การปฏิรูป WTO : หนทางช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา


WTO สาเหตุและตัวอุปสรรคในการเจรจาทำความตกลงเกี่ยวกับการค้าที่ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาเสียเปรียบในเวทีการเจรจาระดับโลก
การปฏิรูป WTO : หนทางช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา 

                 ที่ผ่านมาเกิดปัญหาและอุปสรรคมากมายในการเจรจาความตกลงด้านการค้าขององค์กรการค้าโลก WTO ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่เกิดจกการที่ประเทศกำลังพัฒนาได้รับความเสียเปรียบจากการทำความตกลงตามกรอบการเจรจาการค้าของ WTO และสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานี้ส่วนหนึ่งมาจากระบวนการในการดำเนินงานของตัวองค์การการค้าโลกเอง เช่น ความไม่โปร่งใสของการเจราจาโดยมีการจัดเป็นการประชุมลับเพื่อให้มีการล็อบบี้กัน กระบวนการทางกฎหมายและประชาธิปไตยที่ถูกตัดทอนออกเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประทศพัฒนาแล้ว หรือประเด็นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้าโดยตรงเช่น ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างเงื่อนไขในทางการค้ามากกว่าที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องทางการค้าจริงๆ

 

                      ในปัจจุบันข้อตกลงทางการค้าของ WTO ได้ขยายวงกว้างไปไกลกว่าเรื่องในทางการค้า และจำนวนสมาชิกขององค์การการค้าโลก ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆและประเด็นความต้องการที่แตกต่างกันของสมาชิกได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยทำให้การเจรจายุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น และเป็นเหตุผลทำให้หลายประเทศใช้เป็นข้ออ้างในการเปิดเจรจาแบบๆประชุมลับเกิดขึ้น โดยจะมีประเทศสาชิกไม่กี่ประเทศที่ได้เข้าร่วมประชุม ซึ่งกระบวนการนี้ถื่อเป็นการกระทำที่ไม่โปร่งใส ไม่เปิดเผยและเปิดกว้างต่อทุกประเทศ ในกรณีนี้ควรนำหลักการในเรื่อง ผู้แทน ( Representative) มาใช้ โดยอาจแบ่งเป้ตัวแทนของกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง ปานกลาง และต่ำ หรือเป็นกลุ่มประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกที่สูง กลุ่มผู้ส่งออกสินค้าเกษตร กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยให้ตัวแทนเหล่านี้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอของกลุ่มต่อที่ประชุมใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยบรรดาประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก

                     ในส่วนของตัวองค์การการค้าโลกเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนขอบข่ายและระบบการทำงานให้เพิ่มมากขึ้น เช่นควรทำหน้าที่ในการพิจารณาวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายและข้อตกลงต่างๆโดยแสดงให้เห็นถึงผลดีและผลเสียของนโยบายและความตกลงดังกล่าว ทั้งต่อกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ศึกษาและวิเคราะห์ถึงผลกระทบเกี่ยวกับข้อตกลงอื่นๆที่มีการปิดเจราจา เช่น การเจรจาแบบทวิภาคีเพื่อเปิดเขตการค้าเสรีหรือเขตการค้าเสรีในระดับภูมิภาค ซึ่งการเจรจาแบบทวิภาคีว่าด้วยการเปิดเขตการค้าเสรีนั้นจะลดความสำคัญและสร้างอุปสรรคให้แก่การเจรจาการค้าในระดับพหุภาคีซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของการดำเนินงานขององค์การการค้าโลก เพิ่มอิสระและการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบกับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ

ควรมีการตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวกับการสร้างอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดยอาศัยช่องทางของมาตรการปกป้องในทางภาษี หรือการตั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานต่างๆ

                          นอกจากนี้องค์การการค้าโลกควรให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในด้นวิชาการ ความรู้ในด้นกฎหมายมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งองค์การการค้าโลกให้ความสำคัญเพียงร้อยละ  1 ของงบประมาณต่อปีของWTO  และWTO ควรให้ความช่วยเหลือในการปฏิรูปทางสถาบันในประเทศกำลังพัฒนาเพราะการปฏิรูปดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญต่อการปฏิรูปของ WTO หากไม่มีการปฏิรูปดังกล่าวแล้วกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาก็จะขาดศักยภาพในการเจรจาต่อรอง ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงผลได้ผลเสียที่จะเกิดตามมาจากการทำข้อตกลงต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การค้าที่ไม่เป็นธรรมในแบบเดิมๆที่องค์การการค้าโลกปรารถนาที่จะขจัดให้หมดไปจากการค้าระหว่างประเทศ

ประเด็นใหม่ในองค์การการค้าโลก / ทัชชมัย ฤกษะสุต.

จดหมายข่าวจับกระแสองค์การการค้าโลก.by สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. โครงการ WTO Watch.
หมายเลขบันทึก: 44639เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2006 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 02:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

จากการที่ประเทศไทย มีผู้ว่าWTOเป็นคนในประเทศ นั้น ประเทศไทยมีผลกระทบเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่

เท่าที่พี่ได้อ่านข้อวิพากษ์มา การที่ ดร.ศุภชัยเป็นผู้ว่า WTO ไม่ได้ช่วยให้อำนาจการต่อรองของประเทศโลกที่ 3 ดีขึ้นและไม่ได้ทำให้เกิดการปฏิรูปองค์การ การจักประชุมในรอบที่ผ่านมาก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ปัญหาจริงๆน่าจะมาจากตัวสมาชิกที่เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจมากกว่าอย่างอื่น 

เห็นด้วยค่ะที่ WTO ควรจะมีการปฏิรูปองค์การบ้าง โดยเฉพาะเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทางการค้า(Fair Trade) ต่อประเทศกำลังพัฒนาบ้าง (ประเทศเงินสนับสนุนต่ำ...เสียงก็เลยเบา)  ควบคู่กับ Free Trade มิใช่ก่อตั้งองค์การเป็นเพียงตังกลางเจรจาให้แก่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจให้บรรลุข้อตกลงเท่านั้น...

 

เท่าที่ผ่านมา WTO กลายเป็นเวทีที่เอื้อต่อประเทศมหาอำนาจให้มีบทบาทมากกว่า  อีกทั้งในบางครั้งWTO ก็กลายเป็นช่องทางให้ประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงกว่าแสวงหาประโยชน์จากประเทศที่กำลังพัฒนา  โดยอาศัยหลักการของ  WTO ในบางเรื่องเป็นข้ออ้างในการเอารัดเอาเปรียบประเทศอื่นๆ โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงที่ว่าแต่ละประเทศนั้นย่อมมีศักยภาพในทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่ากัน  และยังกำหนดมาตรการบางอย่างเช่นมาตรการในเรื่องสิ่งแวดล้อม  ที่แท้จริงแล้วแฝงอยู่ด้วยมาตรการที่เป็นการกีดกันทางการค้าต่อประเทศที่กำลังพัฒนาให้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก

ใช่คะเท่าที่ผ่านมารู้สึกว่า เวทีการเจรจาของ WTO นั้นเป็นเวทีของประเทศมหาอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันประเทศมหาอำนาจนั้นได้เพิ่มประเทศจีนเข้ามาอีกหนึ่งประเทศ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าเวทีการเจรจาในWTO นั้นถือว่าเป็นเวทีในการเจรจาต่อรองกันในระดับมหาอำนาจเท่านั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท