แรกเริ่มกับการสร้าง "ความเข้าอกเข้าใจกันและกัน"


เป้าหมายที่สำคัญมาว่าจะทำอะไรน่าจะมีจุดสำคัญบางอย่างที่จะช่วยให้เรื่องเหล่านั้นสำเร็จลงได้ด้วยดี เมื่อทบทวนและรวบรวมจากคำถามเดิม ๆ แต่หลาย ๆ วงสนทนาเข้าก็พบว่าเท่าที่จับประเด็นได้น่าจะเรียกกลุ่มคำเหล่านั้นว่า “ความเข้าอกเข้าใจกันและกัน” หรือ “trustfulness”

     ขอเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจว่า “ความเข้าอกเข้าใจกันและกัน” สำคัญอย่างไรในสังคมนี้ นะครับ สืบเนื่องจาการลงพื้นที่บ่อย ๆ และการที่ชอบนั่งพูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ ชอบขอกินหมากกับท่านเหล่านั้น และได้ร่วมแลกเปลี่ยนทัศนคติกันกับกัลยาณมิตร ต่างวัยบ่อย ๆ ทำให้ผมคิดได้ว่าเป้าหมายที่สำคัญไม่ว่าจะทำอะไรน่าจะมีจุดสำคัญบางอย่างที่จะช่วยให้เรื่องเหล่านั้นสำเร็จลงได้ด้วยดี เมื่อทบทวนและรวบรวมจากคำถามเดิม ๆ แต่หลาย ๆ วงสนทนาเข้าก็พบว่าเท่าที่จับประเด็นได้น่าจะเรียกกลุ่มคำเหล่านั้นว่า “ความเข้าอกเข้าใจกันและกัน” หรือ “trustfulness” โดยมีเนื้อหาสาระดังนี้คือ
     1. ความเข้าใจกัน กล่าวคือถึงแม้พื้นฐานสำคัญของคนที่อยู่ด้วยกันในสังคมจะมีความแตกต่างกัน แต่ทุกคนล้วนต้องการให้ “เข้าใจกัน” เป็นหลักอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าพลาดท่าลืมนึกถึงเรื่องนี้เมื่อไรอาจจะก่อให้เกิดความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันขึ้นมาก็ได้ การเข้าใจไม่ใช่แค่เข้าใจในตัวเขาที่เป็นเขาเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจในความเป็น “ตัวตน” ของเขาอย่างแท้จริงด้วย
     2. การเห็นใจซึ่งกันและกัน กล่าวคือเรื่องการเห็นอกเห็นใจต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องคิดคำนึงด้วย โดยเฉพาะเวลาเกิดความทุกข์เศร้าหรือหมองใจ อย่าได้ไปซ้ำเติมหรือเพิ่มปัญหาให้มากขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำก็ไม่ควรกระหน่ำซ้ำเติมเด็ดขาด กลับกันข้ามควรรีบแสดงความเห็นใจและหาทางช่วยแก้ไข ซึ่งจะทำให้สถานการณ์เลวร้าย ทุเลาเบาบางลง
     3. การใส่ใจให้กัน กล่าวคือ การพยายามให้ความสดชื่นรื่นเริงบันเทิงใจแก่กัน โดยต้องคอยใส่ใจในความเป็นไปของเขา เพื่อจะอ้างได้ว่าเป็นเพื่อนกันจริง เขาชอบไม่ชอบอะไร เราควรใส่ใจรับรู้ไว้บ้างรวมทั้งต้อง “เอาใจเขามาใส่ใจเรา”
     4. การให้กำลังใจด้วยการแสดงออก กล่าวคือข้อเท็จจริงที่คนเราจะไม่ชอบให้ใครมาพูดตำหนิหรือพูดให้เสียกำลังใจ และส่วนใหญ่จะชอบให้คนพูดไพเราะ หรือกล่าวคำชื่นชมยินดีให้ได้ยินอยู่บ่อย ๆ คำชื่นชมยินดี คือ สิ่งที่สร้างกำลังใจให้อย่างมาก ในทางกลับกัน ถ้าเขาทำอะไรดี ๆ ก็ควรมีคำชมจะช่วยเสริมสร้างกำลังใจให้ชุ่มชื่นรื่นรมย์ คำพูดสั้น ๆ สองสามคำก็ช่วยทำให้มีชีวิตชีวาขึ้นได้มาก
     5. มอบความจริงใจให้กัน คำว่า “จริงใจ” เป็นคำสั้นๆ แต่มีความหมาย เป็นคำที่หลายคนแสวงหาจากคนรอบข้าง เป็นคำที่หลายคนอ้างว่ามีให้ผู้อื่นอยู่เสมอ จนบางครั้งดูเหมือนเป็นคำที่เฟ้อ ความจริงใจที่แท้จริงจะเกิดจากการปฏิบัติเท่านั้น
     6. ความสุขใจ เป็นสิ่งที่คนอยู่ด้วยกันต้องหมั่นแสวงหาเรื่องสุขใจมาให้ครอบครัว และสังคมของเราอยู่ตลอดเวลา อย่าไปแสวงหาความทุกข์มารุกเร้า ถ้ายังไม่มีเรื่องอะไรมาทำให้สุขใจได้มากนัก ก็แค่ยิ้มแย้มให้กันก็ถือว่าเพียงพอ ต่อการสร้างความสุขใจให้เกิดขึ้นแล้ว

อนุชา หนูนุ่น 25 ก.ย.2548

หมายเลขบันทึก: 4455เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2005 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท