pr_kpru
งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

PR จ๊ะจ๋า


นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร คว้ารางวัลชมเชยในการประกวดเขียนเรียงความ

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร คว้ารางวัลชมเชยในการประกวดเขียนเรียงความ

เรื่อง “พระอัจริยภาพทางภาษาไทยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”

 

จากการเปิดเผยของ ผศ.พิสมัย พูลสุข รองคณบดี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ-กำแพงเพชร ว่า “ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีได้จัดกิจกรรมการประกวดเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๙ คณะครุศาสตร์ ได้ส่งผลงานการเขียนเรียงความของนักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ชั้นปีที่ ๑ คณะครุศาสตร์ เรื่อง “พระอัจฉริยภาพทางภาษาไทยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เข้าร่วมประกวด ซึ่งได้มีการประกาศผลการตัดสินไปเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๙ ปรากฏว่าได้รับรางวัลชมเชย และสำหรับบทเรียงความดังกล่าวมหาวิทยาลัยฯได้นำขึ้นเผยแพร่ทางเว็ปไซท์ www.kpru.ac.th ทุกท่านสามารถเข้ารับชมได้

…………………………………………………………..

พระอัจฉริยภาพทางภาษาไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันติวงศ์ต่อจาก พระบาทสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลา ๖๐ ปี ที่พระองค์ทรงดำรงค์ตำแหน่งเป็นประมุขของประชาชนชาวไทย เป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์องค์ใดในโลกนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และในเวลา ๖๐ปีนี้เองที่พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา ความสามารถ และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการประกอบพระราชกรณียกิจเป็นนิจนานัปการ ด้วยหวังที่ว่าจะให้พสกนิกรชาวไทยทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข ซึ่งเป็นสิ่ง ที่พระองค์นั้นตั้งพระราชหฤทัยไว้ตั้งแต่เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ดั่งพระปฐมบรมราชองค์การที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ว่า " เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์และสุขแก่มหาชนชาวสยาม ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถมาก โดดเด่นในด้านภาษา พระองค์ทรงเจริญวัยในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จึงทรงภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันได้เป็นอย่างดี ต่อมาทรงตระหนักว่า ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกนิยมใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร จึงสนพระราชหฤทัยหันมาทรงศึกษาภาษาอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงเข้าถึงพื้นฐานทางภาษาและยังทรงคุ้นเคยในการใช้ภาษานี้ถึงระดับที่ทรงได้ดีเป็นพิเศษ และยังทรงสนพระราชหฤทัยในการใช้ภาษาไทยให้ใช้ถูกต้องตามหลักนิรุติศาสตร์ เมื่อพระองค์ทรงมีเวลาว่างจะทรงพระอักษรและพระราชนิพนธ์แปลบทความจากวารสารภาษาต่างประเทศ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๗ ทรงแปลหนังสือ เรื่อง " นายอินทรีย์ปิดทองหลังพระ ( A man called intrepid ) " ของวิลเลียมสตีเวนสัน เป็นภาษาไทย ในปีต่อมาทรงแปลหนังสือ เรื่อง " ติโต (Tito) " ซึ่งเป็นประวัติของนายพลติโต ประพันธ์โดยฟิลลิสออติ พระปรีชาสามารถที่ทรงใช้ภาษาต่าง ๆ ได้อย่างเชี่ยวชาญเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจมาก ทรงเลือกแปลผลงานของวิลเลียมสตีเวนสัน เพราะเป็นเรื่องที่ได้อรรถรสเกี่ยวกับกระบวนการคิดและการตัดดสินใจของคนโดยละเอียด รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความห้าวหาญและความมุ่งมั่นของพวกสายลับฝ่ายพันธมิตร ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งในเนื้อเรื่อจะแสดงให้เห็นพลังของความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันของฝ่ายพันธมิตรและความเสียสละอัตตาของตนเพื่อให้บรรลุความเป็นเอกภาพให้จงได้ นอกจากนี้ในบทพระราชนิพนธ์ เรื่อง " Buddhist Economics ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำสาระบางส่วนของเรื่อง " Small is Beautiful " ประพันธ์โดย อี เอฟ ซูมัคเกอร์ มาประกอบ นอกจากนี้พระองค์ยัง ทรงศึกษาภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาโบราณและศักดิ์สิทธิ์ของชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู ทรงศึกษารอบรู้อย่างลึกซึ้ง และได้ทรงแปลผลงานเรื่อง " พระมหาชนก ” ซึ่งเป็นวรรณกรรมเอกของท่าน

พระปรีชาสามารถที่ทรงใช้ภาษาต่าง ๆ ได้อย่างเชี่ยวชาญเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจมาก จึงสามารถบ่งบอกได้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้นำด้านอัจฉริยภาพทางภาษาอย่างแท้จริง

 

นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ชั้นปีที่ 1

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

หมายเลขบันทึก: 44553เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2006 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท