กฏหมายในชีวิตประจำวัน


กฏหมายในชีวิตประจำวัน

กฏหมายเกี่ยวข้องกับวงชีวิตเริ่มชีวิตไหม่

 

การเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของสภาพบุคคล และเป็นจุดเริ่มต้นที่กฎหมายเข้ามามีบทบาท เมื่อมีเด็กเกิดในครอบครัว กฎหมายได้กำหนดหน้าที่ที่จะต้องแจ้งการเกิดดังต่อไปนี้

๑. กรณีเด็กเกิดในบ้าน เมื่อหญิงตั้งครรภ์ และได้คลอดลูกในบ้านของตนเอง ผู้มีหน้าที่แจ้งเด็กเกิดคือ "เจ้าบ้าน" หรือตามกฎหมายก็คือ ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว อาจจะเป็นผู้อยู่ในฐานะเจ้าของบ้าน หรือหากเช่า บ้านคนอื่น ก็คือผู้อยู่ในฐานะผู้เช่า หรือผู้อยู่ในฐานะอื่นๆ อย่างเช่น กรณี ที่เจ้าของบ้านยกบ้านให้อยู่ฟรีๆ ผู้ที่ได้รับการยกให้อยู่ก็เป็นเจ้าบ้านได้เหมือนกัน

นอกจากเจ้าบ้านแล้ว บิดา หรือมารดาของเด็กเป็นผู้มีหน้าที่แจ้ง เช่นเดียวกัน

การแจ้งการเกิดนี้จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่เด็กเกิดภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เกิด เช่น เด็กเกิดวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๓๐ ก็จะต้อง แจ้งภายใน ๑๕ วัน คืออย่างช้าวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๓๐ หรือถ้าเด็กเกิด วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๐ จะต้องแจ้งอย่างช้าวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ เป็นต้น

ส่วนนายทะเบียนท้องที่ที่เกิดนั้น แยกไว้ ๒ กรณี

(๑) หากท้องที่นั้นอยู่ในเขตเทศบาล นายทะเบียนที่จะรับแจ้งการ เกิด ได้แก่ ปลัดเทศบาล ณ ที่ทำการเทศบาล
(๒) หากท้องที่นั้นอยู่นอกเขตเทศบาล นายทะเบียนที่จะรับแจ้ง การเกิด ได้แก่ กำนัน ณ ที่ทำการกำนัน

๒. กรณีเด็กเกิดนอกบ้าน การเกิดนอกบ้าน คือ เกิดในที่ใดๆ ก็ตามที่ไม่ใช่บ้านของตน เช่น เกิดที่บ้านของญาติ หรือในป่า ผู้ที่มีหน้าที่ แจ้งการเกิด คือ บิดาหรือมารดาของเด็ก โดยต้องแจ้งแก่นายทะเบียน ท้องที่ที่คนเกิดนอกบ้าน หรือท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้นับแต่วันที่เกิด ซึ่งหมาย ความว่า เมื่อเด็กเกิดแล้ว บิดาหรือมารดาจะต้องแจ้งภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เกิด แต่หากไม่สามารถแจ้งแก่นายทะเบียนในท้องที่ที่เด็กเกิดได้ ภายใน ๑๕ วัน เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างหนักเป็นเวลานานไม่อาจไปแจ้ง ท้องที่ที่เด็กเกิดได้ทันเวลา ก็สามารถแจ้งแก่นายทะเบียนท้องที่อื่น ๆ ได้

แต่ ถ้ามีความจำเป็นและไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดเวลา ไม่ว่าจะแจ้ง ที่ท้องที่ที่เด็กเกิดหรือท้องที่อื่นก็ตาม ก็ให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน ๓๐ วันนับแต่วันที่เกิด

ตัวอย่าง หญิงตั้งครรภ์ และหลงเข้าไปในป่า ต่อมาคลอดลูก จะเห็น ได้ว่าหญิงหรือมารดาของเด็กไม่อาจจะแจ้งแก่นายทะเบียนท้องที่ที่เด็กเกิดหรือ ท้องที่ใด ๆ ที่สามารถจะแจ้งได้ในโอกาสแรกภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่เกิด เพราะยังคงอยู่ในป่า เมื่อผ่านไป ๒๐ วัน มารดาสามารถออกจากป่าได้แล้ว ดังนั้นวันที่อาจแจ้งได้ คือ วันที่มารดาออกจากป่า หรือจะแจ้งวันอื่นก็ได้ แต่ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่เด็กเกิด

ข้อสังเกต การคลอดลูกในโรงพยาบาลถือว่า เป็นการเกิดนอกบ้าน ซึ่งตามข้อ ๒ ผู้มีหน้าที่แจ้ง คือ บิดาหรือมารดา แต่ในทางปฏิบัติทาง โรงพยาบาลจะจัดการเรื่องนี้เอง ซึ่งถือเป็นบริการของโรงพยาบาล โดยที่บิดาหรือมารดาไม่ต้องแจ้งแก่นายทะเบียนแต่อย่างใด

ในกรณีที่ผู้ใดพบเด็กเกิดใหม่ซึ่งถูกทิ้งไว้ ให้ผู้นั้นมีหน้าที่แจ้งต่อ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์ในท้องที่ที่ผู้นั้นพบเด็กโดยเร็ว และเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะแจ้งว่ามีคนเกิดต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้ง

โทษ ผู้มีหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นทั้งกรณีเด็กเกิดในบ้าน เด็กเกิดนอก บ้าน และผู้พบเด็กถูกทิ้ง ถ้าฝ่าฝืนไม่ทำตามหน้าที่ ย่อมมีความผิด อาจถูก ปรับได้ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท

เมื่อแจ้งเด็กเกิดในบ้าน หรือนอกบ้านแล้ว นายทะเบียนจะออกสูติบัตร (ใบแจ้งเกิด) ให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งสูติบัตรจะแสดงสัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อบิดา มารดา อีกทั้งควรแจ้งชื่อของเด็กที่เกิดด้วย และถ้าประสงค์จะเปลี่ยนชื่อใหม่ ก็ให้แจ้งต่อนายทะเบียนภายใน ๖ เดือนนับ แต่เกิด

 

การดำรงชีวิตอยู่ในสังคม

 

ปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเล่าเรียนของเยาวชนในชั้น ประถมคือ พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับ ที่ ๖

ในมาตรา ๖ ผู้ปกครองจะต้องส่งเด็กในความปกครองของตนเข้าเรียนในภาคบังคับ (ป.๑ - ป.๖) เมื่อเด็กอายุย่างเข้าปีที่แปด และต้องอยู่ใน โรงเรียนจนกว่าจะมีอายุย่างเข้าป ีที่สิบห้า (๑๕ ปีบริบูรณ์) แต่ถ้าเด็กในปกครองสอบไล่ได้ชั้นประถมปีที่ ๖ ก็ไม่ต้องรอให้อายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ ก็ได้ ถือว่าจบและออกจากโรงเรียนได้ ถ้าผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามดังกล่าวนี้ จะต้องถูกปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (มาตรา ๑๐)

 

การนับอายุให้นับตามปีปฏิทิน (เช่น ด.ช. ก เกิด ๑ มกราคม ๒๕๒๕ จะมีอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์ เมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๒๖) กล่าวคือนับวันเกิดชนวันเกิด

"ผู้ปกครอง" ตามกฎหมายหมายถึง

(๑) บิดามารดาที่อยู่ด้วยกันทั้งที่จดทะเบียนสมรส และไม่จด ทะเบียนสมรส (กฎหมายลักษณะผัวเมีย) กล่าวคือ เป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายนั่นเอง

(๒) บิดาหรือมารดา
- การที่บิดามารดาหย่ากัน และบุตรอยู่ในความอุปการะของ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
- คู่สมรสแยกกันอยู่โดยมิได้หย่าขาดจากกัน และบุตรอยู่ใน ความอุปการะของบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

(๓) บุคคลที่ดูแลเด็กที่อยู่รับใช้การงานในบ้านเรือนของตนเอง ถือ ว่าเป็นผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายและต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้ด้วย

สำหรับนักเรียนที่เข้าโรงเรียนแล้ว ต้องไม่ขาดเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โดยภายใน ๑ เดือนขาดเรียนได้ไม่เกิน ๗ วัน

คณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัด มีอำนาจกำหนดให้ผู้ปกครองของเด็กในท้องที่ใดในเขตจังหวัด ส่งเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา เมื่อเด็กมีอายุต่ำหรือสูงกว่าที่กำหนดไว้ได้

เด็กที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้าเรียนโดยผู้ปกครองร้องขอ ได้แก่
(๑) มีความบกพร่องในทางร่างกายและจิตใจ
(๒) เป็นโรคติดต่อตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
(๓) ต้องหาเลี้ยงผู้ปกครองซึ่งทุพพลภาพไม่มีหนทางเลี้ยงชีพ และ ไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดูแทน

ถ้าผู้ปกครองที่ทุพพลภาพมีเด็กต้องส่งเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาพร้อมกันหลายคนให้ยกเว้นเพียง ๑ คน

(๔) มีความจำเป็นอย่างอื่น

 

กฎหมายกำหนดให้คนที่มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ (ย่างเข้าอายุ ๑๕ ปีก็ขอยื่นทำบัตรประชาชนได้) แต่ไม่เกิน ๗๐ ปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยยื่นคำขอทำบัตรประชาชนได้ที่ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอของท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่

การยื่นขอทำบัตรประชาชนต้องยื่นภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่อายุ ครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ เช่น ตัวอย่าง นาย ก เกิด ๑ มกราคม ๒๕๑๙ ครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๔ นาย ก ต้องยื่นคำขออย่างช้า ภายในวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๓๔ มิฉะนั้น นาย ก จะต้องถูกปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท (การนับเวลา ๖๐ วันนี้นับเป็นวันๆ ไม่ใช่นับทีละ ๒ เดือน)

บัตรประชาชนมีอายุ ๖ ปี เมื่อบัตรหมดอายุให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้ จนถึงวันครบรอบวันเกิด เมื่อครบรอบวันเกิดแล้ว ภายใน ๖๐ วันนับแต่วัน ครบรอบวันเกิด ต้องไปขอเปลี่ยนบัตรใหม่ หากฝ่าฝืนถูกปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท เช่น ออกบัตรวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๐ บัตรหมดอายุ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๖ ต้องขอทำบัตรใหม่ภายในวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๓๗ เป็นต้น

กรณีคนต่างด้าว ต้องยื่นขอมีบัตรประชาชนภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้สัญชาติไทย

เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ผู้ถือบัตรต้องขอเปลี่ยนบัตรภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับให้เปลี่ยนชื่อตัว หรือสกุล ฝ่าฝืนถูกปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท

เมื่อบัตรสูญหายหรือถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ถือบัตรต้องขอเปลี่ยนบัตรภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่หาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ฝ่าฝ—นถูกปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท

ในกรณีพ้นจากสภาพการยกเว้นที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชน ต้องขอมี บัตรประชาชน ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันพ้นสภาพนั้นๆ เหตุยกเว้นที่ ไม่ต้องมีบัตรประชาชน ได้แก่

(๑) พระภิกษุ
(๒) ข้าราชการ ซึ่งได้แก่ ตำรวจ ทหาร
(๓) นักโทษ

การนับอายุเพื่อขอมีบัตรประชาชน ขอขยายเพิ่มเติมว่า ให้นับอายุ ๑ ปีบริบูรณ์เมื่อสิ้น พ.ศ. ที่เกิด เช่น ปี ๒๕๐๙ พอสิ้นปี ๒๕๐๙ ให้ถือว่า นับอายุได้ ๑ ปีบริบูรณ์

ดังนั้น สมมติว่า นาย ก เกิดปี ๒๕๐๙ จะต้องยื่นคำขอมีบัตร ประชาชน ในปี ๒๕๒๔ เพราะถือว่ามีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ การไปขอทำ บัตรประชาชนหลักฐานที่ต้องนำไป ได้แก่

(๑) ทะเบียนบ้าน
(๒) ใบสูติบัตร
(๓) หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุลทั้งของตนเองและของ บิดามารดา (ถ้ามี)
(๔) ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (ถ้ามี)

กรณีที่เป็นบุคคลสัญชาติไทย แต่เสียสัญชาติไทย ผู้นั้นต้องมีหน้าที่ส่งมอบบัตรประจำตัว ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ตนมีทะเบียนบ้านภายใน ๖๐ วัน ถ้าฝ่าฝืนไม่ส่งมอบต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับ ตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ถ้าบุคคลที่เสียสัญชาติไทยดังกล่าวนำบัตรประจำตัวไปใช้ หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับไปใช้โดยไม่มีสิทธิ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

การมีบัตรประจำตัวประชาชนนั้นมีความสำคัญ จึงต้องนำติดตัวไป ทั้งนี้เพราะเมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตร ขอดู ถ้าผู้นั้นไม่อาจแสดงบัตรหรือ ใบรับ หรือใบแทนใบรับ (กรณีขอทำบัตรใหม่) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองร้อยบาท

นอกจากนี้ การขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ต้องแจ้งข้อความจริงต่อเจ้าพนักงาน ถ้าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จไม่ว่าจะเป็นการขอมีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตร ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในบางกรณีมีคนนำบัตรประจำตัวของผู้อื่นไปใช้เพื่อประโยชน์ในทางมิชอบ กฎหมายกำหนดโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนและปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท

ส่วนการปลอมบัตรประชาชน กฎหมายถือว่าเป็นความผิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การใช้บัตรประชาชนปลอมก็มีโทษเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการปราบปรามขบวนการปลอมบัตรประจำตัวให้แก่คนต่างด้าว ซึ่งเจ้าพนักงานมีส่วนร่วมด้วย กฎหมายจึงกำหนดโทษ เจ้าพนักงานชาวไทย (ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ออกบัตรหรือไม่) ถ้าเป็นผู้ปลอมบัตรหรือใช้บัตรปลอม (หรือเป็นผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึง สามแสนบาท แต่ถ้าผู้กระทำผิดดังกล่าวเป็นคนต่างด้าว ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสามแสนบาท

ค่าธรรมเนียมในการขอออกบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตร ฉบับละ ๒๐ บาท

 

กฏหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

 

๑. ความหมาย

การกู้ยืมเงินเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้กู้" มีความต้องการจะใช้เงิน แต่ตนเองมีเงินไม่พอ หรือไม่มี เงินไปขอกู้ยืมจากบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ให้กู้" และผู้กู้ตกลงจะใช้คืน ภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง การกู้ยืมจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ มีการส่ง มอบเงินที่ยืมให้แก่ผู้ที่ให้ยืม ในการกู้ยืมนี้ผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้

ตัวอย่าง นายดำ ต้องการจะซื้อรถราคา ๑๕๐,๐๐๐ บาท แต่นายดำ ไม่มีเงิน นายดำจึงไปขอยืมเงินจากนายแดง โดยตกลงจะใช้คืนภายใน ๑ ปี นับตั้งแต่วันที่กู้ยืม ดังนั้นเมื่อครบกำหนด ๑ ปีแล้ว นายดำ (ผู้กู้) ต้องใช้ เงินคืนให้แก่นายแดง

๒. ดอกเบี้ย

ในการกู้ยืมเงินกันนี้ เพื่อป้องกันมิให้นายทุนบีบบังคับคนจน กฎหมายจึงได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกได้ ว่าต้อง ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี คือร้อยละ ๑.๒๕ ต่อเดือน (เว้นแต่เป็นการกู้ยืม เงินจากบริษัทเงินทุนหรือธนาคาร ซึ่งสามารถเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าว ได้ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน) ถ้าเรียกดอกเบี้ย เกินอัตราดังกล่าวถือว่าข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยนั้นเป็นอันเสียไปทั้งหมด คือ ไม่ต้องมีการใช้ดอกเบี้ยกันเลยและผู้ให้กู้อาจมีความผิดทางอาญาฐานเรียก ดอกเบี้ยเกินอัตราด้วย คือ อาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับ ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕

ในกรณีการกู้ยืมเงินจากบริษัทเงินทุนหรือธนาคาร ซึ่งบริษัทเงินทุนหรือธนาคารมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เมื่อปรากฏว่าผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้แล้วบริษัทเงินทุนหรือธนาคารได้ดำเนินคดีกับผู้กู้ยืม หากผู้กู้ยืมต่อสู้คดีว่าดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้เรียกจากผู้กู้ในกรณีผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้เป็นเบี้ยปรับที่กำหนดไว้สูงเกินไป ถ้าศาลเห็นด้วยว่าเป็นเบี้ยปรับและศาลเห็นสมควรศาลก็ลดลงได้ ตัวอย่างเช่น นาย ก. กู้ยืมเงินจากธนาคาร จำนวน 1,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 11.75 ต่อปีหรือร้อยละ 16 ต่อปี ผู้กู้ตกลงผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนให้แก่ผู้ให้กู้ทุกเดือน เดือนละ 25,000 บาท หากผิดนัดชำระงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด ผู้กู้ตกลงชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์เรียกจากลูกค้าได้ ถ้าหากนาย ก. ผิดนัดชำระงวดใดงวดหนึ่ง ผล คือ นาย ก. ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อธนาคารฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากนาย ก. อัตราร้อยละ 19 ต่อปี เช่นนี้ถ้าศาลเห็นว่าดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดถือเป็นเบี้ยปรับ และหากศาลเห็นสมควรอาจลดลงได้ ซึ่งอาจกำหนดให้นาย ก. จ่ายให้แก่ธนาคารในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี หรือเกินกว่านี้ แต่ไม่ถึงร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซึ่งต่างจากการกู้ยืมเงินจากบุคคลธรรมดา หากกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 15 ต่อปี ศาลจะใช้ดุลพินิจลดลงไม่ได้

๓. หลักฐานการกู้ยืม

ในการตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินนั้น ถ้าหากว่ากู้ยืมกันเป็นจำนวนเงิน เล็กน้อยไม่เกิน ๕๐ บาท กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ แสดงถึงการกู้ยืมหรือทำสัญญาไว้ต่อกัน เช่น ยืมเงิน ๒๐ บาท หรือ ๓๐ บาทแล้วเพียงแต่พูดจาตกลงกันก็พอ แต่ถ้าหากว่ากู้ยืมเป็นจำนวนเกินกว่า ๕๐ บาท ต้องทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือหรือทำ หนังสือสัญญากู้ ไว้ต่อกัน เพื่อจะได้ใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา ในหลักฐานแห่งการกู้เป็นหนังสือดังกล่าวนี้ต้องมีข้อความแสดงว่าได้กู้ยืม เงินเป็นจำนวนเท่าใด มีกำหนดใช้คืนเมื่อใดและที่สำคัญจะต้องมีการลงลายมือชื่อผู้กู้

ตัวอย่าง หลักฐานการกู้ยืมเงิน
ข้าพเจ้า นายดำ ได้กู้ยืมเงินจากนายสมศักดิ์เป็นจำนวน ๓,๐๐๐ บาท (สามพันบาทถ้วน) เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๐ มีกำหนดใช้คืนภายใน ๑ ปี ดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี

ลงชื่อ ดำ ผู้กู้

 

หากว่าในขณะกู้ยืมเงินกันแต่มีการตกลงรับเอาสิ่งของแทนจำนวนเงิน ที่กู้ยืมกันนั้น ต้องคิดราคาของตลาดของสิ่งนั้นเป็นจำนวนเงินที่กู้จริง+ริงนั้น เช่น มีการตกลงกู้ยืมเงินกัน ๕๐๐ บาท แต่มีการตกลงให้รับข้าวสารแทน ๒ กระสอบ ซึ่งในขณะนั้นข้าวสารกระสอบละ ๑๕๐ บาท ดังนั้น เราถือว่า มีการกู้ยืมเงินกันจริงเพียง ๓๐๐ บาทเท่านั้น

๔. อายุความ

การฟ้องร้องเรียกเงินตามสัญญากู้จะต้องกระทำภายในกำหนดอายุ ความ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องฟ้องภายใน ๑๐ ปีนับแต่วันที่ถึง กำหนดชำระเงินคืน

ตัวอย่าง แดง กู้ยืมเงิน ดำ เมื่อ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๐ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท เป็นเวลา ๑ ปี ดังนั้นหนี้รายนี้ถึงกำหนดในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๑ ผู้ให้กู้ต้องฟ้องเรียก เงินที่กู้ยืมคืน ภายใน ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๑

๕. ข้อควรระมัดระวังในการกู้ยืม

(๑) อย่าได้ลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าเป็นอันขาด
(๒) อย่าได้นำโฉนดไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน
(๓) จะต้องนับเงินให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา
(๔) ผู้ยืมจะต้องเขียนจำนวนเงินเป็นตัวหนังสือด้วย
(๕) สัญญาที่กู้ต้องทำอย่างน้อย ๒ ฉบับ โดยให้ผู้กู้ยึดถือไว้ฉบับหนึ่ง และให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้อีกฉบับหนึ่ง
(๖) ในสัญญากู้ควรมีพยานฝ่ายผู้กู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานอย่างน้อย ๑ คน

๖. ข้อปฏิบัติในการชำระเงิน

เมื่อผู้กู้นำเงินไปชำระไม่ว่าจะเป็นการชำระทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตาม ผู้กู้ควรทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ มิฉะนั้นจะอ้างยันผู้ให้กู้ว่าชำระเงินกู้ ให้เขาคืนแล้วไม่ได้

สิ่งที่ผู้กู้ควรกระทำเมื่อชำระเงิน คือ

(๑) รับใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือที่มีข้อความว่า ได้ชำระเงินที่กู้มาแล้วทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนและมีลายเซ็นผู้ให้กู้กำกับไว้ด้วย

ตัวอย่าง ข้าพเจ้า นายสมศักดิ์ ร่ำรวยทรัพย์ ได้รับเงินคืนจากนายดำ เกิดมาก ผู้กู้เป็นจำนวน ๕,๐๐๐ บาท

ลงชื่อ สมศักดิ์ ร่ำรวยทรัพย์ ผู้ให้กู้
๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๐

 

(๒) รับหนังสือสัญญากู้เงินที่ได้ทำไว้แก่ผู้ให้กู้นมาในกรณีที่ชำระเงินครบตามจำนวนเงินที่กู้

(๓) มีการบันทึกลงในสัญญากู้ว่าได้นำเงินมาชำระแล้วเท่าไรและให้ ผู้ให้กู้เซ็นชื่อกำกับไว้ ผู้ให้กู้ต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ทุกครั้งที่มีการชำระเงิน จึงจะอ้างยันได้ว่าได้ชำระเงินไปแล้ว

 

 

คนเราถ้าขัดสนเงินทองก็ต้องกู้เป็นหนี้เขา แต่เขาอาจจะไม่ยอมให้ กู้ถ้าไม่มีอะไรเป็นหลักประกันให้ความมั่นใจว่าเขาจะได้รับชำระหนี้คืน ค้ำประกันก็เป็นหลักประกันอันหนึ่ง ค้ำประกัน คือการที่ใครคนหนึ่งทำสัญญา กับเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้นั้นแทน เมื่อลูกหนี้ ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได้

การที่จะฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้นั้น จะต้อง มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญมิใช่ตกลงกันด้วยปากเปล่าซึ่งฟ้องไม่ได้ ตามธรรมดาถ้าทำสัญญาค้ำประกันตามแบบซึ่งมีขาย อยู่ทั่วไป ก็ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเป็นแบบซึ่งทำโดยผู้รู้กฎหมาย แต่ถ้าทำกันเองก็อาจเกิดปัญหาได้ ถ้าเราเป็นเจ้าหนี้ก็ต้องระมัดระวังในข้อนี้ ในเอกสารนั้นต้องมีข้อความอันเป็นสาระสำคัญว่า ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้แทน มิฉะนั้นอาจฟ้องผู้ค้ำประกันไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็น สัญญาค้ำประกันตามกฎหมาย

ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน

ผู้ค้ำประกัน จะไม่จำกัดความรับผิดหรือจะจำกัดความรับผิดของตน ไว้ในสัญญาค้ำประกันด้วยก็ได้ ถ้าไม่ต้องการรับผิดอะไรบ้าง หรือต้องการ จำกัดขอบเขตความรับผิดไว้เพียงใด ก็ต้องระบุในสัญญาให้ชัดเจน เช่น ลูกหนี้กู้เงินเจ้าหนี้ ๑๐๐,๐๐๐ บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี ผู้ค้ำประกันจะจำกัดความรับผิดเฉพาะกรณีที่บุคคลนั้น ทำความเสียหายเนื่องจาก ทุจริตต่อหน้าที่ไม่รวมถึงประมาทเลินเล่อด้วยก็ได้ เมื่อจำกัดความรับผิดไว้ แล้วก็รับผิดเท่าที่จำกัดไว้ แต่ถ้าไม่จำกัดความรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา ต่อเจ้าหนี้ ไม่ชำระเงินหรือค่าเสียหายมากน้อยเพียงใด ผู้ค้ำประกันก็ต้อง รับผิดจนสิ้นเชิงเช่นเดียวกับลูกหนี้ทุกอย่าง เมื่อทำสัญญาค้ำประกันแล้ว ผู้ค้ำประกันต้องผูกพันตามสัญญานั้น เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องให้รับผิดได้ เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด

สิทธิของผู้ค้ำประกัน

(๑) เมื่อผู้ค้ำประกันถูกเรียกร้องให้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ มิใช่ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้ทันที แต่มีสิทธิที่จะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปเรียกร้องเอาจาก ลูกหนี้ก่อนได้ ทั้งนี้ภายใต้ข้อยกเว้นบางประการและถ้าถูกเจ้าหนี้ฟ้องเป็น จำเลยร่วมกับลูกหนี้ก็ยังมีสิทธิพิสูจน์ต่อศาลว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินชำระหนี้ได้ และการที่จะบังคับเอาจากลูกหนี้นั้นไม่เป็นการยาก ถ้าผู้ค้ำประกันนำพยาน เข้าสืบและฟังได้เช่นนั้น ศาลก็ต้องบังคับเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน เพราะหนี้ที่ผู้ค้ำประกันต้องชำระมิใช่เป็นหนี้ของผู้ค้ำประกันเอง ผู้ค้ำประกัน เป็นลูกหนี้ชั้นที่สอง

บางกรณีเจ้าหนี้เอาเปรียบลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน ในสัญญาสำเร็จรูป จะมีความว่า "ให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้" คือเป็นลูกหนี้ ร่วมเท่ากับให้ผู้ค้ำประกันรับผิดหนักขึ้น ดังนั้นก่อนเซ็นสัญญาค้ำประกันจึง ต้องพิจารณาว่าจะยอมรับผิดเช่นนั้นหรือไม่ ถ้ายอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ก็ไม่มีสิทธิที่จะเกี่ยงดังกล่าวข้างต้น

(๒) เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ไม่ว่าชำระแต่โดยดีหรือชำระหนี้โดยถูกบังคับตามคำพิพากษา ผู้ค้ำประกันก็มีสิทธิรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ในอันที่จะเรียกเอาเงินชำระให้เจ้าหนี้ใช้แล้วนั้น คืนจากลูกหนี้ได้ตามจำนวนที่ชำระไปตลอดจนทั้งค่าเสียหายต่าง ๆ เนื่องจากการค้ำประกัน

การเป็นผู้ค้ำประกันนั้นมีแต่เสีย ตามคำพังเพยที่ว่าเนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง มีแต่เอากระดูกมาแขวนคอ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเซ็นชื่อในสัญญาค้ำประกัน ต้องพิจารณาตัวลูกหนี้ซึ่งผู้ค้ำประกันจะ ชำระหนี้แทนให้ดีว่ามีความสามารถชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้แค่ไหน และมี ความซื่อสัตย์สุจริตเพียงใด ทั้งต้องพิจารณาข้อความในสัญญาให้รอบคอบ บางทีกำหนดให้ผู้ค้ำประกันรับผิดหนักขึ้น หรือสละสิทธิบางอย่างอันอาจทำให้ไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ไม่ได้ เมื่อเข้าใจข้อความ ในสัญญาดีแล้วจึงค่อยลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน

การพ้นจากความรับผิดของผู้ค้ำประกัน

เมื่อเซ็นชื่อในสัญญาแล้วผู้ค้ำประกันก็มีภาระจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ จนกว่าหนี้ของลูกหนี้จะระงับไป ตราบใดที่หนี้ของลูกหนี้ยังมีอยู่ผู้ค้ำประกัน ก็ไม่พ้นความรับผิด แต่มีพฤติการณ์บางอย่างที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ผู้ค้ำ ประกันพ้นความรับผิด

(๑) เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ คือถ้าได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว เจ้าหนี้ยืดเวลาต่อไปอีก ผู้ค้ำประกันก็พ้นความรับผิด
(๒) เมื่อหนี้ของลูกหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว ผู้ค้ำประกันเอาเงินไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ แต่เจ้าหนี้ไม่ยอมรับโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้ค้ำประกันก็หลุดพ้นจาก
ความรับผิดเช่นเดียวกัน

 

๑. ความหมาย
สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินของตนออกให้ผู้อื่นเช่า เพื่อใช้สอยหรือเพื่อให้ได้รับประโยชน์ และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์นั้น หรือจะให้ทรัพย์สินที่เช่าตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อได้ใช้เงินจนครบตามที่ตกลงไว้โดยการชำระเป็นงวด ๆ จนครบตามข้อตกลง

สัญญาเช่าซื้อมิใช่สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันเรื่องชำระราคาเป็นงวด ๆ ก็ตาม เพราะการซื้อขายผ่อนส่งนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของผู้ซื้อทันทีขณะทำสัญญา ไม่ต้องรอให้ชำระราคาครบแต่ประการใด ส่วนเรื่องสัญญาเช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าบอกเลิกสัญญาบรรดาเงินที่ได้ชำระแล้ว ให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้

๒. แบบของสัญญาเช่าซื้อ

สัญญาเช่าซื้อจะต้องทำเป็นหนังสือ จะทำด้วยวาจาไม่ได้ มิฉะนั้น จะเป็นโมฆะเสียเปล่า ทำให้ไม่มีผลตามกฎหมายที่จะผูกพัน ผู้เช่าซื้อกับผู้ให้เช่าซื้อได้ การทำสัญญาเป็นหนังสือนั้น จะทำกันเองก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้เช่าซื้อจะเขียนสัญญาเอง หรือจะใช้แบบพิมพ์ที่มีไว้กรอก ข้อความลงไปก็ได้ หรือจะให้ใครเขียนหรือพิมพ์ให้ทั้งฉบับก็ได้ แต่สัญญานั้นจะต้องลงลายมือชื่อของผู้เช่าซื้อ และผู้ให้เช่าซื้อ ทั้งสองฝ่ายหากมีลายมือชื่อของคู่สัญญาแต่เพียงฝ่ายใด้ฝ่ายหนึ่ง เอกสารนั้นหาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่

๓. สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา

ผู้เช่าซื้อมีสิทธิได้รับมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อในสภาพที่ปลอดจาก ความชำรุดบกพร่องหรือในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้วเพราะผู้ให้เช่าซื้อ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในเรื่องทรัพย์สินที่ชำรุดบกพร่อง แม้ว่าผู้ให้เช่าซื้อจะทราบถึงความชำรุดบกพร่องหรือไม่ก็ตาม

ดังนั้น เวลาท่านไปทำสัญญาเช่าซื้อทีวีสีเครื่องหนึ่ง เจ้าของร้านมีหน้าที่ต้องส่งมอบทีวีสีในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่มีส่วนที่ผิดปกติแต่ประการใด ถ้าท่านตรวจพบว่า ปุ่มปรับสีหลวมหรือปุ่มปรับเสียงหลวมก็ดี ท่านต้องบอกให้ เจ้าของร้านเปลี่ยนทีวีสีเครื่องใหม่แก่ท่าน เพราะในเรื่องนี้ เป็นสิทธิของท่านตามกฎหมาย และเจ้าของไม่มีสิทธิที่ จะบังคับท่านให้รับทีวีสีที่ชำรุดได้

ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้ด้วยการส่งมอบ ทรัพย์สินกลับคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ โดยตนเองจะต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการส่งคืน การที่กฎหมายบัญญัติเช่นนี้ ก็เพราะเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นงวด ๆ เปรียบเสมือนการชำระค่าเช่า ดังนั้น ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญา ก็ได้ การแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจะต้องส่งมอบทรัพย์สินคืน ให้แก่เจ้าของถ้ามีการแสดงเจตนาว่าจะคืนทรัพย์สินให้ภายหลัง หาเป็นการเลิกสัญญาที่สมบูรณ์ไม่ การบอกเลิกสัญญาจะต้องควบคู่ ไปกับการส่งคืนในขณะเดียวกัน

ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินสองคราวติดกันหรือกระทำผิดสัญญา ในข้อที่เป็นสาระสำคัญ เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิก สัญญาเมื่อใดก็ได้ ส่วนเงินที่ชำระราคามาแล้วแต่ก่อน ให้ตกเป็นสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินโดยถือเสมือนว่าเป็นค่าเช่า ผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกคืนจากเจ้าของได้ และเจ้าของทรัพย์สินก็ไม่มีสิทธิเรียกเงินที่ค้างชำระได้ การผิดนัดไม่ชำระจะต้องเป็นการไม่ชำระสองงวดติดต่อกัน หากผิดนัดไม่ใช้เงินเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งแต่ไม่ติด ๆ กัน เช่น ผิดนัดไม่ใช้เงินเดือนกุมภาพันธ์, เมษายน, มิถุนายน, สิงหาคม ฯลฯ แต่ชำระค่าเช่าซื้อสำหรับเดือนมกราคม, มีนาคม, พฤษภาคม, กรกฎาคม ฯลฯ สลับกันไปเช่นนี้ แม้จะผิดนัดกี่ครั้งกี่หนก็ตาม ผู้ให้เช่าซื้อหาอาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ไม่

ในการผิดสัญญาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หมายความว่า สัญญาเช่าซื้อนั้นมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เช่าซื้อ มีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินและครอบครองในกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าซื้อ จนกว่าจะชำระราคาครบตามข้อตกลง ถ้าผู้เช่าซื้อนำทรัพย์สินไปจำนำและไม่ชำระเงิน ถือว่าผิดสัญญาเช่าซื้อ เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และผู้เช่าซื้อมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ได้อีก เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้ออยู่

อนึ่ง ในกรณีผู้เช่าซื้อกระทำผิดสัญญา เพราะผิดนัดไม่ใช้เงินซึ่งเป็นงวดสุดท้ายนั้น เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิจะริบบรรดาเงินที่ชำระมาแล้วแต่ก่อนและ ยึดทรัพย์กลับคืนไปได้ต่อเมื่อรอให้ผู้เช่าซื้อมาชำระราคา เมื่อถึงกำหนดชำระราคาในงวดถัดไป ถ้าไม่มาผู้ให้เช่าซื้อริบเงินได้

หมายเลขบันทึก: 446183เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2011 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท