TU LIBS
นาง ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ

การอบรม เรื่อง “การสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน”


ส่วนที่ควบคุมไม่ได้ คือ ผู้รับสาร แต่ถึงจะควบคุมไม่ได้ ผู้ส่งสารต้องรู้จักและเข้าใจตัวผู้รับสารให้มากเพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ ที่ต้องการให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ทางสมอง เช่น ตระหนัก เข้าใจ รับรู้ หรือทางจิตใจ เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติ รวมไปถึงการกระทำ ไม่ว่าจะเป็น การทำได้ ทำบ่อย เลิกทำ หรือ ทำต่อ ซึ่งการที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการนั้น สิ่งสำคัญ คือ ผู้ส่งสารต้องมีความอดทน และไม่ล้มเลิกที่จะสื่อสารกับผู้อื่น

        วันที่ 21 มิถุนายน 2554 นางสาวกนกวรรณ บัวงาม สังกัดฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด ได้เข้าร่วมการอบรม เรื่อง

“การสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน” ณ ห้อง 256 ชั้น 2 อาคารปิยะชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จัดโดยงานพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  วิทยากรคือ รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา  มีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 250 คน จากหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สรุปได้ ดังนี้

          เมื่อพูดถึงความหมายตามคำศัพท์ Communication หรือ การสื่อสาร  มาจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษที่ว่า Commune ซึ่งหมายถึง การแบ่งปัน การแชร์ เพื่อทำให้คล้อยตาม และคิดไปในทิศทางเดียวกัน เพราะเมื่อมีการแบ่งปัน และทำให้คนอื่นคล้อยตามและเห็นไปในทิศทางเดียวกันแล้วการทำงานต่างๆ จะประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี

          นอกจากนั้น วิทยากร ยังได้ยกข้อความที่น่าสนใจว่า “Communication is a power” เมื่อแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า การสื่อสารเป็นที่มาของอำนาจ ความสำเร็จ ความสามัคคี และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

          ดังนั้น การทำงานสิ่งใดก็ตามปัจจัยที่จะทำให้ประสบความสำเร็จเป็นลำดับต้นๆ คือ “การสื่อสาร”

          หากพูดถึงองค์ประกอบของการสื่อสาร จะประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่

          S-Source – ผู้ส่งสาร

          M-Message – เนื้อหา

          C-Channel – ช่องทางการสื่อสาร

          R-Receiver – ผู้รับสาร

          E-Effects - ผลลัพธ์

          จากองค์ประกอบทั้ง 5 ส่วน มีส่วนที่สามารถควบคุมได้ 3 ส่วน คือ ผู้ส่งสาร  (ตัวเราเอง) เนื้อหา(ข้อความ คำพูด) และช่องทางการสื่อสาร (การพูด การเขียน บันทึก การประชุม) เพื่อให้การสื่อสารประสบความสำเร็จ

ส่วนที่ควบคุมไม่ได้ คือ ผู้รับสาร แต่ถึงจะควบคุมไม่ได้ ผู้ส่งสารต้องรู้จักและเข้าใจตัวผู้รับสารให้มากเพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ  และผลลัพธ์ ที่ต้องการให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ทางสมอง เช่น ตระหนัก เข้าใจ รับรู้ หรือทางจิตใจ เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติ รวมไปถึงการกระทำ ไม่ว่าจะเป็น การทำได้ ทำบ่อย เลิกทำ หรือ ทำต่อ ซึ่งการที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการนั้น สิ่งสำคัญ คือ ผู้ส่งสารต้องมีความอดทน และไม่ล้มเลิกที่จะสื่อสารกับผู้อื่น

สำหรับการสื่อสารในองค์กร เพื่อให้เกิดการทำงานมีประสิทธิภาพ จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

          1.เป็นเครือข่ายที่ยืดหยุ่นและช่องทางการสื่อสารเปิดกว้างทุกทาง

          2.การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ นโยบาย กติกา และขั้นตอนในการทำงาน

          3.ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

          4.ทั้งองค์กรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา การกำหนดแนวทางในการทำงานภายใต้การนำของผู้บริหารหัวใจประชาธิปไตย

          นอกจากนั้น การสื่อสารภายในองค์กรที่ดี จะต้องมีโครงสร้าง แบ่งอำนาจที่ชัดเจน มีช่องทางการสื่อสารที่ชัดเจน เป็นการสื่อสารระบบเปิด มีเสรีภาพในการแสดงออก และเป็นการสื่อสารที่ก่อให้เกิดความร่วมมือกัน

ลักษณะของการสื่อสาร                             ลักษณะการสื่อสาร

ที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ                            ที่ก่อให้เกิดการต่อต้าน

-ชี้แจงปัญหา                                           -ขู่ลงโทษ

-จริงใจ                                                   -วางแผนหลอกล่อ

-เสมอภาพ                                              -ยกตนข่มท่าน

-สาธยาย                                                -ประเมิน

-ถาม                                                     -สั่ง

-เห็นใจ                                                 -ไม่แยแส

-ปฏิเสธอย่างมีเงื่อนไข                            -ปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย

           โดยสรุปแล้ว “การสื่อสาร” ที่ดี จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและเกิดความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสารระหว่างบุคคล หรือ การสื่อสารในระดับองค์กร และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุด คือ ความสมบูรณ์ขององค์ประกอบทั้ง 5 ในการสื่อสาร ได้แก่  S-Source – ผู้ส่งสาร  M-Message – เนื้อหา         C-Channel – ช่องทางการสื่อสาร R-Receiver – ผู้รับสาร และ E-Effects – ผลลัพธ์  ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การสื่อสารประสบความสำเร็จ

หมายเลขบันทึก: 445729เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2011 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท