สุดยอดความคิด 2


ความแตกต่างระหว่างความรู้ที่เป็น Explicit กับ Tacit
Tacit Knowledge นั้นมีคุณลักษณะที่อาจจะตรงข้ามกัน คือ เป็นความรู้ที่อยู่ในประสบการณ์ เป็นเทคนิคเฉพาะตัว เป็นเคล็ดวิชา เป็นสิ่งที่ได้มา "สดๆ" จากการปฏิบัติ (Practice)

        เดี๋ยวนี้เวลาพูดเรื่อง KM ทีไร ผมมักจะหยิบยกประเด็นเรื่องความรู้ที่เป็น  Explicit และ Tacit ขึ้นมาถกให้กระจ่างก่อนเสมอ เพราะเห็นว่าถ้าเราเข้าใจในธรรมชาติที่แตกต่างระหว่าง Explicit Knowledge กับ Tacit Knowledge ไม่ชัด เวลาพูดเรื่อง "การจัดการ" ก็จะทำให้เราพลอยไม่ชัดไปด้วย

        ผมยกตัวอย่างเสมอว่า  Explicit Knowledge ก็คือความรู้ที่ออกมาในลักษณะที่เป็นหลักการ เป็นหลักวิชา เป็นสิ่งที่เราเรียกว่า "ปริยัติ" อาจอยู่ในรูปของทฤษฎี หรือ Model ที่ได้มาจากการวิเคราะห์ วิจัย ก็ได้ เรียกว่าเป็นความรู้ที่ผ่านการทดลอง ผ่านการพิสูจน์ (Proven Knowledge) ถูกทำให้ "Generalize" ในขณะที่ Tacit Knowledge นั้นมีคุณลักษณะที่อาจจะตรงข้ามกัน คือ เป็นความรู้ที่อยู่ในประสบการณ์ เป็นเทคนิคเฉพาะตัว เป็นเคล็ดวิชา เป็นสิ่งที่ได้มา "สดๆ" จากการปฏิบัติ (Practice) เป็นผลของการใช้วิจารณญาณ ใช้ปฏิภาณไหวพริบ (Intelligent) ผมมักจะหยิบยกตัวอย่างต่างๆ นานาเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า ความรู้สองประเภทนี้มีคุณลักษณะที่แตกต่างกันอย่างไร หากเราเข้าใจเราก็จะใช้วิธีการ "การจัดการ" ที่แตกต่างกันออกไป

        ในการพูดคุยกับนักบริหารระดับเจ้าของกิจการ และผู้บริหารระดับสูงในหลักสูตร "The Boss" รุ่นที่ 57 ได้มีท่านผู้บริหารท่านหนึ่งยกตัวอย่างขึ้นมาว่า "....สมมติว่าเราต้องการจะเลือกซื้อกล้องดิจิตอล ตอนที่เราเข้าไปใน "เน็ต" ดูการวิเคราะห์เปรียบเทียบกล้องรุ่นต่างๆ ถ้าเราใช้ตรงนั้นเป็นข้อมูลเบื้องต้น เราก็อาจจะมองว่านั่นคือ Information

        แต่ครั้นพอเราศึกษา "สเป็ค" ลงไปในรายละเอียด ประกอบกับความรู้ที่ได้อ่านมาจากบทวิจารณ์ การ Review การใช้งานของกล้องแต่ละรุ่น ทำให้เราชัดเจนขึ้นว่าน่าจะ "เล่น" รุ่นไหนตรงนี้น่าจะจัดว่าเป็น Explicit Knowledge ครั้นเมื่อสนใจศึกษาเข้าไปลึกๆ เข้าไปอ่านใน Website หนึ่ง ซึ่งมีผู้ที่ใช้กล้องรุ่นต่างๆ ได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ พูดถึงลูกเล่นของกล้องแต่ละรุ่นให้ฟัง ตรงนั้นก็น่าจะเป็น Tacit Knowledge"

        ผมฟังแล้วถึงกับอึ้ง นึกไม่ถึงว่าท่านจะยกตัวอย่างได้เฉียบขาดขนาดนี้ ขออนุญาตนำตัวอย่างดีๆ เช่นนี้มาถ่ายทอดไว้ตรงนี้นะครับ

คำสำคัญ (Tags): #tacit#explicit
หมายเลขบันทึก: 44568เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2006 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท