรือการวิจัยครับ
  • แต่อยู่ที่ "กระบวนการ" ครับ
  • ทำแบบไม่ทำ
  • ได้แบบไม่ได้
  • ทุกอย่างเป็นธรรมชาติ ใช้ธรรมชาติทำให้เป็นธรรมชาติครับ
  • หรือลองอ่าน Action Research Type + ครับ ทั้งหมดนั้นคือภาคขยายของเทคนิควิธีการทำ PAR ครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกความจริงทั้งสองด้านมาแบ่งปัน (ส่วนมากเราจะเห็นเพียงด้านเดียว-คิดกันด้านเดียว)
  •  เรามักได้ยินท่านๆ ทั้งหลายพูดบ่อยๆ ว่า....ชุมชนเข้มแข็ง   ...แต่สิ่งที่ปฏิบัติกลับตรงกันข้าม (อย่าแย้งนะ...เพราะคุณพ่อรู้ดี...?) 

เยี่ยมมากเลบครับ ขออนุญาติตารางไปเผยแพร่ต่อได้ไหมครับ

  • ไม่แย้งหรอกครับพี่วีรยุทธ
  • เพราะสิ่งที่พี่พูดมาถูกต้องมาก ๆ เลยครับ
  • แนวความคิด อุดมคติ กับการปฏิบัติในประเทศเราส่วนใหญ่สวนทางกันครับ
  • ขอบพระคุณมาก ๆ ครับที่มาเติมเต็มครับ
  • ยินดีเป็นอย่างยิ่งเลยครับคุณจันทร์เมามาย
  • สิ่งใดที่นำไปเผยแพร่ได้ต่อยอดความรู้ให้กับชุมชนได้มากขึ้น เชิญได้เลยครับ ทุก ๆ บันทึกเลยครับ
  • ที่จริงมีประมาณ 100 ข้อครับ
  • ครั้งแรกลองชิมลางสักสามสิบกว่าข้อก่อนครับ
  • ถ้าคุณจันทร์เมามายได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเติมเต็มกันอีกนะครับ
  • ยินดีและขอบพระคุณมาก ๆ ครับที่นำไปเผยแพร่ครับ

ขอบคุณครับที่อนุญาต

อ่า มี 100 ข้อเลยเหรอครับ

30 ข้อที่ชิมลางนี่น่ากลัวจะรับไม่หมดแล้วครับ เอิ้ก

แต่อยากเห็นจังเลย ถ้าไม่รบกวนอยากให้ลงหรือส่งมาทางเมล์ผมได้ไม๊ครับ

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท